ตามรอยพระพุทธบาท

*..New..* งานพิธีฉลองชัย ณ อาณาจักรศรีอยุธยา วันที่ 22 พ.ค. 2542
webmaster - 15/11/10 at 16:16

ติดตาม ตอน "อาณาจักรรัตนโกสินทร์"







(ชมคลิปวีดีโอได้ที่นี่)

ท่านผู้อ่านทุกท่าน... ที่ได้ติดตาม อ่านคอลัมน์นี้มานาน คงจะทราบเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ดี เกี่ยวกับเรื่องการจัดงานพิธีกรรมที่ผ่านมา แต่ทว่ากว่าจะอ่านข้อเขียนในแต่ละเรื่อง เวลาก็ผ่านนานไปเป็นปี

ตัวอย่างเช่นเกี่ยวกับงานในครั้งนี้ ถ้าจะย้อนเล่าเรื่อง เมื่อปีที่แล้วผู้ที่เคยร่วมเดินทางคงจะจำได้ว่า ผู้จัดได้แจก “กำหนดการเดินทาง” ก่อน ซึ่งข้อความในแผ่นนั้น อาจจะกล่าววาจารุนแรงไปบ้างก็ต้องขออภัย เพราะต้องการให้งานพิธีที่จะจัดขึ้นนี้มีประสิทธิภาพ เพราะมิใช่เป็นงานธรรมดา แต่เป็น “งานพิธีตัดไม้ข่มนาม” ตามประเพณีโบราณ


แต่ก่อนจะถึงวันงานนั้น จะขอย้อนเล่าเรื่องเตรียมการก่อนงาน โดยขอข้อมูลทางประ วัติศาสตร์จาก คุณนนทยา นาคะสิงห์ ซึ่งเป็นพยาบาลอยู่ที่อยุธยา ต่อมาผู้จัดก็เดินทางไป ตรวจดูสถานที่ด้วยตนเองก่อน ภายหลังจึงได้ นำเจ้าหน้าที่จัดงานไปด้วย

โดยกำหนดสถานที่จอดรถ หาจุดที่จะจัดตั้งขบวน และจุดที่จะทำพิธีบวงสรวง ตลอดถึงมีการประสานงานกับลูกศิษย์หลวงพ่อที่อยุธยา อันมี อ.ทวีศักดิ์ รักดนตรี เป็นผู้ประสานงาน เพื่อติดต่อกับ ผอ.อุทยาน, ปลัดเทศบาล, เจ้าหน้าที่ตำรวจ, เจ้าหน้าที่ อพ.ปร. ตลอดถึงติดต่อผู้ที่จะมาเลี้ยงน้ำ และเลี้ยงขนมแบบไทยๆ ในเวลาตอนเย็น


โดยมีคณะศิษย์ของพระเดชพระคุณ หลวงพ่อที่อยุธยาอีกหลายท่าน เช่น พ.จ.อ. โกวิท นวลปลั่ง พร้อมทั้งลูกสาวและลูกเขย ของ อ.เกษริน ภู่กร ที่เป็นอาจารย์สอนอยู่ที่อยุธยาอีกด้วย นอกจากนั้นก็รู้จักกันอีกหลายท่าน ขออภัยด้วยที่จำชื่อได้ไม่หมด

ฉะนั้น เดิมทีคิดว่างานนี้เป็นงานสุดท้าย จึงอยากจะทำสิ่งที่เป็นมงคลเป็นที่ระลึก พอดี คุณอธิก แจ้งมาว่า คุณชาญวิทย์ - คุณลักษมี (แมว) มโนธีรวัฒน์ ขอเป็นเจ้าภาพในการจัดทำ โดยมี คุณเกศิณี จาติกวณิช (หลี) และลูกหลวงพ่อสัมพเกษีเป็นผู้ประสานงาน

ผู้เขียนจึงได้ออกแบบเป็นพุทธลักษณะ พระพุทธเจ้าประทับรอยพระพุทธบาท เหมือน กับสร้างไว้ที่ เกาะแก้วพิสดาร จ.ภูเก็ตอีก ทั้งทำ ตาลปัตร และ ย่าม เพื่อถวายพระใน วันงานด้วย มีมูลค่ารวม ๕๖๗,๕๑๐ บาท พร้อมทั้งพิมพ์หนังสือเป็นที่ระลึก แจกที่ วัดสระเกศ อีกด้วย ซึ่งมี อ.ศรีลักษณ์ (หมู) และคณะ ช่วยกันจัดทำ


ส่วนเจ้าหน้าที่จัดงาน ก็มีการประชุมปรึกษาหารือกัน ผู้จัดได้มอบหมายให้แต่ละคณะทำหน้าที่ต่าง ๆ กันคือ คณะถาวร โดย คุณเมฆ และ คณะรวมใจภักดิ์ โดย คุณพิณทิพย์ ไทรงาม เป็นผู้จัดรถบัสจากกรุงเทพฯ

ส่วน คณะพุฒตาล (จเร) มีหน้าที่จัดสิ่งของในขบวน นอกนั้นก็ช่วยกันจัดแถวเตรียมอุปกรณ์สำหรับแห่ ส่วนผู้ร่วมเดินทางก็มีการเตรียมชุดแต่งกายที่จะร่วมพิธีในครั้งนี้ บางคนก็เช่าจากร้าน บางคนก็ลงทุนตัดเย็บเองซึ่งมีทั้งชุดพื้นบ้าน ชุดชาวเมือง และชุดชาววัง







คณะญาติโยมแต่งชุดไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาเสร็จแล้ว ต่างก็มายืนรอเข้าขบวนแห่กัน

ครั้นถึงวันที่ ๒๑ พ.ค. ๔๒ ก่อนวันงาน ๑ วัน พวกเราก็เดินทางออกมาจากวัด มีทั้งรถตู้และรถกระบะ ช่วยขนของกันมา ๒-๓ คัน ได้เลยไปจัดสถานที่ ณ วัดสระเกศ กันก่อน แต่ก็ยังเตรียมอะไรไม่ได้มาก นอกจากแจ้งกับทางวัดให้กางเต็นท์ไว้ด้วย โดยมี พระเอกภพ (ต้า) เป็นผู้ประสานงานอยู่ที่นั่น

หลังจากฉันเพลกันแล้ว พวกเราก็ย้อนกลับมาที่อยุธยา ระหว่างเดินทางมาที่ พระเจดีย์ศรีสุริโยทัย ณ วัดสบสวรรค์ นั้น ฝนก็ตกลงมามากมาย จึงได้เข้าไปกราบไหว้อธิษฐาน ขอให้วันจัดงานอย่าได้มีอุปสรรคจากดินฟ้าอากาศทั้งหลายอย่างนี้เลย

ต่อจากนั้นก็ไปที่ วัดมหาธาตุ พระที่มาจากวัด ๔-๕ องค์ ช่วยกันจัดตั้งเครื่องขยายเสียง ส่วนฆราวาสก็ช่วยกันขนโต๊ะบวง สรวง ขนอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ในพิธี สำหรับคณะบายศรีก็มี คุณแดง (พรรณรัตน์) เป็นต้น ก็ช่วยกันขนมาทำที่ วัดมเหยงค์ ซึ่งเป็นสถานที่พักแรมของพวกเราทั้งหมดด้วย


ในเวลากลางคืน ผู้จัดก็ได้ถวายทานกับ เจ้าอาวาสวัดมเหยงค์ เป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท เข้าพักผ่อนหลับนอน ประมาณตี ๓ ฝนตกลงมาอย่างหนัก จนกระทั่งรู้สึกตัวตื่นขึ้น แต่ก็นอนปลงอนิจจังว่างานนี้คงจะพังเพราะฝนแน่ ทั้งๆที่เราก็ได้ตั้งจิตอธิษฐานขอท่านไว้แล้ว ท่าน คงจะช่วยเราไม่ได้ จึงนอนต่อด้วยความไม่สบายใจเท่าใดนัก

ตอนเช้าของวันที่ ๒๒ พ.ค. ๔๒ คณะเจ้าหน้าที่บางคนได้ออกจากวัดไปก่อน เพื่อไปจัดเตรียมสถานที่ ณ วัดมหาธาตุ ได้เล่าให้ฟังภายหลังว่า ขณะที่กำลังจะออกจากวัด ในตอนที่ใกล้สว่างแล้ว เห็นแสงสีรุ้งขึ้นเหนือท้องฟ้า ผู้จัดได้ยินเช่นนั้น จึงรู้สึกมีกำลังใจยิ่งขึ้น คิดว่างานนี้คงจะจัดได้


เมื่อทานข้าวต้มเช้าที่ทางวัดมเหยงค์จัดเลี้ยงแล้ว พวกเราทุกคนทั้งพระและฆราวาส ซึ่งมีหลายคนตามมาสมทบค้างคืนด้วย เช่น คณะหาดใหญ่ เป็นต้น พร้อมทั้ง คุณหลี และ คุณก๊วยเจ๋ง ก็ได้ขนเอาพระพุทธรูปและ ตาลปัตรมาส่งให้ถึงวัด

ขณะที่ออกจาก วัดมเหยงค์ เพื่อเดินทางไปที่ วัดมหาธาตุ ซึ่งอยู่ไม่ไกลกันนัก คิดว่าจะไปดูว่าฝนตกลงมามากขนาดไหน พอไปถึงก็ปรากฏว่าไม่มีฝนตกเลย แสดงว่าฝนตกแค่วัดที่เราพักแค่นั้น นับว่าเป็นเรื่องที่แปลกมากทีเดียว ทำให้พวกเราทุกคนมั่นใจยิ่งขึ้น งานครั้งนี้ถึงแม้จะเสี่ยงขนาดไหน วันนี้คงจะไม่มีปัญหาแต่อย่างใด จึงช่วยกันจัดสถานที่จนเป็นที่เรียบร้อย ทันเวลาตามที่นัดหมายไว้กับผู้ร่วมเดินทางทั้งหลายว่า จะเริ่มเดินขบวนเวลาประมาณ ๑๔.๐๐ น.

ถ้าใครมาถึงในตอนเช้า ก็ไปชมสถานที่สำคัญที่อื่นก่อน แล้วมารวมตัวกันที่ วิหารพระมงคลบพิตร ในตอนบ่าย เมื่อถึงเวลาเช้า รถบัสจากกรุงเทพจำนวน ๙ คัน และ รถบัสจากพิษณุโลก ๒ คัน พร้อมทั้งรถตู้ และรถเก๋งอีก ๑๐๐ กว่าคัน


ทุกคนต่างก็เดินลงจากรถด้วยชุดแต่งกายอันสวยงาม ทั้งหญิงและชาย สร้างความ แปลกใจให้แก่ชาวบ้านร้านค้าที่อยู่ในบริเวณนั้น บางคนถึงกับถามว่ามาถ่ายหนังหรือ เพราะ ระหว่างนี้มีผู้สร้างหนังเรื่อง "สุริโยทัย" พอดี

ฉะนั้น ถ้ามองดูภาพโดยรวมแล้ว ก็เหมือนกับย้อนยุคสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีจริง ๆ ทั้งผู้ใหญ่และเด็กอยู่ในชุดสมัยนั้น บางคนก็แต่งในสมัยตอนต้น บางคนก็เป็นสมัยตอนปลาย คือมีทั้งนุ่งโจงกระเบน ทั้งนุ่งผ้าจีบหน้านาง ส่วนผู้ชายก็แต่งชุดทหารมหาดเล็ก โดยเฉพาะ คุณอนันต์ รับบทอยู่ในชุดเจ้าเมือง ตามเดิม พร้อมทั้ง คุณแสงเดือน (ตุ๋ม) และลูกสาวทั้งสองคนด้วย


สำหรับงานครั้งที่แล้ว ณ กรุงสุโขทัย ขบวนแห่ในครั้งนั้น เรามีวัวเทียมเกวียนด้วยพอมาถึงงานอยุธยาคราวนี้ ทางปางช้างอยุธยา ให้ช้างมาร่วมขบวนด้วย ๕ เชือก จึงทำให้งานมีสีสันยิ่งขึ้น แต่กว่าที่จะขึ้นไปนั่งบนหลังช้าง ได้ ก็เล่นเอาเหนื่อยทั้งคนทั้งช้างเลยก็ว่าได้

แต่ก็มีอุปสรรคบ้างนิดหน่อย พอถึงเวลาจริง ๆ ช้างที่ร่วมขบวนยังมาไม่ครบ เนื่องจากกำลังพานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินชมรอบๆ เมืองโบราณ ฉะนั้น กว่าจะจัดขบวนให้เป็นที่เรียบร้อย ก็เสียเวลาไปเกือบครึ่งชั่วโมง

สำหรับการจัดขบวน แบ่งเป็น ๓ ขบวน คือ
๑. ขบวนราษฎร์
๒. ขบวนพระ
๓. ขบวนหลวง





ขบวนที่ ๑ ผู้ที่แต่งชุดไทยเดินถือป้ายอักษร ที่ด้านหน้าวิหารพระมงคลบพิตร

ขบวนที่ ๑ คือ "ขบวนราษฎร์" เริ่มขบวนโดยคณะกลองยาว เดินเลี้ยวซ้ายไปตามถนนโดยมีสตรีแต่งชุดไทย ๒ คน ถือป้ายอักษร "คณะศิษย์หลวงพ่อพระราชพรหมยาน" ติดตามด้วยขบวนธงชาติและธงธรรมจักรอยู่สองข้างขบวน โดยมีช้างอัญเชิญเสลี่ยงบายศรี

ส่วน ขบวนที่ ๒ เป็น ขบวนพระ มีฉัตรเงินและฉัตรทองนำหน้าขบวน โดยมีช้าง ทรงอัญเชิญเสลี่ยง สมเด็จองค์ปฐม เป็น ประธาน ตามติดด้วยผู้อัญเชิญรูป หลวงพ่อ และ ท้าวมหาราช ภายใต้สัปทนสีทอง

ขบวนนี้จะเป็นพระภิกษุสามเณรจาก วัดต่าง ๆ มาร่วมขบวนกันมากมาย ประมาณ ๗๐ กว่าองค์ เดินถือพานขอขมาบ้าง ถือ พุ่มเงินพุ่มทองบ้าง เป็นต้น โดยมีฆราวาส อยู่ในชุดนักรบ เดินถือธงชาติและธงธรรม จักรอยู่สองข้างขบวนเช่นกัน



(ขบวนที่ ๒ ขบวนพระ เดินเป็นลำดับต่อไป)

เมื่อ ขบวนราษฎร์ ขบวนพระ ผ่าน ไปทางวิทยาลัยเทคนิคอยุธยา ก็มองเห็น ขบวนที่ ๓ ติดตามมา แต่เสียงกลองยาว เริ่มห่างไกลออกไป ยังคงได้ยินเสียงไชโยโห่ ร้องดังกึกก้องไปตลอดทาง เรียกความสนใจ แก่ผู้คนในละแวกนั้นเป็นอย่างมาก ต่างก็รอ ดูอยู่สองข้างทางด้วยความประทับใจ

พวกเราที่เดินอยู่ในขบวน ต่างก็หัน มองแล้วยิ้มให้เพื่อเป็นการทักทาย เนื่องจากมีชาวต่างประเทศยืนดูด้วยความสนใจกันเป็น จำนวนมาก ต่างคนต่างก็ถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกบางคนก็บันทึกภาพวีดีโอไว้ด้วย เพราะคง เห็นเป็นเรื่องแปลกดี ระหว่างนั้นก็มีนักข่าว จากหนังสือพิมพ์และทีวีหลายช่องมาทำข่าวด้วย

ตามข่าวในหนังสือพิมพ์ “เดลินิวส์” ฉบับ วันอาทิตย์ที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ลงข่าวพาดหัวไว้ว่าดังนี้ (ขอนำมาโดยย่อ)

"ศิษย์ฤาษีลิงดำ ๓ พัน บวงสรวงสู้ภัย ศก."



(ภาพมุมขวาของเรา จะเห็นคุณแม่กำลังเข็นลูกสาวแต่งชุดไทยนอนอยู่ในรถเข็นด้วย)

เมื่อเวลา ๑๔.๐๐ น. วันที่ ๒๒ พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่บริเวณหน้าวิหารหลวง พ่อมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา ได้มีกลุ่มประชาชนรวมกว่า ๓,๐๐๐ คน นำโดย พระชัยวัฒน์ อชิโต ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดท่าซุงอ.เมือง จ.อุทัยธานี และพระภิกษุกว่า ๕๐ รูป ศิษย์พระราชพรหมยานเถระ หรือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ เกจิชื่อดังในอดีต มีทั้งเด็ก ผู้สูงอายุ ชายหญิงและวัยรุ่น

ได้พร้อมใจกันแต่งกายในชุดนักรบ โบราณ เดินทางมาทำ พิธีบวงสรวง หรือพิธี “ตัดไม้ข่มนาม” สร้างขวัญและกำลังใจให้กับ ประชาชนทุกหมู่เหล่า จากนั้นจัดริ้วขบวน สวยงาม นำรูปถ่าย “หลวงพ่อฤาษีลิงดำ” พานบายศรี เครื่องเซ่นสังเวย แห่รอบเกาะเมืองนานกว่า ๒ ชั่วโมง ท่ามกลางความ สนใจของชาวไทยและชาวต่างประเทศหยุดดู กันเนืองแน่น


พระชัยวัฒน์เปิดเผยว่าพิธีกรรมนี้ เป็นความตั้งใจของ “คณะศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ” ที่ต้องการทำพิธีบวงสรวงแบบโบราณ เพื่อเรียกขวัญกำลังใจ คล้ายพิธีการสร้าง กำลังใจของทหารโบราณ หรือเรียกกันว่า “ตัดไม้ข่มนาม” โดยมีวัตถุประสงค์ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้คุ้มครองประเทศไทยให้รอดพ้นจากสถาน การณ์อันเลวร้าย โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจ ในปัจจุบัน และทำให้ประชาชนชาวไทยทั่ว ประเทศมีความสุข ซึ่งพิธีดังกล่าวมีประจำทุกปี

คณะศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำจากทุก จังหวัดทั่วสารทิศ ได้ประสานใจกันจัดขึ้น ที่ผ่านมาได้จัดที่ จ.สุโขทัย ส่วนชุดทหารโบราณของผู้ร่วมพิธี ทุกคนจัดหามากันเอง เพื่อให้พิธีมีความขลังและศักดิ์สิทธิ์มากยิ่งขึ้น..

เนื้อความเหล่านี้ที่เขาลงเป็นข่าว แต่เรื่องราวจะมีรายละเอียดอย่างไร ขอได้โปรด ติดตามต่อไปเรื่องของริ้วขบวนในวันนั้น...


ขบวนที่ ๓ คือ ขบวนหลวง แต่งกายชุดชาววัง มีผู้เดินถือป้ายอักษร นำหน้าแถวขบวนช้าง

โดยเฉพาะ ขบวนหลวง นั้น การแต่ง กายจะดูวิจิตรตระการตามาก เป็นการนำขบวน ด้วยสตรีชุดไทย ๒ คน ถือป้ายอักษรคำว่า "คณะตามรอยพระพุทธบาท" ติดตามด้วย ขบวนทหารมหาดเล็กเดินถือเครื่องสูงต่างๆ

ขบวนทั้งหมดได้เดินเลี้ยวเข้าถนนชีกุน แล้ววกกลับมาเข้าประตูทางเข้าวัดมหา ธาตุ ทุกคนต่างมองดูซึ่งกันและกัน เสียงกลองยาวบรรเลงได้อย่างเร้าใจ สลับกับเสียงไชโย โห่ร้องไปตลอดทาง สร้างความสนใจให้แก่ชาว อยุธยาเป็นอย่างยิ่ง ในขณะที่ขบวนเดินผ่านไป ตำรวจจราจรจึงต้องหยุดรถไว้ชั่วคราว

ต่างมองดูขบวนช้างที่อยู่กลางขบวน ตั้งแต่ขบวนที่ ๑ ขบวนที่ ๒ และขบวนที่ ๓ อย่างสวยเด่นเป็นสง่า ท่ามกลางผู้อัญเชิญธงทิวทั้งสองข้างได้โบกปลิวสบัดไปตลอดเวลา ทุกคนเดินด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม ตลอดระยะทางประมาณกิโลเมตรครึ่ง ถึงแม้แดดจะร้อนสักหน่อย แต่ทุกคนก็สร้างภาพรวมได้เป็นอย่างดี เพราะมีกระแสลมพัดผ่านพอคลายร้อนได้ จึงเกิดบรรยากาศเหมือนจะย้อนกลับเข้าไปสู่อดีตกาลอีกครั้งหนึ่ง

นับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวงเราถูกข้าศึกมารุกรานย่ำยีลูกหลานไทยไม่มีชิ้นดีแต่เราก็ยังมีพระมหากษัตริย์และนักรบไทยผู้กล้าหาญ สามารถกู้ชาติกลับคืนมาได้จากพม่าเหตุการณ์ในครั้งนั้น แม้จะผ่านไปนานหลาย ร้อยปีแล้วก็ตาม แต่คนไทยผู้รักชาติกลุ่มนี้ ยังไม่เคยลืมเลือนไปจากความทรงจำ



ขบวนช้างทรงนี้ สมมุติเป็นพระเจ้าแผ่นดินสมัยกรุงศรีอยุธยา

วันนี้จึงเป็นวันแห่งประวัติศาสตร์ที่ พวกเราลูกหลาน หลวงพ่อพระราชพรหมยาน ต่างมารวมตัวกันทั่วทุกภาคของประเทศไทย จำนวนหลายพันคน เพื่อเดินทางมาเยือนดินแดนที่เคยรุ่งเรือง และเป็นสมรภูมิรบมาก่อน ในการที่จะมาย้อนอดีตรำลึกกันอีก

เหตุการณ์ในครั้งนี้ จึงเปรียบเสมือนภาพเหตุการณ์ในครั้งนั้น เป็นการจำลองภาพ ประวัติศาสตร์ ในตอนที่ไทยรบกับพม่า จน ได้ชัยชนะแล้วกลับมาฉลองชัยกันในเมืองหลวง เป็นการประกาศศักดาว่า ไม่มีชาติไหนคนใด ที่จะมาเป็นเจ้าเหนือหัวได้ เราไม่เคยก้มหัว ให้ศัตรูหน้าไหน แม้เลือดเนื้อและชีวิตก็ยอม พลี ด้วยความสามัคคีอันดี เราจึงกอบกู้อิสร ภาพมาได้จนถึงทุกวันนี้


ฉะนั้น เสียงกลองยาวจึงเสมือนเสียง กลองศึกของผู้มีชัยชนะ เสียงไชโยโห่ร้อง แสดงถึงความดีใจที่เราพ้นจากการเป็นทาส ของพม่า การแต่งตัวสวยงามทั้งหญิงชาย ย้อนยุคสมัยนั้น เป็นการแสดงออกถึงความ มั่งคั่งเกษมศรี มีความกินอยู่ดีมีความสุข ก็จะเกิดขึ้นกับคนไทยทั้งหลาย

ยิ่งมีการแต่งกายสวยงามหลายหลาก สี พร้อมกับประดับตกแต่งด้วยอัญมณี ทั้งหลายนี้ ก็จะเป็นเคล็ดของพิธีกรรม เพื่อ ส่งผลจะทำให้คนไทยที่ดีมีศีลธรรมไม่ตกต่ำ ต่อไปจะประสบกับความร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐี จะมั่งมีด้วยแร่ธาตุธรรมชาติที่อุบัติขึ้นมาใน แผ่นดินทองของไทย



ตามเสด็จพร้อมกับพระมเหสีและข้าราชบริพารทั้งหลาย

ด้วยเหตุนี้ พิธีตัดไม้ข่มนาม จึงได้จัดทำด้วยความร่วมมือของท่านทั้งหลาย ถือเป็นการเสี่ยงทายถึงดวงชะตาของประเทศในอนาคตว่า ถ้าจัดทำไปแล้วไม่เป็นผลสำเร็จ ก็เป็นอันว่า ประเทศชาติคงจะต้องตกต่ำลงอย่างแน่นอน แต่ถ้าจัดได้สำเร็จ คงจะสรุปได้ว่า คนไทยจะ มีความสุขต่อไปในอนาคต

ดังจะสังเกตุได้ว่า ผู้ที่ร่วมขบวนทุกคนต่างก็เดินด้วยความจงรักภักดีในคุณของชาติศาสนา พระมหากษัตริย์ ถือเป็นขบวนกอง เกียรติยศ ที่ให้ความเคารพแก่สถานที่นี้ ใน ฐานะที่เป็นราชธานีมานาน ๔๐๐ กว่าปี ซึ่ง พวกเราอาจจะเคยเป็นคนสมัยนั้นกันมาก็เป็น ได้ จึงได้มารวมตัวแสดงพลังความสามัคคี กันอีกครั้งหนึ่ง





ขบวนช้างชุดนี้อัญเชิญบายศรี

ซึ่งขบวนแถวทั้งหมด ต่างก็เดินเลี้ยว เข้ามาที่ วัดมหาธาตุ เจ้าหน้าที่ได้จัดสิ่งของที่ อัญเชิญมาด้วยความเคารพอย่างสูงสุด ได้ แห่แหนมาเหนือเศียรเกล้า เพื่อเป็นการยกย่อง เชิดชูคุณงามความดีของท่าน อันมี สมเด็จองค์ปฐม ทรงเป็นประธานของงานนี้

พวกเราได้อัญเชิญลงมาจากเสลี่ยง บนหลังช้าง แล้วมาสถิตอยู่บนโต๊ะหมู่บูชา พร้อมด้วยรูปภาพพระเดชพระคุณหลวงพ่อ และท้าวมหาราชทั้ง ๔ ท่ามกลางบายศรี ๙ ชั้น และเครื่องบูชาทั้งหลายที่วางอยู่บนโต๊ะ ที่อยู่ด้านหน้าของโต๊ะหมู่บูชา ภายใต้สัปทน หลายหลากสีที่แวดล้อมอย่างสวยงาม

ฝ่ายพระภิกษุสามเณรต่างก็เดินเข้ามานั่งด้านขวามือ ส่วนญาติโยมทั้งหลายก็เข้า มานั่งข้างหน้า โดยมีตั่งของผู้สมมุติอยู่ในชุด กษัตริย์เป็นประธาน ภายในพระวิหารหลวงที่คงเหลือแต่ซากปรักหักพัง อันมีองค์พระมหาธาตุเด่นเป็นสง่าอยู่ท่ามกลาง ซึ่งคงมีเหลือแต่ฐานพระเจดีย์เท่านั้น



หมู่เสนาอำมาตย์และข้าราชบริพารทั้งชายหญิง เดินถือธงปลิวสบัดอย่างงามสง่า

ท่ามกลางความร้อนอบอ้าวพอสมควรทุกคนต่างก็เข้ามานั่งรายล้อมบริเวณที่จะ กระทำพิธี บ้างก็หลบเข้าร่มไม้ หรือร่มเงาของพระเจดีย์ในบริเวณนั้น แต่ส่วนใหญ่จะ อยู่กลางแจ้ง ถึงแม้แดดจะร้อนก็ตามที แต่ มิได้ทำให้พวกเราย่อท้อ ทุกคนมาร่วมงานด้วย ความเต็มใจ เพราะถูกคัดมาด้วยกลไกของ สายใยแห่งอดีต คือบุพกรรมเดิมได้ชักนำมานั่นเอง

พิธีการในครั้งนี้ ต้องถือว่าเป็นเกียรติ ประวัติในชีวิตของแต่ละคน นับเป็นความภูมิใจ อย่างยิ่งใหญ่ ที่ได้มายืนอยู่เหนือพื้นปฐพีใน พิธีครั้งนี้ เพื่อวิงวอนขอให้พระภูวไนยทั้งหลาย ที่รักษาอาณาจักรศรีอยุธยา ช่วยกันรักษาผู้ที่ อาศัยอยู่ในร่มเงาของประเทศไทย ให้รอดพ้น จากภัยพิบัติทั้งหลาย






งานนี้จึงมีเพียงครั้งแรกและครั้งเดียวเท่านั้น ที่พวกเราจะได้จัดพิธีกรรมกัน ทุกคนจึงต้องเสียสละการงาน ภาระหน้าที่ต่าง ๆ เดินทางไกลหลายร้อยกิโล เพื่อมาร่วมงานในครั้งนี้ ถ้าประเทศชาติพ้นภัยไปได้ ก็ถือว่าพวกเราคณะหนึ่งมีส่วนร่วมในชะตากรรมของประเทศด้วยคือร่วมกันจัดพิธีบวงสรวงตามโบราณประเพณี

ต่อไปนี้ หลังจากเจ้าหน้าที่จัดเครื่องสังเวย ทุกคนซึ่งอยู่ในความสงบแล้ว ท่ามกลางอากาศที่แจ่มใส ทั้ง ๆ ที่เป็นเวลาที่พระพิรุณกระหน่ำอยู่ตลอดเวลา แต่ก็มาสะดุดหยุดให้ พวกเราได้กระทำพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ภายใน เมืองโบราณแห่งนี้ เมื่อทุกคนพร้อมกันแล้ว ผู้เขียนซึ่งนั่งอยู่ด้านหน้า ก็ได้ออกมาเล่าเรื่อง ราวความเป็นมา ท่ามกลางผู้ที่ร่วมพิธีดังนี้ว่า...

งานพิธี “ตัดไม้ข่มนาม” ๓ ครั้ง



พระปรางวัดมหาธาตุที่เหลือแค่ฐาน พวกเราได้จัดทำพิธี ณ สถานที่แห่งนี้

“...การจัดงานพิธีฉลองชัยในครั้งนี้ นับเป็นการจัดงานครั้งสุดท้าย โดยเริ่มตั้งแต่ ครั้งแรก ณ อาณาจักรเชียงแสน เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๐ คือก่อนที่เศรษฐกิจจะ ทรุดตัวลงไป จนคนไทยเป็นหนี้กันทั่วทุกตัวคน

แล้วได้จัดงานพิธี ณ อาณาจักรสุโขทัย เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑ เป็นการทำพิธี “ตัดไม้ข่มนาม” อีกเช่นกันเป็นครั้งที่ ๒ เพื่อ เป็นเคล็ดพิธี ให้บ้านเมืองผ่านพ้นวิกฤตกาลไป ได้ในระยะนี้ เพราะต่อไปท่านว่าประเทศไทยจะ ก้าวหน้าเป็นมหาเศรษฐี

ดังที่จะเห็นได้ว่า หลังจากมีการแต่งกาย สวยงาม พร้อมไปด้วยเครื่องประดับ เช่น แก้วแหวน เงินทอง เป็นต้น จนเป็นผลให้ได้ค้น พบแร่ธาตุทองคำภายในประเทศเป็นจำนวนมาก ตามที่เป็นข่าวอยู่ในเวลานี้

สำหรับปีนี้อาจจะเป็นปีสุดท้ายของการ จัดงาน “ตามรอยพระพุทธบาท” ซึ่งได้กำหนด ไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๖ ว่าจะจัดงานฟื้นฟู รอยพระพุทธบาท พร้อมทั้ง พระบรมธาตุ ที่สำคัญของแต่ละภาค และได้ รณรงค์วัฒนธรรมไทย เดินทางไปกราบไหว้บูชาบรรพบุรุษไทย ที่ท่าน เคยสร้างชาติสร้างแผ่นดินให้เจริญรุ่งเรืองมา แล้วในอดีต ทุกราชอาณาจักรไทยเป็นลำดับไป



พานบายศรี ๕ ชั้น ได้จัดทำเตรียมไว้พร้อมแล้ว

บัดนี้ พวกเราก็ได้จัดงานผ่านพ้นไป ด้วยความสำเร็จลุล่วงด้วยดี นับตั้งแต่ ภาคเหนือ เมื่อปี ๒๕๓๖ ภาคใต้ ปี ๒๕๓๗ ภาคอีสาน และ ภาคกลาง ปี ๒๕๓๘ งานรวมภาค ปี ๒๕๓๙ แล้วก็มีการถวายราชสดุดีเทิดพระเกียรติคุณแด่ บรรพบุรุษไทย ที่ท่านได้ดำรงเอกราชสร้างชาติ บ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่น ในแต่ละยุคแต่ละสมัย

พวกเราก็ได้กราบไหว้กันทุกสมัย เริ่มกันมาตั้งแต่ต้นที่ได้จัดงานย้อนยุคสมัยพุทธกาล คืองานถวายพระเพลิง ณ วัดพระแท่นดงรัง จ.กาญจนบุรี แล้วไปที่ราชบุรี ณ อาณาจักรสุวรรณภูมิ สมัย พระเจ้าตะวันอธิราช (พ.ศ. ๓๐๐) จนกระทั่งถึงยุค อาณาจักรโยนกเชียงแสน คือ พระเจ้าพรหมมหาราช (พ.ศ.๙๐๐)

พวกเราก็ได้ไปทำพิธีกรรมตามที่พระเดช พระคุณหลวงพ่อเคยกระทำมาแล้ว ฉะนั้น การตามรอยพระพุทธบาท จึงเป็นการตามรอย “ท่านพ่อ” และ “ท่านแม่” อีกด้วย นั่นก็คือได้ ตามมาทำพิธีสักการะ ณ แผ่นดินของแม่ ได้แก่ อาณาจักรหริภุญชัย อันมี พระแม่เจ้าจามเทวี ที่เป็นใหญ่ในแผ่นดิน (พ.ศ. ๑๒๐๐)



ภาพนี้เป็นขบวนแห่ที่สุโขทัยเมื่อ ๑๔ ก.พ.๒๕๔๑ ได้นำมาย้อนให้ชมอีกครั้งหนึ่ง

พวกลูกหลานชายหญิง จึงไม่เคยลืม พระคุณของแผ่นดินที่ตัวเองอาศัยเป็นแดนเกิด มาแล้วหลายวาระ ต่างก็แสดงความกตัญญูรู้คุณต่อบรรดานับรบไทย ที่ท่านได้กู้ชาติกู้แผ่นดินกลับคืนมาจากขอม จึงได้จัดงานพิธีฉลองชัย ณ อาณาจักรสุโขทัย (สมัยเมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๘๐๐) ซึ่งพวกเราเหล่าลูกหลาน หลวงพ่อพระราช พรหมยาน ต่างก็ย้อนรอยตามลำดับอาณาจักร ดังที่กล่าวมาแล้วนี้

จนกระทั่งบัดนี้ ถึงปี พ.ศ.๒๕๔๒ ผู้จัด ไม่เคยทราบมาก่อนว่า ปีนี้จะเป็นปีมิ่งมหามงคลเจริญพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเมื่อ ๗ ปีก่อน ก็ไม่ทราบว่าปีนี้จะเป็นปี “อเมซิ่ง ไทยแลนด์”

และจะเป็นการบังเอิญหรือไม่ประการใด แผ่นดินที่เราจะมาจัดงานนี้ ก็กำลังเป็นที่โจษขานกันอยู่ในเวลานี้ นั่นก็คือเรื่องราวของ พระพี่นางสุพรรณกัลยา จึงเป็นปัญหาว่า ทำไมจึงจะต้องมาดังในระยะที่เรากำลังจะจัดงาน ณ สถานที่นี้ ที่เรียกว่า อาณาจักรศรีอยุธยา ซึ่งได้เริ่มก่อตั้งโดย พระเจ้าอู่ทอง เมื่อปี ๑๘๙๓

ภาพพระพี่นางสุพรรณกัลยา“พระพี่นาง ฯ” ตามจินตนาการของผู้วาด

.....สำหรับประวัติศาสตร์ชาติไทยในตอนนี้ พวกเราต่างก็ได้เคยเล่าเรียนมาแล้วว่า ถึงแม้ เราจะเสียกรุงให้แก่พม่าตั้ง ๒ ครั้ง แต่เราก็มี พระมหากษัตริย์ไทยทรงกู้ชาติกลับมาทุกครั้ง จนกระทั่งได้รับเอกราชจนตราบเท่าทุกวันนี้ เราก็ไม่เคยตกเป็นทาสของชาติใดตลอดมา แต่ ปัจจุบันนี้ถึงแม้เราจะไม่เป็นเชลยเขา แต่เราก็ เหมือนกับตกเป็นทาสของชาติอื่นอยู่ดี

เพราะสงครามสมัยนี้ มิได้รบกันด้วย อาวุธ แต่เขายึดประเทศไว้ทางด้านเศรษฐกิจ คนไทยจึงตกเป็นทาสของต่างชาติโดยไม่รู้ตัว เปรียบเสมือนกับการเสียกรุงให้แก่พม่า ในครั้งนั้น เราเสียทั้งเลือดเนื้อและชีวิต เสียทั้งทรัพย์สิน ส่วนตัว เสียบ้านเมืองและวัดวาอาราม เสียทั้ง เอกราชอำนาจอธิปไตย

คนไทยต้องหลั่งน้ำตากันอีกครั้งหนึ่ง หลังจากเป็นอิสรภาพมาจากการเป็นทาสขอม นับตั้งแต่พระเจ้าพรหมมหาราชเป็นต้นมา โดย การรับอาสาลงมาเกิดจากพระพรหมโพธิสัตว์องค์หนึ่ง ที่ได้สั่งสมพระบารมีมานับชาติไม่ถ้วน

พระองค์ได้เป็นต้นตระกูลของชาวไทย ทั้งมวล นับตั้งแต่ราชวงศ์เชียงแสน สุโขทัย จนกระทั่งถึงราชวงศ์ของพระเจ้าอู่ทอง หรือจะนับเนื่องลงมาถึงราชวงศ์จักรี ก็ถือเป็นการสืบ สันตติวงศ์มาจากพระเจ้าพรหมมหาราชทั้งสิ้น เพราะพระองค์ทรงเป็นวีรบุรุษของชาวไทย ที่รักษาวงศ์ตระกูลที่เสียไปให้กับขอม แล้วนำกลับคืนมาให้แก่ลูกหลานไทย จนสืบเชื้อสาย เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้

ครั้นมาถึงสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี พระพรหมโพธิสัตว์พระองค์นี้ ก็ได้รับอาสา ลงมากู้ชาติจากขอมอีก โดยลงมาเป็น พ่อขุนศรีเมืองมาน ผู้เป็นญาติผู้ใหญ่ของพ่อขุนทั้งสอง คือ พ่อขุนผาเมือง และ พ่อขุนบางกลางท่าว ฝึกฝนอบรมสั่งสอน สร้างความสามัคคี เพื่อรวบรวมคนไทยที่ดี ให้ลุกขึ้นมาต่อสู้กับขอม จนได้รับชัยชนะในที่สุด คนไทยก็ได้เป็นอิสรภาพอีกครั้งหนึ่ง

หลังจากนั้น พระพรหมโพธิสัตว์มองดู คนไทยสมัย พ่อขุนรามคำแหง ยาวเหยียด ไทยด้านเหนือพ่อขุนรามคำแหงก็วางแผนดี เป็นมิตรกับ พ่อขุนเม็งราย ฝ่ายใต้ตีไปจนถึง สิงคโปร์

การตีคราวนั้นไม่ยาก เพราะเป็นการรวมไทยที่พ่อขุนศรีเมืองมานไปวางรากฐานแห่ง ความสามัคคีไว้แล้ว รวมกันก็ง่าย เพราะ คนไทยด้วยกันที่ขัดคอ ก็มีที่ กระบี่ เท่านั้น ที่เขาสู้หนัก นอกนั้นไม่เสียเลือดเนื้อ




ผู้ร่วมขบวนแห่ทั้งหมดได้มานั่งแวดล้อมภายในบริเวณ "โบราณสถานวัดมหาธาตุ"

ต่อมาไม่ช้าไม่นานคนไทยเกิดแบ่งเป็น ๒ พวก ไทยสุโขทัยก็ยังอยู่ดี แต่เกิดอู่ทองขึ้นมา อีกแล้ว ท่านพรหมโพธิสัตว์เห็นไทยแยกเป็น ๒ พวกแบบนี้ เห็นท่าจะไม่ดีซะแล้ว ลูกหลานไทย นี่มันไม่รู้จักประสานกัน ไม่มีความสามัคคี การบ้าลาภ บ้ายศนี่ มันเป็นของไม่ดี บ้าความเป็น ใหญ่ มองมามองไปบนพรหมโลก เกิดความ รำคาญใจถ้าจะอยู่ไม่ได้

พอดีท้าวผกาพรหมท่านก็มาบอกว่า ในฐานะที่ปรารถนาพุทธภูมิ พระพุทธศาสนาจะ ทรงอยู่ในประเทศไทย แต่ถ้าไทยยังแตกกันอยู่อย่างนี้เพียงใด พระพุทธศาสนาจะทรงอยู่ไม่ได้ ฉะนั้น ท่านต้องกลับลงไปรวมไทยเดิมให้เป็น ไทยตามเดิม

จึงถามว่าจะไปลงที่ไหนล่ะ
ท่านผกาพรหมบอกว่า โน่น..ไปลงที่อู่ทอง ไปหาทางเข้าครองเมืองให้ได้ เป็นกำลังใหญ่ของเมือง อย่าเพิ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
ถามว่าจะจัดใครลงไปบ้าง
ท่านบอกว่า จะจัดเทวดาพรหมลงมาช่วยพอสมควร

ครั้นถึงกำหนดเวลา ท่านสัมพเกษีพรหมโพธิสัตว์จึงได้ลงมาเกิดในเมืองอู่ทอง พร้อมด้วยบรรดาเทพยดาเหล่านางฟ้าที่เป็น บริวารทั้งหลาย ที่เคยร่วมทัพจับศึกกันมา และตั้งใจที่สนับสนุนพระโพธิญาณ ตามคำ อาราธนาของท่านผกาพรหม เขาให้นามท่านว่า “ขุนหลวงพะงั่ว”

ตอนนี้ก็หาทางรวมไทยเข้าด้วยกันอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้วิธีการทั้งสองอย่าง คือรบด้วยอาวุธและรบด้วยลิ้น การรบด้วย“ลิ้น” ถือว่ามี ความสำคัญมากกว่าการรบด้วย “อาวุธ” เมื่อ หาทางไปตีสุโขทัยเข้ามารวมกันไม่ได้ ก็เจรจา เป็นเพื่อนกันดีกว่า เพราะตอนนี้ พระเจ้าอู่ทอง สร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีที่หนองโสนแล้ว

ไตรภูมิพระร่วง

ในตอนนี้ พระเดชพระคุณหลวงพ่อเล่า ต่อไปอีกว่า ขุนหลวงพะงั่วเข้าไปหา พระเจ้าลิไทย เจรจากันว่าคนไทยเรานับถือพระพุทธศาสนา และเวลานี้พระธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระจอมไตรกระจัดกระจายไป เราควรจะรวบรวม พระธรรมวินัยให้เป็นหมวดหมู่ จนได้เป็น หลักฐานในการสร้างความดีของคนไทย

ต่อมาก็มีการนิมนต์พระสงฆ์มาร่าง “ไตรภูมิพระร่วง” ขึ้น เพื่อให้คนไทยรู้จักบาป รู้จักบุญ การร่างไตรภูมิพระร่วงนี้ ความจริง พระร่วง ไม่ได้ทำ ท่านเป็นเพียงศาสนูปถัมภ์ มีขุนหลวงพะงั่วไปร่วมกับบรรดาพระสงฆ์ที่ นิมนต์มาด้วย เป็นการร่วมมือกันระหว่างกรุง สุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา

ท่านยังเล่าต่อไปอีกว่า ต่อมาภายหลัง ขุนหลวงพะงั่วก็มีโอกาสรวมไทยให้เป็นไทย เดียวกัน สุโขทัยกับกรุงศรีอยุธยาก็รวมเป็น ประเทศเดียวกันแล้ว พระราเมศวร ก็ได้ถวายราชสมบัติให้ ท่านจึงได้ครองราชย์เป็น รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑

เรื่องนี้มีผู้วิพากษ์วิจารณ์กัน ต่างๆ นานา แต่หลวงพ่อกลับมีความเห็นว่า การที่พระราเม ศวรให้ขุนหลวงพะงั่วผู้เป็นลุงเสวยราชย์แทนนั้น คิดว่าไม่ใช่เป็นเรื่องชิงราชสมบัติ เพราะตามปกติ ถ้ามีการชิงราชสมบัติได้แล้ว จะต้องฆ่าผู้ครองราชย์คนเดิม แต่เรื่องนี้เมื่อพระองค์ครองราชย์ แล้ว พระราเมศวรยังอยู่เป็นปกติ แต่ต่อมาก็ได้ เสวยราชย์เป็นพระมหากษัตริย์

ดังนั้น เรื่องนี้คิดว่าคงมีการตกลงกันเป็นการภายใน เพราะคิดว่าขณะนั้นอาจจะมี ข้าราชการบางคนที่ไม่สนับสนุนพระราเมศวร แต่สำหรับขุนหลวงพะงั่วเคยคุมกำลังและรบ มาโชกโชน ผู้ที่คิดจะล้มล้างอาจจะเกรงบารมี จึงเห็นควรให้เสวยราชย์ เป็นการป้องกันเอา ไว้ก่อนก็ได้

รวมความว่า ท่านทำงานเพื่อชาติ โดยยอมเสียชื่อ แต่ไม่ยอมเสียชาติ คือพระราเมศวร เสียชื่อ เพราะเขาจะหาว่าอ่อนแอเกินไป ส่วนขุนหลวงพะงั่วก็เสียชื่อ โดยถูกกล่าวหาว่าแย่ง สมบัติหลาน สุดแล้วแต่จะพูดกัน แต่สำหรับทั้งสองท่านนั้น ทำไปเพื่อความปลอดภัย และชาติอยู่รอดเท่านั้น ที่เรียกว่า “ยอมเสียชื่อ ดีกว่าเสียชาติ”

ประวัติวัดมหาธาตุ



พระปรางค์ “วัดมหาธาตุ” จ.อยุธยา (เป็นการวาดเสริม ปัจจุบันนี้เหลือแต่ฐานแล้ว)



ผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และเครื่องพุทธบูชามีค่ามากมาย
ที่พบในกรุพระปรางค์ “วัดมหาธาตุ” จ.พระนครศรีอยุธยา

ต่อมาพระบรมราชาธิราชที่ ๑ และ พระมหาเถรธรรมกัลญาณ ก็ได้ทรงสร้าง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แห่งนี้ เมื่อปีขาล พุทธศักราช ๑๙๑๗ คือเมื่อ ๖๒๕ ปีมาแล้ว ด้วยเหตุที่หลังจากพระองค์เสร็จศึกทางเหนือ และเสด็จกลับ สู่พระนครแล้ว

วันหนึ่งเสด็จออกทรงศีลยังพระที่นั่งมังคลาภิเษก ทอดพระเนตรไปทางทิศตะวันออก เห็นพระบรมสารีริกธาตุเสด็จปาฏิหาริย์ จึงทรงเรียกปลัดวังให้เอาพระราชยานเสด็จออกไป แล้วโปรดให้ปักหลักไว้ตรงที่ซึ่งพระบรมธาตุ เสด็จปาฏิหาริย์ แล้วสถาปนาพระมหาธาตุขึ้น ที่นี่สูง ๑๙ วา ยอดสูง ๓ วา ให้ชื่อว่า วัดมหาธาตุ

......ปรางค์ของวัดนี้ เดิมทีเดียวสร้างด้วย ศิลาแลง ปรากฏว่าในรัชสมัยของ พระเจ้าทรงธรรม ได้พังลงมาจนถึงชั้นที่มีรูปครุฑปูนปั้น แต่ก็มิได้ซ่อมแซม จนถึงแผ่นดิน สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง จึงโปรดให้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ แล้ว ก็ได้พังลงมาอีกในสมัยรัตนโกสินทร์ ปัจจุบัน เหลือเพียงชั้นมุขเท่านั้น

เมื่อปี ๒๔๙๙ กรมศิลปากรได้ขุดแต่ง พระปรางค์แห่งนี้ พบโบราณวัตถุบรรจุไว้มากมาย คือผอบศิลาภายในมีสถูป ๗ ชั้น แบ่งออกเป็น ชิน เงิน นาค ไม้ดำ ไม้จันทน์แดง แก้วโกเมน และทองคำ ชั้นในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และ เครื่องสักการบูชาที่ทำด้วยทองคำอีกมากมาย

เพราะฉะนั้น จึงได้เลือกสถานที่แห่งนี้ ซึ่งเป็นที่สำคัญและเก่าแก่กว่าที่อื่นๆ ให้เป็นจุด ศูนย์กลางในการกระทำพิธีสักการบูชา ขอให้ทุก ท่านตั้งใจกราบไหว้สถานที่นี้ และสถานที่ทุกแห่ง ที่อยู่ในเขตแดน อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา มา ก่อน เพื่อจะได้เกิดผลบุญมหาศาล



กระทงบูชาพระเคราะห์ ๑๐๘

ซึ่งหลังจากพิธีบวงสรวงแล้ว จะสมาทานศีล พระสงฆ์เจริญพระปริตร เพื่อเป็นการบูชา พระเคราะห์ ๑๐๘ แล้วจะเป็นการบำเพ็ญกุศล เพื่ออุทิศผลให้แก่ผู้วายชนม์ทั้งหลาย ทั้งฝ่าย ไทยและฝ่ายพม่า เพื่อเป็นการอโหสิกรรมกัน และอย่าลืมพิธีบวงสรวงครั้งนี้ จะมีพระพุทธรูป “ปางประทับรอยพระพุทธบาท” ขนาดเล็ก มอบให้เป็นที่ระลึกแก่ท่านทั้งหลายอีกด้วย

ก่อนที่จะกล่าวคำอธิษฐานพร้อมกัน ขอให้ คุณอนันต์ และ คุณแสงเดือน ผู้แต่งกาย สมมุติตนเป็น พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา ตามโบราณ ประเพณี ได้เป็นตัวแทนของพวกเราทุกคน จุดธูปเทียนที่โต๊ะบายศรี พร้อมกันนี้ขอให้ทุก ท่านพนมมือรวมจิตใจให้ตั้งมั่น เพื่อผลแห่งพิธี กรรม ตามที่ท่านผู้เฒ่ากล่าวไว้แล้วว่า

“พวกขอมเก่ามาเกิดในประเทศไทย แล้วมันก็หวังความเป็นใหญ่ เวลาพูดก็พูดดี แต่เวลาทำมันทำเลว ชอบกอบ ชอบโกย ชอบโกง ชอบกิน เขาประกาศว่าเชื้อชาติไทย แต่เขาขายชาติ นี่คือขอมเก่ามาเกิด มันจึงมุ่งทำลายชาติ ทำลาย เศรษฐกิจ ทำลายความมั่นคงของชาติ...”

ฉะนั้น ท่านสัมพเกษีพรหม จึงได้จุติ ลงมาในประเทศไทย โดยเฉพาะสมัยกรุงศรีอยุธยา ท่านได้มาเกิดมากกว่าสมัยใดๆ ซึ่งจะ ได้นำไปกล่าวต่อไป ณ พระบรมราชานุสาวรีย์

พระเจ้าอู่ทอง

จึงคิดว่าสถานการณ์เช่นนี้ น่าจะถึงเวลา เสียทีที่คนชั่วจะต้องถูกทำลายด้วยภัยของตนเอง เราไม่ได้สาป เราไม่ได้แช่ง เราเป็นแต่เพียงกล่าว ว่า ถ้าไม่กลับตัวกลับใจ ไม่ช้าเขาก็จะบรรลัย ไปในที่สุด

ต่อไปขอให้ทุกท่านสมมุติเหมือนกับ ย้อนเข้าไปในเหตุการณ์ตอนที่เราเอาชนะข้าศึก แล้วมาเฉลิมฉลองชัยชนะกัน ด้วยการแต่งกายย้อนยุค เพื่อเป็นพิธีตัดไม้ข่มนาม ตามที่ สมเด็จพระนเรศวร เคยกระทำพิธีที่ ตำบลหล่มพลี มาแล้ว ณ โอกาสนี้ จึงขอให้ทุกท่านรวมจิต เพื่อตั้งสัตยาธิษฐานพร้อมกันดังนี้...”

นั่นเป็นเรื่องราวที่เล่ากันในวันนั้น ขณะที่ หลวงพี่โอ จุดเทียนที่ขันน้ำมนต์ หลังจาก คุณอนันต์ และ คุณแสงเดือน จุดธูปเทียนเสร็จแล้ว ท่ามกลางสายตาของผู้ร่วมพิธี อันมีพระ ภิกษุสามเณรและญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย ที่นั่งอยู่โดยรอบ พร้อมกับเปล่งคำอธิษฐานร่วม กันดังนี้...


webmaster - 5/1/11 at 13:21

คำอธิษฐาน



คุณอนันต์และคุณแสงเดือน ได้สมมุติตนเป็นพระเจ้ากรุงศรีฯ และพระมเหสี ได้ออกมาเป็น
ตัวแทนของพวกเราทุกคน เพื่อจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยและพระสยามเทวาธิราชที่โต๊ะบายศรี

“ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขออาราธนา พระบารมีองค์สมเด็จพระชินสีห์ผู้มีพระภาคเจ้า ทุกๆ พระองค์ อันมี สมเด็จองค์ปฐม ทรงเป็นประธาน และสมเด็จองค์ปัจจุบันเป็นที่สุด พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ ครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบๆ กันมา มี หลวงปู่ปาน และ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน เป็นที่สุด

พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย เทพพรหม ทุกท่าน ที่รักษาพระพุทธศาสนา ทั้งอาณาเขตนี้ และผู้รักษาทรัพยากรใต้ดิน ผู้รักษานภากาศ รักษาป่าเขา รักษามหาสมุทร จนกระทั่งสุดพื้น ปฐพี โดยมี ท่านปู่ ท่านย่า และ ท่านแม่ ทรงเป็นประธาน มีท้าวจตุโลกบาลเป็นที่สุด พระมหากษัตริย์เจ้าทั้งหลาย อันมี พระเจ้าอู่ทอง เป็นต้น ตลอดจนถึงดวงวิญญาณนักรบทั้งหมด ที่มีคุณต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

ขอได้โปรดเสด็จมาเป็นสักขีพยาน ณ สถานที่นี้ เพื่อเป็นสวัสดิมงคล แก่ปวงข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอได้โปรดคุ้มครองป้องกันภัย อุปสรรคอันตรายใดๆ อย่าได้มากล้ำกราย การ ค้าการขาย อาชีพการงาน ขอให้คล่องตัว โรคภัย ไข้เจ็บ อย่าได้เบียดเบียน

ถ้าสงครามใหญ่เกิดขึ้นในโลก ตามพุทธทำนายไว้ว่า ยักษ์ร้ายนอกพระศาสนา จะรบราฆ่าฟันกัน ด้วยอาวุธอันทันสมัย หากเป็นจริง ตามนั้นไซร้ ขอได้โปรดอภิบาลชาวไทย ผู้อยู่ใน ศีลธรรมทั้งหลาย ให้พ้นจากภัยพิบัติเหล่านั้น ครั้นจะย่างก้าวไปสารทิศใด ขอเทพไท้เทวาแต่ ละทิศ จงมีจิตคิดเมตตา โปรดจำหมู่ข้าพเจ้าไว้



หมู่พระสงฆ์ที่ได้เดินทางมาร่วมพิธีหลายสิบรูป

ขอทั้งศาสตราและสรรพาวุธ ทั้งอุบัติเหตุ อาเพทภัย ทั้งคุณไสยยาพิษ ผู้คิดเป็นศัตรูหมู่ พาล จงอย่าได้ทำอันตรายทั้งหมด หากมีผู้คิด คดทรยศต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ โปรดกำจัดให้สิ้นไป อย่าให้ทำการณ์สิ่งใดสำเร็จ และขอจงแพ้ภัยไปในที่สุด

ขอให้พ้นจากทุพภิกขภัย คือภัยจาก ความอดอยาก และภัยธรรมชาติทั้งหลาย คือ ฟ้าผ่า ลมแรง ไฟไหม้ น้ำท่วม และแผ่นดินไหว เป็นต้น สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจังไร จงพินาศ หมดสิ้นไป

เมื่อกาลเวลามาถึงไซร้ ขอให้ราชาธิปไตย จงได้คืนกลับมา มีข้าราชสำนักที่ทรงธรรม ภาย ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้าชาวไทย ดังเช่นกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เพื่อให้ไทยเป็น มหาเศรษฐี มีความอยู่ดีกินดี พืชไร่ในนาอย่า ได้เสียหาย ค้าขายให้ได้กำไรดี

อีกทั้งแร่ธาตุทองคำและน้ำมันทั้งหลาย อันเป็นทรัพยากรของชาติ ขอจงได้ปรากฏโดย เร็วพลัน เพื่อเป็นประโยชน์แก่ชาวไทย จนถึง ยุคชาวศรีวิไล มีความเจริญรุ่งเรืองไปในอาณา ประเทศ เพื่อจะสืบอายุพระพุทธศาสนา อันจะ แผ่ไปในกาลข้างหน้า ตามพุทธพยากรณ์ไว้ว่า หลังกึ่งพุทธกาลแล้ว พระพุทธศาสนาจะรุ่งเรือง อีกวาระหนึ่ง

บัดนี้ครบ ๒๐ ปี ตามที่หลวงพ่อบอกไว้ จะเข้ายุคอภิญญาใหญ่ หากเป็นบุญวาสนาบารมี ขอให้มีผู้ปฏิบัติได้ เพื่อช่วยกันประกาศพระศาสนา และขอให้พวกอลัชชี และผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ จง แพ้ภัยไปในที่สุด

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ...ด้วยอำนาจ สัตยาธิษฐานนี้ ขอพระบารมีทุกพระองค์ ได้ทรง โปรดประทานพร ให้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นเผ่าพงศ์ของพระองค์ ถ้าหากคงไม่เกินวิสัย ขอให้เป็นไปตามนั้น และให้สามารถปฏิบัติตน จนได้ผล ทั้งสุกขวิปัสสโก เตวิชโช ฉฬภิญโญ และปฏิสัมภิทัปปัตโต โดยฉับพลันนั้นเทอญ ฯ”



คณะรวมใจภักดิ์ออกมาร่ายรำบวงสรวงชุด "ดาวดึงส์"

เมื่อสิ้นเสียงกล่าวคำอธิษฐาน ซึ่งมีความหนักแน่นและมั่นคง แสดงถึงพลังจิตที่มีความ เข้มแข็ง ในอันที่กระทำพิธีนี้ให้ศักดิ์สิทธิ์ทุกคน จึงกำหนดจิตตามเสียงพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ในขณะที่บวงสรวง เป็นการอัญเชิญท่านทั้งหลายให้ปรากฏ เพื่อเป็นสักขีพยานในการกระทำพิธี

ส่วนผลจะมีประการใดก็ไม่ทราบได้ ต่อจากนั้นก็ได้กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย และขอขมากรรม สวดอิติปิโสและคาถาเงินล้านจบแล้ว ก็เชิญ “คณะรวมใจภักดิ์” ออกมารำบวงสรวง ชุด "ดาวดึงส์" ต่อไป เสียงร้องเสียงบรรเลงได้เอื้อนเอ่ยถึง เหล่าเทพเจ้าทั้งหลาย ผู้สถิตอยู่บนสรวงสวรรค์ ชั้นฟ้า พอใกล้จะจบก็มีเสียงพลุดังขึ้น ๒๑ นัด เพื่อเป็นการประกาศต่อเทพยดาทั้งหลาย

เมื่อจบพิธีบวงสรวงแล้ว ต่อไปเป็นพิธีบำเพ็ญกุศลเพื่ออุทิศผลให้แก่ผู้ที่วายชนม์ทั้งหลาย โดยมีพระภิกษุ ๕-๖ องค์มาช่วยรับปัจจัยที่ญาติโยมเข้ามาทำบุญ มีการมอบพระพุทธรูป “ปางประทับรอยพระพุทธบาท” ให้เป็นที่ระลึก

คณะถาวร เป็นผู้นับเงินรวมทั้งหมด ๓๔๐,๐๐๐ บาท เพื่อจะแบ่งถวายให้พระภิกษุ สามเณรที่มาร่วมงานทุกรูป แต่พระองค์ไหน เป็นเจ้าอาวาส และมีการก่อสร้าง หรือกำลัง บูรณะวัดวาอารามอยู่ ก็จะถวายให้มากหน่อย

จากนั้นเริ่มพิธีสงฆ์ โดย คุณทนงฤทธิ์เป็นทายก อาราธนาศีล และพระปริตร เพื่อเป็นการเสริมสิริมงคลแก่ชีวิต แด่ผู้ที่มาร่วมงานครั้งนี้ ซึ่งจัดเป็นกิจกรรมเสริมเป็นกรณีพิเศษ คือ พิธีบูชาพระเคราะห์เสวยอายุทั้ง ๑๐๘ โดย คณะหนูเล็ก เป็นผู้จัดทำกระทงรวม



ผู้ร่วมพิธีเตรียมสดับรับฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ประเทศไทย

ฉะนั้น พระสงฆ์ทั้งหลายอันมี หลวงพี่ โอ เป็นประธาน จึงได้เจริญพระปริตร ตามบทที่ หลวงพ่อท่านเคยกระทำพิธีมาแล้ว พอถึงบท "ชะยันโต" พระที่มีหน้าที่ปะพรมน้ำพุทธมนต์ ก็ได้มาสงเคราะห์ญาติโยมที่มาร่วมพิธีทั้งหลาย

จนกระทั่งพระสวดมนต์จบแล้ว จึงถวายปัจจัยและเครื่องไทยธรรม อันมีพระพุทธรูป “ปางประทับรอยพระพุทธบาท” สูงขนาด ๙ นิ้ว ซึ่งมี คุณประสงค์ จินตนพันธ์ เป็นเจ้าภาพ เพื่อถวายให้แก่พระที่เป็นเจ้าอาวาส รวม ๒๓ องค์ พร้อมกับ ตาลปัตร ด้วย

ส่วน ย่าม และ พระพุทธรูป “ปางประทับรอยพระพุทธบาท” (องค์เล็ก) ได้ถวาย ให้พระเณรทุกองค์ รวมทั้งสิ้น ๗๔ องค์ พร้อมเงินทั้งหมด ๓๔๐,๐๐๐ บาท นั้นด้วย



หลวงพี่โอกำลังเดินประพรมน้ำพระพุทธมนต์ให้แก่ผู้มาร่วมงานโดยรอบ

เมื่อถวายปัจจัยไทยทานหมดสิ้นแล้ว ผู้จัดก็ได้กล่าวอนุโมทนาแด่พระภิกษุสามเณรและญาติโยมทั้งหลายที่มาร่วมงาน และผู้ร่วมประสานงานทางอยุธยาทั้งหลาย มี อ.ทวีศักดิ์ รักดนตรี เป็นต้น แล้วจึงอุทิศส่วนกุศล

ครั้นพระสงฆ์ให้พรแล้ว จึงเป็นอันเสร็จพิธี ต่อมามีผู้เล่าให้ฟังภายหลังว่า ในขณะที่กระทำพิธีกรรมอยู่นั้น ได้มี ผึ้ง ฝูงใหญ่บินอยู่มากมาย แล้วก็ปล่อยขี้ผึ้งออกมา มีหลายคนที่ขี้ผึ้งตกลงมาถูกศรีษะ ไม่ทราบ ว่ามีความหมายอะไรกัน แต่เท่าที่ทราบจากเหตุการณ์ภายหลังอีก ๑ เดือนต่อมา ก็มีการจับกุมผู้ขโมยวัตถุโบราณได้มากมายตามที่เป็นข่าวไปนั้น ปรากฏว่าเขาทำกันมานานหลายสิบปีแล้ว.



พิธีถวายราชสดุดีเทิดพระเกียรติ


แด่พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา

เป็นอันว่าพิธีกรรมได้ผ่านพ้นไป สิ่งที่เป็นอัปมงคลทั้งหลายในบ้านเมือง ผู้คิดคดทรยศต่อผืนแผ่นดินไทย คงจะถูกกำจัดไปในที่สุด ด้วยผลกระทำของตนเอง พิธีการบวงสรวงสักการ บูชา, พิธีบำเพ็ญกุศล, พิธีบูชาพระเคราะห์ พิธีการทั้งหมดก็จบลงด้วยการนำกระทง พระเคราะห์ทั้ง ๑๐๘ ไปลอยลงใน บึงพระราม ซึ่งอยู่ด้านหลังวัดมหาธาตุ ประมาณ ๕๐๐ เมตร โดยมีผู้สมมุติเป็นพระเจ้ากรุงศรีฯ และพระมเหสี เป็นประธานในการลอยกระทง พระเคราะห์ไปสู่พระแม่คงคา


จากนั้นทุกคนก็เริ่มทยอยเดินกันมาที่บริเวณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าอู่ทอง ปฐมบรมกษัตริย์ของอาณาจักรนี้ โดยที่ทุกคน ต่างก็นั่งอยู่รอบ ๆ ส่วนพระภิกษุสามเณร ก็นั่งอยู่ในศาลา และด้านหน้าอนุสาวรีย์ก็มี การจัดโต๊ะบายศรีและพานพุ่ม ซึ่งมีหลายคน ได้จัดเตรียมมาเข้าร่วมขบวนแห่

คือหลังจากถวายเป็นพุทธบูชาแล้ว จึงนำมาถวายเป็นเครื่องสักการะด้วยพานพุ่ม พานขอขมา จึงถูกวางเป็นระเบียบอยู่บนโต๊ะ พร้อมด้วยบายศรีดอกไม้ ในตอนนี้มีคณะของ หนุ่ม - โอฬาร แห่งไทยรัฐ และ คณะพิษณุโลก ได้ช่วยกันแจกเอกสารให้แก่ผู้ร่วมงานต่อไป.....



(บริเวณพระราชานุสาวรีย์พระเจ้าอู่ทอง)

รวมความว่าผู้เขียนได้เล่าเรื่องการจัด งานพิธีฉลองชัย ณ กรุงศรีอยุธยา อันเป็นพิธีการ “ตัดไม้ข่มนาม” ตามโบราณกาล ด้วยการตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับอันสวยงาม หลังจากทำ พิธีบวงสรวง, พิธีบูชาพระเคราะห์ ๑๐๘, และ พิธีบำเพ็ญกุศล เพื่ออุทิศผลให้แก่ผู้วายชนม์แล้ว ทุกคนจึงได้เดินมาที่บริเวณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าอู่ทอง เพื่อทำ พิธีถวายราชสดุดี กันต่อไป


เมื่อเจ้าหน้าที่จัดเตรียมสถานที่ ผู้จัดลองเสียงลำโพง ด้วยมีผู้เตรียมการจากคณะ คุณปรีชา พึ่งแสง, คุณสุพัฒน์ และ คุณลือชัย ระหว่างนั้นญาติโยมทานอาหารว่างกัน จากการต้อนรับของ “คณะศิษย์อยุธยา”

หลังจากทุกคนฟังได้ยินเสียงชัดเจนแล้ว จึงได้เริ่ม พิธีถวายราชสดุดีเทิดพระเกียรติแด่พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา กันต่อไป ในเวลาประมาณ ๑๗.๐๐ น. โดยเชิญ คุณ อนันต์ และ คุณแสงเดือน ตลอดถึงผู้อยู่ในเหตุการณ์ทั้งหลาย ที่ได้แต่งกายสมมุติย้อน ยุคสมัย จะได้ออกมาจุดธูปเทียนที่โต๊ะบายศรี ในขณะที่ทุกคนพนมมือถือเครื่องราชสักการะ


ท่ามกลางบรรยากาศในยามเย็น ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาใน บริเวณนั้น ที่มองเห็นพวกเรายังอยู่ในชุดสวยงามย้อนยุค นับตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นจนถึงตอนปลาย ส่วนใหญ่เครื่องแต่งกายประดับด้วย เพชรนิลจินดาระยิบระยับ วิจิตรตระการตา งดงามทั้งหญิงและชาย บางคนก็แต่งกายให้ ลูกๆ ด้วย จนต้องไปปรากฏอยู่ใน “สะเก็ด ข่าว” ของช่อง ๗ สีในคืนวันนั้น

ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้าลงไปบ้างแต่พวกเราก็ภูมิใจที่ได้มายืนอยู่ ณ ที่นี้ ซึ่งมีเครื่องบายศรีประดิษฐานอยู่ข้างหน้าพระ บรมราชานุสาวรีย์ ส่วนด้านข้างก็มีป้ายผ้าสี ชมพูอ่อน ผูกกับลูกโป่งนับร้อยลูกสลับกัน เป็นสีธงชาติ เพื่อเตรียมที่จะปล่อยขึ้นบนอากาศ

เมื่อผู้ที่เป็นตัวแทนของพวกเราชาว กรุงศรีอยุธยาในอดีตทั้งหลาย คือ คุณอนันต์ และ คุณแสงเดือน ได้ออกมาจุดธูปเทียนที่ โต๊ะบายศรีแล้ว ซึ่งจัดทำโดย คณะคุณหมู อันมีลักษณะคล้ายบายศรีพรหม ในขณะที่ ทุกคนพนมมือ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระคุณของ บูรพกษัตริยาธิราชเจ้าทั้งหลายแล้ว

ถวายราชสดุดีเป็นบทกลอน


ต่อจากนั้นจึงได้เชิญ คณะพิษณุโลก ออกมากล่าวบทกลอน เพื่อเป็นการถวายราชสดุดีพระเกียรติ โดยมีพวกเรากล่าวตามไปด้วย เป็นใจความว่า...

อภิวาทสดุดีวีรกษัตริย์
โสมนัสเทิดพระคุณอุ่นเกศี
ลูกหลานไทยร่วมใจสามัคคี
บวงสรวงพลีบรรพบุรุษสุดเปรียบปาน

พระเจ้าอู่ทองปฐมบรมกษัตริย์
พระเจนจัดการปกครองรองรากฐาน
มีเวียงวังคลังนาตราหลักการ
ทรงเชี่ยวชาญชำนาญงานอนันต์

รัชกาลสามนามขุนหลวงพะงั่ว
ขยายรั้วอาณาประชาสันต์
อยุธยาสุโขทัยร่วมใจกัน
พุทธศาสน์พลันช่วงโชติรุ่งมา

อยุธยามหานครย้อนความหลัง
งดงามดั่งสรวงสวรรค์อันหรรษา
เจดีย์สูงเรียงรายเคียงเมฆา
อลังการ์อร่ามเรืองเหลืองอุไร

ปราสาทแก้วเนาวรัตน์จรัสศรี
พิณพาทย์เภรีทุ้มนุ่มเกินไข
ประสานขับลำนำดื่มด่ำใจ
โคมไฟในราตรีสีละลาน

เสียงระฆังกังวานหวานเสนาะ
แสนไพเราะเกราะกระดึงอึงสนาน
กลองย่ำค่ำตุมตุมชุมนุมลาน
เพลงพื้นบ้านแสนสนุกทุกวันคืน

ปวงประชาไพร่ฟ้าสัมมาชีพ
มีประทีปธรรมชีวีที่เริงรื่น
พุทธศาสน์สงบพบยั่งยืน
ความขมขื่นเมื่อพม่ามารุกราน

หลงอำนาจวาสนาล่าเมืองขึ้น
ดำทมึนจากนรกฉกล้างผลาญ
เกณฑ์ไพร่พลด้นดั้นอันธพาล
ส่อสันดานสาธารณ์มารจิตใจ

พระมหาจักรพรรดิ์สวัสดิราช
เสด็จยาตราทัพรับศึกใหญ่
มเหสีเทวีศรีสุริโยทัย
ภักดีไท้ยิ่งนักนงลักษณ์ตาม

ปลอมพระองค์เป็นชายละม้ายเหมือน
ไม่คลาดเคลื่อนงามสง่าน่าเกรงขาม
เข้าปะทะทัพหน้าพม่าทราม
ปะเหมาะยามจำเพาะเคราะห์ราวี

ถูกของ้าวน้าวฟาดสะพายแล่ง
ซบตะแคงชีพดับลงกับที่
สุดสลุดรันทดพระภูมี
ปิ้มฤดีนี้จะขาดราชจาบัลย์

เป็นนางแก้วแม่แก้วแล้วลาลับ
ดังเดือนดับสรรพสิ่งนิ่งโศกศัลย์
เสียงร่ำให้ไม่รู้หยุดสุดรำพัน
ทุกคืนวันชาวพาราแสนอาดูร

สองพันหนึ่งร้อยสิบสองเป็นรองเขา
ศัตรูเข้าครอบครองต้องเสื่อมสูญ
ประเทศราชชาติพม่าคร่าประยูร
มิสมบูรณ์พูนพงศ์ปลงเจรจา

พระองค์ดำค้ำประกันขั้นอุกฤษ์
อย่าหมายคิดอิสระผละทาสา
เชลยศักดิ์ประจักษ์จิตฤทธิ์ลือชา
ชนไก่กล้าท้าพนันเดิมพันเมือง

เพียงวัยเด็กเล็กอยู่สู้เพียงนี้
ชายชาตรีหรือจะไม่กระด้างกระเดื่อง
ความระแวงแคลงจิตคิดขัดเคือง
คอยหาเรื่องว่าเปรื่องปราชญ์พลาดทำลาย

พระสุพรรณกัลยามาแทนน้อง
ยอมเกี่ยวดองบุเรงนองปองมั่นหมาย
ทรงเสียสละเพื่อชาติเป็นทาสกาย
แล้วเบี่ยงบ่ายให้น้องชายได้กลับเมือง

สงครามยุทธหัตถีที่เกริกก้อง
เทพแซ่ซ้องฉลองชัยให้ลือเลื่อง
เจ้าพระยาตกมันหุนหันเคือง
มิยอมเชื่องเตลิดไปไล่ไม่ทัน

วิปริตหมอกมัวสลัวหมด
พระประณตเทพไทอยู่ไหนนั่น
ให้เกิดในเศวตฉัตรสัตยาบัน
มุ่งมั่นบำรุงศาสน์กู้ชาติไทย

ไฉนฟ้ามืดดำก่ำเพียงนี้
สิ้นสุรสีห์ฟ้าสว่างกระจ่างใส
เห็นศัตรูรายรอบปลอบปลุกใจ
พระโอภาปราศัยอุปราชา

พระเจ้าพี่ประทับไยใต้ร่มไม้
เชิญชิงชัยยุทธหัตถีครั้งนี้หนา
ให้ปรากฏเกียรติยศพจน์โลกา
สืบเบื้องหน้าคงไม่เห็นเช่นสองเรา

พระแสงง้าวท้าวฟาดไพรีสยบ
เอนกายซบคชาธารมารเงียบเหงา
เผด็จศึกในบัดดลจนซบเซา
พระผ่านเผ้าเดชาหาเทียมทัน

แสนสงสารพระสุพรรณกัลยา
วายชีวาเพราะพม่าฆ่าอาสัญ
ด้วยเคืองแค้นลูกชายวายชีวัน
ทรงประกันแผ่นดินสิ้นชีพพลี

อภิวาทวีรสตรีวีรบุรุษ
ประเสริฐสุดประดุจทองละอองศรี
ขอนอบน้อมกราบกรานสดุดี
โลหิตทาปฐพีนี้เพื่อไทย

น้อมเทิดทูนวีรกรรมนำจารึก
จะผนึกกำลังมิหวั่นไหว
จะรักษาชาติศาสน์กษัตริย์ไทย
จะสู้จนขาดใจใครย่ำยี

ขอบารมีพระคุ้มครองปกป้องรัฐ
ช่วยกำจัดขจัดภัยทุกถิ่นที่
เศรษฐกิจร่ำรวยรวยทบทวี
คราดับจิตสถิตที่นิพพานเทอญ ฯ


ถ้อยคำที่ตัวแทน “คณะพิษณุโลก” ทั้ง ๕ ท่าน ซึ่งมี อ.วิบูลย์ อ.สนองเนตร อ.อุบล และอีก ๒ ท่านนึกชื่อไม่ออก ต้อง ขออภัยด้วย ที่ออกมากล่าวนั้น ฟังแล้วไพเราะเสนาะโสต และได้ความหมายลึกซึ้งเหลือเกิน ขณะที่ได้ยินเสียงพวกเรากล่าวตามไปด้วย กันนั้น ครั้นมองขึ้นไปบนท้องฟ้า เห็นแสง สุริยาเริ่มลับขอบฟ้าแล้ว

แต่พวกเราก็ยังไม่เสร็จภาระหน้าที่ ยังคงจะต้องกระทำพิธีเพื่อเป็นสิริมงคลต่อไป หลังจากผู้สมมุติ พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา นำเครื่องราชสักการะไปวางบนโต๊ะด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์แล้ว ทุกคนจึงถวายความเคารพโดยพร้อมเพรียงกัน


ต่อจากนั้น คุณอนันต์ และ คุณแสงเดือน จึงปล่อยป้ายเปิดงานทันที พวกเรา ทุกคนปรบมือดีใจ ท่ามกลางเสียงเพลงมหาฤกษ์มหาชัยบรรเลง ทุกคนแหงนมองดูป้ายขึ้นสู่ท้องฟ้า เห็นมีข้อความปรากฏว่า...

“งานพิธีฉลองชัย ณ กรุงศรีอยุธยา”
โดยคณะตามรอยพระพุทธบาท
ศิษย์พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๒”


คุณสัมพันธ์ กันฟัก และ คณะพิษณุ โลก เป็นผู้จัดทำ ทั้งที่อยุธยาและวัดสระเกศในขณะที่ป้ายกำลังลอยขึ้นไปนั้นเอง เสียง พลุดังสนั่นก้องท้องฟ้า ท่ามกลางหมู่ประชา ต่างแหงนดูลูกโป่งจำนวน ๑๐๐ ลูก ซึ่งผูกรวมกันเข้าเป็นสีธงชาติไทย ที่ได้นำป้ายอักษร ลอยขึ้นไปอย่างรวดเร็ว (สำหรับพลุที่จุดขณะเปิดผ้านั้น อ.ทวีศักดิ์ เป็นผู้ติดต่อ)

ครั้นมองดูป้ายขึ้นสู่ท้องฟ้าจนลับตา แล้ว ท่ามกลางความปลาบปลื้มยินดี เหมือน กับเป็นการบอกเหตุแห่งความสำเร็จ และ ความมีชัยชนะทุกประการ ลูกหลานหลวงพ่อทุกคน ต่างเปล่งเสียงไชโยโห่ร้องพร้อมกัน จนเสียงพลุหมดไปแล้ว

จากนั้นผู้จัดก็เชิญ คณะรวมใจภักดิ์ ออกมารำสมโภชถวายในชุด “รำอยุธยา” เสียงปรบมือเป็นกำลังใจได้ดังขึ้น เหล่าหนุ่ม สาววัยรุ่นประมาณ ๑๐ กว่าคน แต่งกาย อยู่ในชุดไทยสมัยอยุธยาเมืองเก่า ต่างก็ออก มาร่ายรำประกอบคำร้องที่มีความหมายอย่าง ลึกซึ้ง



ประวัติท่านสัมพเกษีพรหม

เมื่อผู้ร่ายรำทั้งหมด ต่างก็แสดงลีลาท่ารำไปตามทำนองจบแล้ว ผู้จัดก็กล่าวคำถวาย ราชสดุดีว่า...
“เมื่อประมาณพันกว่าปีมาแล้ว เขต จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งปรากฏอยู่ใน ปัจจุบันนี้ยังเป็นทะเลอยู่ ต่อมาแผ่นดินงอก ออกไป และเมื่อขอมได้เป็นใหญ่ในลุ่มแม่น้ำ เจ้าพระยา จึงตั้งเมืองด่านขึ้นที่ริมทะเล เรียกว่า “อโยธยา”

สมัยนั้นเมืองอโยธยาเป็นแต่เพียงเมือง ด่านเมืองหนึ่ง ซึ่งไม่มีผู้คนมากนัก เนื่องจาก บริเวณเมืองเป็นที่ลุ่ม เพราะอยู่ใกล้ทะเล คงจะ ทำนาทำไร่ไม่ได้มากนัก แต่พอคนไทยมาเป็น ใหญ่ในแถบนี้ สมัยราชวงศ์พระร่วง ราชธานีตั้ง อยู่ ณ เมืองสุโขทัย ห่างไกลจากทะเลออกไป

เมืองอโยธยาและเมืองลพบุรี จึงเป็น เขตของ เมืองอู่ทอง ซึ่งเป็นประเทศราชขึ้นกับ กรุงสุโขทัย ครั้นต่อมาแผ่นดินเมืองอโยธยา ค่อยดอนขึ้น ราษฎรจึงทำเรือกสวนไร่นาได้มาก เพราะเป็นทำเลที่เรือค้าขายผ่านไปมาอยู่เสมอ เนื่องจากอยู่ตรงแม่น้ำร่วม จึงมีคนมาตั้งภูมิลำ เนามากขึ้น จนกลายเป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่ง

ครั้นเมื่อ พ.ศ.๑๘๙๐ ได้เกิดโรคระบาด ขึ้นในเมืองอู่ทอง มีผู้คนล้มตายมาก พระเจ้าอู่ทอง จึงได้ย้ายมาสร้างพระนครใหม่ที่ หนองโสนขนานนามว่า “กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา” และทรงสถาปนาขึ้นเป็น พระรามาธิบดีที่ ๑ พระองค์ทรงเสวยราชสมบัติ ๒๒ ปี จึงได้ เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.๑๙๑๒

ลำดับนั้น พระราเมศวร ผู้เป็นพระราชโอรสก็ได้ครองราชย์สืบต่อมา แล้วได้ ถวายราชสมบัติให้ ขุนหลวงพะงั่ว ผู้เป็นลุง จนกระทั่งถึง พ.ศ. ๑๙๓๑ ขุนหลวงพะงั่วก็ได้ สวรรคตในระหว่างทางที่ “เกยชัย” ขณะยกทัพ จะไปตีเชียงใหม่

ในตอนนี้ ท่านผู้เฒ่า เล่าว่า ในขณะที่ ดำรงพระชนม์อยู่ เกือบไม่มีเวลาว่างเว้นจาก สงคราม แต่ในสมัยนั้นมีการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา มีการถวายสังฆทาน จำศีล ภาวนา เพราะมีพระอรหันต์อยู่ ตายไปจึงเป็นพรหม ตามเดิม

แต่ไม่นานนักก็ต้องลงมาเกิดอีกเป็นลูกชาวบ้าน ในสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงศรีอยุธยา ท่านเกิดเป็นลูกมหาเศรษฐีมีเนื้อที่ประมาณ แสนไร่เศษ แม่ชื่อ ปิ่นทอง พ่อชื่อ กองแก้ว ท่านเองเป็นลูกชาย ชื่อ อำไพ

แล้วได้สละทรัพย์สินสงเคราะห์แก่บรรดา ประชาชนทั้งหลาย จนกระทั่งคนในประเทศไทย มีความสุข ในการเกิดเป็น “เศรษฐีอำไพ” นี่มี อายุไม่นานนักก็ตาย อาศัยการสร้างบุญบารมีดี ก็เป็นปัจจัยให้ไปเกิดเป็นพรหมตามเดิม

ท่านไปนอนสบายอยู่พรหมไม่เท่าไร มีผู้มารายงานอีกแล้ว พม่ามันกินเข้ามาอีกแล้ว มะริด ทวาย ก็ไม่ได้เรื่อง จึงถามท่าน ท้าวผกาพรหม ว่าจะให้ไปเกิดที่ไหน ท่านบอกว่า ลงไปเกิดเป็นลูกของแม่ทัพของสมเด็จพระพันวษา คือสมเด็จพระอินทราธิราช แล้วก็จะจัดพรหม และเทวดาร่วมไปตามสมควร ท่านจึงได้มาเกิด เป็นลูก ขุนไกร มีนามว่า “ขุนแผน”

ชาตินี้ ขุนแผนต้องมารวบรวมไทย อาศัยที่มีวิชาการมาก เป็นนักรบเก่ง ล่องหน หายตัวได้ สะเดาะกลอนได้ ทำหุ่นยนต์ได้ การยกทัพไปก็ไม่ต้องใช้กำลังคนมาก ก็สามารถจะสู้ข้าศึกได้ บั้นปลายชีวิตก็ไปเป็นเจ้าพระยากาญจนบุรี ก็ไปจำศีลภาวนาอยู่ที่เขาชนไก่ ตายแล้วก็ไปเกิดเป็นพรหมตามเดิม

อาศัยมีใจห่วงใยพระพุทธศาสนา มองดูคนไทยคิดว่าถ้าจะไม่ค่อยดีอีกแล้ว ต้องลงไปช่วยพยุงทั้งชาติ พระพุทธศาสนา และประ ชาชนให้มีความเป็นอยู่ดีกว่านี้สักหน่อย ท่านจึงได้ลงมาเกิดเป็นลูกกษัตริย์ มีนามว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แล้วก็กลับมาอีกเป็น สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

ต่อจากนั้นก็มาเป็น พระยาโกษาเหล็ก จนกระทั่งปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็ได้มาเป็น นักรบคู่พระทัยของ พระเจ้าตากสิน แล้วร่วมกันก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งจะได้นำไปเล่า กันในวันต่อไปที่วัดสระเกศ...”


ในขณะที่บรรยายก็เป็นเวลาใกล้ค่ำแล้ว ผู้จัดจึงขอให้ คณะของเอ้ ออกมาแสดง ศิลปะป้องกันตัว คือการต่อสู้กันด้วยดาบ และง้าวก่อน เพราะถ้าปล่อยให้ต่อสู้ตอนที่ มืดแล้ว สงสัยคงจะฟันกันเละแน่

เสียงปี่เสียงกลองคล้องกับเสียงดาบ กระทบกัน มองเห็นผู้ที่แต่งกายคล้ายนักรบ สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่างหลบต่างหลีกได้อย่าง คล่องแคล่ว สร้างความตื่นเต้นเร้าใจแก่ผู้ชมโดยรอบพอสมควร บางคนรู้สึกอยากจะออก ไปรำดาบกับเขาบ้าง คงจะเป็นอารมณ์เก่าที่มีอยู่ บางคนก็มีความแค้นใจพม่าที่มารุกราน เป็นต้น

แต่เป็นที่น่าอัศจรรย์ใจ ก็คือ. .อ.อารี ภริยาของ อ.ทวีศักดิ์ ที่คอยประสานงานอยู่ ที่อยุธยา ได้เล่าให้ฟังในภายหลังว่า ในขณะทำ พิธีที่หน้าพระบรมราชาอนุสาวรีย์นั้น ได้เห็น พระเจ้าอู่ทอง อย่างชัดเจน ส่วน คุณวีณา (แต๋ว) อยู่กรุงเทพฯ ก็ได้เห็นพระองค์เช่นกัน เห็นในขณะลืมตา..ไม่ใช่หลับตานะ

และก็มีโยมอีกคนหนึ่งอยู่ที่กรุงเทพฯ ก่อนจะถึงวันงานเกิดเปลี่ยนใจไม่อยากไป ขณะ ที่ล้มตัวนอนลงไปก็ได้เห็น พระเจ้าอู่ทอง และ พระเจ้ามหาจักรพรรดิ มายืนให้เห็น ทั้ง ๆที่ไม่รู้ว่าผู้จัดจะมาทำพิธีที่อนุสาวรีย์พระเจ้า อู่ทอง เพราะรายละเอียดพิธีกรรม จะไม่แจ้ง ให้ใครทราบ ในขณะนั้นพระเจ้าอู่ทองได้ตรัสว่า “งานนี้มีความสำคัญมากนะ ทำไมไม่ไปล่ะ” ด้วยเหตุนี้โยมจึงตัดสินใจมาร่วมงานทันที

ส่วน คุณมงคล จากการบินไทย ได้ เล่าว่า ในขณะที่ทำพิธีอยู่นั้น ลูกร้องหิวข้าว จึงพาออกมาข้างนอก ปรากฏว่าเจอฝนตกลง มาอย่างหนัก แต่ในพิธีกลับไม่มีฝนตกเลย นับเป็นเรื่องแปลก แต่ก่อนที่จะเล่าเรื่อง ต่อไป จะขอนำเรื่องจาก “ตำนานเมือง” ที่ คุณนนทยา นาคะสิงห์ ได้รวบรวมไว้อีกดังนี้...

“การตั้งนาม “กรุงศรีอยุธยา” เอาอย่าง มาจากเมืองอยุธยาของ “คัมภีร์รามายณะ” ในประเทศภารตะ ตามเรื่องมีว่า พระอิศวร รับสั่งให้พระอินทร์ไปสร้างเมืองให้ พระ อโนมาตัน อยู่ที่ชมพูทวีป มีชื่อว่า ทวารวดี พระฤาษี ๔ ตนที่บำเพ็ญพรตอยู่ที่นั่นบอกว่า

“...ป่านี้ประเสริฐนัก ชื่อว่าทวารวดี พนาสนฑ์ ต้นฉัตรพระศุลีเป็นหลักอยู่บูรพ์ หน้าศาลเทพารักษ์ ต้องด้วยลักษณะธานี รูป จะบอกนามไว้ให้เป็นมงคลเฉลิมศรี จงเอา สมญาป่านี้นับนามเราทั้งสี่ประสมกัน เรียกว่า กรุงศรีอยุธยาทวารวดีเขตขัณฑ์ จะเป็นที่สาม โลกอภิวันท์ พระเกียรตินั้นจะทั่วแดนไตร”

พระฤาษี ๔ ตนนั้นมาบำเพ็ญอยู่ที่ ป่า “ทวารวดี” ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปี และมีนามว่าดังนี้ “อันนามกรเราสี่คน รูปชื่อ “อจนคาวี” องค์นี้ชื่อ “ยุคอัคระ” องค์นั้นชื่อ “ทหะฤาษี” องค์โน้นชื่อ “ยาคะมุนี” มีตะบะ พิธีเสมอกัน”


webmaster - 5/1/11 at 13:40

นี่เป็นเรื่องจาก ตำนานเมือง ส่วน ตำนานพระเจ้าเลียบโลก ก็มีกล่าวชื่อเมือง อโยธยา ว่า อโยธิยา แต่ในคัมภีร์ ชินกาลมาลีปกรณ์ เรียกเมืองอยุธยาว่า อโยชชปุระดังนี้ว่า

“ได้ยินว่า ยังมีหินดำก้อนหนึ่ง ทาง ด้านฝั่งตะวันตกแม่น้ำ ไม่ไกลอโยชชปุระ ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคของเรา เมื่อดำรง พระชนม์อยู่ แวดล้อมด้วยพระขีณาสพทั้งหลายเสด็จมาทางอากาศแล้วลงมายังที่นั้น ประทับนั่งบนก้อนหินดำนั้น ตรัสแสดงธรรมเทศนา ชื่อว่า “ทารุกขันธูปสูตร” แก่พระภิกษุทั้ง หลาย

ตั้งแต่นั้นมา หินดำก้อนนั้น เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายกราบไหว้บูชาเป็นนิจ ตลอดมา เพราะฉะนั้น หินดำก้อนนั้น จึง มีชื่อปรากฏว่า “อาทรศิลา” (แปลว่า หินที่ เขานับถือ)

ต่อจากนั้นมา มีพระราชาธิราชองค์ หนึ่งในเมืองรามัญ ได้โปรดให้ช่างทำหินก้อน นั้นให้เป็นพระพุทธรูปจำนวน ๕ องค์ อยู่ ที่มหานคร ๑ ลวปุระ ๑ เมืองสุธรรม ๑และอยู่ในเมืองรามัญ ๒ องค์ ในปัจจุบันนี้ ผู้เขียนได้มีโอกาสไปกราบไหว้มาแล้ว ๑ องค์

แต่อยู่ที่ไหนบ้างนั้น จะเฉลยให้ทราบ ทีหลัง และขอบอกเป็นนัยๆ ก่อนว่า มีอยู่ องค์หนึ่งที่ตกทอดมาถึงสมัย พระแม่เจ้าจามเทวี ครองนครหริภุญชัย พระพุทธรูปองค์ นี้ จึงยังคงอยู่ที่ลำพูนนั่นเอง แต่ว่าอยู่ที่วัด ไหนคงจะทราบในตอนต่อๆ ไป

สำหรับตอนนี้ จะย้อนเล่าเรื่องคำว่า “อโยธยา” ที่ปรากฏใน “ตำนานพระเจ้าเลียบ โลก” กัณฑ์ที่ ๒ มีใจความโดยย่อว่า

สมัยหนึ่ง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าเสด็จไปพร้อมกับพระอรหันต์ทั้งหลาย แล้วได้บรรลุ เมืองระแวก อันควรเป็นที่ตั้งแห่ง พระเจดีย์ ๕ แห่ง เพื่อเป็นเครื่องกำหนด อายุแห่งพระพุทธศาสนา

เมื่อพระองค์ไปถึงและประทับอยู่ ณ ที่นั้นแล้ว เวลานั้นยังมีพญานาคตนหนึ่งเข้ามา อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า พระองค์เล็งเห็นคุณวิเศษแห่งสถานที่นั้น มีพระประสงค์ใคร่จะ แสดงให้ปรากฏต่อไป จึงทรงแย้มพระสรวล อยู่ พระอานนท์ เห็นจึงกราบทูลถามถึงเหตุนั้น

องค์สมเด็จพระภควันต์จึงตรัสว่า
“ดูก่อน...อานนท์ สถานที่แห่งนี้จะ เป็นที่กำหนดหมายอายุแห่งพระพุทธศาสนาเป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต จนกระทั่งสิ้น ๕,๐๐๐ วัสสาแล...”

เมื่อพระเถระทราบเหตุการณ์เช่นนั้นแล้ว จึงกราบทูลขอพระธาตุซึ่งพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ก็ทรงลูบพระเศียรได้พระเกศาธาตุมา ๕ เส้น จึงทรงมอบให้แก่พระอานนท์ แล้วพระอานนท์ก็มอบให้แก่พญานาคที่มา อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า และมีหน้าที่รักษาแม่น้ำนั้น แล้วพระองค์จึงตรัสพยากรณ์ต่อไปว่า

“ดูก่อน..อานนท์ เมื่อตถาคตปรินิพพานไปแล้วได้ ๒๑๘ พรรษา จะมีพระราชา พระองค์หนึ่งพระนามว่า “อโศกราช” เสวยราชย์ในเมืองปาฏลีบุตร เป็นผู้มีเดชานุภาพ แผ่ไปในชมพูทวีปทั้งมวล จะแบ่งแจกพระธาตุแห่งตถาคต มาประดิษฐานก่อเป็นมหาเจดีย์๕ องค์ ให้เป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุ ๕ เส้นไว้เป็นที่สักการบูชาแห่งคนและเทวดาทั้งหลาย และจักเป็นที่กำหนดหมายยังอายุแห่งพระ พุทธศาสนา ๕,๐๐๐ วัสสา เจดีย์ธาตุทั้ง ๕ องค์นี้ แบ่งไว้ดังนี้

เจดีย์องค์ที่ ๑ เป็นบุรพนิมิตแห่ง พระพุทธศาสนาพันปีที่ ๑
องค์ที่ ๒ เป็น อายุแห่งพระพุทธศาสนาพันปีที่ ๒
องค์ที่ ๓ เป็นพันปีที่ ๓
องค์ที่ ๔ เป็นพันปีที่ ๔
องค์ที่ ๕ เป็นพันปีที่ ๕

คือว่าเมื่อตถาคตนิพพานไปแล้วได้ ๑,๐๐๐ พรรษาบริบูรณ์ เจดีย์องค์ที่ ๑ ก็จะ จมลงไปในวังน้ำ อันเป็นที่อยู่แห่งพญานาค
เมื่ออายุพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ ๒,๐๐๐ พรรษา เจดีย์องค์ที่ ๒ ก็จักจมลงไปในน้ำ
และล่วงไปอีกสามพันปี จนกระทั่งถึงพันที่ ๔ และพันปีที่ ๕ เจดีย์องค์ที่ ๓, ๔ และ ที่ ๕ ก็จะจมลงไปเช่นกัน

คนและเทวดาทั้งหลายก็จักรู้แจ้งว่า อายุพระพุทธศาสนาล่วงไปได้เท่านี้ปี และคงเหลืออยู่เท่านี้ปี และที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเป็น พันวัสสาที่เท่านี้ เพราะอาศัยธาตุเจดีย์ทั้ง ๕ องค์นี้เป็นเครื่องกำหนดหมาย...”

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสทำนายเช่นนี้แล้ว พญานาคจึงบรรจุพระเกศาธาตุไว้ในสถานที่ พระพุทธเจ้าประทับนั่งเป็นที่สำราญนั้น จากนั้นพระพุทธองค์จึงเสด็จเพื่อสั่งสอนเวไนย สัตว์ตามลำดับต่อไป

หลังจากเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว เป็นเวลานานถึง ๒๑๘ ปี จึงมีพระราชา ทรงพระนามว่า “อโศกมหาราช” ได้ ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาและพระชินธาตุให้ รุ่งเรืองปรากฏทั้งชมพูทวีป และทรงทราบชัด ว่าสถานที่อันมีอยู่ในเมืองระแวกนั้นเป็นอุดม สถาน จะปรากฏเป็นที่รุ่งเรืองต่อไปถึง ๕,๐๐๐ พระพรรษา

พระองค์จึงโปรดให้หมู่เสนาอำมาตย์ทั้งหลาย ร่วมกันปฏิสังขรณ์พระมหาเจดีย์ ทั้ง ๕ องค์นี้ ด้วยการห่อหุ้มด้วยแผ่นจังโก ทองคำ ตั้งแต่ช่อฟ้าลงมาจรดถึงพื้นดินเหมือน กันทุกองค์ แต่ละองค์สูง ๖๐ วา ฐานกว้าง ๑๒๑ วา ปั้นรูปเทวดาไว้ทั้งสี่มุมพระเจดีย์ เทวดา ๒ องค์ ถือหอยสังข์เป่าฟ้อนรำอยู่ อีก ๒ องค์ ประนมมือน้อมไหว้ใกล้เจดีย์

พระเจดีย์ทั้ง ๕ องค์นั้น ตั้งอยู่ห่าง กันองค์ละ ๑๐ วาเท่าๆ กัน ในพระเจดีย์ ทุกองค์นั้น มีรูปนกยูงทองคำล้อมรอบอยู่ แต่ละด้านมีพระพุทธรูป ๑๖ องค์ มีซุ้ม ๔ ซุ้มทั้ง ๔ ด้านของพระเจดีย์ทุกองค์ แต่ละซุ้มมีพระพุทธรูปอยู่ภายในวิจิตรด้วยรัตนะหิรัญญะและสุวัณณะเป็นอันมาก ประดับด้วยเครื่องอลังการชั้นสูง เปล่งออก ซึ่งรัศมีอันรุ่งเรืองเปรียบเหมือนเทพวิมานฉันนั้น

พระมหาเจดีย์ทั้ง ๕ องค์นั้น พระ เจ้าอโศกมหาราชทรงบริจาคพระราชทรัพย์ให้ แก่คนที่ทำการก่อสร้างไม่อาจจะคณนาได้ เฉพาะพระราชทานรางวัลแก่คนที่มาช่วยสร้าง หมดทองคำไปถึงแสนกหาปณะ กับเงินอีกหมื่นกระสอบ พร้อมเสื้อผ้าและอาหารอีกมากมาย แล้วพระองค์ทรงให้สร้างปราการกำแพงเมืองอันมั่นคงยิ่งนัก พร้อมทั้งขุดคูคลอง ทั้งชั้นนอกและชั้นใน มีจระเข้ดุร้ายยิ่ง เฝ้า หวงแหนรักษาพระเกศาธาตุเจ้าทั้ง ๕ องค์ เพื่อมิให้เกิดอันตรายใดๆ

ครั้นถึง ๑,๐๐๐ ปีล่วงไป พระมหาเจดีย์องค์แรกก็ทรุดจมลงไปในห้วงน้ำลึกจน ไม่อาจประมาณได้ ต่อแต่นั้นมาพระศาสนา ล่วงพ้นไปได้ ๒,๐๐๐ พระพรรษา มหาเจดีย์เมืองระแวกองค์ที่ ๒ ก็ทรุดจมลงไปตั้งแต่ ฐานธรณีอีก

จนกระทั่งถึงปีกัดไส้ (มะเส็ง) จุล ศักราช ๙๓๑ อายุพุทธศาสนาล่วงไปได้ ๒,๑๑๒ พรรษา มีกษัตริย์องค์หนึ่งพระนาม ว่า “ฟ้ามหาธา” เสวยราชย์ใน เมืองหงสาวดี ได้ยกจตุรงคเสนาไปรบเอาเมืองใต้อโยธยา และเมืองล้านช้าง (ลาว) ในกองทัพนั้น มีบัณฑิตผู้หนึ่งเป็น ลูกของ แสนเชียงแลง เป็นผู้ฉลาดมีปัญญา รู้พินิจพิเคราะห์ยิ่ง เมื่อกองทัพมาถึงเมือง ระแวก ได้หยุดพักเพื่อให้พ้นฤดูฝนที่เมือง ระแวกนั้น

บัณฑิตผู้นั้นได้เที่ยวตรวจดูบริเวณ บ้านเมือง และได้สักการบูชาพระมหาเกศาธาตุอันประเสริฐ ได้อ่านดูจาฤกษ์ศาสตร์ (ศิลาจารึก) ที่พระเจ้าอโศกมหาราชและพระอรหันต์เจ้าทั้งหลายได้สลักไว้ที่แผ่นหิน รู้สึกอัศจรรย์ยิ่ง จึงรู้ที่ประดิษฐานแห่งพระมหาเจดีย์ธาตุทั้งมวล

คือรู้ว่าพระมหาเจดีย์ทั้ง ๕ องค์นั้น ทรุดจมลงไปในน้ำลึกแล้ว ๒ องค์ และใน ปีที่ตนเองมาพักอยู่ที่นี้ ก็ได้เห็นพระมหาเจดีย์องค์ที่ ๓ อันเป็นเครื่องกำหนดหมาย อายุพระพุทธศาสนาพันปีที่ ๓ ก็ได้ทรุดจม ลงไปในน้ำ คือฐานธรณีจมลงไปได้ชั้นหนึ่งในปีนั้น พระภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป สามเณร ๔๐๐ รูป ได้อยู่อุปัฏฐากบำรุงพระมหาเจดีย์เกศาธาตุ พร้อมด้วยตระกูลอุปัฏฐากพระธาตุ โดยเฉพาะ ผู้ชายมี ๕,๐๐๐ คน ส่วนผู้หญิง คนแก่ และเด็กไม่นับ

นักปราชญ์บัณฑิตทั้งหลาย หากมี ความประสงค์ใคร่รู้ว่า พระพุทธศาสนาล่วง ไปแล้วได้กี่ปี ก็ให้เอาจุลศักราช ๙๓๑ ปี กัดไส้นั้นตั้ง ก็จะรู้ว่าพระพุทธศาสนาล่วงไป ได้แล้วเท่านั้นปี ส่วนที่เหลือนั้นเป็นอายุของ พระพุทธศาสนาที่ยังคงเหลืออยู่ กล่าวถึงพระมหาเจดีย์เกศาธาตุ ๕ องค์ ที่ประดิษฐาน อยู่กลางเมืองระแวก อันมีในเขตด้าว เมืองอโยธิยาทวาราวัตตินคร ก็จบลงดังนี้...”


เป็นอันว่า เหตุการณ์ระหว่าง พ.ศ. ๒๑๑๒ ถ้าจะเทียบกับประวัติศาสตร์ของไทยก็จะเป็นตอนที่พม่ายกทัพเข้ามาทำศึกกับทางกรุงศรีอยุธยาและล้านช้าง แต่บ้านเราไม่มี ชื่อ เมืองละแวก เลย นอกจากที่เขมร

ตามประวัติกล่าวว่า นักพระสัฏฐา หรือ พระยาละแวก ได้เป็นกษัตริย์เขมรครอง เมืองละแวก (อยู่เหนือกรุงพนมเปญ ๓๒ ก.ม.) ซึ่งเป็นเมืองออกของกรุงศรีอยุธยา เพราะฉะนั้น จึงไม่ทราบว่าพระมหาเจดีย์ที่เหลืออยู่ที่ไหนกันแน่ เพราะ เมืองระแวก ตาม “พุทธตำนาน” อยู่ในเขตเมืองอโยธยา แต่ตามประวัติศาสตร์ พม่าก็มิได้ ยกทัพขึ้นไปตีถึงเขมรเลย.

รวมความว่า ผู้เขียนก็ขอนำมาเล่าไว้ เพื่อประดับความรู้เท่านั้น แต่ถ้าใครพอจะค้นหาประวัติ เมืองระแวก ในสมัยอยุธยาได้ ก็ขอให้แจ้งมาให้ทราบด้วย

สำหรับตอนนี้ก็จะขอเล่าเหตุการณ์ต่อไป ในขณะที่ทำพิธี ถวายราชสดุดีเทิดพระเกียรติ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าอู่ทอง อยู่นั้น คณะรวมใจภักดิ์ ก็ออกมาร่ายรำเพลง ดาบ เพื่อเป็นการถวายความเคารพ ต่อพระ มหากษัตริย์และบรรดานักรบไทยทั้งหลาย ในอดีต ท่ามกลางเสียงเพลงปี่มวย ที่บรรเลง ก้องไปทั่วบริเวณนั้น ต่อจากนั้นผู้เขียนก็ได้ บรรยายถึงเหตุการณ์ต่อไปอีกว่า...

“ณ โอกาสนี้ก็จะขอย้อนเล่าถึงตอน ที่ท่านเสวยพระชาติเป็น สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในรัชกาลนี้มีเหตุการณ์วุ่นวายพอ สมควร จึงเป็นประวัติศาสตร์ที่จารึกไว้ฝังอยู่ ในความทรงจำของชาวไทยตลอดมา อันเป็นที่ มาของความโศกเศร้าเคล้าน้ำตา เนื่องจากต้อง ทำศึกสงครามกับพม่า จนต้องสูญเสียทุกสิ่ง ทุกอย่าง แม้แต่ผู้ที่รักดังดวงใจ

ฉะนั้น ก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะเสียให้ พม่า พระราชาพระองค์นี้มีบุญญาธิการมาก คือ มีช้างเผือกเกิดขึ้นถึง ๗ เชือก แต่ก็หาทำให้ พระองค์มีความสงบสุขไม่ กลับมีแต่ความวุ่นวาย จากพม่า ลาว และเขมร เป็นต้น

จนทำให้พระองค์ต้องสูญเสียพระอัครมเหสีสุดที่รักไป นั่นก็คือ สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ซึ่งพวกเราต่างก็ทราบประวัติกันดี นอกจากนี้ ที่เรายังไม่ทราบก็ยังมีอยู่ เช่น การสูญเสียพระ ราชธิดาอีก ๒ พระองค์ คือ พระบรมดิลก และ พระเทพกษัตรีย์ ดังที่จะเล่าตามหนังสือ คำให้ การชาวกรุงเก่า มีว่า


ในคราวที่ พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ท้าชนช้างกับ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ แต่พระเจ้ากรุงศรีทรงประชวรมาก ขณะนั้น พระบรมดิลก ซึ่งเป็นพระราชธิดามีพระชันษาได้ ๑๖ ปี จึงทูลรับ อาสาว่า จะขอออกไปชนช้างกับพระเจ้าหงสาวดี ฉลองพระเดชพระคุณสมเด็จพระราชบิดา ถึง กับตรัสว่า

“ถึงแม้กระหม่อมฉันจะเสียชีวิตในท่ามกลางข้าศึก ก็มิได้คิดอาลัย จะไว้ชื่อให้ ปรากฏในแผ่นดินชั่วกัลปาวสาน...”
ถึงแม้พระราชมารดาทรงห้ามปรามก็ไม่ฟัง จึงได้ทรงเครื่องพิชัยยุทธอย่างพระมหาอุปราช แล้วถวายบังคมลาสมเด็จพระราชบิดามารดา

เวลานั้น ช้างต้นกำลังคลั่งมัน พระบรมดิลกก็ยกพลออกไปที่ทุ่งมโนรมย์ ก็ได้ทำยุทธหัตถีกัน จนพลาดท่าเสียที ถูกพระเจ้าหงสาวดี จ้วงฟันด้วยพระแสงง้าวตกจากช้างทรง พระบรมดิลกร้องได้คำเดียวก็สิ้นพระชนม์
พระเจ้าหงสาวดีได้ยินเสียงร้อง จึงทราบ ชัดว่าเป็นสตรีปลอมออกมาทำยุทธหัตถีกับ พระองค์ก็เสียพระทัย จึงยกทัพกลับคืนสู่ พระนคร ไม่คิดที่จะตีกรุงศรีอยุธยาอีกต่อไป..”

ในตอนนี้ ทุกคนฟังแล้วน้ำตาซึม เมื่อได้ฟังเรื่องราวของพระองค์แต่หนหลัง ผสมผสาน กับเสียงเพลงบรรเลง “พญาโศก” แต่เพียงเบาๆ เคล้ากับสายลมที่โชยมาในยามสนธยา ยิ่งพาให้ สงสารพระองค์เป็นอย่างยิ่ง

ไม่คิดว่าเด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ถึงแม้จะมีอายุไม่มาก แต่ก็มีจิตกล้าหาญเด็ด เดี่ยวยิ่งนัก ยอมเสียสละแม้กระทั่งชีวิตของตน เพราะรู้อยู่แล้วว่า ยังไงก็ไม่มีทางชนะพม่าได้ แต่ เพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณของพระราชบิดา และพระราชมารดา จึงยอมพลีชีวิตเพื่อรักษา บ้านเมืองเอาไว้ได้ในขณะนั้น

ต่างกับคนบางคนสมัยนี้ที่อยากเป็นใหญ่ ชอบทำตนเป็นเหมือนนกกา แสวงหาที่เกาะดี ๆ บางครั้งคล้ายแร้งที่จ้องจะกินเหยื่อ แล้วก็สาวไส้กันเอง เพื่อแย่งความเป็นใหญ่ โดยไม่เกรงใจเจ้า ของ ที่หวังจะชุบเลี้ยงให้เชื่อง แต่แล้วมันก็ กลับเนรคุณ ทำลายทุกอย่าง แม้แต่ที่ที่มันเคย กินเคยนอน น่าสงสารเหลือเกิน เอ้า..ว่ากันต่อไป

“หลังจากเสียพระราชธิดาแล้ว ต่อมาก็ ต้องมาเสียพระอัครมเหสีอีก ในขณะที่พระองค์ ทรงออกรบกับพม่าอีกครั้งหนึ่ง พระอัครมเหสี ได้ปลอมพระองค์เป็นชายออกรบด้วย เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิชนช้างกับพระเจ้าแปร ช้างพระที่นั่งเสียทีเบนหนี สมเด็จพระศรีสุริโยทัย เห็นเช่นนั้น ก็ทรงไสช้างเข้ากันพระสวามีไว้ เลย ถูกพระเจ้าแปรฟันสิ้นพระชนม์บนคอ


เมื่อชาวกรุงศรีอยุธยาได้สูญสิ้นพระราชธิดา และพระราชินีของตนไปแล้ว ต่อมาก็ได้เสีย พระเทพกษัตรีย์ คือพระราชธิดาองค์ที่ ๒ ไป อีก เนื่องจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรง สร้างอนุสรณ์แห่งสัมพันธไมตรีกับ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ตามที่พวกเราได้ไปกราบไหว้ที่ พระธาตุศรีสองรัก (ด่านซ้าย จ.เลย) กันมาแล้ว

กษัตริย์ล้านช้างพระองค์นี้ได้ทรงขอ พระเทพกษัตรีย์ไปเป็นพระชายา แต่ในระหว่าง เดินทาง ได้ถูกพม่ามาแย่งชิงเอาไปได้ จึงเป็น ความทุกข์ระทมของชาวไทยอีกครั้งหนึ่ง หลังจากต้องเสียพระแม่เจ้า ก็ต้องมาเสียพระลูกเจ้า ให้แก่พม่าไปอีก

ใครเล่าจะโศรกเศร้าเสียใจ นอกจากพ่อ ผู้เป็นใหญ่ของแผ่นดิน พระองค์ต้องสูญเสียทั้ง ช้างเผือกและบุคคลอันเป็นที่รักไป ทั้งราชโอรส ทั้งสอง คือ พระราเมศวร และ พระมหินทร์ ก็ถูกพม่าจับไปเป็นเชลย

ผลสุดท้ายพ่อก็ต้องประชวร แล้วก็สวรรคตไปก่อนที่จะเสียกรุง ครั้งนั้น พวกเรา ชาวไทยนอกจากจะสูญเสียแผ่นดินไทยแล้ว เรายังสูญเสียผู้เป็นพ่อและแม่ ผู้เปรียบเสมือน ต้นตระกูลไทย

ณ โอกาสนี้ จึงขอให้พวกเราลุกยืนขึ้น เพื่อเป็นการไว้อาลัยต่อผู้วายชนม์ทั้งหลาย ทุก ยุคทุกสมัยในอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา แล้วช่วย กันร้องเพลงนี้ เพื่อเป็นเกียรติแก่ต้นตระกูล ของลูกหลานไทย ณ บัดนี้...

ครั้นพวกเราทุกคนยืนขึ้นแล้ว ก็ได้ร้อง ไปตามเสียงเพลงที่เปิดนำ ทุกคนร้องด้วยความเทิดทูนและบูชา ที่ท่านเสียสละเพื่อพวกเราชาว ไทยทั้งมวล ฟังเสียงร้องและทำนองของเพลง “ต้นตระกูลไทย” ยิ่งทำให้จิตใจของพวกเรา ลูกหลานไทยฮึกเหิมไปตามเนื้อร้องตอนหนึ่งว่า...

“องค์พระสุริโยทัย ยอดมิ่งหญิงไทย สละพระชนม์เพื่อชาติ ท้าวเทพสตรี ท้าวศรี สุนทร ป้องกันถลางนครไว้ด้วยความสามารถ ท้าวสุรนารีผู้เป็นนักรบสตรี กล้าหาญองอาจ ป้องกันอีสาน ต้านศัตรูของชาติ ล้วนเป็น สตรีสามารถ เป็นต้นตระกูลไทย ที่ควรระลึก ตลอดกาล...”

เมื่อเพลงจบแล้ว พวกเราก็นั่งลงเพื่อฟัง การถวายพระราชสดุดีเทิดพระเกียรติต่อไปว่า...

“นอกจากพ่อจะสูญเสียช้างคู่บุญบารมี อีกทั้งลูกและเมียไปแล้ว ภายหลังก็ยังเสีย หลานไปอีกด้วยนั่นคือ พระสุพรรณกัลยา ให้แก่ พระเจ้าบุเรงนอง ตามประวัติในเวลานี้ อาจจะสับสน แต่ก็ไปค้นมาได้จากหนังสือ คำให้การขุนหลวงหาวัด (ฉบับหลวง) เล่าว่า

เมื่อพระเจ้าบุเรงนองได้กรุงศรีอยุธยาเป็น เมืองขึ้นแล้ว จึงได้นำพระสุพรรณกัลยากับพระ นเรศวรกลับไปด้วย ครั้นเสด็จไปถึงเมืองหงสาวดี แล้วทรงตั้งพระสุพรรณกัลยาเป็นพระมเหสี ส่วนพระนเรศวรนั้นทรงรักใคร่เหมือนหนึ่งพระราชโอรส

ต่อมาเมื่อพระเจ้าบุเรงนองสวรรคตแล้ว พระนางก็ตกเป็นพระมเหสีของ พระเจ้านันทบุเรง อีก วันหนึ่งพระนเรศวรคิดจะหนีไปจากพม่า จึงเข้าไปเฝ้าพระพี่นางทูลให้หนีกลับไป ด้วยกัน แต่พระพี่นางตรัสตอบว่า บัดนี้พี่ก็มี บุตรด้วยพระเจ้าหงสาวดีแล้ว จะหนีไปอย่างไรได้ พ่อจงกลับไปเถิด ตรัสแล้วจึงอวยชัยให้พรว่า

“ขอให้น้องเราไปโดยสิริสวัสดิ์ อย่าให้ ศัตรูหมู่ปัจจามิตรย่ำยีได้ แม้ใครจะคิดร้ายก็ขอ ให้พ่ายแพ้แก่เจ้า เจ้าจงมีชัยชนะแก่ข้าศึกศัตรู กู้บ้านกู้เมืองคืนได้ดังปรารถนาเทอญ...”

พระนเรศวรได้ฟังดังนั้น แกล้งตรัสตอบ เป็นทีล้อพระพี่นางเธอว่า รักผัวมากกว่าญาติ แล้วก็ทูลลามาสู่ที่ตำหนัก ชักชวนมหาดเล็กลอบ หนีออกจากเมืองหงสาวดี

ต่อมา พระมหาอุปราช ก็ได้ยกทัพเสด็จ ตามมาตีถึงเมืองสุพรรณบุรี แล้วได้ทำยุทธหัตถี กับสมเด็จพระนเรศวร จนสิ้นพระชนม์อยู่กับคอช้าง ความทราบถึงพระเจ้านันทบุเรงก็ทรงพระ พิโรธ รับสั่งให้เอาตัวแม่ทัพนายกองที่ไปกับ พระมหาอุปราชนั้น ใส่คาย่างไฟให้ตายสิ้น

แต่เท่านั้นยังไม่พอ จึงถือพระแสงตรง เข้ามาในห้องบรรทมของพระสุพรรณกัลยา ซึ่ง กำลังให้ลูกกินนมอยู่ ได้ชี้หน้าว่าอ้ายไทยทรยศ แล้วใช้พระแสงฟันตายทั้งแม่และลูก

พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ “อุ่นเมือง



(ภาพจาก trekkingthai.com)

ในตอนนี้ ตามหนังสือประวัติ วัดน้ำฮู อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน เล่าว่า ต่อมาสมเด็จพระนเรศวรได้ยกทัพไปตีพม่าเพื่อเป็นการแก้แค้น แต่ไม่สามารถจะตีให้แตกได้ จึงทรงนำอัฐิธาตุของพระพี่นางกลับมาทาง เมืองปาย ในขณะที่ พักไพร่พลที่เมืองปาย คืนนั้นพระพี่นางได้มา เข้าฝันพระองค์ พร้อมทั้งทรงกันแสงร่ำไห้ตรัสว่า

“องค์ดำเอ๋ย..พี่เปรียบเสมือนคนสองแผ่นดิน ลูกพี่เป็นลูกพม่า ตัวพี่เป็นไทย ย่อมผูกพันกันอยู่ แดนพม่าและไทย วิญญาณของพี่จะได้เป็นสุข เสียที พี่ลำบากมามากแล้วชั่วชีวิตนี้ ขอให้สร้าง พระพุทธรูปอุทิศให้ด้วย”

ต่อมาสมเด็จพระนเรศวรจึงทรงสร้างพระ พุทธรูปองค์หนึ่ง ชื่อว่า อุ่นเมือง เพื่อถวาย เป็นพระราชกุศลให้แก่พระพี่นาง แล้วได้สร้าง พระเจดีย์เพื่อเป็นที่บรรจุพระอัฐิธาตุและพระ เกศาของพระพี่นางไว้ที่ วัดน้ำฮู เพื่อเป็นการ สนองคุณในฐานะที่พระพี่นางไม่ยอมกลับมา เป็น การถ่วงเวลาให้พระองค์ได้มีโอกาสรวบรวม กำลังสู้ศึกกับพม่า จนคนไทยได้รับอิสรภาพ ในที่สุด

พระอัฐิธาตุเจดีย์ของพระพี่นางฯ ณ วัดน้ำฮู



(ภาพจาก oknation.net)

และตามประวัติในที่บางแห่งได้เล่าว่า พระองค์ถูกนำไปเป็นตัวประกัน เพื่อแลกเปลี่ยน กับพระนเรศวร จึงมีบทกลอนบทหนึ่งของ คุณสมภพ จันทรประภา ตอนที่พระพี่นางตรัส กับพระราชบิดาว่า...

“โปรดเถิดพระบิดาอย่ากังวล
ลูกรู้จักหน้าที่ตนอย่างสมบูรณ์
โดยเลือดเนื้อเชื้อไขเป็นไทยชาติ
โดยวงศ์ญาติยศไกรมไหศูรย์
โดยประวัติแกล้วกล้าทั้งตระกูล
ประชาชนเทิดทูนทั่วทั้งเวียงไชย
ถ้าเกิดมาเป็นชายก็ได้ฉัตร
ปกป้องครองรัฐอันยิ่งใหญ่
จะรบรอต่อสู้กู้กรุงไกร
คืนเอามาเป็นไทดังก่อนกาล

เสียดายแต่ที่เกิดเป็นสตรี
ยากที่จะเข้าหักหาญ
รบรอต่อกรรอนราญ
ประจัญบานเช่นชายชาตรี
ขอพระองค์จงนำข้าไปแลกน้อง
รวมเป็นสองรองบาทบทศรี
กู้เกียรติอยุธยาธานี
ไม่ช้าที่จะฟื้นคืนตัว”

และทรงตรัสกับสมเด็จพระนเรศวรอีกว่า

“นเรศวรน้องรักคนดี
จงฟังคำพี่หน่อยทูนหัว
ถ้าพี่นั้นเป็นชายเจ้าอย่ากลัว
ไม่มามัวแลกเจ้าคืน
ถึงเป็นหญิงก็รู้จักเจ็บอาย
อาจยอมตายเพื่อล้างความขมขื่น
ขอให้พี่มีโอกาสแทนดาบปืน
พอพาชื่นหฤทัยบ้างเถิดหนา
ความเป็นไทต้องซื้อด้วยชีวิต
แพงสุดฤทธิ์ก็ต้องซื้อเพราะคุ้มค่า
เราซื้อกันด้วยเลือดด้วยน้ำตา
ชีวิตของกัลยาเป็นเดิมพัน ฯ”


webmaster - 2/3/11 at 13:52

ณ โอกาสนี้ พวกเราชาวไทยยังไม่ลืม พระคุณความดีของวีรกษัตรีย์ผู้กล้าหาญ ที่มี ความเสียสละความสุขทุกอย่าง เพื่อช่วยให้ น้องชายได้กลับมากู้แผ่นดินเกิด หวังจะเชิดให้ ลูกหลานไทยภายหลังได้เป็นสุข ถึงแม้จะต้อง อยู่บนความทุกข์ที่ขมขื่นก็ตาม มีหญิงใดที่จะทำ ได้ ถ้าไม่ใช่หญิงไทยที่ใจเด็ด จึงขอยกย่องสรร เสริญวีรกรรม ที่พระองค์ตั้งใจพลีชีวิตเพื่อชาติ


บัดนี้ ถึงเวลาที่ คณะตามรอยพระพุทธบาท ได้พร้อมใจกันเกิดมาเป็นชาวไทย อีกครั้งหนึ่ง แล้วได้รวมกำลังกันทั่วประเทศ เพื่อ เดินทางกราบไหว้เทิดทูนพระเกียรติคุณแก่ชาวโลก ด้วยความภาคภูมิใจ แด่ผู้มีคุณต่อแผ่นดินทุกท่าน ทุกราชอาณาจักร ที่ได้เคยยิ่งใหญ่มา ในอดีต ความดีของบรรพบุรุษไทย สมกับพระ ราชนิพนธ์ของ “ในหลวง” ที่ได้ทรงสรรเสริญไว้ เป็นบทเพลงว่า เราสู้ไม่ถอยแม้ก้าวเดียว

ขณะนั้น เสียงเพลง “เราสู้” ก็ดังขึ้น ในยามค่ำคืน แต่ก็มีแสงไฟในบริเวณนั้น พอที่ จะมองเห็นกันได้ว่า ทุกคนเต็มใจที่จะยืนขึ้นร้อง เพื่อน้อมนึกถึง บรรพบุรุษไทยแต่โบราณ ปก บ้านป้องเมืองคุ้มเหย้า เสียเลือดเสียเนื้อมิใช่ เบา หน้าที่เรารักษาสืบไป ลูกหลานเหลนโหลน ภายหน้า จะได้มีพสุธาอาศัย อนาคตจะต้องมี ประเทศไทย มิยอมให้ผู้ใดมาทำลาย....

เป็นอันว่า เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ จะเห็นได้ว่าสมัยพระเจ้าช้างเผือกนั้น สมเด็จพระศรีสุริโยทัยได้ทรงสละพระชนม์ชีพเพื่อพระสวามี เพราะทรงเห็นว่าเสียพระองค์ไปแต่เพียง ผู้เดียว ดีกว่าจะเสียพระราชสวามีที่สามารถรักษา ทวยราษฎร์และประเทศชาติไว้ได้

ชาวไทยทั่วหน้าจึงได้หลั่งน้ำตาแทบเป็น สายเลือดอย่างอาลัยอาวรณ์ ต่างรำพึงรำพันถึง พระแม่เจ้าผู้เป็นศรีภรรยาที่ดีที่ควรยกย่อง สม กับเป็น แม่ศรี ของลูกหลานไทยทุกภพทุกชาติ

ฉะนั้น หลังจากได้สรรเสริญพระเกียรติ คุณของ ท่านแม่ศรี อันเป็นวีรกรรมที่เชียงแสน แล้ว มาถึงแผ่นดินนี้ ณ กรุงศรีอยุธยา ท่านก็ ได้มาสร้างวีรกรรมที่คนไทยไม่เคย ลืมเลือน ตราบเท่าทุกวันนี้ ต่อไปนี้ลูกทั้งหลายชายหญิง ขอกราบไหว้ซึ่งคุณพระมารดา ขอเชิญอีกครั้ง ณ สถานที่นี้ ขอเชิญมาเป็นสักขีพยาน เพื่อเป็นการฟ้อนรำถวาย...


เมื่อได้บรรยายถึงตอนนี้ เสียงเพลงไทยเดิม แม่ศรี ก็ดังขึ้น เสียงร้องเยือกเย็นไพเราะ เสนาะโสต นำพาให้หลายคนต้องออกมาร่ายรำ ไปตามเสียงเพลง สร้างความงุนงงให้เกิดขึ้น บาง คนก็รำไปตามจังหวะได้เป็นอย่างดี บางทีก็ฝืน ไม่ได้ เหมือนกับท่านได้มาน้อมนำให้ลูกหลาน ร่ายรำไปด้วยกันฉะนั้น

ทั้งนี้ สร้างความประหลาดใจให้เกิดขึ้น พอสมควร จนกระทั่งเพลงจบไปแล้ว ผู้เขียนจึง กล่าวขอให้ทุกท่านมาร่วมเฉลิมฉลองชัยชนะกัน เหมือนตอนที่สมเด็จพระนเรศวรชนะศึก ปลด ปล่อยคนไทยให้พ้นจากการเป็นทาสของพม่า แล้วได้มาร่วมฉลองกัน จึงขอให้ทุกท่านได้สดุดี วีรกรรมของพระองค์ท่าน ด้วยการร้องเพลง... “มาร์ชพระนเรศวร”

“นเรศวรพระมหาธีรราชเจ้าจอมไทย กู้อิสรภาพปราบเสี้ยนหนามไพรี พระต้านต่อตีเทิด ศรีอโยธยา พระทรงรบศึก รุดไปข้างหน้า พระ เผด็จศึกเข็ญเข่นฆ่า ปราบบรรดาทุกข์ภัย ได้ชื่อ ว่าเป็นยอดวีรบุรุษ พระเกียรติเชิงยุทธเฟื่องสุด ปฐพี หาญท้ามารบยุทธหัตถี รอดต้านไพรีเป็นที่ เฉิดฉันท์...”

เมื่อเราได้อิสรภาพแล้ว คนไทยก็ก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง พัฒนาประเทศ ฟื้นฟู เศรษฐกิจกันอีกครั้ง และต่อไปเราจะไม่แพ้ใคร เราจะเดินก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อหวังก้าวหน้าให้ชาติไทยเจริญ พวกเราพากันเดิน

ในตอนนี้ เสียงพวกเราร้องเพลง “เดิน” กันอย่างสนุกสนาน หลังจากคราบน้ำตาเพิ่งหายไป ด้วยการถือธงชาติเดินวนรอบ หลังจากที่เสียกรุงให้แก่พม่า คนไทยสูญเสียมากมายเหลือจะคณานับ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงกู้ชาติกลับคืนมา คนไทยจึงมีความสุข ตามเสียงเพลงดังก้องไปว่า


“อย่ายอมแพ้ใคร ชาติไทยต้องเดิน ถ้า หวังก้าวหน้าเราต้องพากันเดิน อย่าท้อทางไกลขอ ให้ไทยเจริญ มาเพื่อนไทยมาร่วมน้ำใจสมานฉันท์ ไปตายดาบหน้า เพื่อนไทยจงมาให้พร้อมเพรียง กัน พบหนามเราจะฝ่า พบป่าเราจะฟัน พบแม่น้ำ ขวางกั้น เราจะว่ายข้ามไป

ไชโย..ไชยะ..ให้ไทยชนะตลอดปลอดภัย ใครขวางทางเดินก็จะเชิญให้หลีกไป พบเสือเรา จะสู้ พบศัตรูเราจะฆ่า พบอะไรขวางหน้า เราจะ ฝ่าฟันไป อย่ายอมแพ้ใคร ชาติไทยต้องเดิน ฯ”

จบเพลงร้องแล้ว ตอนนี้เสียงเพลงรำวง ก็ดังขึ้นทันที แต่ละคนไม่รอช้า ต่างก้าวออกมา รำวงด้วยเพลง “อยุธยาเมืองเก่า” ของเราแต่ ก่อน จิตใจอาวรณ์มาเล่าสู่กันฟัง อยุธยาแต่ก่อน นี้ยัง เป็นดังเมืองทองของพี่น้องเผ่าพงษ์ไทย

เดี๋ยวนี้ซิเป็นเมืองเก่า ชาวไทยแสนเศร้า ถูกข้าศึกรุกราน ชาวไทย..ทุกคนหัวใจร้าวราญ ข้าศึกเผาผลาญแหลกรานวอดวาย เราชนชั้น หลังมองแล้วเศร้าใจ อนุสรณ์เตือนให้...ชาวไทย คงมั่น สมัครสมานร่วมใจกันสามัคคี คงจะไม่มี ใครกล้าราวีชาติไทย...

แหม..ทุกคนฟังแล้วก็เศร้าเหมือนกัน แต่ทุกคนก็ร้องรำไปด้วยความสนุกสนาน เพราะ ยังมีเพลง ศึกบางระจัน กันอีกเพลงหนึ่ง ที่ ทุกคนสามารถรำวงต่อกันไปได้อีก จบแล้วก็ กลับออกมายืนร้องเพลงกันเป็นเพลงสุดท้าย นั่นก็คือเพลง “แผ่นดินไทย”



(ทุกคนช่วยกันร้องเพลงไปตามเนื้อร้องที่แจกให้กันไป)

“ถิ่นนี้คือแหลมทอง ทรัพย์เนืองนอง ของเราเผ่าไทย ไร่นาเขียววิไล ประชาไทยรักเพียง ชีวา ศาสนาดังฝนฉ่ำ พุทธธรรมน้อมนำสุขพา อีกองค์พระราชา ขวัญชีวาฟ้าเบิกบาน...
(สร้อย) สุขสราญชีวี ชาติเรามีเสรีมานาน แต่มีแดนใจพาล คิดรุกรานแผ่นดินแดนไทย อย่าให้มันราวี อย่าให้มีปวงภัย อธิปไตยของเรา ไทยใครอย่ารุกราน

หากแม้นแดงแฝงเข้า ผองไทยเราก็คง แหลกราน อกตรมและซมซาน สุขสราญมลาย ไปสิ้น ต้องรักในเสรี สามัคคีรักแดนแผ่นดิน ตั้งใจหาทำกิน ทรัพย์ในดินฟ้าประทาน (สร้อย)
เหล่าร้ายลัทธิชั่ว แสนเมามัวมิพึงต้องการ หากแดงหมายรอนราน เหล่าคนพาลซิจงระวัง จะพร้อมกันรุกไล่ ผองชาวไทยทุกคนเกลียดชัง ผึ้งรวงหวงรวงรัง เหมือนดังเราหวงแผ่นดิน...”

ในยามค่ำคืนนั้น แม้จะเป็นเวลา ๑ ทุ่ม กว่าไปแล้ว แต่ทุกคนยังร้องเพลงด้วยเสียงสดใส เสียงปรบมือตามเป็นจังหวะดังไปทั่ว ระหว่าง นั้นเอง เสียงพลุดาวกระจายดังสนั่นหวั่นไหว


ทุกคนแหงนมองตามขึ้นไปบนท้องฟ้า แสงสีรัศมีของพลุแผ่กระจายออกไปสวยงาม ซ้ำแล้วซ้ำเล่าด้วยพลุหลายหลากสี นับทวีพุ่งขึ้น สู่ท้องฟ้า พลันได้ยินเสียงเบื้องล่าง ดังสลับกับ พลุบนท้องฟ้า ข้างบนก็สีสันสวยงาม ข้างล่าง ก็อร่ามตาด้วยพลุดอกไม้ไฟ เป็นต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ทอแสงเปล่งประกายในยามค่ำคืน


ท่ามกลางความมืดมิด เสียงพลุบนท้อง ฟ้า ที่ปรากฏอยู่ด้านหลังพระบรมราชานุสาวรีย์ พระเจ้าอู่ทอง พร้อมกับพลุต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ที่จุดบูชาอยู่ทั้งสองด้านข้างหน้า มองดูโดยภาพ รวมแล้ว สวยงามตระการตาเหลือเกิน

ทุกคนที่มาร่วมงาน โดยเฉพาะผู้ร่วมจัด งานทุกคน ต่างก็ปลื้มใจในผลสำเร็จ ไม่มีอุปสรรค เรื่องดินฟ้าอากาศแต่อย่างใด การเฉลิมฉลองใน ตอนสุดท้าย จึงได้จัดทำบูชาเป็นวาระพิเศษ ทุกคนคงจะไม่ลืมวันประวัติศาสตร์ของตัวเอง ซึ่งคงจะมีเป็นอนุสรณ์เพียงครั้งเดียวเท่านั้น

จึงถือว่าชาตินี้ก็มีโอกาสมาทำงานเพื่อชาติ บ้านเมืองเช่นกัน แต่อาจจะแตกต่างกันที่รูปแบบ เพราะถ้าจะต้องช่วยแบบเดิมกันอยู่เสมอ คงจะ ไม่มีโอกาสพ้นทุกข์กับเขาเสียที อย่างที่พระเดช พระคุณท่านเคยกล่าวไว้สมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ว่า

“ข้าไม่รู้สร้างบารมีกับเขาอย่างไร เกิดมา ต้องรบทุกชาติเลยวะ..!”

เป็นอันว่า ลูกหลานของท่านทุกคน คง จะเลิกเกิดกันเสียที ขอให้ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย กันนะ ก่อนที่จะจากกัน ขอนำภาพที่มีแสงพิเศษ มาแถมท้ายไว้ด้วย และขอให้ช่วยกันติดตามตอนต่อไป จาก “อยุธยา” สู่ “รัตนโกสินทร์” ซึ่งจะไปจัดงานต่อที่ ภูเขาทอง วัดสระเกศ ฯ



(ภาพนี้มีผู้ถ่ายได้มีแสงประหลาดส่งมาให้ดูด้วย)


ก่อนที่จะจบ ต้องขออนุโมทนาผู้อ่าน หลายท่าน ที่ส่งเงินมาร่วมพิมพ์หนังสือ “รวมเล่ม” ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะได้ทำเมื่อไหร่ เพราะยังมีเรื่องราว จากการเดินทางอีกมากมายหลายแห่ง ที่ยังไม่ได้ เรียบเรียงออกสู่สายตาท่านผู้อ่าน ดังมีรายชื่อ ต่อไปนี้ (ผู้ที่ไม่ได้ระบุจังหวัด หมายถึงกรุงเทพ)

พระพโยม ธีรญาโณ จากวัดบางกล้วย สมุทรสงคราม ๑,๐๐๐ บาท คุณอัจฉรา ไพบูลย์ และบุตรธิดา ๒,๐๐๐ บาท คุณสุพจน์ - ศรีนวล - สุนทรีย์ ชัยดารา เชียงใหม่ ๑,๐๐๐ บาท คุณสุทธิ์ชาติ รัตนสุวรรณ ๕,๐๐๐ บาท

คุณโชคพิพัฒน์ เส็งพานิช ๑๐๐ บาท อ.เกศริน ภู่กร พิษณุโลก ๑,๖๒๐ บาท คุณเกษม - พัทยา และคณะ ๒,๓๐๐ บาท พระชัยวัฒน์ สุทธฺสีโล ลำปาง ๑๐๐ บาท คุณฟองหลาน - หยุก หลาน เชียงราย ๑,๐๐๐ บาท คุณมงคล - ทองใบโลจนิลจิตธรรม พร้อมบุตรธิดา ๑,๐๐๐ บาท

คุณพรรัตน์ โชคขจิตสัมพันธ์ ออสเตรเลีย ๕๐๐ บาท คุณนารถฤดี เจริญราศรี ๑๔๐ บาท คุณเกศแก้ว ชูแก้ว บ้านท่าซุง ๑๐๐ บาท คุณกาหลง สายบรรดาศักดิ์ พิษณุโลก ๕๐๐ บาท นางรำเพย สุริยะ ประจวบฯ ๑,๕๖๐ บาท คุณนนทพร - Stainhaus Scott James ๑,๐๐๐ บาท คุณพิทักษ์ - Nick Sturrman ๕๐๐ บาท และที่ระบุว่าร่วมทำบุญทุกอย่าง “ตามรอยพระพุทธบาท” มีดังนี้
.
คุณสุทธิ์ชาติ รัตนสุวรรณ ๕,๐๐๐ บาท คุณลีน่า บุญประเสริฐ และครอบครัวจากบาเรนห์ ๑,๘๐๐ บาท คุณศราวุธ ราชบุรี ชลบุรี ๓,๐๐๐ บาท น.พ.จุฑา จันทร์ศรี ๑๐๐,๐๐๐ บาท จึงขอให้เข้าถึงโมกขธรรมทุกคนนะ.. สวัสดี

◄ll กลับสู่สารบัญ

(โปรดติดตามต่อไป ตอน "อาณาจักรรัตนโกสินทร์")


webmaster - 2/3/11 at 14:01


webmaster - 2/3/11 at 14:05


webmaster - 17/3/11 at 09:31

(Update 17-03-54)