ถ้าพบข้อผิดพลาดในเว็บไซด์ จะแนะนำและติชม หรือสอบถาม ติดต่อที่ WEBMASTER
 
VISITORS


     







Not logged in [Login ]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites  
[*] posted on 9/7/08 at 15:17 Reply With Quote

นิทานชาดก (เรื่องที่ 8) เวฬุกชาดก - ลูกงูพิษกับศิษย์หัวดื้อ


...นิทานชาดกนี้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ "พระพุทธเจ้า" ขณะที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์ พระองค์ได้บำเพ็ญพระบารมีมาในแต่ละชาติ จะเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น แล้วได้ตรัสเล่าบุพกรรมเหล่านี้ ซึ่งมีมาในพระไตรปิฎกมากมายหลายเรื่อง

ในตอนนี้ จะขอนำการ์ตูนเรื่องที่ 8 ชื่อว่า "เวฬุกชาดก" (อ่านว่า เวฬุกะชาดก) จึงขออนุโมทนาไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย

เวฬุกชาดก : ชาดกว่าด้วย "ความเป็นผู้ว่ายาก"



มูลเหตุของชาดก

...........ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล มีภิกษุรูปหนึ่งมีนิสัยดื้อรั้น เอาแต่ใจตัวเอง ว่ายากสอนยาก เพื่อนภิกษุจะว่ากล่าวตักเตือนอย่างไรก็ไม่เชื่อฟัง

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงสอบถามภิกษุรูปนั้น เมื่อได้ความตามจริงแล้วจึงทรงตักเตือนแล้วทรงระลึกชาติด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณ แล้วตรัสว่า

....." ดูก่อนภิกษุ มิใช่แต่บัดนี้เท่านั้นที่เธอเป็นผู้ว่ายากสอนยาก แม้ในชาติก่อน เธอก็มีนิสัยเช่นนี้ ไม่ยอมเชื่อฟังคำตักเตือนของบัณฑิต จึงถูกงูกัดตาย "




เนื้อความของชาดก

.....ในอดีตกาล ณ กรุงพาราณสี มีบุตรเศรษฐีผู้หนึ่ง มีความรู้ ความสามารถดีมาก ครั้งต่อมาเมื่อบิดามารดาสิ้นชีวิตลง ชายหนุ่มได้พิจารณาเห็นว่า

พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ทวด ของตนต่างก็ครอบครองทรัพย์สินสมบัติของตระกูล สืบต่อกันมาลายชั่วคนแล้ว แต่ในที่สุดก็ต้องตายจากสิ่งเหล่านั้นไป ไม่มีใครสามารถนำทรัพย์สมบัติอันมีค่านั้นติดตัวไปได้เลย แม้แต่สักชิ้นเดียว

.....เมื่อพิจารณาดังนี้ จึงนำทรัพย์สมบัติทั้งหลายออกแจกจ่ายทำทานจนหมดสิ้น แล้วออกบวชเป็นฤาษี ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ในป่าหิมพานต์ จนสำเร็จฌานโลกีย์ บรรลุอภิญญา ๕ สมาบัติ ๗ และมีผู้เลื่อมใสออกบวชเป็นศิษย์ถึง ๕๐๐ คน

......อยู่มาวันหนึ่ง มีงูพิษตัวหนึ่งเลื้อยผ่านอาศรมที่พักของศิษย์ผู้หนึ่ง ทันทีที่เห็นลูกงูพิษ ศิษย์ผู้นั้นก็บังเกิดความรักลูกงูขึ้นมาจับใจ จึงจับมันใส่ในกระบอกไม้ไผ่ ทำฝาปิดเรียบร้อย

เมื่อถึงเวลาก็นำอาหารมาป้อน ให้ความรักความเอาใจใส่ราวกับมันเป็นลูกของตน จนงูนั้นเชื่อง นำมาพันแขนพันคอได้ เพื่อนร่วมสำนักอาจารย์ต่างเรียกงูพิษนั้นว่า "เวฬุกะ" เพราะว่ามันอาศัยอยู่ในกระบอกไม่ไผ่

.....เมื่อฤาษีอาจารย์ทราบว่าศิษย์ของตนนำงูพิษมาเลี้ยงไว้จึงเรียกมาสอบถามแล้วเตือนว่า "ขึ้นชื่อว่างูพิษ ย่อมไว้ใจไม่ได้ มันอาจแว้งกัดเธอเข้าสักวันหนึ่ง จงปล่อยมันไปเสียเถอะอย่าเลี้ยงมันไว้เลย"

.....แต่ศิษย์นั้นกลับตอบอาจารย์ว่า "กระผมรักเวฬุกะเหมือนลูก มันเชื่องน่ารักเหลือเกิน กระผมไม่อาจปล่อยมันไปหากินตามยถากรรมได้ ขอกระผมเลี้ยงมันไว้เถอะครับ"

.....ไม่ว่าอาจารย์จะพูดอย่างไร ศิษย์นั้นก็โต้แย้งยืนยันตามเหตุผลของตัว ฤาษีอาจารย์เห็นว่าลูกศิษย์ไม่เปลี่ยนใจแน่แล้ว จึงพูดทิ้งท้ายว่า

....."ถ้าอย่างนั้นขอให้เธอระวังตัวให้ดีก็แล้วกัน วันหนึ่งเธออาจต้องตายเพราะลูกเวฬุกะของเธอ…."

......จากนั้นมาอีก ๒ - ๓ วัน ฤาษีทั้งหลายต่างพากันไปหาผลไม้ซึ่งมีอยู่มากมายในป่าลึกไกลจากอาศรมแล้วพักอยู่สองสามวัน งูเวฬุกะจึงถูกทิ้งไว้ที่อาศรมนั่นเอง

เมื่อกลับจากหาผลไม้ ศิษย์นั้นรีบมาหาเวฬุกะทันที
"ลูกเอ๋ย หิวมั้ย พ่อเอาของกินมาให้แล้ว"

.....พูดพลางก็เอามือสอดเข้าไปในกระบอกไม้ไผ่ หมายจะอุ้มลูกงูน้อยให้ชื่นใจ แต่งูพิษนั้นกำลังโกรธเพราะอดอาหารมาหลายวัน จึงฉกเข้าที่มือทันที ศิษย์หัวดื้อจึงถึงแก่ความตายอยู่ตรงนั้นเอง

ครั้นฤาษีอาจารย์ทราบเรื่อง จึงให้ลูกศิษย์ช่วยกันทำศพแล้วสอนว่า

....." ผู้ใดบุคคลกล่าวสอนอยู่ ไม่ทำตามคำสอนของผู้ปรารถนาประโยชน์ ผู้อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ผู้นั้นย่อมถึงแก่ความพินาศ เหมือนบิดาของเวฬุกะนอนตายอยู่ ฉะนั้น "

.....เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเล่า เวฬุกชาดก จบลงแล้วทรงประชุมชาดกว่า
ศิษย์หัวดื้อ ได้มาเป็นภิกษุผู้ว่ายาก
ฤาษีบริวาร ได้มาเป็นพุทธบริษัท
ฤาษีอาจารย์ ได้มาเป็นพระองค์เอง


ข้อคิดที่ได้จากชาดก

.....๑. โบราณว่าอย่าเลี้ยงงูพิษ เพราะมันอาจแว้งกัดเราได้ทุกเมื่อ เช่นเดียวกันคนพาลซึ่งอาจทำร้ายผู้มีพระคุณได้ตลอดเวลา
.....๒. ไม่ควรเพิกเฉยต่อคำตักเตือนของผู้หวังดีที่มีประสบการณ์มองเห็นการณ์ไกล เช่น บิดามารดา หรือครูอาจารย์



ที่มา - kalyanamitra.org



webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member
[*] posted on 11/5/18 at 06:15 Reply With Quote


.


webmaster
Super Administrator
*********
Posts: 2040
Registered: 8/1/08
Member Is Offline
View User's Profile View All Posts By User U2U Member

Go To Top
 

"เว็บตามรอยพระพุทธบาท" ได้รับลิขสิทธิ์จาก พระอาจาย์ชัยวัฒน์ อชิโต เพื่อเผยแพร่รูปภาพและข้อมูล
จาก "หนังสือตามรอยพระพุทธบาท" จึงขอสงวนลิขสิทธิ์ตาม
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
ห้ามคัดลอกข้อมูล, ภาพ, เสียง ออกไปเผยแพร่ หรือนำไปโพสในเว็บใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน

เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีกับโปรแกรม Internet Explorer, Window Media V.9, Flash Player ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 768 pixels ความเร็วอินเตอร์เน็ต 1 Mbps. ขึ้นไป

ถ้าพบข้อผิดพลาดใดๆ หากจะแนะนำ หรือติชม และสอบถาม ติดต่อ "ทีมงานเว็บตามรอยพระพุทธบาท"
เริ่มเปิดเว็บไซด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Copyright @ 2008 tamroiphrabuddhabat.com All rights reserved