ถ้าพบข้อผิดพลาดในเว็บไซด์ จะแนะนำและติชม หรือสอบถาม ติดต่อที่ WEBMASTER
 
VISITORS


     







Not logged in [Login ]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites  
[*] posted on 12/9/09 at 21:10 Reply With Quote

แพทย์ชี้ปลูกถ่าย "ไขกระดูก" ชุปชีวิตผู้ป่วยเด็กพ้นวิกฤตมีชีวิตใหม่


อันตรายกว่าเก่า..มาลาเรียตัวใหม่ แพร่จากลิงสู่คน เสียชีวิตใน 24 ชม.


........ติดจากลิงสู่คน เชื้อแรงกว่าเดิม ทำให้ผู้ ป่วยตายได้ใน 24 ชั่วโมง แต่ไม่ ใช่เชื้อกลายพันธุ์ยันไทยพบผู้ป่วย 3 รายที่ยะลา และจันทบุรี อธิบดีกรมควบคุมโรคเผย ปีนี้ในไทยพบผู้ป่วยมาลาเรีย กว่า 2.6 หมื่นคน โดยกว่าครึ่งเป็นต่างด้าว

เมื่อวันที่ 11 ก.ย. ที่กระทรวงสาธารณสุข นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข เปิดเผยกรณีที่นักวิจัยมหาวิทยาลัยมาเลเซีย ซาราวัก ค้นพบเชื้อมาลาเรียสายพันธุ์ ใหม่ที่ติดต่อจากปรสิต พลาสโมเดียม โนลาซี (Plasmodium knowlasi) ซึ่งปกติเป็นโรคติดต่อในลิง โดยเฉพาะลิงกัง และลิงแสม แต่กลับแพร่เชื้อสู่คน มีความรุนแรงของโรคสูงหากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เสียชีวิตได้ภายใน 24 ชั่วโมง

โดยมีชาวมาเลเซียป่วยแล้วกว่า 100 คน และเสียชีวิตแล้ว 2 ราย ว่าได้สั่งการให้กรมควบคุมโรค เร่งตรวจสอบการระบาดของโรคมาลาเรียสายพันธุ์ใหม่ ว่ามีการแพร่เชื้อ อย่างไร การแพร่เชื้อรุนแรงหรือไม่ และสามารถรักษาได้ อย่างไร เพราะเป็นโรคติดต่อใหม่ เพื่อให้เตรียมการป้องกันและรักษาได้อย่างรวดเร็ว โดยเชื้อพลาสโมเดียม โนซี นี้ เป็นเชื้อมาลาเรียชนิดที่ 5 ที่พบในคน พาหะนำโรคมาจากยุงก้นปล่องเช่นเดียวกับเชื้ออีก 4 ชนิด ที่พบมาก่อน ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดที่อยู่ตามแนวชายแดน ซึ่งเป็นพื้นที่พบมาลาเรียมาก เฝ้าระวังเชื้อนี้เป็นพิเศษ

นายวิทยากล่าวว่า สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย เบื้องต้นได้รับรายงานว่า ในปีนี้มีคนไทยติดเชื้อและมีอาการป่วยแล้ว 3 ราย ที่ ยะลา 2 ราย และจันทบุรี 1 ราย โดยทีมแพทย์ได้เจาะเลือดเพื่อตรวจพิสูจน์หาเชื้อปรสิต จึง ทราบว่าติดเชื้อมาลาเรียน สายพันธุ์ใหม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการรักษาโดยให้ยารักษาตามปกติ และอาการหายเป็นปกติแล้ว อย่างไรก็ตาม แต่จากการสอบสวนโรคยังไม่ทราบว่าผู้ป่วยทั้ง 3 รายติดเชื้อมาลาเรียสายพันธุ์ใหม่ได้อย่างไร ทั้งนี้ โรคนี้ป้องกันได้ด้วยการป้องกันไม่ให้ยุงก้นปล่องกัด โดยนอนในมุ้ง ทายากันยุง หลีกเลี่ยงการเข้าป่าเขาโดยไม่จำเป็น และหากมีไข้หนาวสั่น ปวดศีรษะ หลังกลับออกจากป่าหรือพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคมาลาเรียให้รีบ พบแพทย์ทันที

ด้าน นพ.วิชัย สติมัย ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคมาลาเรียสายพันธุ์ใหม่ เป็นโรคระบาดในเกาะบอร์เนียว ประเทศมาเลเซีย มานานหลายปีแล้ว และประเทศไทยเคยมีผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคนี้รายแรกเมื่อ 6-7 ปีที่แล้ว อยู่ที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ และเข้ารักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แต่หลังจากนั้นก็ไม่พบผู้ป่วยโรคนี้อีก จนกระทั่งในปีนี้ พบผู้ป่วย 3 ราย ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมที่ผ่านมา และจากการคัดกรองโรคโดยการเจาะเลือดของผู้สัมผัสใกล้ชิดของผู้ป่วยทั้ง 3 ราย ก็ไม่พบว่ามีผู้ป่วยเพิ่มอีก ทั้งนี้ โรคมาลาเรียสายพันธุ์ใหม่ที่ติดเชื้อจากลิงมาสู่คน โดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะนั้น เรียกว่าเป็นโรคติดต่อจากสัตว์ สู่คนเท่านั้น ยังไม่ถือว่าเป็นการกลายพันธุ์ ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอย่างละเอียด

"โรคมาลาเรียชนิดใหม่นี้ มีความแตกต่างจากสายพันธุ์เดิม คือ เมื่อเชื้อปรสิตเข้าสู่ร่างกายแล้วสามารถแบ่งตัวในกระแสเลือดเพิ่มจำนวนปริสิตได้ในเวลารวดเร็วขึ้น จากเดิมที่เมื่อคนติดเชื้อจะมีการฟักตัวใช้เวลา 7-14 วัน จึงจะแสดงอาการป่วยไข้สูง หนาวสั่น แต่มาลาเรียสายพันธุ์ใหม่ เมื่อติดเชื้อแล้วจะแสดงอาการภายใน 7 วัน แต่หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รีบรักษา อาจทำให้เกิดภาวะไตวาย ตับวายได้ เพราะเชื้อปรสิตที่ฟักตัวในร่างกายจะเติบโตและไปอุดตันอยู่ตามเส้นเลือดฝอยบริเวณไต ตับ ทำให้ อวัยวะเหล่านี้ทำงานไม่ได้ และเสียชีวิตในที่สุด อย่างไรก็ตาม ไม่ถือว่ารุนแรง เพราะหากเริ่มมีอาการป่วย หนาวสั่นให้รีบพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยด้วยการเจาะเลือด ส่วนการรักษาสามารถใช้ยารักษาโรคมาลาเรียที่มีอยู่เดิมรักษาได้ โดยทานยาติดต่อกัน 3 วัน ก็จะหายป่วย" นพ.วิชัย กล่าว

ด้าน นพ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในไทยพบเชื้อมาลาเรีย 4 ชนิด มากที่สุด ได้แก่ พลาสโมเดียม ฟัลซิปารั่ม (Plasmodium falciparum) บริเวณชายแดนไทย-พม่า พบร้อยละ 70 ส่วนด้านชายแดนไทย-เขมร พบร้อยละ 50 มีระยะแบ่งตัวอย่างครบวงจรในเลือด 48 ชั่วโมง ที่พบรองลงมาอีก 3 ชนิด คือ พลาสโมเดียม ไวแวกซ์ (Plasmodium vivax) พลาสโมเดียม มาลาเรียอี่ และ พลาสโมเดียม โอวาเล่ (Plasmodium ovale)

สำหรับเชื้อมาลาเรียชนิดพลาสโมเดียม โนซี่ เป็นเชื้อมาลาเรียชนิดที่ 5 เดิมพบในลิงและเริ่มมีรายงานพบในคน ในประเทศมาเลเซียมีรายงานพบในรัฐซาราวัก ซาบาและปาหัง ในปี 2544-2549 มีผู้ป่วย 266 ราย จากการตรวจ ทั้งหมด 960 ราย นอกจากนั้น ยังมีรายงานผู้ป่วยประปรายที่ประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า และไทย เชื้อชนิดนี้ มีลักษณะพิเศษคล้ายกับเชื้อพลาสโมเดียม มาลาเรียอี่ (Plasmodium malariae) ซึ่งเป็นเชื้อที่พบได้น้อยมากไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์

ทั้งนี้สถานการณ์โรคมาลาเรียในประเทศไทย ตั้งแต่ ม.ค.-ส.ค. 2552 พบว่า มีคนไทยป่วยเป็นมาลาเรียทุกสายพันธุ์จำนวน 26,139 ราย เป็นคนไทย 11,383 ราย ต่างชาติ 14,756 ราย โดยผู้ป่วยไทยพบติดเชื้อลดลงกว่าปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 30 ส่วนผู้ป่วยต่างชาติพบติดเชื้อเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5 จังหวัด ที่พบมาก 10 ลำดับ ได้แก่ ตาก เป็นคนไทย 2,965 ราย ต่างชาติ 10,996 ราย รองลงมา ยะลา กาญจนบุรี แม่ฮ่องสอน ชุมพร นราธิวาส ศรีสะเกษ จันทบุรี สุรินทร์ และประจวบคีรีขันธ์

ที่มา - www.thairath.co.th ออนไลน์วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ.2552



webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2034
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 9/2/10 at 08:28 Reply With Quote


แพทย์ชีปลูกถ่ายไขกระดูกชุปชีวิตผู้ป่วยเด็กพ้นวิกฤตมีชีวิตใหม่


ในงาน บีเอ็มที โฮม คัมมิ่ง เดย์ (BMT Home Coming Day) ที่โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ จัดขึ้น เมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อต้อนรับและสร้างความอบอุ่นของเด็กๆ ที่ผ่านการรักษาด้วยวิธีการปลูกถ่าย ไขกระดูก เพื่อชุปชีวิตใหม่ให้หายขาดจากโรคที่เป็นอยู่ทั้งธาลัสซีเมีย มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันและเรื้อรังรวมถึงโรคไขกระดูกฝ่อ

พร้อมกันนี้ได้เปิดกองทุน นิว ไลฟ์ (New Life )เพื่อสานฝันการรักษาให้แก่เด็กๆที่รอโอกาสรายต่อไปรวมถึงการจัดการสนทนาให้ ความรู้เรื่อง การปลูกถ่ายไขกระดูก เพื่อเป็นความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจอีกด้วย

นายแพทย์ดุลย์ ดำรงศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ กล่าวในช่วงเปิดงานว่า ปัจจุบัน เทคโนโลยีได้ก้าวไปไกล การรักษาผู้ป่วยจำเป็นต้องมีการพัฒนาอยู่ตลอด เพื่อช่วยรักษาชีวิต และช่วยทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ปณิธานของแพทย์ทุกคนคงไม่แตกต่างไปจากนี้ เช่นเดียวกับโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ ที่ได้ทำการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด เพื่อสามารถให้การดูแลรักษาผู้ป่วย โดยเฉพาะเด็กๆ ที่เป็นโรคทางพันธุกรรม โรคเลือด และโรคมะเร็ง ที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูก

ทั้งนี้ ความพร้อมของโรงพยาบาลที่มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านการปลูก ถ่ายไขกระดูก พร้อมกับเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย และห้องป้องกันการติดเชื้อที่ได้มาตรฐานและมีจำนวนเพียงพอกับความต้องการของ ผู้ป่วย รวมไปถึงการติดตามผลหลังการรักษาอย่างใกล้ชิด การที่เราทุกคนมีวันนี้ได้ก็ด้วยความมุ่งมั่นของทีมแพทย์ พยาบาล และสำคัญที่สุดคือกำลังกายและกำลังใจของครอบครัวผู้ป่วยเอง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พลโทหญิง แพทย์หญิง ทิพย์ ศรีไพศาล ผู้อำนวยการศูนย์ปลูกถ่ายไขกระดูก โลหิตวิทยา และมะเร็งในเด็ก โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ กล่าวเสริมว่า ในอดีตเราไม่สามารถรักษาผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย โรคมะเร็ง โรคไขกระดูกฝ่อให้หายขาดได้ ทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวต้องทนทุกข์ทรมานเป็นอย่างมาก แต่ปัจจุบันสามารถนำเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด (Stem cell) มาปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยจนหายขาดจากโรคได้..

ศูนย์ปลูกถ่ายไขกระดูก โลหิตวิทยา และมะเร็งในเด็ก โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ เป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกที่ได้ดำเนินการปลูกถ่ายไขกระดูกให้กับผู้ป่วย เด็กเหล่านี้มาเป็นเวลา 4 ปีแล้ว เด็กที่ได้รับการรักษาด้วย Stem cell เหล่านี้ จึงสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถศึกษาเล่าเรียนและใช้ชีวิตได้อย่างปกติ และต่อไปเด็กๆ เหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต

รองศาสตราจารย์นายแพทย์สุรเดช หงส์อิง กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยา มะเร็งและการปลูกถ่ายไขกระดูก ให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกถ่ายไขกระดูกว่า การปลูกถ่ายไขกระดูกจำเป็นต้องหาคนที่บริจาคได้ ผู้บริจาคได้ต้องมีการตรวจเนื่อเยื่อที่ตรงกัน การตรวจเนื้อเยื่อสามารถทำได้โดยการ ตรวจเลือด บางคนเข้าใจผิดว่า การตรวจเนื้อเยื่อ คือ การต้องตัดกระดูก หรือ เจาะไขกระดูก มาตรวจ

แต่จริงๆแล้วเป็นการตรวจเลือดแบบธรรมดาที่เรียกว่า “ตรวจเอชแอลเอ” ซึ่งโอกาสการจะได้ตรงกันต้องดูผู้มีโอกาสระดับแรกคือ การตรวจจากพี่น้องจากพ่อแม่เดียวกัน การถ่ายทอดเนื้อเยื่อเป็นการถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม ครึ่งหนึ่งได้มาจากพ่อ ครึ่งหนึ่งมาจากแม่ พี่น้องที่มาจากพ่อแม่เดียวกันโอกาสที่เหมือนกันมีแค่ 1 ใน 4 เท่านั้น

รองศาสตราจารย์นายแพทย์สุรเดช อธิบายถึงการปลูกถ่ายไขกระดูกและขั้นตอนการปลูกถ่ายไขกระดูกว่า “ การปลูกถ่ายไขกระดูกผมไม่อยากใช้คำว่าคือ การผ่าตัด ทุกคนคิดว่า การปลูกถ่ายไขกระดูกเป็นการเข้าห้องผ่าตัดแล้วตัดกระดูกมาต่อ หรือบางคนเข้าใจว่าเป็นการผ่าตัดปลูกถ่ายไขกระดูก อยากให้ความเข้าใจว่าการปลูกถ่ายไขกระดูกไม่ใช่การผ่าตัด วิธีการคือว่าหลังจากเจอผู้บริจาคแล้ว ผู้รับการบริจาคหรือผู้ป่วยจะเข้าห้องปลอดเชื้อแล้วใช้ยาเคมีบำบัด หรืออาจใช้รังสีบำบัดด้วย

สาเหตุที่ใช้เพื่อทำลายสเต็มเซลล์ที่อยู่ที่ไขกระดูกที่ไม่ดีออกไป ช่วงเวลาให้เคมีบำบัดจะอยู่ประมาณ 1-2 อาทิตย์ จากนั้นนำเซลล์ไขกระดูกที่ได้จากการเจาะไขกระดูกหรือจากรกมาให้ผู้ป่วยหลัง จากให้ไปแล้วต้องรอประมาณ 2-3อาทิตย์ เซลล์ต่างๆจะกลับ โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยต้องใช้เวลา1-2 เดือน ตั้งแต่เริ่มกระบวนการให้เคมีบำบัด กระทั่งออกจากห้องปลอดเชื้อซึ่งกระบวนการเหล่านี้ผู้ป่วยต้องอดทนและต้องให้ กำลังใจ ”

รองศาสตราจารย์นายแพทย์สุรเดช กล่าวถึงสถิติของตัวเลขของผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคเลือดและต้องปลูกถ่าย ไขกระดูกเพื่อรักษา ว่า ไม่มีตัวเลขแน่ชัด เพราะไม่มีใครรวบรวมไว้ แต่เชื่อว่าจำนวนผู้ที่มีความจำเป็นต้องปลูกถ่ายไขกระดูกในแต่ละปีมีจำนวน ของเด็กและผู้ใหญ่ประมาณ 500 – 600 คน โอกาสที่ปลูกถ่ายไขกระดูกได้ มีปัจจัยมาจากการปลูกถ่ายไขกระดูกที่ตรงกัน เช่น

กรณีของพี่น้องซึ่งบางทีไม่เข้ากัน เป็นอุปสรรค รวมถึงปัจจัยค่าใช้จ่ายที่แพง รายหนึ่งต้องเสียค่าใช้ปลูกถ่ายไขกระดูกเป็นหลักแสนถึงล้านบาทต่อราย การปลูกถ่ายไขกระดูกคือ การชุปชีวิต ถ้าปลูกถ่ายไขกระดูกสำเร็จจะหายทุกกรณี การปลูกถ่ายไขกระดูกทำได้ทุกอายุ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ในรายของผู้ใหญ่จะมีผลสำเร็จสู้คนที่มีอายุน้อยไม่ได้ เนื่องจากผู้ที่มีอายุน้อยกว่าร่างกายจะแข็งแรงกว่า

ตอนนี้มีวิวัฒนาการที่ดีกรณีถ้าเอาไขกระดูกจากคนอื่น การตรวจเนื้อเยื่อจะมีความละเอียดมากขึ้น พอตรงกันมากขึ้นการปลูกถ่ายไขกระดูกจากคนอื่นจะมีความสำเร็จมากขึ้น กรณีของโรคธาลัสซีเมีย อายุเยอะๆเช่นเกิน 10 ปีขึ้นผู้ป่วยที่มีอายุ15 16 17และ 20ปี สมัยก่อนไม่มีการปลูกถ่ายไขกระดูก เดี๋ยวนี้สามารถปลูกถ่ายไขกระดูกรักษาได้เพราะวิวัฒนาการสมัยใหม่ รวมถึงวิวัฒนาการที่เป็นเทคนิคใหม่คือปลูกถ่ายไขกระดูกและปลูกถ่ายไตไปพร้อม กัน

ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงชนิกา ตู้จินดา ประธานโรงพยาบาลเด็กสมิติเวช ศรีนครินทร์ กล่าวว่า ศูนย์ปลูกถ่ายไขกระดูก โลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปลายปี 2547และประสบความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยเด็กที่ต้องรับการรักษาด้วยวิธี ปลูกถ่ายไขกระดูกเพื่อให้หายขาดจากโรคที่เป็นอยู่คือ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง โรคไขกระดูกฝ่อ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิดและโรคทางพันธุกรรมอย่างธาลัสซีเมียซึ่งพบ บ่อยที่สุด ถึงวันนี้มีความภาคภูมิใจที่ผู้ป่วยสามารถกลับไปมีชีวิตได้อย่างเป็นปกติได้ แล้วรวมถึง 14 ราย ในจำนวนนี้มีครอบครัวชาวต่างชาติรวมอยู่ด้วย 4 ราย

ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงชนิกากล่าวว่า จากประสบการณ์ทางการรักษาผู้ป่วยด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูกนั้นกำลังใจคือจุด เริ่มต้นที่สำคัญที่สุด ต้องอาศัยความร่วมมือของครอบครัวไม่ว่าจะเป็นจากทั้งพ่อแม่และตัวเด็กเอง ทุกคนต้องมีความหวัง ความอดทน มีกำลังใจมอบให้กันอยู่ตลอดเวลา

ด้วยความสำคัญดังกล่าวโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ จึงริเริ่มจัดตั้งกองทุน “ New Life ” ขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยในการรักษาแบบปลูกถ่ายไขกระดูกโดยเฉพาะ ที่จะเป็นศูนย์กลางการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กที่มีความต้องการในการ รักษาแบบวิธีดังกล่าวนี้ แต่ขาดโอกาสในด้านทุนทรัพย์ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเด็กเหล่านั้นได้รับการรักษาที่สะดวกและรวดเร็วขึ้น และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของเด็กและครอบครัว.

ที่มา - มติชนออนไลน์



webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2034
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member

Go To Top
 

"เว็บตามรอยพระพุทธบาท" ได้รับลิขสิทธิ์จาก พระอาจาย์ชัยวัฒน์ อชิโต เพื่อเผยแพร่รูปภาพและข้อมูล
จาก "หนังสือตามรอยพระพุทธบาท" จึงขอสงวนลิขสิทธิ์ตาม
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
ห้ามคัดลอกข้อมูล, ภาพ, เสียง ออกไปเผยแพร่ หรือนำไปโพสในเว็บใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน

เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีกับโปรแกรม Internet Explorer, Window Media V.9, Flash Player ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 768 pixels ความเร็วอินเตอร์เน็ต 1 Mbps. ขึ้นไป

ถ้าพบข้อผิดพลาดใดๆ หากจะแนะนำ หรือติชม และสอบถาม ติดต่อ "ทีมงานเว็บตามรอยพระพุทธบาท"
เริ่มเปิดเว็บไซด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Copyright @ 2008 tamroiphrabuddhabat.com All rights reserved