ถ้าพบข้อผิดพลาดในเว็บไซด์ จะแนะนำและติชม หรือสอบถาม ติดต่อที่ WEBMASTER
 
VISITORS


     







Not logged in [Login ]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites  
[*] posted on 30/8/12 at 10:26 Reply With Quote

พบรอยพระพุทธบาทคู่ ณ วัดถ้ำขุมทรัพย์ อ.เกาะคา จ.ลำปาง


ผอ.ศิลปากรที่ 7 ตรวจสอบรอยพระพุทธบาท

วัดถ้ำขุมทรัพย์ เกาะคา ลำปาง




วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เวลา 14:44 น. ข่าวสดออนไลน์

วันที่ 25 ส.ค. นายเมธาดล วิจักรขณะ ผอ.สำนักงานศิลปากรที่ 7 น่าน และคณะเจ้าหน้าที่ ได้เดินทางเข้าตรวจสอบรอยพระพุทธบาทที่พบภายในวัดถ้ำขุมทรัพย์ หมู่ 5 ต.บ้านใหม่พัฒนา อ.เกาะคา จ.ลำปาง หลังได้รับแจ้งว่าพบรอยพระพุทธบาทดังกล่าว โดยมีพระรัตนกิจ อภิปุณโณ พระที่ประจำวัดแห่งนี้ และเป็นผู้พบรอยพระพุทธบาทคอยให้รายละเอียดแก่เจ้าหน้าที่

จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากร พบว่าเป็นรอยพระพุทธบาทจริง รูปร่างสมบูรณ์โดยการแกะสลักลงบนหินศิลาแลง และมีร่องรอยของการเทปูทับอีกชั้นหนึ่งซึ่งมีสีชมพูคล้ายกับมีส่วนผสมของชาด นอกจากนั้นยังมีการวาดก้นหอยบริเวณนิ้วเท้า และมีพระธรรมจักรอยู่กลางฝ่าเท้า ขนาดความยาว 2.40 ม.ความกว้างด้านบนนิ้ว 110 ซ.ม. และความกว้างบริเวณส้น 72 ซ.ม.

นายเมธาดล วิจักรขณะ ผอ.สำนักงานศิลปากรที่ 7 น่าน เปิดเผยว่า สำหรับในอาณาจักรล้านนาที่เคยพบรอยพระพุทธบาทจะอยู่ที่วัดพระธาตุลำปางหลวง ซึ่งเป็นรอยประเภทบริโภคเจดีย์ คือ มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าในเส้นทางที่พระองค์เคยผ่านหรือเคยจำพรรษาอยู่ น่าจะสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราช พ.ศ.1992 อายุราว 500-600 ปี ส่วนรอยพระพุทธบาทที่พบที่วัดถ้ำขุมทรัพย์แห่งนี้ เป็นรอยที่มนุษย์ทำขึ้นเช่นกันโดยมีการแกะสลักลงบนพื้นหินศิลาแลง มีรูปร่าง นิ้ว ข้อพระบาท ลายก้นหอย และที่สำคัญมีรอยพระธรรมจักร ซึ่งบ่งบอกชัดเจนว่าเป็นการแกะสลักเป็นรอยพระพุทธบาทคู่ คล้ายกับที่พบในเมืองศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี

สำหรับรอยพระบาทบนหินศิลาแลงที่พบนี้มีความเก่าแก่มาก แต่ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าในสมัยใด เนื่องจากต้องตรวจสอบมูลฐานที่ใกล้เคียงก่อนว่าในแถบนี้มีมูลฐานอยู่ในสมัยทวารวดีหรือสมัยล้านนา ส่วนรอยปูนที่นำมาทับคาดว่าจะเป็นการเพิ่มเติมทีหลัง โดยจะให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปากรเข้ามาตรวจสอบว่าเป็นปูนชนิดใด ซึ่งยังไม่แน่ใจว่าจะเกิดขึ้นในสมัยล้านนาหรือไม่ เนื่องจากปูนที่ปิดทับนั้นมีสีชมพู เพราะสมัยล้านนาส่วนใหญ่จะใช้การปิดทองร่องชาด ซึ่งชาดจะมีสีแดงหากมีการผสมกับปูนแล้วจะออกสีชมพูคล้ายกัน จึงต้องใช้หลักฐานหลายอย่างที่จะนำมาพิจารณาอายุความเก่าแก่

แต่โดยความคิดเห็นส่วนตัวสันนิษฐานว่า อาจจะเกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 12 อย่างน้อยน่าจะเกิดขึ้นในสมัยล้านนา ซึ่งจะมีอายุไม่ต่ำกว่า 500 ปี และหากมีหลักฐานตรวจสอบความเป็นมาและยุคสมัยได้ชันเจน กรมศิลป์ก็พร้อมที่จะขึ้นทะเบียน และมีแนวทางจะทำโครงการอนุรักษ์และพัฒนาร่วมกับจังหวัดต่อไป

ในเบื้องต้น ผอ.กรมศิลปากรที่ 7 ได้แนะนำให้ทางวัดเก็บเหรียญที่ชาวบ้านนำมาโยนไว้ในพระพุทธบาทออก และติดป้ายห้ามไม่ให้มีการโยนเหรียญอีก เนื่องจากเกรงว่ารอยที่พบจะเกิดความเสียหาย พร้อมกับกำชับให้ดูแลรักษาไว้ให้ดีเพื่อจะให้นักโบราณคดีเข้ามาตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง

สำหรับการพบรอยพระพุทธบาทที่วัดถ้ำขุมทรัพย์นั้น พระรัตนกิจ อภิปุณโณ ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดเพียงรูปเดียว เล่าว่า ได้ฝันว่าตนเองเดินจงกลมอยู่บริเวณจอมปลวก จากนั้นก็นั่งสมาธิและมือกวาดไปพบรอยพระบาทส่วนหัวแม่เท้าหนึ่งข้าง จากนั้นก็ตื่นแต่เนื่องจากฝันนั้นเหมือนจริงมากก็เลยเดินออกดูและพบจอมปลวกจริงจึงลองเขี่ยใบไม้ที่ทับถมกันดูก็พบรอยพระพุทธบาทอยู่จริง แต่รากของต้นโพธิ์พยายามชอนไชรอยพระพุทธบาท จึงได้ตัดต้นโพธิ์ทิ้งและนำเต้นมากางคลุมรอยพระพุทธบาทไว้ แต่ก็ไม่เคยบอกเรื่องดังกล่าวกับใครจะรู้ก็เพียงญาติโยมที่เข้ามาทำบุญเท่านั้น จึงไม่ได้รับการบูรณะดูแลเท่าที่ควร

ด้านนายมงคล ขัดผาบ ผอ.สำนักพระพุทธศาสนา จ.ลำปาง เปิดเผยว่า วัดถ้ำขุมทรัพย์ ได้จดทะเบียนเป็นวัดเมื่อปี 2530 โดยสหกรณ์ออมทรัพย์ห้างฉัตรเป็นผู้อนุญาตให้ใช้พื้นที่ โดยมีพระครูตัน เป็นเจ้าอาวาส เริ่มแรกหลังมีการก่อตั้งวัด พระครูตันได้รับการบริจาคเงินจากองค์การกุศลระหว่างประเทศเพื่อให้วัดแห่งนี้เป็นสถานที่บำบัดรักษาผู้ติดเชื้อ HIV จนชาวบ้านที่อยู่โดยรอบไม่กล้าเข้ามาที่วัดแห่งนี้ เนื่องจากในสมัยนั้นเรื่องโรคเอดส์ยังเป็นที่รังเกียจของสังคม และเมื่อไม่มีการช่วยเหลือต่อเนื่องทำให้ในปี 40-41 การรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ก็ต้องหยุดไปโดยปริยาย และหลังจากนั้นก็ไม่มีใครเข้ามาในวัดนี้อีกเลยจนกลายเป็นวัดร้าง

จนกระทั่งเมื่อปีที่ผ่านมา พระรัตนกิจ อภิปุณโณ อายุ 59 ปี หลังบวชและมาจำพรรษาที่วัดแห่งนี้เมื่อปีที่ผ่านมา และปัจจุบันเป็นผู้ดูแลวัดแห่งนี้แทนพระครูตันเจ้าอาวาสซึ่งขณะนี้กำลังอาพาธอยู่ และได้พบรอยพระพุทธบาทแห่งนี้จากในนิมิตฝันของตนเอง แต่เมื่อนำเรื่องไปบอกชาวบ้านแต่ก็ไม่มีใครเชื่อ และด้วยกลัวรอยดังกล่าวจะหายไปจึงได้นำเต็นท์มากางครอบไว้พร้อมนำขดลวดมาขึงโดยรอบ กันไม่ให้สัตว์ต่างๆเข้ามาเหยียบย่ำจนเกิดความเสียหายได้

ซึ่งจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่ารอยพระพุทธบาทที่พบนี้เป็นรอยพระพุทธบาทจริง แต่ยังไม่สามารถระบุอายุได้ จึงประสานงานไปยังสำนักงานศิลปากรที่ 7 น่าน เพื่อเข้ามาตรวจสอบอายุของรอยดังกล่าว หากมีอายุตามหลักเกณฑ์ที่กรมศิลป์กำหนดว่าต้องขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานก็ต้องขึ้นทะเบียนและอยู่ในการดูแลของกรมศิลปากรต่อไป



webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member

Go To Top
 

"เว็บตามรอยพระพุทธบาท" ได้รับลิขสิทธิ์จาก พระอาจาย์ชัยวัฒน์ อชิโต เพื่อเผยแพร่รูปภาพและข้อมูล
จาก "หนังสือตามรอยพระพุทธบาท" จึงขอสงวนลิขสิทธิ์ตาม
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
ห้ามคัดลอกข้อมูล, ภาพ, เสียง ออกไปเผยแพร่ หรือนำไปโพสในเว็บใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน

เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีกับโปรแกรม Internet Explorer, Window Media V.9, Flash Player ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 768 pixels ความเร็วอินเตอร์เน็ต 1 Mbps. ขึ้นไป

ถ้าพบข้อผิดพลาดใดๆ หากจะแนะนำ หรือติชม และสอบถาม ติดต่อ "ทีมงานเว็บตามรอยพระพุทธบาท"
เริ่มเปิดเว็บไซด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Copyright @ 2008 tamroiphrabuddhabat.com All rights reserved