posted on 18/12/08 at 10:50
"มะเร็งปากมดลูก" ภัยเงียบ..คร่าชีวิตผู้หญิงเป็นอันดับ 1 ของประเทศ
ผลพิสูจน์ยา "มาลาเรีย" สูตรใหม่
08-11-2553 | 11:25 l ch 7.com
....โดยทีมแพทย์คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ประเทศอังกฤษแถลงความคืบหน้าโครงการวิจัย พิสูจน์ประสิทธิ - ภาพของยา
อาร์ทีซูเนท ที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคมาลาเรีย ซึ่งได้ทดลองรักษาโรคมาลาเรีย ชนิดรุนแรงในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี กับกลุ่มตัวอย่างกว่า 5,000 คนจาก 9 ประเทศ
โดยเฉพาะในแถบแอฟริกา ที่มีผู้เสียชีวิตจากโรคมาลาเรียสูงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของทุกประเทศรวมกัน
ผลการศึกษาพบว่า อัตราการเสียชีวิตในกลุ่มที่รักษา ด้วยยาอาร์ - ทีซูเนท ประมาณ 8.5 เปอร์เซนต์ ต่ำกว่ากลุ่มที่รักษาด้วยยาควินิน
สูตรเดิมที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่เสียชีวิตอยู่ที่ 10.9 เปอร์เซนต์ และยังพบอาการข้างเคียง เช่น ภาวะหมดสติแบบโคม่า , ชัก และ น้ำตาลในเลือดต่ำ
ลดลงมากกว่าการใช้ยาควินินสูตรเดิม
การใช้ยาอาร์ทีซูเนท ยังมีความสะดวกขึ้น ไม่ต้องนำมาผสมกับน้ำเกลือเหมือนยาควินิน สามารถฉีดเข้าร่างกายได้โดยตรง และใช้เวลารักษา 3 - 5 วัน
แม้ราคาสูงกว่ายาสูตรเดิม 10 เท่า แต่ให้ผลคุ้มค่ากว่า คือ ใช้ยาน้อยกว่า และ ลดอัตราเสียชีวิตได้มากกว่า
สธ. แนะสมุนไพรไทยป้องกันหวัด 2009 ได้
รายงานวันที่ 15 ก.ค. ที่กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย และ การแพทย์ทางเลือก นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
พร้อมคณะร่วมแถลงข่าวเกี่ยวกับแนวทางการนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยช่วยป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ว่า
ตามที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในปัจจุบันนั้น ทางกรมการแพทย์แผนไทยฯ เล็งเห็นว่า
การใช้พืชสมุนไพรไทยที่หาได้ง่ายในประเทศไทย จะสามารถลดและแก้ไขปัญหาการติดเชื้อไข้หวัด และ ไข้หวัดใหญ่
ซึ่งเป็นสาเหตุทีทำให้มีการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009ได้
โดยเบื้องต้น อยากแนะนำให้ประชาชนหันมาบริโภคอาหารไทยที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรไทย เช่น แกงเลียง ต้มยำกุ้ง ผัดกระเพรา
หรือการรับประทานผลไม้ที่มีวิตามิน ซี สูง เช่น ส้ม ฝรั่ง มะขามป้อม รวมถึงการดื่มน้ำมากๆ หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของสมุนไพร
ก็จะสามารถช่วยลดการเกิดของโรคดังกล่าวได้
นอกจากนี้ในเรื่องของการบรรเทาอาการเมื่อเริ่มมีอาการหวัด ได้แนะนำสมุนไพรไทยไว้หลายชนิดเช่นกัน โดยเฉพาะฟ้าทะลายโจร ขิง และ กระเทียม
ที่มีผลการวิจัยในหลายประเทศแล้ว พบว่ามีสรรพคุณในการลดและบรรเทาอาการหวัดได้เป็นอย่างดี
อีกทั้งยังแนะนำว่า หากเริ่มรู้สึกคล้ายกับว่าจะมีอาการไข้ มีน้ำมูกใสไหลออกมาเล็กน้อย ก็สามารถรับประทานสมุนไพรนี้ได้ทันที
ซึ่งสมุนไพรจะช่วยบรรเทาอาการลงจนสามารถหายเองได้ แต่หากได้มีการรักษาตัวแล้วยังพบว่ามีไข้ขึ้นสูงอย่างน้อย 2 วัน ก็ควรรีบพบแพทย์ทันที
โดกุดามิสมุนไพร "ผักคาวตอง" สร้างภูมิต้านไวรัส2009
ช่วงนี้ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ระบาดไปทั่วโลกและประเทศไทยของเราเองก็โดนไปด้วย อย่างที่โรงพยาบาลที่ผมทำงานตรวจเจอไปแล้ว 3
ราย
ที่จริงแล้วโรคก็ไม่ได้น่ากลัวอะไรนักหรอกครับถ้าเรารักษาสุขภาพให้แข็งแรง, ออกกำลังกายและทานอาหารให้มีประโยชน์ ปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข
เราก็สามารถป้องกันตัวเองได้แล้ว แต่นี่เป็นเพราะคนเราตื่นกลัวสิ่งใหม่ๆ กันมากกว่า หรือบางครั้งอาจจะเป็นเพราะสื่อเสนอข่าวตรงบ้างไม่ตรงบ้าง
เลยทำให้กลัวกันไปใหญ่
น้ำยาสมุนไพรชื่อว่า โดกุดามิ ผลิตจากผักคาวตอง100% ส่วนสรรพคุณนั้นมีผลงานวิจัยทางจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.)
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) และกระทรวงสาธาณสุขว่า จะสามารถนำมาผลิตเป็นยาสมุนไพรสร้างภูมิคุ้มกันต้านไวรัส H1N1 ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
และโรคติดเชื้ออื่นๆ เช่น HIV หรือแม้กระทั่งยังยั้งเซลล์มะเร็งหลายชนิดได้
1. วิจัย คาวตอง ฆ่าเชื้อนรก
2. เผยสรรพคุณผักคาวตอง ต้านไวรัสแก้กามโรค สร้างภูมิต้านทาน
3. เล็งศึกษา คาวตอง ผักเมืองเหนือผลิตยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ 2009
4. คาวตอง สมุนไพรใหม่ ทางเลือก สู้หวัดใหญ่
5. ผักคาวตอง
ผมขอชี้แจงเลยนะครับว่า ไม่ใช่ยารักษาโรคหรือยาที่วิเศษอย่างใด แต่เป็นสมุนไพรที่ช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายเราครับ
อย่างที่สโลแกนของกระทรวงสาธารณสุขบอก สร้างเสริมส่งเสริมสุขภาพดีกว่าแก้ไข
ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรต้านหวัดกรุงเทพฯ
15 ก.ค.- มีคำแนะนำให้คนไทยนำฟ้าทะลายโจร สมุนไพรใกล้ตัวมาใช้ดูแลสุขภาพ
ป้องกันโรคและรักษาทั้งไข้หวัดปกติและไข้หวัดใหม่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ติดตามจากรายงาน.- สำนักข่าวไทย
ข้อห้ามใช้และข้อควรระวังของฟ้าทะลายโจร ช่วงนี้มีกระแสเกี่ยวกับฟ้าทะลายโจรซึ่งกำลังดัง แต่เกรงว่าหลายท่านอาจจะลืมนึกถึงข้อห้ามใช้และข้อควรระวังของการใช้สมุนไพรชนิดนี้
หลังจากที่ได้ลองค้นข้อมูลคร่าว ๆใน SMART SEARCH ของ Pantip เห็นว่าอาจยังไม่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้โดยตรง ประกอบกับอ่านพบในหนังสือ
บัญชียาหลักจากสมุนไพร พ.ศ.2549 ซึ่งในหนังสือเล่มนี้มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับฟ้าทะลายโจรโดยเฉพาะข้อห้ามใช้ ข้อควรระวัง และอาการไม่พึงประสงค์
อยู่ในหน้า 47 48 ดังนี้
ข้อห้ามใช้ (contraindication)
ห้ามใช้ในผู้ที่มีอาการแพ้ฟ้าทะลายโจร
สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตรไม่ควรใช้เนื่องจากอาจทำให้เกิดทารกวิรูปได้
ประสิทธิผลในการบรรเทาอาการไข้เจ็บคอของฟ้าทะลายโจร น่าจะเกิดจากฤทธิ์ลดไข้และฤทธิ์ต้าน
การอักเสบมากกว่าฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus group
A ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมา เช่น ไข้รูห์มาติค โรคหัวใจรูห์มาติค และไตอักเสบ จึงมีข้อห้ามใช้ฟ้าทะลายโจรสำหรับแก้เจ็บคอในกรณีต่าง ๆ
ต่อไปนี้
- ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากติดเชื้อ Streptococcus group A
- ในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคไตอักเสบ เนื่องจากเคยติดเชื้อนี้
- ในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจรูห์มาติค
- ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากมีการติดเชื้อแบคทีเรีย และมีอาการรุนแรง เช่น มีตุ่มหนองในคอมีไข้สูง หนาวสั่น
ข้อควรระวัง (precaution)
ฟ้าทะลายโจรอาจทำให้เกิดอาการแพ้ (allergic reaction) ได้ตั้งแต่อาการผื่นคัน ลมพิษ จนถึงอาการแพ้ขั้นรุนแรงแบบ anaphylactic shock
ถ้าให้โดยการฉีดหรือในขนาดสูง
หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้แขนขามีอาการชาหรืออ่อนแรง
หากใช้ฟ้าทะลายโจรติดต่อกัน 3 วันแล้วไม่หาย หรือมีอาการรุนแรงขึ้นระหว่างใช้ยา ควรหยุดใช้และไปพบแพทย์
เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่จะเกิด anaphylactic reaction จากสารสกัดฟ้าทะลายโจร จึงไม่ควรใช้ในรูปแบบยาฉีด
และมีรายงานว่าฟ้าทะลายโจรทำให้เกิดการแท้งได้ ดังนั้นทางองค์การอนามัยโลกจึงแนะนำว่าสตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้ฟ้าทะลายโจร
อาการไม่พึงประสงค์ (adverse effect)
ในผู้ป่วยบางราย ฟ้าทะลายโจรอาจทำให้เกิดอาการผิดปกติของทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ เบื่ออาหาร หรือมีอาการปวดเอว วิงเวียนศีรษะ
ใจสั่น และอาจเกิดลมพิษได้ หากมีอาการดังกล่าวควรหยุดใช้ฟ้าทะลายโจรและเปลี่ยนไปใช้ยาอื่นแทน
หมายเหตุ : สามารถดาวน์โหลดนี้ในเอกสารที่ชื่อ รายละเอียดเพิ่มเติมของบัญชียาพัฒนาจากสมุนไพร ในเว็บดังกล่าวข้างต้น ดูหน้า 40 52
(มีข้อมูลการวิจัยที่น่าสนใจมาก และอาจขัดแย้งกับข่าวสารทั้งหลายที่ท่านได้ยินมาก่อนหน้านั้นก็ได้)
ความร้ายแรงของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และวิธีป้องกัน ...จากคำอธิบายของกรมควบคุมโรค
........กระทรวงสาธารณะสุข ได้ระบุข้อมูลไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ไว้ว่า
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เป็นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในคน แพร่ติดต่อระหว่างครนสู่คน ไม่พบว่ามีการติดต่อมาจากสุกร เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ
เอช1 เอ็น1 (A/H1N1)
........ซึ่งเป็นเชื้อตัวใหม่ที่ไม่เคยพบทั้งในสุกรและในคน เป็นเชื้อที่เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ ซึ่งเป็นสารพันธุ์กรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่คน
ไข้หวัดใหญ่สุกร และไข้หวัดใหญ่สัตว์ปีกด้วย โดยมีชื่อว่า ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1 เอ็น1″ และใช้ชื้อย่อว่า ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่
2009″
ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2009 นี้ร้ายแรงแค่ไหน?
หากเทียบกับไข้หวัดนก ในแง่ของอัตราผู้เสียชีวิตเมื่อได้รับเชื้อ พบว่าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 นี้ร้ายแรงน้อยกว่า คือ
ทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตน้อยกว่า โดยอยู่ที่อัตราประมาณร้อยละ 5-10 ในขณะที่ไข้หวัดนกมีอัตราผู้เสียชีวิตอยู่ที่ประมาณร้อยละ 60-65
แต่สิ่งที่น่ากลัวสำหรับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 นี้คือ มีการติดต่อหรือแพร่เชื้อได้ง่ายและรวดเร็ว
หรือถ้าเชื้อเกิดมีการกลายพันธุ์และติดต่อกลับไปกลับมาระหว่างคนกับสัตว์ หรือคนสู่คนด้วยก็จะน่ากลัวมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1 เอ็น1กำลังขยายตัวไปทั่วโลก และขณะนี้ประเทศไทยพบการแพร่ระบาดภายในประเทศแล้ว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานศึกษา และสถานประกอบการ ซึ่งอาจแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้มีอาการคล้ายกับไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ธรรมดา
ส่วนใหญ่มีอาการน้อยและหายได้โดยไม่ต้องรับการรักษาที่โรงพยาบาล
สำหรับผู้ป่วยจำนวนไม่มากในต่างประเทศที่เสียชีวิต มักเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคปอด หอบหืด โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน เป็นต้น
ผู้มีภูมิต้านทานต่ำ โรคอ้วน ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และหญิงมีครรภ์
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการหลังจากได้รับเชื้อไวรัส 1-3 วัน น้อยรายที่นานถึง 7 วัน อาการป่วยใกล้เคียงกับโรคไข้หวัดใหญ่ที่เกิดขึ้นทั่วไป เช่น
มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื้อยกล้ามเนื้อ ไอ เจ็บคอ คัดจมูก อาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสียร่วมด้วย
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 มีอาการไม่รุนแรง หายป่วยได้โดยไม่ต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล อาการจะทุเลาและหายป่วยภายใน 5-7 วัน
แต่บางรายที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง อาจมีอาการปอดอักเสบรุนแรง จะมีอาการหายใจเร็ว เหนื่อย หอบ หายใจลำบาก ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้
อัตราผู้ป่วยเสียชีวิตใกล้เคียงกับไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลหรือไข้หวัดใหญ่ธรรมดา คือร้อยละ 0.1-1
การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ดื่มน้ำสะอาด
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังไอหรือจาม
ใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น รักษาบ้านเรือนให้สะอาด เช็ดเครื่องเรือน และของใช้ในบ้าน ในที่ทำงาน
โดยเฉพาะโทรศัพท์เป็นประจำอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ด้วยผ้าชุบน้ำสบู่ หรือผงซักฟอกเจือจาง และเช็ดด้วยน้ำสะอาด หรือเช็ดด้วยแอลกอฮอลล์ล้างแผล
หากไม่มีความจำเป็น ควรชะลอการเดินทางไปยังประเทศที่เป็นพื้นที่เกิดการระบาด จนกว่าสถานการณ์จะยุติลง ถ้าป่วยมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ
มีน้ำมูก เสมหะ ควรปิดปากและจมูกเวลาไอ โดยใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษทิชชู และทิ้งลงถังขยะที่มีฝาปิดและสวมหน้ากากอนามัย เมื่ออยู่กับผู้อื่น และควรพบแพทย์
หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
หากต้องการดูแลผู้ป่วยควรสวมหน้ากากอนามัยและให้ผู้ป่วยสวมหน้ากากอนามัยด้วย หลังดูแลผู้ป่วยทุกครั้ง ควรรีบล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดทันที
ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
ใช้ช้อนกลางทุกครั้ง เมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอลล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลัง ไอ จาม
รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้งไข่ นม ผัก และผลไม้ ดื่มน้ำสะอาดและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
หลีกเลี่ยงบุหรี่และสุรา
การป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
หากป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ควรหยุดงาน หยุดเรียน เป็นเวลา 3-7 วัน ซึ่งจะช่วยลดการแพร่ระบาดได้มาก
หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้อื่น
สวมหน้ากากอนามัย เมื่ออยู่กับผู้อื่น หรือใช้ทิชชูปิดปากและจมูกทุกครั้งที่ไอจาม
และทิ้งลงถังขยะที่มีฝาปิด แล้วล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่
อนุเคราะห์ข้อมูล : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, ภาพ Mauro Coriniti
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 19/1/09 at 15:29
เผยผลวิจัยสมุนไพร ผักคาวตอง สร้างภูมิกันเอดส์
อดีตปลัด สปน.ตั้งมูลนิธิ ทองเนื้องามเพื่อสังคม ใช้ ผักคาวตอง พืชสมุนไพรรักษาโรคร้ายเรื้อรัง เอดส์ - มะเร็ง
ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บถือเป็นเรื่องสำคัญในทุกที่ทั่วโลก โดยประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีผู้ป่วยด้วยโรคร้ายแรงเรื้อรัง
โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งเรื้อรังและผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ซึ่งมีโรคแทรกซ้อน ทั้งอาการเบื่ออาหาร ผอมแห้ง เหนื่อยง่าย นอนไม่หลับ
เป็นภูมิแพ้อย่างรุนแรงและที่สำคัญถ่ายไม่ออก ดังนั้น จึงมีผู้ที่สนใจนำภูมิปัญญาพื้นบ้านเกี่ยวกับสมุนไพรมาเป็นทางเลือกในการรักษา
และพัฒนาเป็นอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้นเรื่อยๆ
ดร.ยงยุทธ สาระสมบัติ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ก่อตั้งมูลนิธิทองเนื้องามเพื่อสังคม เปิดเผยเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ว่า
โครงการคาวตองทองเนื้องามเพื่อสังคม ได้ก่อตั้งขึ้นเพราะมีผู้ป่วยประมาณ 70-80 คน ขอความอนุเคราะห์ สมุนไพรคาวตองทองเนื้องาม
โดยผู้ที่ต้องการได้รับความอนุเคราะห์ยังมีมาก จึงมีดำริที่จะก่อตั้งมูลนิธิ ทองเนื้องามเพื่อสังคม ซึ่งขณะนี้ได้ยื่นก่อตั้งมูลนิธิแล้ว นอกจากนี้
ยังมีผลวิจัยและรายงานที่เชื่อถือได้ รวมทั้งผู้ป่วยที่ยืนยันว่าได้ผล ดังนี้
สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำเอกสารเผยแพร่ เรื่อง สมุนไพรน่ารู้ 1: ผักคาวตอง ซึ่งบรรยายคุณภาพทางเคมี
สรรพคุณความปลอดภัย ในบทที่กล่าวถึงผักคาวตองกับการศึกษาด้านเภสัชวิทยา โดย กัลยา อนุลักขณาปกรณ์ เป็นผู้เขียน (อ้างแล้วหน้า 3648)
ได้สรุปรายงานการวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของผักคาวตอง ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งไว้หลายประการ เช่น ฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็ง (Cytotoxicity against tumor
cell line) ฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เม็ดเลือดขาว (Antileukemic activity)
โดยในประเทศจีนมีการใช้ผักคาวตองเป็นส่วนประกอบยาสำหรับรักษามะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งทางเดินหายใจ เนื้องอกในรังไข่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด
มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำใส้ใหญ่
ทั้งนี้ นางปราณี ชวลิตธำรง ได้สรุปสารเคมีที่แยกได้จากผักคาวตองและคุณสมบัติใน หนังสือผักคาวตอง ซึ่งจัดพิมพ์โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ว่า
มีสารเคมีที่มีคุณสมบัติทำลายเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง ยับยั้งเชื้อ HSV-1, HIV-1 ในหลอดทดลอง รวมทั้งมีคุณสมบัติช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน
ขณะที่ ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ สมศักดิ์ วรคามิน อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข และคณะได้ศึกษา คุณภาพชีวิตของผู้ป่วย HIV โดยเปรียบเทียบเซลล์ CD4
ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ระดับภูมิคุ้มกันที่สำคัญของร่างกาย (หาก CD4 สูงจะมีอัตรารอดชีวิตจากโรคติดเชื้อ HIV สูง และมีคุณภาพชีวิตเสมือนคนปกติ)
ผลการศึกษาทางระบาดวิทยาโดยติดตามเปรียบเทียบ CD4 ของผู้ป่วย HIV ในอำเภอแม่สรวย ก่อนและหลังบริโภคเครื่องดื่มสมุนไพรคาวตองผสมสมุนไพรอื่น
(สูตรทองเนื้องาม) ร่วมกับการกินยาต้านของโรงพยาบาลอำเภอแม่สรวย พบว่า CD4 ภายหลังบริโภคสมุนไพรคาวตองสูตรทองเนื้องาม 6 เดือนสูงกว่าก่อนบริโภค
(เก็บข้อมูลย้อนหลัง 24 เดือน) มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (t-test) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
ส่วน นางรวีวรรณ สุวรรณศรีคำ หัวหน้าสถานีอนามัยของกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ที่โรงงานเชียงรายไวน์เนอรี
ซึ่งเป็นโรงงานไวน์ได้รับอนุญาตผลิตไวน์สมุนไพรคาวตอง (แอลกอฮอล์ต่ำเพียง 4% จากกรมสรรพสามิตตั้งแต่ปี 2548)
และได้จัดตั้งโครงการคาวตองทองเนื้องามเพื่อสังคม ซึ่งจัดสมุนไพรคาวตองสกัดผสมสมุนไพรอื่น (สูตรทองเนื้องาม) นอกจากนี้
ยังมีน้ำสุมนไพรสกัดคาวตองสูตรทองเนื้องาม ประเภทไม่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งได้รับอนุญาตผลิตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาอีกด้วย
ด้าน ผศ.ดร.สมชาย จอมดวง อาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ปรึกษาด้านวิชาการของโรงงานเชียงรายไวน์เนอรี
ผู้คร่ำหวอดในการผลิตอาหารและเครื่องดื่มสมุนไพรกว่า 15 ปี เปิดเผยว่า การผลิตสมุนไพรสูตรทองเนื้องามได้ใช้ "ชีววิธี" ซึ่งได้ยื่นขอจดสิทธิบัตร เรื่อง
การสกัดสารออกฤทธิ์จากสมุนไพรคาวตอง หรือสมุนไพรอื่นๆ โดยชีววิธีร่วมกับการสกัดด้วยตัวทำละลาย ซึ่งวิธีการผลิตดังกล่าว ทำให้ได้สารออกฤทธิ์ในผักคาวตอง
และสมุนไพรที่ผสมอยู่ได้ดียิ่งกว่าการผลิตโดยวิธีอื่นๆ ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ การผลิตใช้วัตถุดิบจากหุบเขาสูง ควบคุมไม่ให้มีการใช้สารเคมีหรือใช้หลักปฏิบัติ GAP (Good Agriculture Practice) และผลิต
โดยโรงงานที่ได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม และดำเนินการผลิตตามระบบ HACCP (Harzard Analysis Critical Control Point) โดยนักวิทยาศาสตร์ การอาหารปริญญาตรีเอก
รวมทั้งวิธีการผลิต ซึ่งใช้ "ชีววิธี" ซึ่งได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรดังกล่าว กรณีศึกษานี้ได้ประโยชน์หลากหลายประการ คือ
1. ประโยชน์ด้านเภสัชวิทยา
ยืนยันผลด้านเภสัชวิทยาว่า สมุนไพรคาวตองร่วมกับสมุนไพรไทยอื่น (สูตรทองเนื้องาม) มีผลเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในผู้ป่วย HIV
ไม่ใช่เป็นเพียงเกิดผลในหลอดทดลองเท่านั้น
2. ประโยชน์ด้านการแพทย์
2.1 การบริโภคสมุนไพรคาวตอง สูตรทองเนื้องามร่วมกับยาต้าน HIV มีผลเพิ่ม CD 4 ในผู้ป่วย HIV ได้รวดเร็วและมากขึ้นกว่าการใช้ยาต้าน HIV เพียงอย่างเดียว
2.2 การบริโภคสมุนไพรคาวตอง สูตรทองเนื้องาม สามารถลดอาการที่เกิดจากผลข้างเคียงของยาต้าน HIV ทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ยาต้านไวรัสได้ผลดียิ่งขึ้น
3. ประโยชน์ด้านสาธารณสุข
การบริโภคสมุนไพรคาวตอง สูตรทองเนื้องาม ติดต่อกัน 2-6 เดือน มีผลให้สุขภาวะ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย HIV ดีขึ้นทุกราย
4. ประโยชน์ด้านเศรษฐศาสตร์
4.1 การใช้สมุนไพรคาวตอง สูตรทองเนื้องาม ในการร่วมรักษาผู้ป่วย HIV จะทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อยาต่างประเทศ และสงวนเงินตราต่างประเทศได้จำนวนมาก
ในอนาคต
4.2 หากสามารถนำสมุนไพรคาวตอง สูตรทองเนื้องาม จำหน่ายยังต่างประเทศ หรือและแก่องค์การสาธารณะด้านสาธารณสุขในต่างประเทศ เพื่อช่วยเหลือแก่ผู้ป่วย HIV
จะสามารถนำรายได้เข้าประเทศได้ในจำนวนมหาศาล
5. ประโยชน์ด้านมนุษยชาติ
ในต่างประเทศ เช่น ประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ฯลฯ ได้ใช้สมุนไพรคาวตอง ร่วมกับสมุนไพรอื่นรักษาโรคมะเร็ง เบาหวาน ฯลฯ สำหรับในประเทศไทย
ยังไม่ได้มีการศึกษาเก็บข้อมูลวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ เช่น การศึกษานี้ ดังนั้น
การศึกษานี้จะเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาเพิ่มเติมของสัมฤทธิ์ผลต่อการรักษาโรคมะเร็ง เบาหวาน ฯลฯ เพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติในอนาคต
สำหรับบทสรุปด้านคุณสมบัติของผักคาวตอง ประกอบด้วย การทำลายเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง ต้านอักเสบโดยยับยั้งฤทธิ์ของเอนไซม์ cyclooxygenase
ยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัสไข้หวัดใหญ่ในเซลล์เพาะเลี้ยง ต้าน Staphylococcus และรา ยับยั้งการเจริญของ H.influenza, pneumococcus, S. aureus
ยับยั้งเชื้อ HSV-1, influenza และ HIV-1 ในหลอดทดลอง ช่วยเสริมภูมิคุ้นกัน รักษาเต้านมอักเสบในวัว (Bovine mastitis) ทำให้หลอดเลือดขยายตัว
ขณะเดียวกันผู้ป่วยได้ให้สัมภาษณ์ว่ามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเชิงประจักษ์ โดยยินดีเปิดเผย ชื่อ สกุล ที่อยู่รวมทั้งหมายเลขโทรศัพท์เพื่อเป็นวิทยาทาน
นางทองใบ ก้ำนารี อายุ 48 ปี ระบุว่า ครั้งแรกไม่ทราบว่าติดเชื้อ มีอาการไข้หนาวๆ ร้อนๆ ก็ไปหาหมอ ได้ยามาก็ดีขึ้น ต่อมาปวดศีรษะมาก
หมอต้องบล็อกไขสันหลังและบอกว่าเป็นเชื้อราในสมอง ต้องนอนโรงพยาบาล 14 คืน เติมเอ็มโฟถึง 14 กระปุก ก็กินยาต้านไวรัสมาโดยตลอด 4 ปีแล้ว อาการก่อนนั้น
ถ่ายยากมาก อาการปวดศีรษะยังเป็นอยู่ ทำงานรับจ้างกลับมาเหนื่อยเหมือนใจจะขาด นอนก็ไม่หลับ กินข้าวไม่ได้
พอมาพบกลุ่มได้รับน้ำสมุนไพรคาวตองทองเนื้องาม แบบไม่มีแอลกอฮอล์ 4 ปีที่ผ่านมากินยาต้านไวรัส CD 4 ไม่ขึ้น แต่ตอนนี้ขึ้นมา 100 กว่าแล้ว ดื่มมาเพียง 1
เดือน 1 ขวด รู้สึกแข็งแรงขึ้น กว่าทุกวัน ทำงานไม่เหนื่อย หลับสบาย กินข้าวลำ(อร่อย) แต่เราก็กินยาต้านไวรัสควบคู่กันไปด้วย
ส่วน นายบุญเกิด ปานแก้ว อายุ 35 ปี พบว่ามีเชื้อราในสมอง จะเกิดอาการชัก วูบไปบ่อย ท้องผูกถ่ายแข็งมีเลือดออกจะเครียด มีอารมณ์เก็บกด
อยากจะปึงปังออกไปเวลาโกรธหรือมีใครมาขัดใจ อยากหายเหมือนกลุ่มผู้ติดเชื้อบ้านศรีถ้อย เลยมาขอเข้ากลุ่มป่าแดด ได้รับประทานสมุนไพรคาวตองทองเนื้องาม ทานมา 2
เดือนแล้ว รู้สึกว่าร่างกายกระชุ่มกระชวย
เมื่อก่อนตอนที่กินยาต้านไวรัสของโรงพยาบาล CD 4 จะขึ้นมาทีละนิด ไม่ขึ้นมาก แต่เมื่อทานยาสมุนไพรคาวตองนี้ รู้สึกว่า CD4 ขึ้นมาน่าพอใจ จากเดิม 17-18
แล้วขึ้นมาเป็น 23-24 ไม่นานมานี้ค่าได้ถึง 164 เมื่อก่อนจะมีอาการชักเป็นหนักชักอย่างรุนแรงถึง 2 ครั้ง เรียกว่าเฉียดตาย
แต่หลังจากรับประทานสมุนไพรคาวตองทองเนื้องามแล้ว อาการชักหายไป ไม่มีอาการกระตุกเลย ปกติแขนจะกระตุกบ่อย เตือนว่าอาจจะชัก ดีใจมาก ส่วน CD 4
ตรวจครั้งหลังสุด หลังทานน้ำสมุนไพรคาวตองทองเนื้องามมา 2 เดือน ก็ขึ้นมามากถึง 245 แล้ว
นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่ต้องการขอความอนุเคราะห์ให้ติดต่อ สอบถามที่หมายเลข 082-450-2964-9 โทรสาร 02-566-1601
ข้อมูลจาก - มติชน
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 21/1/09 at 18:03
(Update 13/02/09)
อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ
ค้านประกาศให้พืชสมุนไพร 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตราย
อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ไม่เห็นด้วยกับการประกาศให้พืชสมุนไพร 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตราย เพราะจะมีผลในเชิงลบมากกว่า
พร้อมเสนอจัดทำโครงการพัฒนาพืชสมุนไพรป้องกันศัตรูพืชแทน
นายแพทย์นรา นาควัฒนานุกูล อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า
การประกาศให้พืชสมุนไพร 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตราย เนื่องจากมีการนำพืชทั้ง 13 ชนิดมาใช้ควบคุมและกำจัดศัตรูพืช โดยแบ่งเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1
ที่นำชินส่วนสมุนไพรไปใช้โดยไม่ได้สกัด แต่หากนำไปสกัดก็จะเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ซึ่งต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนจะสกัด และแม้ว่าสมุนไพรทั้ง 13
ชนิดจะสามารถนำมารับประทานได้ แต่ในการป้องกันศัตรูพืช เมื่อนำมาขึ้นทะเบียนแล้ว อาจทำให้ดูเหมือนมีอันตราย เจ้าหน้าที่จะเคร่งครัดในข้อกฎหมาย
อย่างไรก็ตามเข้าใจว่าเป็นความหวังดี ที่จะนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกหลักวิชาการ แต่ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดปฏิกิริยาเชิงลบตามมา
เพราะการจะนำไปใช้จะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อน โดยส่วนตัวเห็นว่าน่าจะทำเป็นโครงการพัฒนาสมุนไพร เพื่อป้องกันควบคุมศัตรูพืชแทนการประกาศเป็นพืชอันตราย
จะเป็นเชิงบวกมากกว่า
สำหรับพืชทั้ง 13 ชนิด เช่น ขมิ้นชัน , ตะไคร้ , สะเดา , ขิง ,ข่า , ดาวเรือง , กากเมล็ดชา , พริก , ขึ้นฉ่าย ชุมเห็ดเทศและดองดึง เป็นต้น
ที่มา: สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์
หาความรู้ข้อมูลวัตถุอันตรายได้ที่นี่ »
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
(Update 12/02/09)
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบเรื่องสมุนไพร
........นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
ยืนยันว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากการไม่ได้ทำความเข้าใจกับประกาศดังกล่าวว่า ไม่ได้เป็นการทำลายวิถีชีวิตของชาวบ้าน
แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบไม่ให้มีการหลอกลวงเกษตรกร เพราะปัจจุบันพบการหลอกลวงเรื่องการใช้สารชีวภาพกำจัดศัตรูพืชมากถึง 90 เปอร์เซ็นต์
........โดยประกาศฉบับนี้ จะควบคุมเฉพาะการนำพืชสมุนไพรมาแปรรูปเป็นสารกำจัดควบคุมและทำลายแมลงศัตรูพืช อีกทั้งกรมวิชาการเกษตร
ต้องการที่จะลดการนำเข้าสารเคมีที่ใช้กำจัดศัตรูพืชที่มีมูลค่าปีละกว่า 20,000 ล้านบาท
อธิบดีกรมวิชาการ ยืนยันด้วยว่า ไม่ได้เป็นการเอื้อประโยชน์ให้ภาคเอกชน และเพื่อลดความสับสนในสังคม
ในวันนี้จะเสนอให้มีการทบทวนวิธีการประกาศของคณะกรรมการวัตถุอันตราย โดยจะเสนอให้ถอดรายชื่อพืชทั้ง 13 ชนิด ออกมาก่อน ซึ่งจะไม่มีการระบุว่าเป็น
"วัตถุอันตราย" เพื่อไม่ให้ประชาชนตื่นตะหนก รวมทั้งจะถอนร่างประกาศในส่วนของกรมวิชาการเกษตร ที่ต้องให้เกษตรกรแจ้งการผลิตและนำเข้าพืชทั้ง 13
ชนิดออกมาก่อน เพื่อกลับมาพิจารณาใหม่
(Update 11/02/09)
ชี้แจงควบคุม "สมุนไพร" เฉพาะแปรรูปเป็นยาฆ่าแมลง
นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ยืนยันว่า การประกาศให้ผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืชสมุนไพร 13 ชนิด เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1
จะควบคุมเฉพาะการนำสมุนไพรเหล่านี้ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้กำจัดแมลงหรือยาฆ่าแมลง และต้องทำเพื่อการค้าเท่านั้น
ไม่เกี่ยวข้องกับการปลูกหรือนำสมุนไพรมารักษาโรค และไม่กระทบกับวิถีชีวิตของคนไทยที่ต้องใช้พืชสมุนไพรประกอบอาหาร
ด้านนางสาวสุวภี ภัทรวิมล หัวหน้าฝ่ายวัตถุมีพิษ กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยด้วยว่า เดิมพืชสมุนไพรทุกชนิดที่นำมาแปรรูปเพื่อป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช
จะอยู่ในวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 คือต้องขึ้นทะเบียน ทดสอบประสิทธิภาพ และประเมินความเป็นพิษ ที่ต้องใช้เวลานาน จึงจะได้รับอนุญาตให้จำหน่ายได้
แต่เพื่อความสะดวก กรมวิชาการเกษตร จึงย้ายพืชสมุนไพรทั้ง 13 ชนิด มาเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ซึ่งต้องแจ้งการผลิต การนำเข้าและส่งออกเท่านั้น
ไม่ต้องผ่านกระบวนการทดสอบประสิทธิภาพที่ยุ่งยาก อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดความสับสน ทางกรมวิชาการเกษตรจะเผยแพร่เอกสารให้เกษตรกร
และผู้ประกอบการเข้าในเรื่องนี้มากขึ้น
ด้านนายรัชดา สิงคาลวณิช เลขาธิการคณะกรรมการวัตถุอันตรายกระทรวงอุตสาหกรรม ยืนยันว่า พืชสมุนไพรทั้ง 13 ชนิด หากใครเป็นผู้ครอบครองจะไม่มีโทษ
และสามารถบริโภคได้ โดยเมื่อดูจากคำนิยาม "วัตถุอันตราย" ที่ประกาศได้ครอบคลุมเป็นวงกว้าง ทั้งสิ่งที่เป็นอันตรายต่อคน พืช สัตว์ สิ่งแวดล้อม
ที่มา - www.ch7.com
(Update 10/02/09)
"นักวิทยาศาสตร์ได้พบหนทางป้องกันโลหิตอุดตัน อันเป็นสาเหตุของหัวใจวาย ซึ่งกำลังเป็นมัจจุราชเฉียบพลันอยู่ในปัจจุบันได้แล้ว
วารสารทางวิชาการ "คลินิกคอล อินเวสติเกชั่น" ที่สหรัฐฯรายงานว่า นักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยบริสตอลแห่งอังกฤษ ได้พบในการศึกษากับหนูทดลองว่า
โปรตีนที่มีชื่อว่าพีเคซี อัลฟา เป็นตัวการสำคัญร่วมกับเกล็ดเลือด ทำให้เลือดแข็งตัวเป็นก้อน เหตุที่ร่างกายทำให้เลือดจับเป็นก้อน
ก็เพื่ออุดตันเส้นเลือดเมื่อเกิดบาดแผล แต่หากเผอิญเกิดไปจับตัวกันเข้า ในหลอดเลือดไปสู่หัวใจ ก็อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ แค่ในเมืองน้ำชาเพียงชาติเดียว
ปีหนึ่งๆเหตุหัวใจวายทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 146,000 ราย
ทุกวันนี้ แม้จะมียาบางขนานที่มีสรรพคุณป้องกันเลือดจับตัวแข็ง อย่างเช่น แอสไพริน แต่ก็ยังมีข้อเสียอาจทำให้เลือดหยุดยากในบางราย ศาสตราจารย์อลาสแตร์
หัวหน้าคณะนักวิจัยกล่าวว่า
"เราพบว่าโปรตีน พีเคซี อัลฟา เป็นตัวคอยควบคุมให้เกล็ดเลือดมีความเหนียวเกาะติดกัน หากว่าขจัดมันออกเสีย ก็จะทำให้เลือดไม่อาจจับตัวกันได้
ที่สำคัญพอกัน และก็น่าประหลาด ก็คือเราก็พบพร้อมกันด้วยว่า หากขจัดโปรตีนออกไปได้ จะป้องกันไม่ให้เลือดหยุดยากได้อย่างไร" และเสริมว่า
"ตอนนี้ยังเร็วเกินไปที่จะผลิตยานี้ออกขาย แต่เราก็อดตื่นเต้นไม่ได้ที่พบว่าได้ก้าวไปถูกทางแล้ว."
(Update 25/01/09)
"มะเร็งปากมดลูก" ภัยเงียบ คร่าชีวิตผู้หญิงปีละกว่า 3,000 ราย
สาเหตุหนึ่ง เพราะตรวจพบล่าช้า รู้ตัวอีกทีเมื่อมะเร็งลุกลาม ยากรักษา
โรงพยาบาลค่ายบางระจัน จึงให้ความสำคัญ กับการตรวจ "แปปสเมียร์" ให้แก่กลุ่มผู้หญิงในชุมชน เพราะวิธีนี้
จะสามารถค้นหาความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก หากพบผิดปกติ ยิ่งเร็ว ก็ยิ่งรักษาได้ทันการณ์ มีโอกาสหายขาด
แพทย์แนะ ผู้ที่ควรได้รับการตรวจ คือ หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปหรือ หญิงที่มีเพศสัมพันธ์มาแล้ว 1-2 ปี นอกจากจากนี้ หญิงตัดมดลูก
หรือหมดประจำเดือน ก็ยังคงต้องได้รับการตรวจแปบสเมียร์ด้วย
ผู้เข้ารับการตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูก สามารถใช้ใช้สิทธิ์บัตรทองได้ไม่มีค่าใช้จ่าย ข้อมูลเพิ่มเติม : น.พ.สุขสันติ (ผ.อ.) โทร.081-294-5494
ที่มา - www.ch7.com
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 13/2/09 at 06:15
(Update 21/01/09)
วงการแพทย์ตื่นทำวิจัย หลังพบเลือดจระเข้ฆ่าเชื้อเอดส์ได้
"........นักวิทยาศาสตร์ระดมเก็บตัวอย่างเลือดจระเข้เพื่อพัฒนายาฆ่าจุลินทรีย์ สำหรับมนุษย์ หลังการทดลองยืนยันแล้วว่า
เลือดจระเข้สามารถฆ่าเชื้อไวรัสเอชไอวี ที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ในมนุษย์ได้ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ครั้งนี้ได้มาจากการสังเกตความเป็อยู่ของจระเข้
ที่มักต่อสู้กันจนเป็นแผลขนาดใหญ่ หรือขาขาด
........แต่แผลฉกรรจ์เหล่านั้นกลับไม่เน่าพุพอง และปิดสนิทหายอย่างรวดเร็ว ทั้ง ๆ ที่จระเข้อยู่อาศัยในพื้นที่หนองน้ำและพื้นดิน
ซึ่งเต็มไปด้วยเชื้อไวรัสและแบคทีเรียชนิดต่าง ๆ ลักษณะดังกล่าวของจระเข้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสงสัย
และนำตัวอย่างเลือดจระเข้มาวิจัยกับเชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ที่สามารถฆ่ามนุษย์ได้
........อาจารย์อดัม บริตตัน นักวิทยาศาสตร์ออสเตรเลีย เปิดเผยว่า
การทดลองพบว่าระบบภูมิคุ้มของจระเข้มีโปรตีนหลายชนิดที่สามารถฆ่าแบคทีเรียที่ยาเพนนิซิลินไม่สามารถกำจัดได้ มนุษย์ได้ นอกจากนี้ การทดลองยังพบด้วยว่า
ภูมิคุ้มกันจระเข้สามารถฆ่าเชื้อไวรัสเอชไอวีที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขณะนี้คณะนักวิทยาศาสตร์ออสเตรเลียและสหรัฐ กำลังระดมเก็บตัวอย่างเลือดจระเข้เพื่อนำมาสกัดทำเป็นยาฆ่าจุลินทรีย์ อย่างไรก็ตาม อาจารย์บริตตันกล่าวว่า
ภูมิคุ้มกันของจระเข้แตกต่างจากมนุษย์รวมถึงมีฤทธิ์แรงมาก ดังนั้น จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับร่างกายมนุษย์ได้
ก่อนนำมาใช้กับมนุษย์โดยตรงเพื่อรักษาแผลพุพอง เป็นหนอง รวมถึงโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
แคปซูลเลือดจระเข้
อาหารเสริมรูปแบบใหม่
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ชี้เลือดจระเข้มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด
พร้อมมีโปรตีนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง สร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย หนุนทำเป็นอาหารเสริมรูปแบบใหม่ แคปซูล เลือดจระเข้เพื่อสะดวก รับประทานได้ง่าย
เร่งหากระบวนการเก็บรักษาที่เหมาะสมเพื่อคงคุณภาพ ความสะอาด สร้างความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค
จระเข้ เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่นิยมเลี้ยงเป็นการค้า โดยผลผลิตหลักที่มีการส่งออกไปยังต่างประเทศ ได้แก่ หนังจระเข้ หรือส่วนอื่นๆอย่างเนื้อ กระดูก
เครื่องใน รวมถึงเลือดจระเข้ โดยเฉพาะเลือดจระเข้จะเป็นผลผลิตที่เหลือจากอุตสาหกรรมดังกล่าว
โดยขณะนี้มีประชาชนทั้งในและนอกประเทศนิยมนำมาบริโภคเป็นอาหารเสริมและบำรุงร่างกาย
ทั้งนี้อาจมีเหตุผลเนื่องจากฮีโมโกลบินของจระเข้
มีโครงสร้างพิเศษกว่าของคนทำให้จระเข้สามารถดำน้ำได้เป็นเวลานานทั้งที่หายใจด้วยปอดเช่นเดียวกับคนและมีองค์ประกอบภายในเลือดอีกหลายชนิดที่ทำให้จระเข้มีความ
สามารถในการป้องกันตัวเองจากการบุกรุกของเชื้อแบคทีเรีย โดยจะเห็นได้จากกรณีที่เกิดการต่อสู้กันของจระเข้แล้วเกิดแผลขนาดใหญ่ขึ้น
จระเข้ตัวนั้นสามารถอาศัยอยู่ในน้ำที่มีเชื้อโรคจำนวนมากและแผลที่เกิดก็หายสนิทโดยไม่มีการติดเชื้อ
โครงการกระบวนการที่เหมาะสมในการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เลือดจระเข้แห้ง โดยหนึ่งในทีมวิจัยได้แก่ นายชูศักดิ์ เศรษฐ์สัมพันธ์ ภาควิชาสัตววิทยา
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
(สกว.)จึงได้ศึกษาโดยใช้การตรวจสอบทางจุลชีววิทยาเพื่อหากระบวนการที่เหมาะสมในการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เลือดจระเข้แห้งในรูปของแคปซูล
จากการศึกษาทางห้องปฎิบัติการพบว่า
เลือดจระเข้มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดและการศึกษาในอัลลิเกเตอร์ซึ่งเป็นจระเข้ชนิดหนึ่งที่พบมากในประเทศสหรัฐอเมริกา
แสดงผลการทดลองที่สนับสนุนประสิทธิภาพที่ดีของเลือดจระเข้ ในการทำลายแบคทีเรียไวรัสและโพรโทซัว
จะเห็นได้ว่าจระเข้เป็นสัตว์สมุนไพรที่สำคัญ มีผู้บริโภคนิยมใช้เลือดของจระเข้เป็นอาหารเสริม โดยเฉพาะในจีน ฮ่องกงและไต้หวัน
นิยมบริโภคเลือดจระเข้เพื่อบรรเทาอาการหอบหืด
ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตที่ได้จากจระเข้จึงได้มีการแปรรูปเลือดจระเข้ให้อยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์เลือดจระเข้แห้ง
ด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคนั้นได้มีการศึกษาพบว่า จระเข้ที่เพาะเลี้ยงในประเทศไทยปราศจากหนอนพยาธิในเลือดและลำไส้
เมื่อทดสอบความปลอดภัยในสัตว์ทดลองโดยให้หนูทดลองบริโภคเลือดจระเข้ทั้งแบบเลือดสดและเลือดแห้งเป็นอาหารเสริม จะไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโลหิตวิทยา
ค่าทางชีวเคมีในเลือดและไม่ก่อให้เกิดพยาธิสภาพกับอวัยวะภายในของหนูทดลอง
โดยกระบวนการแปรรูปเลือดจระเข้ให้เป็นผลิตภัณฑ์เลือดจระเข้แห้งนั้นจะต้องคัดเลือกวัตถุดิบที่สะอาดมีคุณภาพดี เก็บรักษาภายใต้สภาวะที่ป้องกันการปนเปื้อน
มีบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับอาหารและมีมาตรการประกันคุณภาพของอาหารเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค
วิธีทดลองคร่าวๆ ในโครงการนี้ได้แก่ ศึกษาข้อมูลพื้นฐานกระบวนการเจาะเก็บเลือดจระเข้และการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เลือดจระเข้แห้ง อาทิ
ตรวจวิเคราะห์เลือดจระเข้สด เก็บตัวอย่างเลือดจากจระเข้พันธุ์ไทย ทำการตรวจสอบทางจุลชีววิทยาได้แก่ การตรวจวิเคราะห์จำนวนประชากรจุลินทรี
หรือผลิตเลือดจระเข้ภายใต้ความเย็นจัดโดยเก็บเลือดภายใต้ความเย็นจัด
จากนั้นระเหิดแห้งเลือดโดยใช้เครื่อง Freeze dryer
นำเลือดที่บดละเอียดแล้วมาบรรจุใส่แคปซูลด้วยเครื่องบรรจุแคปซูลกึ่งอัตโนมัติและเปรียบเทียบกับแคปซูลเลือดจระเข้ที่ได้จากการทำแห้งด้วยความร้อน
รวมทั้งศึกษาสภาพของแคปซูลเลือดจระเข้แห้งที่เก็บในอุณหภูมิต่างๆทุกสัปดาห์ และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
ผลการทดลองโดยสรุปพบว่า การผลิตเลือดจระเข้แต่เดิมจะใช้วิธีใส่เลือดจระเข้ในถาดแล้วตากแดดจนได้เลือดจระเข้แห้ง
ซึ่งต่อมาได้พัฒนาโดยการทำแห้งด้วยความร้อนในตู้อบที่ตั้งอุณหภูมิในการอบโดยทั่วไปสูงกว่า 60 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมิสูงที่ใช้นี้ทำให้โครงสร้างของโปรตีน
เกิดความเสียหายแล้วในกระบวนการนี้ทำในระบบเปิด
ซึ่งมีโอกาสมากในกระบวนการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์เลือดแห้งและก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้บริโภคได้
แต่ในการศึกษานี้จะใช้วิธีทำเลือดให้แห้งเพื่อคงสภาพของโปรตีนต่างๆไว้ให้มากที่สุดหรือไม่เปลี่ยนแปลงโดยระเหิดแห้งภายใต้อุณหภูมิเย็นจัดหรือแบบเยือกแข็ง
หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวอีกว่า การศึกษาครั้งนี้ใช้เพียงการทดสอบทางจุลชีววิทยาในการหากระบวนการที่เหมาะสมสำหรับการเก็บรักษาเลือดจระเข้แห้ง
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณภาพที่ดีของผลิตภัณฑ์ในด้านความสะอาดและความปลอดภัยของอาหารสำหรับผู้บริโภค โปรตีนต่างๆ
ที่อยู่ในเลือดจระเข้เป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง รวมถึงภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับร่างกาย
แต่การเก็บรักษาที่ไม่เหมาะสม หรือระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บอาจมีผลต่อคุณภาพโปรตีนเหล่านี้
ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในส่วนของโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในเลือดว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในคุณภาพของผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคอย่างแท้จริงต่อไป
นักวิจัย มข. ค้นพบสารสกัดจากเลือดจระเข้
สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคในคน
เตรียมนำมาผลิตเป็นอาหารเสริมสุขภาพกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
จระเข้เป็นสัตว์ยุคดึกดำบรรพ์ และสามารถมีชีวิตอยู่ได้ โดยไม่สูญพันธ์ ซึ่งน่าทึ่งในระบบการทำงานของร่างกายจระเข้ รศ.ดร.สมปอง ธรรมศิริรักษ์
อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ได้ทำการวิจัย สารที่ออกฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราจากเลือดจระเข้
โดยนำเลือดจระเข้ที่เหลือจากอุตสาหกรรมการฆ่าชำแหละเพื่อนำหนังจระเข้ไปทำกระเป๋า และ นำเนื้อไปบริโภค
จากการทดสอบเบื้องต้น พบคุณสมบัติของการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย จากซีรั่ม พลาสมา และ สารสกัดจากเม็ดเลือดขาว ของจระเข้ ซึ่งทั้ง 3
ส่วนนี้ ยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา คือ Candida albican เมื่อพบคุณสมบัติดังกล่าว
จึงได้นำเลือดจระเข้ไปทำการแยกบริสุทธิ์ด้วยวิธีการทางชีวเคมี พบว่าในซีรั่ม สามารถแยก เปปไทด์ ที่ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียได้อย่างน้อย 6 เปปไทด์
ในส่วนของพลาสมา พบอย่างน้อย 1 เปปไทด์ และ ในสารสกัดเม็ดเลืดขาวก็มีอย่างน้อย 2 เปปไทด์ รวมถึงมีโปรตีนอย่างน้อย 3 ชนิด
ที่สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรียใน คน สัตว์ และ พืช ได้อย่างมีประสิทธิภาพเห็นได้อย่างชัดเจนจากการทดลองในเชื้อบิบีโอคลอเรล่า หรือ ซ่าโมเลร่าไทฟี
ซึ่งเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดโรคท้องร่วงในคนสารโปรตีน หรือ เปปไทด์ ในเลือดจระเข้ก็สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อได้เป็นอย่างดี และจากผลการทดลองนี้
น่าจะยืนยันได้ว่าจระเข้มีภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพ และ อาจมีภูมิคุ้มกันหลายระบบในการร่วมกันทำลายสิ่งแปลกปลอม
ปัจจุบันการทดลองยังอยู่ในขั้นการทดสอบความเป็นพิษของสารให้ชัดเจนก่อนนำไปใช้กับ คน สัตว์ และ พืช
เนื่องจากยังพบสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียเช่น สารค๊อกโคซิน จากน้ำเลือดจระเข้ (พลาสมา) และ สารริวค๊อกซิน
ที่ได้จากสารสกัดเม็ดเลือดขาว ซึ่ง สารริวค๊อกซีน บางชนิด สามารถทำลายเม็ดเลือดแดงของคนได้ด้วยนั้นแสดงว่า อาจจะมีพิษต่อเซลล์มนุษย์ หากนำไปใช้ทันที
นักวิจัยจึงต้องทำการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง เพื่อลดความเป็นพิษของสารสกัด ที่แยกได้บางตัว ก่อนที่จะนำไปใช้จริง
ด้านการพัฒนาผลงานวิจัย รศ.ดร.สมปอง ธรรมศิริรักษ์ กล่าวต่อว่า หากจะนำผลการทดลองนี้ ไปใช้ในเชิงพานิช อันดับแรกจะพัฒนาเป็นอาหารเสริม
ในรูปแบบของแคปซูล หรือ เป็นเม็ด ที่สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของคน หรือสัตว์ให้ทำงานได้ดีขึ้น แต่หากจะพัฒนาเป็นยารักษาโรค
ก็อาจจะเป็นยาในกลุ่มรักษาอาการติดเชื้อจากแบคทีเรียในคน และ สัตว์..
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 17/7/09 at 21:05
(Update 19/01/09)
ข่าว..พบวิธีขจัดสารตะกั่วปนเปื้อนในเลือด
ฮ่องกง 19 ม.ค. - คณะนักวิทยาศาสตร์เกาหลีใต้พบวิธีขจัดโลหะหนัก เช่น สารตะกั่ว ออกจากเลือด
โดยใช้ตัวรับแม่เหล็กที่ออกแบบพิเศษให้ยึดเกาะกับอิออนของสารตะกั่วได้ แล้วใช้แม่เหล็กดูดออกอย่างง่ายดาย
คณะนักวิจัยของเกาหลีใต้นำโดยนายจอง ฮวาจุง จากแผนกเคมี มหาวิทยาลัยแห่งชาติเกียงซาง เผยว่า
การขจัดพิษออกจากเลือดสามารถทำได้โดยใช้หลักการเดียวกันกับการฟอกเลือด คือ
นำเลือดออกจากร่างกายมาผ่านอุปกรณ์พิเศษภายในบรรจุอนุภาคแม่เหล็กที่สามารถจับอิออนโลหะหนักในเลือดได้ จากนั้นผ่านสนามแม่เหล็กเข้าไปดูดอนุภาคแม่เหล็กออกมา
แล้วจึงนำเลือดที่ผ่านการขจัดโลหะหนักแล้วกลับเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยอีกครั้ง ผลการทดลองพบว่า สามารถขจัดตะกั่วออกจากตัวอย่างเลือดได้ร้อยละ 96
ในประเทศพัฒนาแล้ว การมีสารตะกั่วปนเปื้อนในเลือดส่วนใหญ่เกิดจากการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสารตะกั่ว เช่น สีทาบ้านและน้ำมันเบนซินผสมสารตะกั่ว
เป็นการสะสมทีละน้อยเป็นเวลานาน ส่วนเด็กเล็กที่อาจกลืนสิ่งที่มีสารตะกั่วผสมจำนวนมาก อาจเกิดภาวะโลหิตจาง กล้ามเนื้ออ่อนแอ และสมองถูกทำลาย.-
สำนักข่าวไทย
สำนักข่าวไทย - อัพเดตเมื่อ 2009-01-19 15:14:21
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
posted on 8/11/10 at 14:01
(Update 06/08/09)
มีข่าวการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคกาฬโรคปอดบวม 3 ราย ที่เมืองซีเก้อต้าน มณฑลซิงไห่ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน
ทางการจีนได้สั่งปิดเมืองที่มีประชากรประมาณ 1 หมื่นคน เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคแล้ว
อันที่จริงกาฬโรคปอดบวมไม่ใช่โรคใหม่ มาทำความรู้จักกับโรคนี้เพิ่มขึ้น เพื่อจะได้ไม่วิตกกังวล แต่ก็ไม่ประมาทในการที่จะป้องกัน
ความรู้เรื่องกาฬโรค
ลักษณะโรค : เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่มีแหล่งรังโรคคือสัตว์จำพวกฟันแทะ เช่น หนู และหมัดของมัน โดยมีเชื้อสาเหตุคือ เชื้อแบคทีเรียชื่อ
เยอร์ซิเนีย เพลติส(Yersinia pestis) กาฬโรคสามารถติดต่อได้ทุกเพศและทุกอายุ ขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยง ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและไม่ได้รับการรักษา
จะมีอัตราตายสูงถึงร้อยละ 30-60
พื้นที่ที่มีการระบาด : อาฟริกา สหภาพโซเวียต (ชื่อในอดีต) สหรัฐอเมริกา เอเชีย เช่น คาซัคสถาน จีน อินเดีย ลาว มองโกเลีย เมียนมาร์ อินโดนีเซีย
ส่วนในไทย มีรายงานครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2447 และมีการระบาดเป็นระยะ จนถึงพ.ศ. 2495 จากนั้นก็ไม่พบกาฬโรคในประเทศไทยอีก
อาการและอาการแสดง : มักจะเริ่มด้วยอาการคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ คือ ไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะและตามร่างกาย อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน
ซึ่งอาการต่อมาสามารถพบได้ 3 ลักษณะคือ . ชนิดต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ชนิดเชื้อในกระแสเลือด มักจะลุกลามจากชนิดต่อมน้ำเหลืองอักเสบ มีอาการไข้สูง
ความดันเลือดต่ำ ช็อก หัวใจเต้นเร็ว กระสับกระส่าย เพ้อ หมดสติ เลือดออกในอวัยวะต่างๆ เสียชีวิตภายใน 3-5 วัน หรือภายในไม่กี่ชั่วโมง และชนิดกาฬโรคปอด
อาจเกิดตามหลังจาก 2 ชนิดแรก หรือติดเชื้อจากคนไอจามรดกัน มีอาการปอดบวม ไอเป็นน้ำ เสมหะไม่เหนียว ต่อมาจะมีเลือดปน อ่อนเพลีย มีไข้ หากไม่ได้รับการรักษา
จะตายเร็วมากภายใน 1-3 วัน
การแพร่โรค : เกิดจากการที่คนถูกหมัดของสัตว์ฟันแทะเหล่านี้กัด ซึ่งอาจติดมากับสัตว์เลี้ยงในบ้าน เช่น สุนัข หรือแมว
บางรายอาจมีการสัมผัสกับเชื้อโดยตรง หรือการหายใจเอาละอองฝอยเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย ที่มีเชื้อจากผู้ที่เป็นโรค หรือจากหนู หรือจากหมัดหนู
สูดเข้าไปเข้าสู่ร่างกาย
ระยะฟักตัว : ประมาณ 1-7 วัน
การวินิจฉัยโรค : โดยการย้อมเชื้อ เพาะเชื้อและตรวจทางน้ำเหลืองวิทยา จากสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วย เช่น หนองฝีจากต่อมน้ำเหลือง เลือด เสมหะ
ซึ่งศักยภาพของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์สามารถตรวจได้
การรักษา : ใช้ยาปฏิชีวนะที่มีอยู่ทั่วไป ได้แก่ สเตรปโตไมซิน เป็นยาหลัก เจนตามัยซิน เตตราซัยคลินและคลอแรมฟินีคอล
การป้องกันและควบคุมโรค
1. ให้สุขศึกษากับประชาชนในพื้นที่มีโรคระบาดในสัตว์ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการถูกหมัดติดเชื้อกัด หลีกเลี่ยงการจับต้องสัมผัสกับหนอง
หรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยกาฬโรค มีการปรับปรุงสุขาภิบาล กำจัดขยะ แนะนำให้สวมถุงมือหนังเวลจับต้องสัตว์ป่าหรือไปล่าสัตว์
2. เฝ้าระวังและประเมินการเกิดโรคในสัตว์ เช่น สำรวจโรคในสัตว์จำพวกฟันแทะ
3. กำจัดหนูและควบคุมหมัดหนูบนยานพาหนะต่างๆ ท่าเรือ ในโรงเก็บสินค้าและบริเวณที่เกิดโรค
4. มีวัคซีนป้องกันโรคแต่ประสิทธิผลในการป้องกันโรคยังไม่มาก
5. การแยกผู้ป่วย : ทำความสะอาดเสื้อผ้าผู้ป่วยและสัมภาระให้ปราศจากหมัดหนู โดยใช้ยาฆ่าแมลง ที่มีประสิทธิผลในการกำจัดหมัดและปลอดภัยต่อมนุษย์
การแยกผู้ป่วยอย่างเข้มงวด ควรทำเฉพาะผู้ป่วยชนิดกาฬโรคปอด และป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อในอากาศ จนกระทั่งได้รับยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมไปแล้ว 48 ชั่วโมง
การเจาะดูดหนองฝีควรกระทำหลังให้ยาปฏิชีวนะแล้ว 48 ชั่วโมง
6. การทำลายเชื้อ : ต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทำลายเชื้อในเสมหะ หนอง หรือเสื้อผ้าสิ่งของของผู้ป่วยที่ปนเปื้อน ทำความสะอาดห้องหลังจากผู้ป่วยกลับบ้าน
การจับต้องศพและซากสัตว์ที่ตายจากกาฬโรค ต้องดำเนินการตามแนวทางการป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด
7. มาตรการกักกันผู้สัมผัสโรค ไม่มีประสิทธิผลในการควบคุมการระบาดและยังก่อให้เกิดความตื่นตระหนกในวงกว้าง อย่างไรก็ตาม
ผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยควรได้รับยาป้องกันและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
8. การป้องกันโรคในผู้สัมผัส : ให้ยาเตตราซัยคลินหรือด๊อกซีซัยคลินหรือคลอแรมฟินิคอลในผู้สัมผัสใกล้ชิด ของผู้ป่วยกาฬโรคปอด
สำหรับยาเตตราซัยคลินหรือด๊อกซีซัยคลิน ห้ามให้ในเด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี
9. การสอบสวนผู้สัมผัสและแหล่งโรค : ค้นหาผู้สัมผัสโรคใกล้ชิด ค้นหาหนูที่ปวยหรือตายและหมัด ควบคุมหมัดและกำจัดหนู รังหนูและแหล่งอาหาร
ที่มา : กรมควบคุมโรค
(Update 04/08/09)
รมว.สาธารณสุข มอบกรมควบคุมโรคจับตาสถานการณ์การระบาดของกาฬโรคในจีน และประสานข้อมูลกับองค์การอนามัยโลกอย่างใกล้ชิด
ชี้ประเทศไทยไม่พบโรคนี้มาเป็นเวลา 57 ปีแล้ว แต่ยังไม่ละเลยการเฝ้าระวัง
นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าววันนี้ (4 ส.ค.) ว่า จากการที่เกิดการระบาดของโรคกาฬโรคปอดบวม ที่เมืองจื่อเคอทัน (Ziketan)
มณฑลชิงไห่ (Qinghai) ทางตะวันตกของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นโรคระบาดร้ายแรง มีรายงานเบื้องต้นพบผู้เสียชีวิต 2 คน กำลังป่วย 10 คน
และทางการจีนได้สั่งปิดเมืองดังกล่าว ว่า โรคดังกล่าวจัดเป็นโรคอันตรายร้ายแรง และเมืองจื่อเคอทันของจีน ซึ่งเป็นจุดระบาดของโรคกาฬโรค
อยู่ห่างไกลจากประเทศไทยมาก โดยทางการจีนได้กักบริเวณประชากรที่สงสัยที่ติดเชื้ออยู่แล้ว
ในส่วนของประเทศไทย ไม่พบผู้ป่วยโรคนี้มาเป็นเวลา 57 ปีแล้ว แต่จะมีการเฝ้าระวังและประสานติดตามสถานการณ์กับองค์การอนามัยโลกอย่างใกล้ชิด
โดยยังไม่มีข้อห้ามประชาชนไทยเดินทางไปจีน นายวิทยา กล่าว
ด้านนายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กาฬโรคเป็นโรคติดต่อเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
ที่มีในหมัดหนูซึ่งอาศัยอยู่กับหนูที่เป็นโรค จะพบในกลุ่มประชาชนที่อาศัยรวมกันอย่างแออัด หมัดที่กัดจะปล่อยเชื้อเข้าทางบาดแผล อาการคือ
ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบ รักแร้ หรือรอบคออักเสบ เรียกว่า กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (Bubonic plague)
ส่วนกาฬโรคปอด (Pneumonic plague) เป็นอาการแทรกซ้อนของกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง มีความรุนแรงมาก
เนื่องจากเชื้อมีการกระจายเข้าสู่กระแสโลหิตและเข้าสู่ปอดด้วย จะมีอาการเฉียบพลันคือ ไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะรุนแรง อาการไอเกิดขึ้นใน 24 ชั่วโมง
เสมหะตอนแรกเหนียวใส แล้วกลายเป็นสีสนิมหรือแดงสด ถ้าไม่รักษาจะเสียชีวิตภายใน 48 ชั่วโมง และสามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่คนอื่นในวงกว้าง ผ่านทางละอองน้ำมูก
น้ำลาย
นายแพทย์ปราชญ์ กล่าวต่อว่า โรคนี้มียาปฏิชีวนะรักษาหายขาด แม้ว่าไทยจะปลอดโรคนี้มาตั้งแต่พ.ศ. 2495
แต่ก็ยังจัดระบบติดตามเฝ้าระวังการหวนกลับมาระบาดของโรคดังกล่าว โดยเฝ้าระวังโรคปอดบวมผู้ป่วยที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง
และยังไม่พบผู้ป่วยแต่อย่างใด
ในการป้องกันโรคกาฬโรค ขอให้ประชาชนดูแลบ้านเรือนให้สะอาด โดยเฉพาะการกำจัดขยะมูลฝอย
ขอให้กำจัดให้ถูกวิธีด้วยวิธีการขุดหลุมฝังหรือเผา เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของหนู หลีกเลี่ยงการการจับต้องสัตว์ฟันแทะที่ป่วยหรือตายโดยไม่ทราบสาเหตุ
ที่มา - ไทยรัฐ
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
"เว็บตามรอยพระพุทธบาท" ได้รับลิขสิทธิ์จาก พระอาจาย์ชัยวัฒน์ อชิโต เพื่อเผยแพร่รูปภาพและข้อมูล จาก "หนังสือตามรอยพระพุทธบาท" จึงขอสงวนลิขสิทธิ์ตาม พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
ห้ามคัดลอกข้อมูล, ภาพ, เสียง ออกไปเผยแพร่ หรือนำไปโพสในเว็บใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน
เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีกับโปรแกรม Internet Explorer, Window Media V.9, Flash Player
ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 768 pixels ความเร็วอินเตอร์เน็ต 1 Mbps. ขึ้นไป
ถ้าพบข้อผิดพลาดใดๆ หากจะแนะนำ หรือติชม และสอบถาม ติดต่อ "ทีมงานเว็บตามรอยพระพุทธบาท"
เริ่มเปิดเว็บไซด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
Copyright @ 2008 tamroiphrabuddhabat.com All rights reserved