ถ้าพบข้อผิดพลาดในเว็บไซด์ จะแนะนำและติชม หรือสอบถาม ติดต่อที่ WEBMASTER
 
VISITORS


     







Not logged in [Login ]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites  
[*] posted on 11/2/08 at 22:46 Reply With Quote

เพราะเหตุใดจึงมี "บั้งไฟพญานาค" ในวันออกพรรษาทุกปี..?


เพราะเหตุใดจึงมี "บั้งไฟพญานาค" ในวันออกพรรษาทุกปี..?

รวบรวมโดย..พระอาจารย์ชัยวัฒน์ อชิโต


| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
| 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | »




รายการ "บางอ้อ" ตามรอยพญานาคลุ่มน้ำโขง
ออกอากาศทาง Modernine TV เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2551


ตอนที่ 1


ตอนที่ 2

.....เล่าขานกันมาแต่โบราณว่า “บั้งไฟพญานาค” ปรากฎการณ์ลูกไฟที่พุ่งขึ้นเหนือลุ่มน้ำโขง ในช่วงออกพรรษา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี เกิดจากพญานาคที่อาศัยอยู่ใต้วังบาดาล ในลุ่มน้ำโขงปล่อยลูกไฟขึ้น เพื่อเฉลิมฉลองเป็นพุทธบูชาแก่พระพุทธเจ้า ศรัทธาที่ว่านี้ ไม่เพียงก่อให้เกิดประเพณีอันงดงาม ที่สืบทอดกันมานานบนสองฟากฝั่งแม่น้ำโขงเท่านั้น ยังนำไปสู่ปริศนาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพญานาคมากมาย ทั้งฝั่งไทยและลาว แต่จะมีอะไรบ้างนั้น?

ตามไปค้นหาความลี้ลับเหล่านี้ กับ หนุ่ม-คงกะพัน แสงสุริยะ ในรายการ “บางอ้อ” พร้อมสัมผัสกับเรื่องราวของ “พญานาคแห่งลุ่มน้ำโขง” ที่สุดเขตแดนอีสาน ที่วัดไทย อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ซึ่งว่ากันว่า ใต้วัดแห่งนี้เป็นศูนย์กลางเมืองบาดาล

โดยหนุ่ม-คงกะพัน เล่าให้ฟังว่า “ตามความเชื่อของชาวอีสาน พญานาค คือเทพเจ้าแห่งน้ำ สามารถแปลงกายเป็นมนุษย์ได้ และอาศัยอยู่ใต้น้ำ ลึกลงไปใต้พื้นดินกว่า 1 โยชน์ หรือ 16 กิโลเมตร สถานที่นี้เรียกกันว่า เมืองบาดาล ครับ” จากนั้นไปฟัง คุณลุงเกษม ศรีกุลวงศ์ เปิดใจถึงภาพปริศนาที่ว่ากันว่า เป็นร่องรอยของพญานาค และตามไปแกะรอยกันต่อ ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ดินแดนที่เล่าสืบกันมาช้านานว่า มีความเกี่ยวข้องกับพญานาค

ไม่ว่าจะเป็นวัดโพธิ์ทองหนองคำแสน, วัดนาคห่อผ้า ,พระธาตุหลวง เวียงจันทน์ ที่ชาวลาวเชื่อว่า มีทางเชื่อมสู่วังพญานาค พร้อมชมบรรยากาศความศักดิ์สิทธิ์สวยงาม ของประเพณีลอยกระทงสาย, ขั้นตอนการทำเรือไฟ สำหรับใช้ในประเพณีไหลเรือไฟ บูชาแม่น้ำโขงของชาวหมู่บ้านหมากเฮี่ยว และความมหัศจรรย์ของบั้งไฟพญานาค ทั้งจากฝั่งไทยและฝั่งลาว ตามชมทั้งหมดนี้ได้ ในรายการบางอ้อ วันอังคารที่ 21 ตุลาคมนี้ เวลา 23.00 น. ทางโมเดิร์นไนน์ ทีวี คลิก ตอนที่ 2 ต่อไป >>



ปริศนาบั้งไฟพญานาค - เจาะข่าวเด่น 10-11 พ.ย. 58 (บั้งไฟพญานาค ปี 2558..ขึ้นแล้วกว่า 729 ลูก))

ประชาชนนับแสน รอชมบั้งไฟพญานาคริมฝั่งโขง ทั้ง อ.โพนพิสัย และ อ.รัตนวาปี จังหวัดหนองคาย ภายหลัง 18.00 น. ผุดขึ้นน้ำต่อเนื่องยันค่ำกว่า 729 ลูก สร้างความฮือฮาเป็นอย่างมาก

........เมื่อวันที่ 27 ต.ค. 58 ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศ บริเวณลานพญานาค หน้าวัดไทย ต.จุมพล อ.โพนพิสัย จ.หนองคายว่า ช่วงเย็นที่ผ่านมามีประชาชนนับแสนพาครอบครัวเดินทางมารอชมบั้งไฟพญานาคริมฝั่งโขงกันอย่างคึกคัก ขณะที่นายอภินันท์ โกษยานนท์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้เป็นประธานพิธีบวงสรวงบูชาพญานาค และพิธีสวดเจริญพระพุทธมนต์บูชาพระรัตนตรัยวันออกพรรษา ซึ่งมีนายประสงค์คงเคารพธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ตลอดจนพุทธศาสนิกชนเข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก

อย่างไรก็ตามบั้งไฟพญานาคได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ที่บ้านโพนแพง ต.โพนแพง อ.รัตนวาปี 1 ลูก เวลา 18.16 น. และยังได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นชุดรวม 33 ลูก จากนั้นยังได้เกิดที่บ้านตาลชุม 43 ลูกบ้านเปงจาน 120 ลูก บ้านน้ำเป 8 ลูก ส่วนในเขต อ.โพนพิสัย เกิดขึ้นที่บ้านปากสวย 4 ลูก บ้านหนองกุ้ง 3 ลุก บ้านหนองแก้ว 44 ลูก รวมทั้งหมด 255 ลูก โดยบั้งไฟพญานาคได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตามจุดต่าง ๆ กระทั่งเวลา 19.45 น. ได้มีปรากฎการณ์บั้งไฟพญานาคเกิดขึ้นแล้วรวมทั้งสิ้น 729 ลูก ท่ามกลางเสียงร้องไชโยดังกึกก้องด้วยความดีใจของนักท่องเที่ยวที่ได้พบเห็น.

ที่จ.บึงกาฬ เมื่อเวลา 18.19 น. นักท่องเที่ยวที่รอชมบั้งไฟพญานาค ริมฝั่งแม่น้ำโขง 3 จุดในจังหวัดคือ บริเวณลานบั้งไฟพญานาค เขตเทศบาลตำบลปากคาด อ.ปากคาด หลายหมื่นคน ต่างโห่ร้องด้วยความตื่นเต้นดีใจ เสียงดังสนั่นไปทั้งแนวฝั่งโขง เมื่อบั้งไฟพญานาคลูกกลมสีแดงอมชมพู ลูกแรกที่ทุกคนเฝ้ารอได้พุ่งขึ้นจากแม่น้ำโขง สู่ท้องฟ้าประมาณ 200 เมตร ก่อนจะหายแวบไปในอากาศ จากนั้นบั้งไฟพญานาคลูกต่อๆ มาก็ได้พุ่งขึ้นตามหลังกันมาเป็นช่วงๆ นับรวมกันได้ 65 ลูก

ขณะเดียวกัน ที่บริเวณริมฝั่งโขง วัดอาฮงสิลาวาส ต.ไคสี บั้งไฟพญานาคลูกแรกได้พุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อเวลา 18.45 น.ทำเอาประชาชนที่เดินทางมาทำบุญวันออกพรรษา และนักท่องเที่ย;จำนวนมากที่มารอชมต่างร้องไชโยและพากันกล่าวคำสาธุการไปทั่วสองฝั่งโขง โดยหลังลูกไฟลูกแรกปรากฏขึ้น ก็มีลูกไฟพุ่งขึ้นจากลำน้ำโขงอีกครั้งละ 2-3 ลูกรวมทั้งหมด 7 ลูก ส่วนจุดที่ 3 ซึ่งเป็นจุดสุดท้าย ที่ริมฝั่งโขงบ้านท่าสีไค ต.ดงบัง อ.บึงโขงหลง ลูกไฟจะพุ่งขึ้นช้ากว่าเพื่อนเพราะอยู่ใต้สุดโดยลูกแรกปรากฏแก่สายตาประชาชนเมื่อเวลา 19.42 น. ลูกที่ 2 และ 3 ก็ตามมา สรุปในจังหวัดบึงกาฬขณะนี้มีบั้งไฟพญานาคขึ้นมาแล้วจำนวน 75 ลูก แต่อาจจะเพิ่มจำนวนขึ้นอีกจนกว่าจะถึงเวลา 22.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาสิ้นสุดการเกิดปรากฏการณืบั้งไฟพญานาค.


ขอบคุณข่าว - dailynews.co.th



บั้งไฟพญานาค 2557 นักท่องเที่ยวแห่ชมปรากฏการณ์ บั้งไฟพญานาค แน่นริมฝั่งโขง เผยที่ อ.โพนพิสัย และ อ.รัตนวาปี จ.หนองคาย ผุดรวมกว่า 444 ลูก

........วันที่ 8 ตุลาคม 2557 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในปีนี้มีนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาชมบั้งไฟพญานาคที่ อ.โพนพิสัย และ อ.รัตนวาปี จ.หนองคาย น้อยกว่าทุกปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ในช่วงเย็น นายอโณทัย ธรรมกุลรอง ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ได้เป็นประธานพิธีบวงสรวงพญานาค ที่เทศบาลตำบลโพนพิสัยจัดขึ้น เพื่อเป็นการบูชาพญานาค ตามประเพณีที่ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนาน มีประชาชนเข้าร่วมชมกันเป็นจำนวนมาก

จนกระทั่งเวลา 18.20 น. ได้เกิดบั้งไฟพญานาคชุดแรกขึ้นที่บ้านหนอแก้ว ต.จุมพล อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย จำนวน 3 ลูก และถัดมาไม่นาน เมื่อเวลา 18.37 น. เกิดบั้งไฟพญานาคขึ้นอีก 2 ลูก ที่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง บ้านท่าม่วง ต.รัตนวาปี อ.รัตนวาปี หลังจากนั้นบั้งไฟพญานาคได้ทยอยพุ่งขึ้นกลางแม่น้ำโขงอย่างต่อเนื่อง จนถึงเวลา 19.20 น. พบว่า มีบั้งไฟพญานาคเกิดขึ้น รวม 96 ลูก ทำให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่รอชมต่างร้องไชโยด้วยความดีใจที่ได้เห็นบั้งไฟพญานาคดังกล่าว

หลังจากนั้นมีบั้งไฟพญานาคทยอยพุ่งขึ้นกลางแม่น้ำโขงอย่างต่อเนื่องจนถึงเวลา 21.00 น. รวมมีบั้งไฟพญานาคเกิดขึ้นที่ อ.รัตนวาปี ประกอบด้วย

บ้านหนองแก้ว 3 ลูก
บ้านตาลชุม 116 ลูก
บ้านท่าม่วง 68 ลูก
บ้านโป่งสําราญ 122 ลูก
หนองน้ำหนองคอน 2 ลูก
หนองน้ำหนองลาด 51 ลูก
บ้านนิคมเปงจาน 16 ลูก
บ้านน้ำเป 50 ลูก

ส่วนที่ อ.โพนพิสัย มีบั้งไฟพญานาคเกิดขึ้นที่หน้า อบต.จุมพล 9 ลูก และ ต.บ้านเดื่อ อ.เมืองหนองคาย 2 ลูก ต.หินโงม อ.เมืองหนองคาย 2 ลูก และ อ.สังคม ที่อ่างปลาบึก ต.ผาตั้ง จํานวน 3 ลูก

รวมจํานวนบั้งไฟพญานาคในวันที่ 8 ตุลาคม 2557 ณ ช่วงเวลา 21.00 น. จํานวน 444 ลูก

ส่วนในพื้นที่ จ.บึงกาฬ มีบั้งไฟพญานาคเกิดขึ้นที่ลานพญานาค อ.ปากคาด จ.บึงกาฬ 10 ลูก และที่บ้านท่าสีไค อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ จํานวน 9 ลูก สําหรับบั้งไฟพญานาคในปีนี้มีสีส้มอมแดง





webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 5/3/09 at 08:10 Reply With Quote





ประวัติความเป็นมาของ “ วันมหาปวารณา


........วันมหาปวารณา เป็นวันสุดท้ายของการเข้าพรรษา ซึ่งพระภิกษุจะต้องประชุม ทำปวารณากันในโบสถ์ และต้องอยู่จำพรรษาที่อารามนั้นๆ อีก ๑ คืน จนกระทั่งรุ่งอรุณของวันใหม่ จึงได้ชื่อว่า สิ้นสุดการเข้าพรรษา หรือออกพรรษาที่แท้จริง ทั้งนี้คนในปัจจุบันสับสน เพราะคนทำปฏิทินสับสนและเข้าใจผิด

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีพระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุทำปวารณา คือ ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกัน หรือ ยอมมอบตนให้สงฆ์ว่ากล่าวตักเตือน ในข้อบกพร่องที่ภิกษุทั้งหลายได้เห็น ได้ยิน หรือมีข้อสงสัย ด้วยจิตเมตตา เพื่อให้สำรวมระวังปรับปรุงแก้ไขตนเอง เพื่อความเจริญในพระธรรมวินัย และความผาสุกในการอยู่ร่วมกัน

ที่มา คือ ครั้งหนึ่ง ภิกษุจำพรรษาในแคว้นโกศล ตั้งกติกาไม่พูดกัน ใช้วิธีบอกใบ้ หรือใช้มือแทนคำพูด เมื่อออกพรรษาแล้วไปเฝ้าพระศาสดา พระองค์ทราบความแล้ว ทรงติเตียน และทรงอนุญาตการปวารณา คือการอนุญาตให้ภิกษุอื่นว่ากล่าวตักเตือนกันได้ โดยภิกษุจำพรรษาแล้วปวารณาด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ ๑. โดยได้เห็น ๒. โดยได้ยิน ได้ฟัง ๓. โดยสงสัย ( ปวารณาขันธกะ วิ. ม. สมันตาปาสาทิกา มก. ๖/ ๕๖๘ , มจ. ๔/ ๓๓๑)

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกระทำปวารณาต่อหมู่สงฆ์
น่าสังเกตว่า แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์ผู้หมดกิเลสแล้วยังมีการทำปวารณาซึ่งกันและกัน แสดงให้เห็นว่า การทำปวารณาของสงฆ์นั้น เป็นสิ่งจำเป็นทั้งระดับบุคคลและหมู่สงฆ์ ดังนี้

คราวหนึ่งในพระวิหารบุพพาราม กรุงสาวัตถี พระศาสดาประทับอยู่กับพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป ในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ เพื่อจะทรงทำปวารณา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่เหล่าภิกษุนั้นว่า จะติเตียนการกระทำทางกาย ทางวาจาของพระองค์บ้างหรือไม่ พระสารีบุตรทูลตอบปฏิเสธ จากนั้นพระสารีบุตรก็กล่าวปวารณาให้พระศาสดาติเตียนท่าน

สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวปฏิเสธ เพราะพระสารีบุตรเป็นบัณฑิต เป็นผู้มีปัญญามาก พระสารีบุตรทูลถามอีกว่า พระองค์จะไม่กล่าวติเตียนการกระทำทางกาย ทางวาจา ของเหล่าภิกษุบ้างหรือ พระองค์กล่าวปฏิเสธ เพราะเหล่าภิกษุนี้ได้บรรลุวิชชา ๓ อภิญญา ๖ ได้อุภโตภาควิมุตติ และได้ปัญญาวิมุตติเป็นพระอรหันต์ ( ปวารณาสูตร สัง. ส. วังคีสสังยุต มก. ๒๕/ ๓๒๕, มจ. ๑๕/ ๓๑๒)

อานิสงส์การอยู่จำพรรษา
ส่วนเมื่อออกพรรษาแล้ว นั่นหมายถึง พระภิกษุอยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ย่อมได้อานิสงส์พรรษา ๕ ข้อ คือ

๑.เที่ยวไปไหนโดยไม่ต้องบอกลา
๒.ไม่ต้องถือไตรจีวรครบสำรับ
๓.ฉันคณะโภชน์ได้ (ฉันอาหารรวมกันเป็นกลุ่มได้)
๔.ทรงอดิเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา และ
๕. จีวรที่สาธุชนถวายมานั้น สามารถรับเป็นของตนได้ตามความจำเป็น โดยไม่ต้องส่งเข้ากองกลางให้เป็นของสงฆ์ (วิ.ม. มก.๗/๑๙๓, มจ.๕/๑๔๕)

ด้วยอานิสงส์ทั้ง ๕ ข้อนี้ ทำให้เกิดความสะดวกในการบำเพ็ญสมณะธรรมอย่างมาก เพราะช่วง ๓ เดือนในพรรษา เป็นเสมือนการศึกษาภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติโดยมีอุปัชฌาย์อาจารย์คอยดูแลชี้แนะข้อบกพร่อง เมื่อออกพรรษาจึงต่างแยกย้ายกันหาที่สงัดสงบและวิเวก เหมาะแก่การบำเพ็ญสมณะธรรมให้เข้มข้นด้วยตนเอง อีก ๙ เดือน ก่อนที่จะกลับมารวมตัวกันใหม่พรรษาหน้า เพื่อเช็คสอบความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมและรับการชี้แนะต่อไป.







เทโวโรหนะ “ วันพุทธเจ้าเปิดโลก”


ในวันออกพรรษชาวไทยมี “ ประเพณีตักบาตรเทโวโรหนะ” ซึ่งแปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลกของพระศาสดา มีเรื่องราวบันทึกในพระไตรปิฎกเช่นกัน ( ขุ. ธ. พุทธวรรค มก. ๔๒/ ๓๑๖, มจ. ๒๕/ ๘๙)

เหตุการณ์ในวันนั้น คือ “สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้พุทธานุภาพเปิดโลก” เริ่มจากเมฆที่มีมากมายหายไป ท้องฟ้าเริ่มเปิดออก มีลำแสงฉัพพรรณรังสีพุ่งออกมา ท้องฟ้ากลวงเข้าไป เหมือนไม่มีท้องฟ้า ท้องฟ้าเปิดจนมอง เห็นสวรรค์ ในลำแสงนั้นก็จะเห็นเหล่าทวยเทพทั้งหลายในภพ ๓ เต็ม ไปหมดเลย ยกเว้นอรูปพรหม ๔ ชั้น และอสัญญีสัตตาพรหม หรือพรหมรูปฟัก ที่ไม่ได้มา นอกนั้นมาหมดเลย

ท้าวมหาราชทั้ง ๔ พร้อมด้วย นาค ครุฑ ยักษ์ คนธรรพ์ โดยเฉพาะคนธรรพ์จะร้องรำทำเพลง ประโคม ดนตรีตลอด เวลา พลุสวรรค์หลากสี ดังเป็นเสียงดนตรีสวรรค์ ดอกไม้ทิพย์สวยสดงดงาม หอมฟุ้ง ตลบอบอวลไป ทั่วบริเวณสองข้างทาง ก็เต็มไปด้วยทวยเทพทุกชั้น เทพอัปสร เรียงกันลงมาเป็นกระบวน ถัดจากนางเทพอัปสรก็จะมีเหล่าเทวดายืนเรียงรายกันเต็มไปหมดเลย มีบันไดทองคำใส บันไดแก้ว เพชร บันไดเงิน ทอดลงมาจากดาวดึงส์จนถึงพื้นโลกมนุษย์

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอยู่ตรงกลางบันไดแก้ว เพชรที่มีหลากสี ทั้งม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง ตามหลังมาด้วย ปัญจสิกขเทวบุตร และมาตุลีเทพสารถี

ส่วนบันไดทองคำใส เป็นของเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ มีท้าวสุยามาผู้ปกครองสวรรค์ชั้นยามา ถือพัดวีชนี ท้าวสักกเทวราชหรือ พระอินทร์ถือปาริฉัตกะ ถัดมาเป็นท้าวสันตดุสิต ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นดุสิต ท้าวนิมมานรมิต ผู้ปกครอง สวรรค์ชั้นนิมมานรดี ถัดมาก็ท้าวปรนิมมิต ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี และตามด้วยเหล่า เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ทั้งหลาย

บันไดเงินเป็นของพรหมผู้มีศักดิ์ใหญ่ ทั้ง ๑๖ ชั้น ซึ่งล้วนแต่งชุดขาว มีอานุภาพมาก ผู้มีศักดิ์ ใหญ่มากที่สุดก็อยู่ข้างหน้า เนรมิตฉัตรสีขาว ๙ ชั้น ลอยอยู่เบื้องบน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปล่งฉัพพรรณรังสี สว่างไสว เนรมิตพระวรกายให้ใหญ่ กว่าเทวดาและพรหม ในระดับที่มนุษย์เห็นพอดี ใกล้หรือไกลก็เห็นเท่ากันด้วยพุทธานุภาพ



ประเพณีวันออกพรรษา


มีเหตุการณ์หลายอย่างเกิดขึ้น เกี่ยวเนื่องกับวันออกพรรษา ขอสรุปย่อๆ ดังนี้

1. วันออกพรรษา หมายถึง วันสิ้นสุดการอยู่จำพรรษา ของพระภิกษุ ครบ 3 เดือนในฤดูฝน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันปวารณา" (อ่านว่า ปะ-วา-ระ-นา) หรือ "วันมหาปวารณา" คือ วันที่เปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันได้ด้วยเมตตาจิต เมื่อได้เห็น ได้ฟัง หรือสงสัยในพฤติกรรมของกันและกัน กิจกรรมอย่างหนึ่งที่พิเศษ ในวันออกพรรษา คือในวันนั้น พระสงฆ์จะงดสาธยายพระปาติโมกข์ แต่จะทำสังฆกรรมอย่างอื่นแทน เรียกว่า "พิธีปวารณา"

2. พิธีปวารณา คือการยอมให้ผู้อื่น ว่ากล่าวตักเตือนในหมู่สงฆ์ ผู้ว่ากล่าวตักเตือนจะต้องทำด้วยความเมตตาจิต ปราถนาดีต่อผู้ถูกตักเตือน ทั้งกาย วาจา และใจ ส่วนผู้ถูกว่ากล่าวตักเตือน ก็ต้องมีจิตใจกว้างขวาง มองเห็นความปราถนาดีของผู้ตักเตือน
ถ้าเป็นจริงตามคำกล่าวก็ปรับปรุงตัวใหม่ หากไม่จริงก็สามารถชี้แจงแสดงเหตุผลให้กระจ่าง ทั้งสองฝ่ายต้องคิดว่าทักท้วงเพื่อก่อสุข ฟังเพื่อแก้ไข จึงจะได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย และตรงกับความมุ่งหมายของการปวารณา ที่จะสร้างความสมัครสมานสามัคคี และดำรงความบริสุทธิ์หมดจดไว้ในสังคมพระสงฆ์

3. ประเพณีตักบาตรเทโวฯ ซึ่งย่อมาจาก “เทโวโรหะณะ” หมายถึงการเสด็จลงมาจากเทวโลกของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วได้เสด็จไปประกาศพระศาสนาในแคว้นต่างๆ ทรงรำลึกถึงพระพุทธมารดา จึงทรงดำริที่จะสนองคุณของพระมารดา ดังนั้น ในพรรษาที่ ๗ จึงได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธมารดาและเทวดาทั้งหลายอยู่หนึ่งพรรษา

ครั้นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 หรือหลังวันออกพรรษา 1 วันพระองค์เจ้าจึงได้เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มาประทับที่ เมืองสังกัสสะ ประชาชนต่างพากันไปเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อทำบุญตักบาตรกันอย่างเนืองแน่น ด้วยเหตุนี้ ชาวพุทธจึงถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลกมาสู่เมืองมนุษย์ จึงนิยมตักบาตรกันเป็นพิเศษ และทำสืบต่อกันมาเป็นประเพณีที่เรียกว่า “พิธีตักบาตรเทโวฯ” มาตราบเท่าจนทุกวันนี้

4. วันตักบาตรเทโวฯ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันพระ (พุทธ) เจ้าเปิดโลก” ด้วยว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาสู่โลกมนุษย์ หลังวันออกพรรษานั้น เล่ากันว่ามีเทวดาจำนวนมากได้ตามส่งเสด็จอย่างสมพระเกียรติ พระพุทธองค์จึงทรงเนรมิตให้เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรกมองเห็นกันและกันตลอดทั้ง 3 โลก คือ สวรรค์ มนุษย์ และนรก อีกทั้งวันนี้การลงโทษในเมืองนรกได้ยุติลงชั่วคราว จึงเรียกว่า วันพระ (พุทธ) เจ้าเปิดโลก”

5. บุญพิธีทอดกฐิน หลังออกพรรษแล้ว จะเป็นช่วงเทศกาลกฐิน เป็นเวลา 1 เดือน คือตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 กฐิน หมายถึง ไม้สะดึง ไม้สำหรับขึงผ้าให้ตึงแล้ว จึงเย็บผ้า ในสมัยโบราณนิยมเย็บผ้ากันด้วยวิธีนี้ จึงนำมาใช้สำหรับเย็บผ้าสบง จีวร ของพระสงฆ์ ซึ่งเรียกกันว่า "ผ้ากฐิน"
ดังนั้น "ผ้ากฐิน" จึงหมายถึง ผ้าที่ผ่านกรรมวิธีการตัดเย็บ โดยใช้ไม้สะดึงขึงผ้าให้ตึง และกะ ตัด เย็บผ้า ตามแนวของพระธรรมวินัย (ดังนั้น พระสงฆ์จึงต้องตัด กะ เย็บและย้อมผ้ากฐิน โดยต้องทำให้เสร็จในวันรับกฐิน ผ้าสำเร็จรูปไม่นับว่าเป็นผ้ากฐิน แต่ถึงการนับว่าเป็นบริวารกฐินได้)

กฐิน เป็นทานพิเศษ เรียกว่า อกาลทาน ไม่มีทั่วไป วัดหนึ่งๆ สามารถรับกฐิน ได้ครั้งเดียว และจะต้องมีพระสงฆ์อยู่จำพรรษา ครบ 5 รูป บางทีท่านก็เรียกว่า “กาลทาน ทานที่ให้ตามกาลสมัย ไม่มีทั่วไป เป็นต้น” ดังนั้น "กฐิน" ถ้าเรียกตามชื่อ (ไม้สะดึง) เรียกว่า "ผ้ากฐิน" ถ้าเป็นชื่อของทาน หรือการทำบุญ เรียกว่า "บุญกฐิน" ถ้าเรียกตามพระธรรมวินัยของพระ เรียกว่า "กฐินัตถารกิจ" หรือ "พิธีกรานกฐิน"

ที่มา - จาก วารสาร วัดสังฆรัตนาราม : วันออกพรรษา ปีพุทธศักราช 2549



“ บั้งไฟพญานาคา บูชาองค์พระศาสดา
(ภาพนี้บั้งไฟขึ้นที่ฝั่งลาว)”



เหตุการณ์ "วันพุทธเจ้าเปิดโลก" ได้มาเชื่อมโยงกับเหตุการณ์สำคัญในปัจจุบัน คือ ปรากฏการณ์ “บั้งไฟพญานาค” ซึ่งมีแห่งเดียวในโลก ณ แผ่นดินแม่น้ำโขง บริเวณ อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย หรือ ปากน้ำงึมของฝั่งลาว ตรงกับวันออกพรรษาของไทย หรือวันมหาปวารณาของลาว

ตามคำบอกเล่าของคนในพื้นที่ ซึ่งเล่าสืบต่อกันมาหลายร้อยปี และมีข้อมูลปัจจุบัน คือ พญานาคใต้ลำน้ำโขงจะขึ้นมาพ่นบั้งไฟเป็นดวงประทีปถวายเป็นพุทธบูชา เพื่อสรรเสริญคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นการระลึกนึกถึงเหตุการณ์ในอดีต เมื่อครั้งที่พระศาสดาทรงเสด็จลงจากเทวโลกชั้นดาวดึงส์ และทรงใช้พุทธานุภาพ “ เปิดโลก” เพื่อให้มนุษย์ เทวดา พรหม และสัตว์ในอบายภูมิได้เห็นกันหมด

พญานาคที่ลุ่มน้ำโขงก็เป็นท่านหนึ่งที่เห็นพุทธานุภาพนั้น บังเกิดความเลื่อมใส และยิ่งตอกย้ำถึงความปรารถนาดั้งเดิมที่จะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต จึงอธิษฐานซ้ำไปอีก และเมื่อถึงวันเข้าพรรษาทุกปี พญานาคก็จะออกมาจากนาคพิภพมาจำศีลภาวนาใต้ลำน้ำโขง ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่เสพเมถุนตลอดเวลา ๓ เดือน

เมื่อถึงวันออกพรรษา แล้วก็ระลึกนึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันที่เสด็จลงมาจากดาวดึงส์ ด้วยใจที่ปลื้มปีติ แล้วพ่นไฟที่กลั่นจากใจใสๆ ลอยขึ้นไปในอากาศ พร้อมทั้งอธิษฐานว่า ด้วยอานิสงส์นี้ ขอให้ข้าพระองค์ได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต ดวงไฟออกมาอย่างนุ่มนวลเป็นฟองอยู่ใต้น้ำก็กลม ๆ เนื่องจากเป็นของกึ่งหยาบกึ่งละเอียด ทำให้เวลาลอยพ้นน้ำขึ้นมา ผิวน้ำจะไม่กระเพื่อม คือ เหมือนผ่านอากาศ แล้วลอยขึ้นไปสว่างวาบบนท้องฟ้า

ตอนแรกท่านก็มาตามลำพังตนเดียว ต่อมาบริวารเกิดศรัทธา ตามขึ้นมาจำศีลด้วย บั้งไฟที่ส่องสว่างขึ้นบนท้องฟ้า ช่วงสั้นบ้าง ยาวบ้าง ดวงโตบ้าง ดวงเล็กบ้าง แล้วแต่อานุภาพของแต่ละท่าน ใครกำลังบารมีอ่อนก็พ่นได้ไม่กี่ดวง แล้วก็สูงไม่มาก แต่ของพญานาคจะสูงทีเดียว ด้วยเหตุนี้ บั้งไฟพญานาคจึงเกิดขึ้นในวันออกพรรษาทุกปี และเริ่มมีมากขึ้นตาม ห้วยหนองคลองบึงต่าง ๆ

พุทธศาสนามีเรื่องราวให้ศึกษามากมายทั้งในอดีตและปัจจุบัน ดังเช่น เหตุการณ์ “พระพุทธเจ้าเปิดโลก” “ บั้งไฟพญานาค” หรือ แม้แต่เรื่องง่ายๆ อย่างวันมหาปวารณาและวันออกพรรษาดังกล่าวแล้ว ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำความเข้าใจกันให้ถูกต้องทั้งในส่วนของเรื่องราว เวลา และสถานที่ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังที่ตามมา ศึกษาได้อย่างถูกต้องและสืบทอดพระพุทธศาสนาให้เป็นประโยชน์ต่อชาวโลกกันต่อไป

ที่มา - เว็บ kalyanamitra.org



| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
| 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | »



webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 18/11/15 at 06:15 Reply With Quote


.


webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member

Go To Top
 

"เว็บตามรอยพระพุทธบาท" ได้รับลิขสิทธิ์จาก พระอาจาย์ชัยวัฒน์ อชิโต เพื่อเผยแพร่รูปภาพและข้อมูล
จาก "หนังสือตามรอยพระพุทธบาท" จึงขอสงวนลิขสิทธิ์ตาม
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
ห้ามคัดลอกข้อมูล, ภาพ, เสียง ออกไปเผยแพร่ หรือนำไปโพสในเว็บใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน

เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีกับโปรแกรม Internet Explorer, Window Media V.9, Flash Player ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 768 pixels ความเร็วอินเตอร์เน็ต 1 Mbps. ขึ้นไป

ถ้าพบข้อผิดพลาดใดๆ หากจะแนะนำ หรือติชม และสอบถาม ติดต่อ "ทีมงานเว็บตามรอยพระพุทธบาท"
เริ่มเปิดเว็บไซด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Copyright @ 2008 tamroiphrabuddhabat.com All rights reserved