ถ้าพบข้อผิดพลาดในเว็บไซด์ จะแนะนำและติชม หรือสอบถาม ติดต่อที่ WEBMASTER
 
VISITORS


     







Not logged in [Login ]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites  
[*] posted on 18/9/10 at 10:04 Reply With Quote

งานพิธีฉลองชัย ณ อาณาจักรสุโขทัย เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2541


สารบัญ

01.
การเดินทางไปเตรียมงาน
02. ประวัติเมืองสุโขทัย
03. หลวงตาศรี วัดต้นจันทร์
04. งานพิธีฉลองชัย (ตอนที่ 2)
05.
พิธีถวายราชสดุดีแด่พระร่วงเจ้า
06. พ่อขุนผาเมืองผู้เสียสละ
07. พระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน
08. (ตอนที่ 3) พระธาตุช่อแฮ, พระธาตุจอมแจ้ง จ.แพร่
09. พระแท่นศิลาอาสน์ จ.อุตรดิตถ์




งานพิธีฉลองชัย ณ อาณาจักรสุโขทัย

เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑


การจัดงาน ณ. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ครั้งนี้ นับเป็นปีที่ ๖ โดยเริ่มครั้งแรกจาก...

- ภาคเหนือ ปี ๒๕๓๖
- ภาคใต้ ปี ๒๕๓๗
- ภาคอีสาน และ
- ภาคกลาง ปี ๒๕๓๘
- งานรวมภาคกาญจนบุรี ปี ๒๕๓๙


- ครั้นถึง ปี ๒๕๔๐ จึงได้มี งานพิธีตัดไม้ข่มนาม ณ.อาณาจักรเชียงแสน อาณาจักรหริภุญชัย และ อาณาจักรสุวรรณภูมิ เป็นลำดับ

- จนกระทั่ง ปี ๒๕๔๑ อันเป็นสถานที่สำคัญในประวัติศาสตร์แห่งหนึ่ง ซึ่งได้มีเป้าหมายเอาไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่า จะจัดงานที่ จ.สุโขทัย จ.อุตรดิตถ์ จ.แพร่ และ จ.น่าน เพื่ออาราธนาบารมีคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ครูบาอาจารย์ เทพพรหม และบรรพบุรุษทั้งปวง โปรดช่วยคุ้มครองประเทศชาติ พระพุทธศาสนา และพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงถาวรสืบไป ทั้งนี้เป็นการเดินทางไหว้ "รอยพระพุทธบาท" และ "พระบรมธาตุเจดีย์" ครบทั่วทุกภาค ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

สำหรับ "งานตามรอยพระพุทธบาท" ในปี ๒๕๔๒ อันเป็น “งานพิธีตัดไม้ข่มนาม” เป็นครั้งสุดท้ายนี้ จะตรงกับวันที่ ๒๒ - ๒๓ พ.ค. ๒๕๔๒ และขอบอกโดยนัยว่า เป็นอาณาจักรที่เคยรุ่งเรืองมาแต่อดีตที่ใกล้กับปัจจุบัน

เป็นอันว่าผืนแผ่นดินแผ่นนี้ ที่ยังสามารถรองรับชีวิตของพวกเราไว้ได้ ก็เพราะอาศัยเลือดเนื้อและชีวิตของบรรพบุรุษ การไปกราบไหว้บูชา ถือว่าเป็นการสนองคุณต่อท่าน ที่เสียสละความสุขทุกอย่าง เพื่อให้เรามีอิสรภาพจน ถึงทุกวันนี้



01.

การเดินทางไปเตรียมงาน

แต่ก่อนที่จะถึงงานวันนั้น เรามาย้อนเรื่องราวที่สุโขทัยกันก่อน คือก่อนที่จะถึงวันกำหนดงาน ทางผู้จัดพร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่ทำงาน ได้มีการเดินทางไปสำรวจเส้นทางก่อน เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๐ โดยมี คุณอนันต์ และ คุณพาสนา พร้อมทั้ง คณะโคราช ช่วยนำรถบัส ๑ คัน มารับที่ดินแดง กรุงเทพฯ พร้อมกับมีรถยนต์ติดตามอีก ๒ - ๓ คัน

เมื่อเดินทางไปถึงสุโขทัยในตอนเช้า พระวันชัย พร้อมญาติโยมจาก "บ้านท่าชัย" อ.ศรีสัชนาลัย และ "คณะพิษณุโลก" ได้จัดเลี้ยงข้าวต้มที่ "ร้านอาหารสวนน้ำค้าง" ต่อจากนั้นก็ได้นำคณะไปสำรวจสถานที่ที่จะทำพิธี คือ วัดมหาธาตุ และ อนุสาวรีย์พ่อขุนรามฯ แล้วจึงได้จัดตั้งบายศรีบวงสรวง เพื่อขอพรจาก ท่านทั้งปวง ให้ช่วยจัดงานพิธีกรรมในครั้งนี้ ได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

หลังจากปรึกษาหารือกับคณะลูกศิษย์หลวงพ่อ “ชาวสุโขทัย” กันแล้ว พ.ต.ท.ประสาท สำราญเริงจิตต์ และภรรยา, อ.พรทิพย์ เมฆประมวล และคุณบุปผาพร พร้อมคณะชาว สุโขทัย ก็ได้จัดเลี้ยงอาหารกลางวันกันที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

หลังจากนั้น จึงได้ลาญาติโยม ซึ่งมาจากในเมืองบ้าง จากอำเภอต่างๆ บ้าง เช่น สวรรคโลก ศรีสัชนาลัย ศรีสำโรง คีรีมาส เป็นต้น การประชุมเพื่อเตรียมงานในคราวนี้ “คณะสุโขทัย” และ “คณะพิษณุโลก” ให้ความร่วมมือ ให้ความสะดวกทุกประการ

ครั้นออกเดินทางไปถึง วัดพระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน ก็มีลูกศิษย์หลวงพ่อรออยู่ที่นั่น คือ จ.ส.อ.สันติชัย จารุบุตร, คุณสุรินทร์ คุณลำดวน มีเกศ, จ่าพิภพ และ คุณไพบูลย์ เป็นต้น ทุกท่านเป็นผู้ประสานงานกับทางวัด ในเรื่องที่พัก อาหารเย็นและอาหารเช้า

เนื่องจากจำนวนคนมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ระหว่างนั้นก็ได้มีการเตรียมงานตลอดเวลา โดย มี พระวันชัย เดินทางไปดูลาดเลาแทนอีก ๒- ๓ ครั้ง และ คุณสุพัฒน์ ว่านเครือ จาก จ. เชียงใหม่ ก็ได้เดินทางไปประสานงานไว้เช่นกัน

จนกระทั่งเวลาผ่านไปจนถึงวันงาน การ เตรียมการณ์ทุกอย่างก็พร้อมทุกแห่ง รวมทั้งผู้ร่วมเดินทางเกือบทุกภาค เพราะมีการนัดกัน ไว้แล้วว่า งานนี้จะต้องแต่งกายให้สวยงามกัน เป็นพิเศษ ให้สมกับเป็นอาณาจักรที่เคยรุ่งเรือง มาก่อน สมบูรณ์ไปด้วยจารีตประเพณีอันดีงาม

ฉะนั้น เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของงาน วันศุกร์ที่ ๑๓ ก.พ. ๒๕๔๑ ผู้จัด พร้อมด้วยคณะ จำต้องเดินทางล่วงหน้าไปก่อน เพื่อขนของและจัดเตรียมสถานที่ ทั้งที่บริเวณ วัดมหาธาตุ และ ลานพ่อขุนฯ โดยมีลูกศิษย์ หลวงพ่อชาวสุโขทัยให้ความสะดวกทุกอย่าง ทั้งนี้ ต้องขออภัยด้วย อาจจะเอ่ยชื่อไม่ครบถ้วน แต่ผู้จัดก็ยังระลึกถึงความดี ความมีน้ำใจของทุกๆ ท่านมิเคยลืมเลือน

การเดินทางไปในวันที่ ๑๓ นั้น พอดี ทาง ท.ท.ท. จัดงานแสงสีและเสียงที่นั่น เพราะ จังหวัดสุโขทัย ได้รับเลือกให้เป็นสถานที่ท่อง เที่ยว โดยรัฐบาลประกาศให้ ปี ๒๕๔๑ และ ปี ๒๕๔๒ เป็น “ปีอะเมซิ่ง ไทยแลนด์”

การจัดงานในครั้งนั้น จึงเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลพอดี ฉะนั้น ผู้จัดจึงได้ทำหนังสือถึง ผู้อำนวยการอุทยานฯ เมื่อท่านอนุญาตแล้ว จึงได้จัดเตรียมสถานที่ ณ พระบรม รูปพ่อขุนรามคำแหง ด้วยการประดับผ้าสีธงชาติ พร้อมทั้งวางฉัตรและธงไว้โดยรอบ โดยคณะครูและนักเรียนจาก โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม

ส่วนทางด้าน ร้านสวนน้ำค้าง ซึ่งอยู่ใกล้บริเวณเมืองเก่า คณะทำบายศรี ก็เตรียมจัดทำอยู่ที่นั่น การจัดเตรียมโต๊ะวางบายศรี โต๊ะวางเครื่องสักการะ และไม้รวกแขวนตุง คุณพีระพงษ์ เฉลิมวัฒนไตร เป็นผู้จัดเตรียมไว้ให้ พร้อมทั้งจัดหาเกวียนมาอีก ๔ เล่ม โดยมี พระมหาปรีชา วัดบ้านโป่ง จ.ราชบุรี มาช่วยผูกผ้าให้อีกด้วย

นอกจากนี้ก็มีโต๊ะหมู่บูชา, ตั่ง, พานพุ่ม, พนมเบี้ย พนมหมาก, และที่สำคัญคือ “กลอง ยาว” สำหรับนำขบวน ซึ่งมี คณะอำเภอเมือง คณะสวรรคโลก คณะคีรีมาส และ คณะศรี สำโรง ช่วยออกค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น ๙,๔๐๐ บาท ขออนุโมทนาสาธุด้วย

ในวันนั้นได้มีคณะรถตู้ ๓-๔ คัน จาก กรุงเทพฯ เดินทางมาถึงก่อน เช่น คณะคุณอัจฉรา (ต๋อย) และ คุณวาสนา (แต๋ว) เป็นต้น ได้มาแวะก่อนที่จะแยกย้ายไปหาที่พักค้างคืนกัน แต่ส่วนใหญ่พักที่ร้านสวนน้ำค้าง เพราะด้านหลังเขาทำเป็นสถานที่พักรับรอง ส่วน คุณปรีชา พึ่งแสง และ คุณลือชัย ก็ได้จัดเตรียมเครื่องขยายเสียง และดูสถานที่การถ่ายทำวีดีโอ

เมื่อมีการจัดเตรียมสถานที่ ซึ่งกว่าจะ เสร็จเรียบร้อยก็ดึกพอสมควร ได้เข้าพักผ่อน หลับนอนกันเพียงไม่กี่ชั่วโมง ก็ถึงเวลาเช้า มืดของ วันเสาร์ที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑อันเป็นวันสำคัญของงาน

ขบวนรถตู้และรถบัสเริ่มทยอยกันเข้ามา ช่างภาพและช่างวีดีโอก็มารอถ่ายภาพกัน ที่หน้าร้านสวนน้ำค้าง ทางร้านได้เปิดเพลงไทย เดิมคลอเบาๆ ไปทั่วบริเวณนั้น เสียงขิมบรรเลง ได้อย่างไพเราะ เยือกเย็นเข้ากับบรรยากาศใน ยามเช้า สลับกับเสียงรถ เสียงผู้คน ที่เดินทางมาถึง ฟังแล้วอาจจะสับสนวุ่นวายพอสมควร

เพราะทุกคนต้องทำเวลา เพื่อเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย แล้วไปทานอาหารเช้าในร้าน บางคนเข้าห้องน้ำ กลับไม่มีน้ำใช้ เพราะว่า น้ำไหลไม่ทัน น่าเห็นใจที่ทุกคนไม่เคยบ่น มีแต่ ความอดทน ยอมเสียสละ เพื่อความสำเร็จ ของงาน สมกับเป็นชาตินักรบมาก่อนที่แท้จริง

สำหรับรายละเอียดของงานนั้น ไม่ได้บอกใครก่อนงาน เพราะถือเป็นเคล็ดพิธีกรรม แต่ก็จะแจ้งให้ทราบในวันเดินทาง โดยแจกเป็น เทปคาทเซ็ทให้ไปเปิดฟังกันในรถ พร้อมทั้งสติ๊กเกอร์วงกลม “คณะศิษย์พระราชพรหมยาน” มอบให้ติดรถทุกคันไว้เป็นเครื่องหมาย

เปิดเสียงหลวงพ่อฯ ปลุกใจ "รักชาติ" กันตั้งแต่อยู่ในรถ

ฉะนั้น ในตอนเช้าของวันนั้น รถทุกคัน จะเปิดเทปฟังการนัดหมาย ซึ่งมีเสียงพูดของ พระเดชพระคุณหลวงพ่อสลับกันไปด้วย โดย ผู้จัดได้กล่าวเริ่มต้นก่อนว่า..ในการเดินทางครั้งนี้ เรามีวัตถุประสงค์เดียวกัน นั่นก็คือไปเพื่อกราบไหว้บูชาบรรพ บุรุษของชาวไทย สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ตามที่หลวงพ่อของเราบรรยาย ในขณะที่เดินทางไปสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ไว้ว่า...

“ความรู้สึกนับตั้งแต่เดินทางออกจากกรุงเทพฯ มองดูผืนแผ่นดินที่ผ่านไป ความรู้สึกในใจคิดว่านี่เราเดินมาบนร่างกาย คือเนื้อ และกระดูกของบรรดาบรรพบุรุษทั้งหลาย ที่ ชอบใช้ศัพท์ว่า “คุณพ่อ คุณแม่” เพราะท่าน จะเป็นใครก็ตาม ท่านมีความดีเหมือนกับพ่อ กับแม่ที่ให้ชีวิต

เพราะดินแดนทั้งหลายเหล่านี้ ถ้าหาก ว่าท่านไม่อุทิศชีวิตและเลือดเนื้อของท่าน เพื่อแลกกับผืนแผ่นดินเข้ามา เราจะได้ผืนแผ่นดิน ที่ไหนอาศัย นี่ความรู้สึกใจเป็นอย่างนั้น นั่ง ไปบนรถ รถวิ่งผ่านไป มองผืนแผ่นดินไทยเหมือนกับบรรดาพ่อแม่ทั้งหลายที่สร้างความดี ท่านมานอนเรียงรายกันเป็นแถว เป็นผืนแผ่น ดินที่เราวิ่งไปนี้ ขณะขึ้นนั่งบนรถ..รถวิ่งไป

มีอารมณ์หนึ่ง มองไปในอากาศ มีอุปมาคล้ายๆ กับว่าเป็น “มหาสมุทรเลือด” คือรถของเราวิ่งผ่านมหาสมุทรเลือดไป น้ำคือเลือดของบรรดาบิดามารดาทั้งหลายผู้มีพระคุณอย่างยิ่ง ที่เราเรียกกันว่า “บรรพบุรุษ” ความจริง ท่านก็เป็นมนุษย์อย่างเรา แต่ทว่าท่านเป็นผู้เสีย สละ แล้วก็ทุกท่านเป็นผู้เสียสละจริงๆ ไม่เคย คิดจะมาทวงบุญคุณอะไรกับพวกเรา มานั่งนึกในใจ ว่าท่านทั้งหลายที่นั่งมา ในรถนี้ ท่านจะมีความรู้สึกอย่างไร แล้วทุก วันที่เดินมาเดินไปก็เหมือนกัน มีความรู้สึกคิด ว่า นี่เราเดินอยู่บนร่างกายของท่านพ่อและท่าน แม่ผู้มีพระคุณอย่างสูง

เมื่อคิดอย่างนี้แล้วก็สลดใจ คิดถึงพระ ธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรม ศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระองค์กล่าวว่า โลกนี้เป็นอนิจจัง หาอะไรทรงความเที่ยงแท้ แน่นอน หาความยั่งยืนไม่ได้ ท่านบรรพบุรุษทั้งหลาย หรือว่าคุณแม่ คุณพ่อที่เคารพรัก ท่านเสียสละเลือดเนื้อ เพื่อ กู้เอกราชก็ดี หาผืนแผ่นดินผืนนี้เป็นที่อาศัย ของพวกเราก็ดี เมื่อท่านทำแล้วแทนที่ท่านจะ อยู่กับพวกเรา แล้วร่างกายของท่านทั้งหลาย เหล่านั้นก็พากันเน่าจมไปในพื้นปฐพี ทำตนให้ เป็นผืนแผ่นดินผืนนี้ให้เราอยู่

นี่องค์สมเด็จพระบรมครูท่านพูดจริง แล้ว เราบรรดาพี่น้องชายและหญิงจงคิดว่า ถึงแม้ ว่าท่านจะตายไปแล้วก็ตาม นั่นก็ตายแต่ร่างกาย แต่พระคุณอันยิ่งใหญ่ของท่านไม่ได้ตายไปด้วย ช่วยให้เรามีความสุข ตอนนี้เราเป็นลูกหลานภายหลัง ที่ไม่ ได้เสียสละเลือดเนื้อร่วมกับท่าน ไม่ได้เจ็บกาย ไม่ได้มีความลำบากกาย ไม่ทุกข์ใจกับท่าน เรา มานั่งมานอน ทำมาหากินกันบนร่างกายของท่าน แล้วก็เราจะมานั่งทะเลาะกัน ถือเป็นพรรค ถือ เป็นพวก เพื่อประโยชน์อะไร

นี่ความจริงการปกครองเมืองไทย หรือว่าการได้ผืนแผ่นดินไทยเข้ามา บรรดาท่านบรรพบุรุษ คือบิดามารดาทั้งหลาย ท่านไม่ได้ ตั้งพรรค ท่านไม่ได้ตั้งก๊ก ในสมัยไหน ถ้ามี พรรคก็ดี มีก๊กก็ดี เป็นอันว่าในวาระนั้น ผืน แผ่นดินไทยนี้ต้องตกเป็นทาสเขา แล้วเวลานี้คนไทยเรา มาดำริวิธีการ การตั้งก๊กตั้งเหล่า ที่เรียกกันว่า “ตั้งพรรค” การตั้งพรรคเป็นระบอบของชาวโลก ที่เรียกกัน ว่า “ประชาธิปไตย” เนื้อแท้ใจจริงของท่าน ทั้งหลายที่ตั้งระบบนี้ขึ้นมา ก็คิดว่าให้คนทุกก๊ก ทุกเหล่า มาช่วยกันสร้างความเจริญของประเทศ ชาติ รักษาความเป็นเอกราชเข้าไว้

แต่ทว่ามีใครบ้างไหม ที่ตั้งพรรค ตั้ง ก๊ก ตั้งเหล่า ตั้งพวก ตั้งคณะ ตั้งหมู่กันขึ้น มา แล้วก็คิดกันว่าแต่ละก๊ก แต่ละเหล่า แต่ ละพวก แต่ละหมู่ จะมีความคิดในด้านกตัญญู ต่อท่านผู้มีพระคุณ จะร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อ รักษาประเทศชาติ มีความคิดอย่างนั้นบ้างหรือ เปล่า..?

แต่ว่าต่างคนต่างตั้งก๊กกันขึ้นมาก็หวังอย่างเดียว ว่าฉันจะเป็นรัฐบาล ]รัฐบาล แปลว่า ผู้รักษาแว่นแคว้น ถ้าหากว่ายังขึ้นมาเป็น รัฐบาลไม่ได้ ก็พยายามตั้งใจไว้ว่า ฉันจะปัด แข้งปัดขาพวกนั้นให้กระเด็นไป ฉันเองจะเป็น ผู้นั่งแป้นแทน

เมื่อเวลามาเป็นรัฐบาลนั่งแป้นแล้ว คราว นี้ก็มาดูอายุของการนั่งแป้น การนั่งแต่ละคราว มีเวลาไม่กี่ปี แทนที่เราจะหาความดี กลับมา กอบโกยทรัพย์สินของบรรดาประชาชนเลือดเนื้อ ของพี่น้องทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ส่วนตัว หา ความร่ำรวยกันในฐานะที่มีอำนาจ พอระยะเหตุ การณ์ผ่านไป อายุกาล อายุสมัยหมด ก็อยากจะเป็นใหม่ ถ้ามีอารมณ์จิตคิดอย่างนี้ ความดีมันก็ ไม่ปรากฏ เพราะว่าทั้งหมดที่คิดอย่างนั้น ไม่มี ใครคิดเพื่อประเทศชาติ มีความปรารถนาอยู่ อย่างดียว คือบำรุงหมู่คณะของตนให้มีความ สุข นี่เป็นอารมณ์ของความคิด

แต่ทว่าแต่ละหมู่ แต่ละคณะที่ตั้งกัน ขึ้นมา รวบรวมกำลังกาย กำลังใจเข้าด้วยกัน ใช้กำลังปัญญาช่วยกันพิจารณาหาความเจริญของประเทศชาติ ให้ทรงความเป็นอิสระเข้าไว้ อย่างนี้เป็นความดีใหญ่ เรียกว่าสมใจบรรพ บุรุษที่พยายามเสียสละเลือดเนื้อ ให้เรานั่ง เรา นอน เรายืน เราเดิน อยู่บนร่างกายของท่าน เดินไป..ลุยเลือดของท่านเหมือนมหาสมุทรใหญ่

นี่คิดตามความรู้สึกของใจ แต่ก็คิดไว้ ว่า ท่านทั้งหลายที่ตั้งพรรคก็ดี ตั้งก๊ก ตั้ง เหล่าก็ดี เวลานี้คงจะรวบรวมกำลังใจกันสร้าง ความเจริญให้แก่ประเทศชาติ แต่ทว่าในความรู้สึกของใจ มันมีความรู้สึกอยู่อย่างหนึ่งว่า ประเทศไทยของเราจะตั้ง ขึ้นมาได้ในสมัยนั้น ถึงแม้ว่าจะมีกำลังคนน้อยก็ตาม แต่ว่าเรารวมตัวกันเข้าเป็นกลุ่มเป็นก้อน ไม่ได้แยกพรรค ไม่ได้แยกพวก นี่เรื่องของเมืองไทยที่ผ่านมา...”

เมื่อผู้โดยสารทั้งหลายได้ฟังความรู้สึก ในใจจากท่านที่เป็นเสมือน “พ่อ” และ “ครู” ของพวกเราแล้ว ก็คงจะมีความรู้สึกเช่นเดียว กัน ถึงแม้คำพูดของท่านจะผ่านไป ๒๕ ปีแล้ว ก็ตาม สถานภาพของระบบการเมือง ก็ยังไม่แตก ต่างไปจากเดิม กลับจะลุ่มลึกลงไปกว่าเดิม

ฉะนั้น งานพิธีตัดไม้ข่มนาม ในครั้งนี้ จึงถือเป็นพิธีสำคัญที่จะช่วยแก้เคล็ดแก่ประเทศ ชาติและตัวเราเองด้วย การทำพิธีในคราวนี้ จึง แตกต่างจากคราวก่อน คือทุกคนจะต้องแต่ง กายสวยงาม พร้อมไปด้วยเครื่องประดับ เช่น แก้วแหวนเงินทอง และเพชรนิลจินดา เป็นต้น

จุดสำคัญที่จะต้องถือเคล็ดเป็นพิเศษ คืออย่าพูดอย่าถามให้มาก ควรมีสติสัมปชัญญะ ระมัดระวังจริยา สำรวมกาย วาจา และใจ ไว้ตลอดเวลา ไม่ควรพูดเล่น จะเป็นไปตาม ปาก ควรรักษาอารมณ์ให้ทรงตัว ทำจิตใจให้ เบิกบานด้วยอารมณ์วิปัสสนาญาณ แล้วจึงจะ มีผลโดยสมบูรณ์แบบทุกประการ การตั้งจิตอธิษฐานด้วยสัจจะวาจาอย่างไร ย่อมจะได้ผลดี มหาศาล เพราะที่นั่นเป็นดินแดนของ พระร่วง ผู้มีวาจาสิทธิ์

งานนี้ผู้ร่วมพิธีจะต้องเคร่งครัด ไม่ใช่ เคร่งเครียด ทั้งจริยาวัตรและข้อปฏิบัติตาม ระเบียบวินัย คือทุกคนต้องมาก่อนเวลานัดทุก ครั้ง ไม่พอใจสิ่งใดควรเก็บเอาไว้ก่อน ให้ยิ้ม สู้ไว้เสมอ เพราะไปกันในชุดฉลองชัย ไม่ใช่ไป ในชุดของผู้แพ้ภัย เราสมมุติกันว่ายกทัพไป ฉลองศึกกัน ดีไม่ดีบางคนอาจจะเป็นนักสู้มา ตั้งแต่สมัยนั้นก็ได้ จึงเสมือนกลับไปบ้านเก่า ของเราแต่ก่อน เพื่อไปไหว้พ่อไหว้แม่กัน

ในระหว่างนั่งกันไปในรถนี้ บางคนอาจจะ นั่งหลับไปบ้าง เพราะต้องตื่นแต่เช้ามืดมาขึ้น รถกัน เมื่อได้ยินเสียงของหลวงพ่อกระทบโสต ประสาทอีกครั้งหนึ่ง ทำให้หวลนึกถึงสมัยที่ ท่านเดินทางไปสุโขทัย อันเป็นเส้นทางเดียวกับ ที่เรากำลังเดินทางอยู่นี้ จึงเป็นการย้อนเข้าสู่ บรรยากาศในอดีต เสมือนกับพวกเราได้เดินทาง ร่วมไปกับท่านในครั้งนั้นด้วย...

“...เมื่อรถเคลื่อนมาได้ยังไม่ทันถึงรังสิต ผู้พูดเอง คืออาตมาก็นั่งเข้าฌานครอก ความจริงไม่ใช่เข้าฌานไม่ได้เข้าสมาบัติ แต่ว่ามัน ง่วงนอน..มันหลับ เลยใช้ศัพท์ว่าเข้าฌานครอก ครอกหรือไม่ครอก ไอ้คำว่า “ครอก” แปลว่า “กรน” กรนหรือไม่กรนก็ไม่ทราบ มารู้สึกตัวอีกที ก็ถึงจังหวัดสิงห์บุรี

มาถึงตอนนี้ลืมตาขึ้นมาดู เพราะหูได้ยิน เสียงบอกว่า นี่สว่างแล้ว..เวลานี้รถถึงสิงห์บุรีแล้ว ใกล้จะถึงนครสวรรค์ ถามว่าใคร..ใคร เป็นคนส่งเสียงให้ฉันฟัง เสียงที่ตอบมาบอกว่า

“..แม่ย่าสุโขทัย..”

.......เมื่อฟังคำว่า “แม่ย่า” ก็จำได้ว่าท่าน ผู้นี้เป็นผู้มีพระคุณใหญ่ ว่าในสมัยหนึ่งบวชเป็นพระที่เมืองสุโขทัย แล้วท่านย่าซึ่งเป็นพระญาติผู้ใหญ่ ท่านย่าคือใคร..? คือ "ท่านจันทร์เทวี" ที่เราเรียกกันเวลานั้น

ท่านผู้นี้เป็นแม่ของ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ที่มีน้ำจิตรักใคร่กัน ชอบพอกัน และ สงเคราะห์เพราะเป็นคนรุ่นราวคราวเดียวกัน ใน สมัยนั้น เป็นคนเหล่าเหย่พอๆ กัน ท่านแก่ ผู้พูดก็แก่ ที่รู้นี่ไม่มีญาณพิเศษ ที่รู้ได้เพราะอะไร..ประเดี๋ยวท่านจะได้ฟังข้างหน้า...

เมื่อได้ยินเสียงบอกว่า นี่แม่ย่าสุโขทัย ก็ดีใจ ถามว่าแม่ย่าไม่ได้ไปรถคันอื่นหรือ..มา รถคันนี้คันเดียวหรือ..? ท่านบอกว่าไปทุกคัน เพราะฉันไปไหนไม่ต้องใช้รถ นึกจะให้ถึงไหน มันก็ถึง ฉันคุมหมดรถทุกคัน และรถทุกคัน ไม่มีว่างจากเทวดาหรือพรหม เพราะว่าบรรดา เทวดาหรือพรหมที่เป็นสัมมาทิฏฐิทั้งหลาย เต็ม ใจ..ดีใจ..มีธรรมปีติ ที่คณะของท่านจะไปใน คราวนี้ เขาดีใจ..เขาโมทนากันทั้งหมด..!”


นี่คือเสียงของ "พระเดชพระคุณหลวงพ่อ" ถึงแม้จะไม่ชัดเจนนัก ในระหว่างที่เปิดฟังกันไปในรถ ทำให้อดนึกถึงท่านไม่ได้ แม้สังขารของ ท่านจะจากพวกเราไปแล้ว แต่กายแก้วของท่าน มิได้ห่างจากพวกเราไปเลย ท่านยังคงนำไป ตลอดทุกเส้นทางแห่งความดีที่จะพ้นทุกข์

ในขณะที่ท้องฟ้าเริ่มจะสว่าง รถต่างๆ เริ่มทยอยกันมาจอดข้างถนน หน้าร้านอาหาร สวนน้ำค้าง ซึ่งทางร้านได้ติดป้าย คำว่า “ยินดี ต้อนรับคณะศิษย์พระราชพรหมยาน (ฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง” พร้อมทั้งได้จัดเตรียมอาหารเช้าไว้ด้วย

เจ้าของร้านนี้ได้ตั้งเป็น “ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรม” ด้วย โดยมีเสื้อผ้าแบบชาวสุโขทัยไว้จำหน่าย พวกเราที่มาหลายคนได้พากันไปอุดหนุน แล้วก็ แต่งเข้าร่วมขบวนในวันนั้นเลย รถที่เดินทางมาถึงคือ รถบัสของคณะ ท่าชัย อ.ศรีสัชนาลัย ๑ คัน รถบัสจากคณะ อ.สันต์-อ.เกษริน ภู่กร จ.พิษณุโลก ๒ คัน รถบัสที่จัดมาจากกรุงเทพฯ ๑๓ คัน รวมทั้ง หมด ๑๖ คัน ส่วนรถตู้รถเก๋งจากกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ ประมาณ ๘๐ คัน รวมทั้ง ชาวสุโขทัยที่มาสมทบด้วย คงจะเกือบ ๑๐๐ คัน จำนวนคนทั้งหมดประมาณ ๒,๐๐๐ คน

สำหรับเจ้าภาพรับจัดเลี้ยงอาหารเช้าและอาหารกลางวัน คือ คณะพิษณุโลก และ คณะ ท่าชัย รวมเป็นเงิน ๑๒๐,๐๐๐ บาท อ.สันต์ เคยพูดไว้ว่า เราในฐานะที่เป็นเจ้าของบ้าน ได้เคย ไปกินข้าวเขามาหลายภาคแล้ว ภาคนี้จึงรับเป็น เจ้าภาพเต็มที่ พอจัดงานเสร็จ อ.สันต์ ก็จากลา ไปอย่างไม่มีวันกลับมาอีก เมื่อตุลาคม ๒๕๔๑

เป็นอันว่า หลังจากพระสงฆ์ฉันภัตตา หาร และญาติโยมรับทานอาหารเช้ากันแล้ว พวกเราก็ออกมารอหน้าร้านอาหารริมถนนจรด วิถีถ่อง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่จัดเตรียมสิ่งของที่ จะร่วมขบวน ตามกำหนดการเดิมนั้น จะเริ่มเวลา ๗.๓๐ น.



เจ้าหน้าที่กำลังจัดขบวนแถวหน้า "ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมสุโขทัย"

แต่ปรากฏว่ารถบัสจากกรุงเทพฯ คันหนึ่งเสียในระหว่างทาง รถบัสที่เหลือจึงต้อง แบ่งรับผู้โดยสารกันมา ครั้นมาถึงต้องรีบไป เปลี่ยนเครื่องแต่งตัวทันที มีหลายคนที่มิได้ รับทานอาหารเช้ากันเลย จึงซึ้งในน้ำใจเหลือเกิน ที่ทุกคนเห็นแก่งานเห็นแก่เวลาเป็นเรื่องสำคัญ

ส่วนคนที่มาถึงก่อนก็ไม่บ่นไม่ว่า ไม่แสดงท่ารำคาญ ยังคงยืนถือเครื่องสักการะ เป็นรูปขบวนรออยู่ ดูท่าทางยังยิ้มแย้มแจ่มใส คุยกันเป็นปกติ เพราะทุกคนเข้าใจดีว่า งานพิธี สำคัญจะต้องมีอุปสรรคเป็นธรรมดา ฉะนั้น การจัดงานอย่างนี้มิใช่ของง่ายเพราะเป็นการเสี่ยงทุกอย่าง แต่ก็เหมือนกับ เป็นการเสี่ยงทายในเรื่องพิธีกรรมครั้งนี้ไปด้วย ในการที่จะช่วยชี้ชะตาต่ออนาคตของบ้านเมือง ว่าจะมีผลเป็นประการใด..?

ในระหว่างที่ยืนรอกันนั้น มองเห็นแต่ ละคนอยู่ในชุดแต่งกายที่สวยงามทั้งชายและ หญิง บ่งบอกลักษณะของความเป็นไทยที่แท้ จริง ทุกคนมีใบหน้าที่สดชื่น ดูย้อนยุคกลมกลืน เข้ากับบรรยากาศของชาวสุโขทัยสมัยโบราณ

โดยเฉพาะเครื่องแต่งกายของผู้ชายนั้นมีทั้งชุดพื้นบ้าน ชุดชาวเมือง ชุดข้าราชสำนัก ส่วนผู้หญิงส่วนใหญ่เป็นชุดไทยมีผ้าสไบ แต่งเป็นชุดสาวชาวบ้านบ้าง ชาวเมืองบ้าง และบางคณะก็นัดกันอยู่ในชุดสาวชาววังบ้าง ต่างก็ประดับประดาร่างกายของตนเอง ด้วยเพชรนิล จินดาระยิบระยับจับตา สวยสง่าสมภาคภูมิตาม ที่นัดหมายไว้เกือบทุกคน สมกับที่ได้มาเยือน บ้านเกิดเมืองนอนกันจริงๆ



หัวขบวนที่ ๑ ถือป้ายอักษร "คณะศิษย์หลวงพ่อฯ" อยู่ด้านหน้า "ร้านอาหารน้ำค้าง"

ขณะนั้นเป็นเวลา ๘ โมงเศษ เมื่อทุกคนมาพร้อมกันแล้ว เจ้าหน้าที่จึงเริ่มจัดขบวน แถว โดยจัดแบ่งเป็น ๓ ขบวน ดังนี้

ขบวนที่ ๑ เป็น ขบวนไพร่ฟ้าหน้าใส มีผู้แต่งกายสตรีชุดสุโขทัยโบราณ ๒ คน ถือ ป้ายอักษร “คณะศิษย์พระราชพรหมยาน” โดย มีวงกลองยาวร่ายรำนำขบวน ตามด้วยขบวน ประชาราษฎร์อยู่ในชุดพื้นเมือง เดินถือเครื่อง สักการะ อันมีผู้ถือ “ธงชาติ” “ธงธรรมจักร” และ “ผ้าตุง” เดินโบกสะบัดอยู่สองข้างขบวน



ขบวนที่ ๒ "ขบวนพระ" อัญเชิญเสลี่ยง "สมเด็จองค์ปฐม"

ขบวนที่ ๒ เป็น ขบวนพระ อันมีโค เทียมเกวียน ๒ เล่ม เพื่ออัญเชิญเสลี่ยง สมเด็จองค์ปฐม และเกวียนอัญเชิญ บายศรี นำ เสด็จ โดยมีผู้กางกั้นสัปทนอยู่บนเกวียนนั้น อย่างสมพระเกียรติคุณของพระพุทธองค์

ต่อจากนั้น เป็นขบวนแถวพระสงฆ์ ทั้งหลายที่เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อ จากวัดท่าซุง และวัดต่างๆ หลายสิบรูป เดินถือเครื่องสักการะทั้งหลาย อันมีบายศรี ฉัตรเงินฉัตรทอง พุ่ม เงินพุ่มทอง เป็นต้น (คณะคุณเครือพรรณ กรุงเทพฯ และ คุณวันเพ็ญ ชะอำ นำมาถวาย) เพื่ออัญเชิญรูปภาพพระเดชพระคุณหลวงพ่อ และท้าวมหาราชทั้ง ๔ โดยมี หลวงพี่โอ เป็นต้น ซึ่งมีผู้ถือสัปทนกางกั้นเช่นกัน

ขบวนที่ ๓ เป็น ขบวนหลวง ซึ่งมี สตรีถือป้ายสีฟ้าคำว่า “คณะตามรอยพระพุทธ บาท” เดินนำหน้าขบวน ๒ คน แต่งชุดไทย พาดผ้าสไบลูกไม้และผ้าถุงสีทอง ขนาบข้าง ด้วยผู้ชายอีก ๒ คน แต่งชุดสุโขทัยโบราณถือ “ธงจักรี” และ “ธง ภ.ป.ร.”



ขบวนที่ ๓ ต่อมาเป็นผู้อัญเชิญป้ายอักษร "คณะตามรอยพระพุทธบาท"

จากนั้นก็เป็นแถวขบวนหญิงสาวชาววังทั้งหลาย อยู่ในชุดสุโขทัยโบราณเช่นกัน ขบวนนี้ตามที่นัดกันไว้ว่า จะต้องเดินถือพานดอกไม้ ที่คณะสุโขทัยจัดเตรียมไว้ให้ แต่พอถึงเวลาเดินขบวน ปรากฏว่าพานเหล่านั้นไปอยู่ท้ายขบวนเสียนี่ คงไม่ว่ากระไรกันนะจ๊ะ..!

ถึงอย่างไรก็ตาม ภายในขบวนก็ยังมี ผู้ที่เตรียมเครื่องสักการะมาเองมากมาย แต่ ที่เป็นของพวกเรา ก็คือพานกระทง เครื่องบูชา ๑๐๘ เพื่อนำไปลอยไว้ในสระ เป็นการทำพิธี สะเดาะพระเคราะห์ไปด้วย จัดทำโดย คุณพลอย คุณต้อย และ หนูเล็ก เป็นต้น

ขบวนแถวนี้ทั้งหมด ส่วนใหญ่จะเช่ามาจากร้าน ที่ตัดเย็บเองบ้างก็มีเป็นส่วนน้อยจึงทำให้มองภาพโดยรวมแล้วสวยงามตระการตา ยิ่งมีผู้แต่งชุดทหารโพกผ้าสีขาวเดินถือ ธงสามเหลี่ยม (ธงช่อช้าง) อย่างทะมัดทะแมง หลายหลากสี เดินขนาบอยู่สองข้างขบวนนั้น ทำให้เกิดบรรยากาศย้อนไปในอดีตว่า เมื่อพวกเราชนะศึกสงครามแล้ว ต่างก็ยกทัพ อันเกรียงไกรมาร่วมฉลองชัยชนะ ขบวนนี้จึงเป็นแถวยาวมาก มีผู้แต่งกายหลายแบบยากที่ จะพรรณนาได้ แต่ที่เตรียมการไว้ก็คือ ผู้แต่งกายชุดรำดาวดึงส์ และชุดฟ้อนสุโขทัย

ระหว่างที่เดินขบวนไปนั้น ถือเป็นการสมมุติเหตุการณ์ เพื่อเป็นผลทางพิธีกรรม จำต้องย้อนรำลึกถึงบุรพกษัตริย์ทั้งหลาย เรามาทำพิธีสักการะด้วยความเคารพ ฉะนั้น ขบวนหลวงนี้ จึงเดินนำขบวนทั้งหมด โดยผู้ที่แต่งกายสมมุติเป็นพระเจ้ากรุงสุโขทัย



ขบวนหลวงได้แต่งกายสมมุติพระเจ้ากรุงสุโขทัย

ทั้งนี้ ก็มี คุณอนันต์ จากหัวหิน และ คุณแสงเดือน เป็นผู้เสียสละเวลามาเพื่องานนี้โดยเฉพาะ ซึ่งรวมถึงทุกๆ ท่านด้วย เพราะ ชุดแบบนี้ ใส่แล้วบอกว่าร้อนและอึดอัด จะ เข้าห้องส้วมก็ไม่สะดวก ได้ข่าวคุณอนันต์บ่นว่ารองเท้ากัด แต่ก็อดทนจนเสร็จงานที่ จ.น่าน

ภาพเหตุการณ์สมมุติ งานพิธีฉลองชัย ในครั้งนี้ จึงอาศัยผู้ร่วมงานทั้งหลาย ทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่สวยงามและยิ่งใหญ่อลังการณ์ เหมือนกับผู้กำชัยชนะไว้อย่างแท้จริง เสียงผู้คนโห่ร้อง..ไชโย..โห่ฮิ้ว! ตลอดทางที่ผ่านไป ท่ามกลางเสียงกลองยาวที่เร่งเร้าจังหวะ สร้างความคึกคนองให้เกิดขึ้นในหัวใจ การสมมุติเหตุการณ์แบบนี้ เพื่อเป็นศักดิ์ศรี ของคนไทย เราจะไม่พบกับคำว่าพ่ายแพ้อย่างเด็ดขาด เราจะไม่ยอมเป็นทาสของชาติใด ขอเทพไท้เทวาจงอารักษ์ ช่วยดลจิตดลใจอย่า ให้คนชั่วมันทำตัวเป็นคนต่างชาติเลย

ขบวนแถวได้เดินไปเรื่อยๆ จากร้านอาหารน้ำค้าง ผ่านตลาดร้านค้าทั้งสองข้างทาง มีชาวบ้านออกมายืนดูกันเยอะ เพราะเพิ่งจะรู้ว่าเรากำลังจะจัดงานกัน การจราจรในวันนั้น ท่านสารวัตรประสาท ได้จัดเจ้าหน้าที่ตำรวจ จราจรมาช่วยอำนวยความสะดวก พร้อมทั้งรถนำขบวนด้วย เสียงโห่ร้องยังดังกึกก้องไปตามท้องถนน จนกระทั่งเดินเลี้ยวเข้า อุทยานประวัติ ศาสตร์ เจ้าหน้าที่จัดขบวนได้ไปดักรออยู่ที่ทาง เข้า วัดมหาธาตุ

เมื่อ ขบวนที่ ๑ คือขบวน “ไพร่ฟ้าหน้าใส” เดินมาถึงประตูทางเข้า ต่าง ก็แยกออกสองข้างถนน ยืนหันหน้าเข้าหากัน พนมมือถือเครื่องสักการะเพื่อเป็นการรอรับ ขบวนที่ ๒ คือ "ขบวนพระ" อันมีสมเด็จองค์ปฐมทรงเป็นประธานของงาน ตามติดด้วยขบวนพระสงฆ์ทั้งหลาย พร้อม การรับไหว้บูชาจากชาวประชาที่ยืนรออยู่สองข้างทาง เสียงประทัดดังขึ้นอย่างสนั่นหวั่นไหว เป็นการบอกกล่าวเทพเจ้าผู้รักษาอาณาเขตนี้


ขบวนแถวทั้งหมดมีทั้งผู้แต่งกายชุดฝ่ายใน และขบวนแถวชุดนักรบโบราณ
ต่างเดินเข้าไปภายใน “อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย” ท่ามกลางเสียงไชโยโห่ร้อง


ในขณะที่ ขบวนที่ ๓ คือขบวนหลวง โดยการนำของผู้สมมุติเป็นพระเจ้ากรุงสุโขทัย และพระมเหสี เสียงล้อเกวียนกระทบถนน เสียง กระดิ่งกระทบกันที่คอวัว เสียงคนที่เดินย่ำกัน เข้ามา เหมือนกับสะท้อนให้ย้อนกลับไปในอดีต เมื่อ ๗๐๐ กว่าปีมาแล้วว่า สถานที่นี้เคยรุ่งเรือง มาก่อน เคยเจริญด้วยวัฒนธรรมประเพณี

การรวมตัวของพวกเรานี้ จึงเป็นการ บอกทางเดิมของคนสมัยก่อน เพื่อเป็นตัวอย่าง ของคนสมัยนี้ ที่จะช่วยกันอนุรักษ์ไว้ตลอดไป ท่ามกลางอากาศในยามสาย แสงแดดยังไม่แผดกล้านัก ขบวนแถวทั้งหมดก็เดินเลี้ยวขวาเข้า ไปข้างในวัดมหาธาตุ

เจ้าหน้าที่ได้จัดเครื่องบายศรีไว้ก่อนแล้ว ซึ่งเป็นคณะจากทางวัดเป็นผู้จัดทำ มี แม่ชีเล็ก โยมน้อย และคุณต๋อย เป็นต้น ส่วนผู้ที่เดินถือเครื่องบูชาก็นำมาวางไว้บนโต๊ะที่จัด เตรียมไว้ให้ เครื่องสักการะทุกอย่าง พวกเรา ได้ทำการแห่แหนอัญเชิญมาด้วยความเคารพ เป็นการให้เกียรติแก่สถานที่ดังกล่าวแล้ว

เมื่อทุกคนเข้ามานั่งตามที่ได้จัดไว้ให้แล้วซึ่งมองดูรอบๆ บริเวณนั้น พวกเรานั่งล้นออกไปถึงข้างนอก โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติหลายคน ได้มายืนดูอยู่และมีโอกาสถ่ายรูปและบันทึกภาพวีดีโอไว้ หลังจากนั้นผู้จัดก็เริ่มเรื่องต่อไป ดังนี้ว่า...

เชิญคลิกชม "คลิปวีดีโอ ตอนที่ ๑" ได้ที่นี่


ภายในพระวิหารหลวง วัดมหาธาตุ สุโขทัย



◄ll กลับสู่สารบัญ



02.

ประวัติเมืองสุโขทัย


ตามที่ได้แจ้งให้ท่านทั้งหลายทราบไปแล้วว่า นับตั้งแต่การฟื้นฟูรอยพระพุทธบาท และรณรงค์ วัฒนธรรมไทยไปทุกภาคของประเทศ นับตั้งแต่ ภาคเหนือเมื่อปี ๒๕๓๖ จนถึงปัจจุบันนี้นับเป็นปีที่ ๖ ซึ่งได้ย้อนยุคเหตุการณ์ไปในอดีต

ถ้าศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์ จะเห็นว่าผู้จัดได้ลำดับประวัติความเป็นมา นับตั้งแต่ครั้งพุทธกาล โดยจัดงานการจำลองเหตุการณ์วันปรินิพพาน เมื่อ ๒๕๐๐ ปีล่วงมาแล้ว ณ วัดพระแท่นดงรัง จ.กาญจนบุรี

ครั้นถึงเดือนมกราคม ๒๕๔๐ ก็ย้อนยุคกลับมาประมาณปี พ.ศ.๙๐๐ สมัยอาณาจักรเชียงแสน เป็นราชธานี ได้จัดงานที่ วัดพระธาตุจอมกิตติ เป็นการสดุดีเทิดพระเกียรติ พระเจ้าพรหมมหาราช ที่เราเรียกกันว่า “งานวันพ่อ”

ต่อมาเดือนเมษายนปีเดียวกัน ก็ได้ไปจัด งานที่ วัดจามเทวี จ.ลำพูน เพื่อย้อนยุคสมัย อาณาจักรหริภุญชัย ที่เวลานั้นกำลังเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ต่อจากอาณาจักรเชียงแสน ประมาณ พ.ศ.๑๒๐๐ เพื่อเป็นการสดุดีเทิดพระเกียรติคุณ พระแม่เจ้าจามเทวี ที่เรียกว่า “งานวันแม่” งานแต่ละครั้ง ก็ได้ผ่านไปด้วยความประทับใจบ้าง หรืออาจจะ ไม่สบอารมณ์บ้างเป็นของธรรมดา

ครั้นถึงปีนี้ที่รอคอยมานาน หลังจากวาง กำหนดงานไว้หลายปีแล้วว่า จะกลับมาย้อนรอย ถอยหลังกัน คงจะเป็นครั้งสุดท้ายเช่นกับทุกแห่ง ที่ผ่านมา ทั้งนี้ เพราะเหตุว่าได้จัดงานกันมาตาม ลำดับของอาณาจักรที่เคยรุ่งเรืองมาในอดีต

โดยเฉพาะอาณาจักรที่สำคัญของชาวไทย คือ อาณาจักรสุวรรณภูมิ สมัยปี พ.ศ. ๒๕๐ อาณาจักรเชียงแสน พ.ศ. ๙๐๐ อาณาจักรหริภุญชัย พ.ศ. ๑๒๐๐ และ อาณาจักรสุโขทัย พ.ศ. ๑๘๐๐ มาตามลำดับ

การเดินทางมาจัดงานในครั้งนี้ นับเป็นการ สืบสานงานของท่านต่อ เพราะพระเดชพระคุณหลวงพ่อเคยมาทำพิธีบวงสรวงสักการะ ณ สถาน ที่นี้ อันมีชื่อว่า วัดมหาธาตุ ประมาณหลายครั้งแล้ว นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๑

ส่วนมากท่านจะมาเดือนกุมภาพันธ์ จึงถือเดือนนี้เป็นฤกษ์ดีที่จะเป็นศิริมงคลแก่พวกเรา ที่จะมาย้อนอดีตกันเมื่อ ๒๐ กว่าปีก่อนนั้น ซึ่งมีหลายคนที่เคยมากับท่าน ได้เดินทางมาร่วมงานในครั้งนี้ด้วย โดยเฉพาะอาตมาได้เคยมากับท่าน เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ พร้อมกับขบวนรถบัสสิบ กว่าคัน ในแต่ละครั้งจะมีคนเดินทางมากมาย

นอกจากหลวงพ่อและพระจากวัดท่าซุง แล้วยังมี หลวงปู่ธรรมชัย และ ท่านมหาทองปอนด์ ฝ่ายฆราวาสก็มี ท่านหญิงวิภาวดี รังสิต เป็นต้น

ในครั้งนั้น ท่านแม่ย่าได้มาเข้าทรง ครูจันทร์นวล นาคนิยม แล้วร่ายรำดาบคู่ได้อย่างสวยงาม ณ ศาลแม่ย่า แต่ครั้งนี้คนมากไม่สามารถจะไปได้ทัน จึงทำพิธีบวงสรวงรวมกัน ณ ที่นี้เลย

การกระทำพิธีโดยเฉพาะจุดสำคัญตรงนี้ ซึ่งเป็นภายในพระวิหารหลวง จะมีพระแท่นที่เห็น อยู่นี้ อันเป็นที่เคยประดิษฐานพระประธานคู่บ้าน คู่เมืองสุโขทัยในอดีต นั่นก็คือ พระศรีศากยมุนี ที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดอัญเชิญไปประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดสุทัศน์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

สำหรับ วัดมหาธาตุ นี้ ก็คงเป็นเสมือน วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ที่กรุงเทพฯ เพราะถ้าดู จากแผนผังบริเวณเมืองเก่า จะอยู่ท่ามกลางเมือง สุโขทัยพอดี โดยเฉพาะสถานที่สำคัญคือ องค์พระมหาธาตุเจดีย์ มีลักษณะทรงดอกบัวตูม หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เป็นศิลปสมัยสุโขทัยแท้ ส่วนอีกด้าน หนึ่งของพระเจดีย์มีพระพุทธรูปยืน เรียกกันว่า “พระอัฏฐารส” สูง ๙ เมตรเศษ


พระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ณ วัดมหาธาตุ


บริเวณอุทยานเมืองประวัติศาสตร์นี้ ยังมี โบราณสถานที่สำคัญอีกหลายแห่ง อันเป็นที่รวม ของนักปราชญ์ราชบัณฑิตทั้งหลายในอดีต เพราะ การจารึกไว้ในสมัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทำให้เราได้รู้วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม เช่น พิธีการลอยกระทง เพื่อบูชารอยพระพุทธบาท ณ นัมทานที เป็นต้น

สมัยนั้น พระพุทธศาสนารุ่งเรืองมาก มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การปกครองก็ใช้ ระบบ “พ่อ” ปกครอง “ลูก” ข้าราชบริพารก็ไม่ คดโกง ไพร่ฟ้าจึงอยู่เย็นเป็นสุข ต่างกับสมัยนี้ที่ ชอบอ้างบุญคุณว่าทำเพื่อประชาชน แต่คนกลับจน ลงทุกวัน จึงต้องมาฟ้องร้องขอความยุติธรรมต่อ บรรพบุรุษของชาวไทย เพราะเมืองนี้เป็นเมืองของ “พระร่วง” คือ กษัตริย์ทุก ๆ พระองค์ที่ปกครองต้องเรียกว่า “พระร่วง” เหมือนกันหมด ฉะนั้น เวลาบวงสรวง จึงขอให้ทุกท่านตั้งจิตอธิษฐานถึงทุก ๆ พระองค์

นับตั้งแต่ พระร่วงโรจน์ฤทธิ์ ผู้มีวาจาสิทธิ์ เป็นต้น เพราะแม้แต่ของที่อยู่ใต้ดินที่เรียกว่า ข้าวตอกพระร่วง ยังศักดิ์สิทธิ์ ฉะนั้น พวกเราไม่ได้ มาสาปแช่ง แต่เรามาแผ่เมตตาให้พวกที่คิดร้าย ต่อบ้านเมือง จงมีความสุขยิ่งๆ ขึ้นไป ถ้ากลับตัว กลับใจได้เขาจะพ้นภัย มิฉะนั้น เขาจะบรรลัยไป ในที่สุด โดยเฉพาะในระบอบพระมหากษัตริย์ ปกครองประเทศที่มีมานานนับพันปี บัดนี้ ได้ว่าง เว้นมาถึง ๖๕ ปี หากหาคนดีมาบริหารบ้านเมือง ไม่ได้ ควรจะทูลเกล้าถวายกลับคืนไปให้พระเจ้า แผ่นดินตามเดิม

เวลานี้อำนาจในความเป็นกษัตริย์ เขาบีบให้เหลือนิดเดียว พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขเฉยๆ พระองค์ไม่มีสิทธิเสรีภาพที่จะ ทรงพระราชวินิจฉัยแต่อย่างใด เขาเสนอใครมา บางทีจะเห็นว่ามีทั้งดีทั้งเลว ก็เหมือนกับบังคับให้ท่านลงปรมาภิไธย ฉะนั้น คนใดที่คิดมิชอบเข้ามาปกครองประเทศ จึงมักจะแพ้ภัยไปในที่สุด บุคคลธรรมดา สามัญที่มิได้สืบสันตติวงศ์ จึงไม่ควรค่าขึ้นครอง เมืองไทย ควรจะคืนพระราชอำนาจให้แก่เจ้าฟ้า เจ้าแผ่นดินดังเดิม

เพราะในอนาคตกาล ถ้าหากประเทศไทย จะเข้ายุคชาวศรีวิไลจริง ทรัพยากรแผ่นดินจะขึ้น มา บ้านเมืองจะก้าวหน้าเป็นมหาเศรษฐี ก็ขอให้ พระสยามเทวาธิราชโปรดดลบันดาลให้เกิดระบอบ นี้ที่เรียกว่า “พ่อปกครองลูก” กลับขึ้นมาอีก เพื่อให้เจริญรุ่งเรืองเหมือนกรุงสุโขทัยในอดีตเถิด เพราะหลวงพ่อเคยบอกไว้ว่า...

นักปกครองสมัยกรุงสุโขทัย

“นักปกครองทำตนเป็นเพื่อนกับประชาชน แล้วมักจะเข้าถึงประชาชนที่วัด วัดเป็นศูนย์ จุด กลางใจของคน ท่านทำความสนิทสนมกับพระ ไปพบพระอยู่เสมอ พบพระแล้วพบคน ส่วนใหญ่มัก จะเลือกไปในวันพระหรือวันเทศกาล เวลาไปทุก ท่านไม่ทำตัวเป็นเจ้า ทำตัวเป็นเพื่อนกับคนทุกคน นั่งคุยได้กลางลานวัด ไม่ต้องปูเสื่อ คนคุยล้อมรอบ

มีหลายท่านเป็นนักขบขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ นี่เก่ง บรรดาพระญาติ พระวงศ์ของพระองค์ก็เก่ง..เก่งมาก คุยแบบกันเอง เฮๆ ฮาๆ ดีไม่ดีก็นอนเขลงลงไปกลางสนามหญ้า กับพวกประชาชน คนไทยชอบใจ เพราะไม่มีใคร เขาถือตัว ถือว่าเป็นเพื่อน ความจริงไม่ใช่..เป็นพ่อ!

แล้วท่านก็แสดงภาพของ พ่อขุนผาเมือง ตอนนั้นก็เป็นนักรบชั้นเยี่ยม ท่านมาหากันเสมอนี่ มาถึงก็ทำท่านั้นแหละ ลีลาของพ่อขุนผาเมือง ก็ไม่ ต่างอะไรกับพ่อขุนบางกลางท่าว (พ่อขุนศรีอินทราทิตย์) เข้าสนิทสนมกับประชาชนพลเมือง คุยกันไป คุยกันมาแบบนั้น เป็นการช่วยป้องกันขอม

นี่คนสมัยนั้นเขาไม่มีพรรค เขามีแต่พวก คือเป็นพวกเดียวกัน จะว่าระบบราชาธิปไตยเป็น ระบบกดขี่ข่มเหงคน..มันไม่ถูก นี่ราชาธิปไตยกลาย เป็นประชาธิปไตยไป ถ้าจะถามว่าเวลาจะรบ หรือ เวลาจะปกครองจะทำยังไงกัน ทำให้ประเทศชาติ ทรงตัวอยู่ได้

ตอบว่าก็ต้องประชุมกัน ประชุมกระทั่ง พ่อบ้าน คือกลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้านประชุมหมด นี่เป็น ผู้แทนราษฎรจริงๆ หาความเห็นจากท่านเหล่านั้น แล้วก็ออกไปตามศาลาวัด ไปเข้าถึงประชาชน ขอ ความคิด ขอความเห็น คุยกันแบบกันเอง ก็จะได้ ความคิดความเห็นที่ถูกต้อง เป็นการไม่ขัดกับ อัธยาศัยของคนไทย แล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญ เข้าถึงความจริงทุกอย่าง แบบนี้น่าเลียนแบบ ประวัติศาสตร์ไหม..?”

นี่เป็นความเห็นของท่านพระเดชพระคุณหลวงพ่อที่พูดเป็นปริศนาไว้นานแล้ว แล้วท่านก็ เล่าต่อไปว่า (ตอนนี้ผู้จัดเปิดเทปเสียงของหลวงพ่อ ที่ต่อจากการเปิดให้ฟังบนรถในขณะเดินทางอีก)

◄ll กลับสู่สารบัญ

((( โปรดติดตามตอนต่อไป )))



webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 18/9/10 at 10:11 Reply With Quote


03.

หลวงตาศรี วัดต้นจันทร์



บริเวณโบราณสถาน วัดต้นจันทร์ จังหวัดสุโขทัย

“พอรถวิ่งใกล้เข้าไปจะเข้าเขตเมืองกำแพงเพชร เวลานั้นทางตัดไปสุโขทัยจากเมืองกำแพงเพชรทางตรงยังไม่มี พ่อขุนลือ ท่านมาบอกว่า
"ประเดี๋ยว.. พระยาวชิรปราการ จะมารับ..ขอรับ"
พอท่านพูดจบก็ปรากฏเป็นภาพขุนนางไทยสมัยเก่าแต่งตัว โก้มากมายกมือไหว้ แล้วนั่งร่วมไปอีกคน และคุย กันตามอัธยาศัยระหว่างคนกับผี

เรื่องการคุยนี้ ไม่พูดให้ฟัง แล้วท่านวชิรปราการก็บอกว่า พอจะเข้าเขตเมืองตาก พ่อขุนศรี อินทราทิตย์ ท่านจะมารับ พอเข้าใกล้เมืองตากจริงๆก็ปรากฏว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์มารับพอดี จริง ตามท่านว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์มาก็ยกมือไหว้ แล้วก็คุยกัน

ท่านถามว่า จำผมได้ไหม?

ตอบว่า เรื่องอะไรที่มนุษย์จะไปจำผี..ไม่มี ล่ะ ไม่มีใครเขาไปนั่งจำผีกัน..จำไม่ได้
ก็เลยถามท่านว่า นี่รู้จักฉันได้ยังไง ว่าฉันเป็นอะไรกับท่าน ใช้คำว่า “จำได้นี่” แสดงว่าคนต้องเคยรู้จักกัน

ท่านก็เลยบอกว่า พระคุณท่านสมัยนั้นน่ะเป็นอาจารย์ของพวกผมขอรับ
ถามว่า สมัยไหน
ท่านก็เลยบอกว่า สมัยที่พวกผมจะกู้ชาติ คือตั้งชาติไทยขึ้นมา เพราะเราเป็นทาสของขอม สมัยนั้นพระคุณท่านเป็นพระ

เลยถามว่า เป็นพระชื่ออะไร
ท่านบอกว่าชื่อ “ศรี”
มาทราบทีหลังว่าชื่อเต็มๆ ก็คือ “ศรีเมืองมาน” สมัยที่เป็นฆราวาส

แต่ว่าพอเป็นพระเขาเรียก “หลวงตาศรี” เฉยๆ
สมัยนั้น ท่านบอกว่าท่านเป็นลูกศิษย์
เพราะท่านเป็นคนเด็กกว่า หลวงตาศรีเป็นคนรุ่นพ่อ เห็นจะเป็นเพื่อนกันมากับคราวๆ พ่อ พอท่านบอกอย่าง นั้นก็นึกเอะใจว่า นี่ต้องหาหลักฐาน เราจะนั่งพูดกัน อย่างนี้มันไม่ถูกหรอก
เลยถามว่า ถ้าฉันเป็นพระ สมัยนั้นจริงๆ เวลานี้มีอะไรเป็นเครื่องยืนยันบ้าง แล้วฉันเป็นพระวัดไหน..?

ท่านก็ตอบว่า พระคุณท่านเป็นพระ วัดต้นจันทน์ ขอรับ
เดิมทีอยู่ วัดมหาธาตุทีนี้สมเด็จแม่ คือพระเจ้าย่าสมัยปัจจุบัน ที่เราเรียกกันว่า “พระเจ้าย่า” สมเด็จแม่เป็นผู้อุปการะ คือเป็นโยม ปวารณาส่งอาหารและให้การบำรุง

แล้วต่อมาพระคุณท่านเห็นว่า การอยู่วัดมหาธาตุมันใกล้พระราชฐาน มีบุคคลพลุกพล่านมาก..ไม่ชอบ ชอบที่เงียบสงัด จึงไปปลูกกระต๊อบ อยู่ที่ “ดงจันทน์” มันมีต้นจันทน์อยู่ไม่กี่ต้น ต่อมาสมเด็จแม่จึงไปสร้างวัดให้ แล้วพวกกระผมด้วย ก็ไปสร้างวัดให้ได้นามว่า “วัดต้นจันทน์”

พ่อขุนน้าวนำถม

......แผนการในการกู้ชาติระยะต้น ก็มีบุคคลสำคัญ ๒ คน คือ พ่อขุนน้าวนำถม ซึ่งเป็นพระราชบิดาของ พ่อขุนบางกลางท่าว อีกคนหนึ่งก็คือ พ่อขุนศรีเมืองมาน ซึ่งมีอายุไล่เรี่ยกับพ่อขุนน้าวนำถม แต่เป็นสายของ พ่อขุนผาเมือง ก็เป็นคนไทยด้วยกัน สองคนนี้มีความสำคัญมาก

แต่ด้านกำลังจิตใจของทั้งสองท่านต่างกัน อยู่นิดหน่อย พ่อขุนน้าวนำถมมีจริยาอ่อนช้อย พูดนิ่มนวล เป็นคนอ่อนๆ แต่ทว่ากำลังใจซึ้งไปด้วย สติปัญญา คิดไว้เสมอว่าจะต้องกู้ไทยให้เป็นไท พ่อขุนศรีเมืองมานเป็นคนที่ใช้ปัญญา ความฉลาด ความสามารถ ความคล่องแคล่วในตัว มาก แต่ชอบใช้อาการเด็ดขาดกับขอม ถ้าใช้อะไรมา เห็นว่าทำได้..บอกว่าทำได้ ถ้าทำไม่ได้..บอกว่าอย่า เพิ่ง..รอก่อน ถ้าขอมรวน..ท่านก็สวนตอบทันที

เป็นอันว่า ท่านทั้งสองนี่มีจริยาต่างกัน คือ พ่อขุนน้าวนำถมนี่เหมาะกับการเป็นพ่อเมือง เพราะเป็นคนมีอารมณ์เยือกเย็นสุขุม พ่อขุนศรีเมืองมาน มีปัญญาปราดเปรื่อง มีอาการคล่องตัวมาก ใจร้อน อยากรบ ความจริงของเราในสมัยนั้นมีทั้ง “บู๊” ทั้ง “บุ๋น” เสร็จ!

ความจริงนะ เทวดาช่างส่งคนลงมา เหมาะจริงๆ สองพ่อขุนนี่มีจริยาคนละแบบ ถ้าการเกรี้ยวกราดกระฉับกระเฉง..ต่อต้าน ต้องเป็นเรื่องของพ่อขุนศรีเมืองมาน วางแบบแผนสุขุมคัมภีรภาพ เป็นเรื่องของพ่อขุนน้าวนำถม

แผนการของพ่อขุนศรีเมืองมานกับพ่อขุนน้าวนำถมตอนนี้ เป็นยุคที่คนไทยใกล้จะกู้เอกราช พยายามแนะนำคนไทยทุกคน ให้มีจริยาอ่อนน้อม ต่อขอม เขาจะว่าอะไรก็ตามใจเขา เขาจะใช้อะไรก็ ตามใจเขา ที่ไม่หนักหนาเกินไป

แต่วางแผนขั้นแรกให้มีความสามัคคีรัก ใคร่กัน สั่งสมบ้านเมืองให้อุดมสมบูรณ์ไปด้วย ธัญญาหาร ของที่จำเป็นจะต้องใช้เพื่อเตรียมรบ ถ้าเวลาจะรบกันแล้วมันไม่ได้เรื่อง ทำอะไรกันไม่ได้ ทั้งผู้หญิงผู้ชาย สอนให้มีความรักมีความสามัคคี รักบ้านรักเมืองยิ่งกว่าชีวิต คิดว่าถ้าเราไม่สามารถ เป็นเอกราชตราบใด น้ำใจของเรามันจะหดหู่อยู่ ตลอดเวลา พวกคนไทยทั้งหมดจะต้องน้ำตาตกใน

แม้ไอ้คนขอทานของขอมเดินเข้ามา เขาก็แสดงความยิ่งใหญ่กว่าพ่อเมืองได้ แล้วลูกเมืองจะ เป็นอย่างไร เขาจะย่ำยีเอาตามชอบใจ ทำอะไรผิด นิดหน่อย เขาก็สั่งประหารชีวิต เรียกไปทรมาน ข้าว ของอะไรที่มีอยู่ในบ้านเขาต้องการก็ต้องให้เขา

เมื่อก่อนนี้เราให้อย่างผู้เกรงใจ ผู้กลัว ในอำนาจ มาตอนหลังนี่ เราให้อย่างผู้จะรื้ออำนาจ ขึ้นมาให้ตัวเอง คือทำให้ขอมตายใจ คิดว่าคนไทย กลัวและอ่อนน้อม สองพ่อขุนเป็นกำลังใหญ่ เข้าวัด ทุกวัด เข้าหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน ทำตนเป็นคนกันเอง ต่อมาปรากฏว่า พ่อขุนน้าวนำถม ทิวงคต ไม่ทันจะรบเขาตายเสียแล้ว..คู่หูตาย! ให้พ่อขุนบางกลางท่าว คือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ลูกชายคนใหญ่ ขึ้นมาครองคนไทยในเขตนั้นแทน

สำหรับพ่อขุนศรีเมืองมานทำยังไง คู่หูตาย เหลือแต่ชั้นลูกชั้นหลาน ก็ให้การแนะนำ ยึดวิธีการ เดิมเข้าไว้ สอนให้เข้าใจ แต่พ่อขุนบางกลาวท่าวนี่ก็ เรียนมาแล้ว ถึงแม้ว่าพ่อจะตายแต่ก็จำได้ทุกอย่าง

ต่อมาเมื่อพ่อขุนผาเมืองเป็นหนุ่มเป็นแน่น พอที่จะครองเมืองได้ พ่อขุนศรีเมืองมานก็ปล่อยมือ ให้พ่อขุนผาเมืองขึ้นว่าหน้าที่แทน แล้วท่านก็ ออกบวชเมื่ออายุ ๔๐ ปี เพราะชายาทิวงคตไปเสียก่อน เป็นพ่อหม้ายอยู่ ๕ ปี แล้วจึงได้บวชธุดงค์ ลงไปถึงภาคใต้ เป็นธรรมทูตจาริกสั่งสอนคนไทย ให้สามัคคี เมื่อคนไทยแต่ละกลุ่มรวมกันแล้ว ลูกหลานรุ่นหลังจึงสามารถกู้ชาติจนเป็นผลสำเร็จ...”



การไปสุโขทัยในครั้งนั้น หลวงพ่อท่านบอกว่า เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๖ กำลังนั่ง ๆ อยู่ที่กุฎิ สบายๆ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มากับ ท่านแม่ย่าจันทร์เทวี ท่านบอกว่าขอพระคุณท่านพาคณะศิษยานุศิษย์ไปสุโขทัย เพราะผีที่เป็นชาวสุโขทัยเก่าๆ ที่เป็นนักรบอยากจะพบ ส่วนจะพบกันอย่างไร ขอให้ฟังท่านเล่าต่อไป (ผู้จัดเปิดเทปหลวงพ่อต่อไป)

“พอไปถึงสุโขทัย..ท่านสั่งให้ไป เราก็พา คณะศิษยานุศิษย์ และท่านที่เคารพนับถือทั้งหลายไปบูชาบรรพบุรุษ ตามแบบฉบับที่ หลวงพ่อปาน เคยสอนไว้ เมื่อทำพิธีกรรมสร็จ ก็ปรากฏเป็นภาพชาวสุโขทัยทั้งหมดมาในเครื่องแบบรบ..พร้อมรบ! แล้วก็แต่งตัวสวยจริงๆ

ที่เขาเขียนรูป “พระร่วง” ไม่มีเสื้อน่ะ คนเขียนเขียนใหม่ดีกว่า วิธีเขียนละอย่าเดากันเลย.. พ่อคุณเอ๋ย! เพราะคนสมัยนั้นเขาแต่งตัวกันสวย กว่าคนสมัยนี้ รัดกุมดีกว่า..สวยกว่า นี่พ่อล่อไม่มี เสื้อเสียได้ ทำสัญลักษณ์ของกษัตริย์ไทยเสียไปหมด คนไทยแต่งตัวดีเรียบร้อย ไม่ได้แต่งยี่ห้อบูดๆ แบบนั้น

เห็นเขาแสดงภาพแต่ละสมัยของคนไทย เครื่องแต่งตัวดูแล้วไม่ตรงตามความเป็นจริง ไอ้ที่ ว่าตรงหรือไม่ตรง เวลาที่เขามาหรือเขาแสดงให้ดูนี่ ตามภาพที่เห็นมันไม่ได้เห็นแบบนั้นนี่ พ่อก็นั่งเดา กันส่ง ทำลายความดีของพ่อของแม่ผู้มีพระคุณ จะเกิดประโยชน์อะไร

เป็นอันว่า เรื่องราวเก่าๆ ทั้งหลายเราเลิกพูดกัน มาพูดกันว่าเดินทางมาสุโขทัย พอทำพิธีบูชา แล้วเห็นท่านผู้ใหญ่ แต่ท่านจะใหญ่แค่ไหนไม่รู้นะ ทุกคนมาท่านก็ยกมือไหว้ มานั่งรวมกลุ่มกันพร้อมรบ แล้วอีกกลุ่มหนึ่งมันเป็นตัวดำๆ มันมีปริมาณ มากกว่า ประมาณสัก ๓ เท่า คือพวกชาวสุโขทัย นักรบ ๑ ของเขา ๔ มันมายืนอยู่อีกด้านหนึ่ง ทางด้านทิศเหนือ

ท่านเลยบอกว่า นี่..ถึงแม้มันจะมีปริมาณมาก แต่กำลังมันน้อย เราจัดการกับมันได้แล้ว
ถามว่า เรื่องอะไร ?

บอกเรื่องของเมืองไทยที่มันยุ่งๆ ไอ้ผีพวกนี้มันสร้างความระยำ มันจองล้างจองผลาญ ยุใจคนไทยที่มีอารมณ์ต่ำให้กลายเป็นคนชั่ว ประหัตประหารเพื่อนของตัว คือชาวคนไทยด้วยกัน กอบโกยทรัพย์สินของประเทศชาติ ของบรรดาประชาชนคนไทย เอาไว้เป็นสมบัติส่วนตัวโดยเฉพาะ และมันหวังทำลายทุกอย่าง แม้แต่วงศ์ของกษัตริย์ไทยเดิม คือรัชกาลที่ ๙ นี่ท่านรับรอง นะ ว่ารัชกาลที่ ๙ หรือว่าวงศ์จักรีนะ เป็นวงศ์ของกษัตริย์ไทยเดิมมาจากวงศ์สุโขทัย ท่านว่ายังงั้น

ถามว่า ร.๙ เคยเป็นใคร
ท่านบอกเหมือนกัน แต่ว่าไม่พูดตอนนี้
ท่านบอกว่า ร.๙ เคยเกิดในวงศ์กษัตริย์สุโขทัย ท่านว่ายังงั้น
นี่ผีพูดนะ แล้วคนพูดตามผี
ท่านบอกว่า คราวนี้จัดการได้แล้ว..”

พิธีบวงสรวงสักการบูชา




หลวงพี่โอเป็นประธานจุดธูปเทียนที่โต๊บายศรี

“ต่อไปนี้ จึงขอเชิญ คุณอนันต์ ผู้แต่งกาย สมมุติเป็น พระเจ้ากรุงสุโขทัย ได้เป็นตัวแทนของ พวกเราทุกคน และ หลวงพี่โอ ผู้เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ จุดธูปเทียนบูชาที่โต๊ะบวงสรวง จึงขอให้ทุก ท่านพนมมือไปด้วยกัน เพื่อเป็นการย้อนรำลึกถึง เหตุการณ์ที่ผ่านมา นับตั้งแต่สมัยที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อเคยมากับหลวงปู่ธรรมชัย

หรือจะย้อนไปในอดีตสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี เป็นการสมมุติเหตุการณ์ตอนที่เอาชนะข้าศึก แล้วมาเฉลิมฉลองชัยชนะกัน ด้วยการแต่งกาย ย้อนยุค เพื่อเป็น พิธีการตัดไม้ข่มนาม ณ โอกาสนี้ จึงขอให้ทุกท่านตั้งสัตยาธิษฐานพร้อมกันดังนี้



คุณอนันต์ และ คุณแสงเดือน แต่งกายสมมุติสมัยกรุงสุโขทัยในอดีต

เมื่อเสียงหลวงพ่อที่ดังก้องทั่วบริเวณนั้น ได้สิ้นสุดยุติลงไปแล้ว ปลุกจิตสำนึกให้พวกเราทั้งหลาย ได้ช่วยกันผนึกกำลังใจ เพื่อช่วยกันตั้งจิตอธิษฐาน ตามที่ผู้จัดจะได้กล่าวต่อไปอีกว่า...

“ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาพระบารมีองค์สมเด็จพระชินสีห์ ผู้มีพระภาคเจ้า ทุกๆ พระองค์ อันมีสมเด็จองค์ปฐม ทรงเป็นประธาน มีสมเด็จองค์ปัจจุบันเป็นที่สุด พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ ทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบๆ กันมา อันมี หลวงปู่ปาน หลวงพ่อพระราชพรหมยาน และ หลวงปู่ธรรมชัยเป็นที่สุด

พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย เทพพรหมทุกท่าน ที่รักษาพระพุทธศาสนา ทั้งอาณาเขตนี้ และผู้รักษาทรัพยากรใต้ดิน ผู้รักษานภากาศ รักษาป่าเขา รักษามหาสมุทร จนกระทั่งสุดพื้นปฐพี โดยมี ท่านปู่ท่านย่า และท่านแม่เป็นประธาน มีท้าว จตุโลกบาลเป็นที่สุด พระร่วงเจ้าทั้งหลายทุกๆ พระองค์ อันมี พระร่วงโรจน์ฤทธิ์ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พ่อขุน ผาเมือง และพ่อขุนรามคำแหง เป็นต้น ท่านแม่ย่า และดวงวิญญาณนักรบทั้งหลายเป็นที่สุด

ขอได้โปรดเสด็จมาเป็นสักขีพยาน ณ สถานที่นี้ เพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้ง หลาย ขอได้โปรดคุ้มครองป้องกันภัย อุปสรรค อันตรายใดๆ อย่าได้มาทำลาย การค้าการขาย อาชีพการงาน ขอให้คล่องตัว โรคภัยไข้เจ็บ อย่าได้เบียดเบียน

ต่อไปในไม่ช้า ถ้าสงครามใหญ่เกิดขึ้นในโลก ตามพุทธพยากรณ์ไว้ว่า ยักษ์ร้ายนอกพระ ศาสนา จะรบราฆ่าฟันกัน ด้วยอาวุธอันทันสมัย หากเป็นจริงตามนั้นไซร้ ขอได้โปรดอภิบาลชาวไทย ผู้อยู่ในศีลธรรมทั้งหลาย ให้พ้นจากภัยพิบัติเหล่า นั้น ครั้นจะย่างก้าวไปในสารทิศใด ขอเทพไท้เทวา แต่ละทิศ จงมีจิตคิดเมตตา โปรดจำหมู่ข้าพเจ้าไว้

ขอทั้งศาสตราและสรรพอาวุธ ทั้งอุบัติเหตุ อาเพทภัย ทั้งคุณไสยยาพิษ ผู้คิดเป็นศัตรูหมู่พาล จงอย่าได้ทำอันตรายทั้งหมด หากมีผู้คิดคดทรยศ ต่อชาติบ้านเมือง ต่อพระศาสนา และพระมหา กษัตริย์ โปรดกำจัดให้สิ้นไป อย่าให้ทำการณ์สิ่งใด สำเร็จ ขอจงแพ้ภัยตนเองไปในที่สุด

และขอให้พ้นจากทุพภิกขภัย คือความยากจน และภัยธรรมชาติทั้งหลาย คือฟ้าผ่า ลมแรง ไฟไหม้ น้ำท่วม และแผ่นดินไหวเป็นต้น สัพพทุกข์ สัพพโศก สัพพโรค สัพพภัย สัพพเคราะห์ เสนียดจังไร จงพินาศหมดสิ้นไป ขอให้มีมงคลชัย

เมื่อกาลเวลามาถึงไซร้ ขอให้ราชาธิปไตย จงได้คืนกลับมา มีข้าราชสำนักที่ทรงธรรม ภายใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้าชาวไทย ให้ไพร่ฟ้าหน้าใส ดังเช่นกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เพื่อให้ ไทยเป็นมหาเศรษฐี มีความอยู่ดีกินดี พืชไร่ใน นาอย่าได้เสียหาย ค้าขายให้ได้กำไรดี

อีกทั้งแร่ธาตุทองคำ และน้ำมันทั้งหลาย อันเป็นทรัพยากรของชาติ ขอจงได้ปรากฏโดยเร็ว พลัน เพื่อเป็นประโยชน์แก่ชาวไทย จนถึงยุคชาว ศรีวิไล มีความเจริญรุ่งเรืองไปในอาณาประเทศ เพื่อจะสืบอายุพระพุทธศาสนา อันจะแผ่ไปในกาล ข้างหน้า ตามพุทธพยากรณ์ไว้ว่า หลังกึ่งพุทธกาลแล้ว พระพุทธศาสนาจะรุ่งเรืองอีกวาระหนึ่ง บัดนี้ใกล้จะครบ ๒๐ ปี ตามที่หลวงพ่อ บอกไว้ จะเข้ายุคอภิญญาใหญ่ หากเป็นบุญวาสนา บารมี ขอให้มีผู้ปฏิบัติได้ เพื่อช่วยกันประกาศพระศาสนา ขอให้พวกอลัชชีผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ จงแพ้ภัย ไปในที่สุด

เอเตนะสัจจะวัชเชนะ สาธุ สาธุ ด้วยอำนาจสัตยาธิษฐานนี้ ขอพระบารมีทุกพระองค์ ได้ทรงโปรดประทานพร ให้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นเผ่าพงศ์ของพระองค์ ถ้าหากคงไม่เกินวิสัย ขอให้เป็นไปตามนั้น และให้สามารถปฏิบัติตนจนได้ผล ทั้งสุกขวิปัสสโก เตวิชโช ฉฬภิญโญ และปฏิสัมภิ ทัปปัตโต โดยฉับพลันนั้นเทอญ ฯ”

ครั้นจบคำประกาศโองการและอธิษฐานต่อฟ้าดิน เพื่อเป็นสักขีพยานแล้ว จากน้ำเสียงที่รวมกันอย่างหนักแน่นและมั่นคง บ่งบอก ลักษณะถึงความเข้มแข็งแห่งจิตใจ คงจะเป็นพลังแห่งความดี ที่จะขจัดสิ่งอัปรีย์ทั้งหลาย ให้หมดสิ้นไป เสมือนหยดน้ำเล็กๆ ที่มีความเย็นสูง เข้าไปราดรดกองไฟใหญ่ที่กำลังลุกโชนอยู่นั้น ด้วยการขออาราธนาพระเดชพระคุณ หลวงพ่อกระทำพิธีบวงสรวงต่อไป

แล้วผู้จัดก็ได้เปิดเทปเสียงของท่าน ทุกคนพนมมือไปตามกระแสเสียง เหมือนกับท่านได้มากระทำพิธีต่อหน้าพวกเรา แล้วกล่าวนำคำนมัสการและขอขมาพระรัตนตรัย จึงขอเล่าไว้เพียงแค่นี้ก่อน ไว้พบกันตอนหน้าจะเป็นพิธี “ถวายราชสดุดีแด่พระร่วงเจ้า”
สวัสดี

◄ll กลับสู่สารบัญ

((((((( โปรดติดตามตอนต่อไป )))))))


◄ll กลับสู่ด้านบน



webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 4/10/10 at 14:02 Reply With Quote


04.

งานพิธีฉลองชัย ณ อาณาจักรสุโขทัย

(ตอนที่ 2)




วัวเทียมเกวียนประดุจราชรถอัญเชิญเสลี่ยง "สมเด็จองค์ปฐม" นำขบวน

การจัดงานพิธีย้อนยุคเข้าสู่ “อาณาจักรสุโขทัย” ได้เล่าผ่านไปแล้วว่า หลังจากเดินทางมารวมกันที่ ร้านอาหารสวนน้ำค้าง แล้ว พวกเราก็จัดขบวนกองเกียรติยศ ด้วยการอัญเชิญเครื่องสักการบูชา อันมี สมเด็จองค์ปฐม เป็นประธาน พร้อมทั้งรูปภาพหลวงพ่อและท้าวมหาราช

โดยการจัดเป็น ๓ ขบวน คือ ขบวนไพร่ฟ้าหน้าใส ขบวนพระ และ ขบวนหลวง มีการแต่งตัวย้อนยุคสมัยสุโขทัยโบราณ เช่น ชุดพื้นบ้าน ชุดพื้นเมือง และชุดชาววัง เป็นต้น เป็นผลที่สมมุติเหตุการณ์ทำพิธีฉลองชัย เพื่อเป็นการตัดไม้ข่มนาม พร้อมทั้งทำพิธีรับ พระเคราะห์เสวยอายุทั้ง ๑๐๘ ไปด้วย

สำหรับพิธีกรรมในครั้งนี้ ก็เหมือนกับที่เคยกระทำมาแล้ว ณ อาณาจักรสุวรรณภูมิ อาณาเชียงแสน อาณาจักรหริภุญชัย นับตั้งแต่ ต้นปี ๒๕๔๐ คือก่อนที่เศรษฐกิจของประเทศ ไทย จะเป็น “ต้มยำกุ้ง” ในตอนกลางปี ทำเอาคนไทยทั้งประเทศต้องนอนสะดุ้งไปตามๆ กัน

พวกเราในนาม “คณะศิษย์หลวงพ่อ พระราชพรหมยาน” จึงร่วมเดินทางไปกราบ ไหว้บูชาบรรพบุรุษ ตามสถานที่ที่ครูบาอาจารย์ ท่านไปเคยทำพิธีเรื่องของประเทศมาแล้ว

ทั้งนี้ จึงมีการแต่งกายพร้อมไปด้วย เครื่องประดับ เช่น แก้วแหวนเงินทองต่างๆ เป็นการข่มความยากจนที่จะพึงมี ด้วยการทำ ตนเป็นมหาเศรษฐี เพื่อเป็นเคล็ดพิธีกรรมตาม ความเชื่อว่า แต่งได้มากเท่าไหร่ ต่อไปบ้านเมือง จะรุ่งเรืองเจริญก้าวหน้า คนไทยจะร่ำรวยด้วย เพชรนิลจินดามหาศาล

แต่จะเป็นผลจริงหรือไม่ อยู่ที่วิจารณญาณของท่านทั้งหลาย อย่าถือว่าเป็นเรื่องงมงาย เพราะสมัย สมเด็จพระนเรศวร ก่อนจะออกรบ พระองค์ทรงนำไม้มาฟันให้ขาด ถือเป็นเคล็ด “พิธีการตัดไม้ข่มนาม” มาแล้วเช่นกัน ส่วนการแต่งกายนั้น เรามิได้ทำด้วย การตีตนเสมอท่าน แต่ทำด้วยความเคารพเทิดทูน เป็นการให้เกียรติต่อบรรพบุรุษชาวไทยทั้งหลาย การจัดขบวนแห่ก็มิได้เดินเพื่ออวด แต่ทำเพื่อบูชาสักการะให้สมพระเกียรติคุณ


พระภิกษุสามเณรและญาติโยมทั้งหลายกำลังรอตั้งขบวนแถว


ฉะนั้น การเดินตั้งแต่ร้านอาหารไปถึง เมืองเก่า ระยะทางประมาณ ๑ กิโลเมตรเศษ ขบวนของพวกเรายาวเหยียดไปตามท้องถนน ต้องปิดทางสัญจรชั่วคราว เสียงปี่เสียงกลอง ยาวบรรเลงนำขบวนไปอย่างสนั่นหวั่นไหว

เสียงไชโย..โห่ร้อง..ดังกึกก้องไปตามถนน ผสมกับเสียงเกวียนทั้ง ๔ เล่ม ที่เดิน นำขบวน ตามด้วยขบวนพระสงฆ์เหลืองอร่าม ตัดกับขบวนชุดสีสันอันตระการตาของชายหญิงโดยมี ธงชาติ ธงธรรมจักร ธงจักรี ธง ภ.ป.ร. ผ้าตุง และธงช่อช้าง หลายหลากสี พัดโบก ปลิวไสวอยู่ทั้งสองข้างขบวน มองเห็นยาวเหยียด เป็นทิวแถวไกลสุดสายตา


เมื่อขบวนเดินเข้ามาถึง วัดมหาธาตุ แล้ว พวกเราก็มานั่งรวมกันในพระวิหารหลวง ซึ่งบัดนี้เหลือแต่เสาเพียงไม่กี่ต้นเท่านั้น ส่วน หลังคาหายไปหมดแล้ว และคนที่เหลือก็นั่ง กระจายไปทั่วบริเวณนั้น

ครั้นเล่าประวัติความเป็นมาแต่หนหลังแล้ว จึงได้ขออาราธนาบารมีพระเดชพระคุณทำพิธีบวงสรวงต่อไป โดยจัดตั้งโต๊ะบายศรี ไว้ตรงที่หลวงพ่อเคยมากระทำพิธี เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๙ ซึ่งผู้จัดได้เคยเดินทางไปร่วมพิธีในครั้งนั้นด้วย

ความจริงตั้งใจจะจัดให้ตรงกับวันที่ ๖ เพื่อเป็นที่ระลึกในการครบรอบ ๒๒ ปีพอดี แต่บังเอิญเป็นช่วงที่จะต้องเข้าบ้านสายลม จำต้องเลื่อนมาจัดในวันที่ ๑๔ ก.พ. ๒๕๔๑ ซึ่งตรงกับวันวาเลนไทน์พอดี


การไปทำพิธีในวันนั้น มีญาติโยมหลาย ท่านที่เคยเดินทางไปกับหลวงพ่อ บางคนก็เคยไปรำถวายมาแล้ว ส่วนพิธีกรรมครั้งนี้ จึงมี คณะศิษย์รุ่นหลังรำถวายบ้าง จาก คณะรวมใจภักดิ์ อันมี อ.วิชชุ เป็นหัวหน้า ซึ่งก่อนวันงานก็ได้เดินทางมาซ้อมกันไว้บ้างแล้ว

ฉะนั้น หลังจากหลวงพ่อทำพิธีบวงสรวงแล้ว จึงได้กล่าวคำนมัสการและขอขมากรรมต่อพระรัตนตรัย ต่อจากนั้น จึงเป็นการ รำบวงสรวง ชุดดาวดึงส์ เสียงบรรเลงเสียง ร้องท่วงท่าทำนองก็อ่อนช้อยงดงาม เป็นการ รำถวายต่อเทพเจ้าทั้งหลายนั่นเอง

เมื่อเสียงเพลงใกล้จะจบ ได้มีเสียงพลุ ดังขึ้น ๒๑ นัด แล้วก็มีเสียงปรบมือเป็นการ ให้กำลังใจ เพราะเป็นงานแรกของผู้รำถวาย ซึ่งต้องใช้เวลาฝึกซ้อมกันนาน ด้วยการฝึกสอน เริ่มแรกจาก ป้อม, ปุ้ม ลูกสาวของ คุณวัลภา ที่เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนพระสุธรรมยานฯ

เป็นอันว่า พิธีบวงสรวงสักการบูชา ก็ได้เสร็จสิ้นไปแล้ว พิธีการบำเพ็ญกุศล เพื่อ อุทิศผลให้แก่บรรพชนทั้งหลาย ณ ที่นี้ จึง ได้เริ่มเป็นลำดับต่อไป

ในขณะที่เจ้าหน้าที่จัดแถว เพื่อให้ญาติโยมได้เข้ามาทำบุญกับพระภิกษุทั้งหลาย พร้อม ทั้งมอบวัตถุมงคล คือ พระผงคล้ายสมเด็จนางพญา โดย พระวันชัย เป็นผู้จัดทำเป็น ที่ระลึกแด่หลวงพ่อ สมัยที่ท่านเคยบวชอยู่ ณ วัดต้นจันทน์ และเป็นผู้ทำพระรุ่นนั้นด้วย

ตอนนี้ คณะถาวร ได้ช่วยกันนับเงิน แต่ยังไม่ได้ถวายเพราะเวลาไม่พอ จึงนิมนต์ให้ สงฆ์เจริญพระปริตร ตามบทที่พระเดชพระคุณ หลวงพ่อ เคยทำพิธีรับพระเคราะห์เสวยอายุทั้ง๑๐๘ และเพื่อเป็นศิริมงคลแก่พวกเราทุกคน จึงให้นำกระทงนั้นไปลอยไว้ที่สระแห่งนี้

เมื่อถวายเครื่องไทยทาน และกล่าวอนุโมทนาแด่ผู้ร่วมงานทุกท่านแล้ว จึงได้อุทิศส่วนกุศลผลบุญนั้น ให้แก่นักรบผู้วายชนม์ทั้งหลาย ณ สถานที่นี้ ที่ได้เคยทำศึกสงคราม จากพวกขอม และเป็นการอโหสิกรรมต่อเจ้า กรรมนายเวรทั้งหลายด้วย


ครั้นพระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ จนครบถ้วนพิธีกรรมแล้ว จึงได้แยกย้ายกันไปทานอาหารกลางวัน ส่วนพระภิกษุสามเณรทั้งหลาย ได้ฉันภัตตาหารเพลภายในเต้นท์ ข้างลานพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหง

หลังจากญาติโยมทานอาหารเสร็จแล้ว จึงได้นำเงินที่รวบรวมไว้ทั้งหมด เป็นเงิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท (รวมเงินบูชาพระเคราะห์ ๘๐,๐๐๐ บาท ด้วย) แบ่งถวายแก่พระภิกษุสามเณรทุกรูป เพื่อเป็นการส่วนองค์ และนำไปปฏิสังขรณ์วัด รวม ๙ วัด แล้วจึงรับพรจากพระสงฆ์

◄ll กลับสู่สารบัญ



05.

พิธีถวายราชสดุดีแด่พระร่วงเจ้า




พระราชานุสาวรีย์ "พ่อขุนรามคำแหง" ภายในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

สำหรับพิธีต่อไปนี้ จะเป็นพิธีถวายราชสดุดีเทิดพระเกียรติคุณแด่พระร่วงเจ้า อันเป็น พิธีสุดท้ายของสถานที่นี้ ที่พวกเราจะต้องช่วย กันย้ายเครื่องสักการบูชาต่างๆ มาจากวัดมหาธาตุ ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กันในบริเวณนั้น

เมื่อจัดสถานที่เรียบร้อยแล้ว โดยพระสงฆ์และญาติโยมส่วนใหญ่ก็ยังนั่งอยู่ในเต้นท์ เพราะเป็นเวลาเที่ยงพอดี แสงแดดกำลังร้อน แต่บางคนก็ออกมายืนข้างๆ ลานพระรูป อาศัย อยู่ใต้ร่มไม้ในบริเวณนั้น

ผู้จัดจึงได้เชิญ คุณอนันต์ และ คุณแสงเดือน ออกมาจุดธูปเทียนที่โต๊ะบายศรี ที่ อยู่ด้านหน้าของพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหง เพื่อเป็นการกราบไหว้บูชาต่อ พระร่วงเจ้า ทุก พระองค์ ที่ครองกรุงสุโขทัยในอดีต

ทุกท่านที่อยู่รอบบริเวณนั้น ต่างก็พนมมือตั้งจิตอธิษฐานไปด้วย พร้อมทั้งเครื่องราชสักการะที่ถืออยู่ในมือ บางคนก็ได้นำไปวาง ไว้บนโต๊ะที่จัดเตรียมไว้ให้แล้ว ซึ่งอยู่ข้างโต๊ะ บายศรี ( คุณหมู, พงษ์, ทิพย์ เป็นผู้ทำบายศรี)

ในขณะที่ลมโชยมาเบาๆ ท่ามกลาง แสงแดดที่เจิดจ้า แต่พวกเราก็มีความสุขใจ เพราะร่างกายมีพลังจากอาหาร ซึ่งมี อ.สันต์ ผู้ล่วงลับไปแล้ว ได้เป็นผู้บอกบุญกับชาวคณะ พิษณุโลกจัดเลี้ยงอาหาร พร้อมทั้งให้ตัวแทน อีก ๕ คน อันมี อ.วิบูลย์ มีชู เป็นต้น ได้ออกมากล่าวคำ ถวายราชสดุดีแด่พระร่วงเจ้าตามบทกลอนดังต่อไปนี้

บทกลอนถวายราชสดุดี



........ยอกรอัญชลีนี้เหนือเกล้า สดุดีพระร่วงเจ้าพรหมวงศา ครองแผ่นดินโดยธรรมราชาณ เมืองศรีสัชนามาช้านาน นาม พระร่วงโรจนฤทธิ์บพิธราช คราใดชาติต้องการงานต่อต้าน ด้วยเดือดร้อนจากศัตรูผู้รุกราน ละพิมานแดน พรหมอุดมพลัน จุติพร้อมลูกหลานและว่านเครือหน่อเนื้อบรมวงศ์จงรักมั่น

ชาติต่อมาฉายา “ศรีเมืองมาน” ร่วมประสานเจ้าเมืองเรืองสูงส่ง พ่อขุนนาวนำถม คมสมพงศ์ ช่วยกันดำรงไว้ให้เนานาน ถึงเหน็ดเหนื่อยเพียงใดไม่ย่อท้อ พ่อก่อกู้ชูไทยใจห้าว หาญ ได้เวลาบรรพชาสาธุการ พ่อเมืองมาน สงบจิตสนิทธรรม ราชการงานเมืองเป็นเรื่อง ยาก ถ้าแม้นหากข้องขัดจัดแย่ย่ำ นมัสการปรึกษาคำแนะนำ พระก็ค้ำจุนราษฎร์ชาติดังเดิม

ยุคต่อมา ขุนผาเมืองเปลื้องทุกข์หนักร่วมเพื่อนรัก บางกลางท่าว ท้าวส่งเสริม เผด็จศึกศัตรูร้ายพ่ายเหิมเกริม ไทยจึงเริ่มรับอรุณ อบอุ่นใจ มเหสีเทวีนี้เผ่าขอม ขุนผาเมืองยอม พลาดทายาทใหญ่ แต่งตั้งให้ ขุนศรี นั่งเวียงชัย ทรงแยกไปเมืองใหม่ครองบางยาง

สุโขทัยเรืองรุ่งผดุงศานต์ อาณาจักร ตระการชาญทุกอย่าง ศิลปวัฒนธรรมนำศูนย์กลาง ทั้งเสริมสร้างอารามงามวิไล เสียงสังคีต ดีดสีและตีเป่า เพลงพิณเร้าเคล้าสนุกสุขเกินไข พนมเทียนพนมหมากหลากทั่วไป งานเผาเทียน เล่นไฟในคงคา เดือนสิบสองน้ำนองท้องตลิ่ง แขไขชิงดวงเด่นเพ็ญเวหา นพมาศ ประดิษฐ์กระทงปทุมมา ยังคงค่านำสมัยในปัจจุบัน

สมัย พ่อขุนราม อร่ามสุดเปรียบประดุจเมืองแมนแดนสวรรค์ ข้าวในนาปลาในน้ำ ล้นหลามครัน สุโขทัยนั้นโด่งดังคลังวิทยา ใฝ่ สันติรักสงบคบสันโดษ เอื้อประโยชน์ประชาธิปไตยให้ถ้วนหน้า ใครใคร่ค้าช้างค้าค้าม้าค้าเดือดร้อนมาสั่นกระดิ่งปากประตู

คราแปดค่ำสิบห้าค่ำนำถือศีล ทั่วทุก ถิ่นอวยทานชาวบ้านรู้ ศิลาอาสน์แดนดงตาล ลานเชิดชู พอพระครูเทศน์จบพบพ่อแทน ทำนุศาสนาค้ำบำรุงวัด สร้างพระอัฏฐารสประณต แหน พระอัจนะวัดเชิงชุมลุ่มลึกแปลน ช่างสุด แสนอัศจรรย์ลั่นวาจา

เจดีย์สูงเสียดฟ้าโอ่อ่านัก ศิลปอนุรักษ์ประจักษ์ค่า ทรงข้าวบิณฑ์ศรีวิชัยและลังกา หีนยานนำเข้ามาลัทธิธรรม หลักศิลาจารึกบันทึก ไว้ อักษรไทยประดิษฐ์ให้ได้เรียนร่ำ ปัญญา ชนต้นตระกูลเทิดทูนจำ มรดกโลกดื่มด่ำล้ำค่า นาน สังคโลกสรีดภงส์คลองส่งน้ำ ยลตระพัง ยามค่ำระฆังขาน สะท้อนโคมโลมแสงจันทร์พลัน ละลาน เสนาะศัพท์เสียงประสานกังวาลพา

อยุธยาราชาไตรโลกนาถ สุโขทัยเสื่อม อำนาจวาสนา ต้องอ่อนน้อมยอมกรุงศรีอยุธยา ไทยถ้วนหน้ารวมพงศ์เผ่าเข้าด้วยกัน ย้อนอดีต ตามรอยละห้อยหวน สะท้อนทวนความหลังยัง แม่นมั่น กตัญญูรู้บุญคุณราชันย์ จึงบุกบั่น สรรเสริญเชิญบูชา กราบขมาพระวิญญา ณ ที่นี้ แทบธุลีบรรพชนต้นวงศ์กล้า จะภักดีชาติ ศาสน์กษัตรา จะรักษาพสุธาชีวาวาย ฯ

บทกลอนนี้มีให้แจกแก่ทุกคน พวก เราจึงได้กล่าวพร้อมกันด้วยเสียงอันดัง เป็น เพราะพลังแห่งความสามัคคี การพรรณนา คุณความดีก็จบลง แล้วทุกคนก็ถวายบังคม ต่ออดีต “พ่อขุนไทย” ทั้งหลายแต่ปางก่อน เป็นการสะท้อนแห่งความกตัญญูของพวกเรา ที่ได้มาเป็นตัวแทนของคนไทยทุกคน

ท่ามกลางความเงียบสงัดอยู่สักครู่หนึ่ง ผู้จัดก็ได้ประกาศให้ชุดระบำ “สุโขทัย” ออกมารำถวาย เมื่อเสียงเพลงดังขึ้นทั่วลานพ่อขุน คุณปรีชา พึ่งแสง บอกว่าได้ยินแล้วทนไม่ได้

เพราะสมัยที่มากับหลวงพ่อ ต้องออกไปร่ายรำ กับเขาบ้าง ทั้งๆ ที่รำไม่เป็นแต่ก็ยังสามารถรำได้ แต่คราวนี้ไม่เห็นออกไปรำ เหลียวไปดูคุณปรีชา ไม่รู้หายไปไหนเสียแล้ว สงสัยจะอายคนรุ่นหลัง กระมัง จึงได้หลบไปเช็ดน้ำตาแห่งความหลังอีก

ณ ลานพ่อขุนนั้น ถึงแม้อากาศจะร้อน แต่ก็หาทำให้สาวน้อยทั้งหลาย ที่อยู่ในชุดฟ้อนรำ “สุโขทัย” ท้อแท้ใจไม่ ทุกคนร่ายรำไปตามทำนอง เสียงเพลงได้บรรเลงอย่างไพเราะ จนกระทั่งจบลง ไป ก็ได้รับเสียงปรบมือเป็นกำลังใจ ผู้จัดได้ถามภายหลังว่า ขณะที่รำอยู่นั้นพื้นร้อนมากไหม เธอตอบว่าไม่รู้สึกร้อนเลย แต่ก่อนที่จะรำพื้นร้อนมาก ส่วนคนที่ไม่ได้รำออกไปถ่ายรูปก็บอกร้อนเหมือนกัน


มิน่าเล่า..สมัยพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ท่านมาทำพิธีหลังจากบวงสรวง ณ วัดมหาธาตุ และฟ้อนรำชุด ดาวดึงส์ สุโขทัย และ รำดาบ แล้ว ท่านก็ได้ฉันภัตตาหารเพลที่บนพระวิหารหลวง พร้อมกับ หลวงปู่ธรรมชัย และพระสงฆ์ทั้งหลาย

ต่อจากนั้นท่านก็ได้มาทำพิธีสักการะที่พระบรมรูปพ่อขุนราม โดย ท่านหญิงวิภาวดี รังสิต เป็นผู้แทนนำพวงมาลาขึ้นถวาย แล้วจึงได้รำถวาย ชุด “สุโขทัย” อีกครั้งหนึ่ง การฟ้อนรำแต่ละชุดนั้น หลวงพ่อท่านมีบัญชาให้คณะศิษย์เป็นผู้ฟ้อนรำกันเอง โดยมิได้นำผู้อื่นมาแต่ประการใด

ครั้นมาถึงสมัยนี้ ผู้จัดก็ได้ทบทวนข้อมูล จากผู้ที่เคยไปรำสมัยหลวงพ่อ แล้วได้มีโอกาส เดินทางร่วมไปในครั้งนี้อีกหลายคน เช่น คุณแสงเดือน คุณวันเพ็ญ (แต๋ง) คุณสุมิตร (เล็ก) คุณวันเพ็ญ และ คุณแป้น (สองคนนี้เคยรำดาบคู่กัน)

นอกจากนั้นก็มีผู้อาวุโสอีกบ้าง คือ พลตรีศรีพันธุ์ (พี่แดง) คุณประดับวงศ์ คุณยุพดี (แอ๊ะ) คุณปราโมทย์ คุณเพ็ญศรี (แดง) อ.ลักขณา แล้ว ก็มีอีกหลายท่านจำไม่ได้เสียแล้ว ต้องขออภัยด้วยที่เคยไปกับหลวงพ่อ แล้วไปร่วมพิธีในครั้งนี้ด้วย

การฟ้อนรำบนลานพระรูปในเวลาเที่ยงนั้น ถ้าไม่จัดพิธีตามที่หลวงพ่อทำไว้ คงจะมีปัญหาแน่ เพราะถ้าเป็นคนอื่นเขาคงจะไม่ออกไปรำ แต่นี่ เอาคนของพวกเราเอง จึงทำให้พิธีกรรมดำเนินได้ จนสำเร็จ ซึ่งพวกเราทุกคนต้องขออนุโมทนาต่อ เด็กๆ รุ่นหลัง คือ คณะรวมใจภักดิ์ ที่ต้องฝึกซ้อม รำกันทั้ง ๓ ชุด คือ ชุดดาวดึงส์ และ ชุดสุโขทัย

ส่วนชุดต่อไปนี้ อันเป็นชุดสุดท้าย ก็จะเป็น ผู้ชายกันบ้าง ซึ่งมาในมาดของ ชุดนักรบแต่กว่า จะออกมาได้นั้น ต้องรอผู้จัดกล่าวถวายราชสดุดี ก่อน โดยมี “เพลงไทยเดิม” คลอตามไปด้วย...



คำบรรยายถวายราชสดุดี


“...การตั้งสุโขทัยเป็นราชธานีนี้ ปรากฏว่า ท่านผู้ตั้งริเริ่มกันมานาน เพราะเราตกอยู่ภายใต้ อำนาจขอมเสียนานปี การจะกอบกู้อิสรภาพขึ้น มานี้เป็นของยาก แล้วไอ้เจ้าขอมนี้ก็มีสันดานหยาบ มันกดขี่ทุกอย่าง เพียงแต่จะกินน้ำ มันอยู่ที่ลพบุรี น้ำก็มีมากกว่าสุโขทัย แต่มันก็เกณฑ์เราเข็นไปให้ มันกิน มันถือว่าเราเป็นทาสมัน ถือว่าเป็นนายของเรา

มันข่มเหงกดขี่เราทุกอย่าง บังคับให้พระร่วงเจ้า เอาน้ำมาส่งมันที่ ลพบุรี ทรัพย์สินอะไรที่เรามี มันอยากจะได้ ก็ต้องให้มัน ลูกสาว หลานสาว ลูกใคร เมียใคร สวยๆ ขอมอยากได้ บอกว่าเอามาให้ฉัน ก็ต้อง แบกเอาไปให้มัน นี่..ความเจ็บช้ำน้ำใจของคน ไทยที่ตกอยู่ใต้ผู้อื่น คนสุโขทัยสมัยนั้น จึงไม่ค่อย สุขโขนัก เพราะว่าอยู่ในสภาพทุกข์ยากลำบากกัน

ในเวลานั้นเรามีคนไทยประมาณแสนเศษๆ แล้วก็อยู่กระจัดกระจายกันออกไป แต่ที่ทรงความเป็นไทยอยู่ได้ เพราะว่ามีคุณธรรมตามที่พระ พุทธเจ้าทรงสั่งสอน คือ สังคหวัตถุ กับการมั่งคั่ง ของตระกูล

เราจะเห็นว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ กับ พ่อขุนผาเมือง เวลานั้นขอมตั้งให้เป็นพ่อเมือง ควบคุมคนไทย แต่ท่านก็ไม่ได้เมาอำนาจที่ขอม มอบให้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “พ่อขุนผาเมือง” ขอม ยกลูกสาวให้ สถาปนาท่านเป็นลูกเขย หวังจะได้ กำลังปัญญาความสามารถของท่านไว้ปราบคนไทย

แต่ท่านทั้งสองก็คิดกันอยู่เสมอว่า ถ้าเรา จะเป็นเจ้าเป็นนายควบคุมคนไทย ก็คือเป็นหัว หน้าทาสรับใช้ของขอมนั่นเอง มันไม่มีความสุข พี่น้องชาวไทยทั้งหมดจะมีแต่ความทุกข์ ต้องกิน น้ำตาต่างข้าว หวานอมขมกลืนกันตลอดเวลา...”

ในขณะที่บรรยายถึงความรันทดของคน ไทยที่ตกเป็นทาสขอมนั้น คลอเคล้ากับเสียงเพลง “ธรณีกันแสง” ที่บรรเลงอย่างแผ่วเบาแต่แสนเศร้าสะท้อนให้คนไทยสมัยนี้ได้จดจำไว้ พอถึงตอนนี้ ได้มี ชุดนักรบ ได้เริ่มออกมาข้างหน้า ต่างพากัน ถวายบังคมก่อนแล้วจึงร่ายรำเพลงดาบคู่ เพื่อให้ ดูสมกับเรื่องราวที่ผู้จัดจะได้บรรยายต่อไปอีกว่า

“...ท่านจึงได้คิดรวบรวมกำลังคนไทย ทั้งหมด สอนให้รู้จักความสามัคคี สอนให้รู้จัก แบ่งปันซึ่งกันและกัน ไม่เอาคนเลวๆ เข้ามาบริหาร ประเทศ ไม่เอามาเป็นเจ้าเมือง นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ไม่เอาคนเลวๆ เข้ามาเป็นพ่อบ้านอบรมให้ทุกคนอยู่ในศีลธรรม และเคารพ ระเบียบประเพณีและกฎหมาย

คนไทยในสมัยนั้น อาศัยพ่อขุนผาเมืองกับพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ร่วมกันแนะนำสั่งสอนคนไทยให้อยู่ในกฎตาม ที่กล่าวมาแล้ว และได้มีความสามัคคี มีความ พร้อมเพรียงซึ่งกันและกัน ร่วมกันสร้างความดี

เวลาขอมมาก็พูดจาดีมีความอ่อนน้อมไม่ ให้เขาสะดุดใจ แต่เบื้องหลังนั้นไซร้ เต็มไปด้วย ความเข้มแข็ง เต็มไปด้วยความเด็ดเดี่ยว เมื่อขอม เผลอก็ฝึกอาวุธ และสะสมอาวุธกันในป่า สั่งสอน วิชาการ ทั้งการปกครอง การเกษตร สาธารณสุข การคลัง สั่งสอนกันหมดทุกอย่าง สอนให้รู้จัก วิธีการยังชีพตนเองในป่าทึบ เมื่อเวลาที่รบกับข้าศึก ถ้าบังเอิญเพลี่ยงพล้ำต้องหลบเข้าป่า จะเลี้ยงตัว กันได้ยังไง


ฉะนั้น คนไทยจึงพากเพียรฝึกฝนการรบหวังจะสยบขอมให้จงได้ จึงมีความชำนาญยุทธวิธีในการรบ ทั้งบนหลังม้า บนหลังช้าง ตั้งเป็นหมวด เป็นหมู่กันไว้...”

ตามภาพจะเห็น “คณะรวมใจภักดิ์” กำลังร่ายรำดาบ เพื่อสมมุติเหตุการณ์ในตอนที่ฝึกซ้อม เพลงอาวุธไว้ต่อสู้กับขอม (ส่วนการซ้อมรำในงาน นี้ ก็ได้เริ่มต้นจาก “เอ้” มาช่วยฝึกสอนให้) เป็น การสร้างภาพพจน์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้รับชมทั้งหลาย

ขณะนั้น จะได้ยินเสียงดาบกระทบกัน เสียงเท้ากระทบพื้น ไปตามจังหวะของเพลงปี่มวย ที่ดังก้องอย่างเร้าใจ ท่าทางที่ร่ายรำก็ทะมัดทะแมงหันซ้ายหันขวาไปมาอย่างพร้อมเพรียงกัน จนได้ รับเสียงปรบมืออย่างท่วมท้น เมื่อเพลงดาบได้ ยุติลง ผู้จัดจึงบรรยายขยายความต่อไปอีกว่า

“สำหรับพระก็มี พ่อขุนศรีเมืองมาน ที่ได้ บวชเมื่อแก่ ซึ่งเป็นอาของพ่อขุนผาเมือง ได้ร่วมมือ กับ พ่อขุนนาวนำถม สองท่านนี้เป็นเพื่อนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ่อขุนศรีเมืองมาน อายุอ่อนกว่า จึงได้เรียกพ่อขุนนาวนำถมว่า “พี่แดง” เรียกติด ปากมาตั้งแต่เด็ก..รักใคร่กันมาก


หลวงพ่อได้เล่าว่า ทั้งสองผู้เฒ่านี้เป็นคน วางแผนการณ์ ก่อนที่จะกู้ชาติไทยให้พ้นจากการ เป็นทาสของขอม จนกระทั่งอบรมสั่งสอนพ่อขุน ผาเมืองและพ่อขุนศรีอินทราทิตย์พร้อมไปด้วย คณะ ให้ทุกคนเป็นคนมีจริยาเรียบร้อย มีระเบียบ วินัย

เมื่อทั้งสองท่านนี้ใหญ่โตขึ้นมาแล้วก็เจริญรอยตาม ตั้งคนไทยเป็นปึกแผ่น มีความสามัคคี เหนียวแน่น มีความสามารถในการที่จะปกครอง ตนเอง แล้วมีกำลังรบแกร่งกล้าพอ ฉะนั้น สองพ่อขุนจึงได้ตั้งตนเป็นอิสรภาพปราบปรามขอม ไม่ยอมขึ้นด้วย

ขอมยกทัพขึ้นมา จะมีกำลังมากเท่าใดก็ดี เพราะอาศัยความสามัคคีประกอบไปด้วยปัญญาดี มีความฉลาดของคนไทยสมัยนั้น ซึ่งมีพ่อขุนทั้งสองเป็นหัวหน้า ขับไล่เข่นฆ่าบรรดาขอมให้พินาศ แตกพ่ายหนีไป...”

ครั้นเสียงบรรยายได้สิ้นสุดลง พลันก็มี เสียงเพลงปลุกใจดังกระหึ่มขึ้น นั่นก็คือเพลง ทหารพระนเรศวร แต่วันนั้นได้พิมพ์เนื้อร้องแจกไปว่า ทหารพระร่วงเจ้า เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย หวังว่าผู้อ่านคงจะจำเนื้อร้องได้ จะมีคำว่า...

“เปรี้ยง ๆ ดังเสียงฟ้าฟาด โครม ๆ พินาศ พังสลอน เปรี้ยง ๆ ลูกปืนเด็นกระดอน โครม ๆ ดัสกรกระเด็นไกล...”

พวกเราจึงเปล่งเสียงร้องตามไปด้วยความคึกคะนอง เหมือนกับได้ออกสงครามในครั้งนั้นด้วย สภาพเหตุการณ์ตอนนั้นจึงถูกสร้างขึ้นทันที จากเหล่า นักรบ ชุดเดิม ที่ได้ออกมาแสดงบทบาท ด้วยการถืออาวุธเข้าฟาดฟันกันจริงจัง ต่างผลัดกัน รุกผลัดกันรับ

มีแต่เสียงดาบกระทบกัน ผู้ชมบาง คนเห็นแล้วก็หัวเราะ เพราะอาจจะมีท่าล้มลงไปให้ ดูบ้าง แต่คงจะเป็นท่าที่ไม่ได้ซ้อมไว้ก็ได้นะในระหว่างที่ผู้แสดงต่อสู้กัน ผู้ชนะคง จะเป็นคนไทย ส่วนคนที่ล้มลงไปนอนได้แก่พวก ขอม เป็นการสมมุติเรื่องราวให้สมจริงสมจัง เพื่อให้เข้ากับเหตุการณ์ที่กำลังพรรณนาอีกว่า

“ตามศิลาจารึกได้เล่าถึงการทำศึกสงคราม ในครั้งนั้นว่า กองทัพทั้งสองได้แยกกัน โดยพ่อ ขุนศรีอินทราทิตย์ยกพลเข้าตีขอม ได้เมืองศรีสัชนาลัยกลับคืนมา ฝ่ายพ่อขุนผาเมืองได้เมือง บางขลง คือพิษณุโลก แล้วมารวมกำลังกันก่อน จะเข้าโจมตีเมืองสุโขทัย

พ่อขุนทั้งสองได้ทรงปรึกษาบนคอช้างตัว เดียวกัน ชื่อ “พญาคชหัตถี” แล้วแยกเข้าตีคนละ ด้าน ได้กระทำยุทธหัตถีกับ ขุนขอมสมาดโขลญลำพง จนได้รับชัยชนะในที่สุด...”

แด่..ทหารหาญในสมรภูมิ


ในสมรภูมิใดก็ตาม เมื่อเหล่าทหารหาญ ออกทำศึกสงคราม ต่างก็มีจิตใจฮึกเหิมคึกคะนอง ไม่หวั่นไหวต่อมรณภัย หวังที่จะรักษาชาติอธิปไตย ไว้ตลอดไป จำจะต้องย่ำยีต่ออริราชศัตรูผู้รุกราน แต่การทำสงครามในครั้งนั้น หรือแต่ละครั้ง ย่อม เกิดการสูญเสียขึ้น

ถึงแม้จะไม่มีความโกรธแค้นในเรื่องส่วนตัวก็ตาม แต่ด้วยความรักและหวงแหนผืนแผ่นดิน อันเสมือนเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของตน จำต้อง เอาชีวิตเข้าแลก เพื่อปลดปล่อยความเป็นทาสจาก ขอม จนคนไทยได้รับอิสรภาพในที่สุด

ในวโรกาสนี้ ขอให้ทุกท่านยืนไว้อาลัยแด่ บรรพชนทั้งหลาย เพื่อน้อมจิตรำลึกถึงความกล้า หาญ และความเสียสละอย่างใหญ่หลวง ที่ได้ยอม พลีชีวิตเพื่อผืนแผ่นดินไทย หวังลูกหลานไทยให้ เป็นสุข จึงขออุทิศเพลงนี้ เพื่อเป็นเกียรติเป็นศักดิ์ ศรี เพื่อเป็นการสดุดีวีรกรรมอันกล้าหาญ ในการ กู้ชาติอธิปไตยให้คืนกลับมาอีกครั้ง

ด้วยการอุทิศชีวิตและเลือดเนื้อของท่าน จนชาวไทยได้เป็นเอกราชตราบเท่าทุกวันนี้ แม้ร่างกายจะตายทับถมพื้นปฐพี ก็ไม่ยอมให้ใครมา รุกราน สู้อุตส่าห์หวงแหนไว้ให้ลูกหลาน จึงขอให้ พ่อแม่ทุกท่านจงนอนเป็นสุขๆ เถิด ต่อไปนี้ลูกหลาน ไทยจะไม่ยอมเสียแผ่นดินให้ใครเป็นอันขาด..!

และแล้วเสียงเพลง... “แด่ทหารหาญใน สมรภูมิ” ก็ดังขึ้น ท่ามกลางความเศร้าสลด ที่พวก เราอดที่จะระลึกถึงมิได้ ทุกคนจึงลุกขึ้นยืน แล้ว ได้ร้องเพลงและร้องไห้ตามกันไป คือมือหนึ่ง ถือกระดาษเนื้อร้อง อีกมือหนึ่งต้องคอยซับน้ำตา ไปด้วย จากเนื้อร้องที่กระตุ้นใจไว้ว่า...

“..ดวงดาวสกาวหม่น อัสสุชลลิหลั่งไหลอาบร่างนักรบไทย ในพนาแสนอาดูร เจ็บช้ำระกำ จิต มิเคยคิดจะสิ้นสูญ ประวัติศาสตร์จะเพิ่มพูน วีรกรรมอันอำไพ

เพื่อนแก้วผู้แกล้วกล้า ทอดกายา ณ แดน ไกล ต้องเหน็บหนาวร้าวฤทัย อย่างโดดเดี่ยว และเดียวดาย รอบข้างมีร่างเพื่อน นอนกล่นเกลื่อน ชีวาวาย กอดปืนไว้แนบกาย ที่สาหัสด้วยดัสกร เพื่อนถูกบุกกระหน่ำ อริล่ำทั่วสิงขร เพราะหวงแหน แดนมารดร จึงมอบชีพเป็นชาติพลี

เพื่อนสู้ด้วยมือเปล่า จู่โจมเข้ารุกราวี กระสุนหมดแต่ยังมี สติมั่นในดวงมาน มิยอมให้ธง ชาติใด ปลิวไสวบนทัพฐาน แม้ร่างจะแหลกลาน แต่ไตรรงค์คงยั่งยืน ขอเทิดเพื่อนร่วมตาย ด้วย อาลัยสุดจักฝืน หากจำต้องกล้ำกลืน เพื่อหน้าที่ อันจีรัง

จำไว้..ผู้รุกราน จะต่อต้านสุดกำลัง ถ้า ชีพเราคงยัง ขอแลกชีพกับไพรี หยาดเลือดทุก หยาดหยด ที่หลั่งรดปฐพี จะชดใช้ในครานี้ จน ต้องปลาตและพินาศไป จะหาญสู้กับทรชน ผู้คิด ปล้นอธิปไตย ไล่ออกนอกแดนไทย เพื่อวิญญาณ ทหารเรา ขอเชิญทหารกล้า จงนิทรายังที่เนา หลับ เถิดอย่าหมองเศร้า จะปกป้องผองไผท...”

◄ll กลับสู่สารบัญ



06.

พ่อขุนผาเมืองผู้เสียสละ


หลังจากสูญเสียต่อผู้เป็นที่รัก คือเหล่า ทหารกล้าทั้งหลาย ที่จะต้องพลัดพรากจากลูก จากเมียอัน เป็นที่รัก จากพ่อจากแม่อันเป็นที่เคารพ ย่อมนำความเศร้าโศกเสียใจให้แก่ผู้อยู่เบื้องหลัง

แต่เหตุการณ์ในครั้งนั้น ถึงแม้จะทุกข์ เพราะความพลัดพรากจากไป แต่ชาวสุโขทัยก็ดีใจ เพราะได้รับชัยชนะ จึงได้จัด งานฉลองชัย ขึ้นในครั้งกระนั้น แล้วอภิเษก พ่อขุนบางกลางท่าว หรือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ แรกที่กู้ชาติจากขอม เพื่อปกครองบ้านเมืองชาว ไทยต่อไป ทั้งนี้ ด้วยน้ำใจอันเสียสละของผู้เป็นทั้ง เพื่อนและเป็นทั้งน้องเขย คือ พ่อขุนผาเมือง

จึงขอสดุดีวีรกรรมของทหารไทย และ พ่อขุนทั้งสอง โดยเฉพาะ พ่อขุนผาเมือง ผู้มีน้ำพระทัยเสียสละอย่างใหญ่หลวง ไม่เห็นแก่อำนาจราชศักดิ์ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากกษัตริย์ขอม และ มอบพระธิดาชื่อว่า สิงขรมหาเทวี ให้เป็นมเหสี ทั้งได้รับพระแสงขรรค์ไชยศรีให้มีอำนาจเด็ดขาด

อันพระนาม “ศรีอินทราทิตย์” นั้น เดิมเป็น พระนามเกียรติยศของพ่อขุนผาเมือง (ขุนฟ้าเมืองราช) แห่งเมืองราชบุรี ผู้เป็นศรี ผู้เป็นตัวอย่างที่ดี ของคนไทยสมัยนี้ มีใครบ้างที่จะทำ ตามท่านได้ ที่ไม่เห็นแก่ความมักใหญ่ใฝ่สูง โดย เห็นแก่มิตรภาพ เห็นแก่ประชาราษฎร์ป็นสำคัญ

ต่อมาท่านก็ไปช่วยพระสหายตั้งคุมเชิงที่ เชียงแสน เพื่อระวังภัยจากศัตรูทางด้านเหนือสุด เพื่อปกป้องคุ้มครองแผ่นดินผืนนี้ ให้เป็น..แผ่นดินของเรา..เฉพาะชาวไทยที่เป็น “ไท” ทั้งกายและใจ เท่านั้น ครั้นแล้วเสียงเพลง... “แผ่นดินของเรา” ก็ดังกระหึ่มขึ้น เป็นการปลุกใจให้รู้ค่าของแผ่นดิน

“แผ่นดิน..ของเรา ย่อมเป็นของเราชาติ ไทย ใกล้ไกล..ต้องเป็นของเราชาติไทย เลือด ไทยไหลโลมลงดิน ใครหมิ่นศักดิ์ศรีคนไทย ต้อง มีวันสักวัน..ให้ไทยล้างใจอัปรีย์

แผ่นดิน..ของเรา ย่อมเป็นของเราอยู่ดี ที่ ใด..ต้องเป็นของไทยอยู่ดี ถูกเชือดเฉือนไปวันใด เราย่อมหวั่นไหวชีวี ปฐพีแหลมทอง..ช่วยกันคุ้ม ครองป้องกัน สักวันต้องคืนกลับมา มั่นใจเถิดหนา ขอพลี..ชีวารักษาชาติไทย ชาติไทยคงฟ้า เลือด ทาแผ่นดิน...”

ต่อไปนี้ขอให้พวกเราจงออกมาร่ายรำ เป็น การเฉลิมฉลองชัยชนะเพื่อ “เผ่าไทย” ของเรา...

“พวกเราเผ่าไทย เราพร้อมใจกันสามัคคี ชาติไทยเรานี้ จะได้ทวีกำลังยิ่งใหญ่ อย่าเกลียด อย่าโกรธกันเลย เผ่าไทยเราเอ๋ยมาร่วมน้ำใจ ชาติ ไทยไม่เป็นของใคร รุ่นเราเผ่าไทยร่วมใจครอบ ครอง”


ในขณะที่เสียงเพลง “เผ่าไทย” ดังขึ้นต่อ จากเพลง “แผ่นดินของเรา” ก็ได้มีพวกเรา หลายคน เดินออกมาร่ายรำไปตามจังหวะรำวง ซึ่งมีคณะ อ.วิชชุ หลายคน ต้องเข้าไปโค้งต่อผู้ที่ ยังไม่กล้าจะออกมารำ จนกระทั่งมีคนออกมามาก มาย ช่วยให้เกิดบรรยากาศแห่งความสามัคคี

ในขณะนั้น พลุพิธี ๙ นัด ก็ได้ถูกจุดขึ้น ด้วยเสียงอันดัง พร้อมทั้งจุด พลุควันสีต่าง ๆ พวยพุ่งไปรอบพระบรมรูปพ่อขุนฯ เพื่อเป็นการ เฉลิมฉลองให้ถูกต้องตามโบราณประเพณี โดยมีพวกเราเดินรำไปรอบๆ ตามจังหวะเสียงเพลง...

“เราพร้อมใจกันให้แน่นเหนียว ผูกพันร่วม กันใจเดียว อย่าแลอย่าเหลียวในความหม่นหมอง ช่วยกันประคับประคอง สร้างไทยเมืองทอง ให้ลูก หลานไทย เป็นขวัญใจ พวกเราตายไป ลูกไทย หลานไทยคงสดุดี...”

เมื่อเพลงจบลงไปแล้ว หลายคนรู้สึกเสียดายที่เพลงจบลงไปเร็ว แต่ความจริงบางคนออก ช้าไปก็ได้ จึงรู้สึกว่าเพลงจบเร็วเกินไป แต่ไม่ต้อง เสียใจ เพราะยังมีเพลงไทยเดิมอีกเพลงหนึ่ง ที่ไม่ ได้เตรียมไว้เลย บังเอิญมีคนนำเทปเพลงติดมา ด้วย จึงช่วยให้พวกเราได้ฟ้อนรำเป็นเพลงสุดท้าย เพื่อถวายแด่ “ท่านแม่ย่า” โดยเฉพาะ นั่นก็คือ..เพลง.. “เทพบันเทิง”

คราวนี้จำต้องเปลี่ยนท่ารำด้วยลีลาที่แตก ต่างกันไป บางคนหลับตารำก็มี ด้วยท่าทางอ่อน ช้อยงดงาม ท่ามกลางเสียงเพลง..เสียงไชโย.. เสียงพลุ..ทำให้ผู้คนที่ยืนมองดูอยู่ตอนท้าย ถึงกับบอกว่าคล้ายกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง งานพิธีตัดไม้ข่มนาม ในครั้งนี้ จึงจบสิ้นลงด้วยดี


เมื่อเสียงเพลงจบลงแล้ว ทุกคนก็ถวาย บังคมด้วยความเคารพ เพื่อเดินทางไปที่จังหวัดน่าน เพราะการจัดงานในคราวนี้ เราเสียเวลาไป ๒ ชั่วโมง จากกำหนดการเดิม เนื่องจากรถเสีย จึง ทำให้พิธีกรรมต้องเร่งรีบไปบ้าง แต่ก็สามารถผ่าน พ้นไปได้ในที่สุด

ทั้งนี้ อาศัยความร่วมมือร่วมใจ จากเจ้า หน้าที่จัดงานก็ดี ผู้ร่วมเดินทางก็ดี ตลอดถึงลูก หลานหลวงพ่อที่สุโขทัยทุกคน การทำพิธีที่ วัดมหาธาตุ จึงเสร็จสิ้นใกล้เวลาฉันเพล จากกำหนดการเดิมจะต้องทำพิธีที่ ลานพ่อขุนฯ แล้วจึงจะฉัน

เป็นอันว่า เสร็จงานที่สุโขทัยแล้ว พวกเราก็ลาญาติโยมที่มาร่วมงาน เพราะบางท่านก็มิได้ติดตามไปที่น่านด้วย แล้วทยอยกันเดินออกมาขึ้นรถ ที่จอดอยู่ด้านหน้าอุทยานฯ บ้างก็ยืนถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก ซึ่งกว่าจะออกรถเป็นเวลา ๑๔.๐๐ น. ไปแล้ว.

◄ll กลับสู่สารบัญ



webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 10/10/10 at 10:02 Reply With Quote


07.

พระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน

เชิญคลิกชม "คลิปวีดีโอ ตอนที่ ๒" ได้ที่นี่


ขบวนรถทั้งหมดได้เดินทางผ่านอุตรดิตถ์ แล้วจอดแวะเติมน้ำมันที่จังหวัดแพร่ ตอนนั้นยังไม่ ได้เปลี่ยนเครื่องแต่งกาย เพราะต้องไปทำพิธีต่อที่ จังหวัดน่าน บางคนเดินลงมาจากรถ จึงได้รับการเหลียวมองด้วยความประหลาดใจจากผู้ที่พบเห็น

ขณะนั้นได้มีรถนำขบวนจาก จ.น่าน มารับระหว่างทาง ซึ่งมี จ่าสันติชัย พร้อมด้วย คุณธนู ปรากฏว่าไปถึงจุดหมายปลายทางประมาณ ๑ ทุ่ม เศษ โดยมีลูกศิษย์หลวงพ่อที่น่านรอต้อนรับอยู่ หลายคน เช่น คุณไพบูลย์ และ จ่าพิภพ เป็นต้น

สำหรับทาง วัดพระธาตุแช่แห้ง ได้จัดเตรียมอาหารเย็นไว้ต้อนรับ แต่ความเป็นจริงไม่ใช่อาหารเย็น แต่เป็นอาหารค่ำ ทุกคนอาจจะเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ากันตลอดทั้งวัน ชุดที่สวมใส่ อาจจะสร้างความลำบากใจพอสมควร

แต่เพื่อความเรียบร้อยของงาน ทุกคนอดทนได้เสมอ ไม่บ่น ไม่ย่อท้อ ไม่หงุดหงิดรำคาญ ไม่แสดงออกอาการใดๆ ทั้งสิ้น ทุกคนมีน้ำใจเสียสละ เพื่องานของพระพุทธศาสนาและชาติบ้านเมือง จริงๆ เรื่องส่วนตัวจึงไม่มีความสำคัญเท่ากับเรื่องของส่วนรวม ด้วยกำลังใจเช่นนี้ จะทำให้บารมีของ ท่านมารวมเต็มครบถ้วนทั้ง ๓๐ ทัศ โดยเร็วพลัน

เรื่องการจัดเลี้ยงต้อนรับ นอกจากทางวัด จัดอาหารเย็น โดยคณะชาวบ้านแช่แห้งแล้ว ก็ยังมี คุณพ่อสมศักดิ์-คุณแม่อัมพร ปานโชติ พร้อมด้วย คณะญาติพี่น้อง และคณะแม่ครัวบ้านสวนหอม ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดถวายน้ำปานะแด่พระสงฆ์ และ จัดเลี้ยงข้าวต้มในวันรุ่งขึ้น แก่คณะศิษยานุศิษย์ของหลวงพ่อทั้งหมด แล้วยังมีจิตศรัทธาถวายเงิน บำรุงวัดต่างๆ รวม ๕ วัด เป็นเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท

บรรยากาศในค่ำคืนวันที่ ๑๔ ก.พ.๔๑ นั้น หลังจากเดินทางมาจากสุโขทัย อากาศอาจจะร้อน สักหน่อย อีก ๕ ชั่วโมงต่อมาก็มาถึงจังหวัดน่าน อากาศก็เริ่มเปลี่ยนไป ลมหนาวกลับพัดจนเย็นยะเยือก คนที่นี่บอกว่าอากาศเพิ่งจะเย็นก่อนที่เรา จะมา ๒ วันเท่านั้น เลยทำให้หลายคนไม่ต้องอาบน้ำให้เปลืองน้ำ เพราะมาถึงที่นี่จึงได้พบกับคำว่า “แช่แห้ง” จริง ๆ แต่พระที่มาถึงท่านก็สรงน้ำกันเลย.. น้ำเย็นเฉียบ!

เมื่อทุกท่านทานอาหารกันเสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่จัดรถ, จัดสถานที่, จัดบายศรี ที่ได้เดินทาง ล่วงหน้ามาก่อน เพื่อเตรียมการไว้ล่วงหน้า ทุกคน จึงยอมเสียสละทุกอย่าง ต้องกินอาหารกันบนรถ เพื่อประหยัดเวลาไว้สำหรับเตรียมงาน เมื่อคณะขบวนใหญ่ไปถึง ก็ไม่ต้องรอคอยให้เสียเวลา สามารถจัดงานพิธีได้ทันที

บรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย การที่ท่านเดินทางไปกับ “คณะตามรอยพระพุทธบาท” ทุกเที่ยวนั้น ท่านจะสังเกตได้ว่า แม้จะมีคนมาก เพียงไรก็ตาม งานก็ไม่ขลุกขลัก..ไม่วุ่นวาย

นั่นเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ทุกคน ต่างก็ทำงานด้วยความเสียสละ ถึงแม้จะไม่เอ่ยชื่อเสียงเรียงนามออกมา ก็ตาม แต่เมื่อเวลาจัดงานคราวไร ท่านจะไม่เห็น ในขณะที่เขาวุ่นวายกับการเตรียมงานทุกอย่าง เพราะเมื่อท่านไปถึงเขาก็จัดการเรียบร้อยแล้ว

ดังที่งานวัดพระธาตุแช่แห้งก็เช่นกัน การจัดโต๊ะบายศรี การจัดเก้าอี้สำหรับให้พระนั่ง และ ญาติโยมที่จะเข้ามาทำบุญได้โดยสะดวก จนได้เวลาประมาณ ๒ ทุ่มเศษ ทุกคนได้มารวมกันที่ หน้าลานพระธาตุ โดยการร่วมทำบุญทอดผ้าป่ากับ หลวงพี่โอ พร้อมทั้งรับ พระผงสมเด็จ ไว้เป็นที่ระลึก

ซึ่ง คณะโคราช เป็นผู้จัดสร้าง โดยได้รับอนุญาตจาก หลวงพ่อดาบส แล้ว พร้อมกันนี้ พระวันชัย ก็ได้มอบรูปภาพ พระธาตุแช่แห้ง ให้อีกด้วย

ในขณะนั้นอากาศกำลังเย็นสบาย ร่างกายจึงเริ่มหายอ่อนเพลีย พอมีเรี่ยวมีแรงกันต่อไป จนกระทั่งญาติโยมทำบุญกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว คณะถาวร ได้นับยอดเงินที่ทุกท่านได้บำเพ็ญกุศล เพื่อร่วมสร้างศาลาการเปรียญที่ค้างอยู่ และเพื่อบูรณะพระเจดีย์ เป็นเงินทั้งสิ้น ๓๑๕,๕๐๐ บาท

แต่ก่อนที่จะถวายผ้าป่ากันนั้น ผู้จัดได้ออกมาเล่าประวัติ “พระธาตุแช่แห้ง” ก่อน หลังจากนั้น จึงจะทำพิธีบวงสรวงต่อไป



ประวัติพระธาตุแช่แห้ง

ตามตำนานพระธาตุแช่แห้งได้บันทึกไว้ว่า เมื่อสมเด็จพระสัพพัญญูพุทธเจ้ายังทรงโปรดบรรดาพุทธบริษัทอยู่ ในครั้งนั้นองค์สมเด็จพระ บรมครูทรงมีพระชนมายุ ๖๐ พรรษา ได้เสด็จมา ถึง เมืองนันทบุรี พร้อมกับพระอานนท์ พระองค์ทรงประทับยืนดู ห้วยใคร้ (น้ำน่าน) เห็นมีน้ำลึก ใสบริสุทธ์ มองเห็นถึงทราย มีปลาใหญ่แหวกว่าย อยู่หลายตัว เห็นมีดอนทรายเป็นท่ากว้างใหญ่ จึงมีพระประสงค์จะลงสรงน้ำ

ในเวลานั้น ยังมีท้าวพระยาองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระยามลราช เสวยราชสมบัติอยู่ใน เมืองนันทบุรี เสด็จมากับพระมเหสีอันมีนามว่า พระนางสัณฐมิต ขณะนั้นชาวเมืองทั้งหลายจึง เข้าไปกราบทูลให้ทรงทราบ แต่เขาก็ยังไม่แน่ใจว่า จะเป็นพระพุทธเจ้าหรือไม่ พระราชาจึงเข้าไปกราบทูลถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสว่า “เราได้ชื่อว่าตถาคต คือเป็นพระพุทธเจ้า เป็นครูแก่โลกทั้งสามนั้น”

พระบาทท้าวเธอได้สดับดังนั้น ก็มีความปีติยินดีมากนัก จึงเอาผ้าขาวถวายแด่พระพุทธองค์ สมเด็จพระบรมศาสดาก็รับเอาผ้าขาวผืน นั้นด้วยพระมหากรุณา แล้วลงสรงสนานพระวรกายน้ำห้วยใคร้ แล้วเปลี่ยนผ้าผืนนั้นให้แก่พระอานนท์ พระเถระก็รับเอาผ้าไปบิดแล้วตาก บนหินก้อนหนึ่ง อันมีบนฝั่งแม่น้ำห้วยใคร้นั้น

ส่วนว่าพระพุทธเจ้าก็ยืนประทับอยู่ใต้ต้นมะเดื่อ เมื่อพระอานนท์ไปเก็บผ้าอาบน้ำนั้นแห้ง ก็กลับกลายเป็นผ้าทองคำไป รัศมีผ้าทองคำก็ส่อง ไปทั่วในป่าไม้ไผ่ ดูเหลืองอร่ามไปทั่วบริเวณนั้น แล้วจึงทรงมอบผ้าผืนนั้นให้แก่พระยามลราช

พระบาทท้าวเธอทรงเห็นผ้าขาวเปลี่ยนเป็นผ้าทองคำได้ จนเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก จึงทรงโสมนัส ตรัสชื่นชมยินดีเป็นอย่างยิ่ง แล้วทรงรับสั่งกับ พระราชเทวีว่า
“ดูก่อนน้องหญิง พระพุทธเจ้าเสด็จมาถึง เขตเมืองเรา พระน้องนางจงเตรียมจัดอาสนะเป็นที่ฉันภัตตาหารเถิด”

เมื่อพระนางได้สดับดังนี้แล้ว ก็มีพระทัยยินดีในบุญกุศล หวังเสวยผลในสวรรค์ชั้นฟ้า เช่นกัน จึงได้ปูลาดอาสนะจนเป็นที่เรียบร้อย แต่ก็ใช้เวลาอยู่นานกว่าจะเสร็จ จนพระราชาต้อง ตรัสให้รีบเร่งเกรงว่าจะไม่ทันเวลา จึงอาราธนาพระศาสดาประทับนั่งบนอาสนะนั้น แล้วได้ถวายภัตตาหารทันที

เมื่อองค์สมเด็จพระชินสีห์ทำภัตกิจแล้ว จึงเล็งดูด้วยอำนาจพระพุทธญาณทรงทราบว่าต่อไป ภายหน้า เมืองนันทบุรีจักเป็นที่ประดิษฐานเส้นพระเกศาธาตุ จึงมีพระพุทธวาจาตรัสกับพระราชาว่า

“ดูก่อน มหาบพิตรพระราชสมภาร การที่ตถาคตเสด็จมาถึง ณ ทีนี้เป็นแห่งแรก มาลงสรงน้ำที่วังน้ำใสสะอาด แล้วนั่งอยู่ริมฝั่งน้ำด้าน ทิศตะวันตกนี้ อันเป็นที่พระนางเทวีจัดข้าวน้ำ มาถวาย แต่ก็ใช้เวลานานนั้น อันนี้เป็นบุพนิมิตของเมือง ต่อไปภายหน้าเมืองนี้จักได้ชื่อว่า “เมืองนาน” จะเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองสวยงาม ด้วยบ้านเล็กเมืองน้อย”

องค์สมเด็จพระพิชิตมารตรัสดังนี้แล้ว เห็นว่าบ้านเมืองนี้จะรักษาพระพุทธศาสนาไว้ครบ ถ้วน ๕ พันปี จึงทรงยกพระหัตถ์ข้างขวาขึ้นลูบพระเศียร พระเกศาเส้นหนึ่งได้หลุดติดพระหัตถ์ มา แล้วทรงประทานให้แก่พระอานนท์พระเถระ รับเอาพระเกศาเส้นนั้นแล้ว จึงมอบให้แก่พระยามลราช

พระราชาทรงมีพระทัยปีติยินดีเป็นยิ่งนัก จึงโปรดให้ สร้างโกศแก้วมณี ส่องภายในมีสีเขียว ใสเหมือนปีกแมลงภู่ เป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุ แล้วนำโกศแก้วมณีนั้นใส่ไว้ในน้ำต้นคณฑีมีน้ำหนัก ๓ กำ ปิดปากน้ำต้นให้ดีแล้วคาดด้วยไหมทองคำ จึงได้ช่วยกันอัญเชิญมาสู่ภูเพียงแช่แห้ง แล้วก็ขุดหลุมลึก ๓๐ วา กว้างก็ ๓๐ วา เท่ากัน แล้วบรรจุเส้นพระเกศาธาตุไว้ในหลุมนั้น

พระยามลราชทรงมีพระราชศรัทธาหวังความสุขในภพหน้า คือเมืองฟ้าและนิพพาน จึงทรง สละพระราชทรัพย์ ๓ แสน เพื่อบูชาพระเกศาธาตุ ส่วนพระนางเทวีก็ได้ถวายไว้ ๓ แสนเช่นกัน ส่วน บรรดาชาวเมืองทั้งหลาย ต่างก็มีใจศรัทธาจึง ถวายเงินไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อบูชาพระเกศาธาตุเจ้า

ฝ่ายท้าวสักกเทวราชจึงให้ยนต์จักรไว้ คอยป้องกันภัย เพื่อรักษาพระเกศาธาตุให้ครบ ๕ พันปี แล้วท้าวพระยาจึงได้โปรดให้ก่ออิฐครอบ ตั้งเป็นเจดีย์ไว้ท่ามกลางหลุมสูง ๓ ศอก แล้วก็ ถมดินขึ้นมาเพียงผิวดินดังเดิม

เมื่อนั้นองค์สมเด็จพระบรมศาสดาจึง ตรัสซ้ำทำนายไว้อีกว่า “ครั้นตถาคตนิพพานไปแล้ว จงเอาพระธาตุกระดูกข้อมือข้างซ้ายของตถาคต มาบรรจุไว้กับพระเกศาธาตุในที่นี้เถิด ภายหน้าเมืองนี้ ก็จักรุ่งเรืองงามเสมอเมืองฟ้านั้นแล...”

ดังนี้แล้ว พระพุทธองค์จึงทรงเสด็จกลับ ไปเมืองแพร่ เมืองสร้อย เมืองลี้ เมืองฮอด ตามลำดับจนถึงเมืองสาวัตถี จนกระทั่งพระองค์ ทรงมีพระชนมายุได้ ๗๐ พรรษา จึงได้เสด็จทางอากาศมา ณ ที่นี้เป็น วาระที่ ๒ พร้อมกับพระอานนท์ พระองค์ทรงประทับนั่งอยู่ภายใต้ร่มไม้สำโรง ระหว่างกลางแม่น้ำเตียนกับแม่น้ำลิ่ง

ในเวลานั้น ยังมีพราหมณ์ผู้หนึ่งมาแต่บ้านห้วยใคร้กับคนรับใช้ของตน เห็นพระพุทธเจ้า ประทับนั่งอยู่กับพระอานนท์ จึงได้ให้คนใช้ไปเอา ผลสมอแช่ไว้ที่บ้านห้วยใคร้มาถวาย ครั้นกลับมา พราหมณ์จึงถามว่าทำไมไปนานนัก คนใช้ตอบว่า ต้องรอให้ผลสมอที่แช่น้ำไว้แห้งเสียก่อน

พราหมณ์จึงนำผลสมอเข้าไปถวายองค์ สมเด็จพระชินวร ในขณะนั้น ยังมีแมงหมาเต้าตัว หนึ่ง ออกมาจากที่อยู่ของตน แล้วก็น้อมไหว้ แทบพระบาทแห่งพระพุทธเจ้า พระศาสดาจึง แย้มพระโอษฐ์ พระอานนท์จึงทูลถามถึงเหตุนั้น องค์สมเด็จพระภควันต์จึงตรัสพยากรณ์ว่า

“อานันทะ..ดูก่อนอานนท์! ในเมื่อตถาคต นิพพานไปแล้ว พระธาตุกระดูกของตถาคตจักมา ตั้งอยู่ที่นี้ ตราบเท่า ๕ พันพระวรรษา บ้านห้วยใคร้ จักเป็นเมืองอันหนึ่งชื่อว่า เมืองนาน ในที่นี้จักได้ ชื่อว่า “แช่แห้ง”

แมงหมาเต้าตัวนี้ จักได้เป็น พระยาตนหนึ่งครองเมืองนี้มีชื่อว่า “ท้าวขาก่าน” เหตุมีตัวลายด้วยน้ำหมึก แล้วจักได้สถาปนาพระพุทธศาสนา ณ ที่นี้ ส่วนพราหมณ์ผู้นี้จักได้เกิด มาเป็นอุบาสกผู้หนึ่ง ช่วยกันทนุบำรุงพระพุทธศาสนากับท้าวขาก่าน ให้รุ่งเรืองต่อไปภายหน้าแล”

ครั้นพระสัพพัญญูเจ้าเสด็จเข้านิพพานแล้ว จำเนียรกาลแต่นั้นมา พระอรหันต์ทั้งหลาย ก็นำเอา พระธาตุข้อพระหัตถ์ข้างซ้ายกับพระธาตุย่อย พร้อมกับชาวเมืองทั้งหลายได้ช่วยกันขุด หลุมลึก ๒๐ วา กว้าง ๕ วา บรรจุไว้ภายบน พระเกศาธาตุนั้นตามพระพุทธประสงค์ แล้วก่อ เจดีย์สูง ๓ วาครอบไว้ ปิดปากหลุมนั้น ด้วยดิน และอิฐให้ราบเพียงผิวดินดังเดิม

เมื่อพระศาสนาล่วงไปแล้ว ๒๑๘ ปี พระเจ้าอโศกมหาราช ผู้ครองปาตลีบุตร ได้สร้างพระเจดีย์ ๘ หมื่น ๔ พันองค์ ทั่วชมพูทวีป พระองค์ได้เสด็จมา ณ ที่นี้ เป็นกลุ่มที่ ๓ ได้ขุดหลุมลง ที่เหนือพระธาตุเก่าลึก ๑๐ วา กว้าง ๕ วา แล้วก็สร้างอูบทองคำเป็นที่ใส่พระบรมสารีริกธาตุ แล้วหล่อรูปสิงห์ทองยืนอยู่กลางหลุมพระธาตุ ทำยนต์จักรไว้รักษา แล้วก่อดินและอิฐขึ้นเพียง ผิวดินแล้วก่อเจดีย์สูง ๓ วาครอบไว้

หลังจากนั้น เมืองนันทะ ก็กลายเป็น “เมืองนาน” หรือ “เมืองน่าน” ตรงตามคำพยากรณ์ทุกประการ ต่อมาได้ตกเป็นเมืองขึ้นของเชียงใหม่ สมัย พระเจ้าติโลกราช ประมาณ พ.ศ.๒๐๑๙ พระองค์จึงได้ส่ง ท้าวขาก่าน มาครองเมืองนี้

ครั้นได้เห็นบริเวณป่านี้มีไม้ไผ่ปกคลุม จอมปลวกอยู่จึงแผ้วถาง พอกลางคืน พระบรมธาตุก็เปล่งปาฏิหาริย์รุ่งเรืองนัก จึงขุดลงไปในจอมปลวกลึก ๑ วา ก็พบพระบรมสารีริกธาตุ ๗ องค์ พร้อมกับพระพิมพ์เงิน ๒๐ องค์ พระพิมพ์ทองคำ ๒๐ องค์ ซึ่งบรรจุไว้เมื่อ ๑๐๐ กว่าปีก่อน อันเป็นสมัย พระยาการเมือง ครองเมืองน่าน โดยพระองค์ได้รับพระราชทานมาจาก พระเจ้าลิไทย แห่งกรุงสุโขทัย

นัยว่าพระเจ้ากรุงสุโขทัยพระองค์นี้ ได้เป็นผู้สร้างพระธาตุแห่งนี้ด้วย เพราะสมัยนั้น ระหว่างเมืองน่านกับกรุงสุโขทัย กษัตริย์ทั้งสอง พระองค์ทรงมีความสัมพันธ์ฉันท์มิตรต่อกัน

ตามประวัติเล่าว่า พระเจ้าลิไทย หรือ พระ เจ้าศรีสุริยพงศราม หรือ พระมหาธรรมราชาที่ ๑ ทรงเป็นพระราชโอรสของ พระเจ้าเลอไทย และ เป็นพระราชนัดดาของ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เสวยราชสมบัติเป็นลำดับที่ ๖ แห่งวงศ์พระร่วง ทรงมีพระสนมเอกชื่อว่า “นางนพมาศ”

พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่เลื่อมใสในบวรพุทธศาสนา ทรงปรารถนาพระโพธิญาณ ทรงศึกษาวิทยาการมาก ทรงมีพระปรีชาสามารถทุกด้าน แตกฉานในพระไตรปิฏก จึงทรงร่วม มือกันกับ ขุนหลวงพะงั่ว แห่งกรุงศรีอยุธยา อาราธนาพระสงฆ์มาทำการรจนา ไตรภูมิพระร่วง

พระเจ้าลิไทยมหาธรรมราชาประสูติ พ.ศ.๑๘๖๒ พระชนมายุ ๓๘ พรรษา จึงได้เป็น พระเจ้ากรุงสุโขทัย ทรงประชวรแล้วเสด็จสวรรคต เมื่อพ.ศ.๑๙๑๓ มีพระชนมายุได้ ๕๑ พรรษา ครองราชสมบัติได้ ๒๓ ปี ดังนี้

ผลสรุปว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาที่น่าน ๒ วาระ และสถานที่นี้มีการบรรจุถึง ๔ ครั้ง คือ...

ครั้งที่ ๑ บรรจุเส้นพระเกศาธาตุ
ครั้งที่ ๒ บรรจุ ข้อพระหัตถ์ซ้าย
ครั้งที่ ๓ บรรจุสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
ครั้งที่ ๔ เมื่อปี ๑๘๙๖ บรรจุสมัยพระยาการเมืองและพระเจ้าลิไทย แล้วท้าวขาก่านก็ มาเป็นผู้สร้างพระเจดีย์ครอบไว้ทั้งหมดสูง ๖ วา ตามคำพยากรณ์ของพระพุทธเจ้าทุกประการ

กาลสมัยผ่านไป เจ้าผู้ครองนครก็ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์สืบมา จนถึงบัดนี้อันมีเจ้าอาวาส พร้อมกับชาวภูเพียงแช่แห้ง ได้ช่วยกันทนุบำรุงวัด พระธาตุแช่แห้งแห่งนี้ อันเป็นปูชนียสถานที่สำคัญ เพื่อเป็นที่สักการบูชาแก่บรรดาท่านพุทธศาสนิก ทั่วประเทศ

โดยเฉพาะ คณะศิษย์หลวงพ่อพระราช พรหมยาน ต่างก็ได้มายืนอยู่ ณ ที่นี้ พร้อมที่จะได้มีส่วนร่วมบุญร่วมกุศล และอนุโมทนาย้อนไปในอดีตถึงผู้ร่วมสร้างทั้งหลาย นับตั้งแต่ต้นจน กระทั่งถึงปัจจุบันนี้ เพื่อที่จะให้องค์พระธาตุแช่ แห้งเป็นพุทธสถานอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองน่าน ตามพุทธประสงค์ขององค์สมเด็จพระผู้มีพระ ภาคเจ้า ตราบสิ้นอายุกาลพระพุทธศาสนาเทอญ

ต่อไปนี้ขอเชิญ คุณอนันต์ และ คุณแสงเดือน จุดธูปเทียนที่โต๊ะบวงสรวง จึงขอให้ทุกท่านตั้งจิตอธิษฐาน ขอพระบารมีองค์สมเด็จพระ พิชิตมารบรมศาสดาทุกๆ พระองค์ พระปัจเจก พุทธเจ้าทุกพระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ ทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบ ๆ กันมา อันมี หลวงปู่ปาน หลวงพ่อพระราชพรหมยานเป็นที่สุด เหล่าเทพยดาและนางฟ้าทั้งหลาย พระพรหม ทุกชั้น ทั้งที่รักษาเมืองน่านและขอบเขตแห่งนี้

ขอดวงพระวิญญาณของกษัตริย์ทั้งหลาย ที่ปกครองเมืองน่าน นับตั้งแต่พระยามลราชและ พระมเหสี เป็นต้น ตลอดจนถึงผู้ร่วมสร้างทั้งหมด และพระบารมีแห่งองค์พระธาตุแช่แห้งนี้

ขอได้โปรดคุ้มครองรักษาอาณาเขตประเทศนี้ ให้ประชาชนชาวน่านและจังหวัดใกล้เคียง ที่ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมทั้งหลาย จงรอดพ้นจากภัยพิบัติทั้งปวง จากลมแรง น้ำท่วม ไฟไหม้ แผ่นดินไหว และทุพภิกขภัยทั้งหลาย เป็นต้น

ตลอดถึงภัยแห่งสงครามมหาประลัย ขอให้แคล้วคลาดจากภยันตราย พืชไร่ในนาอย่าได้ เสียหาย ค้าขายให้ได้กำไรดี ผลที่สุดจงประสบ แต่สันติสุขทุกประการเทอญ แล้วใครจะอธิษฐานอย่างไรอีกก็ได้ตามความมุ่งมาตรปรารถนา ฯ

หลังจาก หลวงพี่โอ จุดเทียนที่ขันน้ำมนต์ แล้วจึงได้อาราธนาพระเดชพระคุณหลวงพ่อทำพิธีบวงสรวงต่อไป ทุกคนจึงอยู่ในความสงบ ท่ามกลางความมืด แต่มีแสงไฟนีออนและสปอร์ตไลท์ส่องกระจายไปทั่วบริเวณนั้น แล้วทุกคนก็ได้กล่าว คำนมัสการและขอขมาโทษต่อพระรัตนตรัย

ต่อจากนั้นผู้แต่งกายสมมุติพระร่วง พระมเหสี พระราชธิดา อำมาตย์ข้าราชบริพาร และปวง ชนทั้งหลาย ได้จัดตั้งขบวนแถวแห่ผ้าห่มพระเจดีย์พร้อมทั้งจุดธูปเทียน เพื่อเดินทำประทักษิณเวียน รอบนอกองค์พระธาตุ โดยมีพระสงฆ์สวดอิติปิโส เดินอยู่รอบในองค์พระธาตุ

ครั้นเดินครบรอบแล้ว จึงได้กล่าวคำถวาย เครื่องสักการะพร้อมกัน แล้วอัญเชิญผ้าห่มขึ้นไป ห่มบนองค์พระเจดีย์ คุณอนันต์และคุณแสงเดือน วางพานขอขมาแล้วสรงด้วยน้ำหอม โปรยข้าวตอก ดอกไม้ พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถาไปตลอดพิธี

ครั้นเสร็จพิธีบวงสรวงสักการบูชาแล้ว จึง ได้เริ่มพิธีบำเพ็ญกุศล ด้วยการถวายผ้าป่ากับท่าน เจ้าอาวาสวัดพระธาตุแช่แห้ง แล้วท่านได้กล่าวคำอนุโมทนา จบแล้วจึงอุทิศส่วนกุศล พระสงฆ์ให้พร เป็นอันเสร็จพิธี


ต่อจากนั้นจึงเป็นพิธีฉลองสมโภช โดยการ ฟ้อนรำอวยพร, ฟ้อนไทยลื้อ จากคณะโรงเรียนวัดพระธาตุแช่แห้ง พร้อมกับจุดพลุต้นดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง สลับกับ การฟ้อนเล็บล่องน่าน จาก กลุ่มแม่บ้านหนองเต่า แช่แห้ง อีกทั้งได้มีการปล่อย โคมไฟลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า

ทุกคนต่างแหงนหน้าขึ้นไป มองเห็นโคมไฟที่ถูกปล่อยขึ้นจากหน้าวัด ต่างลอยไปในทิศทางเดียวกันอย่างน่าพิศวง เพราะข้างบนลมแรง กว่าจะปล่อยไปทีละลูก ต้องทิ้งช่วงห่างกันสัก ประมาณ ๒ - ๓ นาที แต่มันก็ลอยอ้อมไปอย่างมี ชีวิตจิตใจ ไม่ยอมลอยข้ามพระเจดีย์แต่อย่างใด ตามไปสมทบกันเป็นแถวเป็นคู่กันไป คนเฒ่าคน แก่ที่นั่นบอกว่า ถ้าลอยไปทางนั้น จะไปทางพระ ธาตุพนม ถือเป็นมงคลอย่างยิ่ง

ในขณะที่รำชุดสุดท้ายใกล้จะจบ เสียงพลุ ดาวกระจายก็ดังขึ้นสู่ท้องฟ้า เห็นแสงสีแพรวพราย ทั่วท้องฟ้า พวกเราจึงพากันเดินออกไปดูที่หน้าวัดได้มีการจุดพลุน้ำตกเสริมด้วยพลุไฟพะเนียง พร้อมกับพลุตัวอักษรคำว่า “คณะศิษย์พระราช พรหมยาน” มองดูสว่างไสวทั้งข้างล่างและข้างบน พร้อมกับได้ยินเสียงชื่นชมยินดีกันทั่วไป

ต่อจากนั้นก็แยกย้ายไปพักผ่อนกัน ซึ่งกว่าจะเข้านอนก็ดึกแล้ว บางคณะก็ออกไปพักที่ โรงแรม เพราะอากาศในคืนนั้นหนาวมาก แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ฉบับนี้ไม่สามารถจะเล่าต่อไปได้ คงจะต้องรอไว้ฉบับหน้าอันเป็นตอนสุดท้าย ที่จะเล่าเรื่อง พระธาตุช่อแฮ, พระธาตุจอมแจ้ง จ.แพร่ และ พระแท่นศิลาอาสน์ จ.อุตรดิตถ์

สวัสดี

ll กลับสู่สารบัญ


((((((( โปรดติดตามตอนต่อไป )))))))




webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 1/11/10 at 14:01 Reply With Quote


08.

ตอนที่ ๓ (ตอนจบ)



ความเดิมจากตอนที่แล้ว ได้เล่าเรื่องการ ทำพิธีฉลองชัย ณ อาณาจักรสุโขทัย เพื่อเป็นการ กราบไหว้บูชาบรรพบุรุษ หลังจากพิธีบวงสรวง สักการบูชาแล้ว จึงได้หยุดพักทานอาหารกลางวัน

ต่อจากนั้น จึงทำพิธีถวายราชสดุดีเทิดพระเกียรติแด่ พระร่วงเจ้าทั้งหลาย ซึ่งในตอนสุดท้ายตามรูป ภาพที่ คุณขจรฤทธิ์ นำมาให้ จะเห็นพวกเราออก มารำถวาย “ท่านแม่ย่า” ถ้าเป็นภาพสีจะเห็นเป็น แสงสว่างพุ่งลงมาตรงที่บริเวณนั้น

ครั้นเสร็จพิธีที่สุโขทัยแล้ว จึงได้เดินทางต่อไปสู่จังหวัดน่าน แล้วได้ทำพิธีบวงสรวง ณ วัดพระธาตุแช่แห้ง และจุดพลุถวายเป็นพุทธบูชา พร้อมทั้งปล่อย โคมไฟ ลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อเป็น การฉลองสมโภชในยามค่ำคืน

เมื่อโคมลอยขึ้นไปแล้วกลับเวียนอ้อมพระเจดีย์ แล้วลอยต่อกันไปเป็นทิวแถว ทั้ง ๆ ที่ปล่อยห่างกันประมาณ ๒ - ๓ นาที ทุกคนมอง แล้วก็ประหลาดใจ เพราะโคมลอยทวนกระแส ลมไปทางทิศตะวันออก ความจริงอากาศหนาว ลมหนาวจะต้องพัดโคมลอยลงไปทางทิศใต้

จึงเป็นนิมิตหมายที่ดีว่า ผลแห่งการบูชา ของพวกเราทั้งหมดนั้น เป็นเพราะการรวมพลังใจอันสำคัญ ที่มีความศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา ทั้งนี้ ด้วยคำอธิษฐานที่ตั้งความปรารถนา แห่งพระนิพพาน โคมลอยจึงแสดงเป็นสักขีพยาน

บอกเหตุว่า พวกเราคงจะพบหนทางพ้นทุกข์อย่างแน่นอน คงจะไม่มีใครแวะข้างทางเสียก่อน เพราะเหตุที่โคมไฟได้ลอยตามไปในทิศทางเดียวกัน เหมือนกับจะทำนายไว้ว่า พวกเราจะได้เดินเข้าสู่ มรรค ผล นิพพาน ไปด้วยกันฉะนั้น


วัดพระธาตุช่อแฮ จ.แพร่



ตอนเช้าของวันที่ ๑๕ ก.พ. ๔๑ หลังจากรับทานอาหารเช้าแล้ว เวลา ๐๗.๐๐ น. จึงออกเดินทางกลับไปจังหวัดแพร่ โดยมีคณะผู้จัดสถานที่ และจัดทำบายศรี ซึ่งมี คุณแดง รับเป็นผู้จัดทำ ได้ออกเดินทางมาก่อนล่วงหน้า พร้อมทั้งนำผ้า มาห่มพระเจดีย์ จนถึงเวลา ๐๙.๐๐ น. เศษ ขบวน รถทั้งหมดจึงเดินทางตามมาถึงวัดพระธาตุช่อแฮ

เมื่อได้นมัสการท่านเจ้าอาวาสแล้ว จึงได้เตรียมทำพิธีบวงสรวง โดยมีญาติโยมทั้งหลายนั่ง แวดล้อมองค์พระธาตุ วันนี้มองโดยรอบแล้ว เห็นแต่ละคนอยู่ในชุดแต่งกายสวยงามหลายหลากสี บ่งบอกลักษณะความเป็นเอกลักษณ์ของภาค เหนือ ทุกคนมีอาการยิ้มแย้มร่าเริง

ในระหว่างที่รอเวลากันอยู่นั้น จ่าสันติชัย จารุบุตร ซึ่งติดตามมาจากน่านด้วย ก็ได้ออกมา เล่าความเป็นมาก่อนที่จะเคารพนับถือหลวงพ่อว่า ในสมัยที่ยังรับราชการทหารอยู่นั้น ได้มาปฏิบัติ หน้าที่ ณ สนามบินจังหวัดน่าน ในครั้งนั้น ท่าน หญิงวิภาวดี รังสิต ซึ่งได้เสด็จมาพร้อมกับคณะ หลวงพ่อและหลวงปู่ธรรมชัย ผู้เล่าได้บอกว่า...

“ในครั้งนั้น ผมมาทำหน้าที่..ไม่ได้มาด้วย ศรัทธาหลวงพ่อ แต่ก็มาเจอสิ่งที่ไม่น่าเกิดขึ้น ตอน นั้นผมรับราชการทหารอยู่ คือครั้งแรกประมาณปี ๒๕๑๙ หม่อมเจ้าหญิงวิภาวดีเสด็จแทน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะทรงมีความห่วงใย ทหารหาญนะครับ หลวงพ่อมากับครูบาธรรมชัย

กระผมก็คิดว่าถึงวาระที่ได้รู้จักกับหลวงพ่อ ซึ่งผมถือว่าหลวงพ่อเป็นพ่อของผมนะครับ คือเวลานั้นมีหลายคนที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่นำขบวน ตอนนั้นก็เจาะจงมาที่ผมเลย คือเหมือนกับว่าผม จะต้องถึงเวลาแล้ว..ที่ผมจะต้องเจอกับหลวงพ่อ ผมก็ไปรอรับที่สนามบินจังหวัดน่าน

พอท่านลงมาผมก็เฉย ๆ เพราะว่ายังไม่ ทราบว่าจะเป็นองค์ไหน รู้แต่ว่าเป็นขบวนของหม่อม เจ้าหญิงวิภาวดี พอถึงที่สนามบิน ขณะนั้นเป็นเวลาเที่ยงอากาศร้อนมากนะครับ ท่านก็ทักทายกับคณะ ที่มารอต้อนรับ เป็นนักบินที่อยู่จังหวัดน่านก่อน

ท่านก็บอกวัตถุประสงค์ที่มาว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความห่วงใย ก็ให้หม่อมเจ้าหญิงวิภาวดีเสด็จแทนพระองค์มา ก็ทำการทักทายกันพอสมควร ท่านก็ให้ศีลให้พร เพราะว่า จะต้องเดินทางไปที่จังหวัดทหารบก จ.น่าน ตอนนั้นเป็นกองพลทหารม้าส่วนหน้า

พอท่านให้พร กำลังเที่ยง ๆ ฝนก็โปรยลงมาเลยครับ โปรยลงมาที่สนามบินนั้น ทีแรกผมก็ ยังไม่เข้าใจในเรื่องนี้ ผมก็อยู่เฉย ๆ มองดูก็เห็นว่า แปลกดี..แต่ก็ยังเฉย ๆ นะครับ พอผมเสร็จจาก ภารกิจจังหวัดน่าน ผมก็นำขบวนเข้าไปใน ค่ายสุริยพงศ์ ครับ ตอนนี้ก็เป็นพวกทหารบก ที่มาราชการชายแดนส่วนหน้าทั้งหมดก็เข้าแถวกัน แล้วก็ มีหม่อมเจ้าหญิงวิภาวดีท่านก็มาพูด

แล้วหลวงพ่อก็ขึ้นไปพูดว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้คณะของท่านนี้มาเยี่ยมเยียน ทหารหาญ มาถามสารทุกข์สุขดิบ พอเสร็จเรียบ ร้อยก็ให้พร พอให้ปุ๊บ..พระอาทิตย์ทรงกลดพอดี เลยครับ..แล้วฝนก็โปรยลงมาอีกครับ!

ตอนนั้นก็เริ่มบ่ายโมงแล้วครับ แต่อากาศ เมืองน่านก็ยังร้อนอยู่ ฝนก็โปรยลงมาอีก ผมก็เห็น ว่า เอ๊ะ..หลวงพ่อองค์นี้ไม่ใช่พระธรรมดาแล้ว เพราะว่าฝนโปรยลงมา ทีแรกผมก็เข้าไปกราบเลย จะให้ท่านเป่าหัวให้ เพราะเห็นว่าไม่ใช่ธรรมดาแล้ว แต่ท่านไม่เป่าครับ ท่านชี้ไปที่ครูบาธรรมชัย ผมก็ไม่รู้จักครูบาธรรมชัย ผมก็เฉย ๆ ผมคิดว่าคงไม่มีวาสนาที่เข้าไปหาครูบาธรรมชัยเลยไม่มีโอกาส เพราะมองมุ่งแต่หลวงพ่ออย่างเดียว

ตอนหลังผมกลับมาที่สนามบิน คณะของท่านก็ขึ้นเฮลิคอปเตอร์หมดแล้วครับ ก็มี เฮีย ไพบูลย์ ที่อยู่จังหวัดน่าน ซึ่งเมื่อคืนก็มาด้วยนะ ครับ ก็วิ่งผ่านผมไป ขณะนั้นเสียง ฮ. นี้ดังมากนะ ครับ ถ้าตามธรรมดาหูคนเราจะไม่ได้ยิน หลวงพ่อ ยืนอยู่ที่หน้า ฮ. จะก้าวขึ้นแล้ว

เฮียไพบูลย์วิ่งเข้าไป..ท่านก็หยุด ท่านก็หันมามอง ซึ่งตามธรรมดาแล้ว คนธรรมดาจะไม่ได้ ยินล่ะครับ แล้วท่านก็หันมามอง เฮียไพบูลย์นี้เป็น ลูกศิษย์ท่านตั้งแต่ปี ๒๕๑๐ หรือ ๒๕๑๑ ก็ไปที่ วัดท่าซุง แล้วก็มาประกอบอาชีพที่จังหวัดน่าน

นี่ละครับ..ที่ว่าผมได้เห็นความอัศจรรย์ แล้วผมก็ได้รู้จักกับเฮียไพบูลย์ เพราะท่านเป็นลูกศิษย์มานานแล้ว ได้เอา ประวัติหลวงปู่ปาน มาให้ผมอ่าน ถึงได้รู้ว่าหลวงพ่อตอนที่ท่านมีชีวิตอยู่ ท่านได้ไปที่พระธาตุแช่แห้ง

ตอนนั้นท่านบอกว่า ระหว่างที่ท่านธุดงค์ ท่านจะต้องควบคุมสมาธิตลอด..ไม่ให้วอกแวก เพราะว่าหลวงพ่อปานท่านจะสอบถามตลอดเวลา ว่าขณะนี้จิตของท่านยังเป็นสมาธิหรือเปล่า
ท่านก็ถามว่าพระธาตุแช่แห้งนี้มีอะไรบ้าง
หลวงพ่อก็ ตอบว่า ที่พระธาตุแช่แห้งนี้มีพระบรมสารีริกธาตุ ขององค์พระพุทธเจ้า
ผมจึงได้รู้..ผมก็รู้มาตั้ง นานแล้วว่า ที่พระธาตุแช่แห้งนี้ว่าเป็นของจริงอยู่



(จ่าสันติชัย จารุบุตร กำลังเล่าเรื่องเกี่ยวกับองค์หลวงพ่อฯ)

คนที่อยู่จังหวัดน่านเอง อาจจะไม่ทราบนะครับ และครั้งหนึ่งก็ที่ว่าคนที่จังหวัดน่านนี้ล่ะ ที่ไป แต่ตอนนั้นก็ยังไม่รู้จักหลวงพ่อเท่าไร ก็ไปถึงก็หลงทาง ไปจากจังหวัดน่านนี้ละ พอถึงจังหวัดอุทัยธานีก็หาทางเข้าวัดไม่ถูก หลวงพ่อมายืนอยู่ที่โบสถ์นะครับ พอรถจอดปุ๊บ

ท่านก็เดินเข้ามาถามว่า “ยังไง..หลายเที่ยวเลยหรือ กว่าจะถึงวัด นี้นะ?”
พวกนั้นต่างก็มองหน้าว่า เอ๊ะ..ท่านรู้ได้ อย่างไร
แล้วก็พอเข้าไปกราบเรียบร้อย ก็มีโยมที่ นำไปเขาโชคดี เขาถูกล็อตเตอรีก็เอาผ้าป่าไปถวาย ท่านได้เงิน ๗,๐๐๐ กว่าบาท
ท่านก็ชี้หน้าเลย พร้อมกับบอกว่า “โยมเป็นมิตรกับเหล้านี่!”

คนนั้นชื่อ “เล็ก” พี่เล็กน่ะ ก็มองหน้าหลวงพ่อ
หลวงพ่อท่านถามว่าโยมกินเหล้าหรือเปล่า
ก็ตอบว่าผมไม่ได้กินครับ
หลวงพ่อบอกว่า “นั่น แหละ..เราเป็นมิตรกับมัน”
พวกเราก็มองหน้ากันว่าเอ๊ะ..รู้ได้อย่างไร?

แล้วก็มีอีก ๒ คนเป็นแม่ค้า ผมก็นำ “คาถาวิระทะโย” นะครับ ตอนนั้นยังไม่เรียก “คาถา เงินล้าน” เอามาให้
ท่านก็ชี้หน้าเลยบอกว่า “อีหนู..เดี๋ยวนี้คาถาที่ให้ไปไม่เห็นท่องเลย”
ทั้งๆ ที่ผมก็ไม่ได้บอกท่านนะครับ แต่อีกคนหนึ่ง ท่านบอกว่ายังดีหน่อยที่ยังท่องบ้าง

แล้ว พอดีเจ้าของส้มที่ผมไปซื้อมา ที่ทางหลวงพี่วันชัย สั่งให้เอามาแจกเมื่อเช้านี่นะครับ ไปถ่ายรูปหลวงพ่อที่วัดท่าซุง กำลังจะถ่ายรูปหลวงพ่อ ท่านจึง บอกว่า “อีหนู..มีฟิลม์หรือเปล่า ที่จะถ่ายรูปน่ะ?”
คนที่กำลังจะถ่ายรูปก็บอกว่ามีค่ะ
หลวงพ่อบอกว่า “เอ้า..ถ่ายได้”

แกก็ถ่าย..พอล้างออกมา ปรากฏว่าไม่มี รูปสักรูปเลยครับ แล้วก็ตอนนั้นถามอายุท่านครับ ท่านบอกว่า ๕ ตามธรรมดาตอนนั้นท่านอายุ ๗๔ หรือเท่าไรนี่ ผมก็จำไม่ค่อยได้แล้วครับ
ท่านก็บอก ๕ ถามทำไมหรือครับ
ท่านบอก เดี๋ยวพวกเองเอาไปเล่นหวยหมด
แล้วก็งวดนั้น ออก ๕๗๔ ครับ แล้วก็ “คนที่ถ่ายรูป” หลังจากที่ว่าถ่ายรูปหลวงพ่อแล้วไม่ติดนะครับ ตอนนั้นยัง ไม่รู้ว่าถ่ายไม่ติด ก็เอาขันไปตักน้ำมนต์

หลวงพ่อก็พูดแหย่ไปอีกว่า “อีหนู..ขันละ ๕๐ สตางค์นะ”
เท่านั้นละครับ งวดนั้นทั้งข้างบน..ข้างล่าง ข้างบน ๕๗๔ ข้างล่าง ๕๐ ออกหมดครับ แต่คน ตักไม่ถูก เพราะว่าไม่ใช่นักเล่นหวย แต่คนที่ตาม ไปนะครับ ถูกกันเป็นแถวเลยครับ นี่แหละครับ ที่ผมได้เจอกับหลวงพ่อมา และตลอดระยะหลัง ที่ท่านยังอยู่และไปที่ซอยสายลม ผมก็ไปหาท่าน ตลอดนะครับ...”

ตอนนี้ผู้จัดซึ่งนั่งอยู่ใกล้ๆ จึงได้ถามว่า “หลวงพ่อท่านไปที่น่านหลายครั้งไหม?”
จ่าสันติชัยจึงได้ตอบต่อไปว่า “ไปหลายครั้งครับ ไปตอนที่รบกันหนัก ๆ นั่นละครับ ท่านไปจะไปเดินตรวจเองเลยครับ

อย่าง ผ้ายันต์เกราะเพชร ผมก็ได้รับจากท่าน “เอ้า..เอง เอาไปแจก” ผมก็ได้มาปึกหนึ่ง ผมก็มาอธิษฐานว่า ถ้าใครเป็นลูกหลวงพ่อ ก็ขอให้ได้ผ้ายันต์ไป คือ ผมไม่ได้ไปเที่ยวแจกนะ ใจมันจะนึกขึ้นมาเองว่า คนนี้มันสมควรจะได้ครับ จนเดี๋ยวนี้ผมก็เหลืออยู่ ผืนเดียวครับ ท่านให้มาตอนนั้นก็ปึกหนึ่ง

แล้วก็ผมโชคดีอย่างหนึ่ง ตอนไปสายลม ก็พอดีแอร์เสียครับ ผมก็เลยได้มีโอกาสพัดให้กับ หลวงพ่อ เอาพัดไปโบกให้ท่าน ถือว่าเป็นบุญกุศล ของผมล่ะครับ ที่ได้ปฏิบัติหลวงพ่อตอนที่ท่านมีชีวิตอยู่

แล้วขนาดที่ว่าผมส่ง ส.ค.ส. มาให้ท่าน หลวงพ่อจะตอบทุกครั้ง เป็นลายมือของหลวงพ่อ เองเลยครับ ว่าได้รับ ส.ค.ส. แล้ว นี่แหละครับว่า น้ำใจของหลวงพ่อ ท่านไม่เคยคิดว่าเป็นของเล็กๆน้อยๆ ขนาดบัตร ส.ค.ส. ซึ่งไม่มีราคาค่างวดอะไรท่านก็ยังตอบมา แล้วตอบด้วยลายมือของท่านเอง

ถ้าผมส่งเงินมาทางธนาณัติ มาทำบุญ ถวายสังฆทาน ท่านจะเขียนด้วยลายมือของท่าน เอง ทั้งใบอนุโมทนาบัตร ทั้งจ่าหน้าซองด้วยตัว ท่านเอง ความที่ว่าท่านเป็นพ่อจริงๆ ที่ผมเคารพ อยู่ทุกวันนี้ นึกถึงท่านตลอดเวลา

นึกถึงท่านทีไร เหมือนกับมีญาณสัมผัส ที่ผมปฏิบัติมา..พูดตรงๆ ว่าญาณของหลวงพ่อจะ อยู่ตลอดครับ และจะรู้ได้ด้วยแต่ละคนที่ปฏิบัติ นะครับ ท่านเมตตาทุกๆ คนที่เป็นลูกของท่านครับ กระผมก็ขอจบเท่านี้ละครับ และขออวยพรให้ท่าน กลับไปที่ภูมิลำเนาของท่าน ขอให้เดินทางโดย สวัสดิภาพนะครับ ..สวัสดีครับ”

เมื่อจบคำบอกเล่าที่แฝงไว้ด้วยความประทับใจ พวกเราก็ยิ่งมีความมั่นใจยิ่งขึ้น ต่างก็ปรบ มือให้เกียรติที่ได้ออกมาเล่าความในใจให้ฟัง จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ขึ้นไปห่มผ้าพระเจดีย์เสร็จแล้ว ผู้จัดจึงได้เริ่มเล่าประวัติของสถานที่นี้ต่อไปอีกว่า

ประวัติพระธาตุช่อแฮ

ตามตำนานพระธาตุช่อแฮเล่าไว้ว่า สมัย ครั้งพุทธกาล องค์สมเด็จพระพิชิตมารได้เสด็จมา ที่เมือง พลนคร หรือ โกศัยนคร คือ เมืองแพร่ ได้ประทับใต้ต้นสะแกใหญ่ต้นหนึ่ง ซึ่งแผ่กิ่งก้าน สาขางดงามร่มรื่น บนดอยม่อนเล็กๆ ชื่อว่า ดอย โกสิยธชัคคะ ซึ่งอยู่ใกล้แม่น้ำยมนา หรือแม่น้ำยม

ในขณะนั้น มีชาวลัวะผู้หนึ่งชื่อว่า อ้ายก๊อม เป็นหัวหน้าหมู่บ้านบนดอยนี้ ได้เข้ามากราบไหว้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยไม่ทราบว่า บุคคลผู้นี้ที่ตนทำความเคารพอยู่นั้น คือองค์พระศาสดาผู้รู้แจ้งโลก ในบริเวณใกล้ ๆ ที่พระพุทธองค์ทรงประทับอยู่นั้น มีต้นหมากใหญ่ต้นหนึ่ง ออกผลดกมาก

องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ต้นไม้ต้นนี้ใหญ่โตยิ่งนัก
อ้ายก๊อมจึงกราบทูลว่า หมากต้นนี้ถ้าผู้ใดกินจะยันจะเป็นบ้า
องค์สมเด็จพระบรมศาสดาจึงขอให้เขานำหมากมาถวาย เมื่อ พระองค์ทรงลองฉันหมากนั้น ปรากฏว่ามีรสหอม หวาน ไม่ยันแต่ประการใด จึงทรงประทานหมากนั้น ให้อ้ายก๊อม
เขาจึงลองชิมดูรู้สึกอัศจรรย์ใจจึง ถามว่า ท่านมาแต่เมืองไหน?

พระพุทธองค์จึงทรงตรัสถามว่า ท่านไม่รู้จักเราดอกหรือ แล้วได้แสดงพุทธปาฏิหาริย์ให้ปรากฏ ขุนลัวะอ้ายก๊อมจึงทราบว่า เป็นองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้สั่งให้ข้าทาสบริวารจัด ตกแต่งอาสนะ แล้วนำข้าวน้ำโภชนาหารมาถวาย

สมเด็จพระบรมศาสดาทรงกระทำภัตกิจ เสร็จแล้ว จึงทรงอนุโมทนาและตรัสว่า ต้นหมากนี้ คนกินแล้วเป็นบ้าแพร่ไป ต่อไปเมืองนี้จักได้ชื่อว่า “เมืองแพร่” แล้วทรงลูบพระเกศาประทานให้อ้ายก๊อมเส้นหนึ่ง ซึ่งมีความปีติยินดีเป็นล้นพ้น จึงเอา ผ้าแพรของตน ซึ่งชาวเมืองเรียกว่า “ผ้าแฮ” รับไว้ แล้วอัญเชิญเส้นพระเกศานั้นบรรจุไว้ในผอบแก้ว แล้วนำผอบแก้วนั้นไปบรรจุไว้ในถ้ำแห่งหนึ่งทาง ทิศตะวันออกของดอยนี้ ซึ่งมีความลึกถึงสองพันวา

ส่วนประชาชนทั้งหลาย ต่างก็มีความศรัทธาน้อมนำสิ่งของมีค่าของตน เอามาถวาย เป็นเครื่องสักการะพระเกศาธาตุ แล้วบรรจุไว้ ในถ้ำนั้นเป็นอันมาก พระอินทราธิราชจึงเนรมิต ยนต์จักรรักษาไว้ แล้วปิดปากถ้ำด้วยหินใหญ่ ๓ ก้อน

องค์สมเด็จพระชินวรจึงตรัสพยากรณ์ ต่อไปว่า “เมื่อตถาคตปรินิพพานไปแล้ว พระธาตุข้อศอกข้างซ้าย ของตถาคตจะมาบรรจุไว้ในที่นี้ต่อไปภายหน้าสถานที่นี้จักเป็นเมืองใหญ่ได้ชื่อว่าเมืองแพร่ เพราะเหตุที่ตถาคตมานั่งใต้ต้นหมากนี้”

หลังจากองค์สมเด็จพระจอมไตรเสด็จ ดับขันธปรินิพพานแล้ว ๒๑๘ ปี พระเจ้าอโศกมหาราช ได้เสด็จมา ณ สถานที่นี้ ทรงโปรดให้ ช่างทำโกศแก้วและโกศทอง เพื่อเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แล้วอาราธนาพระอรหันต์ทั้งหลาย มาประชุมกัน ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสมโภช พระบรมธาตุอย่างมโหฬารสิ้น ๗ วัน ๗ คืน

พระองค์และพระอรหันต์ทั้งปวงจึงร่วมอธิษฐานว่า เมื่อองค์สมเด็จพระบรมศาสดายังมี พระชนม์อยู่นั้น ได้เสด็จไปยังถิ่นฐานบ้านเมือง หลายแห่ง แล้วทรงหมายสถานที่ซึ่งควรบรรจุ พระบรมธาตุไว้ จึงได้อัญเชิญพระบรมธาตุไปสถิต ยังที่ต่างๆ ตามที่อธิษฐานไว้ทุกแห่ง

ส่วนพระธาตุที่เหลืออยู่ พระอรหันต์ทั้งหลายก็ได้อัญเชิญไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ ๘๔,๐๐๐ องค์นั้น แล้วประกาศแก่เทพยดาทั้งหลาย ให้พิทักษ์รักษา จนกว่าจะหมดอายุแห่งพระพุทธศาสนา แล้วอัญเชิญพระบรมธาตุไว้ในที่ต่าง ๆ รวม ๒๒ แห่ง ดังที่เราเคยเดินทางไปฟังเรื่องราวมา แล้วที่ วัดพระธาตุจอมทอง วัดพระธาตุหริภุญชัย วัดพระธาตุลำปาง หลวง เป็นต้น

ตามประวัติส่วนใหญ่นำมาจาก ตำนานพระเจ้าเลียบโลก ได้เล่าว่า พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงเป็นผู้อัญเชิญมาบรรจุไว้ แต่ตำนานนี้กล่าว ไว้ละเอียดดี จึงได้รู้ว่ามีอยู่ในเมืองไทย ๒๒ แห่ง

ส่วนพระอรหันต์ทั้งหลายกล่าวว่า ศาสนาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จักตั้งอยู่ใน เมืองอื่น จักไม่ตั้งอยู่ในเมืองหลวง เจดีย์องค์หนึ่ง จะตั้งอยู่ใน พลนคร บนดอยโกสิยธชัคคะ ทิศตะวันออกของแม่น้ำยมนา คือแม่น้ำยม ห่างกันสี่พันวา และห่างจากเมืองหริภุญชัย ประมาณ ๑๑ โยชน์ ๓ คาวุต นับเป็นวา ได้ ๙ หมื่น ๔ พันวา

เมื่อพระอรหันต์ทั้งหลาย บรรจุพระบรมธาตุส่วนข้อศอกข้างซ้ายแล้ว จึงชุมนุมเทวดาขอ ทวยเทพรักษา โดยมีพระอรหันต์ ๗ องค์ และ พระยาอีก ๕ องค์เป็นผู้อุปถัมภ์ พระยาทั้งห้า ได้โปรดให้ช่างหล่อเป็นรูปสิงห์ทองลงบนแผ่นอิฐ เงินและอิฐทอง แล้วอัญเชิญพระธาตุข้อศอกซ้าย บรรจุไว้ในท้องสิงห์ทองนั้น และนำไปเก็บรักษาไว้ ในอุโมงค์ปิดด้วยก้อนหินและดิน โบกทับอย่างมิด ชิดอีกชั้นหนึ่ง

แล้วทรงทำการสักการบูชาและบำเพ็ญ พระราชกุศลอย่างมากมาย นับแต่นั้นมาบรรดา พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ต่างก็มากราบไหว้ นมัสการมิได้ขาด และบางครั้งก็ได้เห็นพระบรม ธาตุแสดงปาฏิหาริย์อยู่เสมอ ตามตำนานกล่าว ไว้เพียงแค่นี้

ส่วนหนังสือ “ประวัติพระธาตุช่อแฮ” ที่ทางวัดจัดพิมพ์ไว้เล่าว่า พระธาตุช่อแฮสร้าง ขึ้นระหว่าง พ.ศ.๑๘๗๙ ถึง ๑๘๘๑ ในสมัย พระเจ้าลิไทย ยังทรงเป็นพระมหาอุปราช ครอง เมืองศรีสัชนาลัย พระองค์ได้โปรดพระราชทาน พระบรมธาตุให้ ขุนลัวะอ้ายก๊อม นำมาบรรจุไว้ ณ สถานที่นี้

โดยผอบที่บรรจุพระบรมธาตุไว้ในท้องของรูปสิงห์ทองคำที่สร้างขึ้น แล้วหล่อเงินและทอง คำเป็นแผ่นมาก่อเป็นแท่น สำหรับตั้งสิงห์ทองคำ นำสิงห์ทองคำนั้นมาบรรจุในองค์พระเจดีย์ ให้โบกปูนทับปิดช่องเจดีย์ เอาแผ่นทองจังโกบุรอบ องค์พระเจดีย์ตั้งแต่ฐานถึงคอระฆังสูง ๒ วา

เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้จัดงานฉลอง ๗ วัน ๗ คืน โดยรอบองค์พระเจดีย์ประดับประดา ด้วยผ้าแพรสีต่าง ๆ พระเจดีย์องค์นี้จึงได้ชื่อว่า พระธาตุช่อแฮ ตั้งแต่นั้นมา และดอยม่อนนี้ จึงมีชื่อว่า ดอยขุนลัวะอ้ายก๊อม มาจนทุกวันนี้ แสดงว่าดอยนี้ คงเป็นที่อยู่เดิมของชาวลัวะ หัวหน้าเผ่าคงจะใช้ชื่อนี้มาตั้งแต่สมัยพุทธกาล

ต่อมาจนกระทั่งปี ๒๔๖๗ ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้มาพบองค์พระธาตุอยู่ในสภาพชำรุด ทรุดโทรม ปรักหักพังลงมาเป็นอันมาก เนื่องจาก ถูกทิ้งร้างมาเป็นเวลานาน จึงได้มาเป็นประธานนำ พุทธศาสนิกชนทั้งหลายทำการบูรณะเป็นการใหญ่ โดยรื้อทองจังโกรอบองค์พระธาตุออกหมด และ เสริมองค์พระธาตุให้มีขนาดกว้างและสูงขึ้น

อีก ๓๗ ปีต่อมา คือปี พ.ศ.๒๕๐๔ ก็ได้ มีการซ่อมแซมอีกครั้งหนึ่ง โดยปิดทองคำเปลว รอบองค์พระธาตุ อีก ๒๙ ปีต่อมา คือปี พ.ศ.๒๕๓๓ ได้ทำการปิดทองอีกดังที่เห็นสวยงามอยู่ในปัจจุบัน นี้ ทางวัดจะมีงานนมัสการประจำปีในวันเพ็ญเดือน ๔ โดยมี พระครูสมุห์วิชาญ เป็นเจ้าอาวาส

......เมื่อเราได้ฟังประวัติของพระธาตุแล้ว จะทราบว่าพระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาที่เมืองแพร่อย่างแน่นอน ซึ่งตรงตาม ตำนานพระเจ้าเลียบโลก ที่ได้จารึกไว้เป็นภาษาไทยเหนือ ส่วนทางภาคอีสาน ก็ยังยืนยันไว้ใน อุรังคนิทาน หรือ “ตำนานพระธาตุ พระพนม” อีกว่า

“ตถาคตไปบิณฑบาตในเมืองแพร่ อัน เป็นโบราณประเพณีบิณฑบาตแห่งพระพุทธเจ้า ทั้งหลายมาแต่ก่อน ชาวแพร่ทั้งหลายเอาข้าวและ ปลาเวียนไฟ คือปลาตะเพียนหางแดงมาใส่บาตร พระตถาคตรับเอาข้าวบิณฑบาตแล้วขึ้นไปดอย ผารังรุ้ง เห็นปลาบ่า ปลาเวียนไฟ มีอยู่ในรอยพระ บาทแห่งพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์

ตถาคตก็ไม่ฉันปลาอันชาวแพร่ใส่บาตรมานั้น จึงได้อธิษฐานให้ปลามีชีวิตขึ้นทุกตัวไว้ใน ที่นั้น ปลาทั้งหลายเหล่านั้น ยังเป็นรอยไม้หีบปิ้ง อยู่ทุกตัวจนตลอดสิ้นภัทรกัปนี้...”

การที่นำหลักฐานจากภาคเหนือและภาคอีสานมายืนยัน ก็เพื่อคลายความสงสัยของคน บางคนในสมัยนี้ ที่อาจจะคิดว่าพระพุทธเจ้าไม่เคยเสด็จมาที่เมืองไทย จนถึงกับไม่เชื่อตำนาน เอาเสียเลย ฉะนั้น เพื่อความมั่นใจขอให้ทราบว่า


ดินแดนแห่งนี้เคยเป็นที่พระพุทธเจ้าหลายพระองค์เสด็จมาแล้ว ไม่ใช่แต่พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันเท่านั้น แม้แต่ สมเด็จพระพุทธ กกุสันโธ พระพุทธโกนาคม พระพุทธกัสสป ก็เคยเสด็จมาบิณฑบาตที่ เมืองแพร่ แล้วก็ไป ประทับรอยพระบาทรวมกันที่พระพุทธบาท ๔ รอย จังหวัดเชียงใหม่ อันเป็นประเพณีของพระพุทธเจ้า ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น

เป็นอันว่า สถานที่นี้ต้องเป็นที่สำคัญและเก่าแก่มานาน ควรที่ลูกหลานหลวงพ่อพระราช พรหมยาน จะได้ตั้งจิตอธิษฐานเพื่อขอความศักดิ์สิทธิ์แห่งพระบรมธาตุช่อแฮ อันเป็นปูชนียสถาน คู่บ้านคู่เมืองของชาวแพร่ แต่ก่อนอื่นขออาราธนา หลวงพี่โอ จุดธูปเทียนที่โต๊ะบวงสรวงก่อนครับ

จึงขอให้ทุกท่านร่วมกันรำลึกถึงองค์สมเด็จพระบรมศาสดาทั้งหลายที่ได้ตรัสรู้ผ่านไปแล้ว พระองค์ได้ทรงมาประกาศพระศาสนา ณ เมืองแพร่นี้ ฉะนั้น เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ปวงข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอความสุขเกษมเปรมปรีด์จงมีแก่ชาวแพร่ทั้งหลาย และชาวจังหวัดใกล้เคียงนี้ ซึ่งเป็น ผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมอันดี

ภัยธรรมชาติต่างๆ อันมีลมแรง น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด เป็นต้น จงอย่าได้มา กล้ำกลาย ขอให้พ้นภัยจากสงครามใหญ่ ซึ่งอาจ จะมีต่อไปในกาลข้างหน้า ขอเทพเจ้าผู้รักษาบ้าน เมือง และที่รักษาพระศาสนาทุกอาณาเขตนี้ อันมี ท้าวพระยามหากษัตริย์ ตลอดจนถึงผู้ร่วมสร้าง ทั้งหมดนั้น

ขอพระบารมีแห่งพระองค์ผู้ทรงฤทธิ์ทรงเดชทั้งหลาย โปรดได้เสด็จมาเป็นสักขีพยาน การกระทำพิธีบวงสรวงในครั้งนี้ ที่ได้จัดบายศรี เป็นเครื่องสักการบูชา เพื่อปวงข้าพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย และคนไทยที่อาศัยอยู่ในผืนแผ่นดินนี้ ขอให้พ้นภัยต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ อันมีทุพภิกขภัย ภัยธรรมชาติ และภัยจากสงคราม เป็นต้น

เพื่อจะได้ช่วยกันอภิบาลรักษาพระศาสนา ให้ตั้งมั่นอยู่ในถิ่นแหลมทองนี้ ตามพุทธประสงค์ ขององค์สมเด็จพระบรมศาสดา เพื่อความวัฒนาถาวรตลอดสิ้นอายุพระศาสนาเทอญ




ต่อจากนั้นเสียงการบวงสรวงชุมนุมเทวดาของพระเดชพระคุณหลวงพ่อก็ดังก้องทั่วบริเวณ นั้น พวกเราตั้งจิตอธิษฐานดังกล่าวแล้ว พระสงฆ์ ก็ได้ร่วมกันสรงน้ำและโปรยดอกไม้ หลังจากนั้น บรรดาญาติโยมทั้งหลายต่างก็บูชาสักการะจนเป็น ที่เรียบร้อยแล้ว คุณทนงฤทธิ์ สีทับทิม เป็นทายก ได้กล่าวคำอาราธนาศีลและถวายผ้าป่า เพื่อบูรณะ วัดเป็นจำนวนเงิน ๒๖๐,๐๐๐ บาท

เมื่อเจ้าอาวาสวัดพระธาตุช่อแฮกล่าวอนุโมทนาแล้ว จึงอุทิศส่วนกุศล เป็นอันเสร็จพิธี จึง ได้รับประทานอาหารกลางวัน ซึ่งทางวัดพร้อมด้วย คณะกรรมการและแม่บ้าน ได้แต่งกายอยู่ในชุด พื้นบ้าน ต่างช่วยกันจัดเลี้ยงต้อนรับ นับเป็นที่เอร็ดอร่อยมาก โดยเฉพาะ “แกงฮังเล” หมดไปก่อน

.
ครั้นทานอาหารเสร็จแล้ว ต่างก็ขึ้นรถของตน เพื่อเดินทางไปที่ วัดพระแท่นศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์ แต่ก่อนที่จะไปก็ขอให้แวะที่ วัดพระธาตุจอมแจ้ง ซึ่งอยู่ห่างจากวัดพระธาตุช่อแฮประมาณ ๒ - ๓ กิโลเมตรเท่านั้น แต่บางคนก็พลาดไป เลยต้องไปรอที่อุตรดิตถ์

รถทุกคันได้มาถึงหน้าวัดพระธาตุจอมแจ้ง ทั้งพระและฆราวาสก็ได้เข้ามานั่งในศาลาด้านหน้าและกระจายไปรอบ ๆ บริเวณนั้น มองเห็นพระพุทธรูปประทับยืนอยู่ข้างหน้าพระเจดีย์ ที่กางกั้น ด้วยเศวตฉัตร กำลังทรงยกพระหัตถ์ประทานพร

ท่ามกลางแสงแดดที่เจิดจ้าในเวลาเที่ยง แต่ก็หาทำให้เจ้าหน้าที่ของเราท้อถอยไม่ ต่างก็ขึ้น ไปห่มผ้าพระเจดีย์ที่มีสีทองอร่าม ซึ่งงามไม่แพ้ พระธาตุช่อแฮเลย ผู้จัดได้เข้าไปกราบเจ้าอาวาส แล้วจึงขออนุญาตท่านเล่าประวัติพระธาตุ ตามที่ได้รับมาจากท่านก่อนหน้านั้นแล้ว พร้อมกับได้นัด หมายว่าจะเดินทางมาในวันนี้ ท่านและเจ้าหน้าที่ ของวัดกำลังรออยู่ จนได้เวลาที่ทุกคนพร้อมแล้ว ผู้จัดจึงได้เล่าต่อไปว่า



ประวัติพระธาตุจอมแจ้ง


ตามตำนานพระธาตุจอมแจ้งเล่าว่า สถานที่นี้เป็นที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดแพร่ นับเป็นโบราณสถานที่สำคัญคู่กับ พระธาตุช่อแฮ จนถึงกับกล่าวกันว่า ถ้ามานมัสการพระธาตุช่อแฮแล้ว แต่ไม่ได้มาถึง พระธาตุจอมแจ้ง ก็ได้ชื่อว่า ยังมาไม่ครบถ้วน

ทั้งนี้ เพราะอะไร..เพราะเป็นสถานที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา เสด็จมาโปรดสองตายายผู้ยากไร้ ที่ได้อาศัยอยู่บนภูเขาลูกนี้ ซึ่ง เลี้ยงชีวิตด้วยการทำไร่ จะขอนำมาเล่าโดยย่อว่า

“ในขณะเวลาใกล้รุ่งอรุณ พระพุทธองค์ พร้อมด้วยพระสาวกทั้งหลาย อันมี พระอานนท์ เป็นต้น ได้เสด็จมาถึงภูเขาลูกหนึ่งอันตั้งอยู่ทาง ทิศใต้แห่ง โกศัยบุรี จึงทรงวางบาตรของพระองค์ ลงตั้งไว้บนก้อนหินก้อนหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเกลี้ยง เกลางดงาม จนเห็นปรากฏเป็นรอยก้นบาตรมา ตราบเท่าทุกวันนี้ ปัจจุบันนี้เรียกว่า “ดอยปูกวาง”

เมื่อองค์สมเด็จพระบรมศาสดาทรงสำราญ พระอิริยาบถพอสมควรแก่เวลาแล้ว จึงเสด็จมา ถึงภูเขาอีกลูกหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้กัน ทอดพระเนตรไปทางไหนก็เป็นที่สว่างไสวดีงาม สมควรเป็นที่ ตั้งแห่งพระศาสนาต่อไป

บ่อน้ำทิพย์

เวลานั้นเป็นเวลาจวนสว่างแจ้งพอดี เห็นว่าบริเวณนั้นไม่มีน้ำสำหรับล้างพระพักตร์ เพราะ ปีนั้นบ้านเมืองแห้งแล้ง และอีกอย่างหนึ่ง สถานที่ก็สูง องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงได้ทรงอธิษฐาน ยกพระหัตถ์เบื้องขวาเจาะลงไปในที่แห่งหนึ่ง ปรากฏเป็นบ่อน้ำใสสะอาดบริสุทธิ์

บ่อน้ำนั้นมีลักษณะ ๕ เหลี่ยม คล้ายนิ้ว พระหัตถ์ทั้ง ๕ ของพระองค์ ต่อมาภายหลังมี พระยาดับภัย มาขุดลึกลงไปอีก มีรูปร่างลักษณะ อย่างเดิม แล้วก็ก่อด้วยอิฐและปูน จึงมีชื่อว่า “บ่อน้ำทิพย์” ปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้...”

เมื่อผู้จัดเล่ามาถึงตอนนี้ จึงถามเจ้าอาวาสว่าบ่อน้ำทิพย์นี้อยู่ตรงไหน ท่านได้ชี้มือไปทางขวา ของพระเจดีย์แล้วกล่าวว่า บ่อน้ำทิพย์อยู่ทางต้นมะขามโน้น ซึ่งมองออกไปเห็นพวกเรานั่งอยู่ใต้ร่มไม้หลายคน แล้วจึงได้เล่าเรื่องราวต่อไปอีกว่า

“ในขณะนั้น ยังมีสองตายายพากันทำไร่ ปลูกเผือกมันเลี้ยงชีวิตของตนอยู่ที่นั้น
องค์สมเด็จพระภควันต์จึงได้ตรัสถาม ถึงบริเวณนี้
สองตา ยายจึงกราบทูลว่า มีถ้ำอยู่ถ้ำหนึ่งทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของภูเขาลูกนี้

ในเวลาเดียวกันนั้น สองตายายได้เห็น พระพุทธเจ้าเสด็จมา ก็มีความปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง จึงคิดที่จะถวายโภชนาหาร แต่ไม่สามารถจะทำได้ เพราะตนเป็นคนยากจน ไม่มีข้าวปลาอาหารที่จะ นำมาถวาย ตาจึงบอกยายว่าให้ไปเอาหัวมันในไร่มาถวาย ยายจึงไปหาหัวมันมาได้ ๓ หัว ล้าง ให้สะอาดดีแล้ว จึงได้เอามาใส่บาตรพระพุทธเจ้า

องค์สมเด็จพระบรมศาสดาจึงทรงรับ และ ฉันหัวมันของสองตายายนั้น แล้วจึงทรงอนุโมทนา และแสดงธรรมโปรด จนสองตายายตั้งมั่นอยู่ใน ไตรสรณาคมน์แล้ว จึงกราบทูลองค์สมเด็จพระประทีปแก้วต่อไปว่า บ้านเมืองนี้เป็นที่อดอยาก ข้าวยากหมากแพงฝนแล้งไม่ตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารก็เหี่ยวแห้งตายไปแทบจะไม่มีเหลือ

องค์สมเด็จพระบรมศาสดาจึงตรัสถามว่า ขณะนี้เป็นเดือนอะไร
สองตายายจึงตอบว่า เป็น เดือน ๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีจอ
ดังนี้แล้ว พระองค์จึงทอดพระเนตรเห็นบริเวณนั้นสว่างไสว จึงได้ทรง แย้มพระโอษฐ์ขึ้น
พระอานนท์จึงถามถึงเหตุนั้น

องค์สมเด็จพระภควันต์จึงตรัสว่า “ดูก่อนอานนท์ สถานที่นี้เป็นที่รื่นรมย์ ยินดีมาก สมควรเป็นที่ตั้งแห่งพระศาสนาของ ตถาคตต่อไปอีกแห่งหนึ่ง”
พระอานนท์ได้ยินดังนั้น จึงกราบทูลว่า “ภันเต ภควา..ข้าแด่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ขอพระองค์ทรงประทานพระเกศาธาตุบรรจุไว้ในที่นี้ เพื่อเป็นที่กราบไหว้บูชา แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายต่อไปเถิด พระพุทธ เจ้าข้า”

องค์สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์จึงทรงยกพระหัตถ์ขวาขึ้นลูบพระเศียร ก็ได้พระเกศา ๒ เส้น แล้วทรงประทานให้พระอานนท์ พระเถระจึง น้อมรับเอาด้วยกระบอกไม้รวก แล้วก็ส่งให้ท้าวสักกเทวราช พระองค์จึงทรงเนรมิตกระอูบทองคำใบหนึ่งใหญ่ประมาณ ๗ กำมือ เป็นที่บรรจุ พระเกศาธาตุ พร้อมทั้งปราสาทหลังหนึ่งสูง ๒ วา ๒ ศอก

และคนทั้งหลายได้ช่วยกันขุดอุโมงค์ ลงลึก ๗ วา ก่อด้วยดินและอิฐ แล้วจึงเอาแก้ว แหวนเงินทองของมีค่าใส่ไว้เป็นอันมาก เพื่อเป็น การบูชาพระเกศาธาตุ แล้วเอากระอูบทองคำที่ บรรจุพระเกศาธาตุและปราสาทลงไว้ที่นั้น ภายหลังก็ทำการก่อพระเจดีย์ครอบไว้สูง ๑๔ วา ๒ ศอก เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว

องค์สมเด็จพระประทีปแก้วจึงตรัสแก่พระอานนท์ว่า “ผู้ใดมีจิตศรัทธามาสร้างพระเจดีย์ กุฏิ วิหาร เป็นต้น ได้มาทำบุญให้ทานและนมัสการ ณ สถานที่นี้ บุคคลผู้นั้นจะได้ผลานิสงส์อันยิ่งใหญ่ไพศาล ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า จะพลันได้ บรรลุมรรคผลนิพพานในกาลอันใกล้นี้แล

ดูก่อนอานนท์ สถานที่นี้ต่อไปภายหน้า เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว จะมีพระสาวกนำ พระธาตุ หัวแม่มือข้างซ้าย ของตถาคตมาบรรจุไว้ในสถาน ที่นี้ จะมีพระยาองค์หนึ่งซึ่งมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา จะได้มาทำการบูรณะซ่อมแซมให้ เจริญรุ่งเรืองต่อไป

แล้วองค์สมเด็จพระจอมไตรจึงมีพระพุทธฎีกาต่อไปว่า ภายภาคหน้ามหาชนผู้มีศรัทธา จักพากันมากราบไหว้สักการบูชายังพระเจดีย์ ที่บรรจุพระเกศาธาตุแห่งตถาคต ณ สถานที่นี้ แล้วจักมีอายุมั่นยืนยาว เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไป สถานที่นี้จักได้ชื่อว่า พระธาตุจอมแจ้ง ดังนี้แล”

รัชสมัยพระเจ้าลิไทย

กาลเวลาได้ล่วงมานาน องค์พระเจดีย์ได้ชำรุดทรุดโทรมลง เนื่องจากถูกภัยธรรมชาติ และยุทธสงคราม จนถึง พ.ศ. ๑๙๐๐ ปีเศษ สมัย พระเจ้าลิไท ครองกรุงสุโขทัย จึงได้ยกพลมา พร้อมด้วยข้าราชบริพารทั้งหลาย เพื่อเสด็จมาบูรณะพระบรมธาตุ พอมาถึง บ้านกวาง จึงเสด็จ พักแรมอยู่ที่นั้นหนึ่งคืน แล้วจึงจะเสด็จต่อไป

แต่คืนนั้นมีเหตุช้างที่บรรทุกสิ่งของมาล้มตายไปเสียเชือกหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะหมอบ หรือ มูบ ณ ที่บ้านกวางนั้น จึงมีนามว่า บ้านกวางช้างมูบ มาถึงทุกวันนี้

พระองค์จึงมีพระบัญชาเฉลี่ยสิ่งของไป บรรทุกช้างเชือกอื่น แล้วจึงเคลื่อนขบวนรี้พลช้าง
ม้า เสด็จมาถึงที่นี้พอดีเป็นเวลาใกล้จะรุ่งแจ้ง จึง เรียกดอยนี้ว่า “ดอยจวนแจ้ง”

พระองค์จึงรับสั่งให้มหาดเล็กและเหล่านางสนมจัดที่ประทับบน ดอยนี้ ปัจจุบันนี้ซากกำแพง ห้องพัก และบ่อน้ำ ชาวบ้านเรียกว่า “ศาลานางแก๋ว - นางแมน” และ “บ่อน้ำนางแก๋ว - นางแมน”

เมื่อพระองค์ประทับอยู่ที่นี้พอสมควรแล้ว จึงได้เสด็จไปบูรณะวัดพระธาตุช่อแฮก่อน แล้วจึง กลับมาบูรณะพระธาตุจอมแจ้งจนสำเร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้เสด็จกลับไปสร้างอารามขึ้นตรงที่ ช้างล้มเสียชีวิต จึงมีชื่อว่า วัดช้างมูบ มาจนถึงปัจจุบันนี้

ขอจบเรื่องราวไว้เพียงแค่นี้ เพื่อจะขอไป ทำพิธีสรงน้ำพระธาตุกัน โดย หลวงพี่โอ เป็นประธานในการชักรอกสายเชือกขึ้นไปสู่ยอดพระเจดีย์ โดยการรินน้ำหอมและโปรยดอกไม้ไว้ในถังน้ำ ในขณะนั้น ญาติโยมที่นั่งอยู่ใต้ต้นมะขามต่างก็ฝากขวดน้ำอบน้ำหอมมาร่วมด้วย พอจะเริ่ม พิธีชักรอกถังน้ำเล็ก ๆ ขึ้นไป ทันใดนั้น..ลมก็พัดกรรโชกแรงมาก จนหลังคาผ้าเต้นท์ปลิวขึ้นปลิวลง ใบไม้ได้ร่วงหล่นลงมาใส่หัวญาติโยมหลายคน


เมื่อยืนมองแล้วอดขำในใจไม่ได้ เพราะทุกคนต่างก็เข้าใจว่าไม่ใช่ลมธรรมดา จึงไม่ได้ปัดเอาใบไม้ที่อยู่บนศีรษะออก ปล่อยให้อยู่สภาพอย่างนั้น คงจะถือว่าเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง ตอนหลังผู้จัดได้นำเทปวีดีโอที่บันทึกภาพไว้มาย้อนเปิดถึงตอนนี้ จึงสังเกตได้ว่าขณะนั้นไม่มีลมพัดเลย แต่พอถึงตอนที่จะทำพิธี ลมพัดมาอย่างกระทันหัน แล้วก็สงบไปภายในเวลา ๒ - ๓ นาทีเท่านั้น

ขณะที่ชักรอกถังน้ำหอมขึ้นไปนั้น ทุกคนก็สวดอิติปิโสตลอดเวลา ต่างก็แหงนหน้ามองขึ้น ไปเห็นถังน้ำขึ้นไปจนถึงยอดพระเจดีย์ แล้วก็กระ ตุกเชือกอีกเส้นหนึ่งเทน้ำราดรดตั้งแต่ยอดพระ เจดีย์ลงมา ทุกคนต่างยกมือพนมและเปล่งเสียง อนุโมทนาจนเสร็จพิธี แล้วได้ร่วมกันถวายเงินแด่ เจ้าอาวาส เพื่อปั้นรูปนรกสวรรค์ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๗๗,๗๓๐ บาท


ในตอนนี้ หลวงพี่โอเห็นว่าถังน้ำที่ชักรอก ขึ้นไปสรงน้ำองค์พระธาตุนั้นเก่าแก่มาก ท่านจึง นำเงินที่ญาติโยมใส่ย่ามของท่านไว้ออกมาถวายแก่ เจ้าอาวาส พร้อมทั้งแจ้งวัตถุประสงค์ว่า ขอให้ท่านช่วยเปลี่ยนถังน้ำให้ใหม่ด้วย พวกเราจึงพร้อมใจ สาธุ..กันทันที..!

◄ll กลับสู่สารบัญ



webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 1/11/10 at 14:56 Reply With Quote


09.

พระแท่นศิลาอาสน์ จ.อุตรดิตถ์

เชิญคลิกชม "คลิปวีดีโอ ตอนที่ ๓" ได้ที่นี่


ครั้นเจ้าอาวาสให้พรจบแล้ว จึงอุทิศส่วนกุศล แล้วเดินทางต่อไปสู่อุตรดิตถ์ เวลาประมาณ ๑๕.๐๐ น. ก็ถึง วัดพระแท่นศิลาอาสน์ ซึ่งทางวัดได้จัดเตรียมสถานที่ไว้ต้อนรับ เมื่อ คณะสระบุรี โดยมี จ่าวิรัตน์ และ อู่วารี จัดโต๊ะบายศรี และเจ้าหน้าที่ของเราห่มผ้าที่พระแท่นเสร็จแล้ว จึงได้เล่าประวัติความเป็นมาของสถานที่นี้ต่อไปว่า...

ประวัติพระแท่นศิลาอาสน์

สำหรับสถานที่นี้จะเป็นจุดสุดท้ายที่สำคัญ อันเป็นกำหนดการที่วางไว้ ควรที่พวกเราจะได้มากราบไหว้บูชา เพราะเป็นโบราณสถานเก่าแก่ คู่บ้านคู่เมืองของชาวอุตรดิตถ์เช่นกัน ตามประวัติโดยย่อเล่าว่า

พระแท่นศิลาอาสน์แห่งนี้เป็นพุทธสถานที่องค์สมเด็จพระชินสีห์ เมื่อครั้งยังเป็นหน่อเนื้อพระบรมพงศ์โพธิสัตว์ แต่ละพระองค์ได้ทรงเสวยพระชาติเป็นพญาไก่บ้าง เป็นพญานาคราชบ้าง พญาเต่า พญาโคศุภราช และพญาราชสีห์ เป็นต้น โดยได้มาพร้อมกันบำเพ็ญพระบารมีที่ศิลาแลงก้อนหนึ่ง ขนาดกว้าง ๘ ฟุต ยาว ๙ ฟุต สูง ๓ ฟุต ณ บนภูเขานอกเมือง "อุตรคาม" คืออุตรดิตถ์ นี้

พระโพธิสัตว์เหล่านั้น ต่างก็ได้ตรัสรู้ผ่านไปแล้ว ๔ พระองค์ คือ สมเด็จพระพุทธกกุสันโธ พระพุทธโกนาคม พระพุทธกัสสป และพระสมณโคดม ยังคงเหลือ "พระศรีอาริยเมตไตรย" อีก เพียงพระองค์เดียว

สมัยต่อมาพุทธศักราช ๓๐๖ ฤาษีสัชนาลัย และ ฤาษีสิทธิมงคล สร้างเมืองสวรรคโลก แล้วให้ บาธรรมราช ขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองเมือง และถวายพระนามว่า พระยาธรรมราชา

ต่อมาพระองค์จึงโปรดให้สร้างเมืองศรีสัชนาลัยขึ้นใกล้กับเมืองสวรรคโลก เนื่องจากที่ตั้งเมืองเดิมถูกน้ำเซาะ จึงเสด็จไปเสวยราชย์ที่เมืองศรีสัชนาลัย พระองค์ได้ทรงสถาปนาบ้านอุตรคามนี้ ขึ้นเป็น เมืองกำโพชนคร คือ "เมืองทุ่งยั้ง" แล้วให้พระโอรสองค์หนึ่งนามว่า เจ้าธรรมกุมาร มาปกครอง

หมายเหตุ : "พงศาวดารเหนือ" เล่าว่า ฤาษีสัชนาลัย และฤาษีสิทธิมงคล สองพี่น้องมีอายุได้ ๑๐๐ ปี ตั้งแต่พระพุทธเจ้ายังดำรงราชสมบัติจนตรัสรู้ ณ บ้านนางสารีมารดาพระสารีบุตร มีพราหมณ์ทั้งสิบบ้านเป็นลูกหลานของฤาษีทั้งสองรูปดังกล่าว มีอายุยืน ๓๐๐ ปี สูงสามวา อายุ ๒๐๐ ปี สูงเก้าศอก เหตุเพราะกินบวช และทรงพรต ไม่ฆ่าสัตว์ จึงมีอายุยืน

ฤาษีสัชนาลัยได้กล่าวกับฤาษีสิทธิมงคลว่า ตนจะเข้านิพพานแล้ว จึงได้ให้โอวาทไว้ในพระพุทธศาสนากำกับไสยศาสตร์ให้ไว้ด้วยกัน ต่อมาได้นำ นางท้าวเทวี ผู้เป็นหลานสาวนางโมคคัลลี บุตรนายบ้านหริภุญไชยมาเป็นอัครมเหสีของ บาธรรมราช

ต่อมาเจ้าธรรมกุมารได้ทรงทราบจากฤาษีตนหนึ่งว่า สถานที่นี้เป็นที่สำคัญในอดีต อันเป็นสถานที่ที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบำเพ็ญเพียรซึ่งพระบารมีในอดีตชาติ และเมื่อครั้งยังทรงพระชนม์อยู่ องค์สมเด็จพระบรมครูได้เคยเสด็จมาประทับนั่งฉันภัตตาหาร และแสดงธรรมที่แท่นศิลาแลงนี้

ต่อมาพระราชาเสด็จมาทอดพระเนตรแล้ว จึงทรงมีความศรัทธาเลื่อมใสใคร่จะบูรณะปฏิสังขรณ์ พระองค์จึงทรงมีพระราชสาส์นกราบทูลให้พระราชบิดาทรงทราบ พระยาธรรมราชาจึงได้ส่งฤาษีทั้ง ๕ อันมี พระฤาษีสุเทวะ พระฤาษีพิลาลัย พระฤาษีตาไฟ พระฤาษีตาวัว พระฤาษีนารอท เป็นประธาน พร้อมทั้งช่างฝีมือดี ๔ ท่าน คือ บาพิษณุ บาชีพิศ บาฤทธิ์ บาอินทร์ มาร่วมประชุมปรึกษาหารือกันว่า เราจะทำงานครั้งนี้ให้งามวิจิตรกว่าช่างทั้งหลายในแผ่นดิน


เจ้าธรรมกุมารพร้อมไปด้วยฤาษี พ่อชี พราหมณ์ และพสกนิกรของพระองค์ทั้งหลาย จึงร่วมกันสร้างพระมณฑปครอบคลุมศิลาแลงก้อนนี้ พร้อมทั้งสถานที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาประทับยืน ปัจจุบันนี้เรียกว่า วัดพระยืนพุทธบาทยุคล

สถานที่แห่งนี้เป็นรอยพระพุทธบาททั้งซ้ายขวาเคียงกันอยู่ ลักษณะเหมือนอย่างรอยเท้าคนยืน และอยู่บนศิลาแลงก้อนหนึ่ง ซึ่งก่อปูนเป็นรูปดอกบัวหุ้มไว้ และสถานที่ประทับนอนเรียกว่า วัดพระนอน ซึ่งอยู่ในบริเวณนี้ทั้งหมด และวัดอื่น ๆ ในเมืองกำโพชนคร

เมื่อสร้างเสร็จแล้ว จึงโปรดให้กระทำพิธีสมโภช แล้วให้ประชาชนได้เข้าไปสักการบูชา จนเป็นประเพณีงานเทศกาลประจำปีตั้งแต่นั้นสืบมา ครั้นถึงรัชสมัย พระเจ้าลิไทย ครองกรุงสุโขทัย พระองค์ได้เสด็จมาบูรณปฏิสังขรณ์ และทรงสร้างพระพุทธปฏิมากรถวายไว้เป็นที่กราบไหว้บูชา ณ มณฑปพระแท่นศิลาอาสน์นี้ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๒

ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้เสด็จมาปฏิสังขรณ์วัดหัวเมืองทางเหนือ คือ วัดพระแท่นศิลาอาสน์ วิหารพระแท่น และวัดพระยืน เป็นต้น สมัยนั้นเรียกเมืองนี้ว่า เมืองศรีพนมมาศทุ่งยั้ง

เมื่อ พ.ศ.๒๒๘๓ พระองค์ทรงโปรดให้ช่างแกะสลักบานประตู ซึ่ง เป็นที่สนพระทัยในสมัย รัชกาลที่ ๖ ที่ได้เสด็จมา เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๕๐ สมัยนั้นตรงกับวันมาฆบูชาที่ทางวัดกำลังมีงานเทศกาล แต่บานประตูดังกล่าวได้ถูกไฟไหม้ไปหมดนานแล้ว

เมื่อมาถึงสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราช พร้อมด้วยนายทหารคู่พระทัย อันมี รัชกาลที่ ๑ เป็นต้น สมัยนั้นยังดำรงพระยศเป็น พระยาอภัยรณฤทธิ์ ได้ปราบก๊กเจ้าพระฝางแล้ว ได้เสด็จมาปฏิสังขรณ์วัดพระแท่นศิลาอาสน์ และโปรดให้จัดงานฉลอง ๓ วัน ๓ คืน เมื่อปี ๒๓๑๓

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระองค์ก็เสด็จมา ณ ที่นี้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๔ พร้อมกับ สมเด็จพระพันปีหลวง และในปัจจุบันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ก็ได้เสด็จมานมัสการ เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๑ คือเมื่อ ๔๐ ปีที่ผ่านมานี้เอง


เมื่อรับฟังเรื่องราวในพงศาวดารแล้ว พวกเราคงอยากจะทราบต่อไปว่า พระเดชพระคุณ หลวงพ่อเคยเล่าอะไรไว้บ้างไหม สำหรับสถานที่นี้ เพราะเป็นเส้นทางที่ท่านเคยเดินทางมาจากสุโขทัย เช่นเดียวกับพวกเราที่มายืนอยู่ ณ ที่นี้ โดยท่าน ได้เล่าให้ฟังไว้เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙ ว่าดังนี้

“...ที่เมืองอุตรดิตถ์นี่ ความจริงเคยมา ๒ ครั้ง ในชีวิตจริง ๆ ที่มาอย่างเป็นทางการ คำว่า “ทางการ” ไม่ใช่ทางราชการใช้ไป แต่หมายถึงการ ไปอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ไอ้การไปอย่างเละเทะ สมัยเป็นหนุ่มยังไม่ได้บวชน่ะไม่ได้ความ เป็นอัน ว่าไปที่ไหนก็ไปยุ่งที่นั่น...”

หลวงพ่อเล่าต่อไปอีกว่า “ในเมืองอุตรดิตถ์มีอะไรบ้าง มีหลายอย่าง แต่จะพูดไปเฉพาะอย่างก็แล้วกัน สิ่งที่สำคัญก็คือ มี พระแท่นศิลาอาสน์ พระแท่นศิลาอาสน์นี้เขาลือกันว่า องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถเคยเสด็จมา ประทับที่นั่น คือพระพุทธเจ้าของเราองค์ปัจจุบันนี้ แหละ เคยประทับตรงนั้น ประทับแล้วก็ฉันผลสมอ ที่มีใครเขาเอามาถวายก็ไม่ทราบ เขาว่ากันยังงั้นนะ เกิดไม่ทัน!

เมื่อเกิดไม่ทันแล้วจะรับรองไหมว่า การไปไหว้ไปบูชาของปวงชนชาวไทยและชาวเทศ ที่ เข้าไปในเขตของอุตรดิตถ์ แล้วไปนั่งไหว้บูชาองค์ สมเด็จพระธรรมสามิสร์ที่พระแท่นศิลาอาสน์ จะเห็นว่าเป็นคุณหรือเป็นโทษ แต่ความจริงอาตมา เองมีความรู้สึกว่าเป็นคุณ นี่พูดถึงการไหว้..พูดถึงการบูชา

ทีนี้มาพูดกันถึงว่า ถ้าเป็นที่ของพระพุทธเจ้านั่งจริง..ประทับอยู่จริง ไหว้ก็ได้บุญ ถ้าบังเอิญเป็นที่ๆ ชาวบ้านสร้างหลอกขึ้นมาว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่งตรงนั้น แต่ความจริงไม่ใช่ เพราะตั้งใจหลอก แล้วเราไหว้เราจะได้บุญไหม ตอนนี้เราก็ต้องมานั่งคิดกันว่า ความจริงที่เราไหว้นี่ เราไหว้ก้อนหิน หรือเราไหว้พระพุทธเจ้า เราบูชา บูชาก้อนหิน หรือว่าบูชาพระพุทธเจ้า



(ถวายปัจจัยแด่เจ้าอาวาสวัดพระแท่นฯ วัดพระยืน และ วัดพระนอน)

ถ้าจะว่ากันไปตามศัพท์ก็บอกว่า เราไหว้ พระพุทธเจ้า เราบูชาพระพุทธเจ้า ถ้าไหว้จริง บูชาจริงๆ อาตมาคิดว่าได้บุญจริงๆ ได้บุญหนัก การแสดงความนอบน้อม การไหว้เป็นความดี ของเรา อปจายนกรรม กรรมคือการอ่อนน้อม

ถ้าเราอ่อนน้อมต่อองค์สมเด็จพระบรม ศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็แสดงว่าจิตใจของเรา เห็นดีเห็นชอบกับปฏิปทาของพระองค์ ที่พระองค์ทรงมีพระพุทธจริยาว่า
๑. พวกเราไม่ทำความชั่วทั้งหมด
๒. ไม่ทำความชั่ว แล้วทำความดีทุกอย่าง
๓. มีจิตใจผ่องใส
ไม่เป็นศัตรูกับใคร มีอารมณ์รื่นเริง มีความสุขใจ หาเหตุแห่งความสุข ใจให้ปรากฏ นี่เราอ่อนน้อมเพราะพระองค์มีความ ดีจุดนี้

ทีนี้การบูชา “บูชา” แปลว่า “ยอมรับนับถือ” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราไม่ได้บูชาหิน เราบูชาพระพุทธเจ้า ไหว้เราก็ไม่ได้ไหว้หิน เราไหว้พระพุทธเจ้า พร้อมที่จะปฏิบัติความดีตามที่ พระองค์ทรงสั่งสอน

ฉะนั้น จึงกล่าวว่า พระแท่นศิลาอาสน์ ที่ อุตรดิตถ์ ถ้าใครจะคิดว่าเป็นแท่นหินธรรมดา ไม่น่าจะไปไหว้ ความจริงก็ควรเป็นอย่างนั้น ถ้า เราคิดจะไหว้หินแล้ว อย่าไปไหว้เลย เสียเวลา เปล่าๆ

ถ้าเราคิดว่าจะไปบูชาหินแล้ว ก็อย่าไปบูชาเลย แต่ถ้าเราคิดว่าเวลานี้ เราไหว้พระพุทธเจ้า ไม่ได้ไหว้หิน เราบูชาพระพุทธเจ้า ไม่ได้บูชาหิน อันนี้มีอานิสงส์เต็มที่...”

พระเดชพระคุณหลวงพ่อให้คติธรรม เพียงแค่นี้ ในโอกาสนี้ที่พวกเราได้ตามรอยท่านมา ถึงที่นี้ จึงขอสรุปคำที่ท่านแถมตอนท้ายไว้อีกว่า

“...เรื่องนี้ ถ้าหากว่าอยากจะทราบก็คอย แล้วกัน ถ้าว่างๆ จะขยับเรื่องรู้ก่อนเกิดให้ฟัง แต่ ก็ไม่รับรองว่ามันจะตรงกับความจริงนะ ทั้งนี้เพราะ อะไร เพราะว่าก็ไม่รู้นี่ คนมันรู้ก่อนเกิด คนเขาบอก ตรงเขาเขียนไว้ตรงก็พูดตรง คนเขาเขียนไว้ไม่ ตรงมันก็โกหกกันไป เขาโกหกกันมา เราก็โกหก ต่อกันไป จะได้ไม่เสียชาติสันดานเดิม

เป็นอันว่ามาที่ไหนล่ะ มาที่พระแท่นศิลาอาสน์ อ๋อ..เขาเขียนไว้ว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาที่ สระบุรี แล้ว ๔ ปี..อะไรกันล่ะ?”

หลวงพ่อพูดกับผู้ที่ไม่เห็นตัวนะ “อ๋อ..หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จมาสระบุรี แล้ว อีก ๔ ปี จึงเสด็จมาตรงนี้ นี่ขยับไว้แค่นี้ก็ แล้วกัน...”

ถ้อยคำของหลวงพ่อก็ขอจบไว้เพียงแค่นี้ คงจะเป็นการยืนยันว่า องค์สมเด็จพระบรมศาสดา เคยเสด็จมาทรงสำราญพระอิริยาบถครบทั้ง ๓ ประการ สถานที่นี้นับเป็นสถานที่สำคัญมาในอดีต ตั้งแต่ครั้งพุทธกาล คือเป็นสถานที่พระพุทธเจ้า ทรงประทับนั่ง ประทับยืน และ ประทับนอน พร้อมกันทั้ง ๓ อิริยาบถ

แต่จะเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม ผู้จัดพร้อม ด้วยคณะเจ้าหน้าที่ ได้เดินทางกันมาเพื่อนัดหมาย กับทางวัด เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว (๒๕๔๐) ขณะที่เดินทางมาจากสุโขทัยผ่านศรีสัชนาลัย เชื่อมต่อกับจังหวัดอุตรดิตถ์ ปรากฏการณ์พิเศษ ขณะที่รถกำลังวิ่งบนท้องถนนในเวลาประมาณ บ่ายๆ นั่งอยู่ด้านหน้ามองเห็นหน้ากระจกรถบัส ของ คุณอนันต์ จากโคราช

ขณะที่คุณอนันต์กำลังขับอยู่ มองเห็นน้ำสาดกระเซ็นมาที่หน้ากระจกรถเต็มไปหมด แต่มี หยดน้ำผ่านมาเฉพาะเดี๋ยวเดียวเท่านั้น จึงคิดว่า คงจะเป็นน้ำมาจากรถคันที่วิ่งสวนไป ในลักษณะ เหมือนคนเอาน้ำสาดผ่านไป ไม่ได้นึกเฉลียวใจแต่ อย่างใด เพราะเวลานั้นหมดหน้าฝนแล้ว อากาศก็ กำลังแจ่มใส ไม่มีลักษณะฝนตกแต่ประการใด

จึงได้วิทยุถามรถปิกอัพคันที่วิ่งนำหน้า ซึ่งขณะนั้นวิ่งนำหน้าประมาณ ๔ คัน คือรถของ สารวัตรประสาท รถคุณสัมพันธ์ รถของคุณพลอย รถของคุณเล็ก (ธนพล) พอดีรถของคุณพลอยมี วิทยุ ลูกชายคือ “ต้น” ได้ตอบว่าเขาเองก็ได้เห็น เช่นกัน

เมื่อรถจอดแล้ว จึงได้สอบถามรถทุกคัน ทุกคนต่างก็บอกว่า เป็นฝนอย่างแน่นอน เป็นฝน ที่เกิดขึ้นไม่เกิน ๒ นาที เป็นฝนที่ตกนอกฤดูกาล เม็ดใหญ่มาก โปรยปรายมาชั่วขณะหนึ่งแล้ว ก็หายไป รถบัสคันที่ผู้จัดนั่งมาขณะวิ่งตามหลัง จึงได้เห็นรอยฝนตกที่ปรากฏอยู่บนถนนเปียก เพียงแค่นิดเดียว เมื่อวิ่งผ่านไปแล้วก็ไม่เห็นร่อง รอยฝนตกอีกเลย จนกระทั่งกลับ ทุกแห่งจะไม่ พบอีกเลย พบแต่ที่ตรงนี้เท่านั้น จึงได้สอบถาม ท่านวันชัยว่า ตรงจุดนั้นนะคืออะไร?

ท่านบอกว่าเป็นเขตรอยต่อระหว่างศรีสัชนาลัยกับจังหวัดอุตรดิตถ์ จึงคิดว่าท่านคง สงเคราะห์ให้กำลังใจ ประทานน้ำพระพุทธมนต์ มาเป็นสักขีพยานยืนยันถึงความมั่นใจ เพราะการ ติดตามรอยพระพุทธบาท จึงมักจะได้รับการรับรอง จากเบื้องบนแทบทุกแห่ง ตามที่หลายคนเคยร่วม เดินทางไปได้ประสบเหมือนกันมาแล้ว โดยเฉพาะ งานนี้ ก่อนการเดินทาง ก็ได้แย้มไว้กับหลายคนว่า งานนี้สำคัญมากนะ

สรุปความว่า ตามประวัติพระพุทธเจ้า เสด็จมาถึงเมืองน่าน เมืองแพร่ และต้องมาถึง สถานที่นี้อย่างแน่นอน ต่อไปนี้จะเริ่มพิธีบวงสรวง สักการบูชา ตามประเพณีที่ครูบาอาจารย์ปฏิบัติกัน มา จะขออาราธนา หลวงพี่โอ เป็นประธานจุดธูป เทียนที่โต๊ะบายศรี

พร้อมกันนี้ขอให้ทุกท่านตั้งจิตอธิษฐาน อ้างคุณพระศรีรัตนตรัย มีคุณพระพุทธเจ้า คุณ พระธรรมเจ้า และคุณพระอริยสงฆเจ้า คุณครู อุปัชฌาอาจารย์เจ้า เทพพรหมเจ้าทั้งหลาย ตลอด ถึงบรรดาพระมหากษัตริย์เจ้า และท่านผู้ร่วมสร้าง ทั้งปวง ขอได้โปรดเสด็จมาอนุโมทนาการ เพื่อผล แห่งความไพบูลย์ทั้ง ๔ ประการ

คืออายุ วรรณะ สุขะ และพละ ขอให้มี อายุ ยืนยาวถึงอายุขัย วรรณะ ผิวพรรณขอให้ ผ่องใส ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน สุขะ ขอให้มีความสุขด้วยโลกทรัพย์ที่หามาได้โดยชอบ ธรรม อย่าได้ฝืดเคือง และความสุขในอริยทรัพย์ จากการปฏิบัติธรรม พละ คือขอให้มีกำลังกายและ กำลังใจ สามารถฟันฝ่าอุปสรรคไปได้

และขอให้ชาวไทยในเขตนี้และเขตใกล้เคียง จงพ้นจากภัยพิบัติทั้งปวง คือภัยจาก ธรรมชาติ ภัยจากข้าวยากหมากแพง ภัยจาก สงคราม ภัยจากโรคติดต่อ และภัยจากอุบัติเหตุ ทั้งหลาย เป็นต้น

ขอให้คุ้มครองป้องกันภัยเหล่านั้น เฉพาะ ผู้มีศีลธรรมประจำใจ โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติธรรม ขอให้เข้าถึงมรรคผลนิพพานเป็นที่สุด แล้วใคร จะประสงค์สิ่งอื่นใด ก็ขอให้อธิษฐานตามที่ต้อง การนะ

เมื่อประธานจุดธูปเทียนแล้ว จึงเปิดเทป บวงสรวง แล้วกล่าวคำถวายเครื่องสักการบูชา อัน มีบายศรีและผ้าห่มพระแท่น เป็นต้น คนที่นั่งอยู่ ด้านหลังวิหารพระแท่นบอกว่า ในขณะที่หลวงพ่อ บวงสรวงนั้น จะมีลมพัดรุนแรงมากชั่วขณะหนึ่ง มองเห็นใบไม้ปลิวว่อน

หลังจากเสร็จพิธีบวงสรวง จึงได้เข้าไปสรงน้ำโปรยดอกไม้ที่พระแท่น ซึ่งมีผู้นั่งอยู่ภาย ในวิหารมากมายเช่นกัน ครั้นออกมาภายนอก วิหารแล้ว ได้ยินเสียงประทัดดังลั่น เป็นอันเสร็จ พิธีบวงสรวง ต่อจากนั้นจึงร่วมกันสมทบทุนทอด ผ้าป่ารวม ๓ วัด ดังนี้

๑. เพื่อบูรณะพระแท่น และสร้างวิหาร หลังใหม่ เป็นเงิน ๑๒๓,๔๐๐ บาท
๒. สร้างสะพานคอนกรีต วัดพระยืนพุทธ บาทยุคล เป็นเงิน ๔๐,๐๐๐ บาท
๓. สร้างพระพุทธไสยาสน์ วัดพระนอน เป็นเงิน ๘๐,๐๐๐ บาท
๔. ถวายส่วนองค์พระ ๔ รูปที่มารับผ้าป่า รวม ๔,๐๐๐ บาท
๕. พระชัยวัฒน์ถวายจากเงินส่วนตัว ให้ แก่พระที่ติดตามมาด้วยกัน ๒๕,๐๐๐ บาท

สรุปยอดเงินทำบุญทั้ง ๑๕ วัด

รวมเงินทำบุญที่อุตรดิตถ์ ๓ วัด ๒๗๒,๔๐๐ บาท
รวมกับยอดเงินที่สุโขทัย ๙ วัด ๔๐๐,๐๐๐ บาท
วัดพระธาตุแช่แห้ง ๓๑๕,๕๐๐ บาท
วัดพระธาตุช่อแฮ ๒๖๐,๐๐๐ บาท
วัดพระธาตุจอมแจ้ง ๗๗,๗๓๐ บาท
ถวายเงินสดรวม ๑๕ วัด ๑,๓๒๕,๖๓๐ บาท
รวมค่าใช้จ่ายในงานประมาณ ๒๕๐,๐๐๐ บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๑,๕๗๕,๖๓๐ บาท

เมื่อถวายปัจจัยไทยทานและพระสงฆ์ให้ พรแล้ว หลวงพี่โอได้เมตตาประพรมน้ำพระพุทธ มนต์กันอย่างทั่วถึง สร้างความปีติยินดีแก่พวก เราเป็นอย่างยิ่ง หลังจากนั้นก็ออกมาร้องรำทำเพลง กันเป็นการปิดท้าย เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง เนื่อง ในการจัดงานครั้งนี้มีผลสำเร็จลุล่วงทุกประการ

การจัดงานพิธีตัดไม้ข่มนาม อันเป็นพิธีที่ สำคัญมาแต่โบราณ จึงเป็นการสานต่อเพื่ออนุชน รุ่นหลัง ทำเฉพาะในคราวจำเป็นเท่านั้น ที่ประเทศ ชาติจะประสบเคราะห์กรรม เพื่อให้บรรเทาเบาบาง ไปบ้าง เพราะถ้าผ่านพ้นวิกฤติกาลนี้ได้ ต่อไปท่าน ว่าประเทศไทยจะเจริญรุ่งเรืองเป็นมหาเศรษฐี คนจะหันมานับถือพระพุทธศาสนา พระมหากษัตริย์ จะเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของชาวไทยตลอดไป

โดยเฉพาะการจัดงานตามสถานที่ต่างๆ นั้น ส่วนใหญ่จะไปตามที่หลวงพ่อเคยไป ฉะนั้น การเดินทางไปจึงมิได้ทำเพื่อเป็นการวัดรอยเท้า ของท่าน แต่ทำไปเพื่อให้ลูกหลานของหลวงพ่อ รุ่นหลัง จะได้รู้ว่านอกจากวัดท่าซุงแล้ว ครูบาอาจารย์ของเราไปทำประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองและ พระศาสนา ไว้ให้แก่ผืนแผ่นดินไทยตรงไหนบ้าง




(ก่อนจะกลับพวกเราออกมาร่ายรำเป็นการเฉลิมฉลอง)

ถึงคนอื่นจะรู้หรือไม่ก็ตาม แต่ควรที่เราจะรับรู้ เพื่อความภูมิใจที่ได้มานั่งมายืนตรงที่ครูบา อาจารย์เคยทำพิธีมาแล้ว เหมือนกับได้ทันร่วมพิธี กับท่านเช่นกัน นับเป็นเกียรติประวัติเป็นอย่างยิ่ง เพราะโอกาสเช่นนี้หายากมาก คงจะมีเฉพาะกาล เพียงครั้งเดียวเท่านั้น เนื่องจากการจัดงานเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะจำนวนคนมากมาย จะ ต้องมีผู้ประสานงานให้ความช่วยเหลือทุกอย่าง

ต่อจากนั้นหลวงพี่โอก็ได้กล่าวต่อไปอีกว่า การกระทำเช่นนี้ นับเป็นความดีอย่างสูงยิ่ง เพราะ เป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพชน ต่อชาติ และพระพุทธศาสนา เราไม่ลืมบุญคุณของพระ มหากษัตริย์ เทวดาผู้รักษาเศวตฉัตร จึงไม่ทอด ทิ้งพวกเรา ช่วยให้เรารวยไว้เสมอ ช่วยให้เจริญ ขึ้น คือไม่ให้ตกต่ำ เพราะเห็นคุณงามความดีของเรา

เป็นอันว่า งานพิธีฉลองชัย ณ อาณาจักรสุโขทัย ได้ย้อนรอยไปในอดีตกาล จนกลับมาสู่ยุค ปัจจุบันนี้ เพื่อเป็นการรำลึกถึงสถานที่หลวงพ่อ เคยไปทำพิธีเกี่ยวกับบ้านเมืองมาแล้ว

พร้อมกับนำไปกราบไหว้บูชาสถานที่องค์ สมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จมาประทานเส้นพระ เกษาธาตุไว้ คือ พระธาตุแช่แห้ง พระธาตุช่อแฮ และ พระธาตุจอมแจ้ง เป็นต้น ด้วยเพราะผลของ การ “ตามรอยพระพุทธบาท” จึงทำให้งานฟื้นฟู พุทธสถานที่สำคัญเหล่านี้ได้รับความนิยมมาก

ผู้จัดจึงมีความปลื้มใจในการจัดงานทุกครั้ง ที่ลูกหลานหลวงพ่อให้ความสนใจ ถึงแม้จะ ไม่บอกก่อนว่าจะพาไปไหน ทุกคนก็ให้ความมั่นใจ ในการเดินทางทุกครั้ง ว่าจะต้องพาไปพบสถานที่สำคัญ อันประเสริฐสุดอย่างแน่นอน

ฉะนั้น ด้วยบุญญาภินิหารแห่งความดีใน ครั้งนี้ และครั้งก่อนๆ มาแล้วทั้งหมด คงจะช่วย ปลดความทุกข์ได้ในสงสาร เพื่อข้ามฝั่งอมตมหา นฤพาน ในสมัยกาลที่สิ้นสุดอายุขัย เป็นการปิด ฉากแห่งการเกิด เราจะไม่เกิดในภพใดๆ อีก เพราะ ผู้มีคุณของเรารออยู่เบื้องบน ลูกหลานของท่านทุก คนตั้งใจจะไปอยู่กับท่าน แล้วจะได้ไม่พลัดพราก จากกันไปอีก..ตราบนานเท่านาน...ชั่วนิจนิรันดร!

เมื่อได้กล่าวสรุปเพียงแค่นี้ ทุกคนก็ยกมือสาธุ แล้วแยกย้ายกันไปขึ้นรถ กว่าจะออกจากที่ นั่นก็เป็นเวลาเย็นแล้ว งานครั้งนี้จึงสำเร็จลงด้วยดี หากจะมีเรื่องอะไรต่อไป จะนำมาเล่ากันอีก สำหรับ ตอนนี้ขอลาก่อน ไว้พบกันตอนหน้า...

สวัสดี

ll กลับสู่สารบัญ



webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member

Go To Top
 

"เว็บตามรอยพระพุทธบาท" ได้รับลิขสิทธิ์จาก พระอาจาย์ชัยวัฒน์ อชิโต เพื่อเผยแพร่รูปภาพและข้อมูล
จาก "หนังสือตามรอยพระพุทธบาท" จึงขอสงวนลิขสิทธิ์ตาม
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
ห้ามคัดลอกข้อมูล, ภาพ, เสียง ออกไปเผยแพร่ หรือนำไปโพสในเว็บใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน

เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีกับโปรแกรม Internet Explorer, Window Media V.9, Flash Player ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 768 pixels ความเร็วอินเตอร์เน็ต 1 Mbps. ขึ้นไป

ถ้าพบข้อผิดพลาดใดๆ หากจะแนะนำ หรือติชม และสอบถาม ติดต่อ "ทีมงานเว็บตามรอยพระพุทธบาท"
เริ่มเปิดเว็บไซด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Copyright @ 2008 tamroiphrabuddhabat.com All rights reserved