ตามรอยพระพุทธบาท

(ตอนที่ 2) รูปภาพอสุภะ "ศพจริงๆ" ถ้าไม่มั่นใจก็อย่าเพิ่ง..."Click"
webmaster - 18/4/08 at 09:42

<< ย้อน ตอนที่ 1 คลิกที่นี่


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก
เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์


๙. กายคตาสติสูตร (๑๑๙)

พิจารณาร่างกายเป็น ธาตุ ๔
[๒๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้แล ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโค ผู้ฉลาด ฆ่าโคแล้วนั่งแบ่งเป็นส่วนๆ ใกล้ทางใหญ่ ๔ แยก ฉันใด




ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แล ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม



เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ ฯ




พิจารณาเป็น "นวสี" คือ ป่าช้าทั้ง ๙

๑. ศพที่ขึ้นพอง เขียวช้ำ มีน้ำเหลือเยิ้ม
[๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็น "ศพ" ที่เขาทิ้งในป่าช้า อันตายได้วันหนึ่ง หรือสองวัน หรือสามวัน ที่ขึ้นพอง เขียวช้ำ มีน้ำเหลืองเยิ้ม จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้








เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ ฯ



๒. ศพที่ถูกหมู่สัตว์กัดกิน
[๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขบ้านกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขป่ากัดกินอยู่บ้าง สัตว์เล็กสัตว์น้อยต่างๆ ชนิดฟอนกินอยู่บ้าง จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้ เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้





เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ ฯ





ภาพอสุภะ

ภาพดูแล้วอย่าคิดมาก

ภาพดูแล้วอย่าคิดมาก 1

ภาพเตือนสติระดับต้น

ภาพเตือนสติระดับต้น 1

ภาพหวาดเสียว + ห้ามทำตาม


ภาพโครงสร้างร่างกาย

ภาพโครงสร้างร่างกาย 1

ภาพโครงสร้างร่างกาย 2

ภาพโครงสร้างร่างกาย 3

ภาพโครงสร้างร่างกาย 4

ภาพโครงสร้างร่างกาย 5

ภาพโครงสร้างร่างกาย 6

ภาพโครงสร้างร่างกาย 7

ภาพโครงสร้างร่างกาย 8

ภาพโครงสร้างร่างกาย 9

ภาพโครงสร้างร่างกาย 10

ภาพโครงสร้างร่างกาย 11

ภาพโครงสร้างร่างกาย 12

ภาพโครงสร้างร่างกาย 13

ภาพโครงสร้างร่างกาย 14

ภาพโครงสร้างร่างกาย 15

ภาพโครงสร้างร่างกาย 16

ภาพโครงสร้างร่างกาย 17

ภาพดูแล้วได้ข้อคิด 1

ภาพดูแล้วได้ข้อคิด 2

ภาพดูให้คิด 2

ภาพดูให้คิด 3


ภาพการช่วยเหลือคนที่ติดอยู่ในรถ

ภาพดูแล้วไม่ประมาท 6

ภาพดูแล้วไม่ประมาท 9

ภาพดูแล้วไม่ประมาท 10

ภาพดูให้คิด 4

ภาพดูแล้วไม่ประมาท 2

ภาพดูแล้วไม่ประมาท 3

ภาพดูให้คิด

ภาพดูให้คิด 1

ภาพอุบัติเหตุจากการขับรถ

ภาพดูแล้วไม่ประมาท 7

ภาพดูแล้วไม่ประมาท 8

ภาพดูแล้วไม่ประมาท 11

ภาพดูแล้วไม่ประมาท 12

ภาพดูให้คิด 5

ภาพอุบัติเหตุจากการแข่งรถ 1


ภาพดูแล้วไม่ประมาท 4

ภาพดูแล้วไม่ประมาท 5

ภาพแห่งความจริง

ภาพการผ่าตัดเสริมเต้านม

ภาพหมอผ่าตัด

ภาพการผ่าตัดแปลงเพศชายเป็นหญิง

คำสอนหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
(พระมหาวีระ ถาวโร)

นวสี ๙ ชุด A (คลิปเสียงเทศน์ตอนนี้ จะไม่ตรงกับคำเทศน์ที่เป็นตัวอักษร)



(โปรดติดตามตอน "สรุปกายคตานุสสติ" ชุด B ในตอนที่ 3 ต่อไป)




ทีนี้เรามาว่ากันถึง กายคตานุสสติ หรือ ปฏิกูลบรรพ ก็ต้องนับว่าเดินเข้าไปถึงภายในกาย ว่าชิ้นส่วนของกายมีอะไรบ้าง ตับ ไต ไส้ ปอด อาหารใหม่ อาหารเก่า อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง อย่างนี้เป็นต้น มันสะอาดหรือว่ามันสกปรก มาว่ากันถึง "กายคตานุสสติ" หรือ "ปฏิกูลบรรพ" แล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วหันเข้าไปว่ากันถึงพิจารณา นวสี ๙ นวสี แปลว่า "ป่าช้า"

ป่าช้า ๙ อย่าง คือพิจารณาคนเกิดมาแล้วตาย ๑ วัน ตาย ๒ วัน ๓ วัน ๔ วัน ๕ วัน ๖ วัน เน่าอืดขึ้นมาแล้วก็โทรมลงไปเหลือแต่กระดูกเหียวแห้ง ร่างกายหมดไปมีแต่กระดูก ต่อมาก็กระดูกเรี่ยราย มานั่งพิจารณาดูว่ารูปกาย ที่เราเห็นว่าสวยนี่มันสวยจริงไหม เอารูปกายของคนที่ยังไม่ตายมาวัดกันกับคนตายว่า

ไอ้รูปกายของคนที่มันตายแล้วนี่ พอตายไปวันเดียวรักกันเกือบตายยังไม่กล้าเข้าใกล้ เห็นไหม อีตอนอยู่ด้วยกันจากกันไม่ได้ กลับบ้านผิดเวลาหน้างอ แต่พอตายไปวันเดียวพวกไม่กล้าเข้าใกล้ ถอยห่าง วันเดียวนะ นี่เพราะตายแล้ว ความสวยไม่มีแล้ว ความทรงสภาพไม่มี

เมื่อเห็นว่ารูปสวยนะ เราก็พิจารณาว่าเราหลงในรูปเพราะอะไร เราก็สร้างความเข้าใจว่า เราหลงในรูปเพราะความโง่ คือกิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม ๔ อย่าง องค์สมเด็จพระชินวรซึ่งเป็นสัพพัญญูวิสัย เป็นอรหันต์ เข้าถึงนิพพาน มีความสุข ท่านสอนว่าอย่างไง เราก็ล้วงหาความจริงมาว่า

พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ถ้าเห็นรูปที่ไหนสวยละก้อให้พิจารณาปฏิกูลบรรพ เฉพาะในมหาสติปัฏฐานสูตร ถ้าหากเป็นกรรมฐาน ๔๐ ก็เรียกว่า กายคตานุสสติกรรมฐาเหมือนกัน พิจารณาอาการ ๓๒ ของรูป ว่าส่วนไหนสะอาดบ้าง น้ำลายที่เรากลืนอยู่ในปาก อมได้ กลืนได้ พอบ้วนออกมาแล้วไม่กล้าแตะต้อง เพราะเห็นว่ามันสกปรก เพราะฉะนั้น ส่วนของร่างกายทั้งหมดมีอะไรสะอาด ไม่มีอะไรน่ารัก พอไปพิจารณาป่าช้า ๙ เข้า การพิจารณาคนตาย ตั้งแต่เริ่มตายใหม่ ๆ จนค่อยไปถึงขึ้นอืด น้ำเหลืองไหล แล้วก็โทรมลง จนกระทั่งแห้งหนังหุ้มกระดูก เหลือแต่กระดูกและกระดูกเรี่ยรายไป

เราก็จะมองไม่เห็นความสวยของร่างกายแม้แต่สักนิดเดียว ไม่เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา ถ้าเราพิจารณากายคตานุสสติกรรมฐานก็ตาม หรือป่าช้า ๙ ก็ตาม มันเป็นการตัดความพอใจในรูป อย่างนี้ชื่อว่าเป็นปัจจัยให้เราระงับ เราว่ากันในนิวรณ์ ๕ ประการ ความจริงแค่อย่างเดียว นิวรณ์ ๕ นี่มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ข้อเดียว ๖ อย่าง หมายความว่า ในข้อต้นมี ๖ จุด ถึงแค่จุดแรก เราก็ไม่อยากจบเสียแล้ว

เป็นอันว่า วันนี้ก็ฝากท่านทั้งหลายให้ไว้มาพิจารณาเฉพาะรูปข้อเดียว เอาจิตใจพิจารณาหาความเป็นจริง ถ้าไปเจอรูปผู้ชาย รูปผู้หญิง สัตว์ตัวผู้ สัตว์ตัวเมีย หรือว่าวัตถุก็ตาม ที่เราเห็นว่าสวย เห็นว่าพอใจ ก็ตั้งใจพิจารณาหาความจริง ด้วยอำนาจของปัญญา ว่ารูปที่เราเห็นนี่สวยจริงไหม สวยตรงไหน ความสวยทรงอยู่ไหม ที่เราเห็นว่าความสวยภายนอก ข้างในมันสกปรกหรือสะอาด

แล้วก็พิจารณากระแสพระสัจจธรรมขององค์สมเด็จพระบรมโลกนาถในด้านกายคตานุสสติ หรือปฏิกูลบรรพ คือนวสี ๙ เท่านี้ก็จะทำให้ใจของทุกท่านคลายต่อความพอใจในรูป ถ้าพยายามทำมาก ๆ ก็เป็นเอกัคคตารมณ์ เป็นอารมณ์ของฌาน แล้วก็สามารถใช้อำนาจของวิปัสสนาญาณว่ามันทรงแบบนี้เป็นธรรมดา เราจะไม่ควรยึดถือมันเพียงแค่นี้ จิตใจของท่านก็เข้าถึง "พระอนาคามี" ได้อย่างสบาย นี่เป็นปัจจัยของพระอนาคามีนะ ก็จบมันเพียงแค่นี้

อย่าลืมว่าเรื่องของรูปนี่น่ะพิจารณา "กายคตานุสสติกรรมฐาน" นี่เป็นปัจจัยของพระอรหันต์ ถ้าพิจารณาด้าน "อสุภกรรมฐาน" คือป่าช้า ๙ เป็นปัจจัยของพระอนาคามี นี่การสำเร็จมรรคผลไม่จำเป็นว่าจะต้องไปนั่งไล่เบี้ยโสดา สกิทาคา อนาคา อรหันต์ บางคนจิตเข้าสู่ "โคตรภูญาณ" ของพระโสดาบันมันก็วิ่งปรี๊ด..ไปกระทบพระโสดา สกิทาคา อนาคา เมื่อไหร่ไม่รู้ตัว รู้ตัวเอาทีเดียวเป็นพระอรหันต์ชั่วขณะจิตเดียว อันนี้ไม่แน่นัก.....

(((( โปรดติดตามตอนต่อไป ตอนศพที่เป็นโครงกระดูก ))))

โปรด "คลิก" ชมต่อได้เลยครับ.. คลิกที่นี่ ตอนที่ 3 » 


หมายเหตุ รูปภาพประกอบนี้ กรุณาอย่าวิพากษ์วิจารณ์ ขอให้พิจารณาเป็นธรรมะเท่านั้น ควรจะอุทิศผลบุญนี้ให้แก่ผู้วายชนม์ หรือที่เรียกว่า "ครูใหญ่" จึงจะเป็นการดีที่สุด.

ข้อมูลที่มา - เว็บ http://84000.org/
รูปภาพที่มา - เว็บที่เกี่ยวกับอสุภะ