ตามรอยพระพุทธบาท

อันตรายจาก "สารฟอกขาว" และ "สารเร่งเนื้อแดง"
webmaster - 6/9/08 at 09:53

สารฟอกขาวในอาหาร


สารฟอกขาวเป็นสารเคมีที่มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายในการผลิตอาหารหลายประเภท ทั้งในอาหารที่อนุญาตและไม่อนุญาตให้ใส่สารฟอกขาว โดยพบการตกค้างในปริมาณสูงในอาหารหลายชนิด จึงถูกจัดเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่ต้องมีการเฝ้าระวังในการใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารอย่างใกล้ชิด

สารฟอกขาวที่นิยมใช้ในอาหารบ้านเราส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของสารประกอบซัลไฟต์ ซึ่งเป็นชื่อรวมของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และเกลืออนินทรีย์ของกรดซัลฟูรัสซึ่งแตกตัวให้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สารฟอกขาวบางตัวไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในอาหาร ได้แก่ สารไฮโดรซัลไฟต์ (ยาซัด) เป็นสารที่นิยมใช้ในการฟอกย้อมผ้า แต่พบว่ามีผู้ผลิตหลายรายนำมาใช้ในการผลิตอาหารเพื่อฟอกสีอาหารให้ดูน่ากิน

สารซัลไฟต์เป็นสารเคมีที่นิยมใช้เป็นสารกันเสียเพื่อป้องกันและยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ ใช้เป็นสารกันหืนเพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันในอาหารที่จะทำให้เกิดการเหม็นหืนในผลิตภัณฑ์นั้น และที่สำคัญยังสามารถใช้เป็นสารฟอกขาวอีกด้วย เนื่องจากมีคุณสมบัติยับยั้งปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงเป็นสีน้ำตาลซึ่งเกิดในอาหารหลายประเภท เช่น ผัก ผลไม้ น้ำผลไม้ น้ำหวานจากพืช และอาหารทะเล กุ้ง ปู ปลา ปลาหมึก เป็นต้น

ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้เอง ทำให้มีการนำสารนี้มาใช้กันอย่างกว้างขวางในการผลิตอาหารต่างๆ เช่น การผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง การผลิตน้ำตาล ทั้งน้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊บ และน้ำตาลปึก การฟอกสีผลิตภัณฑ์จากแป้ง เช่น แป้งสาลี วุ้นเส้น เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน เป็นต้น พืชผักผลไม้ที่ปอกเปลือกและต้องการเก็บไว้นานๆ โดยไม่เกิดสีน้ำตาลเข้มขึ้น เช่น การผลิตมันฝรั่งอบแห้ง กล้วยอบแห้ง บางครั้งมีการนำไปแช่ถั่วงอก หน่อไม้ หรือใส่ในการผลิตผลไม้แห้ง ผลไม้ดองและแช่อิ่ม การผลิตน้ำผลไม้ ใช้เป็นสารฆ่าเชื้อในการผลิตไวน์

โดยปกติถ้าได้รับในปริมาณไม่มาก ร่างกายคนจะมีเอนไซม์ที่สามารถเปลี่ยนสารซัลไฟต์เป็นสารซัลเฟต ซึ่งไม่มีพิษต่อร่างกายและถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ อย่างไรก็ตาม การได้รับสารกลุ่มนี้ในปริมาณมากก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคได้

อาการความเป็นพิษที่เกิดขึ้นจะมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล เช่น ผู้เป็นโรคหอบหืด มีอาการที่พบคือ หายใจขัด เจ็บหน้าอก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง เวียนศีรษะ ความดันเลือดต่ำ เป็นลมพิษ และอาจเกิดอาการซ็อก หมดสติได้ ระดับความรุนแรงของอาการขึ้นกับปริมาณการได้รับว่ามากน้อยแค่ไหน

นอกจากนี้ สารนี้ยังสามารถทำปฏิกิริยากับวิตามินบางชนิด เช่น ไทอามีน ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคขาดวิตามินตัวนี้ ถ้าได้รับต่อเนื่องเป็นเวลานานจะเกิดพิษสะสมขึ้นโดยไปรบกวนการทำงานของเอนไซม์ ก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบเมตาบอลิซึมในร่างกายได้

องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่าความปลอดภัยต่อการบริโภคในชีวิตประจำวันของสารกลุ่มนี้ไม่ควรบริโภคเกิน 0.7 มิลลิกรัมซัลเฟอรไดออกไซด์ ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อ 1 วัน และประเทศไทยได้อนุญาตให้สารซัลไฟต์เป็นสารฟอกขาวใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหลายประเภท เช่น การผลิตน้ำตาล วุ้นเส้น เส้นหมี่ ก๋วยเตี๋ยว ลูกเกด และอาหารทะเลเยือกแข็ง เป็นต้น

โดยมีการกำหนดปริมาณสูงสุดที่ยอมให้มีการตกค้างในอาหารแต่ละประเภทแตกต่างกันไป ขึ้นกับปริมาณและลักษณะการบริโภคอาหารนั้นๆ แต่ก็เป็นการกำหนดตามมาตรฐานสากลซึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลตามลักษณะการบริโภคอาหารของชาวตะวันตก

อย่างไรก็ตาม มีการสำรวจพบการตกค้างของสารฟอกขาวในกลุ่มของสารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ ซึ่งไม่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร สารกลุ่มนี้นิยมใช้เป็นสารฟอกขาวในอุตสาหกรรม เช่น ฟอกย้อม สิ่งทอ และกระดาษ เป็นต้น
สารกลุ่มนี้มีความเป็นพิษรุนแรงกว่าสารซัลไฟต์ตัวอื่นมาก ทำให้เกิดการอักเสบที่ลำคอและระบบทางเดินอาหาร ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน การไหลเวียนเลือดล้มเหลว ระบบหายใจล้มเหลว หมดสติ และอาจเสียชีวิตได้
ดังนั้นการเลือกซื้ออาหารควรดูฉลากที่แสดงการใช้วัตถุเจือปนอาหารที่มีการระบุในฉลาก สำหรับคนที่เป็นโรคหอบหืดควรระวังการบริโภคอาหารที่มีการใช้สารฟอกขาวกลุ่มที่กล่าวมานี้ในการผลิต ไม่ควรบริโภคอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ

ส่วนอาหารที่ได้ต้องแสดงฉลาก ควรสังเกตลักษณะปรากฏของอาหารว่าโดยธรรมชาติของอาหารควรเป็นอย่างไร เช่น ผักผลไม้ที่ปอกเปลือกเมื่อวางทิ้งไว้จะมีสีคล้ำขึ้น ถั่วงอกเมื่อเด็ดหางออกบริเวณที่มีรอยฉีกขาดจะมีสีคล้ำขึ้น น้ำตาลชนิดต่างๆ มักมีสีน้ำตาลถ้าผลิตโดยไม่ใช้สารฟอกขาว น้ำตาลปี๊บน้ำตาลปึกเมื่อเก็บไว้นานๆ ที่อุณหภูมิห้อง จะมีสีน้ำตาลเข้มขึ้นเรื่อยๆ

ดร.เวณิกา เบ็ญจพงษ์ (สถาบันวิจัยโภชนาการ ม.มหิดล)
คัดลอกจาก "หมอชาวบ้าน" ธ.ค. 2546


ประเภทอาหารที่มีสารฟอกขาวปะปน


ได้แก่ ทุเรียนกวน ถั่วงอก หน่อไม้ ขิงซอย ขนมจีน อื่น ๆ มีการใช้สารฟอกสีเพื่อทำให้อาหารมีความขาวสดใส น่ารับประทานและดูใหม่อยู่เสมอ สารฟอกสีที่เป็นอันตรายไมอนุญาตให้ใช้ แต่ผู้ประกอบการบางรายมักนำมาใช้กัน ได้แก่ สารโซเดียมไฮโดซันไฟต์ (Sodium hydrosulfite) หากสัมผัสผิวหนังจะทำให้ผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นแดง

และถ้าบริโภคเข้าไปทำให้เกิดอาการอักเสบในอวัยวะที่สัมผัสอาหาร เช่น ปาก ลำคอ กระเพาะอาหาร อาการเกิดอาการปวดหลัง ปวดศีรษะ อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ความดันโลหิตลดลงอย่างรวดเร็ว หากบริโภคเกิน 30 กรัม อาจทำให้เสียชีวิตได้

อ้างอิง ::: เอกสารคู่มืออบรม อสม. -มปท(อัดสำเนา)
จรัญ บุญประกอบ/รายงาน


กินอาหารแถมสารพิษ


อังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 14:27 น. — Manager Online - ท่องเที่ยว

สารพิษในอาหารเป็นของแถมที่ใครๆ ก็ไม่อยากได้ ดังนั้นเวลาเลือกซื้ออาหารการกินต่างๆ จึงต้องดูให้ดี เพราะสารเจือปนในอาหารนั้นก็มีหลายสิ่งด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นสารฟอกขาว หรือโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ ซึ่งมักจะใช้ฟอกสีถั่วงอก ขิง ยอดมะพร้าว หน่อไม้ดอง ฯลฯ ให้มีสีขาว

สารฟอกขาวตกค้างอื้อ อาหารนำเข้าตามชายแดน


ศุกร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2549 07:58 น. — Thairath Online News

ดอกไม้จีน เยื่อไผ่ เก๋ากี้ และเห็ดหูหนู เสี่ยงพบ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ตกค้าง แพทย์แนะนำอาหารไปล้างน้ำ หรือ ลวกในน้ำเดือดก่อน 2 นาที ก่อนนำไปปรุงเป็นอาหาร

ธนบุรีตรวจหาสารฟอกขาวหรือสารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์


อังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2550 06:29 น. — www.newswit.com -- Other

นายธีรบูรณ์ มานุพีรพันธ์ ผู้อำนวยการเขตธนบุรี กทม. เปิดเผยว่า ในเดือน ส.ค. 50 เขตฯ ได้สุ่มตรวจอาหารจำนวน 105 ตัวย่าง ได้แก่ ถั่วงอก ขิงซอย ยอดมะพร้าว กระท้อน หน่อไม้ดอง น้ำตาล มะพร้าว ทุเรียน

เตือนภัยอาหารปนเปื้อน "มะเขือ-แตงกวา-ปลาบด"


พุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550 14:24 น. — RD1677: ร่วมด้วยช่วยขยาย

ส่วนสถานการณ์ด้านความสะอาดอาหารปรุงสำเร็จ จากการดำเนินการตรวจแนะนำมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารตามเกณฑ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย เพื่อยกระดับมาตรฐานแผงลอย/ ร้านอาหารที่จำหน่ายปรุงสำเร็จให้มีความสะอาด ปลอดภัยกับผู้บริโภค หลังจากการตรวจประเมินร้านอาหารและแผงลอย 4,520 แห่ง ผ่านเกณฑ์ 3,741 แห่ง

เตือนตลาดสดแปดริ้วอันตรายพบสารปรนเปื้อนในอาหารอื้อ


พฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2551 16:22 น. — Manager Online - ภูมิภาค

ฉะเชิงเทรา - ตลาดสดแปดริ้วอันตราย หลังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลงพื้นที่ตรวจพบสารอันตรายปรนเปื้อนในอาหารนาๆ ชนิดอื้อ ทั้งยาฉีดศพ น้ำประสานทอง สารเร่งเนื้อแดง สีผสมอาหาร และสารฟอกขาวพร้อมเตรียมออกมาตรการป้องปรามลงพื้นที่สุ่มตรวจถี่ขึ้นอีก

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฏร์ธานี
ออกประเมินโครงการพัฒนาตลาดสดน่าซื้อจังหวัดสุราษฏร์

พฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2551 18:18 น. — RD1677: ข่าวเครือข่ายทั่วประเทศ

ที่ตลาดสดเทศบาลตำบลย่านดินแดง อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานี เมื่อเช้าวันนี้(19 มิ.ย.51) คณะทำงานประเมินโครงการพัฒนาตลาดสดน่าซื้อจังหวัดสุราษฏร์ธานี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฏร์ธานี ออกตรวจ
เตือนภัย “ตะเกียบไม้” สารฟอกขาวอื้อ ชี้เจอความร้อนปล่อยกรดปนเปื้อนอาหาร

น.พ.ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ตามที่มีผู้แจ้ง มายังกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ว่า ตะเกียบอนามัยที่ใช้ตามร้านอาหารทั่วไปมีสารแปลกปลอม ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย จึงมอบหมายให้นายประกาย บริบูรณ์ ผอ.กองอาหาร สำนักคุณภาพเพื่อความปลอดภัยอาหาร เก็บตัวอย่างตะเกียบในท้องตลาดมาพิสูจน์

พบว่ามีการใช้สารฟอกขาวในตะเกียบไม้จริง โดยพบในตะเกียบชนิดที่ต้องหักออกจากกันก่อนใช้ ซึ่งเป็นที่นิยมของร้านอาหารทั่วไปในปัจจุบัน อันตรายจากสารฟอกขาวที่อยู่ในตะเกียบ เป็นชนิดเดียวกับสารฟอกขาวที่ใช้แช่ถั่วงอก โดยสารฟอกขาวจะมีสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์เป็นส่วนประกอบ เมื่อโดนน้ำร้อนหรือของที่มีอุณหภูมิสูง สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์จะเปลี่ยนเป็นกรดซัลฟูริก ซึ่งเป็นกรดชนิดเดียวกับที่อยู่ในแบตเตอรี่รถยนต์ เมื่อกรดดังกล่าวละลายออกมาจากตะเกียบ

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กล่าวอีกว่า การใช้ ตะเกียบกับอาหารร้อนสารจะปนเปื้อนในอาหาร อาจเป็นอันตรายสำหรับผู้ที่เป็นโรคหอบหืด หรือในคนที่มีภูมิต้านทานต่ำ แพ้ง่าย อาจจะเกิดอาการหอบ เหนื่อย อาเจียนได้ทันที ส่วนคนที่ร่างกายแข็งแรง สารเหล่านี้แม้จะไม่ทำอันตรายทันทีแต่จะสะสมในร่างกายได้ การปนเปื้อนของสารจะละลายออกมา

เมื่อตะเกียบถูกน้ำร้อน หรือความร้อน เช่น การทานสุกี้ อาหารหม้อไฟต่างๆ รวมทั้งบะหมี่สำเร็จรูปที่ชงกับน้ำร้อนด้วย แต่ถ้าใช้รับประทานอาหารที่ไม่มีน้ำร้อนๆ หรืออาหารแห้งๆ โอกาสที่สารฟอกขาวซึ่งอยู่ในตะเกียบจะเจือปนออกมา ก็มีโอกาสน้อยกว่าอันตรายของสารฟอกขาวที่เข้าไปสะสมในร่างกาย จะทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายค่อยๆลดต่ำลง ทำให้ร่างกายจะเกิดโรคต่างๆ ได้ง่ายกว่าปกติ

เพราะเมื่อร่างกายไม่มีภูมิต้านทาน เมื่อได้รับเชื้อต่างๆ ก็จะไม่มีระบบการทำลาย และสิ่งต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกายได้ง่ายจะไปสะสมทำให้เกิดโรคอื่นๆ ที่กระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็ง ทั้งนี้ หากต้องใช้ตะเกียบชนิดดังกล่าวรับประทานอาหารร้อนๆ สามารถป้องกันการปนเปื้อนของสารฟอกขาวได้ ด้วยการนำตะเกียบไปแช่ในน้ำร้อนประมาณ 3-4 นาที แล้วเทน้ำทิ้งเพื่อให้สารฟอกขาว ที่อยู่ในเนื้อไม้ของตะเกียบถูกทิ้งไปก่อน จึงค่อยนำมาใช้ ส่วนตะเกียบไม้ไผ่แม้ไม่มีสารฟอกขาว แต่ก็ต้องทำความสะอาดให้ดีเพื่อไม่ให้เกิดเชื้อรา

ที่มา - ไทยรัฐ วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม 2548

คำถาม - คำตอบ


คำถาม : อยากทราบวิธีการสกัดสารฟอกขาวออกจากถั่วงอก และจะต้องใช้สารอะไรบ้างในการสกัดครั้งนี้ กระผมต้องการคำตอบนะครับเพราะผมกำลังทำโครงงานวิเคราะห์เรื่องนี้ จึงกราบขอบพระคุณมากๆๆ น่ะครับ

คำตอบ : ผมนั่งคิดอยู่พักหนึ่งแล้วนะครับ ผมว่าการฟอกขาวเนี่ยเมื่อสารเคมีทำปฎิกิริยากับรอยด่างดำบนถั่วงอกแล้ว มันก็คงไม่ได้ตกค้างอยู่ที่ต้นถั่วงอกมากนักนะครับ เมื่อเทียบกับปริมาณที่ใช้ ถ้าจะสกัดออกมาเพื่อดูปริมาณอาจจะยากหน่อย ผมไม่แน่ใจเรื่องเทคนิคนะครับ
แต่ขอแนะนำว่าให้ไปดูว่าสารฟอกขาวที่ทางอุตสาหกรรมใช้กันคือชนิดใด จะได้ศึกษาคุณสมบัติของสารนั้นและใช้ในการสกัด หรือว่าถ้าจะตรวจสอบว่ามีปริมาณสารฟอกขาวเท่าไร เรื่องนี้น่าจะสอบถามจากทาง อย.ได้ครับ

นี่เป็นตัวอย่างงานที่อาจจะเกี่ยวข้องครับ
http://www.knit.or.th/foodsafety/wg3.html



สารเร่งเนื้อแดง (ซาลบูทามอล)



ซาลบูทามอล เป็นสารในกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ (b-Agonist) เป็นตัวยาสำคัญในการผลิตยาบรรเทาโรคหอบ หืด ช่วยในการขยายหลอดลม และช่วยให้กล้ามเนื้อขยายตัว เพิ่มการสลายตัวไขมันที่สะสมในร่างกาย พบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู มีการนำสารชนิดนี้ไปผสมในอาหารสำหรับเลี้ยงหมู เพื่อให้เนื้อหมูมีปริมาณเนื้อแดงเพิ่มมากขึ้น เพราะจะทำให้ได้ราคาดีกว่าหมูที่มีชั้นไขมันหนา ๆ

อันตรายจากซาลบูทามอล
การบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีสารเร่งเนื้อแดงตกค้างอยู่ อาจมีอาการมือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ กระวนกระวาย วิงเวียนศีรษะ บางรายมีอาการเป็นลม คลื่นไส้อาเจียน มีอาการทางจิตประสาท และเป็นอันตรายมากสำหรับหญิงมีครรภ์และผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคไฮเปอร์ไธรอยด์

วิธีการหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารเร่งเนื้อแดง
เลือกเนื้อหมูที่มีมันหนาบริเวณสันหลังและเลือกเนื้อหมูที่เมื่ออยู่ในลักษณะตัดขวาง จะมีมันแทรกระหว่างกล้ามเนื้อเห็นได้ชัดเจน

อันตรายของสารเร่งเนื้อแดง
สารเร่งเนื้อแดง เป็นชื่อที่ใช้เรียกกันทั่วๆ ไปของสารในกลุ่มเบต้า - อะโกนิสต์ (Beta-agonists) ที่ตรวจพบว่ามีการลักลอบใช้มีอยู่ 2 ชนิด คือ ซาลบูตามอล (Salbutamol) และเคลนบูเทรอล (Clenbuterol) ซึ่งเป็นสารเคมีที่นำมาใช้ในการผลิตยารักษาโรคมนุษย์ มีสรรพคุณในการขยายหลอดลม รักษาโรคหอบหืด และช่วยให้กล้ามเนื้อมดลูกคลายตัว

แต่อาจมีผลข้างเคียง คือ ทำให้มีอาการกล้ามเนื้อสั่น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ กระวนกระวาย วิงเวียน ปวดศีรษะ ดังนั้น จึงห้ามใช้ยากลุ่มนี้กับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ และใช้ด้วยความระมัดระวังในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วย Hyperthyroidism

ปัจจุบันพบว่ามีการลักลอบใช้สารเร่งเนื้อแดงในสุกร วัว และสัตว์ปีก เพื่อช่วยทำให้สัตว์ที่เลี้ยงเพื่อบริโภคเหล่านี้มีการสะสมไขมันลดลง มีการเจริญเติบโตและกระตุ้นเนื้อแดงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค หากได้รับสารตกค้าง อาจเกิดอาการหัวใจเต้นผิดปกติ นอนไม่หลับ คลื่นไส้ อาเจียน

รู้ได้อย่างไรว่าเนื้อหมูมีสารเร่งเนื้อแดงปนเปื้อน


1. หมูที่ยังมีชีวิตอยู่สามารถสังเกตเห็นได้ว่ามีลักษณะคล้ายนักเพาะกาย คือ เราจะเห็นมัดกล้ามนูนเด่นกว่าปกติ โดยเฉพาะบริเวณสะโพก สันหลังหรือบริเวณหัวไหล่ ถ้าได้รับสูงมากๆ หมูจะมีอาการสั่นอยู่ตลอดเวลา

2. ในส่วนของเนื้อนั่น จะมีสีแดงคล้ำกว่าปกติ

3. เนื้อที่หั่นทิ้งไว้จะมีลักษณะเนื้อค่อนข้างแห้ง แต่หมูปกติเมื่อหั่นทิ้งไว้จะพบน้ำซึมออกมาบริเวณผิว

4. ส่วนของหมูสามชั้น หมูปกติจะมีเนื้อแดง 2 ส่วน ต่อมัน 1 ส่วน (33%) แต่สำหรับหมูใช้เร่งเนื้อแดงจะมีปริมาณเนื้อสูงถึง 3 ส่วนต่อมัน 1 ส่วน (25%) นั่นคือ มีเนื้อแดงมากกว่ามัน

เทคนิคง่ายๆ สำหรับผู้บริโภคในการเลือกซื้อหมูที่ปลอดภัยในระดับหนึ่งคือ เลือกเนื้อหมูที่มีมันติด หากไม่ต้องการมันหมูก็สามารถตัดไปเจียวเป็นน้ำมันได้ แล้วเดี๋ยวนี้ในห้างสรรพสินค้าโดยทั่วไปก็มีหมูปลอดภัยจากสารพิษขายอยู่ทั่วไป ก็ให้ลองสังเกตและเลือกซื้อเนื้อหมูตามลักษณะที่แนะนำมา