ถ้าพบข้อผิดพลาดในเว็บไซด์ จะแนะนำและติชม หรือสอบถาม ติดต่อที่ WEBMASTER
 
VISITORS


     







Not logged in [Login ]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites  
[*] posted on 6/9/08 at 14:02 Reply With Quote

"ตำรายาพิเศษ" ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์


ตำรายาพิเศษ
ของ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ พระมหาสมณเจ้า

ภูมิปัญญาไทย

๑. ๑. ยาเสริมเพิ่มสมรรถภาพ

นิทานหนึ่งนั้น เขาพูดเล่ากัน ณ ราชวังใน แสดงคุณยา นำมาแถลงไข ว่าผู้หนึ่งได้ เป็นเช่นนี้มา มิได้เจ็บไข้ อยู่กับภรรยา อาการกริยา กลายเป็นพระไป อยู่กับเมียนั้น เหมือนพี่น้องกัน ดังนี้เป็นได้ หลายปีเดือนนาน รำคาญเหลือใจ ตรอมจิตคิดไป เคืองคับอุรา นึกจักไปบวช เสียดายภรรยา หวนไปหวนมา โกรธแค้นร่างกาย ไม่ได้ดังจิต จำนงนึกหมาย กำลังเสื่อมคลาย เดือดร้อนเสียใจ
วันหนึ่งเพื่อนเกลอ มาเยี่ยมแต่ไกล พูดจาปราศัย ถามถึงร่างกาย ว่าเกลอเป็นไร ดูไม่สบาย เจ้าขุนมูลนาย เบียดเบียนบีฑา หรือเจ็บป่วยไข้ ร่างกายกายา คล้ำดำผิดตา สุขทุกข์อย่างไร ชายนั้นจึงเล่า ว่าตัวข้าพเจ้า ไม่เจ็บอันใด แต่กายพิการ รำคาญเหลือใจ เรี่ยวแรงหมดไป ทนทุกข์ทรมาน แรงกายหายหมด แต่จิตอาจหาญ ดังนี้มานาน เดือดร้อนเหลือทน อยู่บ้านเหมือนวัด สารพัดขัดสน
แม้นเมียของตน เหมือนพี่น้องไป อะไรบันดาล รำคาญโตใหญ่ ขอเกลอจงได้ รู้แจ้งเรื่องความ ฯ ฝ่ายเกลอได้ฟัง อาศัยกำลัง กรุณาไปตาม บอกยาแล้วว่า เจ้าอย่าเข็ดขาม กินสองสามชาม จักหายโรคภัย กำลังกายา จักมาโตใหญ่ ต้มกินให้ได้ เปลือกพญาช้างดำกำหนดจดไว้ จงได้หาทำ ยานี้ดีล้ำ เขาเรียก ตะโกนา ฯ
ขนานหนึ่งนั้น พระยาฉัตรทันต์ ช้างป่าช้างบ้าน สองสิ่งเปลือกสับ น้ำผึ้ง นำมา แช่ไว้ไม่ช้า ออกแล้วกินไป ยานี้ดีขลัง กำลังมากใหญ่ ทำกินให้ได้ จักหายโรคา ฯ ครั้นเกลอไปแล้ว ชายนั้นแสวงหา ได้เปลือก ตะโกนา ต้มกินรินไป หายโรคกำลัง มากมายเจริญใหญ่ ยิ่งกว่าเก่าไป เป็นสุขสำราญ ฯ

๒. ๒. ยามะตูมนิ่ม ( ลูกแปลกแม่ ตำนานมะตูมนิ่ม หลวงรัตนะพิม พานุรักษ์เล่ามา)

จักได้เริ่มเรื่อง เรียบเรียงบรรณนา ของเก่าเล่ามา เร่อร่าน่าชัง ยาลูกแปลกแม่ เจ้ากรมครุธแก่ เล่าเรื่องให้ฟัง ว่าชายหนึ่งได้ มะตูมนิ่มขลัง สมดังใจหวัง ผลหนึ่งทำยา กล้วยน้ำไทเพิ่ม หวีหนึ่งเทียวนา พริกไทยเท่ายา ว่าเต็มทะนาน นึ่งขึ้นด้วยกัน มะตูมเชือดหั่น กล้วยน้ำปอกฝาน พริกไทยในห่อ เอาคลุกคุลีการ ย่อยให้แหลกนาน ทำแผ่นตากเรียง แห้งแล้วลงครก ป่นแหลกสิ้นเสียง ยกโถตั้งเคียง น้ำผึ้งคลุกเท เสร็จแล้วเก็บไว้
บุรุษนั้นไซร้ ไปเที่ยวเตร็ดเตร่ บ้านอื่นเมืองไกล เที่ยวไถลโยเย ยากเย็นแก่นเก ยังไม่กลับมา แม่อยู่ข้างนี้ เห็นนานเต็มที ลูกไม่กลับมา เดินไปในเรือน พบแต่โถยา นี่ของลูกข้า ทำไว้กินดู โรคภัยหายสิ้น กายินเฟื่องฟู คนอื่นแลดู เคลิ้มแปลกตาไป ที่เคยล้างหน้า บ้วนปากลงไป หญ้าที่นั้นไซร้ งอกงามผิดตา โคหนึ่งเขาปล่อย แก่ผอมชรา เที่ยวซัดเซมา พบหญ้าสดงาม โคกินหญ้าไซร้ โรคโคก็หาย ร่างกายควรการ คล้ายกับโคหนุ่ม เรี่ยวแรงอาจหาญ หญิงนั้นเห็นพยาน กินยาร่ำไป ทุกวันจนหมด ที่เหี่ยวแห้งสลด กลับฟูผ่องใส วรรณะคล้ายหญิง แรกรุ่นเจริญวัย
ฝ่ายบุตรเที่ยวไป นานแล้วกลับมา มารดาแปลกบุตร บุตรแปลกมารดา ต่อพูดเจรจา นานจึงรู้กัน เมื่อบุตรกลับมา อายุคณนา หมื่นแปดพันวัน มารดาว่าสัก สองหมื่นหกพัน เล่าว่าบุตรนั้น แก่กว่ามารดา บุตรแปลกใจถาม เรื่องความมารดา โถยาของข้า ไปไหนใครกิน มารดาเล่าว่า แม่พบโถยา เปิดขึ้นหยิบกิน บ้วนน้ำลงไป ถูกในแผ่นดิน หญ้างามโคกิน หายโรคอ้วนพี แม่เห็นอัศจรรย์ จึงได้สำคัญ ว่ายานี้ดี กินไปจนหมด กายสดเปร่งศรี ก่อนซูบกลับพี อาหารเพิ่มพูน
ครั้นกาลล่วงมา บุตรนั้นชรา สิ้นชีพดับสูญ มารดาอยู่มาก กว่าบุตรเจ็ดคูณ กำหนดด้วยสูญ หลายจุดหลายเรียง เขาเล่าสืบมา ไม่เห็นด้วยตา ต้องว่าซ่อนเสียง พูดไม่เต็มปาก ยากจักเรียบเรียง ผู้อ่านจักเถียง กล่าวโทษโจทก์ทาย ฯ

๓. ๓. ตำรายาเหงือกปลาหมอ

ตำรายานี้ ได้มาแต่เมืองพิษณุโลก ท่านให้เป็นปริศนาถ้าคิดได้ ให้ขุดลงไปจะได้ทอง ๑๐๐ ตำลึง ท่านผู้วิเศษมีปัญญา ฉลาดแก้ปริศนาออกได้ จึงได้ขุดลงไปพบแผ่นศิลาปิดปากหลุมอย่างมิดชิด ครั้นเปิดออกดูจึงได้พบตำรายานี้ เขียนด้วยใบลานยาวประมาณ ๑ คืบ หยิบเอาขึ้นมาดู จึงเห็นเป็นตำรายาวิเศษ มีใจความว่า
มีฤาษีแสดงไว้ให้เป็นทานแก่สมณะ ชี พราหมณาจารย์ และมนุษย์ทั่วไป ทั้ง ชาย-หญิง เพื่อจะได้บำบัดโรค ถ้าผู้ใดได้ตำรานี้แล้วขอให้บอกต่อกันไป จะได้อานิสงค์ ๖ กัลป์ ถ้าเอาตำรานี้ไว้ไม่เชื่อถือแล้วจะไปตกนรก ตำรายานี้มีชื่อว่า ตำรายาต้นเหงือกปลาหมอ ถ้าเห็นต้นเหงือกปลาหมอขึ้นกลางทาง หรืออยู่ในที่ใดก็ดี อย่าเหยียบย่ำข้ามเลย ต้นเหงือกปลาหมอนี้ มีคุณวิเศษมากมายหลายอย่าง คือ

๑) ถ้าเจ็บตา ตานั้นแดง ให้เอาเหงือกปลาหมอตำกับขิง เอาน้ำหยอดตาหายแล
๒) ถ้าเป็นเหน็บชา เท้า มือ และทั้งตัว ให้เอาเหงือกปลาหมอ มาตำทาที่ตรงเจ็บนั้น หายแล
๓) ถ้างูกัด เอาต้นเหงือกปลาหมอมาตำแล้วกินบ้าง ทาบ้าง หายแล
๔) ถ้าเป็นฝีบวมขึ้น ให้เอาเหงือกปลาหมอกับขมิ้นอ้อยมาตำปนกัน แล้วทา หายแล
๕) ถ้าเป็นริดสีดวงงอก ให้เอาเหงือกปลาหมอกับขมิ้นอ้อยมาตำปนกับ น้ำมันหรือน้ำมูตร(ปัสสาวะเด็กชาย) ทา หายแล

๖) ถ้าไข้หนาวสั่นทั้งตัว ให้เอาเหงือกปลาหมอกับขิง ตำปนกันกิน หายแล
๗) ถ้าเป็นหูหนา ตาโต ให้เอาต้นเหงือกปลาหมอตำเอาน้ำกิน แล้วเอาใบส้มป่อย ต้มน้ำอาบ หายแล
๘) ถ้าเจ็บหลัง เจ็บเอว ให้เอาต้นเหงือกปลาหมอกับชะเอมเทศ ตำเป็นผง ละลายน้ำกินทุกวัน หายแล
๙) ถ้าเป็นริดสีดวงแห้ง หรือฝีในท้องและซูบเหลืองทั้งตัว ให้เอาต้นเหงือกปลาหมอ ตำเป็นผงละลายน้ำกินทุกวัน หายแล
๑๐) ถ้าเป็นริดสีดวง มือตาย เท้าตาย ให้ร้อนทั้งตัว และให้เวียนศีรษะ ตามือเจ็บทั่งตัว และตัวให้สากแห้ง ชื่อลมเพ็ชรฆาต ๓๘ จำพวก ให้เอาต้นเหงือกปลาหมอกับเปลือกมะรุม เสมอกัน ใส่หม้อ เอาเกลือนิดหนึ่ง หมาก ๓ คำ เบี้ย ๓ ตัว วางบนปากหม้อ เอาฟืน ๓๐ ดุ้น ต้ม ถ้าเดือดแล้ว ให้อึดใจยกลง เวลากินให้อึดใจ

๑๑) ถ้าจะให้เจริญอายุ ให้เอาต้นเหงือกปลาหมอ ๒ ส่วน พริกไทย ๑ ส่วน ตำเป็นผง ละลายน้ำผึ้งกินทุกวัน ถ้ากินได้ ๑ เดือน จะหมดโรค และมีสติปัญญานักแล ถ้ากินได้ ๒ เดือน จะเป็นที่เมตตาแก่คนทั้งหลาย ถ้ากินได้ ๓ เดือน ริดสีดวง ๑๔ จำพวกจะไม่มีเลย ถ้ากินได้ ๔ เดือน ลม ๑๒ จำพวก จะไม่มีเลย ตาแดงดังครุฑ หูได้ยินดังราชสีห์ ถ้ากินได้ ๕ เดือน โรคภายในจะไม่มีเลย ถ้ากินได้ ๖ เดือน จะเดินได้ถึง วันละพันโยชน์ ไม่มีเหน็ดเหนื่อย ถ้ากินได้ ๗ เดือน ผิวจะงาม เลือดดี ถ้ากินได้ ๘ เดือน เสียงเหมือนนกการะเวก ถ้ากินได้ ๙ เดือน คมหอกคมดาบแทงฟันไม่เข้าเลย ต้นเหงือกปลาหมอนี้มีคุณนักหนา เปรียบเหมือนยาทิพย์ก็ว่าได้ ถ้ากินอาหารและสิ่งใด ที่ผิดสำแดงเข้าไป จะไม่มีโทษเลย
๑๒) ถ้าเป็นมะเร็งแตกทั้งตัว ให้เอาต้นเหงือกปลาหมอ พริก ดีปลี สิ่งละเท่าๆกัน ตำเป็นผงกินกับน้ำร้อน หายแล
๑๓) ถ้าเจ็บตามตัวและเมื่อยตามตัว ให้เอาต้นเหงือกปลาหมอ ตำเอาน้ำกินและทา หายแล
๑๔) ถ้าช้างแทง กระบือชน และตกจากที่สูง หรือต้องคมอาวุธทั้งหลายก็ดี ให้เอาต้นเหงือกปลาหมอ ตำทาที่แผล หายแล
๑๕) ถ้าเป็นฝีที่รักแร้ และลำคอก็ดี ให้เอาต้นเหงือกปลาหมอและขมิ้นอ้อย น้ำมันงา น้ำมูตรเคล้าตำด้วยกัน เคี่ยวเป็นน้ำมันทา หายแล

๑๖) ถ้าเป็นผื่นแดงขึ้นมา เกาจะไม่รู้สึกเจ็บ หรือเป็นหูหนวก ตาโต ให้เอาต้นเหงือกปลาหมอ มาต้มกิน แล้วเอามาต้ม กับใบส้มป่อยอาบ หายแล
๑๗) ถ้าเป็นลมจับ ให้เอาต้นเหงือกปลาหมอ ๑ ส่วน พริกไทย ๒ ส่วน ตำเป็นผงละลายกินกับน้ำร้อน กินแก้ลม ๘ จำพวก หายแล
๑๘) หญิงระดูขาว หรือโลหิตแห้ง ตั้งแต่ ๑-๓ เดือน ให้เจ็บผอม เหลืองทั้งตัว ให้เอาต้นเหงือกปลาหมอ ตำเป็นผง ละลายน้ำมันงา หรือน้ำผึ้งก็ได้ กินไปทั้งวัน โรคนั้น หายแล
๑๙) ถ้าจะประสานเนื้อให้สนิท ให้เอาต้นเหงือกปลาหมอกับหัวสามสิบ เอาเท่ากัน ตำเอาน้ำทาประสาน เนื้อสนิทแล
๒๐) ถ้าเป็นมะเร็ง ทำท้องให้ลงจนตัวเหลือง ให้เอาต้นเหงือกปลาหมอ กระชาย มะคำไก่ สมอทั้ง ๓ ต้มกินหายแล
๒๑) ถ้าหน้ามืด ตามัว ให้เอาต้นเหงือกปลาหมอ กระเพราทั้ง ๒ แสมสาร ใบทองหลางใบมน บอระเพ็ด เจตมูลเพลิง เท่ากันทุกอย่าง ตำปิดกระหม่อม แล้วเอาเหล็กเผาไฟให้ร้อน เอาวางทับเนื้อยานั้น หายแล



โรคเกี่ยวกับผม


๑. ผมร่วง, ผมหงอกก่อนวัย, บำรุงผม
ขนานที่ ๑ ใช้น้ำมันมะกอกทาผมให้ทั่วแล้วนวดศีรษะสักพัก แล้วค่อยสระผมด้วยสบู่หรือแชมพู ทำอาทิตย์ละ ๒ ครั้ง ประมาณ ๒-๔ อาทิตย์ ผมจะหายร่วง

ขนานที่ ๒ เอาลูกมะกรูดแก่ ๒ ลูกย่างไฟให้สุกจนนิ่ม ถ้ามีเตาอั้งโล่ให้ใส่ใต้เตาอั้งโล่ขณะที่ใช้เตาทำกับข้าวอยู่ เมื่อมะกรูดนิ่มดีแล้ว เอามาขยำกับน้ำอุ่นๆ ทิ้งไว้ให้เย็น กรองเอาน้ำมันมาสระผม นวดผมให้ทั่วหลังสระผมด้วยสบู่หรือแชมพูแล้ว (ถ้าใช้น้ำซาวข้าวแทนน้ำจะทำให้ยาออกฤทธิ์ดีขึ้น และถ้าไม่มี เตาอั้งโล่ จะใช้น้ำมะกรูดดิบๆ ก็ได้ แต่ฤทธิ์อ่อนกว่ามะกรูดเผา)

ขนานที่ ๓ ใช้น้ำมันมะกอกนวดศีรษะเอาผ้าโพกหัวทิ้งไว้ประมาณ ๑ ชั่วโมง และเอาผลมะกรูดเผาไฟพอสุก เอามาขยำกับน้ำ เอาน้ำที่คั้นได้สระผม

ขนานที่ ๔ ใช้น้ำเมือกว่านหางจระเข้ใส่ผมจนทั่ว อย่าให้เปียกมากเกินไปปล่อยทิ้งไว้ประมาณ ๑๐ นาที ผมจะแห้ง น้ำเมือกไม่ทำให้ผมเหนียวหรือแฉะ ใส่ผมเช้าเย็นและหลังจากสระผม


๒. ผมร่วงเป็นหย่อมๆ อาจเกิดจากเชื้อรา ให้ใช้ยาดังต่อไปนี้

ขนานที่ ๑ สระผมให้สะอาดเสียก่อน เอาใบทองพันชั่งตำจนละเอียดผสมน้ำพอเหนียว นำไปพอก บริเวณศีรษะที่ผมร่วง ให้ใช้ผ้าคลุมไว้ที่ศีรษะหนึ่งคืน รุ่งเช้าไปล้างออก ทำติดต่อกัน ๑๕-๓๐ วัน (ทอง พันชั่งมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราจึงอาจช่วยได้)

ขนานที่ ๒ ใช้น้ำมันละหุ่ง ๘ ช้อนโต๊ะ (ถ้าไม่มีใช้น้ำมันมะพร้าวหรือใช้น้ำมันพืชหรือน้ำมันมะกอกแทน)กระเทียม ๘ กลีบใหญ่ ปอกเปลือกกระเทียมหั่นหรือบด ใส่ลงในน้ำมันร้อนๆ ปิดฝาตั้งทิ้งไว้วันครึ่ง (๓๖ ชม.) เอาน้ำมันมานวดศีรษะให้ทั่ว เมื่อนวดดีแล้วใช้ผ้าขนหนูอ่อนๆ พันเอาไว้อย่างน้อย ๑ ชั่วโมง จึงสระผมด้วยแชมพู (กระเทียมมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราได้ดีจึงอาจใช้รักษาได้)

ขนานที่ ๓ เอาลูกมะกรูดแก่ ๒ ลูกย่างไฟให้สุกจนนิ่ม ถ้ามีเตาอั้งโล่ให้ใส่ใต้เตาอั้งโล่ขณะที่ใช้เตาทำกับข้าวอยู่ เมื่อมะกรูดนิ่มดีแล้ว เอามาขยำกับน้ำอุ่นๆ ทิ้งไว้ให้เย็น กรองเอาน้ำมันมาสระผม นวดผมให้ทั่วหลังสระผมด้วยสบู่หรือแชมพูแล้ว (ถ้าใช้น้ำซาวข้าวแทนน้ำจะทำให้ยาออกฤทธิ์ดีขึ้น และถ้าไม่มี เตาอั้งโล่ จะใช้น้ำมะกรูดดิบๆ ก็ได้ แต่ฤทธิ์อ่อนกว่ามะกรูดเผา

๓. ผมมีน้ำมันมากเกินไป โดยทั่วไปผมที่มันเกินไปเกิดจากอาหาร ให้สังเกตจากอาหารที่กินแล้วทำให้ผมมีน้ำมันมากและ พยายามเว้นอาหารนั้นเสีย

ขนานที่ ๑ใช้น้ำมันละหุ่ง ๘ ช้อนโต๊ะ (ถ้าไม่มีใช้น้ำมันมะพร้าวหรือใช้น้ำมันพืชหรือน้ำมันมะกอกแทน)กระเทียม ๘ กลีบใหญ่ ปอกเปลือกกระเทียมหั่นหรือบด ใส่ลงในน้ำมันร้อนๆ ปิดฝาตั้งทิ้งไว้วันครึ่ง (๓๖ ชม.) เอาน้ำมันมานวดศีรษะให้ทั่ว เมื่อนวดดีแล้วใช้ผ้าขนหนูอ่อนๆ พันเอาไว้อย่างน้อย ๑ ชั่วโมง จึงสระผมด้วยแชมพู (กระเทียมมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราได้ดีจึงอาจใช้รักษาได้

ขนานที่ ๒ เอาลูกมะกรูดแก่ ๒ ลูกย่างไฟให้สุกจนนิ่ม ถ้ามีเตาอั้งโล่ให้ใส่ใต้เตาอั้งโล่ขณะที่ใช้เตาทำกับข้าวอยู่ เมื่อมะกรูดนิ่มดีแล้ว เอามาขยำกับน้ำอุ่นๆ ทิ้งไว้ให้เย็น กรองเอาน้ำมันมาสระผม นวดผมให้ทั่วหลังสระผมด้วยสบู่หรือแชมพูแล้ว (ถ้าใช้น้ำซาวข้าวแทนน้ำจะทำให้ยาออกฤทธิ์ดีขึ้น และถ้าไม่มี เตาอั้งโล่ จะใช้น้ำมะกรูดดิบๆ ก็ได้ แต่ฤทธิ์อ่อนกว่ามะกรูดเผา)

๔. รังแคคัน

ขนานที่ ๑ หาบวบอ่อนๆ มา ๑ ลูก ปอกเปลือกออกหั่นเป็นท่อนๆ แล้วเอามาทาที่ศีรษะจนหมด ทิ้งไว้สัก ๑๕ นาทีจึงล้างออก

ขนานที่ ๒ ใช้ผ้าจุ่มลงในน้ำส้มสายชูสักเล็กน้อยแล้วเช็ดให้ทั่วศีรษะ ทิ้งไว้ไม่ต้องล้างออก ทำก่อนนอน

ขนานที่ ๓ เอาบวบขมแก่ๆ สัก ๒-๓ ลูก กะเทาะเปลือกออกเสีย ราดผมให้เปียกชุ่มเอาบวบที่กะเทาะเปลือกออกแล้วเหลือแต่ซัง ขยี้บนศีรษะให้ทั่ว จะเกิดฟองเหมือนแชมพูสระผมทั่วไป ทิ้งไว้สัก ๑๕ นาทีแล้วล้างออก ทำเวลาจะสระผม ทำสักสามครั้งรังแคจะหาย อีกวิธีหนึ่งให้เอาบวบขมแก่ๆ มา ๑ ลูกหักออกสองท่อน ใช้ถูศีรษะให้ทั่วจนหมดบวบทั้งสองท่อน ทิ้งไว้สักครู่แล้วเอาน้ำล้างศีรษะให้สะอาด

๕. ผมแตกปลาย เพราะผมแห้งเนื่องจากถูกแดดถูกลมมากไป หรือใช้แชมพูและสบู่ที่เป็นด่างมากไป

ขนานที่ ๑ ให้ใช้ต้นตะไคร้สดๆ ๒-๓ ต้น ตำให้ละเอียด บีบน้ำออก (ถ้ามีน้ำน้อยให้เติมน้ำลงไปพอให้คั้นน้ำได้) กรอง นำน้ำที่ได้มานวดผม หลังจากสระผมเสร็จแล้ว ทิ้งไว้สัก ๑๐ นาที แล้วสระผมด้วยน้ำสะอาดทำทุกครั้งที่สระผม ประมาณ ๒ เดือน ผมจะกลับเป็นปกติ

ขนานที่ ๒ ใช้น้ำมันมะกอกทาผมให้ทั่วแล้วนวดศีรษะสักพัก แล้วค่อยสระผมด้วยสบู่หรือแชมพู ทำอาทิตย์ละ ๒ ครั้ง ประมาณ ๒-๔ อาทิตย์ ผมจะหายร่วง

ขนานที่ ๓ ใช้ลูกมะกรูดตามหัวข้อ ๑ ขนานที่ ๒

6. ล้างคราบแชมพูหรือสบู่
คราบสบู่หรือแชมพูที่ติดอยู่กับหนังศีรษะ หลังจากสระผมแล้วจะทำให้หนังศีรษะเป็นด่างมากเกินไป ทำให้เส้นผมเสียได้ ปกติหนังศีรษะมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ การล้างผมด้วยน้ำมะกรูดหรือน้ำมะนาวหรือ น้ำสัมสายชูจะช่วยล้างคราบแชมพูและปรับหนังศีรษะให้เป็นกรดเหมือนเดิม วิธีล้างคือหลังจากสระผมด้วยสบู่หรือแชมพูแล้ว เอาน้ำมะกรูดหรือน้ำส้มสายชูอย่างใดอย่างหนึ่งสัก ๑-๒ ช้อนชามาสระผมนวดศีรษะให้ทั่ว ประมาณ ๔-๕ นาทีแล้วใช้น้ำสะอาดล้างจนสะอาด

7. ยาสระผม
สมุนไพรที่ใช้แทนแชมพูเป็นสมุนไพรที่มีสารพวกชาโปนิน ซึ่งเป็นสารที่เมื่อตีกับน้ำแล้วเกิดฟอง เหมือนฟองสบู่ และชะล้างสิ่งสกปรกออกจากผมได้ ที่นิยมให้กันในสมัยก่อนคือฝักส้มป่อยแก่
วิธีใช้เอาฝักแก่และแห้ง ๔-๕ ฝัก หักและตีกับน้ำ ๑ ลิตรใช้สระผม สมุนไพรอีกอย่างคือมะกรูด วิธีใช้คือใช้น้ำเปล่าเคล้าเส้นผมจนเปียกดี แล้วใช้มะกรูดลูกใหญ่ๆ แก่ๆ ๑ ลูก ผ่าซีกบีบเอาน้ำใส่ผมนวดศีรษะให้ทั่วประมาณ ๔-๕ นาที แล้วล้างน้ำออกให้หมด
ถ้าต้องการได้รับประโยชน์จากมะกรูดเต็มที่ให้ย่างหรือเผามะกรูดให้นิ่มเสียก่อน แล้วเอามาขยำในน้ำอุ่นๆ จนละเอียดดีแล้วกรองเอาน้ำที่ได้นี้มานวดผมเช่นเดียวกับข้างต้น น้ำมันจากผิวมะกรูดช่วยบำรุง เส้นผมได้ดีมาก

8. เหา
ขนานที่ ๑ ใช้น้ำส้มสายชูชโลมศีรษะ เอาผ้าโพกไว้สักครึ่งชั่วโมงค่อยสระผม แล้วเอาหวีถี่ๆสางเอาตัวและไข่เหาออก หลังจากนั้น ๒ อาทิตย์ทำอีกครั้งหนึ่ง และหลังจากนั้นอีก ๒ อาทิตย์จึงทำอีกครั้งหนึ่ง น้ำส้มสายชูทำ ให้ไข่เห่าร่วงหลุดไปได้ (ให้ใช้น้ำส้มสายชูแท้เท่านั้น)

ขนานที่ ๒ เอาผลมะกรูดใบใหญ่ที่แก่จัดน้ำมาก นำไปเผาไฟหรือย่างไฟให้สุก ทิ้งไว้ให้เย็น เอามาคลึงให้มีน้ำมากๆ ผ่าครึ่งบีบน้ำลงบนหัวขยี้ให้ทั่วใช้หวีถี่ๆสางเส้นผมจะมีไข่เหาติดออกมา ทำอาทิตย์ละครั้งทำทั้งหมด ๓ ครั้ง

ขนานที่ ๓ เอาใบน้อยหน่ามา ๕-๘ ใบโขลกให้ละเอียด ผสมน้ำและทาผมให้ทั่ว เอาผ้าคลุมไว้สักครึ่งชั่วโมงจึงล้างน้ำออก ฟอกด้วยยาสระผมอีกครั้งหนึ่ง แล้วใช้หวีถี่ๆ สางเอาตัวและไข่เหาออก

ข้อควรระวัง อย่าให้น้ำน้อยหน่าเข้าตา เพราะจะแสบตามาก

ขนานที่ ๔ เอาใบสะเดาแก่ๆ สัก ๒-๓ กำมือ โขลกให้ละเอียดผสมน้ำพอเหลวนิดหน่อย ทาผมให้ทั่วปล่อยให้แห้ง แล้วค่อยสระผมด้วยแชมพู

ขนานที่ ๕ เอาลูกบวบขมแกะเปลือกออก เอาน้ำในลูกบวบขมทาผมให้ทั่ว ทิ้งไว้สัก ๒-๓ นาที

ขนานที่ ๖ ใช้ผลมะตูมสุกมาผ่า เอายางจากผลมะตูมสุกทาผม แล้วหวีให้ทั่ว ปล่อยไว้ให้แห้งเหาจะตายหมดแล้วล้างน้ำ ต่อจากนั้นจึงหวีออก


โรคเกี่ยวกับหน้า

๑. สิว
สิวเป็นสภาวะ ธรรมชาติอย่างหนึ่ง คนหนุ่มสาวที่ร่างกายปกติย่อมมีสิวขึ้น จึงไม่ควรวิตกกังวลใจมากนัก เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่สิวจะหายไปเอง ขอเพียงระวังอย่าไปบีบสิวหรือแกะสิวเพราะจะทำให้หน้ามีรอยบุ๋ม อย่ารักษาหน้าจนสะอาดเกินไปเพราะจะทำให้มีสิวมากขึ้น เนื่องจากขาดความต้านทาน ปกติแล้วล้างหน้าด้วยสบู่เช้า-เย็น ก็พอยังไม่มียาขนานใดป้องกันไม่ให้สิวเกิดขึ้นหรือทำให้สิวหายโดยไม่ขึ้นมาอีก มีแต่ยาบรรเทาช่วยให้สิวยุบลง เมื่อเกิดขึ้นแล้ว สำหรับผู้ที่มีผิวหน้ามันให้ใช้ยาต่อไปนี้

ขนานที่ ๑ ล้างหน้าด้วยสบู่ธรรมดาให้สะอาด แล้วใช้น้ำมะนาวผสมน้ำเท่าตัว ทาหน้าให้ทั่วแล้วล้างออกวันละครั้ง (ไม่ควรใช้น้ำมะนาวล้วนๆทา เพราะอาจทำให้ใบหน้ากร้าน)

ขนานที่ ๒ เอาดินสอพองผสมน้ำมะนาวทาหน้าบางๆ ก่อนนอน ตื่นเช้าค่อยล้างออก ทำทุกวัน ถ้ารู้สึกตึงหน้าเกินไปให้ลดดินสอพองลงบ้าง

ขนานที่ ๓ ใช้น้ำมะนาว ๑ ช้อนชา ไข่ขาวหนึ่งช้อนชา ผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน ทาบางๆ ทิ้งไว้ ๓๐ นาที จึงล้างออกด้วยสบู่

ขนานที่ ๔ ทุกเช้าเย็นล้างหน้าด้วยสบู่หรือน้ำอุ่น เมื่อล้างหน้าแล้วให้เอาผ้าชุบน้ำอุ่นคลุมหน้าไว้ จนหน้าเย็นแล้วจึงล้างหน้าด้วยน้ำเย็นอีกที

ขนานที่ ๕ เอาเปลือกลูกมะตูมสุกฝนกับน้ำมะกรูดให้ข้นๆ ทาบริเวณที่เป็นสิว

ขนานที่ ๖ เอาน้ำกะให้พอร้อนแต่ไม่ร้อนจัด หาสำลีชุบแล้วบิดให้แห้งรีบนำมาจี้ที่หัวสิว พอหายร้อนก็จุ่มใหม่แล้วนำมา จี้และประคบอย่างนี้สัก ๓-๔ ครั้ง ต่อหัวสิวหนึ่งหัวใหญ่ ทำเช้าเย็น ๒ วัน หัวสิวจะยุบและไม่เป็นรอยด่างดำ

ขนานที่ ๗ เอาน้ำเมือกว่านหางจระเข้ทาหน้าให้ทั่ว ทาแล้วไม่ต้องล้างออก น้ำเมือกจะแห้งไปเองภายใน ๕- ๑๐ นาที ทำวันละ ๒ ครั้ง ตอนเช้าและก่อนนอน

๒. สิวเสี้ยน
เอาไข่ไก่สองสามฟองต้มให้สุกจนไข่แดงแข็ง ปอกเปลือกออก ขณะที่ไข่กำลังอุ่นๆ อยู่นั้นเอาไข่มากลิ้งบนใบหน้าเบาๆ โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นสิว อย่าให้ไข่แตก เมื่อไข่เย็นให้เปลี่ยนใหม่ หัวสิวจะถูกดูดออกมา (สัปดาห์ละ ๑ ครั้ง)

๓. ฝ้า

ขนานที่ ๑ เอาหัวผักกาดหั่นเป็นแว่นบางๆ ทาถูบริเวณที่เป็นฝ้าให้ทั่ว ทาสัก ๕ นาที แล้วล้างออก ทำเช้าครั้ง เย็นครั้ง ฝ้าจะหายไปภายใน ๑๐ วัน

ขนานที่ ๒ ให้ใช้ไข่ขาวที่ดิบ เอาตรงรอบไข่แดงยิ่งดี ทาหน้าวันละครั้งๆละ ๕ นาที แล้วจึงล้างไข่ขาวเมื่อแห้งจะดูดเอาสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ตามใบหน้าได้ดี

ขนานที่ ๓ เอาน้ำเมือกว่านหางจระเข้ทาหน้าให้ทั่ว ทาแล้วไม่ต้องล้างออก น้ำเมือกจะแห้งไปเองภายใน ๕-๑๐ นาที ทำวันละ ๒ ครั้ง ตอนเช้าและก่อนนอน

ขนานที่ ๔ ฝานแตงกวาเป็นแว่นบางๆ แล้วแปะบนใบหน้า หรือจะถูให้ทั่วใบหน้าก็ได้ ทิ้งไว้พอแห้งจึงล้างออก ทำ ก่อนนอน

ยากินแก้สิวฝ้า ยาไทยถือว่าคนที่เป็นสิวฝ้ามากกว่าปกตินั้นเป็นเพราะเลือดภายในไม่ดี จึงมียากินด้วย เป็นยาของสตรี

ขนานที่ ๑ เอาหัวไพลสดหนัก ๑๐ บาท หัวขมิ้นอ้อยสดหนัก ๕ บาท ยาดำหนัก ๕ บาท มะขามเปียกหนัก ๑๐ บาท เกลือทะเลหนัก ๑๐ บาท เกลือสินเธาว์หนัก ๕ บาท ดีเกลือหนัก ๕ บาท นำมาตำเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน จะได้ยาเหลวข้นๆ กินวันละ ๒ ครั้งเช้าเย็น ครั้งละ ๑ ช้อนช้า อาจเพิ่มหรือลดขนาดได้แล้วแต่ธาตุหนักเบา คือกินยาให้ถ่ายเพียงวันละ ๑ ครั้ง

ขนานที่ ๒ เอาลูกจันทน์ การบูร มหาหิงคุ์ ยาดำ หนักอย่างละ ๒ บาท พริกไทยดำหนัก ๑๐ บาท บดเป็นผงผสมน้ำมะกรูด ปั้นเป็นเม็ดขนาดเท้าปลายนิ้วก้อย กินก่อนนอนครั้งละ ๑-๒ เม็ด ตามธาตุหนักเบา

ขนานที่ ๓ เอาน้ำมะนาวที่เปรี้ยวจัด ๑ ถ้วยชา เกลือครึ่งช้อนกาแฟ ผสมน้ำอุ่นดื่มก่อนกินข้าวครึ่งชั่วโมง ดื่ม ๑๕ วัน แล้วหยุดไป ๑๐ วัน แล้วดื่มอีก ๑๐ วัน หยุดไป ๗ วัน ดื่มอีก ๓ วันแล้วหยุดไป ๑ เดือน ภายหลัง ๑ เดือน ควรดื่มวันละน้อยสัก ๓-๔ อีกก่อนนอน ถ้าได้มะกรูดแทนมะนาวยิ่งดี

๔. หน้ามัน

ขนานที่ ๑ ใช้น้ำมะนาวผสมน้ำเท่าตัวทาบนใบหน้าแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด ทำอาทิตย์ละ 1 ครั้ง
ขนานที่ ๒ ใช้น้ำเมือกว่านหางจระเข้ทาหน้าให้ทั่ว ทาแล้วไม่ต้องล้างออก น้ำเมือกจะแห้งไปเองภายใน ๕-๑๐
นาที ทำวันละ ๒ ครั้ง

๕. หน้าเกรียมแดด
ขนานที่ ๑ ก่อนออกไปตากแดดให้เอาน้ำเมือกว่านหางจระเข้ทาหน้าก่อน และหลังจากตากแดด จะรู้สึกว่าใบหน้าร้อน ให้เอาน้ำเมือกว่านหางจระเข้ทาจะรู้สึกเย็น เมื่อรู้สึกที่ใบหน้าร้อนอีกก็ให้ทาอีก

ขนานที่ ๒ หลังจากที่ตากแดดทั้งวัน พอกลับถึงบ้านให้รีบเอาน้ำมะนาวผสมน้ำเท่าตัวทาบนใบหน้าจนทั่วนานสัก ๒-๓ นาที แล้วล้างออก แต่ไม่ควรใช้บ่อย อาทิตย์ละ ๒ ครั้งก็พอ และคนหน้าแห้งห้ามใช้

๖. บำรุงผิวหน้า
ขนานที่ ๑ ทาน้ำเมือกว่านหางจระเข้ทุกวันหลังจากตื่นนอนและก่อนนอน สำหรับผู้ที่มีใบหน้าแห้งนั้น ให้ผสมน้ำมะกอก หรือครีมทาหน้ากับว่านหางจระเข้ก่อน ทั้งนี้แล้วแต่หน้าแห้งมากหรือน้อย

ขนานที่ ๒ เอาดินสอพองผสมน้ำมะนาวทาบางๆ ให้ทั่วใบหน้า ทิ้งไว้ตลอดคืน ตอนเช้าค่อยล้างออก ถ้ารู้สึกหน้าตึง อาจลดดินสอพองลงบ้างก็ได้ และอย่าทาหนาเกินไป

๗. ใบหน้าผื่นแดงในทารก เด็กเล็กอายุ ๑-๕ เดือน บริเวณหน้าเป็นผื่นแดง
ขนานที่ ๑ ใช้ใบมะลิลาหรือใบมะลิซ้อน ขยี้ผสมแป้งเด็ก ทาวันละ ๓-๔ ครั้ง
ขนานที่ ๒ ใช้ขมิ้นผงกับแป้ง ผสมน้ำ ทาวันละ ๓-๔ ครั้ง

๘. เด็กหน้าแตกในฤดูหนาว เด็กเล็กช่วงอายุ ๑-๒ ขวบ เวลาเข้าหน้าหนาวผิวหน้าจะแดงกล่ำ ถูกน้ำจะเจ็บมาก ให้ใช้ขมิ้นผงผสมกับแป้งผสมน้ำทา หรืออาจใช้ขมิ้นผงผสมกับน้ำมันมะกอกทา

๙. แผลเป็นบนใบหน้า แผลเป็นที่เป็นยังไม่ถึง ๖ เดือนมีโอกาสหายได้ง่าย แต่ถ้าเป็นเกินเดือน โอกาสที่หายเป็นไปได้ยาก และใช้เวลานาน ดังนั้นเวลาเป็นใหม่ๆ ให้รีบรักษาทันที

ขนานที่ ๑ อาไข่มาหนึ่งฟอง นำมาต้มให้สุก ปอกเปลือกออก (ห้ามนำไปแช่น้ำเด็ดขาด) คือปอกเปลือกขณะที่ไข่ยังร้อนอยู่ เอาไข่มากลิ้งบนแผลเป็นจนกระทั่งไข่หายร้อน ระวังอย่าให้ไข่แตก พยายามทำทุกเช้าเย็น

ขนานที่ ๒ เอาน้ำเมือกว่านหางจระเข้ทาวันละ ๓-๔ ครั้ง ตอนเช้าและก่อนนอน เมื่อเป็นแผลตกสะเก็ดนั้นอย่าไปแกะสะเก็ดออกเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดแผลเป็นออกมาได้

ขนานที่ ๓ เอาใบบัวบกทั้งก้านมาตากแดดให้แห้ง บดเป็นผงละลายน้ำกิน ครั้งละ ๑-๒ ช้อนชา เช้า-เย็น แล้วเอาใบบัวบกสดๆ ขยี้เอาน้ำทาที่เป็นแผลเป็น



webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 6/9/08 at 15:49 Reply With Quote


โรคเกี่ยวกับหัว

๑. ชันนะตุ เกิดจากติดเชื้อรา หนังหัวเป็นตุ่มแผลพุพอง มีน้ำเหลืองไหล
ขนานที่ ๑ สระผมเด็กทุกวันตอนเช้าด้วยสบู่ แล้วเอาน้ำมันมะพร้าวทาตรงชันนะตุทุกวัน เช้า-เย็น น้ำมันจะละลาย ชันนะตุจนหลุดออก
ขนานที่ ๒ ใช้หัวขมิ้นชันตำผสมน้ำมะนาวทาทุกวันๆละ ๒-๓ ครั้ง
ขนานที่ ๓ เอาขมิ้นขันขนาดเท่า ๒ ข้อนิ้วกลาง ๑ ชิ้น เนื้อมะพร้าวแก่ขนาดเท่านิ้วชี้ ๒ ชิ้น ใบมะลิ ๑ กำมือ ยาทั้งหมดตำรวมกันให้ละเอียด เอาน้ำยาที่ได้แต้มหัวชันนะตุวันละ ๒-๓ ครั้ง จะทำให้แผลตกสะเก็ดเร็ว ใช้สบู่สระผมเด็กทุกวันตอนเช้าด้วย

๒. คราบชันนะตุเป็นแผ่นติดอยู่กลางกระหม่อม
เด็กเล็กๆ ที่หัวเป็นชันนะตุตรงกลางกระหม่อน แล้วน้ำเหลืองจากชันนะตุนั้นแห้งกรังติดเป็นแผ่นอยู่กลางกระหม่อน ทำให้รักษายาก เพราะแผ่นแห้งนี้กันยาไว้ จะแกะออกก็ยากเพราะติดหนังหัวเด็ก เวลาแกะ จะเจ็บมาก
วิธีเอาแผ่นนี้ออกคือสระผมเด็กด้วยสบู่เสียก่อน ฟอกนานๆ แล้วเอามันหมูแข็งทาตรงแผ่น แห้งนั้นให้ทั่ว ทิ้งไว้ ๒-๓ ชั่วโมง แผ่นแห้งนั้นจะเปียกชุ่มน้ำมันหลุดออกมาได้ แล้วรักษาแผลที่หัวด้วยยารักษาแผลทั่วไป อีกวิธีหนึ่งคือ ขูดมะพร้าวแล้วตำกับหัวขมิ้นชัน ทาที่คราบชันนะตุทำให้แผลหลุดได้เช่นกัน

๓. นอนไม่หลับ โรคนอนไม่หลับนี้ควรจะพึ่งยาให้น้อยที่สุด หรือไม่ควรใช้เลย เพราะเป็นการฝืนธรรมชาติ และจะทำร้ายตัวเองในทีหลัง การออกกำลังกายและฝึกหัดใจให้สงบ อย่าคิดมากจะช่วยให้นอนหลับได้

ขนานที่ ๑ ใช้ดอกบัวที่ใกล้บาน ๕ ดอก ใส่น้ำให้ท่วมยา ต้มให้เดือนนาน ๕-๑๐ นาที แล้วใส่น้ำตาลกรวดพอหวานกินครั้งละ ๑ แก้ว วันละ ๓-๔ ครั้ง

ขนานที่ ๒ ใช้ยอดอ่อนของใบขี้เหล็กหรือดอกขี้เหล็กอ่อน ๑ กำมือ ต้องใช้สดๆ เก็บแล้วต้องรีบทำยาเลยโดยเอา
เหล้าขาว ๔๐ ดีกรีใส่ลงไปพอท่วมยา ตั้งทิ้งไว้ ๗ วัน กินก่อนนอนครั้งละ ๑-๒ ช้อนชา (ยานี้ไม่มีอันตราย)

๔. ปวดท้ายทอย
แก้โดยวิธีนวดถ้าใครปวดศีรษะทางด้านหลังแถวท้ายทอย ถ้าปล่อยไว้ให้ปวดมากถึงกระตุก กินยาไม่บรรเทา ถ้าปวดข้างซ้ายหรือข้างขาวก็ให้ตัวเองงอเข่าข้างที่ท้ายทอยปวด แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงตรงสันหน้าแข้งตั้งแต่ ใต้เข่าลงไปถึงหน้าแข้ง บีบคลำอยู่สัก ๔-๕ นาที โรคจะเบาโดยลำดับและหายไปโดยไม่รู้สึก

๕. ปวดหัว มักเกิดจากการคิดมาก ขาดการออกกำลัง การอดนอน
ขนานที่ ๑ เอาใบมะยมแก่ทั้งก้านและใบ ๑ กำมือ ต้มกับน้ำตาลกรวดกินต่างน้ำ

ขนานที่ ๒ ให้ชงชาแก่ๆ อุ่นๆ บีบน้ำมะนาวครึ่งลูกลงไปแล้วดื่ม อยู่นิ่งสัก ๕ นาที

ขนานที่ ๓ เอากาฝากมะม่วงทั้งต้น ต้มกินต่างน้ำ

ขนานที่ ๔ เอาว่านหางจระเข้มาฝานเป็นแผ่นบางๆ เอาปูนแดงทาบางๆ ปะที่ขมับ หมั่นเปลี่ยนเมื่อรู้สึกร้อน

ขนานที่ ๕ เอามะนาวมาฝานเป็นแว่นบางๆ เอาปูนแดงทาบางๆ แปะที่ขมับ หมั่นเปลี่ยนเมื่อรู้สึกร้อน

๖. ปวดหัวจากความดันโลหิตสูง
ขนานที่ ๑ เอาขึ้นฉ่ายสดทั้งต้น ๑ กำมือ ตำคั้นเอาน้ำกิน (ให้ทำกินได้เพียงครั้งเดียว ห้ามทำกินซ้ำ เพราะจะทำ ให้ความดันลดลงมากเกินไป
ขนานที่ ๒ เอาใบมะยมแก่ทั้งก้านและใบ ต้มกับน้ำตาลกรวดกินต่างน้ำ
ขนานที่ ๓ ใช้กาฝากมะม่วงทั้งต้นต้มกินต่างน้ำ

๗. ปวดหัวจากหวัด
เอาหัวหอมกินกับข้าวสุก โดยซอยหัวหอมในน้ำจิ้มหรือทำยำ กินครั้งละ ๒-๓ หัวพร้อมอาหารหรือหั่นหัวหอม ๒ หัวชงกับน้ำร้อน ๑ แก้ว (๒๕๐ ซี.ซี.) เติมเกลือนิดหน่อยกินต่างน้ำ

๘. ปวดหัวเพราะเครียด
เอาผ้าชุบน้ำร้อนวางที่หลังคอ และนวดบริเวณคอ ไหล่ และร่องสะบัก และใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นค่อยๆคลึงที่ขมับเบาๆ และใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็คหน้าอีก

๙. ปวดหัวเรื้อรัง
คนที่ปวดหัวบ่อยๆ อาจเป็นเพราะมีโรคเรื้อรังประจำตัวหรือขาดอาหาร การกินอาหารให้ถูกต้องครบส่วน และนอนหลับให้เพียงพอจะช่วยได้มาก เอาแกนขี้เหล็ก ผักเสี้ยนผี ต้นแมงลัก ตัวยาทั้ง ๓ อย่างนี้เอาหนักอย่างละเท่าๆ กันต้มกับน้ำ ๓ ส่วน เคี่ยวให้เหลือน้ำ ๑ ส่วน กินวันละ ๔-๕ ครั้งๆ ละครึ่งถึงหนึ่งแก้ว

๑๐. ปวดหัวข้างเดียว
ขนานที่ ๑ กินกาแฟหรือชาแก่มากๆ ๑ แก้ว ให้นอนในที่มืดและเงียบ คลายกล้ามเนื้อทุกส่วน และพยายามทำจิตใจ ให้สงบอย่าครุ่นคิดถึงปัญหาใดๆ

ขนานที่ ๒ เอาใบข่อยใบตำลึง ข้าวสารอย่างละ ๑ กำมือ ตำให้ละเอียดผสมน้ำพอเปียก เอาน้ำทาผมให้เปียกอยู่เสมอ ประมาณครึ่งชั่วโมงอาการปวดจะทุเลาขึ้น

ขนานที่ ๓ ใช้รากบวบกลมหรือบวบเหลี่ยมสดหนัก ๑ ขีด (๑๐๐ กรัม) ต้มใส่น้ำเกลือกิน

๑๑. เป็นลม
คนที่เป็นลมง่ายส่วนใหญ่เป็นเพราะไม่ได้ออกกำลังกาย อดนอน กินน้อย ต้องแก้ไขสิ่งนี้ก่อน ขณะที่เป็นลม นั้นอย่าให้กินอะไรเข้าไป เพราะจะทำให้หายใจไม่ออก ลมวิงเวียนในคนสูงอายุ

ขนานที่ ๑ เอาหัวและรากกระชายแก่ๆ หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ตากแดดให้แห้ง บดเป็นผงใส่ขวดไว้ ชงกินกับน้ำร้อนเหมือนกินยาหอม แก้โรคลมตีขึ้น มีอาการวิงเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม อีกวิธีหนึ่งเอาหัวหอมและรากกระชายแก่ๆ หั่นเป็นแว่นบางๆ ตากแห้ง ชงน้ำแทนใบชา แก้ลมวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย

ขนานที่ ๒ ฝานเปลือกผลมะกรูดเป็นแผ่นบางๆ ชงน้ำเดือดใส่การบูรเล็กน้อย (ถ้าใส่มากจะขมและเผ็ดเกินไป) กินแก้ลมวิงเวียน

๒๐. เป็นลมเพราะอยู่ในที่อับ
ควรให้คนไข้นอนหงายกับพื้นเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้สะดวก ขยายเสื้อผ้าให้หลวม อย่าให้คนมุงแน่นจนขาดอากาศถ่ายเท แล้วตรวจดูในปากว่ามีอะไรอยู่ในลำคอหรือเปล่า บางครั้งคนแก่มักจะใส่ฟันปลอม

ขนานที่ ๑ ให้ดมผิวมะกรูด เอาเล็บหยิกที่ผิวถลอกช่วยให้กลิ่นแรงขึ้น หรืออาจฝานเอาเฉพาะผิวบีบน้ำมันออกมาก็ได้

ขนานที่ ๒ ฝานเอาเปลือกลูกมะนาว บีบให้มีน้ำมันออกมาให้คนป่วยสูดดม จากนั้นเอาเนื้อมะนาวจิ้มเกลือและน้ำตาล ให้คนป่วยอม ค่อยๆกลืนน้ำมะนาวลงไป จะช่วยแก้อาการวิงเวียนคลื่นไส้ได้

ขนานที่ ๓ ให้ดมด้วยน้ำส้มสายชูแท้

๑๓. เป็นลมจากอ่อนเพลีย, หัวข้าว, เมาเหล้า
เอาน้ำตาลชนิดใดก็ได้หนึ่งช้อนแกง เกลือ ๑/๔ ช้อนชา ละลายน้ำร้อนหนึ่งแก้วกิน น้ำตาลจะช่วยเพิ่มพลังงานและเกลือจะช่วยทดแทนเกลือที่หายไปกับเหงื่อ เมื่อฟื้นแล้วให้ดื่มน้ำมากๆ

๑๔. เป็นลมเพราะสิ่งหวาดเสียว
เมื่อเห็นสิ่งหวาดเสียว เช่น เห็นเลือดไหลออกมากๆ มีอาการหน้ามืด ใจหวิวๆ จะเป็นลมให้เอาน้ำตาลทราย ๑-๒ ช้อนชาใส่ปากอมไว้

๑๕. เป็นลมนานเกินไป
ถ้าหากเจอคนเป็นลมแล้วให้ดมยาอะไรก็ไม่ยอมฟื้นสักที ให้เอานิ้วหัวแม่โป้งจิกกด ดันที่ใต้จมูก แรงๆไม่ต้องกลัวคนไข้เจ็บ

๑๖. หัวเป็นแผลเป็น ผมไม่ขึ้น
ขนานที่ ๑ ให้เอาดีปลาน้ำจืดชนิดใดก็ได้มาทาบริเวณที่ผมไม่ขึ้น แต่จะต้องสระผมให้สะอาดเสียก่อนทาวันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น ประมาณ ๗-๑๐ วัน ผมจะเริ่มขึ้น

ขนานที่ ๒ เอาหัวขิงสดๆหั่นเป็นแว่นบางๆ ทาถูบริเวณที่เป็นแผลเป็นวันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น ประมาณ ๗-๑๐ วัน ผมจะเริ่มขึ้น

ขนานที่ ๓ ใช้ดอกอัญชันสดขยี้ทาบริเวณแผลเป็นวันละ ๒ ครั้ง เช้าและเย็น

๑๗. หัวโน
เอาดินสอพองหรือแป้งทาตัวเด็กผสมกับน้ำมะนาวให้พอเหลว พอกตรงที่ใน ปล่อยทิ้งไว้ ๖ ชั่วโมง
จึงเปลี่ยน ยานี้ถ้ารีบทำใหม่ๆ จะเห็นผลชัดมาก



โรคเกี่ยวกับตา

๑. กุ้งยิง
ขนานที่ ๑ กุ้งยิงเป็นฝีชนิดหนึ่ง เวลาเป็น ให้เอาหม้อต้มน้ำให้เดือดแล้วยกลงจากเตา เอาผ้าขาวมาคลุมหัวกับหม้อน้ำไว้ ลืมตารมไอน้ำจนหมดไอ กะระยะให้พอดี อย่าให้ตาร้อนเกินไป ทำเช่นนี้ทุกครั้งที่รู้สึก ปวดหรือเคืองตาวันละ ๔ ครั้งทำแล้วตาจะรู้สึกหายเจ็บปวดและหัวกุ้งยิงจะค่อยๆ ยุบไป

ขนานที่ ๒ ใช้ยอดตำลึงเขี่ยที่เป็นกุ้งยิงให้ยางตำลึงติดอยู่ ทำวันละ ๓ ครั้ง กุ้งยิงจะยุบลง

ขนานที่ ๓ ถ้าเริ่มเป็นใช้เนื้อขมิ้นอ้อยเขี่ยและลูบตรงที่เป็นหัว กุ้งยิงจะยุบทันที

๒. ต้อ
ขนานที่ ๑ เอาดอกมะลิลา ๑ กำมือ ตำให้ละเอียดผสมพิมเสนแท้ ๒ เกล็ด คั้นเอาน้ำหยอดตาวันละ ๔-๕ ครั้ง (ดอกมะลิควรใช้ที่ปลูกเอง อย่าซื้อ เพราะที่เขาปลูกอาจมียาฆ่าแมลงเป็นอันตรายได้)

ขนานที่ ๒ เอาต้นอัญชันดอกขาวทั้ง ๕ ต้มพอเดือดเอาไอน้ำมารมตา ก่อนจะโรยตาให้โรยพิมเสนอย่างดี สัก ๔-๕ เกล็ด ลงไปในหม้อก่อนแล้วค่อยๆ เปิดฝาหม้อให้ควันรมตาทีละน้อย ทำวันละ ๑ ครั้ง ยาหม้อหนึ่งใช้ได้ ๓ วัน ทำติดต่อกันราว ๑-๒ เดือน

๓. ป้องกันตาเป็นต้อ เอาดอกมะลิลาลอยน้ำในขัน ๑ คืน เอาน้ำมาล้างหน้าล้างตา เป็นประจำจะช่วยป้องกันโรคต้อได้

๔. ปวดตา รู้สึกตาช้ำทั้งๆ ที่ไม่ได้โดนอะไร มักเกิดจากอ่านหนังสือย้อนแสงหรืออ่านในที่มีแสงไม่พอ ให้เปลี่ยนที่อ่านหนังสือ

๔. ตาอักเสบจากไม้หรือของแข็งดีดเข้าตา
ขนานที่ ๑ เอาถุงพลาสติกเล็กๆ ใส่น้ำและน้ำแข็งท่อนห่อด้วยผ้าหนาๆ ประคบที่ตา น้ำแข็งอย่าใส่มากไป เพราะ
ก้อนน้ำแข็งจะไปกดตา และอย่าใช้น้ำมากเพราะน้ำจะกดตาเช่นเดียวกัน ประคบจนน้ำหายเย็นทำบ่อยๆ หรือทุกๆ ๑-๒ ชั่วโมงในวันแรก หลังจากนั้นทำวันละ ๓-๔ ครั้ง

ขนานที่ ๒ เอาหัวขมิ้นอ้อยตรงที่เป็นแท่งกลางใหญ่ๆ มาตัดให้เป็นท่อนยาวๆ ขุดตรงกลางของด้านที่เล็กกว่าให้เป็นหลุมลึกลงไป เอาน้ำนมคนใส่ลงไปในหลุมนั้นให้เต็มนำไปนึ่งให้ร้อน ทิ้งให้เย็นเอาน้ำนมที่มีสีเหลือง จากขมิ้นอ้อยหยอดตาวันละ ๓-๔ ครั้ง

ขนานที่ ๓ เอาวุ้นว่านหางจระเข้ล้างยางออกให้หมดปิดเปลือกตา

ขนานที่ ๔ เอาขมิ้นผงโรยไปบนถ่านไฟก้อนใหญ่ที่กำลังแดงๆ ให้มีควันขมิ้นลอดขึ้นมา ให้ผู้ป่วยลืมตารมควันขมิ้นวันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น

๖. แสบตาเนื่องจากถูกแสงจ้ามากเกินไป
ขนานที่ ๑ เอาสำลีสะอาดๆ มา ๒ ก้อน ชุบน้ำฝนหรือน้ำเย็นพอหมาดๆ แล้วนอนหลับตา เอาสำลีที่ชุบแล้วมาประคบ ลงบนเปลือกตาทั้งสอง น้ำยิ่งเย็นมากยิ่งดี ชุบน้ำใหม่เมื่อสำลีหายเย็นแล้วนอนพักสักครู่ตื่นขึ้นมาจะรู้สึกสบายขึ้น

ขนานที่ ๒ เอาแตงกว่าดิบๆ ลูกประมาณไข่เป็ด ใช้มีดฝานตามยาวของลูกให้โค้งเหมือนรูปปากถ้วย ล้างตาแล้วนำ ส่วนที่โค้งมาคว่ำไว้บนเปลือกตาข้างที่เจ็บสักครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง ยิ่งนานยิ่งดี แล้วนอนพักสักครู่ตื่นขึ้นมาจะ รู้สึกสบายขึ้น

๗. ตาอักเสบเนื่องจากโดนลมหรือแดดมาก ให้ต้มน้ำชาจีนแก่ๆ ทิ้งไว้จนเย็นสนิทใช้สำลีชุบน้ำยานี้ปิดตาไว้สักครู่ จะคลายอักเสบลงได้

๘. ของแข็งเข้าตา เอาน้ำมันละหุ่ง ใช้หยอดตาครั้งละ ๒ หยด เมื่อเวลาของแข็งเข้าตา เช่นทราย กรวด หิน ผงเหล็ก กันมิให้บาดตาแล้วรีบเอาของที่เข้าตาออก

๙. ตาแดง
ขนานที่ ๑ เอาผักบุ้งสด ๑ ต้น ล้างน้ำให้สะอาดตำในครกสะอาดให้ละเอียด คั้นน้ำใส่ถ้วยไว้ใช้หยอดตาทั้งสองข้าง (ถึงแดงข้างเดียวก็ต้องหยอดทั้งสองข้าง)

ขนานที่ ๒ เอาน้ำเมือกว่านหางจระเข้หยอดตาบ่อยๆ หรือวันละ ๒ ครั้ง เช้าและก่อนนอน (คนที่แพ้ห้ามหยอด)

ขนานที่ ๓ เอาผ้าชุบน้ำอุ่นค่อนข้างร้อน บิดพอหมาดๆ วางทับหนังตาเอาไว้จนผ้าหายอุ่น แล้วจึงทำใหม่อีกที ทำเช่นนี้ทุกครั้งที่ปวดตาหรือเคืองตา หรือวันละ ๔ ครั้ง

ขนานที่ ๔ เอาสารส้มสะตุใหม่ๆ โดยใช้สารส้มก้อนขนาดเท่าเม็ดมะขามใหญ่ๆ ๑ ก้อนเอาไปสะตุแล้วละลายน้ำสุก ที่เพิ่งเย็น ละลายเข้าด้วยกันแล้วหยอดตา แก้ตาแดง ตาเจ็บ เยื่อตาเป็นแผล หยอดวันละ ๓-๔ ครั้งเช้าและก่อนนอน ยานี้ไม่ควรใช้ข้ามวัน

ขนานที่ ๕ เอาขมิ้นผง ๑ ช้อนแกง (ใช้ช้อนแกงแบบช้อนสังกะสีตักผงขมิ้นแล้วใช้มือปาดผงขมิ้นที่ล้นออกต้มกับน้ำ ๒ แก้ว ต้มจนเหลือน้ำ ๑ แก้ว ใช้น้ำยานี้ล้างตาและหยอดตาวันละ ๓-๔ ครั้ง เช้าและก่อนนอนยานี้ห้าม ใช้ข้ามวัน

ขนานที่ ๖ เอาแก่นฝานหั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่น้ำให้ท่วมยา ต้มให้เดือดสัก ๕-๑๐ นาที ใส่พิมเสนลงไปสักเล็กน้อย (ใส่จนพิมเสนไม่ละลาย) เอาน้ำยาที่ได้ใช้ล้างตาและหยอดตาวันละ ๓-๔ ครั้งเช้าและก่อนนอน ห้ามใช้ยาข้ามวัน

ขนานที่ ๗ เอาชาจีนชงด้วยน้ำเดือดให้แก่ๆ แล้วรมตาด้วยน้ำชาจนหมดไอ ทำวันละ ๓-๔ ครั้งเช้าและก่อนนอน

ขนานที่ ๘ เอาหัวขมิ้นอ้อยตรงที่เป็นแท่งกลางใหญ่ๆ มาตัดให้เป็นท่อนยาวๆ ขุดตรงกลางของด้านที่เล็กกว่าให้เป็นหลุมลึกลงไป เอาน้ำนมคนใส่ลงไปในหลุมนั้นให้เต็มนำไปนึ่งให้ร้อน ทิ้งให้เย็นเอาน้ำนมที่มีสีเหลือง จากขมิ้นอ้อยหยอดตาวันละ ๓-๔ ครั้ง

๑๐. ตาแดงในเด็กเล็ก
ใช้น้ำนมหยอดตา ให้ไปขอน้ำนมหญิงแม่ลูกอ่อน จับตัวเด็กนอนบนตัก หงายหน้าให้หญิงบีบเต้า ให้น้ำนม หยดใส่นัยน์ตาข้างละหนึ่งหยดหรือสองหยด วันละ ๒ ครั้ง วันเดียวหรือสองวันก็หาย (ต้องบีบออกจากเต้าโดยตรงจะได้สะอาด)

๑๑. ตาบอดกลางคืน เกิดเพราะขาดไวตามินเอ ให้กินผักบุ้งหรือตับสัตว์หรืออาหารที่มีไวตามินเอมากๆ เช่น มะละกอ ข้าวโพด

๑๒. น้ำตาไหลมาก เอาสารส้มสะตุใหม่ๆ โดยใช้สารส้มก้อนขนาดเท่าเม็ดมะขามใหญ่ๆ ๑ ก้อนเอาไปสะตุแล้วละลายน้ำสุก ที่เพิ่งเย็น ละลายเข้าด้วยกันแล้วหยอดตา แก้ตาแดง ตาเจ็บ เยื่อตาเป็นแผล หยอดวันละ ๓-๔ ครั้งเช้าและก่อนนอน ยานี้ไม่ควรใช้ข้ามวัน

๑๓. คันตา ถ้าคันตาเฉยๆ โดยตาไม่แดง ไม่มีขี้ตา ตาไม่ปวด ไม่โดนกระทบกระเทือน แสดงว่าตาแพ้อะไร อย่างหนึ่ง เช่น สบู่ที่ใช้ ควันไฟ ให้หลีกเลี่ยงเสีย

๑๔. เกล็ดกระดี่ขึ้นตา เกิดจากขาดวิตามินเออย่างรุนแรง ให้กินตับสัตว์มากๆ และให้ถ่ายพยาธิด้วย หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้ ตาเสีย
(๑) อย่าดูโทรทัศน์ในห้องมืด ถ้าดูในห้องมืดแสงโทรทัศน์จะจ้าไป ทำลายดวงตาได้
(๒) อย่าอ่านหนังสือย้อนแสง
(๓) อย่าอ่านหนังสือในที่ที่แสงไม่พอ
(๔) อย่าอ่านหนังสือบนรถ



โรคเกี่ยวกับหู

๑. ป้องกันรูที่ใส่ตุ้มหูเน่า ใช้แกนแข็งตรงกลางหัวกระเทียม นำมาเหลากลึงให้กลมยาวเสียบที่รูหูที่เจาะใหม่ๆ กันไม่ให้หูเน่า

๒. หูถูกของแข็งกระแทรก เช่นไม้ร่วงใส่หู
ขนานที่ ๑ ใช้ใบพลู ๑ ใบ ตำผสมปูนแดง เอามาพอกบริเวณที่ปวดหรือบวม เปลี่ยนยาเช้า-เย็น ระวังอย่าปล่อยให้แห้งเพราะจะทำให้รัดผิวหน้า

ขนานที่ ๒ เอาใบฟ้าทะลายโจรตำให้แหลก ผสมกับเหล้าพอกวันละ ๓-๔ ครั้ง

๓. น้ำเข้าหู ถ้าอาบน้ำสระผม หรือว่ายน้ำและน้ำเข้า วิธีเอาออกคือ หยอดน้ำให้เต็มรูหูเสียก่อน แล้วตะแคงกลับน้ำจะออกหมดโดยง่าย

๔. หูน้ำหนวก ใช้สำลีสะอาดชุบน้ำอุ่นพอหมาด พันไม้ไว้ ค่อยๆ ขับเอาหนองออกให้หมดก่อน
ขนานที่ ๑ เอามะกอก (ที่ชาวเมืองเหนือใช้บีบใส่น้ำพริก) มาล้างให้สะอาด บีบน้ำหยดลงในรูหู ๒-๓ หยด ทำวันละ ๒-๓ ครั้ง ทำ ๒-๓ วัน

ขนานที่ ๒ ใช้น้ำคั้นกระเทียมหยอดหู เอาหัวกระเทียม ๓-๔ กลีบ ปอกเปลือกใส่ถ้วยน้ำจิ้มเล็กๆ ใช้ช้อนบี้จนละเอียดเป็นน้ำ เอาสำลีสะอาดใส่ลงไป แล้วบีบน้ำคั้นกระเทียมลงไปในถ้วยสะอาด ๕-๖ หยด จากนั้นเอาสำลีอีกก้อนหนึ่งจุ่มน้ำสะอาดบีบลงไปในน้ำคั้นกระเทียม ๑๕-๒๕ หยด แล้วเอาสำลีอีกก้อนคนให้เข้ากัน เอาน้ำที่ได้หยอดหูโดยเอาสำลีชุบบีบใส่หู ครั้งละ ๒-๓ หยด วันละ ๒-๓ ครั้ง (ถ้ารู้สึกร้อนหูให้หยดน้ำเติมลงไปอีกจนรู้สึกหูอุ่นเวลาหยอด)

ขนานที่ ๓ ใช้น้ำส้มสายชูกลั่น ๕% ของแท้ หยอดหู ก่อนหยอดให้เอาน้ำส้มสายชูนี้ล้างหูเสียก่อน วิธีล้างคือหยอดน้ำส้มสายชูให้เต็มหูทิ้งไว้ ๑๐ นาที จึงตะแคงหูให้น้ำส้มสายชูออก ล้าง ๒-๓ ครั้ง จากนั้นจึงหยอดน้ำส้มสายชู ๒-๓ หยด นอนพัก ๑๐-๑๕ นาที จึงตะแคงให้น้ำส้มสายชูไหลออก ทำเช่นนี้วันละ ๓-๔ ครั้ง ถ้าหยอดแล้วรู้สึกระคายหู ให้เติมน้ำเปล่าลงไปอีกเล็กน้อย เพื่อให้น้ำส้มสายชูเจือจางลง

ขนานที่ ๔ ช้ก้านตาล (คางตาล) มาเผาไฟ แล้วบีบเอาน้ำออกจากก้านตาลที่เผาพออุ่นๆ นำน้ำนั้นมาหยอดหูวันละ ๔-๕ ครั้ง

๕. หูอื้อ บางครั้งเวลาสั่งน้ำมูกอย่างแรง หูอาจจะเอื้อไปข้างหนึ่ง แก้ได้โดยเอาชุมเห็ดไทยหรือชุมเห็ดเล็กหรือชุมเห็ดนามา ๔-๕ ใบ ขยี้ให้ช้ำ อุดไว้ในรูหูสัก ๑-๒ ชั่วโมง

๖. หูคัน เอาใบผักเสี้ยนผีขยี้พอช้ำ อุดหูไว้ ยานี้ห้ามใช้กับเด็กเพราะจะร้อนไป บางครั้งหูคันอาจเกิดจากมีขี้หูมากเกินไปและอยู่ลึกต้องเอาขี้หูออก

๗. ปวดหู เกิดจากเอาไม้ไปแยงหูหรือน้ำสกปรกเข้าหูเวลาว่ายน้ำ ให้ล้างหูด้วยน้ำสุกหรือน้ำด่างทับทิมให้สะอาดก่อนแล้วใช้ยาต่อไปนี้

ขนานที่ ๑ ใช้น้ำเมือกว่านหางจระเข้หยอดหู ตัดใบว่านหางจระเข้เลือกเอาใบใหญ่ๆ ล้างให้สะอาดก่อนหยอดให้ตัดปลายว่านหางจระเข้ออกก่อน เพื่อให้รอยตัดใหม่ๆ จากนั้นบีบใบให้น้ำเมือกไหลเข้าช่องหู จนเต็มทิ้งไว้สัก ๑๐-๑๕ นาที จึงค่อยเทออกมา ทำเช่นนี้วันละ ๑-๒ ครั้งเวลาหยอดหู เอาเมือกว่านหางจระเข้โปะรอบๆ ใบหูด้วย

ขนานที่ ๒ ใช้เมล็ดลำโพงแห้ง ๑ ช้อนโต๊ะ มาแช่ในน้ำมันพืชหรือน้ำมันมะพร้าว ๒ แก้ว นาน ๗ วันกรองเอาน้ำมันที่ได้เก็บไว้ใช้หยอดหูครั้งละ ๑-๒ หยด วันละ ๓-๔ ครั้ง

๘. ฝีในหู
ขนานที่ ๑ เอาเม็ดลางสาดเลือกเอาเม็ดแก่ๆ ตากแดดให้แห้งเอามาฝนกับน้ำปูนใส ให้ได้น้ำข้นๆ แล้วนำไปหยอดในรูหู วันละ ๓-๔ ครั้ง ประมาณ ๒-๓ วัน ฝีจะแตกออกและหายปวด

ขนานที่ ๒ เอาทางกล้วยน้ำว้าซึ่งเป็นก้านของใบมาลนไฟ แล้วบิดเอาน้ำใส่รูหู นอนตะแคงไว้นานสัก ๕ นาที แล้วจึงเทออก ทำวันละ ๑-๒ ครั้ง

๙. แมลงเข้าหู
ขนานที่ ๑ ใช้บุหรี่ตราอะไรก็ได้จุ่มน้ำให้ชุ่มแล้วบีบลงไป แมลงจะรีบออกมาทันทีถ้าได้ยาสูบหรือยาตั้งที่ฉุนๆยิ่งดี

ขนานที่ ๒ เอาไฟฉายส่องเข้าไปสัก ๑๐ วินาที แมลงจะตามแสงไฟออกมา

ขนานที่ ๓ ใช้ยาสีฟันจำพวกหลอดยี่ห้ออะไรก็ได้ กดปากหลอดยาสีฟันให้ปิดช่องหู บีบยาเข้าไปเล็กน้อยพออุดช่องหู ทันทีที่ยาเข้าไปอุดอยู่ในช่องหู มดหรือแมลงจะหยุดเคลื่อนไหวตัวมันและตาก ต่อจากนั้นค่อยใช้สำสีพันปลายไม้เช็ดออก

๑๐. แมงคาเรืองเข้าหู ใช้น้ำมะนาวกรองด้วยผ้าเนื้อละเอียดหยอดหู ถ้าตัวไม่ตายจะหนีออกมา ถ้าไม่หนีออกมาตัวจะตายภายในครู่หนึ่ง

๑๑. เห็บเข้าหู
ขนานที่ ๑ ใช้ใบถั่วฝักยาวล้างสะอาด ขยี้กับเกลือเอาน้ำหยอดหู แก้เห็บลม เห็บช้าง เห็บแรด เห็บไก่เข้าหูสักครู่ตัวจะตาย

ขนานที่ ๒ ขูดผิวของต้นหมากหรือเอาผิวของต้นหมาก มาบดให้ละเอียดแล้วผสมกับยาฉุนอย่างละเท่าๆกันใส่น้ำเล็กน้อย คั้นเอาน้ำหยอดรูหูที่เห็บเข้า

ขนานที่ ๓ เอายาเส้น (ยาตั้ง) ผสมกับเหล้าโรงแล้วหยอด หยอดวันละ ๒ ครั้งเวลาเช้า-เย็นสัก ๒-๓ วัน

๑๒. หูตึง
คนที่เคยเป็นหูน้ำหนวกแล้วต่อมาหูตึง หรือหูตึงเพราะรู้สึกว่ามีลมออกหู ให้ใช้ยาต่อไปนี้แก้ ลูกลำโพงเอาแต่เมล็ดใน ๑ ลูก ผิวมะกรูด ๑ ลูก พริกไทยอ่อน ๑๑ เม็ด ดีปลี ๑ ดอก พริกเหลือง ๓ เม็ด (เอาแต่เมล็ดข้างใน) กานพลู ๗ ดอก ลูกจันทน์ ๓ กลีบ ยาเหล่านี้ตำให้ละเอียด ละลายในน้ำมันมะพร้าวครึ่งถ้วยชา หุงด้วยไฟอ่อนจนเหลือแต่น้ำมัน ใช้สำลีชุบหยอดหู ครั้งละ ๒-๓ หยด วันละ ๓-๔ ครั้ง


webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 6/9/08 at 16:49 Reply With Quote


โรคเกี่ยวกับปาก

๑. เริมที่ปาก
ขนานที่ ๑ เมื่อเริ่มเป็นให้เอาน้ำแข็งจี้ที่เริมบ่อยๆ เป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง

ขนานที่ ๒ ใช้น้ำเมือกว่านหางจระเข้ทาบ่อยๆ

๒. ริมฝีปากแตก เข้าหน้าหนาวผิวหนังจะแตก โดยเฉพาะริมฝีปากจะแตกและแห้งเกรียม ทำให้แสบและเจ็บมาก
ขนานที่ ๑ เด็ดใบของต้นเปล้าจะใบเล็กหรือใหญ่ก็ได้ เอามา ๒-๓ ใบ ให้ก้านใบติดมาด้วย จะมีน้ำยางใสๆไหลออกมา เอาแต้มที่แผลริมฝีปากวันละ ๒-๓ ครั้ง สัก ๔-๕ วัน

ขนานที่ ๒ ใช้สีผึ้งทาปากให้มันอยู่เสมอ

๓. ฝีที่ริมฝีปาก เอาใบคราดหัวแหวนตำพอก

๔. ปากนกกระจอก โรคนี้เกิดจากขาดสารอาหารวิตามินบี
ขนานที่ ๑ เอาฟองข้าวสีขาวที่เกินจากข้าวกำลังหุงมาทามุมปากที่เป็นปากนกกระจอก วันละ ๒ ครั้งเช้า-เย็น ยางมะม่วงกัดปาก ส่วนมากเกิดกับเด็กที่กินมะม่วงที่ปลอกเปลือกไม่หมด มียางติดอยู่ ยางจะกัดผิวเป็นแผล ให้เอาเม็ดในของมะม่วง (ที่มีสีขาวๆ เมื่อเวลาถูกมีดจะมีสีม่วง) ฝนพอข้นผสมปูนแดงนิดหน่อย (ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใช้) ทาแผลวันละ ๒-๔ ครั้ง ๓-๔ วันแผลก็จะหาย

๕. ปากคันเพราะกินบอน หากกินบอนแล้วเกิดคันปาก ให้เอาน้ำตาลปี๊บกับส้มมะขามเปียก กะความเปรี้ยวหวานให้พอกัน ใส่น้ำนิดหน่อย ขยำให้เข้ากัน กินไปอมไปทีละช้อนจะทำให้หายคัน

๖. ปากขม
ขนานที่ ๑ ให้กินกล้วยน้ำว้าจะทำให้ไม่รู้สึกขมและทำให้มีแรง ให้กินน้ำมะพร้าวอ่อนต่างน้ำเกลือ

ขนานที่ ๒ ถ้าหายไข้ใหม่ๆ รู้สึกขมปากหรือขมเนื่องจากสาเหตุใดก็ได้ ให้ทำยานี้กิน คือ เอาเกสรทั้ง ๕ (ดอกมะลิ ดอกพิกุล ดอกบุนนาค ดอกสารภี เกสรบัวหลวง)สิ่งละ ๒ บาท เนื้อสมอเทศ เนื้อสมอไทย เนื้อสมอดีงู ผลมะขามป้อม ฝักราชพฤกษ์ รากอ้อยแดง อย่างละ ๒ บาท จะบดเป็นผงหรือต้มกินก็ได้ ให้แทรกน้ำตาลกรวดก่อนกินด้วย

๗. ปากเป็นแผล ต้องระวังอย่าให้ท้องผูกควบคู่กับการใช้ยา
ขนานที่ ๑ กินน้ำเกลืออุ่นๆ ใส่เกลือหนึ่งหยิบมือต่อน้ำร้อน ๑ แก้ว กินวันละ ๓ ครั้งๆ ละ ๑ แก้ว

ขนานที่ ๒ กินน้ำมะนาว บีบน้ำมะนาว ๑ ลูกเติมน้ำให้เต็มแก้ว เติมเกลือ ไม่ต้องเติมน้ำตาล กินวันละ ๓ ครั้งๆละ ๒ ลูก

ขนานที่ ๓ กินฝรั่งสดวันละ ๒-๓ ผล และหลังจากกินอาหารแล้วเด็ดเอาใบฝรั่งมาเคี้ยว จะมีรสฝาดและพยายามให้ถูกตรงแผลเปื่อยแล้วจึงบ้วนทิ้ง และเคี้ยวใหม่สักสองสามหน วันละ ๒-๓ ครั้ง

ขนานที่ ๔ กินฟ้าทะลายโจรเม็ด เอาใบฟ้าทะลายโจรในระยะที่เริ่มออกดอก ตากแดดให้แห้งบดเป็นผง ปั้นน้ำเชื่อม เป็นลูกกลอนขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย กินครั้งละ ๕-๘ เม็ด วันละ ๒-๓ ครั้ง

ขนานที่ ๕ อมใบฟ้าทะลายโจรสดๆ ไม่ต้องเคี้ยว พยายามให้ถูกแผลที่ปาก อมตลอดเวลา

ขนานที่ ๖ ลูกยอ ๓๓ ลูกสับให้ละเอียด เถาวัลย์เปรียงสับให้ละเอียด เอาส่วนเท่าลูกยอ เกลือใส่พอเค็มดองตากแดดตากน้ำค้าง กินแก้ปากเปื่อย คอเปื่อย กินครั้งละ ๑ ถ้วยชา วันละ ๓-๔ ครั้ง

๘. ปากเปื่อยในเด็ก
ขนานที่ ๑ ผลมะกอกเผาไฟหนึ่งส่วน ผลมะขามป้อมเผาไฟ ๑ ส่วน บดเป็นผง ปั้นเป็นแท่งไว้ ละลายน้ำผึ้งหรือน้ำ
มะนาวแทรกเกลือเป็นกระสายกวาด หรือชุบสำลีอมเป็นยาสมาน ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่

ขนานที่ ๒ เอารากหูลิงฝนกับน้ำปูนใสทาวันละ ๓-๔ ครั้ง

๙. กลิ่นปาก เศษอาหารที่แทรกอยู่ตามซอกฟันเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก วิธีเอาเศษอาหารออกคือ
๑) แปรงฟันให้ถูกวิธี
๒) ใช้ไม้จิ้มฟันแคะอาหารออก
๓) ใช้เชือกถูตามซอกฟัน เชือกนี้มีขายตามท้องตลาดเรียกว่าเดนทัลฟลอส การใช้เชือกนี้จะทำให้ฟันสะอาดที่สุด นอกจากนี้อาหารที่ค้างอยู่ในกระเพาะลำไส้ ก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดกลิ่นปากได้

ขนานที่ ๑ เอาน้ำหม่าข้าวหรือน้ำแช่ข้าวเหนียวผสมกับเกลือป่น อมสัก ๒-๓ นาทีแล้วบ้วนทิ้ง อมเป็นประจำ

ขนานที่ ๒ เอาใบพลูค่อยๆเคี้ยวทีละน้อยหลังอาหาร ถ้าเคี้ยวมากจะทำให้ปากชา ร้อนปาก

ขนานที่ ๓ เอาใบฝรั่ง ๑ ใบ เคี้ยวหลังอาหารทุกครั้ง

ขนานที่ ๔ ให้กินกล้วยสุกจะเป็นกล้วยน้ำว้า กล้วยหอมหรือกล้วยไข่ก็ได้ กล้วยทอด กล้วยเชื่อมใช้ไม่ได้กินในตอนเช้าหลังตื่นนอนสัก ๖-๗ ลูกทำสักอาทิตย์

ขนานที่ ๕ เอาใบฝรั่งสดๆ ตากแดดพอหมาดๆ ย่างไฟพอหอม ชงน้ำกินเป็นประจำ โดยใช้ใบฝรั่งสัก ๑ หยิบมือ ชงกับน้ำร้อน ๒ แก้ว กินครั้งละ ๑ แก้ว วันละ ๓-๔ ครั้ง

๑๐. กลิ่นปากที่เกิดจากอาหาร เช่น กินต้นหอม กระเทียม สะตอ เหล้า แล้วมีกลิ่นติดปาก ให้ใช้ใบฝรั่งหรือใบพลูเคี้ยวกิน ดับกลิ่นอาหาร

โรคเกี่ยวกับลิ้น
๑. เผ็ดพริก เวลากินพริกเผ็ดๆ ไม่ควรแก้ด้วยวิธีกินน้ำเย็น เพราะจะทำให้รู้สึกเผ็ดมากขึ้น และทำให้ท้องแน่น เพราะกินน้ำมากไป

ขนานที่ ๑ อมเกลือ ใช้เกลือสัก ๑ หยิบมือ อมไว้สักสองสามนาที หรือให้กินเกลือทีละน้อยไปเรื่อยๆ

ขนานที่ ๒ จิบน้ำอุ่นค่อยข้างร้อนช้าๆ สารเผ็ดในพริกจะละลายไปกับน้ำร้อน

ขนานที่ ๓ เอาเมือกของว่านหางจระเข้ มาเคี้ยวให้เป็นน้ำแล้วอมเอาไว้สักสองสามนาที

ขนานที่ ๔ ให้กินปลาเค็มจะช่วยให้หายเผ็ดได้

๒. เด็กโคนลิ้นขาว
เด็กที่อายุยังไม่พ้น ๖ เดือน โคนลิ้นจะขาว เจ็บ ทำให้เบื่อนม เบื่ออาหารตอนเช้าตะวันยังไม่ขึ้น เตรียมผ้าอ้อมที่ซักสะอาดหนึ่งผืน รีบไปตัดก้านกล้วยประมาณครึ่งก้าน เอาผ้าอ้อม คุมนิ้วชี้และนิ้วกลางไปรองใต้ยางกล้วยที่หยดลงมา จนยางกล้วยเกือบหยุดหยด แล้วเอาผ้าอ้อมที่เปื้อนยางกล้วยไปเช็ดโคนลิ้นเด็ก ทำสัก ๒-๓ วัน ลิ้นจะหายขาว

๓. ลิ้นเป็นฝ้า ใช้สำลีชุบน้ำมะนาวเช็ดลิ้นวนละ ๔-๕ ครั้ง



โรคเกี่ยวกับฟัน

๑. เลือดออกตามไรฟัน โรคนี้เกิดจากกินผักสด ผลไม้สดน้อยเกินไป ทำให้ขาดวิตามินซี
ขนานที่ ๑ เอาใบของผักกระสังเอามาเคี้ยว แล้วเอามาปิดไว้ที่ไรฟัน

ขนานที่ ๒ ถากเปลือกมะเดื่อมา ๓-๔ ชิ้น ชิ้นโตขนาด ๓ นิ้วมือ มาต้มกับน้ำปูนใส พอเดือดแล้วปล่อยทิ้งไว้พออุ่นๆ รินใส่ถ้วย ใช้อมแล้วบ้วนทิ้งจนหมดถ้วย เลือดก็หยุดไหล

ขนานที่ ๓ กินน้ำมะนาว วันละ ๒ ลูกทุกวัน และให้กินผักใบเขียวและผลไม้ เช่น ส้ม ฝรั่งให้มากๆ

๒. คราบบุหรี่ติดฟัน เอาฝักมะขามดิบมาตัดขวางฝัก เอาด้านที่ถูกตัดถูๆขัดความสกปรกที่ติดฟัน

๓. กำจัดคราบหินปูนบนฟัน ใช้เปลือกหมากสดตรงที่เป็นสีขาวๆ ถูฟัน วันละ ๑ ครั้ง สัก ๒-๓ วัน

๔. ขัดฟันให้ขาว เอาขมิ้นผงอย่างดี ใช้นิ้วแตะแล้วขัดให้ทั่วสักครู่จึงบ้วนทิ้ง แล้วแปรงด้วยยาสีฟันอีกทีฟันจะขาว และรักษาฟันให้ทนทานอีกด้วย

๕. ป้องกันฟันเก ฟันน้ำนมเด็กพอเริ่มโยก พ่อแม่ต้องคอยดูแล ถ้าเห็นว่าโยกพอจะถอนได้ก็ถอนเลย ขืนทิ้งไว้ ฟันแท้จะขึ้น แซมไปข้างหน้าหรือข้างหลัง ทำให้ฟันไม่สวย แล้วบังเกิดโรคง่ายอีกด้วย

๖. เข็ดฟัน เมื่อกินของเปรี้ยวๆ แล้วรู้สึกเข็ดหรือเสียวฟัน ให้เคี้ยวของฝาดๆแก้เช่น ใบฝรั่งหรือเปลือกแค ถ้ามีเม็ดในมะม่วงจะดีมาก เคี้ยวให้แหลก อมไว้สักครู่ แล้วบ้วนทิ้ง

๗. ปวดฟัน ส่วนใหญ่เกิดเนื่องจากฟันผุเป็นรู ยาที่ใช้ส่วนใหญ่จะระงับเชื้อโรคและทำให้ปลายประสาทชา ยังไม่มียา ที่ยับยั้งฟันที่ผุแล้วไม่ให้ลามต่อไป เมื่อรู้ว่าฟันผุต้องรีบไปอุดเสีย ยาแก้ปวดฟันจะช่วยระงับอาการเท่านั้น เมื่อหายปวดแล้วต้องรีบไปอุดหรือรักษาฟันต่อไป
ขนานที่ ๑ เด็ดใบตำลึงมาสัก ๑ กำมือ ดินสอพอง ๒ แผ่น ใส่ครกโขลกพอแหลก เติมน้ำนิดหน่อยเอามาพอกข้าง
แก้มที่ปวด พอแห้งก็เปลี่ยนใหม่ พอกสัก ๒-๓ ครั้ง จะทำให้หายปวดได้

ขนานที่ ๒ เอาหัวข่าแก่สดผสมเกลือเล็กน้อย โขลกให้ละเอียดใส่รูฟันที่ปวด

ขนานที่ ๓ เอากานพลูตำพอแหลกผสมกับเหล้าขาวเพียงเล็กน้อยพอแฉะ ใช้จิ้มหรืออุดฟันที่ปวด

ขนานที่ ๔ ลอกเปลือกไม้มะขามจะเป็นมะขามเทศหรือมะขามบ้านก็ได้ เอามา ๑ กำมือ ใส่น้ำให้ท่วมยา ใส่เกลือ ๑ ช้อนชาต้มให้เดือนสัก ๑๐ นาที ปล่อยให้เย็น เอามาอมไว้ในปาก อมนาน ๒-๓ นาทีอมสัก ๓-๔ ครั้ง

ขนานที่ ๕ ใช้เปลือกข่อยต้มอมแบบเดียวกับเปลือกมะขาม

ขนานที่ ๖ ใช้รากมะพร้าวต้ม อมแบบเดียวกับเปลือกมะขาม

ขนานที่ ๗ เอาการบูรใส่ในฟันที่ปวด

ขนานที่ ๘ เอารากหนอนตายอยาก ตำอุดตรงรูฟันที่ปวด

ขนานที่ ๙ ใช้ใบและต้นของผักส้มกล ผสมกับเกลือพอให้เค็ม ขยี้พอให้ช้ำๆ แปะข้างเหงือกตรงฟันที่ปวด

ขนานที่ ๑๐ เอาดอกหรือใบของผักคราดหัวแหวนขยี้หรือบดให้ละเอียดใส่ฟันที่ปวด

ขนานที่ ๑๑ เอากระดาษหรือใบตองมวนสำลีแบบมวนบุหรี่ แล้วสูบทางจมูกข้างตรงข้ามกับฟันที่ปวด สูบเพียง ๑ มวน ถ้ามึนให้พักสักครู่จึงค่อยสูบต่อ (สูบแล้วจะมีอาการน้ำหูน้ำตาไหล)

๘. เด็กปวดฟัน เอาใบกระเพราหรือใบแมงลักโขลกอย่าให้ละเอียดมากนัก ผสมเกลือเล็กน้อยให้พอเค็ม (ถ้าใส่เกลือมากจะเสียวฟันมากเกินไป) ใส่ในฟันที่ปวด (ฟันน้ำนม)

๙. ถอนฟันแล้วเลือดออกไม่หยุด
ขนานที่ ๑ เอาผ้ากอซหรือผ้าสะอาดๆ ม้วนเป็นแท่งสั้นๆ วางทับที่รูฟันที่ถอนแล้วกัดไว้ (อย่ากัดแน่นเกินไป) กัดไว้นานๆ อย่าเคลื่อนไหวปาก เลือดจะค่อยๆหยุดไปเอง

ขนานที่ ๒ ใช้มีดขูดผิวไม้ไผ่สีสุก ๑ ขยุ้มมือ ใส่ชามเอาไว้ ผสมน้ำตาลทรายแดง ๑ ช้อนกาแฟ เกลือ ๑/๒ ช้อนกาแฟ เทน้ำร้อน ๒ แก้วลงไป ปิดฝาเอาไว้ พอยาอุ่นก็เอามากินได้ กินให้หมด ให้กินเพียงครึ่งเดียว

๑๐. รักษาฟัน ฟันจะแข็งแรงได้ด้วยเหตุปัจจัย ๓ อย่าง คือ
๑. ฟันสะอาด
๒. ฟันได้บริหารสม่ำเสมอ คือได้เคี้ยวของเหนียวๆ แข็งๆ มีกาก เช่นผัก ผลไม้
๓. มีอาหารบำรุงเพียงพอ อาหารบำรุงฟัน คือธาตุแคลเชียม มีมากในผัก ผลไม้ และกระดูก เช่น
กระดูกปลากรอบ กระดูกหมูอ่อน กระดูกไก่อ่อน

ขนานที่ ๑ เคี้ยวกิ่งข่อยทุกๆ เช้า เอากิ่งข่อยขนาดเท่าน้ำก้อย ลอกเอาเปลือกออก เอามาเคี้ยวให้แหลกแล้วเอากากถูฟัน การเคี้ยวกิ่งข่อยช่วยให้ฟันสะอาด บริหารฟัน และยางจากกิ่งข่อยอาจช่วยฆ่าเชื้อโรคที่ทำให้ฟันผุด้วย

ขนานที่ ๒ เคี้ยวหมาก หมากช่วยทำความสะอาดฟันและบริหารฟันได้ดีมาก มีข้อเสียอยู่อย่างคือ ทำให้ติดและทำให้ เคี้ยวมากเกินไป วันหนึ่งเคี้ยวหมากสัก ๑-๒ คำ จะช่วยให้ฟันแข็งแรง แต่ถ้าเคี้ยวแบบคำต่อคำ จะทำให้ฟันสึก โยกคลอน เป็นรำมะนาดได้


โรคเกี่ยวกับเหงือก

๑. ปวดเหงือก ใช้ใบและต้นของผักส้มกบ ผสมเกลือพอให้เค็ม ขยี้ให้ช้ำ แปะตรงเหงือกที่ปวด

๒. เหงือกอักเสบ เช่น ใส่ฟันปลอมใหม่ๆ เหงือกเกิดเป็นแผลเจ็บ เอาใบหนุมานประสานกายมา ๓ ช่อ ตำให้ละเอียด เติมน้ำ ๔ ช้อนแกง คั้นเอาน้ำกินส่วนกากใช้อมข้างแก้มที่เป็นแผล อมตลอดเวลากินยา และเปลี่ยนยาอม วันละ ๓ ครั้ง

๓. รำมะนาด
รำมะนาดเมื่อเป็นแล้วโอกาสหายมีน้อยมาก ส่วนใหญ่ลงเอยที่ ฟันร่วงหมดปาก รำมะนาด เกิดจากการที่มีคราบหินปูนจับอยู่ที่เหงือกจึงต้องคอยหมั่นตรวจดู สัญญาณเตือนครั้งแรกคือมีเลือดตามไรฟันเวลาที่ถูฟัน ควรรีบขูดหินปูนออกเสียแต่เนิ่นๆ การแปรงฟันให้สะอาดและถูกวิธีจะช่วยป้องกันไม่ให้หินปูนจับอยู่ที่เหงือก การแก้นั้นต้องขูดหินปูนออกรักษาฟันให้สะอาด ส่วนยานั้นเป็นตัวเสริมให้หายเร็วขึ้น
ขนานที่ ๑ เอาหัวข่าหั่นเป็นแว่นๆ ล้างให้สะอาดใส่ครกโขลกกับเกลือมากหน่อยจนเค็มจัดๆ ตื่นนอน แตะนิ้วสีฟันให้ทั่ว อมไว้ราว ๕ นาที แล้วค่อยแปรงฟัน

ขนานที่ ๒ เอาต้นชะพลูทั้งราก ๖-๙ ต้น เกลือ ๑ กำมือใส่น้ำให้ท่วมยา ต้มเคี่ยวรากครึ่งชั่วโมงเอาน้ำที่ได้มาอม หรือเอารากชะพลูกับเกลือเล็กน้อยตำให้ละเอียดพอก

ขนานที่ ๓ เอาผลมะขามป้อมทุบพอแตก เกลือ ยา ๒ ชนิดนี้เอาอย่างละ ๑ ถ้วย ต้มเคี่ยว ๔ เอา ๑ กรองใส่ขวด ตื่นนอนตอนเช้าอม สักสองสามวัน แก้ฟันเป็นรำมะนาด แก้ฟันโยกคลอน

ขนานที่ ๔ เอารากอัญชันขาวทุบพอช้ำ การบูร ๑ ใน ๔ ส่วน ของรากอัญชันขาว ใส่เหล้าหรือแอลกอฮอล์ (ชนิดกินได้) ให้ท่วมยา แช่ ๓ วัน อมแก้รำมะนาด

ขนานที่ ๕ เอาเปลือกต้นข่อยผสมกับเกลือให้เค็มจัด ต้มกับน้ำ ๓ ส่วน เคี่ยวให้เหลือน้ำ ๑ ส่วน ใส่ขวดเก็บไว้ให้อมวันละครั้ง เวลาเช้าทุกวัน

ขนานที่ ๖ ให้เอากระเทียม ๗ กลีบ เกลือ ๑ หยิบมือ โขลกให้ละเอียดพอกที่เหงือกบวม

โรคเกี่ยวกับคาง

๑. คางทูม
ขนานที่ ๑ เอาใบเสลดพังพอนตำผสมเหล้าขาวเล็กน้อย ทาบริเวณคางทูมวันละ ๒-๓ ครั้ง
ขนานที่ ๒ เอาใบพลูอังไฟพอให้อ่อนตัวทาด้วยน้ำมันพืช แปะที่คางทูม ขณะที่ยังอุ่นอยู่ แปะหลายๆชั้นเปลี่ยนยาวันละ ๒ -๓ ครั้ง
ขนานที่ ๓ เอาเปลือกเพกา หัวขมิ้นอ้อย อย่างละเท่าๆกัน ตำให้ละเอียดแช่กับเหล้า เติมการบูรนิดหน่อย พอให้ละลายได้เอาน้ำยาที่ได้ทาคางทูมวันละ ๔-๕ ครั้ง[/color]



โรคเกี่ยวกับคอ

๑. ก้างปลาติดคอ
ขนานที่ ๑ เอาเมล็ดหรือรากของต้นเทียนดอกตำให้ละเอียด ค่อยๆกลืนลงไป เวลากลืนต้องระวังอย่าให้ถูกฟัน เพราะยานี้ละลายกระดูกจะไปละลายฟันทำให้ฟันเสียได้ และสตรีมีครรภ์ห้ามใช้

ขนานที่ ๒ ปั้นข้าวสุกอุ่นๆ ให้โตประมาณหัวแม่เท้าของคนที่ก้างติดคอ พยายามปั้นให้แน่นๆ แล้วกลืนลงไปทั้งก้อนโดยไม่ต้องเคี้ยว ก้อนข้าวสุกจะไปพาก้างที่ติดคอนี้ให้ลงไป ถ้าก้อนแรกไม่หายให้ลองอีกสักก้อนสองก้อน

ขนานที่ ๓ ให้ฝานมะนาวแล้วนำมาอมจนหมดรสเปรี้ยว ทำสัก ๒-๓ หน จะทำให้ก้างปลาหลุดออก หรือใช้น้ำมะนาว บีบลงไปในคอสม่ำเสมอ

๒. ร้อนในกระหายน้ำ
ขนานที่ ๑ เอาใบขี้เหล็กอ่อนประมาณ ๑ กำมือ มาตำกับเกลือให้ละเอียด แล้วคั้นเอาน้ำกินครั้งละ ๑ ถ้วยชา วันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น

ขนานที่ ๒ ดื่มน้ำมะนาวใส่น้ำแข็ง ใช้น้ำมะนาว ๒ ลูก ผสมน้ำเย็นใส่น้ำแข็งดื่มดับกระหายน้ำได้ ดื่มวันละ ๒ ครั้งเช้า-เย็น

ขนานที่ ๓ เอาดอกพิกุล ๑ กำมือ ใส่ลงในขันน้ำ เอาข้าวสารแช่รวมลงไปอีกสัก ๑ กำมือพอหิวน้ำก็ดื่มน้ำในขันนั้น

๓. ร้อนคอ เอาใบฟ้าทะลายโจรตากแห้งบดผงกวาดคอ ถ้ารู้สึกร้อนคอ มีอาการปากเปื่อย น้ำลายเปรี้ยวร่วมด้วยให้ใช้ยานี้แก้คือ หัวยา ข้าวเย็นทั้งสอง รากแฝกหอม หัวเปราะหอม ขันทองพยาบาท หนักสิ่งละเท่าๆกัน ต้มกินวันละ ๓ หน

๔. คันคอ ใช้ใบลำโพงหั่นมวนเป็นยาสูบหรือผสมใบยาเส้นก็ได้ สูบควันเป็นยาระงับอาการคันที่คอ ห้ามใช้ใบลำโพง เกินกว่า ๓ ใบ

๕. ทารกมีเสมหะในคอมาก
ถ้าทารกมีเสมหะในคอมาก สังเกตได้จากมีน้ำลายเหนียว หายใจลำบาก บางทีหน้าเขียวเพราะหายใจไม่ออก ให้เอาใบกะเพราแดงมาขยี้ด้วยมือให้ละเอียดผสมน้ำสุก ใช้ใบกะเพรา ๑๐ ใบ สุรา ๑-๓ หยด ให้เด็กกินหรือป้ายลิ้นเด็กหรือกวาดคอเด็ก จะทำให้เสมหะหลุดออกมา

๖. สตางค์ติดคอ
ถ้าพบในเด็กเล็ก จับห้อยศีรษะลงต่ำ ตบก้นแรงๆ ให้เด็กไอออกมาพบในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ จับพาดตักหรือโต๊ะ ให้ศีรษะต่ำและหน้าก้มลง แล้วตบหลังบริเวณระหว่างสะบัก ๒ ข้าง

๗. สะอึก
ขนานที่ ๑ ดื่มน้ำ ๑ แก้ว อย่างช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยกลืนน้ำตลอดเวลา

ขนานที่ ๒ เอาพริกชี้ฟ้าแห้งสีแดง เด็ดหัวท้ายออกแล้วเคาะเม็ดออกจุดไฟสูบแบบบุหรี่ ดูดเข้าไปแรงๆ ไม่กี่ครั้งจะหายสะอึก

ขนานที่ ๓ ให้กลั้นหายใจแล้วนับเลขตั้งแต่ ๑-๒-๓-๔-๕ เรื่อยๆ อยู่ในใจ จนกว่าจะกลั้นลมหายใจไม่ได้แล้วก็ผ่อนลมหายใจ หายใจธรรมดาแล้วกลั้นหายใจใหม่ ทำไม่นานอาการสะอึกจะหายไป

ขนานที่ ๔ หาถุงขนาดใหญ่ สูดลมหายใจเข้า-ออก ภายในถุงนั้น อย่าให้อากาศภายนอกเข้าได้ สักครู่ อาการสะอึกจะหายไป

๘. สะอึกของเด็กเล็ก
เอาน้ำตาลทรายประมาณครึ่งช้อนชาผสมน้ำร้อนให้เต็มช้อนชารอจนน้ำอุ่นๆ แล้วป้อนเด็ก ถ้าครั้งเดียวไม่หายให้กินอีก ถ้าเป็นผู้ใหญ่ให้กินน้ำตาลทรายโดยตรงเลย ไม่ต้องละลายน้ำร้อน

๙. ฝีในคอ
ขนานที่ ๑ เอาหอยแครง ๓ ฝา เอาปูนแดงใส่ให้เต็มผา นำไปเผาไฟให้ลุกโชน ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น ผสมพิมเสน ๓-๕ เกล็ด บดเข้าด้วยกันให้ละเอียดดี เอาผงยามาส่วนหนึ่ง บีบมะนาวผสมลงในผงยาให้พอเหลวๆ ใช้ขนไก่ที่ต้มฆ่าเชื้อแล้วป้ายยากวาดคอวันละสองสามครั้ง
ข้อควรระวัง อย่าใช้ผงยาเข้มข้นเกินไป ปูนจะกัดเนื้อทำให้แสบคอได้

ขนานที่ ๒ เอาหญ้ากระต่ายจาม ต้นโทงเทง อย่างละเท่าๆกัน ตำให้แหลกผสมเหล้าเล็กน้อย คั้นเอาแต่น้ำดื่ม

ขนานที่ ๓ เอาเปลือกพุทรา ผสมกับน้ำปูนใสให้ข้น กวาดคอและทารอบๆ คอ วันละ ๓-๔ ครั้ง

๑๐. ยาแก้อาเจียน
ขนานที่ ๑ เอาหัวขิง รากแฝกหอม ลูกมะตูม ลูกผักชี รากขัดมอญ หัวหญ้าแห้วหมู เอาสิ่งละเท่าๆกันต้มกินทุกครั้งที่อาเจียน หรือทุกชั่วโมง เมื่ออาการดีขึ้นให้กินเช้า-กลางวัน-เย็น

๑๑. เด็กสำรอก ให้เด็กกินน้ำมะนาว ๒-๓ หยด ทุกครั้งที่เด็กสำรอก หรือจะใช้น้ำมะนาวทาลิ้นเด็กตอนสำรอกก็ได้

๑๒. อาเจียนเป็นเลือด
ขนานที่ ๑ เอาเปลือกมะม่วงสดตำคั้นเอาน้ำกินครั้งละ ๓-๑๒ ช้อนแกง หรือเอาเม็ดในมะม่วงตากแห้งบดผง กินครั้งละ ๑/๒-๑ ช้อนชา กินทุก ๑-๒ ช.ม.
ขนานที่ ๒ เอาใบหนุมานประสานกาย ๒๕-๓๐ ช่อ ใส่เกลือหนึ่งหยิบมือ ตำให้ละเอียดผสมเหล้าประมาณ ๒-๓ ช้อนโต๊ะ คั้นเอาน้ำกินแก้อาเจียนเป็นเลือด

๑๓. คอเคล็ด
ขนานที่ ๑ ตื่นเช้าขึ้นถ้าคอเคล็ดลองคลำดูที่รักแร้ข้างที่เจ็บคอจะรู้สึกว่ามีก้อนปมเล็กๆ ทนเจ็บบีบๆ คลึงๆ มันให้ก้อน นั้นมันคลายตัวจะทำให้หายปวดทันที

ขนานที่ ๒ เอาใบพลับพลึงไปอังไฟให้อุ่นจัด นำมาพันรอบคอ พันผ้าทับ

๑๔. แก้เสียงแหบแห้ง
ขนานที่ ๑ ใช้ใบสดว่างหางจะเข้ปอดเปลือกออกให้เหลือแต่วุ้น หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่น้ำพอท่วมยา ต้มให้ยาเดือดเติมน้ำตาลเล็กน้อยดื่มครั้งละ ๑ แก้ว วันละ ๓ เวลา
ขนานที่ ๒เอาใบมะม่วงระยะไม่อ่อนไม่แก่เกินไป ต้มกินครั้งละ ๑/๔-๑/๒ แก้ว ดื่มบ่อยๆ ต่างน้ำ

๑๕. ไอ เจ็บ คอ ที่เป็นกับเด็ก
ขนานที่ ๑ เอากานพลูมาฝนให้เป็นผงละเอียด แล้วนำมาผสมกับน้ำมะนาวเล็กน้อย กวาดคอเด็ก

ขนานที่ ๒ เอาใบพลูลนไฟให้ร้อนทาน้ำมันปิดหน้าอกเด็ก

ขนานที่ ๓ เอาเม็ดในผักเพกาที่มีสีขาว ๑ ขยุ้มมือใส่น้ำ ๑ แก้วครึ่ง ต้มพอให้ยาสุกกินต่างน้ำ ยานี้เด็กกินง่ายเพราะไม่ขม

ขนานที่ ๔ ถ้าเด็กเล็กๆ อายุประมาณ ๑ ขวบ ไอ เอารากมะแว้งเครือยาวสัก ๑ ฝ่ามือ เผาไฟแบบปิ้งปลาพอให้ยาสุก แล้วนำไปแช่น้ำ จนน้ำยาออกสีเหลือง อย่าแช่นานเพราะยาจะขมเกินไป ให้เด็กกินต่างน้ำราก ที่แช่แล้วนำมาตากแห้งแล้วแช่ใหม่ได้

ขนานที่ ๕ แช่เห็ดหูหนู ๑ ส่วน กับน้ำ ๓ ส่วน ให้บาน ตัดตรงปลายทิ้งไป ล้างให้สะอาดต้มกับน้ำตาลกรวดให้พอหวาน แล้วกรองใส่ขวดนม แช่น้ำจนเย็น ให้เด็กกินต่างน้ำ อาการไอจะทุเลาลงและหายไป

๑๖. ไอกรน
ขนานที่ ๑ เอาหัวกระเทียมปอกเปลือกออกสับให้ละเอียด เกลี่ยบนผ้าหนาๆ สัก ๑/๔ นิ้ว แล้วปิดด้วยผ้าอีกชั้นหนึ่งนำไปผูกติดกับฝ่าเท้าเด็กที่เป็นไอกรนตลอดคืน อาจสวมถุงเท้าทับอีกชั้นก็ได้ (ควรจะทาวาสลีนหรือน้ำมันที่ฝ่าเท้าก่อนพอกยา เพื่อป้องกันไม่ให้กระเทียมติดหรือระคายเคืองต่อผิวหนังเด็ก) พอรุ่งเช้าก็แกะยาออก
ขนานที่ ๒ เอาใบหนุมานประสานกายสด ๗-๑๐ ช่อต้มกิน

๑๗. ไอ เจ็บคอ เสมหะติดคอ
ขนานที่ ๑ เอาข่าแก่ตัดเป็นท่อนยาวครึ่งนิ้ว ทุบให้พอแตก ใส่ถ้วยไว้ เติมน้ำตาลทรายขาว เกลือ บีบน้ำมะนาวลงไปให้น้ำท่วมยา ดองไว้ ๓-๔ ชั่วโมง แล้วจิบบ่อยๆ ถ้าเอาข่าอมด้วยยิ่งดี

ขนานที่ ๒ ตื่นเช้าถ้ารู้สึกเจ็บคอเนื่องจากจะเป็นหวัด ให้เอาน้ำ ๑ แก้ว ใส่เกลือ ๑/๔ ช้อนชาแล้วดื่มให้หมด

ขนานที่ ๓ เอาข้าวเหนียว ๑ กำมือ แช่น้ำไว้ ๒-๓ ชั่วโมง ดื่มน้ำนี้สักอึกสองอึก วันละ ๓-๔ ครั้ง (เอาเกลือป่นใส่ลงไปพอเค็ม) ตามธรรมดาชาวอีสานก่อนที่จะนึ่งข้าวเหนียวจะต้องเอาข้าวแช่น้ำอยู่แล้ว เรียวว่าน้ำหม่าข้าวเอาน้ำที่แช่นั้นมากินได้

ขนานที่ ๔ เมื่อเป็นหวัดเจ็บคอ ให้เอาเปลือกลูกทับทิมมาอมหรือเคี้ยว ค่อยๆกลืน อมเช้าเย็นและก่อนนอน

ขนานที่ ๕ เอาวุ้นว่านหางจระเข้อมแล้วค่อยๆเคี้ยว ค่อยๆกลืนน้ำมันไป ทำบ่อยๆ

ขนานที่ ๖ ใช้ใบฟ้าทะลายโจรสด ๕-๗ ใบใส่ในแก้ว เติมน้ำเดือดลงไปจนเต็มแก้ว ปิดฝาทิ้งไว้จนยาอุ่นแล้วรินน้ำกินวันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น กินครั้งละ ๑ แก้ว หรืออมใบฟ้าทะลายโจรสดๆ ตลอดทั้งวัน ใช้ครั้งละ ๑-๒ ใบโดยเหน็บไว้ที่เหงือกข้างแก้ม ไม่ต้องเคี้ยว

ขนานที่ ๗ เอาผักคราดหัวแหวนทั้งต้นตำผสมเหล้า เอาสำลีชุบน้ำ อมยานี้ทีละน้อย

ขนานที่ ๘ เอามะกรูดผ่าซีก เอาปูนแดงทาให้ทั่วโรยเกลือป่นเล็กน้อย น้ำไปรมควันขี้ไต้ให้ดำถ้าไม่มีก็ไม่ต้องรมแล้วบีบน้ำมะกรูดลงไปในคอ วันละ ๒-๓ ครั้ง

ขนานที่ ๙ ฝานเปลือกมะนาวเป็นชิ้นเล็กๆ เหมือนอย่างที่ใช้ใส่เมี่ยงคำ อมครั้งละ ๑ ชิ้น ค่อยๆ เคี้ยวๆค่อยๆกลืนที่ละนิด

ขนานที่ ๑๐ ใช้ใบว่านหอยแครงสดๆ ๓ ใบ ใส่น้ำ ๒ ถ้วย ต้มน้ำจะเป็นสีแดงคล้ายด่างทับทิม ใส่น้ำตาลนิดหน่อยกินต่างน้ำ

ขนานที่ ๑๑ เอามะขามป้อมจิ้มกับพริกเกลือกินแก้ไอ

ขนานที่ ๑๒ ให้อมกานพลู อมครั้งละ ๑ ดอก ค่อยๆขบ พอให้รู้สึกแตก

ขนานที่ ๑๓ เอาเปลือกกระท้อนเผาไฟพอผิวไหม้ เอาน้ำปูนใสใส่ฝาละมีหม้อดิน และเอาเปลือกกระท้อนที่เผาไฟ แล้วถูกับฝาละมีจนน้ำปูนข้น เอานิ้วเกลือก กวาดคอสัก ๒-๓ ครั้ง โรคไอจะทุเลา

ขนานที่ ๑๔ เอาลูกมะแว้งเครือสดๆ ๕-๖ ลูกน้ำมาเคี้ยว กลืนเฉพาะน้ำจนหมดแล้วคายกากทิ้ง ทำวันละ ๒-๓ ครั้ง

ขนานที่ ๑๕ ใช้ลูกมะแว้งต้นสดเคี้ยวกลืน ครั้งละ ๓-๕ ลูก วันละ ๓-๔ ครั้ง เช่นเดียวกับลูกมะแว้งเครือ

ขนานที่ ๑๖ เอาใบพลู ๑ ใบ มาห่อน้ำตาลทรายเคี้ยวให้ละเอียด ค่อยๆ กลืนทั้งน้ำทั้งกาก

ขนานที่ ๑๗ ใช้ต้นโทงเทงสดสัก ๑ กำมือ ตำคั้นเอาน้ำผสมเหล้า เอาสำลีชุบอมไว้ข้างแก้ม ค่อยๆ กลืนน้ำยาผ่าน บริเวณที่เจ็บคอที่ละน้อย

ขนานที่ ๑๘ เอาเมือกสีเขียวของลูกมะเขือขื่น ๑ ส่วน จิบกินบ่อยๆ

ขนานที่ ๑๙ ใช้ต้นและใบสดของผักต้นส้มกบ ( รากไม่ใช้ ) นำมาล้างให้สะอาด ประมาณปั้นเป็นก้อนได้เท่าหัวแม่มือ ผสมกับเกลือเล็กน้อยพอให้เค็ม อมแล้วค่อยๆ เคี้ยวกลืนน้ำผ่านลงคอไปช้าๆ วันละ ๓-๔ ครั้ง ยานี้ห้าม ใช้กับคนที่ไตไม่ดี

ขนานที่ ๒๐ ให้ดื่มน้ำอุ่นมากๆ ครั้งละหนึ่งแก้ว ทุกๆ ๒ ชั่วโมง

๑๘. เจ็บคอเป็นประจำ คนที่เจ็บคอเป็นประจำเป็นเพราะร่างกายอ่อนแอ เนื่องจากขาดการออกกำลังกาย หากไม่ออกกำลังกาย ให้แข็งแรงแล้วยากที่จะหายด้วยยา ท้องผูกมีส่วนทำให้เจ็บคอ เมื่อแก้ด้วยการออกกำลังกายและถ่ายทุกวันแล้ว ยาช่วยมีดังนี้

ขนานที่ ๑ ให้เกลือทุกเช้าและก่อนนอน ใช้เกลือ ๑ หยิบมือ โรยลงไปในคออมไว้ให้นานที่สุด (๒-๓ นาที) ก่อนบ้วนทิ้งให้กลั้วคอเสียก่อน
ขนานที่ ๒ ให้กินกระเทียมเป็นประจำ วันละ ๒ ครั้งๆละ ๗ กลีบ (ขนาดโดยเฉลี่ย) กินสัก ๑ เดือน (ถ้ากินแล้วไม่รู้สึกร้อนในให้หยุดกิน)

๑๙. ไอเรื้อรัง
ขนานที่ ๑ เอาดอกบานไม่รู้โรยทั้งขาวและแดงอย่างละเท่าๆกัน ต้มกินครั้งละ ๑ แก้ว วันละ ๓ ครั้ง

ขนานที่ ๒ เอาหัวกระเทียมสดตำให้ละเอียด หนัก ๑ ขีด น้ำตาลทรายขาวหนัก ๑ ขีด ยาทั้งสองอย่างนี้ตำให้เข้ากันดีแล้วฝังให้ข้าวเปลือกไว้ ๗ วัน (เอาข้าวเปลือกใส่ปี๊บแล้วเอายาใส่ขวดโหลฝังไว้กลางปี๊บ) เอาน้ำมากินครั้งละ ๑ ช้อนโต๊ะ วันละ ๓-๔ ครั้ง

ขนานที่ ๓ ใช้ใบหนุมานประสานกายสดๆ ค่อยๆเคี้ยว ค่อยๆกลืน ครั้งละ ๑ ช่อ วันละ ๒-๓ ครั้ง หรือจะใช้วิธีต้มกิน ใช้ใบหนุมานประสานกาย ๗-๘ ช่อใส่น้ำ ๓ แก้ว ต้มให้เหลือน้ำ ๑ แก้ว กินครั้งละ ๑ แก้ววันละ ๓ ครั้ง

๒๐. ไอมีเลือดไอมีเลือดสดๆ ออกมาจากคอใช้ใบหนุมานประสานกายสดๆ ๓ ช่อ ตำให้ละเอียดผสมกับเหล้า คั้นเอาน้ำกินและอมไว้ค่อยๆ กลืน



โรคเกี่ยวกับนม

๑. บำรุงน้ำนม หลังคลอดบุตรใหม่ๆ ให้ใช้ยาเหล่านี้คือ
ขนานที่ ๑ ใช้ไพล ๒ ส่วนตำผสมกับการบูร ๑ ส่วน ห่อผ้าประคบที่นม ทำวันละ ๒ ครั้งๆละ ๒๐ นาที
ขนานที่ ๒ ใช้ขิงสดผ่านเป็นแว่นบางๆ ๑ ขยุ้มมือ ถ้าเป็นขิงแห้งใช้ ๑ หยิบมือชงกับน้ำร้อนเดือดจัดๆ ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น ผสมน้ำตาล ๑-๒ ช้อนชากินวันละ ๓ ครั้งๆละ ๑ ถ้วย หลังอาหาร กินสัก ๒-๓ อาทิตย์
ขนานที่ ๓ ใช้หัวปลีกล้วยมาทำ แกงเลียงกินทุกวันๆละ ๑ มื้อ เป็นเวลา ๗ หรือ ๑๐ วัน
ขนานที่ ๔ เอาเม็ดขนุนมาต้มกินเป็นขนมทุกวัน กินจนพออิ่มวันละ ๑ ครั้ง กิน ๗-๑๐ วัน

๒. เต้านมอักเสบ ใช้ใบละหุ่งทาด้วยน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันพืชอังไฟพอร้อน ปิดตรงบริเวณที่อักเสบเปลี่ยนใหม่เมื่อเย็น ปิดวันละ ๓-๔ ครั้ง

๓. แผลที่หัวนม
ขนานที่ ๑ เอาใบพลูผสมกับดินสอพองที่เผาไฟแล้ว ตำให้ละเอียดจนเข้ากันดี (ดินสอพองใส่พอให้ยาติดแผล) เอายาพอกที่หัวนมเปลี่ยนยาทุกครั้งที่ยาเริ่มแห้ง
ขนานที่ ๒ ใช้เปลือกสีเสียดประมาณ ๑ หยิบมือผสมน้ำ ๑ แก้ว ต้มให้เดือดประมาณ ๑๐-๑๕ นาที ใช้น้ำล้างแผลบ่อยๆ

๔. นมคัด
ขนานที่ ๑ เอาใบพลูอังไฟพออุ่นๆ จนใบอ่อนตัวเอามาแปะที่นม วางช้อนกันหลายๆใบ หมั่นเปลี่ยนเมื่อยาเย็น
ขนานที่ ๒ เอาลูกใต้ใบทั้งต้นและราก ๑ กำมือ ตำผสมเหล้าขาวคั้นเอาน้ำกิน ๑ ถ้วยชาและเอากากพอกทำเพียงครั้งเดียว
ขนานที่ ๓ ใช้หญ้าดอกขาวทั้งต้นและรากตำให้ละเอียดผสมเหล้าพอกนม เปลี่ยนยาวันละ ๒-๓ ครั้ง

๕. นมซ่าน นมซ่านคือมีน้ำนมไหลมากเกินไป ใช้ใบพลูรักษาวิธีเดียวกันกับแก้นมคัด

โรคเกี่ยวกับหลัง

๑. ปวดหลัง ถ้าเกิดจากเส้นยึดตึงให้กินยาคลายเส้นดังต่อไปนี้ (ถ้าดัดตัวด้วยจะดีมาก)
ขนานที่ ๑ ใช้เถาวัลย์เปรียง (ชนิดที่เนื้อไม้มีสีแดงเรื่อๆ) หั่นตากแดดคั่วไฟ ชงน้ำกินต่างน้ำชา
ขนานที่ ๒ ให้เอา ลูกมะเขือขื่นสุก (ที่มีสีเหลือง) จำนวนเท่าอายุของผู้ต้องการใช้ยานี้ น้ำมาผ่าเป็น ๒ ซีกขูดเอาเฉพาะเมือกสีเขียวข้างใน นำไปตากแดดให้แห้ง เอาไข่ไก่ ๑ ฟอง เจาะเปลือกไข่ให้เป็นรู เทไข่ขาวอก คงเหลือไว้เฉพาะไข่แดง แล้วนำเมือกมะเขือขื่นที่ตากแห้งแล้วนั้นมายัดใส่เข้าใสไข่นั้นให้หมดใช้ไม้กวนผสมกัน
นำฟองไข่นั้นไปหมกไฟถ่านเผาจนเปลือกไข่ไหม้เป็นถ่าน นำไข่ที่เผานี้มาบดพอแหลกเทใส่ในขวดเหล้าขาว (เหล้าโรง) ดองไว้ ๑ คืน ใช้น้ำยารับประทานครั้งละ ๑ ถ้วยชา วันละ ๒ เวลา เช้า-เย็นทุกวันติดต่อกันประมาณ ๑ เดือน โรคปวดหลังจะหายไป
(คนที่อายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ห้าม รับประทานยานี้อย่างเด็ดขาด สำหรับคนที่ไม่ชอบเหล้า ท่านให้เอาฟองไข่ที่เผาไฟไหม้เป็นถ่านแล้วนั้น บดให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งแท้ ปั้นเป็นลูกกลอนขนาดเท่าเม็ดพุทรา ใช้รับประทานครั้งละ ๑ เม็ด วันละ ๒ เวลา เช้า-เย็นทุกวัน ก็ได้ผลดีเช่นเดียวกัน)

ขนานที่ ๓ เอาต้นเหงือกปลาหมอแห้งทั้งใบบดผง ๒-๓ ส่วนกับพริกไทยบดผง ๑ ส่วน ผสมน้ำผึ้งปั้นลูกกลอนเท่าเม็ดในพุทรา กินวันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น หลังอาหาร

ขนานที่ ๔ เอาหัวตะไคร้หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ตากแดดให้แห้งคั่วพอให้หอม ใช้ต้มหรือชงน้ำร้อนแทนน้ำเหมือนกินน้ำชา

ขนานที่ ๕ เอาต้นและใบหญ้าหนวดแมว (รากไม่เอา) ๒-๓ กำมือใส่น้ำให้ท่วมยา ต้มให้เดือดนาน ๑๐-๒๐ นาที กินวันละ ๒ ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า-เย็น
ข้อควรระวัง ยานี้ทำให้ใจสั่น คนเป็นโรคหัวใจห้ามกิน และคนเป็นโรคความดันต่ำห้ามกินเช่นกัน

ขนานที่ ๖ ใช้ใบรางแดงปิ้งไฟให้กรอบ ชงน้ำร้อนกินต่างน้ำชา หรือวันละ ๔-๕ ครั้งๆละ ๑ แก้ว เป็นยาทำให้เส้นเอ็นในร่างกายอ่อน

โรคเกี่ยวกับทวารเบา

๑. ตกขาว
ยาล้าง ใช้สารส้มขนาดเท่าเม็ดมะขาม ๑ ก้อน ละลายในน้ำ ๑ แก้ว ใช้ลูกยางดูดน้ำยาแล้วฉีด เข้าไปในช่องคลอด ฉีดล้างหลายๆหน วันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น ระวังอย่าให้สารส้มมากไปเพราะจะทำให้ผิวหนังด้าน
ยากิน ขนานที่ ๑ ใช้ต้นบานไม่รู้โรยดอกขาว ข้อก้านเขียว (ข้อก้านแดงไม่เอา) ๑ ต้น ใส่น้ำให้ท่วมยา ต้มให้เดือดนาน ๑๐-๒๐ นาที กินวันละ ๔ ครั้งๆ ละ ๑ แก้ว ก่อนอาหารและก่อนนอน

ขนานที่ ๒ ใช้รากเล็บเหยี่ยว ๑ กำมือ ข้าวเย็นเหนือ และข้าวเย็นใต้อย่างละ ๑-๒ ก้อน (ขนาดเท่าลูกเงาะ) เกลือใส่พอเค็ม ใส่น้ำท่วมยาต้มกินแก้ตกขาว กินวันละ ๓ ครั้งๆ ละ ๑ แก้ว ทั้งยังแก้ฝี มุตกิด ฝีในมดลูก แก้มดลูกพิการ เบาเป็นเลือดเป็นหนอง

ขนานที่ ๓ ให้เอาราก เปลือก และใบกระดังงาไทยอย่างละ ๑ กำมือ ข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้ อย่างละ ๒ ก้อน (ขนาดเท่าลูกเงาะ) ใส่น้ำท่วมยา ต้มกินแก้ระดูขาว และแก้ปัสสาวะพิการ กินวันละ ๓ ครั้งๆ ละ ๑ แก้ว

๒. ปัสสาวะขัด
ขนานที่ ๑ ตื่นเช้าให้กินน้ำให้มากที่สุด ถ้ากินได้ถึง ๕ แก้วยิ่งดี และในวันหนึ่งกินน้ำให้ได้ ๘-๑๐ แก้ว

ขนานที่ ๒ ใช้หัวและรากตะไคร้ ๑ กำมือ ต้มกับน้ำ ๓ แก้ว ให้เดือดนาน ๑๐-๒๐ นาที กินวันละ ๓-๔ ครั้งๆ ละ ๑ แก้ว ก่อนอาหาร

ขนานที่ ๓ ใช้รากหญ้าคาสด ๑ กำมือ ลอกเปลือกที่อยู่ระหว่างข้อออก หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่น้ำให้ท่วมยา ต้มให้เดือดนาน ๑๐ นาที กินตอนอุ่นๆ ครั้งละ 1/2 แก้ว กลางวันกิน ๕-๖ ครั้ง กลางคืนอีก ๒-๓ ครั้ง รากหญ้าคายังแก้ไตอักเสบได้ด้วย

ขนานที่ ๔ ใช้ต้นขลู่ทั้งต้นและใบ ๑-๒ กำมือ ใส่น้ำให้ท่วมยา ต้มให้เดือดนาน ๕-๑๐ นาที กินวันละ ๓-๔ ครั้งๆ ละ ๑ แก้ว เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ



webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 6/9/08 at 22:03 Reply With Quote


ขนานที่ ๕ ให้เอาฝาหอยแครง ๓ ฝามาเผาไฟให้โชน (คือเผาด้วยไฟแรงๆ นานๆ จนกรอบบดเป็นผงละเอียดได้ง่าย) เอาชะพลูทั้งต้นและราก ๑ ต้นมาปิ้งไฟให้เหลือง ผสมรวมกันใส่น้ำพอให้ท่วมยา ต้มให้เดือดนาน ๕-๑๐ นาที กินวันละ ๓ ครั้งๆ ละ ๑ แก้ว ก่อนอาหาร
 
ขนานที่ ๖  ใช้ไหมข้าวโพด (คือยอดเกสรตัวเมีย ไม่ใช่ฝอยของฝักข้าวโพด) ๑ กำมือ ใส่น้ำให้ท่วมยา ต้มให้เดือดนาน ๕-๑๐ นาที กินวันละ ๓-๔ ครั้งๆ ละ ๑ แก้ว ยานี้แก้ไตอักเสบได้ด้วย ช่วยให้ไตทำงานดีขึ้น
 
ขนานที่ ๗  ใช้ต้นและรากเตยหอมหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ อย่างละ ๑ กำมือ ใส่น้ำพอท่วมยา ต้มให้เดือดนาน ๕-๑๐ นาที กินวันละ ๔ ครั้งๆ ละ ๑ แก้ว ก่อนอาหารและก่อนนอน เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กษัยน้ำเบา

๓. นิ่ว ยาที่แก้นิ่วได้ ใช้แก้โรคปัสสาวะขัดได้เช่นกัน
ขนานที่ ๑  เอายอดอ้อย ๒-๓ ยอด ต้มกับน้ำ ๔-๕ แก้ว ต้มให้เดือดนาน ๑๐-๑๕ นาที ผสมน้ำตาลทรายพอหวานให้กินแทนน้ำ

ขนานที่ ๒  เอายอดหญ้าหนวดแมวหั่นตากแห้ง ๑-๒ หยิบมือ ใส่ลงไปในน้ำเดือด ๑ ขวดน้ำปลา ปล่อยให้เดือดต่อไปอีก ๕ นาที ให้กินแทนน้ำ
 
ขนานที่ ๓ ใช้กลีบดอกกระเจี๊ยบแดงแห้ง ๑-๓ หยิบมือ ต้มกับน้ำ ๔ แก้วให้เดือดนาน ๕-๑๐ นาที กินวันละ ๓ ครั้งๆ ละ ๑ แก้ว ก่อนอาหาร
 
ขนานที่ ๔ ใช้รากกล้วย ๑ กำมือ ต้มกับน้ำ ๓-๔ แก้ว ให้เดือดนาน ๑๐-๑๕ นาที กินวันละ ๔ ครั้งๆ ละ ๑ แก้ว ก่อนอาหารและก่อนนอน
 
ขนานที่ ๕ ใช้รากมะละกอ ๑ กำมือ ต้มกับน้ำ ๓-๔ แก้ว ให้เดือดนาน ๑๐-๑๕ นาที กินวันละ ๓-๔ ครั้งๆ ละ ๑ แก้ว ก่อนอาหารและก่อนนอน
 
๔. กษัยกล่อนลงฝัก  ปวดที่สายเม็ดอัณฑะ หรือเม็ดและขั้วอัณฑะบวม ปวดเป็นก้อนแข็ง
ยาประคบ ให้เอาการบูร ๑ ส่วน ไพล ๒-๓ ส่วน ตำทำเป็นลูกประคบอุ่นนาบนาน ๒๐-๓๐ นาที เป็นยาถอนพิษ หรือเอาไพลโขลกคั้นเอาน้ำทา

 ยากิน ขนานที่ ๑ ให้เอาต้นบานไม่รู้โรยดอกขาว ๔ ส่วน เกลือ ๒ ส่วน กระเทียม ๑ ส่วน พริกไทย ๑ ส่วน ตำให้แหลก กินก้อนเท่าหัวแม่มือ ๑ ก้อน ทุกเช้า-เย็นก่อนอาหาร เป็นยาแก้โทษกษัยกล่อนลงฝัก และตัดรากกษัยกล่อน
 ขนานที่ ๒  ให้เอาแก่นมะขาม (มะขามที่เอาฝักทำมะขามเปียก) หญ้าโคกกระสุนทั้งต้น หญ้าพันงูแดงทั้งต้น ผักเป็ดแดงทั้งต้น เอาอย่างละเท่าๆกัน ใส่น้ำให้ท่วมยา ต้มให้เดือดนาน ๕-๑๐ นาทีกินวันละ ๒ ครั้งๆละ ๑ แก้ว เช้า-เย็น ก่อนอาหาร
 
๕. ลูกอัณฑะโต เอามะละกอดิบเผาในเตาให้ร้อนจัด แล้วเอาผ้าห่อให้หนาพอที่จะเอามานาบคลึงตรงหน้าท้องบริเวณหัวเหน่าได้โดยไม่ร้อนเกินไป คลึงไปมาให้ทั่ว จนคะเนว่าความร้อนในผลมะละกอน้อยลงพอที่จะประกบอัณฑะแล้วเราทนได้ ให้ตัดขั้วออก แล้วผ่าครึ่งตามยาวของผล รีบเอามาประกบที่อัณฑะ ประกบจนเย็น ทำวันละ ๑-๒ ครั้ง
 
๖. สังคัง ขนานที่ ๑  ใช้ใบชุมเห็ดเทศตำให้ละเอียดทาวันละ ๒-๓ ครั้ง
ขนานที่ ๒  ใช้ใบลำโพงตำให้ละเอียดทาวันละ ๒-๓ ครั้ง
ขนานที่ ๓  ฝานหัวกระเทียมให้เป็นแว่นบางๆ ทาเบาๆ วันละ ๒-๓ ครั้ง


โรคเกี่ยวกับมดลูก

๑. ประจำเดือนไม่ปกติ
ขนานที่ ๑ ใช้ต้นบานไม่รู้โรยดอกขาวข้อเขียว (ข้อมีสีแดงไม่เอา) ทั้งต้นและราก ๑ ต้น ใส่น้ำให้ท่วมยา ต้มให้เดือดนาน ๑๐ นาที กินวันละ ๓-๔ ครั้งๆ ละ ๑ แก้ว ก่อนอาหาร

 ขนานที่ ๒  ใช้ใบมะนาว ๗ ใบ ใส่น้ำ ๒  แก้ว ต้มให้เดือดนาน ๑๐ นาที กินวันละ ๔ ครั้งๆละ ๑-๒ ถ้วยชา ก่อนอาหารและก่อนนอน กินทุกวันจนประจำเดือนเป็นปกติ

 ขนานที่ ๓  เอาใบมะนาว ๑๐๘ ใบ ใบมะกา ๑๒ ใบ ลูกมะกรูดผ่าสี่เอาสาม จำนวน ๓ ผล ใส่น้ำให้ท่วมยา ต้มให้เดือดนานครึ่งชั่วโมง กินวันละ ๓ ครั้งๆ ละ ๑ ถ้วยชา ก่อนอาหาร (ยานี้ให้อุ่นเช้า-เย็นด้วย)
 
ขนานที่ ๔  ใช้แก่นฝางเสนหนัก ๒ ส่วน แก่นขี้เหล็กหนัก ๑ ส่วน ใส่น้ำให้ท่วมยา ต้มให้เดือดนาน ๑๐ นาที กินวันละ ๒-๓ครั้งๆละ ๑ แก้ว ก่อนอาหาร ให้ต้มกินไว้เสมอก่อนประจำเดือนมา ประจำเดือนจะมาบริสุทธิ์และจะมาสม่ำเสมอ ทั้งแก้พิษโลหิตร้ายด้วย
 
๒. ประจำเดือนมามากเกินไป
 ขนานที่ ๑  ใช้ใบหนุมานประสานกาย ๗-๑๐ ช่อ ตำให้ละเอียดผสมเหล้าขาว ๒๘ ดีกรี ๑-๒ ช้อนแกง คั้นเอาแต่น้ำกินให้หมดเพียงครั้งเดียว
 ขนานที่ ๒  ใช้หญ้าแพรกทั้งต้น และราก ๑ กำมือตำกับเหล้า ๒-๓ ช้อนแกง คั้นเอาน้ำกินให้หมดเพียงครั้งเดียว

๓. ปวดประจำเดือน
ขนานที่ ๑  ใช้ใบข่อย  ๑ กำมือ ต้มกับน้ำ ๒-๓ ถ้วยใส่ข้าวเปลือกลงไป ๑ หยิบมือ ต้มให้เดือดนาน ½ - ๑ ชั่วโมง กินครั้งละ ½ - ๑ แก้ว ตอนที่ปวดประจำเดือน และใช้ใบข่อยตากแห้ง คั่วให้หอม ๑ หยิบมือชงกับน้ำร้อนกินต่างน้ำเป็นประจำ
 ขนานที่ ๒    ใช้เถาคันแดง ๑-๒ กำมือ ใส่น้ำให้ท่วมยา ต้มให้เดือดนาน ๕-๑๐ นาที กินวันละ ๓ ครั้งๆละ ๑ แก้ว ก่อนอาหาร กินเป็นประจำทุกวัน
 ๔. ยากินหลังคลอดบุตร
ขนานที่ ๑   หลังคลอดบุตรใหม่ๆ ให้เอาเหง้าข่าตำคั้นเอาน้ำ ผสมกับน้ำคั้นมะขามเปียกอย่างละเท่าๆกันใส่เกลือพอเค็ม กิน ๑ แก้วเต็ม เพียงครั้งเดียว ยานี้ขับโลหิตเน่าในมดลูก ขับลมในลำไส้เป็นยาระบาย แก้พิษโลหิตทำ
ขนานที่ ๒   เป็นยาขับเลือดกับน้ำคาวปลา ขับเหงื่อช่วยย่อยอาหาร และบำรุงน้ำนม ใช้ขิงสด ๑ แง่ง ขนาดเท่าหัวแม่มือ หรือขิงแห้ง ๑ หยิบมือต่อน้ำ ๑ แก้ว ชงน้ำร้อน หรือต้มให้เดือดนาน ๑๐-๑๕ นาที ทิ้งไว้ให้เย็น กินวันละ ๓-๔ ครั้งๆละ ๑ แก้ว ก่อนอาหารและก่อนนอน
 
๕. ยาอาบหลังคลอดบุตร เอาหัวไพล ใบมะขาม ต้นตะไคร้ ใช้อย่างละ ๑-๒ กำมือ ส่วนไพลใส่ให้มากหน่อย ใส่หม้อใหญ่ๆ ต้มพอเดือดแล้วยกลง ยืนให้ชิดเอาหม้อเอาผ้าห่มผืนใหญ่ๆ คลุมตัวและหม้อ ให้ไอน้ำอบตัวจนหมดไอ พอน้ำอุ่นแล้วเทใส่กะละมังใหญ่ๆ แล้วนั่งแช่อาบ ทำ ๗ วันๆ ละ ๑-๒ ครั้ง จะช่วยขับเหงื่อทำให้รู้สึกสบาย เบาเนื้อ เบาตัว ทำให้แผลหลังคลอดหายเร็ว และช่วยบำรุงผิวด้วย
 
๖. ยาขับน้ำคาวปลา  
หลังคลอดบุตรแล้วน้ำคาวปลาไม่เดินทำให้รู้สึกตัวร้อนผิวร้อน จิตใจกระสับกระส่าย แน่นหน้าอก ท้องอืด
ขนานที่ ๑  ใช้พริกขี้หนูแห้ง ๑ กำมือ คั่วในกะทะจนกระทั่งมีควันพุ่งขึ้นมา จุดไฟแหย่ลงไปให้พริกขี้หนูติดไฟจนกระทั่งดำเป็นถ่านจนหมด ตักขึ้นมาหาถ้วยครอบให้ไฟดับ นำถ่านพริกไปบดผงใช้ผงถ่านนี้ ๑ ช้อนแกงผสมกับน้ำส้มสายชู ½ - ๑ ถ้วยชา กินครั้งเดียว ครั้งต่อไปให้ใช้เหล้าแทนน้ำส้มสายชู กินวันละ ๒-๓ ครั้งจนอาการหายไป
 ขนานที่ ๒  ใช้ใบกระบือเจ็ดตัว ๗-๘ ใบ ตำให้ละเอียดผสมเหล้า ๑-๒ ช้อนแกง คั้นเอาน้ำให้กินเพียงครั้งเดียว
 
๗. ปวดมดลูก ใช้หัวว่านชักมดลูก ฝานเป็นแว่นบางๆ ๗-๑๐ แว่นใส่น้ำ ๒-๓ แก้ว ต้มให้ยาเดือดนาน ๑๐ นาที กินวันละ ๒-๓ ครั้งๆ ละ ๑ แก้ว ก่อนอาหาร

โรคเกี่ยวกับขาและเท้า

๑. ปวดเมื่อยขา  ตอนเช้าใช้กะลาซีกที่มีรูคว่ำลงเอาเพียงซีกเดียว  แล้วใช้เท้าเหยียบบนกะลา กดไปมาทั้งสองเท้าให้ทั่วจะรู้สึกตึงทุกส่วนขา เหมือนมีคนมาบีบนวดให้

๒. ขาถูกมดกัด
 เวลาเด็กไปเหยียบรังมดแดง ให้ราดน้ำล้างตัวมดออก เอาผงขมิ้นลูบขาทั้งที่ยังเปียกอยู่ ขมิ้นจะดับพิษมดแดงให้หายปวดคัน และช่วยรักษาแผลด้วย

๓. น้ำกัดเท้า
ขนานที่ ๑ เอาก้อนสารส้มใส่ลงในช้อน แล้วเอาช้อนไปลนไฟเทียนจนสารส้มละลายเป็นน้ำ ใช้ก้านไม้ขีด จุ่มลงในน้ำสารส้ม แล้วเอามาทาบริเวณที่ถูกน้ำกัดเท้า (ทาบางๆ) ทาวันละ ๓-๔ ครั้ง
 ขนานที่ ๒   ใช้สารส้มสะตุบดผง ๑ ส่วนผสมกับดินสอพองเผาไฟ ๑ ส่วน ทาวันละ ๓-๔ ครั้ง
 ขนานที่ ๓   เอากะเม็งตัวเมียทั้งต้น (รากไม่เอา) ตำสดๆ คั้นเอาแต่น้ำผสมกับดินสอพองพอทาติด ทาวันละ ๓-๔ ครั้ง
 ขนานที่ ๔  เอาลูกมะเกลือดิบมาตำให้แหลก บีบเอาน้ำทาแผลวันละ ๓-๔ ครั้ง

๔. เล็บเท้า โรคต่างๆของเล็บเท้าให้ดูเล็บมือ

๕. ส้นเท้าแตก  ขนานที่ ๑   เอาขี้ผึ้งสีปากทา วันละ ๓-๔ ครั้ง
ขนานที่ ๒    ใช้ยางจากต้นรัก ทาวันละ ๓-๔ ครั้ง
ขนานที่ ๓  ใช้ยางจากต้นมะม่วงทาวันละ ๓-๔ ครั้ง

โรคเกี่ยวกับมือ
๑. น้ำกัดมือ ขนานที่ ๑ ถ้าเกิดจากการทำนา หรือมือแช่อยู่ในน้ำนานๆ ทำให้มือเน่าเปื่อย ใช้น้ำคั้นจากใบกะเม็งตัวเมียทาบ่อยๆ หรือวันละ ๔-๕ ครั้ง ใบกะเม็งตัวเมียยังใช้ป้องกันน้ำกัดได้ โดยใช้น้ำคั้นจากใบทาบริเวณมือ ปล่อยให้แห้ง ทาก่อนและหลังลงไปทำนา
ขนานที่ ๒  ถ้าเกิดจากซักผ้ามากๆ เกิดเป็นตุ่มใสคัน ให้เอาใบเทียนดอกขยี้ทาวันละ ๓-๔ ครั้ง
 
๒. มือเป็นผื่นคันเวลาเก็บเกี่ยวข้าว
ขนานที่ ๑  ใช้ต้นกะเม็งตัวเมียสดๆ  ทั้งต้นทั้งราก  ๑  กำมือ ใส่น้ำพอท่วมยา ต้มให้เดือดนานประมาณครึ่งชั่วโมง ใช้น้ำต้มนี้ล้างมือ (หรือจะใช้น้ำคั้นจากต้นกะเม็งทาก็ได้)
ขนานที่ ๒ ใช้ใบตำลึงขยี้ทามือและแขนที่คัน
 
๓. มือร้อนจากพริก
ขนานที่ ๑ เอามือจุ่มลงในน้ำซาวข้าวสัก ๕-๑๐ นาที
ขนานที่ ๒ เอาเมือกว่านหางจระเข้ทามือบ่อยๆ
 
๔. หนังมือลอก เอาน้ำมันมะพร้าวทาตามบริเวณที่ลอก  วันละ  ๓-๔  ครั้ง เวลาทาควรจะถูนวดเบาๆ สัก ๕-๑๐ นาที เพื่อให้น้ำมันซึมเข้าผิวหนัง
 
๕. ปวดข้อนิ้วมือและนิ้วเท้า ใช้ใบเทียนดอกตำ พอกที่ข้อนิ้วมือ หรือนิ้วเท้า เปลี่ยนยาวันละ ๒-๓ ครั้ง

๖. หิด  
ขนานที่ ๑ ใช้เมล็ดลำโพง  ๖  ช้อนโต๊ะ แช่ในน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันพืช ๒ แก้ว นาน ๗ วัน กรองเอาน้ำมันทา วันละ ๓-๔ ครั้ง
 ขนานที่ ๒ ใช้ใบหรือดอกเลี่ยนขยี้ทา หรือใช้น้ำมันจากลูกเลี่ยนทาวันละ ๓-๔ ครั้ง
 
๘. หิดเรื้อรัง ใช้ต้นเจตมูลเพลิงขาว(ทั้งใบ) ตำคั้นเอาน้ำทาใส่แผลหิดเรื้อรัง วันละ ๔ ครั้ง
 
๘. ปูนซิเมนต์กัดมือ
ขนานที่ ๑ เอาน้ำมะนาวทาให้ทั่วมือ  แล้วใช้เปลือกมะนาวถู  ทิ้งไว้สักพักพอให้มือแห้ง  แล้วฟอกสบู่มะนาวจะล้างคราบปูนออกหมด
ขนานที่ ๒ ให้เอายางมะละกอ  ๑  ส่วนผสมน้ำ ๒ ส่วน กวนให้เข้ากันแล้วเอามือจุ่มลงล้างให้หมดคราบปูนจากนั้น จึงล้างด้วยน้ำสะอาดอีกที

๙. ตะมอย
เป็นฝีชนิดหนึ่งขึ้นตามข้อนิ้วมือ  โรคนี้ถ้าถูกกับยา จะรู้สึกดีขึ้นภายในครึ่งชั่วโมง ถ้าพอกยาแล้วรู้สึกเฉยๆ หรือรู้สึกร้อนมากขึ้นให้เปลี่ยนยาทันที
ขนานที่ ๑ ใช้หัวฝักหนามสดหั่นเป็นชิ้น ใส่หม้อใส่เกลือต้มรมหัวฝีตะมอยที่ยังไม่ตั้งหนองให้ยุบแห้ง

ขนานที่ ๒ ใช้ใบเสลดพังพอนตัวเมียตำผสมเหล้าพอให้ยาเปียก  นำมาพอกไว้ตลอดเวลา เปลี่ยนยาใหม่วันละ ๒-๓  ครั้ง 
 
ขนานที่ ๓ เอาใบขี้เหล็กครึ่งกำมือ ใบกรุงเขมาครึ่งกำมือ ใบถั่วแระครึ่งกำมือ ทั้งสามอย่างนี้ตำเข้าด้วยกันให้แหลก แล้วแบ่งเอามาพอกที่ปวด เปลี่ยนยาวันละ ๒-๓ ครั้ง

 ขนานที่ ๔ เอาข้าวเหนียวดำที่ยังไม่หุง ๑ กำมือ ใบพลู ๑ กำมือ หญ้าเกล็ดหอย ๑ กำมือ หญ้าหูปลาช่อน ๑ กำมือ พิมเสน ๑ ช้อนโต๊ะ ต้มให้เดือดแล้วยกลง เอามือเข้าไปรมอบไอของยาจนหมดควันร้อน
 
ขนานที่ ๕ ขูดวุ้นว่านหางจระเข้ใส่ลงในถุงพลาสติกใบเล็กๆ  (ที่เขาใช้ใส่น้ำจิ้ม  หรือ  พริกขี้หนู น้ำปลา) ใส่สัก ครึ่งถุงเอานิ้วที่เป็นตะมอยจุ่มลงไป  ให้หัวตะมอยจมอยู่ในวุ้นว่านหางจระเข้  ใช้เชือกผูกปากถุงให้ ติดกับนิ้วไว้ ยานี้ใช้กับฝีตะมอยที่ตั้งหนองแล้วให้แตกไว
 
ขนานที่ ๖ ใช้ใบ รากและต้นของพลับพลึงมาหั่นเป็นท่อนๆ  ใส่หม้อต้มรมแผลฝีตะมอยที่แตกแล้วแต่หัวยังไม่ออกให้ หลุดออกมา
 
๑๐. หัวลำมะลอก เป็นฝีชนิดหนึ่งมักขึ้นที่นิ้วและที่มือขึ้นเป็นเม็ดขนาดเท่าเม็ดข้าวโพด  แรกเริ่มเป็นตุ่มใส  เจ็บ  ปวดมาก โรคนี้ถ้าถูกกับยาจะหายเร็ว เช่นเดียวกับตะมอย

ขนานที่ ๑ เอาใบมันเทศ ๑-๒ ใบ โขลกให้ละเอียด หยดน้ำส้มสายชูพอให้ยาข้น พอกไว้ตลอดเวลา เปลี่ยนยาวันละ ๓ ครั้ง

ขนานที่ ๒ ใช้ใบเสลดพังพอนตัวผู้ครึ่งกำมือ  หัวว่านมหากาฬโตเท่านิ้วมือ ๒ หัว ข้าวสุกก้อนโตเท่านิ้วโป้ง ๒ ก้อน เกลือใส่แกง  ๓  เม็ด ตำให้เข้ากันดีแล้วพอกไว้ตลอดเวลา เปลี่ยนยาวันละ ๓ ครั้ง (ต้องใส่น้ำให้ยา เปียกอยู่เสมอและไม่ควรทำยานี้ใช้ข้ามวัน  เพราะข้าวจะบูด) และถ้ามีต้นเสาวคนธ์ เอารากมาย่างไฟ พอเหลือง แล้วสับใส่หม้อต้มกินจะดียิ่งขึ้น

โรคเกี่ยวกับเล็บ
๑. เล็บมือติดเชื้อรา
    ขนานที่ ๑   ใช้น้ำมะกรูดทาบ่อยๆ
    ขนานที่ ๒   ใช้น้ำคั้นจากขมิ้นชันทาบ่อยๆ
    ขนานที่ ๓   ใช้ใบเทียนดอกขยี้ทาบ่อยๆ
    ขนานที่ ๔   เอาน้ำมันยาง (ที่ใช้ผสมชันยาเรือ) ทาวันละ ๓-๔ ครั้ง
 
 
๒. เล็บขบ
    ขนานที่ ๑   ให้ตัดเล็บบ่อยๆ แต่อย่าให้เกิดแผล หมั่นตัดบ่อยๆ อย่าทิ้งจนเนื้อเจ็บแล้วจึงตัด
    ขนานที่ ๒   ใช้ไพลสด  ๑  แง่งยาวสัก ๒ นิ้ว เกลือ ๑ หยิบมือ ข้าวสุก ๑ กำมือ โขลกรวมกันพอเหนียวพอกที่เล็บแล้วเอาผ้าพันไว้ เปลี่ยนยาตอนเช้าและเย็น
    ขนานที่ ๓   เอาใบเทียนดอกหรือเทียนกิ่ง ตำพอกบริเวณที่เล็บขบ เปลี่ยนยาตอนเช้าและเย็น
    ขนานที่ ๔   ใช้น้ำมันมะพร้าวหยอดขอบเล็บที่ขบก่อนนอนทุกคืน อาการจะค่อยบรรเทาและหายไป
ขนานที่ ๕   เอามะนาวมาฝานตรงส่วนหัวออก   ขนาดพอนิ้วสอดเข้าไปได้  ใช้มีดคว้านเอาเนื้อข้างในออกเล็กน้อย แล้วเอาปูนแดงทาบางๆ เอานิ้วสอดเข้าไปทิ้งไว้ (ทำก่อนนอน) ทำสัก ๒-๓ ครั้ง เล็บจะหาย
 
๓. เล็บช้ำ
    ขนานที่ ๑   ใช้ใบและดอกของเทียนดอกตำพอกที่เล็บตลอดเวลา   เปลี่ยนยาวันละ  ๒-๓  ครั้ง  พอกไปเรื่อยๆจนเล็บร้อน(ประมาณ ๒ วัน)แล้วจึงหยุดใช้ยา
    ขนานที่ ๒   เอาใบเทียนกิ่งตำผสมกับเหล้าขมิ้นอ้อย ใช้อย่างละเท่าๆกัน ใส่เกลือเล็กน้อย พอกหุ้มเล็กเปลี่ยนยาวันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น เป็นยารักษาเล็บกันเล็บถอด
    ขนานที่ ๓   ใช้ใบพลู ๑-๒ ใบ เกลือ ๑ หยิบมือ ตำผสมกันให้ละเอียดพอก เปลี่ยนยาวันละ ๒-๓ ครั้ง

โรคเกี่ยวกับหน้าอก
๑. หืด
ขนานที่ ๑   ใช้ใบหนุมานประสานกาย ๗-๑๐ ช่อใส่น้ำ ๒-๔ แก้ว ต้มให้เดือดนาน ๒๐-๓๐ นาทีกินวันละ ๒ ครั้งเช้า-เย็น ครั้งละ ½ - ๑  แก้ว
 
ขนานที่ ๒   ใช้แก่นฝางเสนหนัก  ๒ บาท ๒ สลึง แก่นแสมสารหนัก ๖ บาท ๒ สลึง เถาวัลย์เปรียงหนัก ๒ บาท ๒ สลึง  หัวหญ้าแห้วหมูหนัก ๒ บาท ใส่น้ำพอท่วมยา ต้มให้เดือดสัก ๑๐ นาที กินวันละ ๔ครั้งๆละ ๑ แก้ว  ก่อนอาหารและก่อนนอน ต้มกินจนยาเจือแล้วต้มใหม่ กินจนกว่าจะหาย

ขนานที่ ๓   ให้เอาผลมะเขือขื่น  หัวไพลสด ตำคั้นเอาน้ำให้ได้อย่างละ ๑ แก้ว ยาตำหนัก ๑ บาท มะพร้าว ๑ ซีก คั้นเอาน้ำกะทิ  ยาทั้งหมดนี้ใส่รวมกัน  เคี่ยวในกระทะกวนจนเหนียวพอปั้นเป็นลูกกลอนได้  กินวันละ  ๓ ครั้งๆละ ๑-๒ เม็ด ก่อนอาหาร (ถ้าคนธาตุอ่อน ต้องลดยาดำ)
 
๒. หืดในเด็กเล็ก
ขนานที่ ๑   เอาลูกมะเขือขื่นผ่าคั้นเอาน้ำ  เอาน้ำนั้นมาหุงกับข้าวเหนียวดำจนสุก นำไปตากแดดให้แห้ง คั่วให้กรอบ ทำผงละลายน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อมให้เด็กกิน
ขนานที่ ๒   ใช้กระเทียมหัวใหญ่  ๓  หัว  ปอกเปลือกใส่ลงในหม้อ  เทน้ำลงไป ๒ แก้ว ต้มเคี่ยวให้เดือดกรุ่นๆจนเหลือน้ำครึ่งหนึ่ง  เติมน้ำส้มสายชูแท้ลงไป  ๑  แก้ว น้ำตาลครึ่งแก้ว ต้มต่อไปจนเป็นน้ำเชื่อม เก็บใส่ขวดไว้ กินครั้งละ ๑-๒ กลีบ พร้อมกับน้ำเชื่อมกระเทียม ๑ ช้อนแกง กินทุกเช้า
 
๓. ปอดหรือหลอดลมอักเสบ
ขนานที่ ๑   ใช้ใบหนุมานประสารกาย  ๗-๑๐  ช่อใส่น้ำ  ๒-๔  แก้ว  ต้มให้เดือดนาน  ๒๐-๓๐นาที กินวันละ ๒ ครั้งเช้า-เย็น ครั้งละ ½ -๑ แก้ว
 ขนานที่ ๒   ใช้กระเทียม  ๕-๗ กลีบฝานเป็นแว่นบางๆ ใส่แก้ว เติมน้ำเดือดให้เต็มแก้ว ปิดฝาทิ้งไว้ให้เย็นกินแต่น้ำ วันละ ๔ ครั้งๆ ละ ๑ แก้ว หลังอาหารและก่อนนอน
 
๔. ปอดหรือหลอดลมอักเสบในเด็กอ่อน
ขนานที่ ๑   ใช้รากว่านน้ำ ฝนกับเหล้าเจือน้ำเล็กน้อย ทาหน้าอกเด็ก เป็นยาดูดพิษ แก้หลอดลม และปอดอักเสบ ทาวันละ ๓-๔ ครั้ง
 ขนานที่ ๒   ใช้ใบพลู  ๔-๕ ใบมาอังไฟจนใบอ่อนตัว ทาด้วยน้ำมันพืช วางบนหน้าอกในขณะที่ใบพลูยังอุ่นอยู่ วางซ้อนกันเป็นชั้นๆ  พอใบพลูเย็นให้เปลี่ยนใบพลูใหม่ ทำแบบเดิมหลายๆหน ทำวันละ ๒-๓ ครั้ง หรือเอาน้ำคั้น จากใบพลูสด ๒ ช้อน กับปูนแดง ๑ ช้อน ผสมให้เข้ากันดีทาบน หน้าอกเด็ก

๕. บำรุงปอด ให้กินกระเทียมดองเป็นประจำทุกวันๆละ  ๑-๒  ครั้ง กินพร้อมกับกินข้าวครั้งละ ๑/๒ -๑ หัว กินเป็นยาบำรุงปอดสำหรับคนป่วยที่เป็นโรคปอดต่างๆ

๖. บำรุงหัวใจ
ขนานที่ ๑   หั่นใบเตยหอมให้เป็นชิ้นเล็กๆ ตากแห้ง คั่วไฟให้หอม ใช้ชงน้ำร้อนกินต่างน้ำชา ช่วยบำรุงหัวใจ ให้ชุ่มชื่น
 ขนานที่ ๒   ใช้ต้น รากและใบชุมเห็ดเทศ หั่นตากแดดให้แห้ง คั่วให้เหลืองกรอก (เพื่อฆ่าพิษ) ผสมกันต้มกินต่างน้ำชา   (ใช้ยา ๑ กำมือ ใส่น้ำให้ท่วมยาต้มให้เดือดนาน ๕-๑๐ นาที) เป็นยาทำให้หัวใจเป็นปกติ
ข้อควรระวัง  อย่ากินมากไปจะทำให้ถ่าย
 
๗. เส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบ
ใช้ดีบัวแห้ง ๑ หยิบมือ ชงกับน้ำร้อน ๑ แก้ว กินวันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร

โรคเกี่ยวกับผิวหนัง
๑. กลากเกลื้อน
   ขนานที่ ๑   ใช้ใบชุมเห็ดเทศขยี้เอาน้ำทา ให้ทาบ่อยๆ ถ้ามีปูนแดง ขยี้ผสมลงไปด้วยจะทำให้มีสรรพคุณดีขึ้น
ขนานที่ ๒    ใช้ใบหรือรากทองพันชั่งแห้ง แช่เหล้าพอท่วมยา ๗ วัน ใช้ทาบ่อยๆ
 ขนานที่ ๓    ใช้กระเทียมฝานเป็นแว่นบางๆ ทาวันละ ๒-๔ ครั้ง (ระวังอย่าขยี้กระเทียมถูทาผิวหนังแรงไป เพราะกระเทียมจะกัดผิวมาก)
ขนานที่ ๔    เอาใบน้อยหน่าตำให้ละเอียดทาบ่อยๆ หรือวันละ ๔-๕ ครั้ง
 ขนานที่ ๕    ใช้ใบชุมเห็ดไทยขยี้หรือตำผสมน้ำมะนาวทาวันละ ๓-๔ ครั้ง
 ขนานที่ ๖    เอาเหง้าข่าแก่ๆ ตำให้แหลก ใส่เหล้าพอท่วมยาแช่เหล้าไว้ ๑ คืน เอาน้ำยาทาวันละ ๓-๔ ครั้ง
 ขนานที่ ๗    เผากะลามะพร้าวให้ลุกโชน เอากะละมังครอบไม่ให้อากาศเข้าจนไฟดับ ปล่อยไว้ให้เย็นเปิดกะละมังออก ที่ก้นกะละมังจะมีน้ำมันเหนียว เอาน้ำมันนี้ทาวันละ ๓-๔ ครั้ง
 
๒. เคล็ด ขัด ยอก ฟกช้ำ
   ขนานที่ ๑   เมื่อแรกเป็นใหม่ๆ ให้เอาน้ำแข็งใส่ถุงพลาสติกประคบ หลังจากเป็นเกิน ๑ วัน แล้วใช้น้ำร้อนใส่ถุงพลาสติกประคบ วันละ ๒-๔ ครั้ง ครั้งหนึ่งนาน ๑๕-๓๐ นาที
 ขนานที่ ๒    ใช้เหง้าไพลตำให้แหลกพอก เอาผ้าพันไว้ เปลี่ยนยาวันละ ๒-๔ ครั้ง
 ขนานที่ ๓   ใช้หญ้าใต้ใบชนิดแดงทั้งต้นตำพอกถอนพิษฟกช้ำได้ดี เปลี่ยนยาวันละ ๓-๔ ครั้ง
 ขนานที่ ๔   ใช้ใบพลับพลึงลนไฟให้อ่อนพันตามอวัยวะที่เคล็ด ยอก บวม แพลง และถอนพิษได้ดี
ขนานที่ ๕    ใช้ใบว่านมหากาฬโขลก พอกที่บวมช้ำ วันละ ๒-๔ ครั้ง
 ขนานที่ ๖   ใช้หญ้าแพรกทั้งต้นและรากตำกับเหล้า คั้นเอาน้ำทา จะทำให้เย็น ถอนพิษเจ็บปวด แก้อักเสบ
 ขนานที่ ๗   ใช้ยาดำฝนกับเหล้าให้ข้นๆ ทาแก้อาการปวดฟกช้ำ ทาวันละ ๓-๔ ครั้ง

๓. ผิวหนังแห้ง เอาน้ำมันมะพร้าวทาวันละ ๒-๓ ครั้ง

๔. ผิวหนังคันจากตัวหนอน หรือใบไม้คัน
 ขนานที่ ๑    เอาใบตำลึงมาขยี้ให้ช้ำ ทาบ่อย
ขนานที่ ๒    เอาใบผักบุ้งมาขยี้แล้วถูบริเวณที่คัน
 ขนานที่ ๓    เอากะปิมาปั้นคลึงตรงที่ถูกขนใบไม้คัน กะปิจะช่วยดูดขนใบไม้พิษด้วย
 ขนานที่ ๔    เอาขี้ผึ้งลนไฟให้ร้อนคลึงแผลถูกขนหนอน ยังไม่เปื่อย ชักขนหนอนในแผลออก
 ขนานที่ ๕    เอาเปลือกต้นเพกา ฝนด้วยน้ำปูนใสทาแก้แผลถูกขนหนอนเมื่อเปื่อยแล้ว ทาวันละ ๓-๔ ครั้ง
 ขนานที่ ๖    เอาเปลือกต้นมะขามฝนกับน้ำปูนใส ทาวันละ ๓-๔ ครั้ง แก้แผลถูกขนหนอนเมื่อเปื่อยแล้ว
 
๕. ผื่นคันหรือตุ่มคัน
 ยาทา ขนานที่ ๑    ใช้ข้าวสุกตำพอก บรรเทาอาการผื่นคันและผื่นแสบร้อนที่ผิวหนัง
   ขนานที่ ๒    เอาดินสอพอง ๓ ส่วนผสมกับพิมเสน ๑ ส่วนบดให้ละเอียด ทาผิวหนัง
         ขนานที่ ๓    ใช้ผงขมิ้นชันละลายน้ำทาทุกครั้งที่คัน หรือวันละ ๓-๔ ครั้ง
 ยาอาบ
ขนานที่ ๑    ให้เอาใบและเปลือกเลี่ยนรวมกันให้ได้ ๑ / ๔ หม้อใหญ่ๆ เกลือ ๑ ถ้วยชา เติมน้ำเต็มหม้อต้มอาบ ก่อนอาบให้อาบน้ำฟอกสบู่ให้สะอาดเสียก่อน จึงอาบยานี้วันละ ๑-๒ ครั้ง ยาหม้อหนึ่งใช้ต้มอาบได้ ๕-๖ ครั้ง อาบแล้วไม่ต้องล้างยาออก
 ขนานที่ ๒    ให้เอาต้นเหงือกปลาหมอทั้งราก สดหรือแห้งก็ได้ สับเป็นท่อนเล็กๆ ๑ ขัน ผสมกับน้ำ ๓-๔ ขัน ต้มให้ยาเดือด ๑๐ นาที ก่อนอาบให้อาบน้ำฟอกสบู่ให้สะอาดเสียก่อน อาบน้ำยาเมื่อยังอุ่นๆอยู่ วันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น ครั้งละ ๓-๔ ขัน (อาบแล้วไม่ต้องอาบน้ำธรรมดาอีก)
 ขนานที่ ๓    ใช้ใบชุมเห็ดเทศ ๓-๔ ก้าน ใส่น้ำให้ท่วมยา ต้มให้เดือดนาน ๕-๑๐ นาที ใช้น้ำยานี้อาบในขณะอุ่นๆ วันละ ๒ ครั้งเช้า-เย็น (อาบหลังจากอาบน้ำเสร็จแล้ว และไม่ต้องล้างน้ำยาออก)
 
๖. ประดง มีอาการคันทั่วตัว
   ขนานที่ ๑    ใช้หัวยาข้าวเย็นเหนือข้าวเย็นใต้อย่างละ ๓-๔ หัว ใส่น้ำ ๔-๕ แก้ว ต้มให้เดือดนาน ๒๐-๓๐ นาที กินวันละ ๓-๔ ครั้งๆละ ๑ / ๒  - ๑ แก้ว
   ขนานที่ ๒    เอาต้นเหงือกปลาหมอตากแห้ง ๒-๓ ส่วนกับพริกไทย ๑ ส่วน ผสมน้ำผึ้งปั้นลูกกลอนกิน ครั้งละ ๑-๒ เม็ด ก่อนอาหารเช้า-เย็น ยานี้ต้องกินเป็นปีจึงจะเห็นผล
หรือจะเอาต้นเหงือกปลาหมอมาต้มน้ำกินก็ได้ ใช้เหงือกปลาหมอสดหรือแห้งก็ได้สับเป็นท่อนๆ ใส่น้ำให้ท่วมยา ต้มให้เดือดนาน ๑๐ นาที กินวันละ ๓ ครั้งๆละ ๑ แก้ว ก่อนอาหาร (มีบางคนแพ้ เหงือกปลาหมอ จึงควรกินแต่น้อยดูก่อน)
 ขนานที่ ๓    ใช้ทองพันชั่งทั้งต้นและรากแห้ง ๑-๒ กำมือ ต้มกับน้ำ ๓-๖ แก้ว ต้มให้เดือดนาน ๑๕ -๓๐ นาที กินวันละ ๓-๔ ครั้งๆ ละ ๑ แก้ว ก่อนอาหารและก่อนนอน

๗. ยาล้างแผล
   ขนานที่ ๑    ใช้เปลือกของต้นมะขาม ๑ กำมือต้มกับน้ำ ๓ แก้ว ให้เดือดนาน ๒๐-๓๐ นาที เอาน้ำมาล้างแผล ช่วยสมานแผลด้วย
 ขนานที่ ๒    ใช้ต้นผักเบี้ยใหญ่สด ๑ กำมือ ตำให้และต้มกับน้ำ ๔-๕ แก้วให้เดือดนาน ๒-๓ นาที ตั้งทิ้งไว้ให้พออุ่นนิดๆ เอาน้ำยาล้างแผล
 ขนานที่ ๓    ใช้ใบฝรั่ง ๑ กำมือ ต้มกับน้ำ ๓-๔ แก้วให้เดือดนาน ๑/๒-๑  ชั่วโมง เอาน้ำยาล้างแผล
 ขนานที่ ๔    ใช้เปลือกต้นแค ๑ กำมือใส่ต้มกับน้ำ ๓-๕ แก้วให้เดือดนาน ๓๐ นาที เอาน้ำยาที่ใช้ชะล้างบาดแผล

แผล
๑. แผลช้ำบวม ใช้ใบพลู ๑-๒ ใบ ตำผสมกับเกลือ ๑-๒ หยิบมือพอกวันละ ๒ ครั้ง ต้องคอยหยอดน้ำให้ยาเปียกอยู่เสมอด้วย

๒. แผลถูกไม้ทิ่มตำ ใช้ใบพลูเช่นเดียวกับแผลช้ำบวม

๓. ลบรอยแผลเป็น แผลเป็นที่ใหม่ๆ คือยังเป็นไม่ถึง ๖ เดือน นั้นยังมีโอกาสให้ยาช่วยได้ ให้ใช้ยาดังนี้คือ
 ขนานที่ ๑   ใช้น้ำเมือกว่านหางจระเข้ทาบ่อยๆ วันละ ๓-๔ ครั้ง
 ขนานที่ ๒   ใช้น้ำมะนาวผสมดินสอพองทาวันละ ๒-๓ ครั้ง

๔. แผลพุพอง
ขนานที่ ๑   ใช้ต้นเหงือกปลาหมอ ๑-๒ ขันต้มกับน้ำ ๓-๖ ขันให้เดือดนาน ๑๐-๑๕ นาที อาบในขณะที่ น้ำยังอุ่นๆ วันละ ๒ ครั้งเช้า-เย็น และแบ่งเอาน้ำยามากินด้วยครั้งละ ๑ แก้ว วันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น
 ขนานที่ ๒   ใช้ใบมะลิสดตำในกะลามะพร้าวที่พึ่งขูดใหม่ๆ คั้นเอาน้ำยาที่ได้แต้มแผลวันละ ๓-๔ ครั้ง
 ขนานที่ ๓   เอาเปลือกผลมังคุดตากแห้ง ฝนกับน้ำให้น้ำยาข้นพอควร ทาแผลวันละ ๓-๔ ครั้ง
 ขนานที่ ๔   เอาใบมะละกอ ๕-๖ ใบตากแห้ง คั่วให้กรอบ ป่นให้ละเอียดแล้วเอามะพร้าว ๑ ซีกขูดคั้นเอาน้ำกะทิ เอาผงมะละกอมาเคี่ยวกับน้ำกะทิ ใช้ไฟอ่อนๆ จนกะทิกลายเป็นน้ำมัน เอาน้ำมันที่ได้ทาแผลวันละ ๓-๔ ครั้งและหลังอาบน้ำ

๕. แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
ขนานที่ ๑   เมื่อแรกถูกใหม่ๆ ถ้าถูกบริเวณมือหรือเท้า ให้จุ่มในน้ำมันเครื่องที่ยังไม่ได้ใช้ ถ้าจุ่มไม่ได้ก็เอาน้ำมันเครื่องมาทาจะช่วยให้หายปวดแสบปวดร้อน เมื่อหายปวดแล้วจึงใช้ยาอื่นต่อไป
 ขนานที่ ๒   ใช้น้ำเมือกว่านหางจระเข้ทาให้ผิวหนังเปียกชุ่มอยู่เสมอในวันแรกที่เป็น หลังจากนั้นทาบ่อยๆ หรือทาวันละ ๔-๕ ครั้ง
 ขนานที่ ๓   ใช้น้ำแข็งประคบทันที ถ้าไม่มีน้ำแข็งให้แช่บริเวณถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวกลงในน้ำเย็น ตลอดเวลาจนแผลเย็นสนิท
 ขนานที่ ๔   ใช้น้ำผึ้งแท้ทาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกให้เปียกชุ่มอยู่เสมอ จะช่วยบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน
ขนานที่ ๕   เอาปูนแดงก้อนขนาดเท่าปลายนิ้วชี้ไปเผาไฟให้โชน แล้วละลายในน้ำต้มสุกใหม่ ๒ แก้ว คนให้ทั่วทิ้งไว้ให้ปูนนอนก้น รินเอาน้ำใสๆออกมา เอาน้ำปูนใสที่ได้นี้ ๑ ส่วน ผสมกับน้ำมันมะพร้าวที่พึ่งเคี่ยวใหม่ๆ ๑ ส่วน โดยค่อยๆ เทน้ำมันมะพร้าวลงในน้ำปูนใส คอยคนอยู่เสมอ จะได้ครีมข้นสีขาว เอาผ้าขาวบางชุบครีมนี้ให้ชุ่มปิดแผล เปลี่ยนยาวันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น

๖. แผลมีหนอง
ขนานที่ ๑   ใช้ใบฝรั่งตำกับข้าวสุกให้ละเอียด (ใช้อย่างละเท่าๆกัน) พอกที่แผล เปลี่ยนยาวันละ ๒-๔ ครั้ง
 ขนานที่ ๒   เอาเปลือกลูกมังคุดแห้ง เนื้อในลูกหมากที่สุกจนแห้งแล้ว ฝนกับน้ำจนได้น้ำยาพอข้นผสมปูนแดงกับพิมเสนลงไปเล็กน้อย ทาแผลวันละ ๒-๔ ครั้ง (ถ้าไม่มีลูกหมากกับพิมเสนจะใช้แต่มังคุดอย่างเดียวก็ได้)
 ขนานที่ ๓   ใช้ใบลำโพงตำให้แหลกพอก เปลี่ยนยาวันละ ๒-๔ ครั้ง
 ขนานที่ ๔   ใช้ต้นผักเบี้ยใหญ่ตำพอก เปลี่ยนยาวันละ ๒-๔ ครั้ง
 ขนานที่ ๕   เอาเม็ดต้อยติ่งเปียกๆ แผ่ให้บาง แล้วปิดบนบาดแผลเปลี่ยนยาวันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น
 ขนานที่ ๖   เอาเนื้อมะละกอดิบแก่สดตำให้แหลก (เปลือกไม่เอา) พอกที่แผลหาผ้าพันเปลี่ยนยาวันละ ๓ ครั้งจนกว่าแผลจะหาย (ถ้าพอกแล้วรู้สึกแสบเพราะยากัดให้หยุดใช้ทันที และคนที่แพ้ยางมะละกอห้ามใช้)
 ขนานที่ ๗   ใช้ต้นและใบเหงือกปลาหมอสด ล้างให้สะอาดตำให้ละเอียดพอก เปลี่ยนยาวันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น
 ขนานที่ ๘   ใช้ใบทองหลางใบมนแก่สดๆ รมควันให้เฉาหรือเหี่ยว แล้วชุบเหล้า เอาปิดแผลช่วยดูดหนองให้ไหลออกจนยุบแห้ง เปลี่ยนยาวันละ ๒-๓ ครั้ง
 ขนานที่ ๙   ใช้น้ำตาลทรายบดเป็นผงละเอียดโรยแผลวันละ ๒-๓ ครั้ง ก่อนโรยทุกครั้งต้องล้างแผลก่อน (น้ำตาลทรายต้องสะอาด ถ้าให้ดีควรจะต้มเคี่ยวใหม่ เก็บเอาไว้ใช้)
 ขนานที่ ๑๐   เอาเหง้าไพลล้างให้สะอาด ปอกเปลือกตำให้ละเอียดพอก เปลี่ยนยาวันละ ๒-๓ ครั้ง
 ขนานที่ ๑๑   ใช้น้ำปูนใสผสมกับน้ำมะพร้าว (ดูแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกขนานที่ ๕)

๗. แผลสด ยารักษาแผลสดเหล่านี้ เป็นยาช่วยห้ามเลือดด้วย ให้เปลี่ยนยาวันละ ๒-๔ ครั้ง
ขนานที่ ๑   ใช้เหง้าขมิ้นชันสดตำพอก
 ขนานที่ ๒   ใช้ยางกล้วยหยอดแผล ช่วยห้ามเลือดและสมานแผลได้
 ขนานที่ ๓   เอาใบฝรั่งตำพอกแผลสด
 ขนานที่ ๔   ใช้ใบพลูตำปิดแผลสด ช่วยสมานแผลได้ดี
 ขนานที่ ๕   ใช้ใบหนุมานประสานกายตำพอกปิดแผล ห้ามเลือดแผลสดและสมานแผลได้ดี
 ขนานที่ ๖   เอาเหง้าไพลล้างให้สะอาด ปอกเปลือกตำพอกที่แผลสด
 ขนานที่ ๗   ใช้ผงชูรสโรยปิดแผล แล้วหาผ้าสะอาดปิดปากแผลเอาไว้

๘. แผลหมากัด ใช้ใบตองแห้ง หรือพริกขี้หนูแห้ง ใส่หม้อหรือกะทะเอาไปตั้งไฟจนไหม้เป็นถ่านดำ บดเป็นผงละเอียด โรยใส่บาดแผล (ก่อนใส่แผลควรใช้น้ำล้างแผลเสียก่อน)

๙. ฝี เมื่อเป็นใหม่ๆ ต้องการให้ฝียุบให้ใช้ยาต่อไปนี้
   ขนานที่ ๑   เอามะละกอดิบๆ ผ่าเผาไฟให้ร้อนๆ ประคบวันละ ๓-๔ ครั้งๆหนึ่ง ๑๐-๒๐ นาที
 ขนานที่  ๒   เอาปูนแดงกับเนื้อมะขามเปียก อย่างละเท่าๆกัน บดผสมให้เข้ากันดีพอกวันละ ๒-๓ ครั้ง
 ขนานที่ ๓   ใช้รากเจตมูลเพลิงแดงฝนกับน้ำปูนใสทาวันละ ๒-๓ ครั้ง
 ขนานที่ ๔   ใช้ข้าวที่หุงสุกร้อนๆ พอกฝีที่ยังไม่ตั้งหนอง เปลี่ยนยาเมื่อข้าวเย็นแล้ว พอกหลายครั้งฝียุบได้
   เมื่อฝีตั้งหัวแล้วให้ใช้ยาต่อไปนี้
   ขนานที่ ๑   ใช้หัวว่านมหากาฬ ตำพอกหรือใส่กับน้ำปูนใสทาวันละ ๒-๔ ครั้ง
 ขนานที่ ๒   ใช้ใบเสลดพังพอนตัวผู้ หรือตัวเมียก็ได้ ตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าพอให้เหนียวข้น พอกที่หัวฝี เปลี่ยนยาวันละ ๒-๔ ครั้ง
 ขนานที่ ๓   ใช้ต้นเหงือกปลาหมอสดตำให้ละเอียดพอกฝี ดับพิษฝี เปลี่ยนยาวันละ ๒-๓ ครั้ง
 ขนานที่ ๔   ใช้ใบคว่ำตายหงายเป็นโขลกให้ละเอียด ใช้ปิดพอกฝีแก้ปวด แก้อักเสบฟกช้ำเป็นยาถอนพิษ เปลี่ยนยาวันละ ๒-๓ ครั้ง
 ขนานที่ ๕   ใช้ต้นเทียนดอกทั้งต้น (รากไม่ใช้) ๑ ต้น ตำให้ละเอียดพอก เปลี่ยนยาวันละ ๒-๔ ครั้ง
 ขนานที่ ๖   ใช้รากเขยตายฝนกับน้ำซาวข้าว ทาฝีต่างๆ ทุกชนิด ช่วยดูดพิษทำให้หายเจ็บปวด ทาวันละ ๓-๔ ครั้ง
 ขนานที่ ๗   ใช้ใบลำโพงตำพอก เปลี่ยนยาวันละ ๒-๔ ครั้ง
 ขนานที่ ๘   เอาเนื้อลูกมะละกอดิบตำให้แหลกพอกบนหัวฝี หาผ้าปิดไว้ เปลี่ยนยาวันละ ๒-๓ ครั้ง ยานี้ช่วยให้ฝีแตกไว
 ขนานที่ ๙   ใช้หญ้าใต้ใบทั้งต้น (รากไม่เอา) ตำผสมเหล้า พอกแก้ปวดฝี เปลี่ยนยาวันละ ๒-๓ ครั้ง
 ขนานที่ ๑๐   ใช้รากมะนาวฝนกับสุราให้ข้นๆ ทาฝี แก้ปวดฝี ทาวันละ ๒-๓ ครั้ง
 ขนานที่ ๑๑   ใช้เปลือกต้นเพกาฝนกับน้ำ ทาวันละ ๓-๔ ครั้ง เป็นยาดับพิษฝีให้หายปวดอักเสบ
 ขนานที่ ๑๒   ใช้ใบของต้นฝีหมอบตำพอกวันละ ๒-๓ ครั้ง ถอนพิษที่ทำให้ปวดอักเสบ
 ขนานที่ ๑๓   ใช้ใบผักเบี้ยใหญ่ตำพอก เปลี่ยนยาวันละ ๒-๓ ครั้ง
 ขนานที่ ๑๔   ใช้หัวของบัวบกหัว (บัวบกชนิดที่มีหัวกลมใหญ่) ฝนกับน้ำให้ข้นๆ ทาพอกฝีแก้ปวด
 ขนานที่ ๑๕   เอาเมล็ดต้อยติ่งผสมน้ำให้เปียกแผ่บางๆ ปิดพอกที่หัวฝี ช่วยดูดหนองและลดการอักเสบด้วย (ต้องคอยเติมน้ำให้ยาเปียกอยู่เสมอ) เปลี่ยนยาวันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น

 ยากินตัดรากฝี
ใช้ต้นเหงือกปลาหมอทั้งต้นและรากสด หรือแห้งก็ได้ ๑-๒ กำมือ ใส่น้ำให้ท่วมยา ต้มให้เดือดนาน ๕-๑๐ นาที กินวันละ ๓ ครั้งๆละ ๑ แก้ว ก่อนอาหาร เป็นเวลา ๑ เดือน

๑๐. ฝีตานทราง เด็กเล็กชอบเป็นฝีบ่อยๆ ใช้ต้นหูปลาช่อนทั้งต้นและราก ๓-๔ กำมือ ต้มกับน้ำ ๓-๔ ขัน ให้เดือดนาน ๕-๑๐ นาที เอาน้ำกินครั้งละ ๑ / ๒ -๑ แก้ว และอาบวันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น (ให้อาบน้ำฟอกสบู่ก่อนอาบน้ำยา หลังอาบน้ำยาแล้วไม่ต้องล้างออก)

๑๑. พิษแมงกะพรุนไฟ
 ขนานที่ ๑   ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ทาบ่อยๆ
 ขนานที่ ๒   เอาไส้ฟักพอก เปลี่ยนยาวันละ ๒-๔ ครั้ง
 ขนานที่ ๓   ใช้ผักบุ้งทะเลขยี้เอาน้ำ ทาให้เปียกอยู่เสมอ

๑๒. แมงมุมกัด ใช้หัวหอมเล็ก ๑ หัวแม่มือ ผสมกับยาหม่องเท่าปลายนิ้วก้อย ทุบพอหยาบๆ ให้กินให้หมดเพื่อให้ท้องร้อน ตำหัวหอมใหม่อีกสำหรับพอกแผลและให้คนไข้ผิงไฟให้ตัวร้อน เมื่อพิษหมดแล้วให้เอารากย่านางฝนกินอีก ๓ วันๆ ละ ๒-๔ ครั้งๆ ละ ๑ แก้ว

๑๓. แมลงสัตว์กัดต่อย
   ขนานที่ ๑   ใช้ใบเสลดพังพอนตัวเมีย ๑๐-๑๕ ใบ ตำผสมเหล้า ๑-๒ ช้อนแกง คั้นเอาน้ำดื่ม และเอาใบใหม่มาตำผสมเหล้าพอกที่แผล
 ขนานที่ ๒   ใช้นิ้วมือหรือนิ้วเท้าจุ่มลงไปในน้ำส้มสายชูแล้วพยายามบีบรอบๆ บริเวณที่ถูกต่อย เพื่อไล่พิษออกมา ถ้าจุ่มไม่ได้ เอาสำลีชุบน้ำส้มสายชูปิดที่แผล
 ขนานที่ ๓   ใช้พริกขี้หนูสดตำพอก
 ขนานที่ ๔   ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ทาให้เปียกชุ่มเสมอ
 ขนานที่  ๕   ใช้หัวหอมเล็กหรือหัวกระเทียมตำพอก
 ขนานที่ ๖   เอาบริเวณที่ถูกต่อยไปอังไฟตะเกียงหรือไฟเทียนให้ร้อน
 ขนานที่ ๗   ใช้ยางมะละกอทาให้เปียกอยู่เสมอ
 ขนานที่ ๘   ใช้รากพญารากดำผสมกับเหล้าให้ข้นๆ ใช้สำลีชุบปิด
 
๑๔. เห็บกัด เอาปูนแดงป้ายลงไปที่ตัวเห็บ ตัวเห็บจะตายหลุดออกมา

๑๕. ตุ่มคันจากยุงกัด เอาปูนแดงป้ายที่ตุ่มยุงกัด วันละ ๓-๔ ครั้ง

๑๖. เริมและงูสวัด โรคเริมและงูสวัดใช้ยารักษาเหมือนๆ กัน ถ้าโรคถูกกับยาจะรู้สึกดีขึ้นทันที
ขนานที่ ๑   เอาหัวมันเทศ ใบหรือหัวว่านมหากาฬ ข้าวสารอย่างละเท่าๆกัน ตำผสมกันให้ละเอียดพอกแผล เมื่อยาแห้งให้เปลี่ยนใหม่ (ถ้าไม่มีว่านมหากาฬใช้แต่มันเทศอย่างเดียวก็ได้)
 ขนานที่ ๒   เอาใบไมยราบตำให้ละเอียดผสมเหล้า แล้วคั้นเอาน้ำทา วันละ ๓-๔ ครั้ง
 ขนานที่ ๓   ใช้ใบเสลดพังพอนตัวเมียตำให้ละเอียด ผสมเหล้าพอเหลวข้นๆ พอก คอยใส่เหล้าเมื่อยาเริ่มแห้ง พอกไว้ตลอดเวลาเปลี่ยนยาวันละ ๒-๔ ครั้ง
 ขนานที่ ๔   ใช้ใบฟ้าทะลายโจร ตำพอกเช่นเดียวกับใบเสลดพังพอน
 ขนานที่ ๕   ใช้น้ำเมือกว่านหางจระเข้ทาให้ชุ่มอยู่เสมอ

๑๗. โรคผิวหนัง
ขนานที่ ๑   ใช้เมล็ดลำโพงแห้ง ๖ ช้อนโต๊ะ (๓๐ กรัม) แช่ในน้ำมันพืชหรือน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันงา ๒ แก้วแช่ไว้นาน ๗ วัน กรองเอาน้ำมันเก็บไว้ ใช้ทาวันละ ๓-๔ ครั้ง
 ขนานที่ ๒   ใช้ใบหรือดอกเลี่ยนขยี้ทา หรือใช้น้ำมันจากเม็ดเลี่ยน ทาวันละ ๓-๔ ครั้ง

๑๘. ลมพิษ เอาใบพลูมาตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าทาบ่อยๆ

๑๙. เสี้ยนหนามตำ
   ขนานที่ ๑   ใช้ยางมะละกอหยอดลงไปที่หนามตำให้เปียกชุ่มอยู่เสมอ สักพักหนึ่งตัวหนามจะถูกดันให้ลอยขึ้นมา ใช้เล็บจิกขึ้นมาได้
 ขนานที่ ๒   เอาเมล็ดฟักทองที่ตากแห้งแล้ว ตำให้แหลก ขยำกับน้ำปิดที่แผล จะดูดพิษให้หายจากเจ็บปวดบวม
 ขนานที่ ๓   ใช้ใบและรากเทียนดอกตำพอกแผลที่ถูกเศษแก้วเศษไม้ตำฝังอยู่ในเนื้อ เทียนดอกจะช่วยละลายเศษแก้วเศษไม้ได้

๒๐. หูด
   ขนานที่ ๑   สะกิดหัวหูดให้เปิดเป็นแผลเล็กน้อย แล้วเอายางมะละกอหยดที่หัวหูดบ่อยๆ ทำ ๗-๘ วัน
 ขนานที่ ๒   ใช้ยางจากต้นน้ำนมราชสีห์ทาหัวหูดบ่อยๆ

โรคเกี่ยวกับไข้
๑. ไข้ทับระดู
ขนานที่ ๑    ใช้ต้นบานไม่รู้โรยดอกขาวทั้งต้นและราก ๑ กำมือใส่น้ำลงไป ๓-๔ แก้ว ต้มให้เดือดนาน ๑๐ นาที กินครั้งละ ๑ แก้ว ทุกๆ ๑ / ๒ –๑ ชั่วโมง กิน ๓ ครั้ง
 ขนานที่ ๒    เอาหญ้าเจ้าชู้ทั้งต้นและราก ๑ กำมือมัดสามเปลาะ ใส่น้ำท่วมยาต้มให้เดือด ๑ นาที กินครั้งละ ๑ แก้ว ห่างกันครั้งละ ๑ ชั่วโมง กินครั้งหนึ่งก็แก้มัดมัดเปลาะหนึ่ง ยาหม้อหนึ่งกินได้ ๓ ครั้ง
 ขนานที่ ๓   ใช้ต้นครามทั้งต้นและราก ๑ กำมือ มัด ๓ เปลาะต้มกินแบบเดียวกับขนานที่ ๑
 ขนานที่ ๔   ใช้หญ้าใต้ใบทั้งต้นและราก ๑ กำมือ หัวหอม ๓ หัว เปราะหอม ๓ หัว ใส่น้ำพอท่วมยา ต้มกินแบบเดียวกับขนานที่ ๑ (ถ้าไม่มีเปราะหอมจะใช้แต่หญ้าใต้ใบและหัวหอมก็ได้)

๒. ไข้หวัด สมุนไพรใช้ได้ดีกับไข้หวัดที่พึ่งเริ่มเป็นใหม่ๆ
   ขนานที่ ๑   ใช้หญ้าใต้ใบ ๑ กำมือ ต้มกับน้ำ ๓-๔  แก้วให้เดือดนาน ๑๐ นาที กินครั้งละ ๑ แก้ว วันละ ๓-๔ ครั้งก่อนอาหาร และก่อนนอน
 ขนานที่ ๒   ใช้ต้นฟ้าทะลายโจร ๑ กำมือ ต้มกับน้ำ ๓ แก้ว ให้เดือดนาน ๑๐ นาที กินครั้งละ ๑ แก้ว วันละ ๓-๔ ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน
ขนานที่ ๓   กระเทียม ๗ กลีบใส่ลงในข้าวกินพร้อมกับกินข้าวทุกมื้อ (คนที่ชอบร้อนในไม่ควรกิน)
 ขนานที่ ๔   กินต้นหอมสดๆ ร่วมกับกินข้าวทุกมื้อ มื้อละ ๒-๓ ต้น จะช่วยให้หายหวัดได้เร็ว
 ขนานที่ ๕   เอาก้านสะเดา ๑๕ ก้านหั่นเป็นท่อนสั้นๆ (ประมาณ ๑ องคลี) ต้มกับน้ำ ๒ แก้ว เคี่ยวสามส่วนเหลือสองส่วน ดื่มน้ำยาครั้งละครึ่งแก้ว วันละ ๒-๓ ครั้ง
 ขนานที่ ๖   ใช้ขิงแง่งขนาดเท่าหัวแม่มือ ฝานเป็นแว่นบางๆ ใส่แก้วเติมน้ำเดือดลงไปให้เต็มแก้วปิดฝา ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น ช้อนเอาเนื้อขิงออก เติมน้ำตาลให้พอหวาน กินให้หมด ทำกินวันละ ๔ ครั้งก่อนอาหารและก่อนนอน
ถ้าหากมีอาการท้องผูกร่วมด้วยให้กินยาระบายถ่ายพิษไข้ดังนี้
ขนานที่ ๑   เอาลูกเสมอไทย ๓-๕ ลูกต้มกับน้ำ ๓-๔ แก้วต้มให้เดือดนาน ๑๕-๒๐ นาที กินวันละ ๒ ครั้งๆ ละ ๑ / ๒ –๑ แก้ว เป็นยาถ่ายพิษไข้
 ขนานที่ ๒   ใช้เนื้อมะขามเปียกที่สะอาดแช่น้ำ ขยำพอให้น้ำข้น ผสมน้ำตาล เกลือ กินครั้งละ ๑ แก้ววันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น ช่วยแก้กระหายช่วยลดความร้อน และช่วยระบายท้อง (ถ้าถ่ายมากไปให้ลดความข้นของมะขามลง)
ถ้าหากเหงื่อไม่ออก ให้อบไอน้ำช่วยขับเหงื่อทำให้หายเร็วขึ้น ใช้ตะไคร้ทั้งต้นและราก ๓-๕ ต้น ขดแล้วมัดให้แน่น ต้มในหม้อใบใหญ่ๆ พอเดือดดีแล้วเอาลงหาผ้าห่มคลุมตัวกับหม้อเอาไว้ เปิดฝาให้ไอน้ำค่อยๆ ออกมา ให้ไอน้ำรมตัวจนกระทั่งไอหมด เมื่อรมเสร็จอย่าพึ่งเอาผ้าห่มออก ให้โผล่หัวออกมาก่อน จนตัวหายร้อน แล้วจึงเอาผ้าออกได้ (ถ้าไม่มีตะไคร้ ใช้หัวหอมหรือขิงแทนก็ได้) นอกจากกินยาแล้ว ให้กินน้ำ ๑ แก้วทุกๆ ๒ ชั่วโมงจะช่วยให้ไข้หวัดหายเร็วขึ้นมาก

๓. ไข้หวัดในเด็กอ่อน เด็กอ่อนที่เป็นไข้หวัดมีน้ำมูกมาก จมูกคัดหายใจไม่ออก ให้ใช้ยาต่อไปนี้
   ขนานที่ ๑   เอาหัวหอมทุบพอแหลกห่อผ้า วางไว้ที่หัวนอนเด็กขณะที่เด็กหลับ (เพื่อไม่ให้กลิ่นหัวหอมเข้าตาจะทำให้แสบตา)
 ขนานที่ ๒   เอาใบหูเสือขยี้พอกที่กระหม่อมเด็กเวลาเย็น พอกนาน ๑ ชั่วโมง
 ขนานที่ ๓   ใช้ใบขี้กาขาวตำให้ละเอียดพอกที่ขม่อมเด็กเวลาเย็น พอกนาน ๑ ชั่วโมง

๔. ไข้ชักในเด็ก เอาหัวหอมเล็กตำให้ละเอียดผสมเหล้าพอเหลวๆ (ถ้าไม่มีเหล้าให้ผสมน้ำแทน) เอาน้ำทาตัวเด็กให้ทั่ว

๕. ไข้เปลี่ยนอากาศ เมื่อเริ่มเปลี่ยนอากาศหรือเปลี่ยนฤดู รู้สึกจะเป็นไข้ ให้ใช้ใบแคอ่อนต้ม กินเนื้อใบต่างผักจิ้ม กินให้มากๆ พร้อมกับกินข้าวหรือเอาดอกแคมาแกงส้ม กินดอกแคให้มากๆ พร้อมกับกินข้าว

๖. ไข้กลับหรือไข้ซ้ำ คือไข้ที่เกือบจะหายแล้ว กลับเป็นซ้ำอีกที ใช้รากมะนาวผสมกับน้ำซาวข้าวกินครั้งละ ๑ แก้ว วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร

๗. ตัวร้อน ใช้น้ำเย็น ๒ ส่วนผสมกับน้ำส้มสายชู ๑ ส่วน แล้วใช้ผ้าขนหนูจุ่ม บิดพอหมาดๆ เช็ดตามร่างกายให้ทั่ว

๘. หัด ใช้สะตือ (ประดู่ขาว) ทั้ง ๕ อย่างละ ๑ กำมือ ใส่น้ำให้ท่วมยา ต้มให้เดือดนาน ๕-๑๐ นาที กินครั้งละ ๑ ถ้วย วันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น และเอาน้ำอาบด้วย ยานี้ป้องกันหัดหลบลงลำไส้ ทำให้ท้องร่วงและป้องกันหัดหลบลงปอดทำให้หอบ

๑๐. ผื่นคันจากโรคหัด เด็กเป็นหัด เหือด (หัดเยอรมัน) อีสุกอีใส อีดำอีแดง แล้วผิวหนังคัน ให้ใช้ยาต่อไปนี้ คือ
   ขนานที่ ๑   ใช้หัวผักหนาม ๑-๒ กำมือต้มกับน้ำ ๒-๓ ขัน ให้เดือดนาน ๒๐-๓๐ นาที เอาน้ำนี้อาบขณะที่ยังอุ่นๆ อยู่ วันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น อาบแล้วไม่ต้องล้างยาออก
 ขนานที่ ๒   ใช้ใบหมากผู้ ใบหมากเมีย (หมากที่กินกับพลู) ใบมะยม ใช้อย่างละ ๑-๒ กำมือ แช่ในน้ำ ๒-๓ ลิตร (๒-๓ ขวดน้ำปลา) แช่ทิ้งไว้ค้างคืน เอาน้ำมาอาบ เช่นเดียวกับอาบน้ำผักหนาม (ขนานที่ ๑)
 ขนานที่ ๓   เอาดินสอพองเผาไฟ ๕ ส่วน ขมิ้นชันผง ๑ ส่วน ยาสองอย่างนี้บดเข้าด้วยกันละลายน้ำ กรองด้วยผ้า เอาน้ำทาแผลแก้คันและรีดหนองทำให้แผลตกสะเก็ดเร็ว
 ขนานที่ ๔   ใช้เหงือกปลาหมอทั้งต้น และราก (แห้งหรือสดก็ได้) สับเป็นชิ้นเล็กๆ ๑ ขัน ต้มกับน้ำ ๓-๔ ขันใช้อาบ (อาบน้ำให้สะอาดก่อน หลังอาบน้ำยาแล้วไม่ต้องล้างออก)

๑๑. หัดหลบใน หัดหลบลงลำไส้ทำให้ท้องร่วง ใช้สะตือ (ประดู่ขาว) ทั้ง ๕ อย่างละ ๑ กำมือ ใส่น้ำให้ท่วมยา ต้มให้เดือดนาน ๑๕-๒๐ นาที กินครั้งละ ๒-๓ ถ้วยชา กิน ๓ ครั้งห่างกันครั้งละ ๔ ชั่วโมง

โรคเกี่ยวกับข้อ
๑. ปวดข้อ
 ขนานที่ ๑   ซอยกระเทียม ๗ กลีบใส่ในข้าวกินกับข้าวทุกมื้อ กินเป็นประจำทุกวัน (คนร้อนในห้ามกิน)
 ขนานที่ ๒   ใช้เถาโคคลานสดหรือแห้งก็ได้ ๑ กำมือใส่น้ำ ๓ แก้ว ต้มให้เดือดนาน ๓๐-๔๕ นาที กินครั้งละ ๑ แก้ว วันละ ๒-๓ ครั้งก่อนอาหาร



webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 6/9/08 at 22:10 Reply With Quote


โรคเกี่ยวการ "เมา"

๑. เมาเพราะกินอาหารที่มีพิษเบื่อเมา  เช่น เมาเห็ด เมากลอย
    ขนานที่ ๑ เอารากโลดทะนงแดงฝนกับสุรากิน ๑ ช้อนชา ทำให้อาเจียนอย่างแรง ถอนพิษคนกินยาเบื่อ ยาเมา  เมาเห็ด เมาหอยต่างๆ ได้ดี
    ขนานที่ ๒     เอาใบข่อยหนึ่งกำมือข้าวสารเจ้าหนึ่งหยิบมือ นำมาตำผสมกันให้ละเอียด ใส่น้ำลงพอควร คั้นเอาให้ได้ 
    พอสักหนึ่งแก้ว กินยานั้น จะทำให้อาเจียนพิษออกมาได้
 ขนานที่ ๓    เอาเถารางจืดดอกมะม่วงฝนกับน้ำซาวข้าว ให้กินสัก ๑ แก้ว จะทำให้อาเจียนเอาพิษนั้นออกมาแล้วให้ 
    ผู้ป่วยนอนพัก หากไม่มีเถาให้ใช้ใบที่ไม่อ่อนไม่แก่เกินไป ๗-๑๐ ใบตำกับน้ำซาวข้าวแทน
 ขนานที่ ๔ เอาผักบุ้งสักหนึ่งกำมือ ต้มผสมน้ำตาล ต้มน้ำ ๓ ส่วนเอา ๑ ส่วนให้กิน ๑ แก้ว ถ้ามีอาการหนักพอต้ม 
    เดือดแล้วให้กินก่อนก็ได้ แล้วต้มต่อไปรอจนยาได้ที่แล้วจึงกินซ้ำอีกที
 ขนานที่ ๕    ให้เอาถั่วฝักยาวมาหนึ่งกำมือ ตำให้ละเอียดเติมน้ำลงไปเล็กน้อย คั้นเอาน้ำให้ได้สักครึ่งแก้วกินให้หมด 
    จะอาเจียนออกมา
 ขนานที่ ๖    ใช้เมล็ดฝักคูณทุบให้แตก ๔-๗ เมล็ดให้กิน จะอาเจียนออกมา
 

  ๒. เมาเหล้า
    ขนานที่ ๑ กินเหล้ามากเกินไป อาเจียนปวดหัวมาก ให้เอากาแฟผง ๒ ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำเดือด ๑ แก้ว ห้ามใส่ น้ำตาล รอจนอุ่นให้คนเมาดื่ม แล้วให้นอนพักอาการจะดีขึ้นภายใน ๑๕ นาที
 ขนานที่ ๒    ให้เอาเถาหรือรากรางจืดชนิดดอกม่วง ฝนกับน้ำซาวข้าวให้กินครึ่งถึง ๑ แก้ว อาการเมาจะดีขึ้นหากไม่มีเถาให้ใช้ที่ไม่อ่อนไม่แก่เกินไป ๗-๑๐ ใบตำกับน้ำซาวข้าวแทน
 
๓. เมาเหล้าค้าง
    ขนานที่ ๑ เอาหัวหอมเล็ก ๓ หัว นำมาทุบทั้งเปลือกพอแตก ใส่น้ำ ๓ แก้ว เคี่ยวให้เหลือ ๑ แก้ว กินขณะที่ยายังร้อนอยู่
 ขนานที่ ๒    เอาใบตำลึงหนึ่งกำมือใส่น้ำ ๓ แก้ว ต้มผสมเกลือพริกไทยให้เหลือน้ำ ๑ แก้ว กินให้หมดแก้ว
    ขนานที่ ๓    เอาเถาหรือรากรางจืดชนิดดอกสีม่วง ฝนกับน้ำซาวข้าวให้กินครึ่งถึง ๑ แก้ว อาการจะหายภายใน ๑ ชั่วโมง...


ส วั ส ดี



webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member

Go To Top
 

"เว็บตามรอยพระพุทธบาท" ได้รับลิขสิทธิ์จาก พระอาจาย์ชัยวัฒน์ อชิโต เพื่อเผยแพร่รูปภาพและข้อมูล
จาก "หนังสือตามรอยพระพุทธบาท" จึงขอสงวนลิขสิทธิ์ตาม
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
ห้ามคัดลอกข้อมูล, ภาพ, เสียง ออกไปเผยแพร่ หรือนำไปโพสในเว็บใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน

เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีกับโปรแกรม Internet Explorer, Window Media V.9, Flash Player ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 768 pixels ความเร็วอินเตอร์เน็ต 1 Mbps. ขึ้นไป

ถ้าพบข้อผิดพลาดใดๆ หากจะแนะนำ หรือติชม และสอบถาม ติดต่อ "ทีมงานเว็บตามรอยพระพุทธบาท"
เริ่มเปิดเว็บไซด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Copyright @ 2008 tamroiphrabuddhabat.com All rights reserved