ตามรอยพระพุทธบาท

หนังสือ "ตามรอยพระพุทธบาท" เล่ม 5 (ตอนที่ 2) งานหลวงปู่ชัยวงศ์
praew - 20/6/08 at 22:31

 ย้อนอ่าน ตอนที่ 1 | ตอนที่ 3 | ตอนที่ 4 | ตอนที่ 5




งานทำบุญฉลองอายุครบ ๘๔ ปี

พระครูพัฒนกิจจานุรักษ์ (หลวงปู่ครูบาชัยวงศ์)

ณ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน

วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๔๐




เชิญชมคลิปวีดีโอ การเดินทางไปลำพูน ปี ๒๕๔๐ ตอนที่ ๑ ตอนที่ ๒ ตอนที่ ๓

สารบัญ

01.
จัดงานเป็นตอนที่ ๒
02. ประวัติการพบกันระหว่างหลวงพ่อกับหลวงปู่
03. "บันทึกพิเศษ" ของหลวงปู่ชุ่ม โพธิโก
04. คำขอขมาหลวงปู่ครูบาชัยวงศ์
05. รอยพระพุทธบาทผาผึ้ง
06. วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
07. พระโมคคัลลาน์พยากรณ์ ณ ดอยอินทนนท์
08. พระเจ้าอโศกเสด็จมา ณ ดอยจอมทอง






(ภาพอดีต..หลวงพ่อพระราชพรหมยาน และ หลวงปู่ชัยวงศ์ - จากหนังสืออนุสรณ์หลวงปู่ชัยวงศ์)


จัดงานเป็นตอนที่ ๒

สำหรับงานทางภาคเหนือในครั้งนี้ เป็นงานที่จัดต่อเนื่องมาจากงาน ณ วัดพระธาตุจอมกิตติ เมื่อวันที่ ๑๘ ม.ค. ๒๕๔๐ ถือว่าเป็นตอนที่ ๒ เพราะตอนแรกนั้น มีคนร่วมเดินทางมากเหลือเกิน แต่คนที่ไปไม่ได้ก็ยังมีอยู่มาก ด้วยเหตุนี้ จึงเปิดโอกาสให้คนที่พลาดไปในครั้งแรกนั้น จะได้มีโอกาสร่วมงานในตอนที่ ๒ นี้ได้ แต่คนที่ไปแล้วอยากจะไปอีก ก็ยังมีอีกบ้างเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากญาติโยมหลายท่านได้ขอร้องให้ คุณนราธิป และ คณะคุณเพ็ญศรี ช่วยจัดรถขอร่วมเดินทางไปด้วย



(เครื่องไทยธรรมที่เตรียมไว้ถวายพระเถระ มีพระพุทธรูปและตาลปัตร เป็นต้น)

ส่วนคณะอื่น ๆ ที่เคยจัด เช่น คณะถาวร, คณะกองทุน, คณะ อ.วิชชุ, คณะคุณวิชัย จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ คณะพิษณุโลก ก็ได้จัดรถบัสร่วมเดินทางอีกหลายคัน รวมทั้งผู้ที่จัดรถตู้และรถเก๋งรถกะบะ รวมแล้วหลายสิบคัน ทั้งจากกรุงเทพและต่างจังหวัด


(ในตอนกลางคืน คุณแดงและคณะเตรียมทำบายศรีกัน และเจ้าหน้าที่มี คุณหมออู๊ด เป็นต้น ช่วยกันวางแผนแห่รูปครูบาอาจารย์ มีการทดลองนั่งบนธรรมาสน์ก่อน)

เมื่อคณะศิษย์หลวงพ่อพระราชพรหมยาน เกือบทั่วทุกภาคเดินทางมาถึงวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม แล้ว จึงได้รับประทานอาหารเช้ากันภายในวัด หลังจากได้เข้าไปกราบไหว้ในสถานที่สำคัญของวัดแล้ว ญาติโยมทั้งหลายต่างก็มาร่วมบำเพ็ญกุศล เพื่อสมทบทุนเข้ากองกลางในการจัดงานทุกแห่ง

ครั้นถึงเวลาประมาณ ๐๗.๔๕ น. เจ้าหน้าที่จัดงานจึงได้เริ่มจัดขบวนอัญเชิญรูปภาพครูบาอาจารย์ต่าง ๆ พร้อมทั้งเครื่องสักการะทั้งหลาย เดินแห่ไปรอบวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม เป็นการย้อนรำลึกถึงหลวงพ่อและหลวงปู่ทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้ว



(ตอนเช้าช่วยกันจัดแถวขบวนผ้าตุงและรูปครูบาอาจารย์ พร้อมกับพุ่มผ้าป่าเป็นต้น)


ฉะนั้น ผู้ที่เดินทางมาในครั้งนี้ จึงมีการตกลงกันว่า จะต้องแต่งตัวเป็นชาวเขาชาวดอยกัน ถือเป็นการจัดงานร่วมสมัย ดังจะเห็นได้ว่า บางคนที่เตรียมมาแล้ว ต่างก็ได้แต่งตัวกันทันที ส่วนบางท่านก็มาหาชุด "กะเหรี่ยง" กัน ที่หมู่บ้านข้างวัดนี่เอง ทำให้ชาวกะเหรี่ยงมีรายได้ขึ้นบ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็ชื้อเตรียมกันมาแล้ว เมื่อถึงเวลาจัดขบวนแห่ พวกเราจึงมายืนรอกันบนถนนข้างศาลายาว พวกหนุ่มสาวชาวกะเหรี่ยง (จริง) มายืนมองกัน



(คณะพุทธบริษัททั้งหลายเริ่มจัดแถวเดินขบวนยาวเหยียด พร้อมกับกะเหรี่ยงปลอมเดินถือเสลี่ยง)


มองแล้วก็อมยิ้มคงจะขำพวกกะเหรี่ยง (ปลอม) กัน เพราะมองดูแล้ว บางคนก็แต่งเสียจนจำไม่ได้ มองเห็นเป็นกะเหรี่ยงตัวจริงไปเลย เป็นการสร้างภาพพจน์สร้างบรรยากาศให้คึกคัก เช้าวันนี้ จึงมีความสดชื่นและแจ่มใส ถึงแม้จะต้องอดหลับอดนอนมาในรถกันตลอดทั้งคืน

สำหรับการจัดขบวนแห่นั้นมี ๒ ขบวน โดย "ขบวนแรก" เป็นขบวนชาวบ้านและชาวเมืองอัญเชิญต้นทานและพุ่มผ้าป่า ส่วนขบวนที่ ๒ นั้น เป็นขบวนอัญเชิญรูปภาพครูบาอาจารย์ทั้งหลาย พร้อมด้วยเครื่องสักการบูชา

ขบวนที่ ๑ การจัดแถวขบวนนี้มีแถวละ ๘ คน นำโดยผู้ที่ถือผ้าตุง ทั้งซ้ายและขวานำขบวนติดตามด้วยการหาม ต้นทาน ๔ ต้น แต่ละต้นสูงประมาณ ๔ เมตร ซึ่งชาวบ้านและชาวกะเหรี่ยง "วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม" จัดเตรียมไว้ให้ พร้อมทั้งห้อยสิ่งของประดับต้นทานอันมีผ้าจีวรและของใช้ของฉัน เป็นต้น ต้นทานทั้ง ๔ ต้น ก็มีการถือตุงซ้ายขวา คั่นระหว่างต้นทาน ต่อจากนั้นก็เป็นการถือ เสลี่ยง "พุ่มผ้าป่า" เป็นพุ่ม "เงิน" จริงๆคือ มีผู้มาติดธนบัตรที่พุ่มผ้าป่าจนเต็มไปหมด


(พระคณาจารย์จากสำนักต่างๆ ร่วมเดินนำขบวน แถวหน้าจากซ้าย หลวงพี่โอ, อาจารย์ย่อง วัดท่าเรือ กาญจนบุรี, อาจารย์วิชัย วัดถ้ำผาจม เชียงราย, ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล เชียงใหม่, ครูบาพรชัย วัดพระบาทสี่รอย เชียงใหม่ โดยมีหนูน้อยเดินถือผ้าตุงร่วมด้วยท่าทางที่น่ารัก)

ขบวนที่ ๒ สำหรับขบวนนี้เป็น "ขบวนพระ" โดยแถวหน้ามีผู้อัญเชิญ ธงชาติ และ ธงธรรมจักร ๔ คนยืนสลับกัน แล้วตามด้วยผู้ที่ถือ ตุง อีก ๓ แถว แถวละ ๔ คนเช่นกัน เป็นการเดินนำหน้าขบวนทั้งหมด แถวต่อมาเป็นเสลี่ยงบายศรี และเสลี่ยง เจดีย์แก้ว ของ คุณแสงเดือน แล้วต่อด้วยการอัญเชิญเครื่องสักการะต่างๆ อันมีพานขอขมา ฉัตรเงินฉัตรทอง และพุ่มเงินพุ่มทอง เป็นต้น ต่อจากนั้นจึงเป็นการอัญเชิญรูปภาพ ครูบาอาจารย์ ต่าง ๆ โดยประดิษฐานอยู่บนธรรมมาสน์ คือ

๑. ท่านครูบาศรีวิชัย
๒. ครูบาพรหมจักรฯ
๓. หลวงปู่คำแสน (เล็ก)
๔. หลวงปู่บุญทึม
๕. หลวงปุ่ชุ่ม
๖. หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
๗. หลวงปู่ธรรมไชย
๘. หลวงปู่ชัยวงศ์


ธรรมมาสน์ทั้ง ๘ นั้น ได้ถูกหามขึ้นโดยชาวกะเหรี่ยงจริง เพราะชาวกะเหรี่ยงปลอม คงจะหามไปไม่ตลอด แต่ละธรรมมาสน์ได้สลับด้วยการแห่ตุงทั้ง ๒ ข้าง ต่อจากนั้น ก็เป็นแถวพระภิกษุทั้งหลาย เมื่อขบวงนทั้ง ๒ จัดแถวเสร็จแล้ว ครั้นได้เวลาอันเป็นมหามงคล จึงให้เริ่มเคลื่อนขบวนทันที โดย "วงมองเซิง" จากชาววัดพระพุทธบาทห้วยต้ม (คล้ายกลองยาวบ้านเรา) พร้อมทั้งชายชาวกะเหรี่ยง ๒-๓ คน เดินร่ายรำไปตามจังหวะฆ้องและกลองนำขบวน

โดยเดินเลี้ยวขวาออกนอกำแพงของวัด สร้างความครึกครื้นให้เป็นอย่างยิ่ง เมื่อมีเสียงโห่ฮิ้วไปตลอดทาง ขบวนเดินตามกันไปอย่างเป็นระเบียบ มองเห็นผู้คนเดินแออัดไปตามถนน ช่วยหน้าขบวนจะเห็นผ้าตุงแกว่งไปมาอย่างสวยงาม ตามไปส่วนยอดของต้นทานที่ถูกหามออกไป พุ่มผ้าป่าของเราก็ไม่เบา (จะสวยเพราะ "ธนบัตร" ที่ติดอยู่หรือไม่ก็ไม่รู้..)



เมื่อขบวนที่ ๑ อันยาวเหยียดเดินออกไปแล้ว ขบวนที่ ๒ ก็ได้เคลื่อนขบวนติดตามออกไป โดยมีขบวนธงและขบวนตุงดังที่กล่าวแล้วนั้นนำหน้าขบวน พออัญเชิญธรรมมาสน์ ครูบาอาจารย์ออกมาระหว่างประตูด้านหน้าวัด ได้มีผู้มายืนรออยู่ทั้งสองด้าน แล้วต้อนรับด้วยการโปรยดอกมะลิ เพื่อเปนการบูชาพระคุณท่าน


(ชาวกะเหรี่ยงจริงๆ เดินตีฆ้องกลองร่ายรำนำขบวนแห่เสลี่ยงรูปภาพ "ครูบาเจ้าศรีวิชัย" ผู้เป็นปรมาจารย์ของหลวงปู่ทั้งหลาย)

ขบวนที่ ๑ ได้นำขบวนไปรอบนอกกำแพงวัด ประมาณ ๑,๓๐๐ เมตรเศษ ก็เลี้ยวกลับมาเข้าประตูด้านหน้าวัดอีก เสียงประทัดได้ดังขึ้นอย่างสนั่นหวั่นไหว เป็นการต้อนรับขบวนแห่ทั้งหมดเข้าสู่บริเวณวัด โดยวงมองเซิง ยังบรรเลยอยู่หน้าประตูวัด ปล่อยให้ "ต้นทาน" และ "พุ่มผ้าป่า" เดินเข้าไปก่อน แถวขบวนชาวกะเหรี่ยงทั้งจริงและปลอมต่างก็เดินเข้าไปในบริเวณวัดแล้ว ก็ได้จัดยืนตามตำแหน่งเดิมที่ตั้งขบวนครั้งแรก แล้วแยกออกเป็นสองข้าง หันหน้าเข้าหากัน ยืนพนมมืออยู่ทั้งสองข้างทาง เพื่อแสดงความเคารพต่อขบวนที่ ๒ ซึ่งได้อัญเชิญธรรมมาสน์ทั้ง ๘ ที่ได้ประดิษฐานรูปภาพของครูบาอาจารย์ทั้งหลาย อันมี "ท่านครูบาศรีวิชัย" เป็นต้น


(ขบวนแถวต่อจากท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย ก็จะเป็นรูปภาพหลวงปูต่างๆ โดยมีเสลี่ยงรูปภาพ "หลวงพ่อพระราชพรหมยาน" และ "หลวงปู่ชัยวงศ์ เป็นต้น เดิมหลวงปู่ท่านจะนั่งเสลี่ยงเอง แต่พอดีท่านป่วยจึงต้องงดไป)

ภาพย้อนหลังในอดีต

ภาพรวมที่เห็นในขณะนั้น จึงเป็นภาพที่สวยงามและประทับใจมาก เพราะเป็นการอัญเชิญรูปครูบาอาจารย์อันเป็นที่เคารพยิ่ง แม้ท่านจะจากพวกเราไปแล้วก็ตาม แต่ท่านก็ยังประทับอยู่ในดวงใจของพวกเราตลอดไปความทรงจำที่เห็นอยู่ในขณะนั้น จึงทำให้หวลระลึกนึกถึงความหลัง เมื่อครั้งสมัยที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ ชาวกะเหรี่ยง และพวกเราก็ได้เคยจัดเสลี่ยงหามท่านไปรอบวัด รวมทั้งหลวงปู่บางองค์ด้วย เช่น หลวงปู่ชุ่ม และ หลวงปู่คำแสน เป็นต้น


(ภาพในอดีต..ภาพนี้ชาวเราชาวกะเหรี่ยงกำลังช่วยกันหามเสลี่ยง "หลวงปู่คำแสนเล็ก" วัดดอนมูล โดยมีท่านเจ้าอาวาสของเรา.."พระครูปลัดอนันต์" สมัยนั้นยังหนุ่มอยู่ร่วมขบวนแห่รอบพระอุโบสถวัดท่าซุงด้วย)



(ภาพในอดีต..หลวงพ่อและหลวงปู่นั่งอยู่บนเสลี่ยง โดยมีคณะศิษย์เดินแห่รอบพระอุโบสถ วัดท่าซุง - ภาพจากหนังสืออนุสรณ์หลวงปู่ (คุณแน่งน้อย ธีรชาติ เป็นผู้ถ่ายภาพไว้ โดยคนหามไม่รู้ตัว เพ่งจะมารู้ก็เมื่อได้เห็นภาพในหนังสือเล่มนี้)

แล้วก็อีกภาพหนึ่งนานมาแล้วเช่นกัน (เป็นภาพส่วนตัว) มีสองหนุ่มนั่งอยู่หน้า "ต้นทาน" หนึ่งในนั้น คือ คุณกิจจา (ตุ๋ย - อยู่ที่อังกฤษ) ถ่ายร่วมกับสองพ่อลูกชาวกะเหรี่ยง ณ วัดพระบาทห้วยต้ม เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2519)

แต่งานคราวนี้เสียดายที่หลวงปู่วงศ์ ท่านมีสุขภาพที่ไม่แข็งแรง จึงต้องนำรูปภาพของท่านมาแห่แทน การจัดขบวนในครั้งนี้ จึงเป็นการจัดย้อนรำลึกถึงความหลังกัน เพื่อแสดงความสามัคคีที่ดีต่อกัน ในฐานะที่พวกเราเป็นศิษย์ร่วมสำนักร่วมครูบาอาจารย์เดียวกัน เป็นการรวมพลังเพื่อแสดงความกตัญญูรู้คุณ ที่ท่านได้เมตตาสั่งสอนและอบรมบ่มนิสัย เพื่อจะได้มีความรู้เข้าสู่ประตูพระนิพพานในชีวิตนี้

เมื่อขบวนอัญเชิญรูปภาพครูบาอาจารย์และอัญเชิญเครื่องสักการะเดินผ่านเข้าไปแล้ว ก็นำไปประดิษฐานยังโต๊ะหมู่บูชา บายศรีได้ถูกจัดขึ้นบนโต๊ะอย่างสวยงาม ภายในวิหารในตอนนี้ จึงมีคนเดินตามเข้ามานั่งอย่างเป็นระเบียบ จนเต็มล้นพระวิหาร ส่วนพระสงฆ์ประมาณ ๒๐ กว่าองค์ ก็ตรงมานั่งยังอาสนะของท่าน




ครั้นได้เวลาประมาณ ๐๘.๐๐ น.เศษ หลวงปู่ชัยวงศ์ท่านก็ได้นั่งรถเข็นเข้ามานั่งในอาสนะของท่าน ซึ่งได้จัดเตรียมไว้ในซุ้มอันเป็นที่จะกระทำพิธีสืบชะตา ตามประเพณีของชาวเหนือ หลวงปู่ได้เข้าไปนั่งแล้วเอาที่โยงด้วยสายสิญจน์วางครอบศรีษะของท่าน โดยมีพระสงฆ์จากวัดอื่นที่เคยเป็นลูกศิษย์ของท่าน ได้นั่งถือสายสิญจน์เจริญพระพุทธมนต์อยู่รอบบริเวณซุ้มนั้น

หลังจากพิธีดังกล่าวเสร็จแล้ว หลวงปู่ก็เข้ามาร่วมพิธีกับพวกเรา โดยนั่งรถเข็นออกมา จุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชาและโต๊ะบวงสรวง แล้ว ผู้จัดจึงได้กราบเรียนชี้แจงในที่ประชุมนั้นว่าวัตถุประสงค์ในการจัดงานก่อนที่จะเริ่มงานพิธีสำคัญในวันนี้ ที่พวกเราเหล่า คณะศิษย์พระเดชพระคุณหลวงพ่อและ คณะศิษย์พระเดชพระคุณหลวงปู่ ได้มาร่วมกันจัดงานบำเพ็ญกุศล เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญู ในฐานะที่ท่านเป็นครูบาอาจารย์ของพวกเรา

ถึงแม้หลวงพ่อจะละสังขารไปแล้ว พร้อมกับหลวงปู่อีกหลายองค์ ซึ่งเป็นพระที่หลวงพ่อยกย่องว่าเป็น"พระสุปฏิปันโน"แต่ในปัจจุบันนี้ หลวงปู่ครูบาชัยวงศ์ ท่านยังมีชีวิตอยู่เพียงองค์เดียวเท่านั้น ที่พวกเราผู้เป็นลูกหลานของท่าน ยังมีความเคารพนับถือ และปลื้มปีติยินดีที่หลวงปู่ยังเมตตาอนุเคราะห์ โดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย จนบางครั้งสังขารก็ไม่อำนวยให้ นับว่าหลวงปู่ได้ทำหน้าที่สมกับเป็น "พุทธสาวก" อย่างแท้จริงองค์หนึ่งในพระพุทธศาสนา

ฉะนั้น หลวงปู่จะมีชีวิตอยู่อีกนานเท่าใด ก็ไม่ทราบได้ แต่พวกเราก็จะมาฉลองอายุของท่านในวันนี้ก่อน เนื่องในวโรกาสที่หลวงปู่ จะมีอายุครบ ๗ รอบ คือ ๘๔ ปี แต่ที่จะเป็นจะต้องมาจัดงานก่อนวันที่ ๒๒ เมษายน อันเป็นวันคล้ายวันเกิดของท่านนั้น เป็นเพราะเหตุว่า เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๗ ได้อัญเชิญรูปเหมือน "หลวงพ่อ" ไปถวายไว้ ณ วัดพระบาทสี่รอย จ.เชียงใหม่

ตอนขากลับ จึงได้แวะมากราบนมัสการหลวงปู่ แล้วได้คุยกับท่านถึงความหลัง เมื่อครั้งที่หลวงปู่เดินทางไปที่ พระวิหารน้ำน้อย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ร่วมกับหลวงพ่อและหลวงปู่อื่น ๆ อีกรวม ๗ องค์ด้วยกัน ซึ่งหลวงปู่ยังจำเหตุการณ์เหล่านั้นได้ดี พร้อมกับบอกว่า พระพุทธรูปที่ฝังอยู่ใต้ดินนั้น เป็นพระที่สร้างสมัยสุโขทัย ดังนี้

ผู้เขียนจึงได้ปรารภกับหลวงปู่ต่อไปอีกว่าเวลานี้องค์อื่นก็มรณภาพไปหมดแล้ว ยังเหลือแต่หลวงปู่ ตอนนี้หลวงปู่จึงครองแชมป์แล้ว พอพูดถึงตอนนี้ หลวงปู่ก็หัวเราะขึ้นเบา ๆ ผู้เขียนก็ได้กราบเรียนท่านว่า ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ หลวงปู่มีอายุครบ ๘๔ ปี ผมอยากจะมาจัดงานย้อนรำลึกถึงความหลัง สมัยที่หลวงพ่อเคยมาที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม เพราะเห็นหลวงพ่อขึ้นเสลี่ยงแล้วถูกหามไปรอบ ๆ จึงอยากจะจัดเสลี่ยงหามแบบนั้นบ้าง โดยจะเอารูปภาพหลวงพ่อและหลวงปู่บางองค์ที่พอจะหารูปภาพได้


(ภาพอดีต..หลวงพ่อพระราชพรหมยาน, หลวงปู่ชัยวงศ์, และ หลวงปู่พระมหาอำพัน วัดเทพศิรินทร์ฯ - จากหนังสืออนุสรณ์หลวงปู่ชัยวงศ์)

ในตอนนี้ หลวงปู่ท่านพูดขึ้นเบาๆ ว่าให้อาตมาเอารูปหล่อหลวงพ่อแห่เลยซิ พอมาถึงตอนนี้ จึงรู้สึกว่าเสียท่าหลวงปู่เสียแล้ว จึงรีบโยนหน้าที่นี้ไปให้ญาติโยมที่นั่งข้างหน้า บอกว่าคงจะต้องหาทุนจากพวกนี้ แล้วจึงได้เรียนถามหลวงปู่ต่อไปว่า ผมจะมาจัดงานได้เมื่อใด ท่านบอกว่าให้จัดงานก่อนวันเกิด หรือหลังวันเกิด
ก็ได้

ครั้นมาถึงปีนี้ที่จะต้องอยู่ตั้งนานเกือบ ๓ ปี ระหว่างนี้ก็คอยฟังข่าวอยู่เสมอ เพราะกลัวว่าหลวงปู่จะแอบหนีไปเสียก่อน เมื่อปฎิทินปีนี้ออกมาปรากฏว่า วันที่ ๑๙ เป็นวันเสาร์ พอที่จะเดินทางมาจัดงานได้ เพราะส่วนมากคนจะว่างเฉพาะเสาร์อาทิตย์เท่านั้น และจังหวะพอดี ที่ก่อนงานวันเกิดของท่านเพียง ๒-๓ วันเท่านั้น นับเป็นอัศจรรย์เหมือนกัน เหมือนกับหลวงปู่จะต้องมีนัดกับลูกหลานหลวงพ่อไว้ฉะนั้น

เพราะครั้งนี้นับเป็นครั้งแรก จึงเป็นวันประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง ที่จะมาย้อนความหลังกัน เผื่อบางคนที่มาภายหลังจะได้ทราบว่า หลวงพ่อกับหลวงปู่นั้น มีความสัมพันธ์กันมาอย่างไร เพราะเหตุใดจึงได้รู้จักกัน จนกระทั่งมีลูกศิษย์ลูกหามากมายจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ คิดว่าคงจะหาฟังได้ยาก แต่ก็จะลำดับแต่เพียงย่อ ๆ เพราะเหตุการณ์ผ่านมานานหลายปี ที่พอจะจำได้และหลักฐานอ้างอิง

แต่ก่อนที่จะถึงตอนนั้น ก็จะขอต่อไปอีกสักนิด ถึงเรื่องที่กำหนดงานในวันนี้ โดยได้มากราบเรียนหลวงปู่ไว้ เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ก่อนที่จะไปดอยตุง จึงได้แวะมาแจ้งให้ทางวัดทราบโดยมี คุณพงษ์ศักดิ์ จากกรุงเทพฯ และ คุณสุพัฒน์ กับ อ.นฤมล อยู่ที่เชียงใหม่ เป็นผู้ประสานให้ ตั้งแต่เมื่อวันที่ ๑ มิ.ย. ๒๕๓๙ ครั้งนั้นได้อัญเชิญรูปเหมือนหลวงพ่อ มาไว้ก่อน โดยมี คุณโยมนงลักษณ์ บุณยไวโรจน์ เป็นเจ้าภาพพร้อมกับญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย เป็นเงินทั้งสิ้น ประมาณ ๔ หมื่นบาทเศษ

ในวันนั้นอัญเชิญมาชั่วคราว เพราะเกรงว่าหลวงปู่ท่านจะหนีไปก่อน แต่ตอนนี้หลวงปู่ยังรักษาสัญญาไว้ จึงได้มาถวายกันเป็นทางการ เพื่อจะได้จัดงานบำเพ็ญกุศล ทั้งได้นิมนต์ครูบาเจ้าทั้งหลายมาด้วย เราจะได้น้อมอุทิศผลานิสงส์นี้ เพื่อถวายแด่หลวงปู่ให้มีสุขภาพแข็งแรงตลอดไป เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรแก่ลูกหลานทั้งหลาย

ll กลับสู่ด้านบน




ประวัติการพบกันระหว่างหลวงพ่อกับหลวงปู่


(ภาพอดีต..ด้านข้างพระอุโบสถ ณ วัดท่าซุง หลวงพ่อออกมาต้อนรับหลวงปู่ชัยวงศ์ พร้อมกับคณะชาวกะเหรี่ยง ที่ได้เดินทางมาร่วมงานสำคัญที่วัดท่าซุงแทบทุกครั้ง และภาพนี้สำคัญมากเป็นการไปร่วม "งานพิธีพุทธาภิเษกผ้ายันต์มหาพิชัยสงคราม" ที่พวกเรารู้จักกันดีที่เรียกว่า "ผ้ายันต์ธงแดง" นั่นเอง ณ วัดบวรนิเวศน์ฯ เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๘

นับว่าเป็นผ้ายันต์รุ่นเดียวของวัดท่าซุง ที่ปลุกเสกโดยมีคณาจารย์มาร่วมพิธีทั่วประเทศ โดยมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระมหากรุณาธิคุณจัดงานพระราชพิธีนี้ขึ้น ทรงอาราธนาพระมหาเถระสายอื่นๆ ส่วนสายเหนือพระองค์ทรงมอบให้เป็นภาระของหลวงพ่อ ที่จะอาราธนามาร่วมพิธี ตามที่เห็นภาพนี้ ขณะกำลังรอนั่งเข้าพิธีอยู่ภายในวัดบวร)


(ภาพจากซ้าย..หลวงพ่อ, หลวงปู่ธรรมชัย, หลวงปู่ชัยวงศ์, หลวงปู่ชุ่ม, หลวงปู่คำแสนเล็ก, หลวงปู่ครูบาอินทรจักร วัดน้ำบ่อหลวง (พี่ชายหลวงปู่ วัดพระบาทตากผ้า, หลวงปู่คำแสนใหญ่ วัดสวนดอก, องค์สุดท้ายที่มองเห็นไม่ชัดนั่นคือ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ)



ต่อไปนี้ก็จะขอลำดับประวัติความเป็นมาระหว่างหลวงพ่อกับหลวงปู่ ซึ่งอาจจะขาดตกบกพร่องไปบ้าง ผมต้องกราบขออภัยหลวงปู่ไว้ ณ ที่นี้ด้วย แต่ก็คงจะช่วยย้อนภาพความทรงจำในอดีต เพื่อให้ลูกหลานภายหลังจะได้ทราบ ถึงแม้จะไม่ได้ถึง ๑๐๐ % ก็ยังดี แต่พอที่จะจำได้ก็เป็นตอนก่อนที่หลวงพ่อกับหลวงปู่จะพบกัน คงจะเป็นแนวทางให้คนภายหลัง จะได้นำเรื่องราวไปเรียบเรียบเป็นประวัติได้บ้าง จึงขอให้ทุกคนตั้งใจฟังให้ดีนะ

ความเดิมนั้นมีอยู่ว่า หลวงพ่อจะจัดงาน "วันครบรอบ ๑๐๐ ปี เกิดของหลวงพ่อปาน" ที่วัดท่าซุง ตั้งแต่วันที่ ๖ สิงหาคม ถึงวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๑๘ ท่านตั้งใจจะนิมนต์ "พระสุปฏิปันโน" มาร่วมงานเป็นกรณีพิเศษ ด้วย ทั้งนี้ ท่านได้รับพุทธบัญชาให้ไปหาพระที่มีชื่อว่า "ทึม" ในตอนนั้นประมาณปี ๒๕๑๗ ผู้เขียนยังไม่ได้บวช จึงได้ยินท่านเล่าด้วยตนเอง หลังจากเลิกเจริญพระกรรมฐานแล้ว และได้มีโอกาสร่วมเดินทางไปกับท่านหลายครั้ง แม้กระทั่งที่นี่ก็ได้มาตั้งแต่ครั้งยังไม่ได้บวช "ล่าพระอาจารย์" เป็นครั้งแรก

หลวงพ่อจึงเริ่มเดินทางสู่ภาคเหนือ ญาติโยมทั้งหลายคงจะจำได้ คำว่า "ล่าพระอาจารย์" จึงได้เกิดขึ้นกันตอนนี้เอง พระสุปฏิปันโน "ชุดแรก" ที่หลวงพ่อไปล่ามาได้ ทุกคนจำไว้ให้ดีนะ เผื่อมีใครเขาถาม จะลำดับให้ฟังกันนั่นก็คือ...หลวงปู่สิม หลวงปู่แหวน หลวงปู่ครูบาพรหมจักร วัดพระบาทตากผ้า (ผู้น้อง) และหลวงปู่ครูบาอินทรจักร วัดน้ำบ่อหลวง (ผู้พี่) ชุดแรกรวม ๔ องค์ด้วยกัน ที่หลวงพ่อเดินทางไปพบไปเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๖ พ.ย. ๒๕๑๗

ครั้งที่ ๒ ต่อมาครั้งที่ ๒ ที่หลวงพ่อเดินทางไปอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๑๘ คือทิ้งระยะห่างเพียง ๒ เดือนเศษเท่านั้น ท่านก็ได้มาพบ หลวงปู่คำแสน (เล็ก) วัดดอนมูล อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ซึ่งในตอนนี้เองแหละเป็นตอนที่สำคัญ โดย หลวงปู่ท่านได้แนะนำพระสุปฏิปันโนที่สำคัญต่อไปอีกว่า ให้หลวงพ่อไปพบ หลวงปู่บุญทึม วัดจามเทวี และ หลวงปู่คำแสน (ใหญ่) วัดสวนดอก

แล้วหลวงพ่อก็ได้เดินทางไปพบหลวงปู่ทั้ง ๒ องค์ทันที เพราะชื่อหลวงปู่บุญทึม ไปตรงกับชื่อ "ทึม" ตามที่พระท่านสั่งหลวงพ่อไว้ จึงเป็นอันว่าพบแล้วตามพระพุทธประสงค์ ชุดที่สองนี้จึงเพิ่มขึ้นอีก ๒ องค์ รวมเป็น ๖ องค์ ในเวลานั้นก็ได้พบกับ หลวงปู่บุดดา หลวงปู่สี อายุ ๑๒๖ ปี (อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์) และ หลวงปู่มหาอำพัน ด้วย

ครั้งที่ ๓ ในกรณีนี้ จะลำดับเฉพาะพระสายเหนือต่อไปอีกว่า อาจารย์ที่ดีเขาไม่หวงลูกศิษย์กัน หลวงพ่อก็ได้นำลูกศิษย์ไปกราบพระผู้ทรงคุณพิเศษเหล่านี้อีก จึงได้มีการเดินทางอีกเป็นครั้งที่ ๓ ในวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๑๘ โดยเว้นเพียง ๒ เดือนกว่า หลวงพ่อก็เดินทางอีกแล้ว จะเห็นว่าเวลานั้น หลวงพ่อท่านทำงานหนักมาก กว่าจะล่ามาให้พวกเรารู้จักกัน ชุดนี้มีเพียงองค์เดียวเท่านั้น ที่จะพบกัน ณ วัดจามเทวี พวกเรารู้สึกตื่นเต้นมาก เพราะในการล่าครั้งก่อนโน้น กลับมาก็ตัวเบากระเป๋าเบากันเป็นแถว

การไปคราวนี้ จึงได้ทราบว่า หลวงปู่บุญทึม จะเปิดตัวพระสุปฏิปันโนอีกองค์หนึ่ง นั่นก็คือ หลวงปู่ชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย แล้วพวกเราก็ได้พบเห็นการล่าของหลวงพ่อ โดยการซักถามถึงภูมิธรรมของท่าน ปรากฏว่าต้องจนแต้มหลวงพ่อ คือการยอมรับว่าตนเองเป็นพระสุปฏิปันโนไปในที่สุด หลวงปู่บุญทึมถึงกับพูดออกมาในตอนนั้น หลังจากเห็นหลวงพ่อไล่ต้อนหลวงปู่ชุ่ม ซึ่งท่านก็คงจะเล่นละครให้เราดูกัน

ท่านบอกว่า "เราโดนต้อนเข้าคอกไปคนหนึ่งแล้ว เดี๋ยวก็คงจะโดนต้อนเข้าไปอีกคนนั่นแหละ...! แล้วท่านก็ทำไม่รู้ไม่ชี้ แสร้งแหงนหน้ามองดูเพดาน ปล่อยให้หลวงปู่โดนหลวงพ่อไล่ล่าจนจนมุม ผลที่สุดพวกเราก็ประทับใจที่ได้พบ "พระสุปฎิปันโน" เพิ่มขึ้นอีกองค์หนึ่ง



หลวงพ่อเดินทางไปพบกับหลวงปู่วงศ์เป็นครั้งแรก

ครั้งที่ ๔ ในครั้งนี้แหละเป็นครั้งที่สำคัญ ที่พวกเราอยากจะรู้กัน ลองทายซิว่าเป็นใคร..? คงจะเดากันได้ว่า ครั้งนี้คงจะมาถึงวัดพระพุทธบาทห้วยต้มอย่างแน่นอน ถึงแม้จะอยู่กันห่างไกลสักแค่ไหน สมัยนั้นหนทางกันดารจะลำบากเพียงใด ใจที่ได้ผูกพันกันมาตั้งแต่อดีตชาติ
ทั้งนี้ ผู้ที่เชื่อมความสัมพันธ์ให้ท่านทั้งสองได้โคจรมาพบกัน นั่นก็คือ หลวงปู่บุญทึม อีกเช่นเคย เหมือนท่านจะรู้วาระว่าจะอยู่อีกไม่นาน จึงคิดจะละสังขารไว้ใ สถานที่แห่งนี้ แผนของท่านจึงได้ถูกวางไว้ โดยให้กะเหรี่ยงหามท่านมานอนพักรักษาตัวอยู่ ณ ที่นี้ เพื่อรอคอยเวลาที่จะมาถึง

ฉะนั้น เมื่อถึงคราวที่ หลวงปู่ชุ่ม ท่านจะเข้านิโรธสมาบัติ เป็นเวลา ๗ วัน พวกเราต่างก็เกณฑ์ทัพกันมาด้วยรถบัสจำนวนหลายสิบคัน หลังจากได้บำเพ็ญกุศลกับผลของสมาบัติจนชื่นใจแล้ว บรรดาลูกแก้วทั้งหลายก็เดินทางกลับ แต่ยังมีเหลือเฉพาะหลวงพ่อและผู้ติดตามอีกเล็กน้อย เพื่อจะคอยติดตามไปเยี่ยมหลวงปู่บุญทึมกัน หลังจากนั้นก็เดินทางมาที่นี่

วันแห่งความทรงจำ

ซึ่งสมัยนั้นนับตั้งแต่ทางเข้าหน้าวัดไป มีต้นไม้อยู่หนาแน่นมาก จึงนับเป็นวันแห่งประวัติศาสตร์ก็ว่าได้ ที่หลวงพ่อและหลวงปู่พร้อมทั้งชาวเมืองและชาวกะเหรี่ยงทั้งหลาย จึงได้พบกัน และได้รู้จักกันเป็นครั้งแรก วันนั้นเป็นวันสำคัญที่จะลืมไม่ได้ก็คือ วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๘ คือเมื่อ ๒๒ ปี (พ.ศ. ๒๕๔๐) ที่ผ่านมานั่นเอง


(ภาพประวัติศาสตร์..ย้อนรำลึกนึกถึงขบวนแห่หลวงพ่อและหลวงปู่รอบวัดพระบาทห้วยต้ม ที่ผู้เขียนแอบเข้าไปหามกับเขาด้วย แต่อยู่หลังคุณกิจจาหน่อย ส่วนภาพ "หลวงพ่อแขวนลูกประคำไว้ที่คอ" เป็นครั้งแรกที่นี่อีกเช่นกัน ส่วนเด็กกะเหรี่ยงที่เห็นคือ เด็กชายนอนุ กำลังกล่าวคำอาราธนาศีล และคำถวายทานแด่พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ - ภาพจากแฟ้มประวัติที่หลวงพี่ชัยวัฒน์เก็บไว้นาน 30 ปี)


ตอนนี้จึงขอนำเทปที่บันทึกเสียงเอาไว้เมื่อ วันที่ 27 พ.ย. 2521 เป็นงานแจกของในถิ่นทุรกันดาร ที่หลวงพ่อเพิ่งเริ่มตั้งศูนย์สงเคราะห์ฯ กันใหม่ๆ มีเจ้าหน้าที่กองทุนร่วมเดินทางกันมากมาย แม้เสียงจะไม่ค่อยชัด แต่ขอให้พยายามฟังทุกขั้นตอน แล้วตั้งจิตอนุโมทนาไปด้วยกัน


จึงขอเชิญรับฟังได้เลย โปรด "คลิก" แต่เสียงจะยังไม่มาทันที แล้วแต่ความเร็วเน็ตของท่าน จะต้องรอโหลดสักครู่ จึงจะมีเสียงมา แล้วค่อยเลือกรับฟังตามอัธยาศัย นับว่าเป็นของหายาก มีอยู่เพียงแค่นี้เอง ขอขอบคุณพระเจ้าที่ตึกกองทุนด้วย

หลวงพ่อแจกวัตถุสิ่งของ
ณ วัดพระบาทห้วยต้ม
เมื่อ วันที่ 27 พ.ย. 2521
ลำดับที่รายการคลิกฟังเสียง
01หลวงพ่อวางแผนก่อตั้ง โรงเรียนราชานุเคราะห์ 2
กับ พ.อ.ชวาล กาญจนกุล
02หลวงพ่อกล่าวปราศรัยกับชาวกะเหรี่ยง
วัดพระบาทห้วยต้ม
03เด็กน้อยชาวกะเหรี่ยง ชื่อ "นอนุ" ได้กล่าวนำ
สมาทานศีลกับหลวงพ่อ
04เด็กน้อยชาวกะเหรี่ยง ชื่อ "นอนุ" กล่าวคำ
ถวายทานและหลวงพ่อให้พร
.


(คลิปเสียงชุดนี้ ลิขสิทธิ์เป็นของวัดท่าซุง จัดทำโดย พระเจ้าหน้าที่ตึกกองทุน)




ขอย้อนกลับมาเล่าเรื่องต่อไปอีกว่า ฉะนั้น ในวันนี้ นอกจากจะมาร่วมฉลองงานครบรอบ ๘๔ ปี ของหลวงปู่แล้ว ก็ยังตั้งใจจะมาเฉลิมฉลองเนื่องในวันที่หลวงและหลวงปู่ได้มาพบกันอีกด้วย เรียกว่าฉลองกัน ๒ ต่อก็ว่าได้ ส่วนอาการอาพาธของหลวงปู่บุญทึมนั้น ต่อมาหลวงพ่อท่านขอร้องให้ไปหาหมอ จึงต้องมาอยู่ที่โรงพยาบาลสวนดอก แล้วก็ได้มรณภาพไปในที่สุด เมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๑๙ คืออีก ๔๒ วันต่อมา จึงอยากจะให้พวกเราทุกคน เมื่อได้รับฟังเรื่องราวนี้แล้ว ทั้งที่ยังมิได้เคยนำมาเล่าย้อนกันเลย จะได้หวลนึกถึงพระคุณของท่าน

ถ้ามิใช่เป็นเพราะความเมตตาของหลวงปู่บุญทึม ป่านนี้เราอาจจะมิได้ยืนอยู่ ณ ที่นี้ก็เป็นได้ จึงขอให้ทุกคนที่ได้รับฟังแล้ว จงจดจำไว้ว่าผู้ที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างหลวงพ่อและหลวงปู่ของเราให้ได้พบกัน นั่นก็คือ หลวงปู่บุญทึม หรือชื่อ "ทึม" ตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงโปรดประทานพรให้หลวงพ่อตามหาให้พบ แล้วท่านก็พบกันจริง ๆ อีกทั้งได้พบพระสุปฎิปันโนองค์อื่น ๆ ตามมาอีกหลายองค์ ซึ่งมาจนถึงวาระสุดท้ายของท่าน จึงได้มาพบหลวงปู่ครูบาชัยวงศ์เป็นที่สุด นี่เป็นผลงานที่ท่านทำไว้ให้พวกเราทุกคนก่อนจะสิ้นลมหายใจไปในชีวิตสุดท้ายของท่าน

ในตอนนี้ก็จะขอนำเรื่องราวที่หลวงพ่อเล่าเอาไว้ในคราวนั้น มาให้ญาติโยมทั้งหลายทราบสักเล็กน้อย โดยหลวงปู่ชุ่มได้เล่าในขณะที่เข้านิโรธสมาบัติให้หลวงพ่อฟังก่อนว่า แผ่นดินจะถล่ม "มีผู้หญิง ๒ คน เป็นเทวดา คนหนึ่งถือสมุด อีกคนหนึ่งถือถุงย่ามมาถามว่า มานั่งสมาธิทำไม ท่านก็บอกว่ามานั่งเพื่อบุญกุศลแล้วก็ชวนท่านไป ท่านก็บอกว่ายังไม่ไป ขันธ์ ๕ มันยังไม่ถึงเวลาพัง แล้วเขาก็ไล่เรียงด้วยประการต่าง ๆ ถึงผลแห่งการเข้านิโรธสมาบัติ

ท่านบอกว่า ทำเพื่อความเยือกเย็นของบรรดาท่านพุทธบริษัท เพราะเวลานี้ประเทศชาติกำลังเร่าร้อน แล้วเขาก็บอกว่า "เวลานี้...แผ่นดินมันจะถล่มแล้ว..!" ซึ่งคำนี้เอง...ทำให้นึกย้อนถึงเรื่องราวที่หลวงปู่ดาบส เล่าถึงเรื่องที่ ท้าวมหาพรหมมาบอกให้ อ.ศักดา หาถ้ำเป็นที่หลบภัย ไม่ทราบว่าจะเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่ ขออย่าให้เป็นจริงอย่างนั้นเถิด แล้วหลวงพ่อท่านก็เล่าต่อไป

ลองมาฟังดูว่า หลงงพ่อท่านพูดถึงหลวงปู่ว่าอย่างไรบ้าง...? ความประทับใจของหลวงพ่อที่มีต่อหลวงปู่...

"อาตมามีงานที่จะต้องไปอำเภอลี้ เขาบอกว่า หลวงปู่ทึมไปป่วยอยู่ที่นั่น อยู่กับหลวงปู่วงศ์ หลวงปู่วงศ์นี่เป็นพระพิเศษ คือชนะใจกระเหรี่ยงได้ เอากะเหรี่ยงเข้าปฏิบัติกันมากมาย กะเหรี่ยงทั้งหมู่บ้าน ทั้งหมดเป็นกะเหรี่ยงที่มีศีล ๕ บริสุทธิ์ เจริญสมถะวิปัสสนากรรมฐานกัน เหตุที่ไม่กินเนื้อสัตว์ แล้วก็หลวงปู่วงศ์ท่านมีนโยบาย เพราะว่า พวกนี้เลี้ยงหมูเลี้ยงไก่ไว้ฆ่าไว้แกงกินกัน

ท่านบอกว่าใครจะมาเป็นลูกศิษย์ท่าน จะต้องกินเจ ๓ ปี ไม่กินเนื้อสัตว์ ถ้าเลย ๓ ปีไปแล้ว กินเนื้อสัตว์ได้ อันนี้เป็นนโยบายสำหรับท่าน ต่อมาเขาก็รักษาศีล ๕ กันอย่างเคร่งเครัด ไม่กินเนื้อสัตว์ ถ้าใครละเมิดศีล ๕ แม้แต่ข้อเดียว หัวหน้าของเขาจะขับออกจากหมู่บ้านนั้นทันที

เมื่อฉันเช้าเสร็จเราก็เดินทางกันเข้าไปยังวัดหลวงพ่อวงศ์ "ครูบาวงศ์" เขาเรียกยังงั้น เดินทางเข้าไปถึงระหว่างทาง ทางมันมีน้ำอยู่บ้าง บรรดากะเหรี่ยงทั้งหลายเขาคอยกันตั้งแต่วานนี้แล้ว คือวันที่ ๒๒ มิถุนายน วันนี้เป็นวันที่ ๒๒ เป็นวันเดินทางนะ เมื่อเข้าไปถึงเขต ปรากฏว่ากะเหรี่ยงกำลังโรยลูกรัง พอรถผ่านไป ทุกคนนั่งพับเพียบลงกับพื้น ปูผ้าลงกราบกับพื้น

อาตมาเองก็รู้สึกอายกะเหรี่ยงเหมือนกัน อายในจริยาแห่งความดีของกะเหรี่ยงทั้งหลาย ที่เขาเข้าถึงพระรัตนตรัยถึงเพียงนี้ ถ้าเราจะปรับปรุงพวกเขาก็รู้สึกว่านานสักนิด ที่จะมีจิตทำได้อย่างเขา รู้สึกว่าเขาดีมาก อันนี้ก็ต้องขอขมเชยครูบาวงศ์ ท่านเป็นหัวหน้าคณะ

พออาตมาเข้าไปถึงวัด ก็ปรากฎว่าบรรดาท่านพุทธบริษัทที่ขับรถนั่งรถตามไปข้างหลัง เขาไม่ได้ไหว้แต่รถพระ แม้แต่รถฆราวาสที่เข้าไป เขาก็เอาผ้าปูกับพื้น กราบกับพื้นดินเหมือนกัน เห็นแล้วก็รู้สึกนึกถึงคนแก่คนเฒ่า จิตใจของชาวไทยสมัยก่อน เราก็สภาพแบบกะเหรี่ยงในเวลานี้ เมื่อไปถึงแล้ว ครูบาวงศ์ท่านก็มารับ วัดในป่า บรรดาท่านพุทธบริษัท โบสถ์ใหญ่มหึมา ขนาดโบสถ์อาตมานี่ต้อง ๓ หลัง แล้วก็ศาลาการเปรียญยาว ๑๖๐ เมตร แล้วบริเวณวัดก็สวยงาม

อาตมาเห็นเข้าแล้วก็นึกปลื้มใจในปฏิปทาของท่าน ผลงานทั้งหมดที่ปรากฏขึ้นมา เป็นแรงของกะเหรี่ยงทั้งสิ้น ไม่ต้องจ้างกัน (แต่เวลานี้ชาวเมืองเข้าไปช่วยกันแล้ว ซึ่งเป็นชุดแรกที่ไปกับหลวงพ่อ ๒๐๐ กว่าคน) ครูบาวงศ์ท่านก็ดีเหลือเกิน จึงถามว่าครูบาทึมป่วยอยู่ที่ไหน ท่านก็บอกว่าอยู่ที่กุฏิไกลออกไปโน้น

แหม...บริเวณของท่านสวยมาก อยากจะพาบรรดาท่านพุทธบริษัทไปเที่ยว อาตมาไปเห็นครูบาวงศ์ท่านดึงกำลังใจ ชนะกำลังใจของกะเหรี่ยงไว้ได้ นี่แสดงว่าทำให้ประเทศไทยเราปลอดภัยไปอีกเยอะ เพราะพวกกะเหรี่ยงมีความเข้มแข็งในการบ แต่ถ้าครูบาวงศ์ไม่ดึงกำลังใจเขาไว้ อีกฝ่ายหนึ่งอาจจะดึงกำลังใจกะเหรี่ยงพวกนี้ไป

พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนามีโอกาสช่วยประเทศชาติได้มากแบบนี้ ถ้าเราเต็มใจทำกัน ถ้าไม่เมาในลาภยศสรรเสริญสุขเสียแล้ว ร่วมกันสร้างความสามัคคี มาถึงตอนนี้ก็อยากจะขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลาย ช่วยกันปฏิบัติตามแบบของครูบาวงศ์นี่ได้จะดีมาก ครูบาวงศ์ก็ดี ครูบาชุ่มก็ดี ครูบาทึมก็ดี ทั้งสามท่านนี้เป็นผู้ชนะใจชาวเขาชาวป่า ดึงเอาชาวเขาชาวป่ามามากมาเป็นไทยแท้ มาเป็นพุทธศาสนิกชน

แล้ววัดนี้ก็ปรากฏว่า สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ทำทางเข้าไปให้ อาตมาตั้งใจไว้ว่า จะไปทอดกฐินที่วัดจามเทวี ก็จะซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องสูบน้ำ แป๊ปน้ำปะปา ไปถวายท่านครูบาวงศ์ เป็นการช่วยดึงกำลังใจพวกกะเหรี่ยงให้มั่นคงยิ่งขึ้น เพราะว่าเราจะให้ทั้งบ้านไม่ได้ แต่ว่าให้วัดเป็นศูนย์ใจกลางของพุทธบริษัทชาวกะเหรี่ยง..."



นี่เป็นคำพูดที่หลวงพ่อท่านมีความประทับใจ ที่ได้พบกับหลวงปู่และชาวกะเหรี่ยงเป็นครั้งแรก ในตอนนี้ จะขอแทรกจาก พ.ต.ท.อรรณพ กอวัฒนา ได้เขียนเล่าไว้ในหนังสือของท่านว่า...

เกือบจะถูกสึกเป็นครั้งที่ ๒

"สมัยที่ผมเป็นผู้บังคับหมวด ตชด.ที่อยู่ที่ ค่ายดารารัศมี มีรายงานว่าพบพระสงฆ์องค์หนึ่ง ซ่องสุมพวกกะเหรี่ยงอยู่ที่อำเภอลี้ มีการปลุกระดมกันทุกคืน จึงได้ส่ง ตชด. ไปสืบสวน ปรากฏว่าเป็นหลวงปู่ครูบาวงศ์นั่นเอง

มันบอกว่าพอตกค่ำ พระองค์นั้นก็นำกะเหรี่ยงทั้งหมู่บ้านสวดมนต์ แล้วก็เทศน์เป็นภาษากะเหรี่ยง จบแล้วก็สอนกรรมฐาน เห็นกะเหรี่ยงนั่งหลับตานับลูกประคำกันเป็นทิวแถว เป็นอันว่า หลวงปู่รอดจากการถูกจับสึก เป็นครั้งที่ ๒ ส่วนเพื่อนผมนั้น ก็รอดจากนรกไปเส้นยาแดงผ่าแปด...

หลวงปู่กับหลวงปู่ทึม เป็นพระที่สนิทสนมกันมาก เมื่อหลวงปู่ทึมได้รับแต่งตั้งเป็น "พระครูปลัด" จึงได้ขอตำแหน่ง "พระครูใบฎีกา" ให้กับหลวงปู่วงศ์ด้วย ไปไหนก็มักจะไปด้วยกัน ส่วนใหญ่หลวงปู่ทึมคิด แต่ให้หลวงปู่วงศ์ทำ เพราะหลวงปู่ทึมไม่แข็งแรง ส่วนหลวงปู่วงศ์โน่น...อยู่บนนั่งร้านหรือไม่ก็บนหลังคา ไม่ศาลา ก็โบสถ์...!"

ผู้การอรรณพที่เล่าไว้ก็จบเพียงแค่นี้ ต่อมาหลังจากท่านทั้งสองได้พบกัน ก็มีผลงานมากมาย บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทั้งชาติและพระศาสนา ในที่นี้จะขอนำมาสรุปโดยย่อว่า หลวงปู่พร้อมคณะชาวกะเหรี่ยง ได้มาที่วัดท่าซุงเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๑๘ และวันที่ ๗ พ.ย. ๑๘ เดินทางมาร่วมพิธีพุทธาภิเษก "ผ้ายันต์มหาพิชัยสงคราม" ณ วัดบวรนิเวศน์ วันที่ ๑๔ พ.ย. ๑๘ เดินทางไปร่วมพิธียกฉัตรบนพระเจดีย์องค์เล็ก ณ วัดพระธาตุจอมกิตติ ร่วมกับหลวงปู่อีกหลายองค์ ตามที่ได้เล่าเรื่องไปแล้ว เมื่อวันที่ ๑๘ ม.ค. ๒๕๔๐

ครั้นต่อมา วันที่ ๑๕ พ.ย.๑๘ หลวงพ่อมาทอดผ้าป่าที่นี่อีก เป็นครั้งที่ ๒ แล้วไปทอดกฐินที่วัดจามเทวี ในวันที่ ๑๖ พ.ย. โดยมี หลวงปู่ชุ่ม, หลวงปู่คำแสนใหญ่, หลวงปู่ธรรมไชย รออยู่ที่นี่

วันที่ ๒๐ ธ.ค. หลวงปู่มาพักที่บ้านเจ้ากรมเสริมเป็นครั้งแรก ร่วมกับ หลวงปู่คำแสนเล็ก, หลวงปู่ชุ่ม และ หลวงปู่ธรรมไชย

ปี ๒๕๑๙ วันที่ ๑๙ มีนาคม หลวงปู่มางานยกช่อผ้าพระอุโบสถที่วัดท่าซุง เป็นครั้งที่ ๒ ครั้งนี้ หลวงปู่ทำตาลปัตรและบาตรถวาย หลวงพ่อเป็นที่ระลึก แล้วมีการแห่ต้นทานไปรอบพระอุโบสถ หลังจากนั้นอีกไม่นาน หลวงปู่ก็มาที่วัดท่าซุงอีกเป็นครั้งที่ ๓ คราวนี้มาเป็นพิเศษ คือมาถึงวัดประมาณตี ๑ เพื่อนำเรือที่ทำขึ้นเอง มาถวายแก่หลวงพ่อ

วันที่ ๒๔ เมษายน หลวงพ่อไปงานเผาศพ หลวงปู่บุญทึม วัดจามเทวี พบ หลวงปู่วงศ์ หลวงปู่ธรรมไชย, หลวงปู่คำแสนเล็ก, หลวงปู่คำแสนใหญ่, หลวงปู่ครูบาพรหมจักร, หลวงปู่ชุ่ม, หลวงปู่บุดดา, หลวงปู่มหาอำพัน และที่สำคัญคือได้พบ หลวงปู่ครูบาอภิชัย (ครูบาขาวปี) ที่นี่ เวลานั้นอายุ ๘๖ ปี ที่หลวงพ่อ บอกว่า "ขาวทั้งนอก ขาวทั้งใน" นั่นเอง

วันที่ ๖ ส.ค. ๑๙ หลวงปู่ มาบ้านเจ้ากรมเสริม แล้วไปร่วมปลุกเสกที่ วัดระฆัง วันที่ ๒๔ เดือนนี้เอง หลวงปู่จึงได้เดินทางร่วมกับหลวงพ่อ และหลวงปู่องค์อื่น ๆ ไปพักที่บ้านอธิการบดีมหาวิทยาสงขลานครินทร์ แล้วจึงได้มีการยืนถ่ายภาพร่วมกันไว้ ณ ที่นั้น ที่เรียกกันในภายหลังว่า ๗ เซียนนั่นเอง


ความจริงยังมี หลวงปู่กล่อม วัดบุปผาราม กรุงเทพฯ อีกองค์หนึ่งที่ร่วมไปด้วย หลวงปู่จึงได้มีความสัมพันธ์กับ วัดบุปผาราม ตั้งแต่นั้นมา หลังจากกลับมาจากปักษ์ใต้ไม่นาน หลวงปู่ชุ่ม ก็ถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ ๑๐ ก.ย. ๒๕๑๙ แต่ก่อนที่หลวงปู่ชุ่มจะมรณภาพนั้น ท่านก็ได้เข้าโรงพยาบาลพร้อมกับหลวงปู่วงศ์ โดยไปรับหลวงปู่ทั้งสองท่านมาเข้าโรงพยาบาลพร้อมมิตร

หลวงปู่ชุ่มเป็นโรคต่อมลูกหมากอักเสบ ปัสสาวะไม่สะดวก ส่วนหลวงปู่วงศ์ ไปผ่าตัดทำกระดูกคอที่แตก เนื่องจากตกลงมาจากที่สูง ทั้งสององค์อยู่ห้องเดียวกัน แต่หลวงปู่ชุ่มสิ้นไปเสียก่อนด้วยโรคหัวใจกำเริบ เรื่องหลวงปู่ชุ่มมรณภาพนี้ ได้เล่าไว้ในหนังสือแจกงานศพของ คุณโยมเฉิดศรี (อ๋อย) ศุขสวัสดิ์ มีดังนี้ว่า..

"...มาได้ความจากหลวงปู่วงศ์ในภายหลังว่า หลวงปู่ชุ่มท่านพูดกับหลวงปู่วงศ์ ตั้งแต่อยู่ลำพูนแล้ว บอกว่าอยู่ที่นี่ก็ตาย ไปกรุงเทพก็ตาย ไปตายกรุงเทพดีกว่า เขาจะได้ทำบุญกัน คุณโยมอ๋อยจึงต่อว่าหลวงปู่วงศ์ว่า...
"โธ่...! แล้วหลวงปู่ทำไม่บอก แล้ว หลวงปู่ก็หัวเราะแหะ ๆ"

ll กลับสู่ด้านบน


webmaster - 12/7/08 at 15:36


"บันทึกพิเศษ" ของหลวงปู่ชุ่ม โพธิโก


ในตอนนี้ ถือว่าเป็นโอกาสดีที่จะขออนุญาตลงพิมพ์ข้อธรรมะของหลวงปู่ชุ่ม โพธิโก เนื่องจากเป็นสิ่งที่หาได้ยากนัก ที่เราจะได้รับฟังโอวาทจากท่านโดยตรง เพราะท่านได้มรณภาพไปนานแล้ว ญาติโยมที่มาภายหลังก็ดี หรือที่มีโอกาสได้พบท่านมาแล้วก็ดี คงจะไม่ค่อยมีโอกาสได้รับฟังคำสอนจากท่านโดยตรง

เพราะฉะนั้น เนื่องในวโรกาสที่เขียนเรื่องนี้มาเกี่ยวกันกับท่านพอดี จึงจะถือโอกาสเปิดเผยข้อคติธรรมคำสอนของหลวงปู่ชุ่ม ที่ท่านได้เขียนทิ้งไว้ให้เป็นปริศนาธรรม ตั้งแต่ครั้งที่ท่านได้เดินทางมาในวันงานยกช่อฟ้าพระอุโบสถ วัดท่าซุง วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๑๘ แล้วจึงเขียนข้อความนี้ไว้ในกุฏิที่ท่านมาพักเมื่อท่านเดินทางกลับไปแล้ว คุณไพโรจน์ ชาติรักษา ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่อุปฐากท่านในระหว่างงาน ได้เข้าไปทำความสะอาดในกุฏิที่ท่านเคยพัก จึงได้พบกระดาษห่อการะบูน เมื่อคลี่ออกมาดูแล้ว จึงได้อ่านพบข้อความดังต่อไปนี้

คติธรรมของหลวงปู่ชุ่ม


"ของบุญและกรรมที่ทำไว้ จะส่งเสริมไปในทางที่ดี หรือชั่ว สิ่งที่จะพึ่งได้ให้เราพ้นทุกข์ ก็คือ...ธรรมะของพระพุทธเจ้า มี ศีล สมาธิ ปัญญา จงพิจารณาในวิปัสสนากรรมฐาน ก็จะรู้แจ้งเห็นจริง "วิ" แปลว่า "รู้" "ปัสสนา" แปลว่า "แจ้ง"

รวมแล้วแปลว่า รู้แจ้งในสังขารทั้งหลาย ที่เป็นเครื่องปรุงแต่ง พระท่านว่า ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา นั่นเอง คือการเปลี่ยนแปลงผิด ธรรดาไป ถ้าเกิดความไม่เที่ยงขึ้นเมื่อใด ก็ต้องเกิดความทุกข์ขึ้นมาทันที แต่ถ้าเราจะห้ามไม่ให้มันเปลี่ยนก็ไม่ได้ เพราะธรรมชาติมันต้องเปลี่ยน ท่านจึงได้สอนให้ละ ให้วาง จะได้ไม่วุ่น

ฉะนั้น เรื่องใจความของพระพุทธศาสนา จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่จะต้องศึกษาค้นคว้าให้เข้าใจจริง ๆ ตามสภาวะที่มันเป็นอยู่ตามความเป็นจริง ทีนี้...ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือไม่ว่าสิ่งใดทั้งหมดทั้งสิ้น ถ้าเราไม่ "ยึด" เสียอย่างเดียว มันก็ไม่มีความหมาย มันก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของมันเอง

ทีนี้คำว่า "นิพพาน" ก็คือความดับร้อน เหลือแต่ความเย็นนั่นเอง ถ้าจะถามว่า "อะไร...เป็นความร้อน..? ก็ตอบได้เลยว่า "ไอ้ตัวยึดมั่น ถือมั่น นั่นเแหละ มันเป็น ความร้อน หรือความทุกข์...!"

เราลองมองดูให้ดีซิว่า เราทุกคนนี้กำลังมีปัญหากันอยู่มากที่สุด เพราะไอ้เรื่องดี เรื่อง ชั่ว เรื่องรัก และชัง สุขและทุกข์ เพราะอยากดี ก็ไปเกลียดชั่ว ทีนี้ก็เป็น "เราดี เราชั่ว" ขึ้นมาทันที เราไปยึดมันเข้าไว้ จึงเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์

สรุปในปัจจุบันนี้ เรากำลังยังเป็นกันอยู่ ไม่ใช่ว่าตายแล้วจึงจะได้รับทุกข์ เราได้รับทั้งเป็น ๆ อย่างนี้แหละ เพราะฉะนั้น ในประเทศไทยเรา พวกพุทธบริษัทต่างคนต่างเรียนธรรมะกันมากอย่างยิ่ง แต่แล้วก็ยังทำความเข้าใจกันไม่ได้ เพระายังมีข้อขัดแย้ง ทำให้ความวุ่นวาย เกิดขึ้นในสังคมของชาวพุทธนั่นเอง การปฏิบัติให้ถูกต้องก็ไม่เกิดขึ้น เพราะไม่เข้าใจธรรมะ "กำมือเดียว" นั่นเอง

ธรรมะมีหลักอยู่ ๔ ประการ


ประการที่ ๑ คำว่า "ธรรม" หมายถึง"ธรรมชาติ" ทั้งหมด ทั้ง รูปธรรม นามธรรม กุศล อกุศล หรือ อัพยากฤต ก็ตาม แม้ที่สุด แต่พระนิพพาน ก็เรียกว่า "ธรรมชาติ" ทีนี้ทางพระพุทธศาสนา หมายถึงสภาวะธรรมที่เป็นเอง หรือเป็นไปเอง

ประการที่ ๒ กฎของธรรมชาติ ตรงนี้ พยายามจับความหมายให้ดี เราจะต้องเข้าใจให้ดีว่า ตัวธรรมชาติอย่างหนึ่ง กฎของธรรมชาติ อย่างหนึ่ง สภาวะธรรม อีกอย่างหนึ่ง แล้ว ธรรมดา อีกอย่างหนึ่ง รวมความแล้ว ธรรม ก็คือ ธรรมชาติ นั่นเอง..."




(ภาพอดีตจากซ้าย... หลวงปู่กล่อม วัดบุปผาราม, หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง, หลวงปู่ชัยวงศ์, หลวงปู่อินทจักร์ วัดน้ำบ่อหลวง. หลวงปู่คำแสนเล็ก วัดดอนมูล - จากหนังสืออนุสรณ์หลวงปู่ชัยวงศ์)

โอวาทของท่านก็จบเพียงแค่นี้ ต่อไปจะขอเล่าเรื่อง "หลวงปู่วงศ์" อีกว่า ครั้นถึงปี ๒๕๒๐ วันที่ ๑๖ เมษายน หลวงปู่ได้มาวัดท่าซุงอีกเป็นครั้งที่ ๔ มาในงานฝังลูกนิมิต กะเหรี่ยงพักที่ศาลาในน้ำ ข้างร้านอาหารโยมกิมกี หลวงพ่อจึงให้ชื่อว่า "เรีอนกะเหรี่ยง" ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ในระหว่างงาน หลวงปู่แต่ละองค์นั่งเรียงเป็นแถวตามลำดับอาวุโส เพื่อรับอาหารบิณฑบาตทุกเช้า และในตอนนี้มีการทำบุญต่ออายุหลวงปู่ชัยวงศ์กันด้วย ในวันที่ ๒๐ คณะหลวงปู่ได้มีการแห่ผ้าป่าเรือทานกันรอบวัด และมีกะเหรี่ยงฟ้อนรำดาบ ซึ่งมีตั้งแต่มาครั้งแรกแล้ว

วันที่ ๕ พฤษภาคม หลวงปู่เดินทางไปร่วมงานพิธียกฉัตรกับหลวงพ่อ ณ วัดพระธาตุดอยตุง โดยหลวงปู่ได้รับหน้าที่ในการจัดหาฉัตร และเตรียมติดตั้งไว้บนยอดพระเจดีย์ เพราะหลวงปู่มีความชำนาญในเรื่องนี้ เมื่อได้เตรียมงานเสร็จแล้ว หลวงพ่อจึงได้นำคณะศิษย์ไปจัดงานพิธีดังกล่าว ในโอกาสนี้ หลวงปู่จึงได้บรรจุ "พระธาตุข้าว" ไว้ในพระเจดีย์นี้ด้วย

ครั้นถึงปี ๒๕๒๑ หลวงพ่อตั้ง ศูนย์สงเคราะห์คนยากจนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ แล้วได้นำวัตถุสิ่งของ เช่น ข้าวสาร เกลือ และ เสื้อผ้า เป็นต้น มาแจกจ่ายแก่ชาวบ้านและชาวกะเหรี่ยง จำนวนคนประมาณพันคนเศษ เมื่อวันที่ ๗-๘ ม.ค. ๒๕๒๑

ครั้นถึงวันที่ ๑๒ เดือนนั้นเอง คุณโยมอ๋อย ภรรยาท่านเจ้ากรมเสริมสิ้นชีวิต หลวงปู่ได้มาร่วมงานศพแล้วพักที่บ้านสายลม ต่อมาหลวงปู่ได้ร่วมเดินทางกับหลวงพ่อตลอดมา ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหลายครั้ง ได้ออกเยี่ยมทหารตำรวจชายแดน สงเคราะห์คนยากจนในถิ่นทุรกันดาร และโปรดพุทธบริษัททั้งหลาย จนมีผู้เคารพนับถือหลวงปู่มากยิ่งขึ้น

ก่อนที่หลวงพ่อจะมรณภาพไม่กี่ปี หลวงปู่ก็ได้เอาเรือมาถวายหลวงพ่ออีก ๒-๓ ลำ เวลานี้ยังอยู่ที่ฝั่งโบสถ์เก่า และพวกกะเหรี่ยง ก็ได้เอาผักผลไม้มาให้ที่วัดอยู่เสมอ เมื่อหลวงพ่อมรณภาพไปแล้ว หลวงปู่ก็ได้อุตส่าห์มาร่วมงานบำเพ็ญกุศลครบ ๗ วัน ก็เป็นอันว่าสิ้นสุดเรื่องราวระหว่าง "หลวงพ่อกับหลวงปู่" โดยย่อไว้แต่เพียงเท่านี้

ในระหว่างที่เล่าไปนั้น มีผู้อุปฐากบางท่านคอยถามหลวงปู่อยู่เสมอ เพราะเกรงว่าท่านจะนั่งไม่ไหว แต่หลวงปู่ท่านก็อุตส่าห์เมตตานั่งเป็นกำลังใจให้แก่ลูกหลานของหลวงพ่อ ที่ได้เดินทางกันมาจากที่ไกล อีกทั้งพวกเราก็เกรงใจท่านเหลือเกิน พยายามที่จะรวบรัดใจความให้สั้นที่สุด จนกระทั่งถึงพิธีบวงสรวงตามแบบฉบับของหลงงพ่อ ท่านก็ได้นั่งอยู่ต่อไปตามความประสงค์ของท่าน


(ภาพประวัติศาสตร์..ทำพิธีบวงสรวงบายศรีแบบฉบับของหลวงพ่อ ณ วัดห้วยต้ม ด้านข้างบายศรีจะเห็นรูปปั้นหลวงพ่อฯ ที่พวกเรานำไปถวายไว้ที่นั่น ปัจจุบันไม่ทราบไปอยู่ไหนแล้ว ใครทราบช่วยแจ้งหลวงพี่ชัยวัฒน์ด้วยเน้อ)

ครั้นหลวงพ่อบวงสรวงจบแล้ว พระครูสมุห์พิชิต (หลวงพี่โอ) ก็ได้เป็นตัวแทนคณะศิษย์ฯ เข้าไปนั่งข้างหน้าหลวงปู่ แล้วยกพานขอขมาที่ได้จัดทำอย่างวิจิตรสวยงาม กล่าวคำขอขมาพร้อมกัน

◄ll กลับสู่ด้านบน




คำขอขมาหลวงปู่ครูบาชัยวงศ์


(ตั้งนะโม ๓ จบ)
มหาเถเร ปะมาเทนะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถุ โน ภันเต อุกาสะ ขมามะ ภันเต... กรรมใด...ที่ลูกหลานทั้งหลาย ได้เคยประมาทพลาดพลั้ง ด้วยกายกรรมก็ดี วจีกรรมก็ดี และมโนกรรมก็ดี ด้วยเจตนาก็ดี มิได้เจตนาก็ดี ทั้งต่อหน้าก็ดี หรือลับหลังก็ดี นับตั้งแต่อดีตชาติ มาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ อันจะมีโทษเพียงใด ขอพระเดชพระคุณหลวงปู่ ได้โปรดอดโทษ ให้แก่ลูกหลานทั้งหลาย ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานเทอญฯ



(พวกเราช่วยกันทำบุญกันมากมาย โดยมีเจ้าหน้าที่ช่วยกันนับเงินก่อน มี คุณตุ๋ม - แสงเดือน เป็นต้น)

เมื่อกล่าวคำขอขมาจบแล้ว จึงได้เข้าไปถวายพานธูปเทียนแพแด่ท่าน แล้วจึงได้กราบ พร้อมกัน ๓ ครั้ง ต่อจากนั้นจึงได้กล่าวคำถวายเครื่องไทยทาน ส่วนปัจจัยได้ถวายเป็นส่วนองค์และส่วนที่จะบูรณะวัด แต่หลวงปูและพระคณาจารย์ทั้งหลาย อันมีรายชื่อดังต่อไปนี้

๑. หลวงปู่ชัยวงศ์ และพระภิกษุสามเณร วัดพระพุทธบาทห้วยต้มทุกรูป
๒. พระครูพิสิษภ์สังฆการ วัดศรีดอนมูล
๓. พระครูพินิจสารธรรม วัดนาเลี่ยง
๔. พระอาจารย์วิชัย วัดถ้ำผาจม
๕. พระอาจารย์เวทย์ วัดพระบาทห้วยต้ม
๖. ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล
๗. พระอาจารย์สมศักดิ์ วัดทุ่งหลวง
๘. พระมหาสิงห์ สำนักสงฆ์ถ้ำป่าไผ่
๙. พระอาจารย์วิชัย วัดแม่สะลาบ
๑๐. เจ้าอาวาส วัดแม่ระมาดน้อย
๑๑. พระอาจารย์อ่อนแก้ว วัดพระบาทห้วยต้ม
๑๒. ครูบาพรชัย วัดพระบาทสี่รอย
๑๓. พระอาจารย์นพดล วัดพระบาทเตาะเมาะ
๑๔. พระคำจันทร์ วัดพระบาทห้วยต้ม
๑๕. พระสวัสดิ์ วัดพระบาทผาผึ้ง
๑๖. พระตักษาสด์ วัดพระบาทผาหนาม
๑๗. ครูบาแก้ว วัดพระธาตุดอนเรือง


รวมเงินที่ถวายพระและถวายหลวงปู่ทั้งสิ้น ประมาณเกือบ ๕ แสนบาท แล้วจึงน้อมอุทิศถวายกุศลทั้งหมดนี้ เพื่ออวยพรให้หลวงปู่มีสุขภาพแข็งแรงตลอดไป

อิทัง ปุญญะ ผะลัง...ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้บำเพ็ญแล้วตั้งแต่ต้น จนกระทั่งปัจจุบันนี้ อันมีการจัดขบวนแห่ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย การถวายพระพุทธรูป การสร้างพระเจดีย์ การถวายสังฆทาน วิหารทาน ธรรมทาน และสร้างโรงพยาบาล เป็นต้น จะมีผลอานิสงส์มหาศาลเพียงใด ขอพระเดชพระคุณหลวงปู่ ได้โปรดอนุโมทนามหากุศลในครั้งนี้ ที่ลูกหลานทั้งหลาย ขอกราบน้อมถวาย เพื่อเป็นเครื่องสักการบูชา ด้วยความเคารพและศรัทธา

ด้วยอานุภาพแห่งบุญกุศลนี้ และผลแห่งความดีของหลวงปู่ที่ได้บำเพ็ญมาแล้วตั้งแต่ต้น จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ลูกหลานขออนุโมทนา และอำนวยอวยพร ให้หลวงปู่ที่สุขภาพแข็งแรง ผ่านพ้นจากโรคาพยาธิทั้งปวง ปราศจากทุกขเวทนาเบียดเบียน ทั้งนี้ ด้วยอำนาจแห่งคุณพระรัตนตรัย อันมีพุทธานุภาเวนะ ธัมมานุภาเวนะ สังฆานุภาเวนะ และเทพเจ้าผู้สิงสถิตย์อยู่ ณ ที่นี้ ทั้งที่พิทักษ์รักษาองค์หลวงปู่

ขอจงดลบันดาลให้หลวงปู่ จงมีแต่ความสุขกายสบายใจ ดำรงอยู่ในพระธรรมวินัย เพื่อช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา ตามเจตนาของหลวงปู่ เพื่ออยู่เป็นร่มโพธิร่มไทร ให้เป็นมิ่งขวัญของลูกหลานตราบเท่านานต่อไปเทอญ ฯ



(หลวงพี่โอเป็นตัวแทนถวายปัจจัยทั้งหมด และถวายไทยธรรมแด่พระคณาจารย์ต่างๆ)

เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ลูกศิษย์จึงได้เข็นรถของท่านกลับไปยังที่พัก ต่อจากนั้น คุณวิทยา จึงรับเป็นทายกจำเป็น โดยกลาวนำบูชาพระและรับศีล แล้วพระสงฆ์ ๑๖ รูป เจริญพระพุทธมนต์ (บทถวายพรพระ) เป็นทำนองชาวเหนือ แล้ว พระสงฆ์วัดท่าซุงจึงเข้าไปถวายปัจจัยไทยทาน เมื่อพระสงฆ์บนอาสนะให้พรจบแล้ว เป็นอันเสร็จพิธี พระสงฆ์ต่างก็ไปฉันภัตตาหารเพลที่ศาลาอีกหลังหนึ่ง ญาติโยมทั้งหลายก็แยกย้ายไปทานอาหาร พร้อมกับชมฟ้อนรำของเด็กหญิง จากหมู่บ้านวัดพระบาทห้วยต้มไปด้วย

แต่ก่อนที่จะกล่าวถึงเรื่องราวสืบต่อไป ก็จะต้องขอยุติไว้เพียงแค่นี้ก่อน เพราะหน้ากระดาษจำกัด อีกทั้งต้องกลับมาบันทึกเรื่องราวเมื่อเห็นว่าสมควรแก่เวลา และเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าพอสมควร จึงต้องขอให้ญาติโยมติดตามอ่านกันในฉบับหน้า ในที่สุดนี้ ขอให้ทุกท่านได้โปรดอนุโมทนาบุญกุศลทั้งหมดนี้ เพื่อความสุขสวัสดีจงมีแก่ท่านทั้งหลายเช่นกัน..ขอเจริญพร.

◄ll กลับสู่ด้านบน


praew - 29/7/08 at 13:45

(Update 29 ก.ค. 51)

ตอนที่ ๒

รอยพระพุทธบาทผาผึ้ง อ.ลี้ จังหวัดลำพูน



การเล่าเรื่องไปงานทำบุญฉลองอายุครบ ๗ รอบ คือ ๘๔ ปี ของ หลวงปู่ครูบาชัยวงศ์ เมื่อวันที่ ๑๙ เม.ย. ๒๕๔๐ จากเมื่อตอนที่แล้วนั้น ได้เล่าเรื่องการจัดงานขบวนแห่เครื่องสักการะ มีบายศรี, ต้นทาน, พุ่มผ้าป่า เป็นต้น พร้อมทั้งจัดขบวนอัญเชิญรูปภาพครูบาอาจารย์ต่าง ๆ อันมีรูปภาพ ครูบาเจ้าศรีวิชัย, หลวงปู่ครูบาพรหมจักร, หลวงปู่คำแสนเล็ก, หลวงปู่บุญทึม, หลวงปู่ชุ่ม, หลวงปู่ธรรมไชย, หลวงพ่อ, และ หลวงปู่ชัยวงศ์ เป็นต้น

ทั้งนี้ ขบวนแถวชาวกะเหรี่ยง (ตัวจริง) และชาวกะเหรี่ยง (ตัวปลอม) โดยพวกเราหลายคนทั้งชายและหญิง ได้แต่งกายเป็นชาวเขาชาวกะเหรี่ยงกันหลายคน เดินเรียงแถวเป็นขบวนยาวเหยียดไปรอบนอกกำแพงวัด เมื่อมองดูไปตลอดแถวแล้ว มีความสวยสง่าเป็นที่สุด ชุดสีแดงของชาวกะเหรี่ยง พร้อมกับผ้าตุงที่โบกสะบัดแกว่งไกลอยู่ในมือ เป็นการเชิดชูความสามัคคีอันดีงาม ระหว่างคณะศิษย์หลวงพ่อฯ กับคณะศิษย์หลวงปู่ฯ เป็นการเชื่อมความสัมพันธไมตรีอันมีต่อกัน ระหว่างชาวเมืองกับชาวบ้านหรือชาวกะเหรี่ยงที่นี่



พระอาทิตย์ทรงกลด ณ พระพุทธบาทผาผึ้ง ขณะเดินทางไปก่อนงานเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2539


ฉะนั้น รูปภาพของครูบาอาจารย์ทั้งหลาย อันเป็นที่เคารพรักอย่างสูงสุด จึงได้ถูกอัญเชิญขึ้นไปประดิษฐานอยู่เหนือธรรมมาสน์ เพื่อจะได้แห่แหนไว้เหนือเศียรเกล้าของพวกเราทุกคนเพื่อเป็นการเชิดชูบูชายิ่งตลอดไป ถึงแม้ท่านจะละสังขารไปนานแล้วก็ตาม พวกเราก็ได้มารวมตัวกันในครั้งนี้ ก็เพื่อจะได้กระทำเหมือนกับเมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่

ฉะนั้น ทุกคนจึงเดินไปด้วยความศรัทธามีรูปภาพครูบาอาจารย์ทั้งหลายเป็นอนุสสติ มีเครื่องสักการะทั้งหลายเป็นที่กราบไหว้และบูชา โดยมีขบวนตุงมากมายหลายหลากสีนำขบวนได้ถูกโบกสะบัดไปมาอย่างสวยสดงดงาม งานนี้จึงถือว่าเป็น งานไหว้ครูบาอาจารย์ กัน

เมื่อขบวนอัญเชิญรูปภาพของท่านผ่านไปแต่ละองค์ ทำให้หวลระลึกนึกถึงความหลัง บางท่านที่เคยเห็นภาพนั้น เมื่อครั้งสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านก็ได้เคยมานั่งบนธรรมมาสน์นี้เพื่อให้พวกเราได้หามท่านขึ้นไว้บนบ่า แล้วแห่แหนไปตามบริเวณวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ภาพอันเป็นอดีตเหล่านั้น ไม่สามารถจะย้อนชีวิตของท่าน ให้กลับมาเป็นจริงอีกได้

แต่ภาพในอดีตต่าง ๆ เหล่านั้น พวกเราก็ได้มาจำลองเหตุการณ์ เพื่อเป็นการย้อนรำลึกถึงความหลังกัน โดยมี หลวงปู่ชัยวงศ์ แต่เพียงองค์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ นอกนั้นท่านก็ได้จากพวกเราไปนานแล้ว พวกเราที่เป็นศิษย์ของท่าน จึงได้เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับศิษย์รุ่นหลัง ความกตัญญู เท่านั้น ที่จะรวมพลังของพวกเราให้มั่นคงสืบต่อไป ไม่ใช่เข้าตำราที่ว่า "อาจารย์ดับสิ้นไป ลูกศิษย์ก็สิ้นใจไปด้วยกัน"

แต่ในวันนี้ เราได้มาสร้างภาพลักษณ์อันเป็นประวัติศาสตร์ เพื่อยกย่องเกียรติคุณความดีของครูบาอาจารย์กัน การที่เราแห่แหนท่านไปนั้น เป็นการบูชาคุณความดีที่ท่านเมตตาให้ความรู้ อบรมสั่งสอนให้เราเป็นคนดีมีศีลธรรม

เมื่อขบวนแห่ไปรอบวัดแล้ว จึงเดินกลับเข้ามาแล้วไปนั่งรวมกันที่ศาลา ผู้จัดจึงได้เล่าไปถึงตอนที่ลำดับประวัติการพบกันระหว่าง "หลวงพ่อ" กับ "หลวงปู่" ว่ามีความเป็นมาอย่างไรบ้าง จนกระทั่งมีผู้คนรู้จักและมีความเคารพศรัทธา วัดพระพุทธบาทห้วยต้มก็ได้เจริญรุ่งเรืองต่อมาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้



หลวงพี่โอและผู้เขียนถวายปัจจัยแด่หลวงปู่ฯ ขณะเดินทางไปก่อนงานเมื่อ 1 มิ.ย. 2539

ทั้งนี้ ก็เป็นเพราะเหตุว่า หลวงปู่บุญทึม วัดจามเทวี ไปนอนป่วยอยู่ที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม เมื่อหลวงพ่อนำคณะศิษย์เดินทางไปเยี่ยม หลังจากวันที่ หลวงปู่ชุ่ม ออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว หลวงพ่อกับหลวงปู่จึงได้พบปะกัน ณ ที่ตรงนั้นเอง เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๘ จึงถือว่าเป็นวันแห่งประวัติศาสตร์ก็ได้ที่ชาวเมืองและชาวกะเหรี่ยงได้ติดต่อสัมพันธไมตรีกันจนถึงทุกวันนี้

สรุปความได้ว่า หลวงปู่บุญทึม จึงเป็นผู้เชื่อมความสัมพันธ์ให้หลวงพ่อกับหลวงปู่ได้รู้จักกัน โดยแนะนำให้หลวงพ่อพบกับหลวงปู่ชุ่มก่อน แล้วจึงได้พบกับหลวงปู่ครูบาชัยวงศ์เป็นองค์ต่อมา เป็นอันว่า หลวงพ่อก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ครบถ้วน ตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีพุทธบัญชาให้หลวงพ่อไปตามหาพระที่มีชื่อว่า "ทึม" แล้วท่านก็ได้พบกันตามพระพุทธประสงค์ตรงทุกประการ

เมื่อเล่าเรื่องนี้จบแล้ว จึงเริ่มเปิดเทปบวงสรวงของหลวงพ่อ แล้วตามด้วยเสียงสวดมนต์ของหลวงปู่ต่างๆ เช่น หลวงปู่ชุ่ม หลวงปู่ธรรมไชย หลวงปู่ชัยวงศ์ เป็นต้น เป็นทำนองชาวเหนือ (ท่านไปสวดที่ พระธาตุจอมกิตติ เมื่อ ปี ๒๕๑๘) ต่อจากนั้นก็เป็นการกล่าวขอขมาโทษต่อองค์หลวงปู่ แล้วจึงกล่าวถวายเครื่องไทยทาน พร้อมทั้งรูปเหมือนหลวงพ่อ ฯลฯ



พระภิกษุสงฆ์และญาติโยมเตรียมทำพิธีบวงสรวงรอยพระพุทธบาทผาผึ้ง เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2540

ครั้นหลวงปู่รับเครื่องไทยทานและรูปเหมือนหลวงพ่อ และสิ่งของอื่น ๆ แล้ว ต่อจากนั้นจึงอุทิศถวายกุศลและอวยพรให้หลวงปู่เสร็จแล้วหลวงปู่ก็ให้พร แล้วท่านก็ขอตัวกลับที่พัก หลังจากนั้นพระสงฆ์ทั้งหลาย จึงได้เจริญพระพุทธมนต์ ครั้นถวายจตุปัจจัยไทยทานแล้ว พระสงฆ์จึงให้พร เป็นอันเสร็จพิธี รวมเงินทำบุญในครั้งนี้ประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ บาทเศษ

เมื่อพระสงฆ์ฉันภัตตาหาร และญาติโยมรับประทานอาหารกันเสร็จแล้ว ต่างก็แยกย้ายกันกลับ แต่คณะส่วนใหญ่ยังมีรายการที่อื่นต่อ คือตรงไปที่ วัดพระบาทผาผึ้ง ซึ่งมีนัดไว้กับเจ้าอาวาส ว่าจะไปช่วยสร้างบันไดขึ้นบนรอยพระบาท และมณฑปครอบรอบพระบาทที่ยังสร้างค้างอยู่



คณะญาติโยมที่ร่วมเดินทางไปครั้งนั้น ณ พระพุทธบาทผาผึ้ง

ครั้นเมื่อไปถึงวัดแล้ว จึงได้นำบายศรีขึ้นไปสักการบูชา และเปิดเทปบวงสรวงตามโบราณประเพณี ต่อจากนั้นก็เปิดโอกาสให้ญาติโยมได้เข้าไปสรงน้ำหอมและปิดทองรอยพระพุทธบาทกัน

ในขณะทำพิธีบวงสรวงสักการบูชานั้น ทุกคนต่างมีความปลาบปลื้มใจ เสมือนหยาดฝน (หยดน้ำ) ทิพย์ที่ไหลหลั่งลงมาจากฟากฟ้า ฉะนั้น สร้างความเยือกเย็นไปทั่งสรรพางค์กาย เมื่อทุกคนต่างทยอยลงมาข้างล่าง แล้วก็ไปรวมตัวกันที่ศาลา รวบรวมเงินได้ประมาณ ๑๐๒,๐๐๐ บาทเศษ จึงพร้อมใจกันถวายแด่เจ้าอาวาส แล้วจึงออกเดินทางต่อไป สำหรับสถานที่นี้มีอะไรเกิดขึ้นเป็นพิเศษบ้างนั้น จะไม่ขอเล่ารายละเอียด ผู้ใดต้องการจะทราบ ต้องถามคนที่ไปเองก็แล้วกัน

◄ll กลับสู่ด้านบน




วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่




พวกเราเดินทางมาถึงวัดพระธาตุศรีจอมทอง

เมื่อขบวนรถเดินทางมายังจุดที่ ๓ คือ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ก็มีละอองฝนโปรยปรายลงมาเล็กน้อย และการมาในครั้งนี้ นอกจากจะทำบายศรีมาบวงสรวงกันแล้ว พวกเราก็ตั้งใจจะมาขอสรงน้ำพระบรมธาตุอีกด้วย เพราะตามปกติทางวัดจะไม่นำออกมาให้สรงน้ำ นอกจากจะเป็น "วันพระ" เท่านั้น นับตั้งแต่วันกลางเดือน ๓ ไปจนถึงกลางเดือน ๗ รวมเป็นเวลา ๔ เดือน ซึ่งเป็นฤดูร้อน

แต่ที่พวกเราไปในวันนั้น ไม่ได้ตรงกับวันพระจึงจะต้องขออนุญาตท่านเจ้าอาวาสเป็นกรณีพิเศษ แต่ตามโบราณประเพณีก่อนที่จะสรงน้ำพระบรมธาตุ จะต้องมีผู้กล่าวอาราธนาอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุก่อน ครั้งผู้กล่าวนำและผู้ขออาราธนาอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ โดยหลวงพี่โอเป็นผู้ถือพานดอกไม้ธูปเทียนไว้เหนือเศียรเกล้าแล้ว พระพิธีกรรมของวัด ๒ รูป ก็ได้อัญเชิญโกศแก้วที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ออกมาจาก "คูหาประสาท" แล้วจึงนำมาวางประดิษฐานไว้บนโต๊ะด้านหน้าของพระประธาน

ผู้จัดจึงได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการเดินทางมาในครั้งนี้ และประวัติ "วัดพระธาตุศรีจอมทอง" มีในความโดยย่อ ดังนี้...

ตามรอยพระอาจารย์


การเดินทางในคราวนี้ นอกจากจะร่วมบำเพ็ญกุศลเนื่องในงานฉลองอายุ หลวงปู่ครูบาชัยวงศ์ แล้ว เรายังจัดรายการ "ตามรอยพระอาจารย์" กันอีกด้วย ท่านทั้งหลายคงจะจำได้ว่าหลวงพ่อตาม "ล่าพระอาจารย์" เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๑๙ หลังจากท่านไปตามสถานที่ต่าง ๆ แล้ว ในวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๘ ท่านก็ออกเดินทางจาก วัดน้ำบ่อหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ แล้วมาที่ วัดพระธาตุศรีจอมทอง แห่งนี้ พวกเราที่ได้ทันสมัยหลวงพ่อก็ดี หรือที่มาภายหลังก็ดี จึงต้องถือโอกาส "ตามรอยพระอาจารย์" กัน

ในคราวนั้น เมื่อท่านเดินทางกลับมาถึงวัดแล้ว จึงได้เล่าเรื่อง "พระธาตุศรีจอมทอง" ไว้ในหนังสือ "ฤาษีทัศนาจร เล่ม ๑" ตามคำบอกเล่า ที่มีผู้มาเล่า (ไม่เห็นตัว) ให้ฟังในขณะนั้น ซึ่งผู้เขียนก็ได้เทียบเคียงกับ "ตำนานของวัด" ไปด้วย (ตามข้อความในวงเล็บ) เพื่อช่วยให้ท่านผู้อ่านบางท่าน ที่อยากจะต้องการหาหลักฐานมายืนยันกับคำบอกเล่าของหลวงพ่อ อีกทั้งเพื่อเป็นการพิสูจน์ไปด้วยว่า เรื่องที่หลวงพ่อเล่าให้ฟังนั้น พอจะมีความน่าเชื่อถือได้ขนาดไหน ซึ่งจะขอนำมาเล่าพอได้ใจความ ดังนี้



ประวัติวัดพระธาตุศรีจอมทอง


"ในสมัยพุทธกาล มีเมืองหนึ่งอยู่ในเขตอำเภอจอมทอง เมืองนี้มีชื่อว่า "เมืองอังครัฐ" มีตอยจอมทองอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมือง เป็นดอยที่มีรูปร่างเหมือนกับ "เต่าดำ" มีแม่น้ำ ๒ สายไหลผ่าน คือ "แม่น้ำระมิงคนที" ที่เขาเรียกกันว่า "แม่น้ำปิง" ซึ่งมีศัพท์เพี้ยนมา จากคำว่า "แม่น้ำอิง" แล้วก็มาจากชื่อเดิมว่า "แม่น้ำขุนพู" แม่น้ำสายนี้ไหลผ่านดอยจอมทอง ทางด้านทิศตะวันออก

แล้วแม่น้ำอีกสายหนึ่ง ที่มีชื่อว่า "แม่น้ำสักการนที" ในปัจจุบันนี้เรียกว่า "แม่น้ำแม่กลาง" นั่นเอง แม่น้ำสายนี้ไหลผ่านดอยจอมทองทางด้านทิศตะวันตก แล้วไหลมาบรรจบกับ "แม่น้ำปิง" หรือว่า "แม่น้ำระมิงคนที" ที่ "ตำบลสบกลาง" ซึ่งอยู่ทางใต้ของดอยจอมทอง ห่างกันประมาณพันวา รวมความว่า ดอยจอมทองอยู่ระหว่างกลางของแม่น้ำทั้งสองนั่นเอง

แต่ในหนังสือ "ตำนานพระธาตุจอมทอง" โดย คุณสงวน โชติสุขรัตน์ ได้คัมภีร์ใบลานเล่มนี้ โดยการแปลจากอักษรไทยยวนของ พระมหาหมื่นวุฑฒิญาโณ ได้แปลจากการบันทึกไว้ในสมัยนั้น โดยท่านได้เริ่มต้นไว้ดังนี้

เราผู้ชื่อว่า "ติสสมหาเถระ" ผู้เป็นศิษย์แห่ง พระมหาโมคคัลลิปุตติสสเถระ (พระเถระองค์นี้เป็นประธานทำสังคายนา ครั้งที่ ๓ ในสมัยพระเจ้าอโศก) ท่านติสสะกล่าวว่า ท่านเป็นศิษย์สืบๆ มาแต่ พระมหากัสสปะ มานั้นแล แล้วท่านก็ได้กล่าวถึงเมื่อครั้งพระโพธิสัตว์ได้เป็น พระยาสุทัสสนะ ในเมืองกุสาวดีราชธานีด้วย (เมืองกุสาวดี คือ เมืองกุสินารามหานคร ซึ่งเป็นเมืองของพระเจ้าจักรพรรดิมาก่อน)

พระติสสเถระได้เล่าต่อไปอีกว่า ดอยลูกนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกแห่ง เมืองกุสินารา ประมาณ ๒๗ โยชน์ (จากหลักฐานนี้ แสดงให้เห็นว่า เมืองกุสินารา เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน อยู่ในอาณาเขตประเทศไทยจริงๆ) ตามตำนานนี้บอกว่า เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์เสด็จมาประทับโปรดเวไนยสัตว์ และเป็นที่ประดิษฐาน พระทิกษิณโมลีธาตุ คือ กระดูกจอมเศียรแห่งพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ (โดยเฉพาะองค์ปัจจุบันนี้ เป็นพระธาตุจอมหัวเบื้องขวาของพระองค์)

ส่วนหลวงพ่อท่านได้เล่าต่อไปว่า เมืองอังครัฐนี้มีพระเจ้าแผ่นดินผู้ครองเมือง ทรงพระนามว่า อังครัฐ คือมีชื่อเหมือนกับเมือง ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง ปรากฏว่ามีพ่อค้ามาจากเมืองราชคฤห์ ได้เล่าเรื่องที่พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก ข่าวนั้นก็เข้าไปถึงพระเจ้าอังครัฐผู้เป็นพระราชา พระองค์ฟังแล้วก็แปลกใจ จึงทรงมีรับสั่งให้พ่อค้าที่มาเมืองราชคฤห์นั้นเข้าเฝ้า

เมื่อพ่อค้าเมืองราชคฤห์เข้ามา พระองค์ก็ทรงซักถามด้วยความสนใจ เพราะมีความปรารถนามานานแล้ว ที่จะทรงได้พบพระพุทธเจ้าอย่างเหลือเกิน ครั้นทรงทราบว่าพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นจริง และนอกจากพระพุทธเจ้าแล้ว ก็มีคนบรรลุตามจริงเสียด้วย จึงมีความเลื่อมใส มีความปราโมทย์ยินดีเป็นที่สุด อาศัยความดีใจที่พระพุทธเจ้าเกิดขึ้น แล้วมีคนมาบอก ความจริงเขาไม่ได้ตั้งใจมาบอกเขามาขายของ พอเขาบอกให้ฟังเท่านี้ อาศัยความดีมีศรัทธา สั่งให้คนไปนำเอาข้าวของเงินทอง ผ้าผ่อนท่อนสไบอย่างดี มาพระราชทานแก่พ่อค้าเป็นอันมาก

เมื่อพระราชาทรงพระราชทานทรัพย์สมบัติแก่บรรดาพ่อค้าทั้งหลายเหล่านั้นแล้วหลัง จากนั้น อาศัยที่พระองค์มีความเคารพในองค์สมเด็จพระประทีปแก้ว ก็ตั้งใจรักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ คือยอมตายเสียดีกว่าที่จะละเมิดศีล ๕ โอ้โฮ..! เก่งขนาดนี้ไม่ใช่เล่น เก่งมาก นี่..คนที่มีบุญญาธิการน่ะ เป็นอย่างนั้นนะ เพียงแต่ได้ยินข่าวว่าพระพุทธเจ้าปรากฏมีขึ้นในโลกตั้งใจเด็ดขาดเลยว่า นับตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป เราจะไม่ละเมิดศีล ๕ เป็นอันขาด ถึงแม้ชีวิตจะตกล่วงจนหาไม่ ก็ช่างมันปะไร เรายอมตายดีกว่าศีลขาด

เมื่อพระเจ้าอังครัฐทรงเลื่อมใสก็รักษาศีล ๕ บริสุทธิ์ พร้อมด้วยทรงตั้งสัตยาธิษฐานไว้ว่า
"ขออำนาจบุญบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมไปด้วยพระสาวก ได้มีพระมหากรุณาทรงโปรดข้าพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นคนอนาถา คือว่าอยู่ไกลเกินไป ไม่ทราบว่าเวลานี้ เมืองราชคฤห์ตั้งอยู่ที่ไหน การที่จะไปมันก็แสนลำบาก

ถ้าองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระมหากรุณาธิคุณ เพื่อจะสงเคราะห์ข้าพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยบรรดาพสกนิกรแล้ว ขอองค์สมเด็จพระประทีปแก้วพร้อมไปด้วยพระสาวกจงเสด็จมา ณ ที่นี้ โปรดข้าพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยบรรดาพสกนิกรทั้งหลาย เพื่อให้ได้มีโอกาสบำเพ็ญทานบารมี และสดับพระธรรมเทศนาตามศรัทธาเถิด พระพุทธเจ้าข้า..."

นี่เมื่อพระองค์ทรงศีลบริสุทธิ์ ไม่ทรงศีลองค์เดียว ชวนชาวบ้านชาวเมืองทรงศีลด้วย บอกว่าพระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหนก็ช่าง ถ้าเรามีความเคารพเสียอย่างเดียว ใจเราถึงแล้วก็ชื่อว่าเราถึงพระพุทธเจ้า ชวนกันรักษาศีลให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง เพราะทรงทราบจากบรรดาพ่อค้าเหล่านั้น ว่าพระพุทธเจ้าเสด็จไปไหน ให้ชาวบ้านรักษาศีล ก็เลยพากันรักษาศีลให้บริสุทธิ์ แล้วก็ตั้งสัตยาธิษฐานอยากจะถวายทานกับพระพุทธเจ้า พร้อมไปด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์

ปรากฏว่าการอธิษฐานของพระเจ้าอังครัฐนั้นมีผล เพราะวาองค์สมเด็จพระทศพลเป็นอัจฉริยะมนุษย์ มีพระพุทธญาณเป็นพิเศษ คืนวันนั้นเอง เวลาใกล้รุ่ง องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงทราบด้วยอำนาจพระพุทธญาณว่า เวลาเช้าวันนี้ควรจะไปโปรดพระเจ้าอังครัฐ แต่ก็ไม่ควรไปเอง ควรจะส่ง พระมหาโมคคัลลานะ พร้อมด้วยสาวกอีก ๔ องค์ไป แล้วองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา จึงได้มีพุทธบัญชารับสั่งให้ พระมหาโมคคัลลานะ ซึ่งเป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายมีฤทธิ์มาก (เพราะว่าพวกพ่อค้าเขามาคุยไว้ว่า พระนี่เหาะได้)

ฉะนั้น เพื่อเป็นการประกาศความเลื่อมใสให้บรรดาประชาชนทั้งหลายเห็นเป็นอัศจรรย์ว่าพระสงฆ์สาวกของสมเด็จพระทรงธรรม์เหาะได้จริง ๆ ตามที่พ่อค้าคุยไว้ เมื่อพระโมคคัลลาน์กับพระอรหันต์ทั้ง ๔ รูป ได้รับบัญชาจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็กราบบังคมลาองค์สมเด็จพระประทีปแก้วเหาะมาจากกรุงราชคฤห์ ให้สมกับที่บรรดาพ่อค้าทั้งหลายเขาเล่าลือกัน เพื่อจะมาสู่เมืองอังครัฐ

ฝ่ายพระเจ้าอังครัฐยังบรรทม แล้วก็ทรงพระสุบินนิมิต คือนอนฝันเห็นไปว่า มี พระยาหงส์ทอง ๕ ตัว บินมาลงที่พระลานหลวง พระองค์ก็สะดุ้งตื่นจากบรรทม แล้วก็ทอดพระเนตรเห็น พระโมคคัลลาน์ กับพระอรหันต์ทั้ง ๔ รูป ที่เหาะมานั้นพอดี

ก็ทรงเข้าใจเลยว่า การที่ฝันว่าพญาหงส์ทองนั้นก็คือพระ คงจะเป็นพระพุทธเจ้ากับพระสาวกมาโปรด เพื่อจะถวายทาน ก็คิดว่าการอธิษฐานของพระองค์มีผล จึงทรงดีพระทัยรับลงไปนิมนต์พระทั้ง ๕ รูปเข้ามาสู่ท้องพระโรงแล้ว พระราชาก็ประกาศป่าวร้องประชาชน ในเมืองอังครัฐให้มาร่วมประชุม แล้วก็โดยเสด็จพระราชกุศล หมายถึงบำเพ็ญกุศลร่วมตามกัน

เมื่อบรรดาประชาชนมาประชุมพร้อมกันแล้ว พระราชาก็อาราธนาพระมหาโมคคัลลาน์ ได้ให้โอวาท พระเถระจึงถวายพระพรแจ้งแก่พระเจ้าอังครัฐให้ทรงทราบว่า ตัวท่านเองนี้ไม่ใช่พระพุทธเจ้า หากแต่ว่าเป็นพระอัครสาวกที่ได้รับบัญชาให้มา คือมาแทนพระองค์ เพื่อมาโปรดพระเจ้าอังครัฐ เพราะการที่พระองค์อธิษฐานให้องค์สมเด็จพระพิชิตมารมาโปรดนั้น พระพุทธองค์ทรงทราบทุกประการ

พระราชาทรงดีพระทัย แม้จะทรงอธิษฐาน อยู่ไกลแสนไกล แต่องค์สมเด็จพระจอมไตรก็ทรงทราบวาระจิตของพระองค์ได้ จึงขออาราธนาพระโมคคัลลาน์ให้โอวาท พระเถระ จึงให้พระราชา และบรรดาประชาชนทั้งหลายสมาทานศีล ๘ ต่อจากนั้นไป พระเจ้าอังครัฐกับประชาชนก็ถวายอาหารบิณฑบาต

◄ll กลับสู่ด้านบน


praew - 6/8/08 at 12:21

(Update 6 ส.ค. 51)

พระโมคคัลลาน์พยากรณ์ ณ ดอยอินทนนท์


ภาพองค์พระธาตุบน "ดอยอินทนนท์" จาก folktravel.com


เมื่อพระโมคคัลลาน์และพระสงฆ์ ๔ รูปฉันแล้ว พระมหาเถระก็แสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระราชาให้ตั้งมั่นอยู่ในทศพิศราชธรรม ๑๐ ประการ แล้วก็ถวายพระพรลากลับ โดยเหาะจากพระราชฐานไปสู่ ดอยอินทนนท์ สมัยนั้นเรียกว่า "ดอยอังคสักการะ" แล้วพระมหาโมคคัลลาน์ได้พยากรณ์ว่า "ต่อไปเมืองอังครัฐจะเป็นเมืองที่มีความเจริญก้าวหน้า พระพุทธศาสนารุ่งเรืองตลอด ๕๐๐๐ ปี หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว..."

นี่...ท่านบอกว่า "เมืองเจริญก้าวหน้านะ" เขาไม่ได้บอกว่า "การเป็นกษัตริย์ก้าวหน้าอยู่ที่นั่น" ท่านบอกว่า "จะเป็นเมืองที่มีความเจริญก้าวหน้าดี" ท่านพูดถึง "เมือง" จำให้ดีนะ เดี๋ยวจะไปเถียงกันว่า "เมืองเจริญก้าวหน้า" เวลานี้ทำไมถึงได้เป็นอำเภอหนึ่งของประเทศไทย ขอให้มีความเข้าใจในศัพท์ของพระท่านไว้ก่อน พระท่านพูดน่ะ ท่านพูดตรง ๆ แต่ไอ้พวกเราเองน่ะ คิดไม่ค่อยตรงกับศัพท์ที่พระท่านพูด จะไปนั่งเถียงกัน

เมื่อพยากรณ์เสร็จแล้ว พระโมคคัลลาน์กับพระอรหันต์ทั้ง ๔ รูป ก็กลับถึงกรุงราชคฤห์โดยทางอากาศ ครั้นเข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระพิชิตมารที่พระเวฬุวันแล้ว จึงกราบทูลเรื่องราวที่ไปเมืองอังครัฐให้ทรงทราบทุกประการต่อมาพระเจ้าอังครัฐมีความปรารถนาจะได้เฝ้าองค์สมเด็จพระประทีปแก้วโดยตรง ในการที่พระมหาโมคคัลลาน์ให้ศีล ๘ ไว้ คนที่รับทุกคนในวันนั้น ก็ไม่ยอมละศีล ๘ เป็นว่างานการสร้างชาติ สร้างพลเมืองของชาติ ต้องระงับไปชั่วคราว แต่ไม่เป็นไร วันหลังทำกันใหม่ระงับไว้ชั่วขณะหนึ่ง

พอถึงเวลากลางคืนวันหนึ่ง พระเจ้าอังครัฐก็ตั้งสัตยาธิษฐานว่า ขอองค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมไปด้วยพระพุทธสาวก ขอได้โปรดข้าพระพุทธเจ้าอีกวาระหนึ่ง เพื่อสร้างความชื่นใจให้กับบรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย ความจริงที่ส่งพระโมคคัลลาน์มาก็ชื่อว่าเป็นการดีแล้ว แต่ว่าบรรดาประชาชนอยากจะนมัสการพระประทีปแก้วอีกโดยตรง เพราะว่าการเห็นพระอรหันตสาวก ก็ชื่อว่าเป็นผู้วิเศษเกินกว่าที่จะคิดไว้ ถ้าหากวาประชาชนทั้งหลายได้นมัสการองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา และได้สดับพระธรรมเทศนาแล้ว อารมณ์จะเข้าถึงธรรมมากกว่านี้

นี่...ความจริงท่านเป็นพระราชาที่ฉลาดมาก เพราะคนในประเทศทั้งหมด ถ้าปรากฏว่าเป็นคนที่มีศีล ๕ หรือทรงธรรม การปกครองประเทศก็เป็นไปด้วยความสะดวก ไม่ยากแก่การปราบปราม เพราะคนเลวไม่มี มีแต่คนดี เมื่อทรงอธิษฐานแล้วก็เข้าบรรทม กลางคืนทรงพระสุบินนิมิตฝันไปว่ามี ช้างเผือก เชือกหนึ่งกับบริวารอีก ๕๐๐ เหาะมาสู่ดอยจอมทอง เห็นชาวเมืองทั้งหลายถือดอกไม้ธูปเทียน ไปบูชาพญาช้างเผือกกับบริวารเต็มไปหมด

ครั้นตื่นจากบรรทมทรงดำริว่า เมื่อครั้งก่อนนั้น เรามีศรัทธาปรารถนาจะเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วก็จุดดอกไม้ธูปเทียนอธิษฐาน แล้วก็ไปสู่ห้องที่นอน (ห้องบรรทม) ก็ทรงสุบินนิมิตฝันไปว่าเห็นพญาหงส์ทอง รุ่งขึ้นเราก็เห็นพระโมคคัลลาน์กับพระอรหันต์ทั้ง ๔ รูป เหาะมาให้บำเพ็ญกุศล มาคราวนี้..บางทีเราได้เห็น "ช้างเผือก"อาจจะได้บำเพ็ญกุศลกับองค์สมเด็จพระทศพล หรือมิฉะนั้น ก็ต้องเป็นพระสงฆ์ที่มีศักดาใหญ่กว่าพระมหาโมคคัลลาน์ เพราะว่าช้างเผือกนี่เป็นสัญลักษณ์ของบุคคลผู้มีบารมีสูง

ฉะนั้น พระองค์จึงโปรดให้ประชาชนจัดอาหารบิณฑบาต พร้อมไปด้วยเครื่องสักการะเข้าไว้ว่า ดีไม่ดีตอนนี้แหละ พระพุทธเจ้าจะต้องเสด็จ ท่านเสด็จมาคราวนี้ต้องมีพระตามมาถึง ๕๐๐ รูป ถ้าพระพุทธเจ้าไม่มาเอง ก็ต้องมีพระสงฆ์ผู้มีศักดาใหญ่เป็นหัวหน้ามาพระพุทธเจ้าเสด็จสู่ดอยจอมทอง

เมื่อพระราชาได้ทรงรับสั่งให้ประชาชนจัดอาหารบิณฑบาต และเครื่องสักการะเครื่องบูชาประชุมพร้อมกันคอยอยู่ที่ดอยจอมทอง เพราะว่าในความฝัน ฝันว่าช้างมันลงที่ดอยจอมทอง ห่างจากตัวเมืองไปนิดหน่อย และความจริงก็เป็นดังนั้น

หลังจากพระราชาพร้อมไปด้วยประชาชนทั้งหลายมาประชุมกันที่ตรงนั้นแล้ว ภายในไม่ช้าองค์สมเด็จพระประทีปแก้วพร้อมด้วยพระสงฆ์ทั้ง ๕๐๐ รูป ก็เหาะมาทางอากาศ แล้วก็ลงที่ดอยจอมทองจริง ๆ เรียกว่าฝันแม่น

เมื่อพระเจ้าอังครัฐได้ทอดพระเนตรเห็นพระพุทธองค์ พร้อมไปด้วยพระสาวกทั้ง ๕๐๐ รูป ก็เกิดศรัทธาว่า การเห็นพระพุทธเจ้านั้น รู้ทันทีว่าองค์นี้คือพระพุทธเจ้ารู้ยังไง...?

เพราะพรรคพวกพ่อค้าก็มานั่งเทศนาเสียนานแล้ว คุยถึงความงามของพระพุทธเจ้าว่างามยิ่งกว่าใครทั้งหมด ไม่มีบุคคลใดในโลกนี้ จะมีความงามเสมอไปด้วยพระพุทธเจ้า มีลักษณะสมบูรณ์บริบูรณ์ทุกประการ ยิ่งไปกว่านั้น องค์สมเด็จพระพิชิตมารยังมีฉัพพรรณรังสี รัศมี ๖ ประการล้อมพระวรกาย มองไปแล้วคล้ายพระอาทิตย์ทรงกลดงามยิ่งกว่ามนุษย์และเทวดาและพรหมทั้งหมดที่มีอยู่ในโลก

เวลานั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาถึงแล้วก็ทรงเหล่งฉัพพรรณรังสี รัศมี ๖ ประการ พระวรกายของพระองค์นี้ที่มีความสวยอยู่แล้วก็สวยหนักยิ่งขึ้น คนทุกคนมองแล้ว แหม...ไม่อยากให้พระพุทธเจ้าคลาดแคล้วไปอยู่ที่อื่น มีความชุ่มชื่นไปด้วยอำนาจธรรมปีติ พระราชาพร้อมไปด้วยประชาชนทั้งหลาย ก็พากันถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์พระพุทธพยากรณ์

เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงประทับเรียบร้อย บรรดาประชาชนทั้งหลาย มีพระราชาเป็นหัวหน้า ได้นมัสการองค์สมเด็จพระบรมศาสดากันแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วจึงได้ทรงตรัสกับพระราชาว่า "เมืองนี้ต่อไปจะก้าวหน้าเจริญมาก ดอยจอมทองนี้ จะเป็นที่ประดิษฐาน พระโมลีจอมหัวของเรา คือเป็นกระดูกกระหม่อม หลังจากที่เรานิพพานไปแล้ว พระมหากัสสป จะเป็นผู้นำมาให้

เมื่อเรานิพพานไปแล้ว ๒๑๘ ปี จะมีพระธาตุรากขวัญเบื้องขวา คือกระดูกไหปลาร้าข้างขวา กับกระดูกย่อย ๆ รวม ๕ องค์ด้วยกัน (แต่ใน "ตำนานของวัด" บอกว่า "กระดูกด้ามมีดเบื้องขวา" แล้วสันนิษฐานว่า เป็น "พระรากขวัญ" ตรงกันกับหลวงพ่อ) จะนำมาโดย พระเจ้าอโศกมหาราช แห่งชมพูทวีป จะเสด็จมาขุดอุโมงค์แล้วก็ทรงบรรจุเข้าไว้..."

สถานที่ยืนประทับรับบิณฑบาต


วัดด้างได้สร้าง "รอยพระพุทธบาท" ไว้ภายในวิหาร ตรงสถานที่พระพุทธองค์ทรงประทับยืน
(ภาพจาก gotoknow.org)


เมื่อทรงพยากรณ์เสร็จเท่านั้น ก็ปรากฏว่ามีเทวดา ๒ องค์ กับพญานาค ๒ ตน รับอาสาว่าจะรักษาสถานที่นั้นมิให้เป็นอันตราย จากนั้นพระราชาก็อาราธนาพระพุทธเจ้ากับพระสงฆ์สาวกรับอาหารบิณฑบาต ในสถานที่ได้จัดไว้ทางทิศเหนือของดอยจอมทอง (สถานที่พระพุทธเจ้ารับบิณฑบาตนั้นชื่อ "วัดด้าง" ตั้งอยู่ริมถนนด้านตะวันตก เหนือวัดพระธาตุจอมทอง เรื่องนี้หลวงพ่อเล่าได้ถูกต้องตรงตามตำนานของวัดอย่างน่าอัศจรรย์เหลือเกิน)

สถานที่ประทับนั่งฉันภัตตาหาร


พระอุโบสถ วัดพระธาตุจอมทอง เป็นสถานที่ประทับนั่งฉันภัตตาหาร
(ภาพจาก winbookclub.com )


ครั้นพระพุทธองค์ทรงรับนิมนต์แล้วก็เสด็จไปรับบิณฑบาต แล้วทรงเสด็จกลับมาสู่ดอยจอมทองอีก ประทับนั่งฉันภัตตาหาร ณสถานที่แห่งหนึ่ง (ได้แก่ที่ตั้งพระอุโบสถในเวลานี้ ซึ่งถือเป็นประเพณีอาราธนา "พระบรมธาตุ" ไปบูชาข้าวที่พระอุโบสถจนทุกวันนี้)

ครั้งเสร็จจาการฉันแล้ว พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงพระสัทธรรมเทศนา โปรดพระเจ้าอังครัฐกับประชาชน (ในตอนนี้ หลวงพ่อต่อว่าผู้เล่าว่า ไม่บอกผลให้ทราบว่าเป็นอย่างไร ซึ่งใน "ตำนานของวัด" ก็ไม่กล่าวไว้ด้วย ผู้เล่าที่มองไม่เห็นตัว จึงได้เล่าให้หลวงพ่อฟังต่อไปว่า) ได้บรรลุมรรคผล

ปรากฏว่าพระเจ้าอังครัฐและพระราชเทวีได้สำเร็จ พระสกิทาคามี มีพระราชโอรส พระราชธิดาและอำมาตย์ข้าราชบริพารในจำนวน ๙๐ ใน ๑๐๐ เป็น พระโสดาบัน นอกนั้นก็ถึงสรณาคมน์ หลังจากนั้น องค์สมเด็จพระทศพลก็เสด็จไปสู่ ดอยอินทนนท์ ทอดพระเนตรดูเมืองอังครัฐ แล้วก็ทรงพยากรณ์เหมือนกับที่ พระโมคคัลลาน์ พยากรณ์ นี่คำพยากรณ์ของพระพุทธเจ้ากับพระสาวกตรงกัน ต่อจากนั้นองค์สมเด็จพระภควันต์ก็เสด็จสู่กรุงราชคฤห์

เมื่อพระพุทธองค์ทรงเสด็จกลับแล้ว พระบาทท้าวเธอก็โปรดให้สร้างศาลา ๓ หลังคือ ตรงที่ยอดดอยจอมทอง ที่พระพุทธองค์ลงมาประทับยืนเป็นครั้งแรก ๑ หลัง ที่รับอาหารบิณฑบาต ๑ หลัง และที่ทรงฉันภัตตาหารอีก ๑ หลัง สร้างเจดีย์ทองคำไว้รอบรรจุพระบรมธาตุ นอกจากนั้นก็ได้โปรดให้สร้าง "เจดีย์ทองคำ" ขึ้นไว้ ๑ องค์บนยอดดอย พร้อมกันนั้น ก็โปรดให้สร้าง "โกศแก้วอินทนิล" ไว้ภายในเจดีย์ แล้วก็ทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า

"เมื่อองค์สมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานแล้ว ก็ขอให้ "พระโมลีธาตุจอมหัว" และ "พระธาตุรากขวัญเบื้องขวา" มาประดิษฐานอยู่ในโกศอินทนิลเถิด..."

แล้วหลังจากนั้นก็โปรดให้บรรดาพ่อครัว ๕๐๐ ตระกูล มาปฏิบัติรักษาเจดีย์ คอยรักษาคอยจัดอาหาร ถวายพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ที่จะมาสู่ดอยจอมทอง แล้วพระเจ้าอังครัฐก็เสวยราชสมบัติด้วยทศพิธราชธรรม ต่อมาจนถึงสวรรคต

ในตอนนี้ก็ปรากฏว่าหลังจากนั้น พระพุทธเจ้าบ้าง พระสงฆ์สาวกทั้งหลายบ้าง ก็มากันบ่อย เพราะว่ามีคนศรัทธามาก ต่อมาหลังจากถวายพระเพลิงที่ เมืองกุสินารา แล้ว โทณพราหมณ์ เป็นผู้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุกับเมืองต่าง ๆ พระโมลีธาตุเบื้องขวา ก็ตกอยู่กับมัลลกษัตริย์ ในฐานะที่ พระมหากัสสป เป็นประธานพระในสมัยนั้น จึงแจ้งบรรดากษัตริย์ทั้งหลายเหล่านั้นว่า พระโมลีธาตุเบื้องขวานี้ ควรจะเป็นของเมืองอังครัฐ เพราะว่าพระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้เช่นนั้น

บรรดามัลลกษัตริย์ทั้งหลายก็ยอมพระมหากัสสปจึงอาราธนาพระโมลีธาตุเบื้องขวาวางไว้บนฝ่ามือ แล้วก็อธิษฐานว่า ขอให้พระโมลีธาตุขององค์สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงตั้งใจพระราชทานไว้ก่อนจะเสด็จดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพาน ขอบารมีองค์สมเด็จพระพิชิตมารจง ได้โปรดให้พระบรมสารีริกธาตุนี้ ไปสู่โกศแก้วอินทนิล ในเจดีย์ทอง เหนือดอยจอมทอง

เมื่อเสร็จคำอธิษฐานแล้ว พระโมลีธาตุก็แสดงปาฏิหาริย์ เปล่งพระรัศมีดังดวงจันทร์วันเพ็ญ ลอยขึ้นไปบนอากาศแล้วก็เสด็จประดิษฐานอยู่ในโกศแก้วอินทนิล โดยที่ไม่มีใครต้องไปนำมาใส่เข้าไว้ นี่...เป็นปาฏิหาริย์หรือบารมีขององค์สมเด็จพระจอมไตร และเวลาที่มาภายหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานเล็กน้อยเท่านั้น

◄ll กลับสู่ด้านบน




พระเจ้าอโศกเสด็จมา ณ ดอยจอมทอง


เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๒๑๘ ปี พระเจ้าอโศกมหาราช ก็เสด็จมาสู่ดอยจอมทอง พร้อมไปด้วยข้าราชบริพาร เมื่อสร้างอุโมงค์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุใต้พื้นดอยจอมทองแล้ว ก็สร้างโกศเพชร หรือโกศแก้ววชิระให้เป็นที่ประดิษฐาน พระธาตุรากขวัญ กับ พระธาตุย่อย ๆ บรรจุไว้ในพระอุโมงค์ เมื่อเสร็จแล้วก็ทรงอธิษฐานขอให้เมืองนี้ จงเจริญรุ่งเรือง แล้วขอให้พระธาตุจงอยู่คู่ไปกับเมืองนี้ตลอด ๕,๐๐๐ ปี และถ้าหากว่าบรรดาประชาชนประพฤติปฏิบัติอยู่ในศีลธรรมก็ขอให้ พระบรมสารีริกธาตุ ออกมาให้ปรากฏแสดงปาฏิหาริย์ให้ปรากฏนั่นเอง

ถ้าประชาชนไม่ตั้งอยู่ในธรรม ก็ขออย่าได้แสดงปาฏิหาริย์ให้ปรากฏ ซึ่งจากการที่ทรงตั้งสัจจะอธิษฐาน อันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชก็เสด็จกลับ

ผู้สร้างวัดศรีจอมทอง

ต่อมาสมัยหลัง เมื่อถึง พ.ศ.๑๑๙๔ (ตำนานของวัดบอกว่า พ.ศ.๑๙๙๔) มีผัวเมียคู่หนึ่ง ผัวชื่อ นายสร้อย เมียชื่อ นางเม็ง ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ ๆ กับดอยจอมทอง แล้ว ก็เป็นคนที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง

วันหนึ่ง เป็นวันเพ็ญ เดือน ๑๒ ปีมะเมีย นายสร้อยไปอาบน้ำแล้วก็ไปรักษาศีล ๘ ที่ดอยจอมทอง เห็นดอยมีลักษณะงามเหมือนหลังเต่า ก็เกิดศรัทธาอยากจะสร้างวัดที่ดอยจอมทอง ความจริงตอนที่เขาบรรจุไว้คราวนั้นนะ โปรดทราบไว้ว่า เขาขุดลงไปลึกแล้วก็สร้างเป็นมูลดินไว้กันคนเดินข้าม ยังไม่ได้สร้างเจดีย์แบบสมัยนี้

ทีนี้เมื่อแกเกิดศรัทธาแล้ว จึงได้นำเรื่องมาปรึกษานางเม็ง ผู้เป็นภรรยา ก็เป็นที่ตกลงกันแล้ว เลือกที่บนถ้ำที่คูหายอดดอยต้นทองหลาง (เขาว่าอย่างนั้น) วัดที่สร้างนี้เรียกกันว่า วัดศรีจอมทอง แต่การสร้างยังไม่ทันเสร็จบริบูรณ์ดังความประสงค์ แกก็สิ้นชีวิตไปเสียก่อน

ครั้นถึง พ.ศ. ๑๙๐๐ (ตำนานของวัดบอกว่า พ.ศ.๒๐๐๙) ก็มีชาย ๒ คน คนหนึ่งชื่อสิบเงิน อีกคนหนึ่งชื่อ สิบถั่ว สร้างวิหารขึ้น ๑ หลัง มุงหลังคาด้วยหญ้าคา พร้อมกับนิมนต์พระภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อว่า สารีปุตตเถระ (ไม่ใช่องค์ก่อนนะ องค์หลัง ชื่อซ้ำกัน) เป็นเจ้าอาวาส องค์แรกของวัด เป็นพระสกิทาคามี จนกระทั่งถึงเจ้าอาวาสที่มีนามว่า พระธรรมปัญโญเถระ ก็มีตาผ้าขาวคนหนึ่ง ซึ่งอยู่เหนือวัด เป็นผู้อุปการะวัดด้วย ได้มาหาเจ้าอาวาสแล้วบอกว่า ฝันเห็นพระบรมธาตุอยู่ใต้ดอยจอมทอง พระบรมธาตุนั้นจักเสด็จออกมาให้ประชาชนเคารพบูชา พระธรรมปัญโญเถระ ได้ฟังดังนั้นก็ดีใจ อธิษฐานขอให้พระบรมสารีริกธาตุ เสด็จออกจากที่ประดิษฐานมาให้คนเคารพบูชา ก่อนที่ท่านจะถึงมรณภาพไปเสียก่อน



พระบรมสารีริกธาตุ เสด็จออกมาจากอุโมงค์



(หลวงพี่โอและหลวงพี่ชัยวัฒน์ขึ้นไปห่มผ้าบนปราสาทพระบรมธาตุ)


เมื่อถึง พ.ศ.๒๐๔๒ เดือน ๔ ขึ้น ๑๔ ค่ำ (ตรงกันกับตำนานของวัด) เป็นเวลากลางคืน นี่เป็นเดือน ๔ เหนือนะ ไม่ใช่เดือน ๔ ใต้ จะเป็นเดือนยี่ของเรา พระบรมธาตุก็เสด็จออกมาให้ปรากฏ โดยแสดงให้เห็นปาฏิหาริย์ต่าง ๆ มีผู้เห็นกันมากมาย พอรุ่งเช้า เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เห็นประตูวิหารเปิด ปรากฏว่า พระโมลีของพระพุทธรูปถูกถอดออกจากพระเศียร มาวางอยู่บนพระเพลา คือบนตัก แล้วมี "ห่อผ้าขาว" วางอยู่เหนือพระเศียรพระพุทธรูปองค์นั้นแทนโมลี

เมื่อเอาลงมาดูก็เห็นเป็นพระบรมธาตุ ก็ดีใจเป็นอย่างยิ่ง จึงเอาใส่ไว้ในโกศงา แล้วก็ประดิษฐานไว้เหนือเศียรพระพุทธรูป ความลับนี้คงรู้แต่ท่านเจ้าอาวาสกับตาผ้าขาว ๒ คนเท่านั้น แสดงว่าเห็นพระบรมธาตุแล้วก็ปิด กลัวใครจะมาขโมย เจ้าอาวาสของวัดนี้ล่วงไปอีกหลายองค์ จนกระทั่งถึง พระมหาสีลปัญโญ มาเป็นเจ้าอาวาส พ.ศ.เท่าไรไม่ได้บอก ก็มีพระสงฆ์รูปหนึ่งชื่อว่า พระมหาพุทธญาโณ น่ากลัวจะเป็นฉายา ได้บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในป่าฟ้าหลั่ง ในเมืองพุกาม

ท่านได้ "ตำนานพระธาตุ" มาก็เข้าใจว่าพระบรมธาตุที่จอมทองนี่ตรงตามตำนาน จึงได้สั่งให้ พระอานันทเถระ กับตาผ้าขาวมาวัดศรีจอมทอง (อานันทะเถระนี่เป็นพระทีหลัง ไม่ใช่พระอานนท์) เมื่อมาถึงก็อธิษฐานขอให้พระธาตุแสดงปาฏิหาริย์ พระบรมธาตุก็แสดงปาฏิหาริย์ให้ปรากฏ จากนั้น พระมหาสีลปัญโญ เจ้าอาวาส จึงเอาพระบรมธาตุที่เศียรพระพุทธรูปในวิหารมาให้ดู



ผู้สร้างปราสาทพระบรมธาตุ


พระอานันทะเถระเห็นเป็นพระบรมธาตุที่แท้จริง จึงนำความไปบอกพระมหาพุทธญาโณ พระมหาพุทธญาโณก็เข้าไปทูลพระเจ้ารัตนราช หรือว่า พระเมืองแก้ว ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ ในขณะนั้น พระองค์ทรงพระปรีดาปราโมทย์ จึงได้โปรดให้สร้างวิหาร และปราสาทเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุ พระบรมธาตุจึงอยู่ที่วัดศรีจอมทอง และที่ปราสาทแห่งนี้ ตลอดมาจน ตราบเท่าทุกวันนี้

หลวงพ่อท่านได้เล่าตามที่ ท่านวชิระ หรือ "ท่านวิเชียร" มาบอก ส่วน "ตำนานของวัด" บอกว่า เริ่มสร้างในปีชวด อัฏฐศก พ.ศ.๒๐๖๐ พระองค์รับสั่งให้ช่างทองสร้างโกศทองทำ น้ำหนักได้ ๕๖๐ กรัม เพื่อเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุ (คือ ๘ ปี หลังจากที่พระบรมธาตุเสด็จออกมา) พระบรมธาตุได้เสด็จออกมาปรากฏแก่มนุษย์และเทวดา เพื่อกราบไหว้สักการบูชา ในรัชสมัย พระเมืองแก้ว เป็นต้นจนกระทั่งทุกวันนี้ (คือเมื่อ ๔๘๐ ปีที่ผ่านมา)

พวกเราจึงได้กลับมาสมโภชพระเจดีย์กันอีกครั้ง เนื่องในวโรกาสสถานที่นี้จะรักษาพระพุทธศาสนาไว้ครบถ้วน ๕,๐๐๐ ปี เราจึงต้องมาฉลองอายุพระพุทธศาสนาครบ ๒๕๔๐ ปีกันในวันนี้ ณ เมืองอังครัฐ เป็นการฉลองต่อจากงานที่ เมืองโยกนกบุรีศรีเชียงแสน เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา เพราะเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับยืนพยากรณ์ทั้งสองแห่ง จึงต้องตัดดอนมาจัดงานกันในคราวนี้



พระบรมธาตุอันตรธานหาย


ตาม "ตำนานของวัด" เล่าต่อไปว่า ต่อมาภายหลังถึง พ.ศ.๒๓๑๔ ปีขาล เดือน ๕ แรม ๑๑ ค่ำ วันจันทร์ พระบรมธาตุก็อันตรธานสูญหายไป คงจะเป็นด้วยเหตุในคราวครั้งนั้นเมืองเชียงใหม่ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าก็ได้ ครั้นถึงปี พ.ศ. ๒๓๑๘ กษัตริย์เมืองอยุธยา ( คงจะหมายถึงพระเจ้าตากสิน ) ยกพลโยธามารบกับพม่า ที่เมืองเชียงใหม่ได้ชัยชนะแล้ว ยกพลไปสู่นครหริภุญชัย นมัสการพระธาตุหริภุญชัยแล้ว จึงแต่งตั้งให้ พระยาจ่าบ้านเป็นผู้ครองเมืองเชียงใหม่ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น พระยาวิเชียรปราการ (หรือวชิระปราการกำแพงเพชร) เมืองเชียงใหม่จึงได้หลุดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของพม่าตลอดมาจนทุกวันนี้

ครั้นถึง พ.ศ. ๒๓๒๒ พระยาวิเชียรปราการ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (อาจจะเป็นองค์เดียวกับที่มาเล่าให้หลวงพ่อฟังก็ได้) ได้คำนึงถึงพระบรมธาตุเจ้าองค์ประเสริฐ อันได้อันตรธานสูญหายไปตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๔ นั้น นานประมาณได้ ๙ ปีแล้ว

จึงได้ให้นายช่างทองสร้างโกศเงินและโกศทองคำ เพื่อจะนำไปเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุเจ้า แล้วจึงรับสั่งอำมาตย์ทั้งหลาย กับทั้งพระภิกษุสงฆ์ ๑๒ รูป มี ท่านพุทธิมาวังโส ผู้เป็นเจ้าอาวาส "วัดพระธาตุศรีจอมทอง" เป็นประธาน ได้ร่วมกันทำพิธีอาราธนาพระบรมธาตุเจ้า ตามโบราณประเพณีทีสืบ ๆ กันมา

ครั้งแรกพระบรมธาตุก็ยังไม่เสด็จมา ต่อมาเมื่อถึงเดือน ๕ แรม ๑๓ ค่ำ ก็ได้อาราธนาอีกเป็นครั้งที่ ๒ พระบรมธาตุก็ยังไม่เสด็จมา ต่อมาถึงเดือน ๖ แรม ๓ ค่ำ ท่านพุทธิมาวังโส จึงได้ทำพิธีตั้งสัตยาธิษฐานว่า "พระยาวิเชียรปราการ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้ปรารถนาพระโพธิญาณ ถ้าความปรารถนานั้นจักสำเร็จดังมโนรถแล้ว ขออัญเชิญพระบรมธาตุเจ้า จงเสด็จมออกมาปรากฏในคูหาปราสาททองคำดังเก่าเทอญ..."

เมื่ออธิษฐานแล้วถึงวันแรม ๔ ค่ำ เวลาเช้าพระบรมธาตุเจ้าก็ได้เสด็จออกมาปรากฏในคูหาปราสาท ตามคำอธิษฐานของพระเถระนั้น รวมความว่าต้องกระทำกันถึง ๓ ครั้ง พระบรมธาตุจึงเสด็จออกมาปรากฏให้เห็นกันในวันแรม ๔ ค่ำ เดือน ๖ พ.ศ.๒๓๒๒ (คือเมื่อ ๒๑๘ ปีมาแล้ว) สร้างความปลื้มปีติยินดีแก่เจ้าผู้ครองนครเป็นอันมาก

สรุปแล้วพระบรมธาตุเสด็จออกมาเมื่อ พ.ศ.๒๐๔๒ อยู่นานถึง ๒๗๒ ปี จึงหายไปเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๔ จนถึง พ.ศ.๒๓๒๒ เว้นระยะห่างเพียง ๘ ปี ก็เสด็จกลับมาอีก บัดนี้เป็นเวลา ๒๑๘ ปีล่วงมาแล้ว ที่ยังสามารถอัญเชิญพระบรมธาตุออกมาให้ชมและกระทำพิธีสรงน้ำได้แล้วยังไม่รู้ว่าจะเสด็จกลับเข้าไปเมื่อใดอีก

วัดพระธาตุศรีจอมทองนี้ จึงเป็นปูชนียสถานที่สำคัญและเก่าแก่มานาน และเป็นพระอารามหลวงที่บรรดาพระมหากษัตริย์ทั้งหลายในอดีตจนกระทั่งสมัยรัชกาลปัจจุบันนี้ ได้เคยทรงอุปถัมภ์ตลอดมา

ลักษณะองค์พระบรมธาตุเป็นอันว่า หลังจากบรรยายประวัติดังกล่าวจบแล้ว จึงได้เริ่มทำพิธีบวงสรวงสักการะบูชา ตามแบบฉบับของหลวงพ่อต่อไป หลังจากนั้น พระพิธีกรรม ๒ รูป จึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ อันมีลักษณะขนาดใหญ่โตเท่าเมล็ดถั่วเขียว หรือเมล็ดข้าวโพด จำนวน ๑ องค์ สัณฐานกลมเกลี้ยง ดังสีดอกพิกุลแห้ง หรือคล้ายทองดอกบวบ

ตามตำนานของวัดได้กล่าวถึงเรื่องสีของพระบรมธาตุองค์นี้ว่าแปลกประหลาด เพราะเมื่อดูขณะหนึ่งเป็นสีหนึ่ง เมื่อดูอีกในขณะอื่นจะหลายเป็นสีหนึ่งไป แม้แต่ผู้ไปเห็นมาด้วยกัน ก็เห็นไม่เหมือนกัน บางคนก็เห็นเป็นสีขาว บางคนก็เห็นเป็นสีเหลือง ตามความสังเกตของผู้ที่ใกล้ชิด ถ้าเราดูห่าง ๆ จะเห็นเป็นสีเหลืองคล้ายทองคำ ถ้าดูใกล้ ๆ จะเห็นเป็นสีขาวหม่น



โกศที่ประดิษฐานพระบรมธาตุ




ทางวัดได้อัญเชิญ "โกศที่ประดิษฐานพระบรมธาตุ" ออกมาให้พวกเราได้ถวายน้ำสรงกัน

สำหรับโกศที่ประดิษฐานพระบรมธาตุมี ๕ ชั้น คือ ชั้นที่ ๑ เป็นโกศเงิน ชั้นที่ ๒ ภายในโกศเงินเป็นโกศทองเหลืองปิดทอง ชั้นที่๓ ภายในโกศทองเหลืองเป็นผอบเงิน ชั้นที่ ๔ ภายในผอบเงินเป็นผอบทองคำลงยาประดับเพชร ชั้นที่ ๕ ภายในผอบทองคำลงยาเป็นผอบทองคำเกลี้ยง น้ำหนัก ๑๖ กรัม ขนาดเท่าผลมะยมเขื่อง พระบรมธาตุประดิษฐานอยู่ในผอบทองคำชั้นที่ ๕ นี้

โกศสรงน้ำพระบรมธาตุ


แต่เวลาจะสรงน้ำพระบรมธาตุ จะต้องอัญเชิญพระบรมธาตุมาประดิษฐานในโกศแก้ว เชิงโกศเป็นทองคำแผ่นบุ มีลวดลาย ฝาโกศทำด้วยทองคำเป็นฝาโปร่งยอดแหลม คล้ายฝาชีตั้งบนพานเงินอีกที มีสายสร้อยทองคำจากฝาโกศโยงลงมายังพานเงินทั้ง ๔ ด้าน

น้ำสำหรับสรง


ตามปกตินิยมสรงด้วยน้า "แม่กลาง" ซึ่งไหลจากน้ำตกแม่กลาง ผ่านมาทางทิศตะวันตกของวัดพระธาตุศรีจอมทอง แล้วเจือด้วยน้ำหอมหรือแก่นจันทน์ ถ้ามีความจำเป็นซึ่งจะสรงด้วยน้ำแม่กลางไม่ได้ ก็สรงด้วยน้ำที่สะอาดเจือด้วยของหอมตามแต่ศรัทธา

สำหรับผู้ถือตามประเพณีเดิม ต้องไปเอาน้ำแม่กลางมาสรงจนได้ ประเพณีนี้เห็นจะถือตามตำนานนี้ เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดพระเจ้าอังครัฐ แล้วทรงเสด็จไปประทับบน ดอยอินทนนท์ ซึ่งเป็นที่เกิดแม่น้ำสายนี้ และพระองค์จะเสด็จลงสรงสนานในแม่น้ำนี้ นอกจากนี้ยังไม่ได้หลักฐานอะไร

เมื่อพระพิธีกรรมทั้ง ๒ รูป อัญเชิญโกศแก้วพระบรมธาตุ ซึ่งวางอยู่บนพานเงินดังกล่าวแล้วนั้น เดินไปยังข้างหน้าพระวิหารแล้ว วางไว้บนโต๊ะ เพื่อจะเปิดโอกาสให้พวกเราได้สรงน้ำพระบรมธาตุกันต่อไป ซึ่งเป็นน้ำที่เจ้าหน้าที่ของวัดจัดเตรียมไว้ให้ คงจะเป็นน้ำจาก "น้ำตกแม่กลาง" ตามประเพณีที่เคยกระทำมา

ครั้นพระภิกษุและญาติโยมสรงน้ำพระบรมธาตุกันครบถ้วนแล้ว พระพิธีกรรมของวัดก็อัญเชิญโกศแก้วพระบรมธาตุกลับคืนยัง "คูหาปราสาท" ตามเดิม เจ้าหน้าที่ของเราก็เข้าไปห่มผ้า และนำพวงมาลัยดอกดาวเรือง ล้อมรอบ "มณฑปปราสาท" เพื่อถวายเป็นเครื่องสักการะบูชาแด่องค์พระบรมธาตุเจ้านั้น

เมื่อทำพิธีบวงสรวงสักการบูชาตามแบบฉบับครูบาอาจารย์แล้ว พวกเราก็ย้ายมาที่วิหารอีกหลังหนึ่ง เพื่อทำพิธีทอดผ้าป่าแด่เจ้าอาวาส หลังจากรวบรวมเงินได้ ประมาณ ๖๐,๐๐๐ บาทเศษ แล้วพวกเราก็ถวายเพื่อเป็นการบูรณะวัดพระธาตุศรีจอมทองต่อไป

รายการเดินทางสำหรับวันนี้ก็มีเพียงแค่นี้ ต่อจากนั้นพวกเราก็เดินทางมารับประทานอาหารเย็นและค้างคืนที่ วัดโขงขาว เมื่อเข้าไปถวายสังฆทานและจตุปัจจัยแด่เจ้าอาวาส รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๕๐,๐๐๐ บาทเศษ แล้วพวกเราก็เข้าพักผ่อนหลับนอนกัน แต่ผู้ที่มีหน้าที่ทำบายศรีก็ต้องนอนดึกอีกเช่นเคย เพราะจะต้องจัดเตรียมไว้สำหรับวันรุ่งขึ้นอีก ๔ แห่งด้วยกัน

ในตอนเช้า วันอาทิตย์ที่ ๒๐ เมษายน ตื่นขึ้นมาอากาศสดชื่น หลังจากเหน็ดเหนื่อยกันมาตลอดวันแล้ว เราก็ได้พักผ่อนกันอย่างเต็มที่ เมื่อรับประทานอาหารเช้าแล้ว ร่างกายก็ยิ่งมีกำลังวังชาเพิ่มขึ้น พวกเราก็เดินทางไปยังจุดที่ ๔ ต่อไป แต่คงจะยังไปไม่ถึง เพราะหน้ากระดาษหมดแล้ว ต้องรอไว้ไปพร้อมกันตอนต่อไป...สวัสดี

((( โปรดติดตามตอนที่ ๓ วัดพระธาตุดอยคำ ต่อไป )))


◄ll กลับสู่ด้านบน