ถ้าพบข้อผิดพลาดในเว็บไซด์ จะแนะนำและติชม หรือสอบถาม ติดต่อที่ WEBMASTER
 
VISITORS


     







Not logged in [Login ]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites  
[*] posted on 14/8/09 at 09:49 Reply With Quote

ข่าว...มดคันไฟสายพันธ์ใหม่ "อิวิคต้า" พิษร้ายกัดถึงตาย..!


มดคันไฟสายพันธุ์ใหม่

รายงานโดย :การ์ฟิลด์: วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

......เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา มีความแตกตื่นในเรื่องราวของมดคันไฟสายพันธุ์ใหม่ ที่กำลังเป็นที่เกรงกลัวกันว่า อีกไม่นานมดคันไฟสายพันธุ์ที่ว่านี้คงเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นแน่!

ทำไมใครๆ ก็ล้วนตื่นตระหนกแล้วก็กลัวเจ้ามดชนิดนี้กัน ความพิเศษและความร้ายกาจของแมลงชนิดนี้อยู่ตรงไหน วันนี้เราจะมาค้นหาคำตอบกัน

มดคันไฟที่รู้จักกันในชื่อว่า อินวิคตา (Invicta) มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Red imported Fire Ant หรือ RIFA ชื่อวิทยาศาสตร์เรียกกันว่า Solenopsis Invicta จัดเป็นแมลงที่อยู่ในอันดับ Hymenoptera โดยจัดอยู่ในสกุลของมด ที่มีชื่อเรียกว่า สกุล Formicidae ถิ่นกำเนิดของมดคันไฟชนิดนี้อยู่ไกลจากประเทศไทยมากมายนัก โดยมีถิ่นกำเนิดไกลถึงแถบทวีปอเมริกาใต้

สำหรับรูปร่างลักษณะของมดคันไฟอินวิคตา แทบไม่มีความแตกต่างกับมดคันไฟที่เราเคยเห็นอยู่เลย ต้องอาศัยการสังเกตจดจำเป็นพิเศษจึงจะสามารถพบเห็นความแตกต่างได้ โดยจะพบว่าผิวของลำตัวมดคันไฟสายพันธุ์ใหม่นี้จะมีลักษณะเรียบ และสีสันก็จะสดใสกว่า ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องยากเหลือเกินในการแยกแยะความแตกต่างของมดทั้งสองชนิด

เมื่อไม่นานมานี้ประมาณปี ค.ศ. 1930 มดคันไฟสายพันธุ์ใหม่มีการแพร่กระจายไปสู่เมืองอื่นๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยการขนส่งสินค้าทางการเกษตรโดยติดมากับทางเรือขนส่งสินค้า และในอีกไม่กี่ปีต่อมาการแพร่กระจายของเจ้ามดคันไฟก็ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่คราวนี้มันแพร่กระจายข้ามไปยังทวีปอื่นๆ ด้วย

ในปี ค.ศ. 2001 ประเทศออสเตรเลียก็ได้รู้จักกับมดคันไฟสายพันธุ์ใหม่ชนิดนี้ในที่สุด แต่เชื่อหรือไม่ว่าประเทศรอบข้างของเราในทวีปเอเชียไม่ว่าจะเป็น ประเทศจีน ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ มดอินวิคตาก็ได้แพร่กระจายไปอาศัยอยู่ในพื้นที่เพาะปลูกแล้วเช่นเดียวกัน

เริ่มสงสัยกันบ้างหรือเปล่าว่า ทำไมมดชนิดนี้ถึงได้สามารถอาศัยอยู่ได้ในทุกๆ ทวีป ทั้งในเขตร้อนและเขตหนาว ในระยะเวลาอันรวดเร็วถึงเพียงนี้ คำตอบก็คือ เจ้ามดอินวิคตามีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างดีเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ที่มีความแห้งแล้งหรือพื้นที่ที่มักมีน้ำท่วมน้ำขังบ่อย เจ้ามดชนิดนี้ก็สามารถปกป้องรัง และนางพญามดของมันเอาไว้ได้

อีกทั้งประชากรมดไม่ว่าจะเป็นชนิดไหนๆ ก็มีความสามารถในการจัดการรังและเพิ่มจำนวนประชากรอยู่แล้ว จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าโอกาสที่มดคันไฟสายพันธุ์ใหม่นี้จะเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยนั้นช่างง่ายดายเหลือเกิน

แค่เพียงชื่อว่า มดคันไฟ ก็ดูจะไม่มีความน่าเกรงกลัวอะไรสักเท่าไร อันที่จริงแล้วประเทศไทยของเราก็มีมดคันไฟ มดแดง มดดำ มดตะนอย ที่สร้างความวุ่นวายและบางชนิดก็กัดเจ็บ หรือต่อยแล้วปล่อยเหล็กในอยู่แล้วด้วย แล้วความแตกต่างของเจ้ามดตัวนี้จะสร้างความน่าตื่นตกใจอะไรกันนักเชียว!

ลองมาดูความไม่ธรรมดาของมดคันไฟสายพันธุ์ใหม่กันบ้าง...

......นอกจากความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเป็นอย่างดีแล้ว รู้หรือเปล่าว่ามดชนิดนี้มีการสร้างรังโดยใช้มูลดินความสูงประมาณ 45-60 เซนติเมตร ภายในรังมีประชากรมดมากมายนับแสนตัว ซึ่งมากกว่ารังมดคันไฟธรรมดาหลายเท่า โดยพื้นที่โปรดปรานที่มักทำรังอยู่อาศัยก็คือ พื้นที่เพาะปลูกทำการเกษตร บริเวณที่มีแหล่งน้ำ ดังนั้นจึงสร้างความเสียหายให้กับระบบรากพืชที่อยู่ใต้ดิน และเป็นอันตรายต่อบรรดาสิ่งมีชีวิตในแปลงปลูก รวมทั้งมนุษย์เราเป็นอย่างมาก

หากถูกมดคันไฟสายพันธุ์ใหม่นี้กัดต่อยเข้าละก็ แย่แน่ๆ... เหล็กในของมันมีพิษรุนแรง ทำให้เกิดอาการไหม้และคันบริเวณผิวหนัง ต่อมาจะมีลักษณะเป็นตุ่มพองกลายเป็นหนองสีขาว เกิดอาการผิวหนังอักเสบส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นตาย แต่ที่แย่ไปกว่านั้นหากคนที่มีอาการแพ้อย่างรุนแรงละก็ อาจถึงขั้นหมดสติและเสียชีวิตได้ ซึ่งนั่นเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับมนุษย์เรา แล้วทีนี้ถ้าหากสัตว์สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ ในแปลกปลูกที่มีขนาดตัวเล็กถูกมดชนิดนี้กัดต่อยเกิดอะไรขึ้น? สัตว์เหล่านั้นก็คงจะทนพิษร้ายของเหล็กในไม่ไหว และเสียชีวิตในที่สุดนั่นเอง

แม้ว่ามดคันไฟชนิดนี้จะมีพิษร้ายกาจ และน่าเกรงกลัวกว่ามดตัวไหนๆ ที่เราเคยรู้จักก็ตาม แต่ประโยชน์ของมันก็มีเช่นเดียวกัน แม้ประโยชน์ที่ได้รับจะเป็นผลพลอยได้ก็ตาม จากความดุร้ายและพิษจากเหล็กในของมดชนิดนี้ ทำให้มันเป็นนักล่า (Predator) เป็นแมลงอีกชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์เหลือเกิน ในการนำมาใช้ในการควบคุมจัดการกับแมลงศัตรูพืช ทั้งหนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนกออ้อย มวนเขียวข้าว หรือแม้กระทั่งเพลี้ยอ่อน แต่ความสามารถของนักล่าชนิดนี้ก็อาจไม่จำเพาะเจาะจงกับแมลงศัตรูพืชเท่านั้น แมลงที่มีประโยชน์ในแปลงปลูกพืชก็ถูกมดคันไฟสายพันธุ์ใหม่กำจัดไปด้วยเช่นเดียวกัน

แต่ก็อย่าเพิ่งตกอกตกใจกันไปใหญ่ มดคันไฟอินวิคตาในประเทศสหรัฐอเมริกาถูกควบคุมและป้องกันกำจัดได้อย่างไม่ยากเย็นนักโดยการใช้วิธีการ Biological Control นั่นก็คือ การใช้สิ่งมีชีวิตในการคุมสิ่งมีชีวิต โดยการใช้สิ่งมีชีวิตขนาดจิ๋วมากมายหลายชนิด เช่น การใช้ Pseudacteon Tricuspis และ Pseudacteon Curvatus ซึ่งเป็นกลุ่มแมลงตัวเบียนเข้าไปทำลายตัวอ่อนของมดคันไฟ หรือแม้แต่การใช้ไวรัส SINV-1 ในการควบคุมกำจัด ซึ่งจะส่งผลให้ในระยะยาวในการลดปริมาณประชากรมดคันไฟสายพันธุ์ใหม่ ที่กำลังระบาดและสร้างความเสียหายในประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ในปัจจุบัน

ในที่สุด มดคันไฟอินวิคตาก็ไม่ได้เป็นมดคันไฟที่น่ากลัว และร้ายแรงอย่างที่คาดคิด เพียงแต่ต้องรู้จักระมัดระวัง และสังเกตมดในบริเวณพื้นที่แปลงปลูก และพื้นที่ใกล้เคียงอยู่เสมอๆ อย่างน้อยข่าวดีในตอนนี้นั่นก็คือ เจ้ามดคันไฟสายพันธุ์ใหม่ ก็ยังไม่ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในผืนดินไทยของเราเสียหน่อย..!

www.posttoday.com/lifestyle.php



......มดคันไฟตัวใหม่ หรือ มดคันไฟอิวิคต้า (Solenopsis invicta) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ต่อมาได้แพร่กระจายไปเกือบทั่วโลก และเริ่มขยายพันธุ์เข้ามาในเอเชียเมื่อสองถึงสามปีนี้พบได้ในไต้หวันและ ฮ่องกง และคาดว่าจะเข้ามาสู่ประเทศไทยในไม่ช้านี้ มดคันไฟอิวิคต้าสามารถปรับตัวและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว

จนประเทศที่มีการระบาดของมดคันไฟอิวิคต้าต้องมีการจัดตั้งศูนย์เตือนภัยขึ้น มา เพื่อยับยั้งการขยายพันธุ์ บรรเทาความเดือดร้อนของผู้ที่โดนต่อย และเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการกัดกินพืชผักต่าง ๆ มดคันไฟอิวิคต้าชอบสร้างถิ่นอาศัยบริเวณที่มีน้ำไหลเวียน มีปริมาณ น้ำฝนมากกว่า 550 มิลลิเมตรต่อปี อาทิ พื้นที่การเกษตร สวนป่า ทุ่งหญ้า ฝั่งแม่น้ำลำคลอง ชายฝั่งทะเล ทะเลทราย และสนามกอล์ฟ มักสร้างถิ่นอาศัยแบบเป็นรังหรือเป็นจอมโดยใช้มูลดิน ซึ่งจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 1 เมตร ความสูงประมาณ 4-24 นิ้ว

ส่วนมดคันไฟที่มีอยู่ในไทยจะสร้างรังเรียบ ๆ กับพื้น ไม่มีจอม และมีจำนวนประชากรมากถึง 500,000 ตัวต่อรัง ขณะที่มดคันไฟธรรมดาจะมีเพียง 10,000 ตัวต่อรัง สำหรับรูปร่างหน้าตาภายนอกของมดคันไฟอิวิคต้านี้แทบจะไม่มีความแตกต่างจากมด คันไฟที่พบเห็นในประเทศไทย แต่จะมีผิวลำตัวเรียบและสดใสกว่า และถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่ามีฟันตรงกลางริมฝีปากบน ซึ่งส่วนใหญ่จะมองด้วยตาเปล่าไม่ค่อยเห็นต้องอาศัยแว่นขยายช่วย... รศ.ดร.เดชา วิวัฒน์วิทยา แห่งภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เล่าให้ฟังถึงเรื่องของมดคันไฟอิวิคต้า

มดคันไฟตัวใหม่นี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศเพราะอาณาจักรของมดชนิดนี้ ชอบทำลายอย่างมาก พวกมัน จะครอบคลุมอาณาเขตบ้านเนื่องจากมดชนิดนี้มีจำนวนมากและรุกราน การขาดศัตรูธรรมชาติจึงทำให้ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มดคันไฟตัวใหม่นี้จะเข้าโจมตีไข่นก และสัตว์เลื้อยคลานที่อายุน้อยจำนวนมาก และในพื้นที่ที่มีมดชนิดนี้สูงมากจะเข้าทำลายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น พวกสัตว์ฟันแทะ และยังล่ากลุ่มผึ้งที่หากินเดี่ยว ๆ ด้วย

สำหรับผลกระทบต่อมนุษย์นั้นพบว่า เหล็กในจากมดชนิดนี้มีพิษสะสมทำให้เกิดอาการไหม้และคันอย่างรุนแรง พิษจะออกฤทธิ์อยู่นานเป็นชั่วโมงและเป็นเม็ดตุ่มพองซึ่งกลายเป็นหนองสีขาว เมื่อตุ่มหนองนี้แตกก็สามารถมีแบคทีเรีย เข้าไปและเป็นแผลเป็น บางคนที่มีอาการแพ้อย่างรุนแรงจะก่อให้เกิดอาการหมดสติและเสียชีวิตได้

มดชนิดนี้มีความก้าวร้าวสูงมากเมื่อมันต่อยจะ ฉีดสารพิษกลุ่ม alkaloid ทำให้เนื้อเยื่อตาย มีรายงานว่าทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกามีประชาชนประมาณ 25,000 คน ที่ต้องหาหมอเพื่อรักษาจากการโดนต่อยของมดชนิดนี้ และด้วยวิธีการโจมตีเหยื่อแบบรุมต่อยเป็นร้อย ๆ ตัว ทำให้เหยื่อที่มีขนาดไม่ใหญ่มากได้รับบาดเจ็บถึงขั้นวิกฤติได้เลย

ในสหรัฐอเมริกามดชนิดนี้สร้างความเสียหายทางการเกษตรได้ในวงกว้าง ด้วยการเข้าไปทำลายระบบรากของพืช เช่น ถั่วเหลือง พืชตระกูลส้ม ข้าวโพด กะหล่ำ มันฝรั่ง ถั่วลิสง ทานตะวัน ข้าวฟ่าง มะเขือ ถั่วเขียว เป็นต้น และทำความเสียหายในเครื่องมือการเกษตร สัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า พื้นที่สาธารณะ อุปกรณ์ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ รถยนต์ ปัจจุบัน มดชนิดนี้สร้างความเสียหายมาก กว่า 320 ล้านเอเคอร์ ใน 12 รัฐทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาและเปอร์โตริโก

อย่างไรก็ตามในอเมริกามดคันไฟชนิดนี้เป็นตัวห้ำหั่นที่ดีเยี่ยมในธรรมชาติ และเป็นการควบคุมทางชีววิธีสำหรับศัตรูพืชหลายชนิด เช่น หนอนเจาะต้นอ้อย มวนที่เป็นศัตรูข้าว แมลงหางหนีบ เพลี้ยอ่อน ด้วงงวง หนอนคืบถั่วเหลือง หนอนกินใบฝ้าย ต่อสน แต่มดชนิดนี้ก็ยังเป็นตัวทำลายแมลงพวกผสมเกสร เช่น ผึ้งที่สร้างรังใต้ดิน และยังกินเมล็ด ใบ ราก เปลือก น้ำหวาน น้ำเลี้ยง เชื้อรา และมูลต่าง ๆ เป็นอาหารด้วย ซึ่งจะสร้างมูลค่าความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการเกษตรนับพันล้านบาทต่อปี ซึ่งขณะนี้มีแนว โน้มสูงที่มดคันไฟชนิดนี้จะเข้ามาในประเทศไทยด้วยการติดมากับเรือสินค้าหรือ การขนส่งอื่น ๆ

จาก : news.sanook.com/



webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2033
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member

Go To Top
 

"เว็บตามรอยพระพุทธบาท" ได้รับลิขสิทธิ์จาก พระอาจาย์ชัยวัฒน์ อชิโต เพื่อเผยแพร่รูปภาพและข้อมูล
จาก "หนังสือตามรอยพระพุทธบาท" จึงขอสงวนลิขสิทธิ์ตาม
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
ห้ามคัดลอกข้อมูล, ภาพ, เสียง ออกไปเผยแพร่ หรือนำไปโพสในเว็บใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน

เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีกับโปรแกรม Internet Explorer, Window Media V.9, Flash Player ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 768 pixels ความเร็วอินเตอร์เน็ต 1 Mbps. ขึ้นไป

ถ้าพบข้อผิดพลาดใดๆ หากจะแนะนำ หรือติชม และสอบถาม ติดต่อ "ทีมงานเว็บตามรอยพระพุทธบาท"
เริ่มเปิดเว็บไซด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Copyright @ 2008 tamroiphrabuddhabat.com All rights reserved