ตามรอยพระพุทธบาท

"หลวงพ่อ" สนทนาธรรมกับ "หลวงปู่คำแสนใหญ่" วัดสวนดอก เมื่อ 24 มี.ค. 2518
webmaster - 3/3/08 at 14:33








เล่าเรื่องการเดินทางไปกราบไหว้ "พระสุปฏิปันโน"

จาก..หนังสือตามรอยพระพุทธบาท รวมเล่ม ๑

วัดบุปผาราม หรือที่เรียกกันว่า “วัดสวนดอก” สถานที่แห่งนี้นับว่ามีความสำคัญใน อดีตเช่นกัน เพราะเดิมเป็นพระราชอุทยานของ พระเจ้ากือนา รัชกาลที่ ๖ แห่งนครเชียงใหม่ ซึ่งพระองค์ได้ทรงโปรดให้สร้างขึ้นเป็นอาราม เมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๕

ในสภาพปัจจุบันนี้ จะเห็นพระสถูปมากมายเรียงรายอยู่ทางเข้าด้านขวามือ อันเป็นที่บรรจุพระอัฐิของเจ้านายฝ่ายเหนือ ด้านหน้าจะมีพระวิหารหลวง อันเป็นที่ประดิษฐาน "พระเจ้าเก้าตื้อ" เรียกตามน้ำหนักทองแดง ๑ ตื้อ (๑๒,๐๐๐ ก.ก.) แยกออกเป็น ๙ ชิ้น ส่วนด้านหลังพระวิหารหลวงจะเป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ พระมหาสุมนเถระ นำมาถวาย "พระเจ้ากือนา"

ต่อมาได้อธิษฐานแล้วจึงแยกออกเป็น ๒ องค์ องค์หนึ่งประดิษฐานอยู่บน ดอยสุเทพ อีกองค์หนึ่งได้บรรจุไว้ที่ วัดสวนดอก แห่งนี้ เชื่อกันว่าเป็นพระบรมธาตุ "ส่วนกลางกระหม่อม" ของพระพุทธเจ้า ตามที่พระมหาสุมนเถระได้มาจากพระเจดีย์ร้าง ณ เมืองบางจา สุโขทัย

ขณะที่อัญเชิญออกจากเมืองสุโขทัยนั้น พระบรมธาตุได้แสดงปาฏิหาริย์ เปล่งรัศมีโชติช่วงชัชวาล บางคราวเป็นพายุ บางคราวก็เป็นเหมือนสีทอง บางคราวเป็นเหมือนแสงดาว หรือบ้างก็แผ่รัศมีกว้างขวาง พระบรมธาตุอันประเสริฐงดงามนี้ ทำความปลาบปลื้มใจให้เกิดขึ้นกับสาธุชน ที่ได้กระทำปาฏิหาริย์ทุกวัน

สมัยต่อเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ พระครูบาเจ้าศรีวิชัย จึงได้มาบูรณะวัดนี้ เพราะฉะนั้น ถ้าจะเดินเลยพระวิหารหลวงเข้าไปสักเล็กน้อย ก็จะเห็นพระเจดีย์องค์หนึ่ง ซึ่งภายในได้บรรจุอัฐิธาตุของท่านไว้กราบไหว้บูชา

กาลต่อมาภายหลังลูกศิษย์ของท่าน คือ หลวงปู่คำแสน (ใหญ่) ก็ได้เป็นเจ้าอาวาส และได้มีโอกาสต้อนรับคณะศิษย์ทั้งหลาย อันมีพระเดชพระคุณหลวงพ่อเป็นผู้นำ เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๑๘ ในตอนนั้น ผู้เขียนยังไม่ได้บวช เพิ่งจะเดินทางไปกับท่านเป็นครั้งแรก การที่กล่าวว่า “เดินทางเป็นครั้งแรก” นั้นก็เป็นเพราะว่า ตอนที่พบท่านใหม่ๆ ยังไม่ มีโอกาสร่วมเดินทางไปที่อื่นๆ กับท่าน นอกจากจะมาทำบุญแค่วัดท่าซุงเท่านั้น

ผู้เขียนยังจำได้ว่า ได้อ่านหนังสือเล่ม แรกของท่านก็คือ ประวัติหลวงพ่อปาน ตั้งแต่เมื่อปี ๒๕๑๖ แล้วได้เขียนจดหมายติดต่อกับท่าน และได้พบองค์ท่านเป็นครั้งแรก ณ บ้านสายลม เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๑๗

จึงได้ทำบุญกับหลวงพ่อเป็นวาระแรก จำนวนเงิน ๔๐๐ บาท แล้วได้ถามถึงปัญหา ธรรมต่างๆ มากมาย ท่านก็ตอบให้หายข้องใจได้เป็นอย่างดี หลังจากนั้นจึงได้มาวัดท่าซุง เป็นครั้งแรก คือ งานวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๗

จดหมายจากหลวงพ่อฯ


คณะทีมงานฯ ได้ขออนุญาต พระอาจารย์ชัยวัฒน์ นำจดหมายจากหลวงพ่อฯ มาลงให้ได้อ่านกัน ท่านได้เมตตา อนุญาตให้นำมาลงเผยแพร่ได้

คุณชัยวัฒน์

"...ฉันจับใจในเจตนาของคุณที่เป็นกุศล คุณตั้งใจดีมาก การเข้านิพพานไม่มีอะไรยาก เพียงแต่ชนะใจตัวเองเท่านั้น คือ

๑. ไม่ทำ หรือ คิดว่า จะทำความชั่วทุกอย่าง (ตามแบบศีล ๕)

๒. สร้างความดี ที่ทำให้เกิดความสุขแก่ตน และคนอื่นทุกอย่าง

๓. ชำระใจให้เข้าใจในเหตุผล เคารพตามความเป็นจริง ไม่มีอารมณ์ฝืนกฎธรรมดา เห็นโลกเป็นทุกข์ตามความเป็นจริง รู้เหตุที่จะทำให้เกิดทุกข์ คือความอยากไม่รู้จบ ไม่สนใจกับความเคลื่อนไปของสิ่งที่มีชีวิต หรือไม่มีชีวิต เห็นความตายเป็นกีฬาของชีวิต ไม่ต้องการความเกิด

รู้ตัวเสมอว่า ทรัพย์สินที่หามาได้นั้น เราไม่มีโอกาสปกครองได้ตลอดกาล เมื่อถึงเวลาแล้ว ต้องพลัดพรากจากมันเป็นปกติ เมื่อมันจากเรา หรือเราจากมัน ไม่มีอารมณ์เป็นห่วงหรือหนักใจ เห็นความตายเป็นกีฬาสำหรับเด็ก เท่านี้จะทำให้ใจสบาย เรื่องสวรรค์ หรือพรหม ถือว่าต่ำเกินไป ไปนิพพานเลยดีกว่า นิพพานมีแต่สุข...หาทุกข์ไม่ได้.."

จดหมายฉบับนี้เป็นฉบับแรก ต้นฉบับหายไปแล้ว ส่วนฉบับที่ ๒ และฉบับที่ ๓ ได้เขียนไปถามปัญหากับท่าน แล้วพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ได้เมตตาตอบมาให้ทราบดังนี้




ทางเดินของชีวิตตั้งแต่บัดนั้น จึงมีอันต้องผันแปรไป ได้เข้ามาช่วยงานบ้านสายลม มีเพื่อนๆ เข้ามารวมกลุ่มมากมายหลายสิบคน เมื่อถึงคราววัดมีงานต่างก็พากันมาช่วยกัน ด้วยความศรัทธา ไม่เคยทำตนเป็นหัวหน้า จะทำงานเสมอกับเพื่อนๆ ทุกคน และไม่ได้ตั้ง ชื่อคณะ ใครมีศรัทธาก็เข้ามาร่วมงานกันได้

ด้วยเหตุนี้ ครั้นถึงโอกาสที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อจะพาคณะศิษย์เดินทางไปทางภาคเหนือ เพื่อกราบไหว้ พระสุปฏิปันโน จึงทำให้รู้สึกตื่นเต้น อยากจะได้พบได้เห็นได้ทำบุญกับท่านให้ชื่นใจ

ในคราวนั้น การจัดรถบัสก็เป็นหน้าที่ของพวกเรา โดยมี คุณเพ็ญศรี (แดง) เป็น ผู้ประสานงาน อันมี คุณเฉิดศรี (อ๋อย) ภรรยา ท่านเจ้ากรมเสริม เป็นหัวหน้าคณะ กำหนดการจะออกเดินทางตั้งแต่วันที่ ๒๑ มี.ค. ๒๕๑๘ กลับวันที่ ๒๔ มี.ค. ๒๕๑๘ พวกเราทุกคนต่างก็เตรียมพร้อม ทั้งเรื่อง “วันลา” และ “เงิน” ที่จะทำบุญ จนถึงวันเดินทาง รถบัสประมาณ ๓ - ๔ คัน ก็ไปถึงเชียงใหม่ เข้าพักค้างคืนที่ วัดพันอ้น

เช้าวันที่ ๒๒ มี.ค. ๒๕๑๘ หลังจาก ทานอาหารเช้าแล้ว พวกเรารู้สึกดีใจที่จะได้ไปกราบไหว้พระสุปฏิปันโน ซึ่งเป็นวันแรกของกำหนดการเดินทาง จะมีจำนวนถึง ๔ องค์ รถได้พาพวกเราหลายสิบคนเดินทางล่องลงมาทาง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน พระสุปฏิปันโนองค์แรกที่ได้พบเห็น ซึ่งมีศีลาจารวัตรน่าเคารพน่าเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง นั่นก็คือ หลวงปู่ครูบาพรหมจักรสังวรณ์ วัดพระบาทตากผ้า

ผู้เขียนได้เห็นจริยาที่หลวงพ่อกราบไหว้พระผู้ใหญ่ คือพระที่มีอาวุโสกว่าแล้ว ท่าน กราบได้นุ่มนวลเหลือเกิน แสดงถึงความเคารพอย่างจริงใจมิใช่สักแต่ว่าไหว้เท่านั้น แม้กระทั่ง หลวงปู่ธรรมชัย ก็เหมือนกัน เวลาท่านไหว้หลวงพ่อ ท่านก็ไหว้ด้วยความเคารพนบนอบอย่างจริงใจเช่นกัน

เมื่อหลวงพ่อได้สนทนากับหลวงปู่วัดพระบาทตากผ้าแล้ว พวกเราต่างก็เข้าไปทำบุญ กับหลวงปู่ แล้วก็กลับมาที่ วัดจามเทวี ในตัวเมืองลำพูน โดยมี หลวงปู่บุญทึม กับ หลวงปู่ชุ่ม นั่งรออยู่ที่ศาลาภายในวัด

เนื่องจากมีนัดกันไว้ว่า หลังจากหลวงพ่อได้ตามหาพระองค์หนึ่งที่มีชื่อว่า “ทึม” ตาม พุทธบัญชาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งหลวงพ่อได้มาตามหาจนพบแล้ว ครั้งนี้ จึงเป็นครั้งที่ ๒ ของหลวงพ่อ แต่ก็เป็นการพบกันเป็นครั้งแรก ระหว่างหลวงพ่อกับ หลวงปู่ชุ่ม โพธิโก ซึ่งในชาติอดีตเคยเป็นพี่ชายของหลวงพ่อมาก่อน ภายหลังได้มอบ “ลูกแก้วยอดจักรพรรดิ” แก่หลวงพ่อ บัดนี้ ท่านพระครูปลัดอนันต์ได้รักษาไว้เป็นสมบัติวัดท่าซุง และจะเป็นมรดกที่เจ้าอาวาสจะเป็นผู้สืบต่อๆ ไป

การเดินทางของผู้เขียนในครั้งนี้ จึงได้มีโอกาสพบหลวงปู่ทั้งสองเป็นครั้งแรก ผู้อ่านคงจะเคยอ่านรายละเอียดการสนทนาไปแล้ว จะไม่นำมาเล่าอีก แต่จะเล่ารวมๆ ไปเท่านั้นว่า

เมื่อออกจากวัดจามเทวีแล้ว หลวงพ่อก็นำไปทาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ เพื่อไป กราบไหว้พระสุปฏิปันโนองค์สุดท้ายสำหรับวันนี้ นั่นก็คือ หลวงปู่ครูบาอินทรจักรรักษา วัดน้ำบ่อหลวง ผู้เป็นพี่ชายของหลวงปู่ครูบาพรหมจักรฯ วัดพระพุทธบาทตากผ้านั่นเอง สำหรับวัดน้ำบ่อหลวงนี้ สมัยนั้นยังขาดแคลนเครื่องไฟฟ้า พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ได้เมตตา จึงบอกบุญลูกหลานช่วยกันทำบุญค่าเครื่องปั่นไฟฟ้าเพื่อถวายวัดนี้

วันแรกก็มีเพียงแค่นี้ ส่วนวันที่สองของการเดินทาง ตรงกับวันที่ ๒๓ มี.ค. ๑๘ คณะของหลวงพ่อจะต้องเดินทางไกลออกไป ทางอำเภอพร้าว ถึง วัดดอยแม่ปั๋ง ก็เข้าไปกราบไหว้ หลวงปู่แหวน ท่านได้เทศน์นานถึง ๔๕ นาที จนเป็นที่อิ่มใจแล้ว จึงเดินทางต่อไปทางเชียงดาว เพื่อกราบไหว้ หลวงปู่สิม แห่งวัดถ้ำผาปล่อง จากนั้นก็ล่องกลับมาค้างคืนที่ "วัดพันอ้น" ตามเดิม

วันที่ ๒๔ มี.ค. ๑๘ จึงได้มาถึงจุดหมายตามที่จะได้กล่าวไว้ในตอนต้น คือ วัดสวนดอก ตอนเช้าวันนั้น ผู้เขียนได้ซื้อดอกไม้ธูปเทียนเตรียมไว้แล้ว เมื่อเดินลงจากรถ จึง ตรงไปที่พระวิหารหลวง เพื่อขอน้อมถวายแด่ หลวงปู่คำแสน (ใหญ่) ซึ่งนั่งรอรับพวกเราอยู่ภายในนั้น เพราะหลวงพ่อบอกไว้ว่า ท่านเป็นผู้มีรอยยิ้มคล้ายพระอรหันต์ แต่มีดวงจิตใสเป็นแก้วผสมสีแดง หมายถึงท่านมีความกตัญญู ต่อครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นอย่างมาก

ครั้นได้เข้าไปถวายดอกไม้ธูปเทียนแล้ว จึงพบกับใบหน้าที่ยิ้มแย้มของท่านจริง ตามที่หลวงพ่อกล่าวไว้ จึงเป็นที่น่าชื่นใจ เวลานั้นคณะที่ไปต่างก็เข้าไปทำบุญกับท่าน บางคนก็ได้พระเครื่องจากท่านบ้าง บางคนที่ไม่ได้คงจะไม่ค่อยสบายใจ หลวงพ่อจึงกล่าวว่า...

“ได้แต่พระนี่ไง..เดี๋ยวได้พระธรรมไป พระเครื่องไม่ได้ พระธรรมนี่ดีกว่า พระธรรม พาไปสวรรค์ได้ พาไปนิพพานได้นะ เอายังงี้ดีกว่า..ทำตัวเราให้เป็นพระซะเลย..!

อ้า..เดี๋ยวก่อนก็ได้..ของถวายเดี๋ยวก่อนนะ ฟังธรรมจากหลวงปู่ก่อนดีกว่า นี่เป็นของ สำคัญมาก เราได้พระเครื่องไปก็ดี ถ้าใจเราไม่นึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็ไม่ เกิดประโยชน์อะไร แล้วอีกประการหนึ่ง เราได้น้ำมนต์ไป แต่ใจเราไม่เคารพในธรรม เรา ก็ลงนรกนะ...”

หลวงพ่อท่านพูดเพื่อเป็นการให้สติกันก่อน เพราะต่างคนต่างอยากจะได้ของดีไว้ เป็นที่ระลึก หลังจากถวายสิ่งของและนั่งกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลวงปู่ก็จะพูดให้พวกเราฟัง ลองมาฟังวาทะของพระอรหันต์ ที่นับวันจะหายากยิ่งในแผ่นดินนี้

ท่านได้สนทนาไว้อย่างไรบ้าง ขอให้ท่านผู้อ่านนึกภาพของพระผู้ทรงคุณธรรมทั้งสององค์นั่งคุยกัน โดยมีญาติโยมพุทธบริษัทหญิ ชายนั่งอยู่รายรอบ แล้วก็จะสามารถย้อนรำลึกนึกถึงบรรยากาศครั้งนั้นได้เป็นอย่างดี..!



คำสนทนาระหว่าง


หลวงพ่อกับหลวงปู่คำแสน (ใหญ่)


หลวงปู่ - ก็ขอให้ท่านทั้งหลายทุกๆ คนนะ ที่แวะมาที่นี้ หวังละจากกิเลสเครื่องร้อยรัด จากตัว ราคะ โทสะ โมหะทุกคน อ่า..เป็นสิ่งของประจำใจประจำจิตของเฮาทุกคน

อันนี้แหละที่เรียก “กิเลส”ราคะ โทสะ โมหะ กำหนดเอาจิตเอาของรัดของกิเลสออก จากตัวเรา เมื่อกิเลสออกจากตัวเรา ออกจาก กองทุกข์จิตใจ แล้วก็ตัวยึดนี่ เราก็รู้ว่าสิ่งที่ร้อน พวกโมหะก็ร้อน โทสะก็ร้อน ราคะก็ร้อน

เมื่อมีในจิตใจคนใดก็ร้อนที่คนนั้น เมื่อ จิตใจเฮาบริสุทธิ์ใจเยือกเย็น จิตใจเฮาก็..อ้า.. อยู่สุขสบายดี เออ..เพราะเช่นนั้นก็ระงับกิเลส ให้มันออกจากตัว ของร้อนมันมีอยู่กับตัว ราคะ ก็ร้อน โทสะก็ร้อน โมหะก็ร้อน

ราคะติดมา โทสะติดมา โมหะติดมา ติดมานี่ก็เป็นของร้อน มันก็ร้อนอยู่กับตัว คือ ร้อนรอบกาย เข้าไปเจ็บไข้อะไรก็ยะ (ยะ ภาษาเหนือก็คือ “ทำ” แต่ในที่นี้ท่านหมายถึง “ก็
ทำการรักษา”)

เออ..อยู่กับความดีเมื่อนั้น เมื่อเราได้ระงับกิเลสออก จิตที่หนักอยู่ จิตหนักกิเลสนี้ มันแน่นหนักอยู่กับตัวนัก ตัวเราต้องทำตัวอย่างดี ทำตัวให้เบาบางลง เบาบางจากกิเลส ขจัด กิเลส..เกลากิเลส..ที่อยู่ออกจากจิตใจตัวเฮา

แล้วก็เมื่อออกเต็มตัว ออกเบาลง มันเบาลงแล้ว เพื่อให้กายใหม่มีอายุยืนนาน ก็ค่อยคลายให้ตัวเรามันแต่ง มันพร้อม มันหอม ก็ค่อยตามยะ เพราะฉะนั้น ต้องกำจัดกิเลสให้ กิเลสนี่ตายให้ใจสงบ พอเป็นกำลังใจเพื่อให้กามกิเลสออก จิตอยู่ที่สะอาด

แต่ถ้าเราทำจิตทำใจเราสะอาด และเมื่อจิตใจเฮาละ และเฮาก็ไม่สู่ที่ต่ำ ถ้าจิตใจเรา มัวหมองมันบ่สะอาด เราก็มาอยู่ที่สะอาดไม่ได้ อย่างกับเราได้แต่งสถานที่สะอาดไว้ แต่คนที่ไม่สะอาดเข้ามาในสถานที่สะอาดมันก็บ่งาม ใครก็ไม่อยากจะให้เข้าไป...(หัวเราะ)

หลวงพ่อ - หลวงปู่ครับๆ ใช่ครับ
หลวงปู่ - เออ..ดีๆ นะ..ดี
หลวงพ่อ - ครับ
หลวงปู่ - หลวงพ่อก็รับแจ้งความนะ เออ..ความที่ว่าอะไรก็ไม่ใคร่จะคล่องแคล่วดี อายุของหลวงพ่อก็ ๘๘ ปีนะ มาอยู่วัดอายุได้ ๑๐ ปี อายุ ๑๒ บวชสามเณร อายุ ๒๐ ก็บวชพระต่อแต่นั้นมาก็ติดตามรับใช้แต่เจ้าอาวาสจนครองวัดมา จนถึงเดี๋ยวนี้อายุก็ ๘๘ ปีแล้ว ก็...

หลวงพ่อ - หลวงปู่ให้หวยหรือเปล่าครับ?
หลวงปู่ - ยังไม่หมดกิเลสอยู่นะ (หัวเราะ)
หลวงพ่อ - เห็นบอก ๘๘นี่ครับ สงสัยนะ เอ้า..ว่าไปสิครับ
หลวงปู่ - เออ..ก็บรรดาทายกทายิกา ศรัทธาชาวบ้านทั้งทางนอกทางในพากันแวะมา อ้า.. ทอดผ้าป่ากันที่ไหน?
หลวงพ่อ - หา..!
หลวงปู่ - อ้า..มาที่ๆ ทางอื่นน่ะไป...
หลวงพ่อ - มานมัสการพระอริยะทั้งหมดครับ
หลวงปู่ - เออ..มานมัสการพระพุทธ พระ ธรรม พระสงฆ์
หลวงพ่อ - ครับ
หลวงปู่ - อ้อ..มาทัศนาจร..?
หลวงพ่อ - ไม่ใช่ทัศนาจรครับ..ทัศนาไหว้ ครับ... (หัวเราะ)

เมื่อหลวงปู่ได้เจอคำนี้เข้า ท่านถึงกับหัวเราะชอบใจ ไม่นึกว่าหลวงพ่อจะเป็นผู้ที่คุย สนุก แล้วหลวงพ่อท่านก็ย้ำคำนี้ต่อไปอีกว่า “ทัศนาจรนี่...เขามาเที่ยวกันครับ”

แต่หลวงปู่ก็ไม่ใช่ย่อยเหมือนกัน ท่านก็พูดต่อไปว่า “ทัศนาจร..ก็จรไปนะ..!”
คราวนี้พวกเราหัวเราะบ้าง จึงกราบเรียนท่านว่า “ตั้งใจมาไหว้อย่างเดียวครับ”

หลวงพ่อ - ตั้งใจมาไหว้อย่างเดียวครับ ไม่ได้มาเที่ยวกันนี่ครับ มาหาพระโดยเฉพาะครับ
หลวงปู่ - ดี..ก็ขอโมทนาความดีมีศรัทธา ทายกทายิกาทั้งหลายตั้งอกตั้งใจมีเจตนาศรัทธามานมัสการพระ..พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ทั้งสามอย่างเป็นที่สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา

ผู้มีศีลอันน่าศรัทธา ก็นับถือพระศาสดาก็เพราะนับถือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์สามอย่างนี้ เป็นสรณะ เป็นที่พึ่ง เป็นที่อาศัยเป็นที่เกาะ ที่หวังประจำใจอยู่อย่าให้ขาด ไปที่ไหนจำไว้ ก็ให้นึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ทั้งสามนี้

เอ่อ..พระนี่อยู่ลึก ทุกคนที่ยังไม่ได้ศึกษาในรายละเอียด ก็ต้องศึกษาใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ทั้งสามอย่างนี้เป็นสรณะที่พึ่งอาศัยของเรา คนเราถ้าได้ศึกษาใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่คุ้มตน อยู่ที่ไหนก็ได้

เมื่อหลวงปู่เทศน์มาถึงตอนนี้ จะสังเกตได้ว่า ท่านย้ำให้ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยไว้ โดยเฉพาะเวลาป่วยไข้ไม่สบาย คนเจ็บมักจะนึกว่าอยากจะเอาชีวิตให้รอด ส่วนผู้คนที่มีสติดีอยู่ได้เห็นเข้าก็สังเวช ไม่มีอะไรที่จะสั่งต่อไป ก็ได้แต่แนะนำสั่งสอนกันว่า

เออ..ตั้งอกตั้งใจให้ดี นอกจากจะมีจิตใจที่ออกจากกามได้ เราก็ต้องยึดเอา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทั้งสามนี้เป็นสรณะที่พึ่งที่อาศัยที่เกาะที่หวังของเรา เราจะได้ไปสู่ที่ดีมีสุคติเป็นที่ไปเกิดอีก

เพราะฉะนั้นทุกคนก็มาวัด ตามการทำ“พุทธัง สรณัง คัจฉามิ” ...(ไม่ชัด)... มาเข้าวัด ผู้ที่เอาพระพุทธเป็นสรณะเป็นที่พึ่ง เมื่อได้มารับมารักษาใจ ย่อมได้ไปสู่ที่สุข

เมืองเหนือนี้ยังมีธรรมเนียมอยู่ คือ เวลาจะเผาศพจะต้องมีธูป ๓ อัน จะมีความ หมายว่า เมื่อจะเอาศพออกไปต้องเอาธูป ๓ อัน นำศพไปที่ป่าช้า เอ่อ..ที่จริงก็ธูป ๓ อัน ก็หมายถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นำไปป่าช้าก็จะได้ไปสู่ที่ดี เออ..ต่อไปก็...

หลวงพ่อ - พูด..พูดเหนื่อยแล้วเหรอครับ?
หลวงปู่ - เหนื่อย..เหนื่อยอยู่ (หัวเราะ)
หลวงพ่อ - เดี๋ยวจะคิดว่าพระไม่เหนื่อยนะ ครับ!
หลวงปู่ - (หัวเราะชอบใจ)



รอยยิ้มของพระอรหันต์

หลวงพ่อ - อ้า..หลวงปู่ครับมีปัญหาอยู่ข้อหนึ่ง
หลวงปู่ - เออ..!
หลวงพ่อ - กระผมอ่านหนังสือพิมพ์บางกอก เขาถ่ายรูป..ภาพหลวงปู่ลงไป...
หลวงปู่ - เออๆ..!
หลวงพ่อ - หลวงปู่ก็นั่งยิ้ม เขาบอกว่าเห็นภาพหลวงปู่แล้ว เขาถือว่า เป็นรอยยิ้มของพระอรหันต์ หลวงปู่มีความรู้สึกเป็นยังไงครับ?
หลวงปู่ - (หัวเราะ) เขา..เขาก็ว่าไปเรื่อย
หลวงพ่อ - เขา..เขาบอกว่าเป็นรอยยิ้มอรหันต์ หลวงปู่คล้ายมั๊ยครับ?
หลวงปู่ - (หัวเราะ) เออ..ไม่..ไม่..ไม่คล้าย
หลวงพ่อ - ไม่คล้าย..!

เมื่อหลวงพ่อสนทนากับหลวงปู่มาถึงตอนนี้ พวกเราที่นั่งฟังอยู่ต่างก็หัวเราะ เพราะ หลวงปู่ไม่ยอมรับ แต่หลวงพ่อก็พยายามไล่เลียงหลวงปู่ต่อไปอีกว่า

หลวงพ่อ - ไม่คล้ายก็แล้วไปนะ คิดว่าคล้าย ผมจะช่วยตั้งทนายฟ้องให้ครับ เอามั๊ยครับ เอาภาพหลวงปู่มาให้ดู เห็นเขาบอกว่านี่เป็น รอยยิ้มพระอรหันต์เขาว่าอย่างนั้นนะ แต่หลวงปู่จะเป็นหรือเปล่าผมไม่รู้ แต่หลวงปู่ได้รอยยิ้มพระอรหันต์มาก็ใช้ได้นะครับ
หลวงปู่ - ผู้ที่จะยิ้มได้..ต้องเป็นผู้ที่มีจิตใจแช่มชื่นชุ่มเย็น...

เป็นอันว่า หลวงปู่ก็เสียท่าหลวงพ่อจนได้ เพราะผู้ที่หมดกิเลสแล้ว จิตใจย่อมแช่มชื่นชุ่มเย็นอยู่เสมอ คือไม่เร่าร้อนด้วยเพลิงกิเลสนั่นเอง คราวนี้หลวงพ่อกับหลวงปู่ ก็หัวเราะพร้อมกัน เหมือนจะบอกเหตุว่าท่านก็รู้กันอยู่ เพียงแต่นำมาแสดงกันโดยนัย เพื่อให้ลูกหลานได้มั่นใจว่า โลกนี้ยังมีพระอรหันต์อยู่ มิได้ขาดหายไปอย่างที่นักปราชญ์เข้าใจกัน แล้วหลวงปู่ก็เพิ่มความมั่นใจต่อไปอีกว่า

หลวงปู่ - เย็น..เย็นจากกิเลส ถ้ามีกิเลสอยู่มันก็ร้อน ผู้ยิ้มแย้มแจ่มใสนี่ นับว่าเป็นผู้
ที่ไกลจากกิเลส ยังยิ้มได้... (หัวเราะ)

ครั้นหลวงปู่ยอมรับแล้ว หลวงพ่อจึงขยับต่อไป เพื่อให้เข้าถึงจุดสูงสุดพุทธศาสนา



การเข้าถึงสรณคมน์


หลวงพ่อ - เอาอย่างนี้ครับ..หลวงปู่ครับ เพื่อให้คนฟังเข้าใจง่ายนะ อันนี้สมมุติว่า คนเขาอยากจะเป็นอรหันต์บ้าง แต่ว่าค่อยๆ เดินไป การที่จะเข้าถึง “สรณคมน์” (สรณคมน์หมาย ถึงการเข้าถึงสรณะ การยึดเอาเป็นที่พึ่ง การ ยึดเอาเป็นที่ระลึก) น่ะทำยังไงถึงจะเข้าได้ครับ?
หลวงปู่ - เข้าสรณคมณ์?
หลวงพ่อ - ครับ..เอาแค่สรณคมน์ก่อนเป็น อันดับแรกนะครับ
หลวงปู่ - เออ..ต้องเอาเข้าสรณคมน์...
หลวงพ่อ - ครับๆ
หลวงปู่ - อย่างเราจะรับศีล..ถือศีล เราก็เอา ๕ ข้อนี่ เราจะต้องรับ อ้า..นมัสการกราบไหว้พระพุทธเสียก่อนนะ เออ..เช่น “นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ” นี่ก็ไม่พอนะ เราต้องกราบต้องนมัสการพระพุทธแล้วสิ่งใดๆ รับสรณคมน์ต้องเข้าไป มั่นรับสรณคมน์ว่า

“พุทธัง สรณัง คัจฉามิ”จะถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง “ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ”จะถือเอาพระธรรม “สังฆัง สรณัง คัจฉามิ”ก็ถือเอาพระสงฆ์ทั้งสามนี้ยังไม่พอ ยังมี... “ทุติยัมปิ พุทธัง.. ทุติยัมปิ ธัมมัง..”ก็รับเอาขั้นที่ ๒ เอาขั้นที่ ๒ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ ยังไม่พอ “ตะติยัมปิ พุทธัง...”รับเอาครั้งที่ ๓

ครั้งที่ ๓ เราหมายความเรารับเอา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครั้งที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ เออ..ที่ว่าเป็นว่าก็จะไม่ยึดถือ..มั่นก็ เลยรับเป็นครั้งที่ ๓ ถึงสามครั้ง ก็บางคนยังถือยังไม่มั่น (หัวเราะ) เออ..ยังหวั่นยังไหว ก็ยังมีไปถือนั่นถือนี่..(ไม่ชัด)..ถือผีถือสาง... ถืออะไร...(หัวเราะ)

หลวงพ่อ - ครับๆ นั่นถือช่วยครับ (หัวเราะ) ช่วยกันยัน อันนี้ที่ว่าถือสรณคมน์แล้วหรือครับ?
หลวงปู่ - เออๆ ๆ ถือสรณคมน์
หลวงพ่อ - ถึงแล้วเหรอครับ ใจตั้งแท้จริงๆ นะครับ?
หลวงปู่ - เออๆ นั่นแหละ
หลวงพ่อ - “พุทธัง สรณัง คัจฉามิ” ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ใช่มั๊ยครับ“ธัมมังสรณังคัจฉามิ”ขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง“สังฆัง สรณัง คัจฉามิ”ขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง แล้วการที่จะเอาใจเข้าถึงที่พึ่งจริงๆ ต้องทำใจยังไง ครับ..หลวงปู่ครับ แล้วนั่นมันถึงแต่ปากครับ ใจมันยังไม่ถึงนะ หรือต้องเอาใจเกาะพระครับ?
หลวงปู่ - เออ..นั่นนะสิ..มันก็ว่าแต่ปากสิ
หลวงพ่อ - ครับ
หลวงปู่ - เออ..ว่าแต่ปาก รับแล้ว ว่าแล้ว ลงลิ้นไปซะ
หลวงพ่อ - ครับ..ใจมันลืมพระเข้าไม่ถึงใจ ทำยังไงให้พระเข้าถึงใจละครับ?
หลวงปู่ - พระเข้าถึงใจ มันต้องถึงเอาจริงๆ
หลวงพ่อ - ครับ..ให้ถึงจริงๆ ครับ ให้อยู่ด้วยครับ
หลวงปู่ - ถึงพระจริงๆ ก็ยังว่าเรา..เราถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่าง “พระเครื่อง” นี่มันก็เป็นที่เตือนสติเนอะ
หลวงพ่อ - ครับๆ เป็นที่เตือนสติ..พระนอก ครับ
หลวงปู่ - ยังไม่พอ?
หลวงพ่อ - หลวงปู่ - เรายังถือเอาพระพุทธองค์ยังไม่พอ ยังเอาพระนี่เป็นเป้านะ เพราะเอาพระไป เรารับจากพระ พระเอาให้ประสิทธิ์ประสาทพรให้อยู่เย็นเป็นสุข เป็นที่ยึดเอา เป็นที่คุ้มครองป้องกัน ที่จะยึดแต่บางคนก็ถือเอาพระไปทำไปใช้จริงๆ ดี เกิดเอาไปคด ไปโกง ไปลัก ไปขโมย เอาไปทำความเดือดร้อนแก่เขาอย่างนี้ไม่ถูก

เพราะเราเอาพระไป ก็ต้องทำจิตทำใจอย่างพระ อย่างเราเมื่อทำจิตใจอย่างพระแล้ว เราก็ไม่ให้ร้ายใคร ไม่มีภัย ไม่มีกรรม ไม่มีเวรอะไรจะมาขัดข้อง เมื่อเราถือพระ พระก็จะมีเมตตากรุณา รักคน รักสัตว์ รักสันติ..
หลวงพ่อ - อันนี้ถึงพระแล้ว..หลวงปู่ครับ ถึงสรณคมน์แล้วนะครับ
หลวงปู่ - เออ ๆ



(ภาพนี้เป็นภาพประวัติศาสตร์ภาพหนึ่ง ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ และหลวงปู่พระสุปฏิปันโนต่างๆ ได้ไปทำพิธี
พุทธาภิเษก "ผ้าธงมหาพิชัยสงคราม" ณ วัดบวรฯ กรุงเทพฯ ประมาณ ปี ๒๕๑๘)



การเป็นพระโสดาบัน


หลวงพ่อ - ทีนี้เขาอยากจะเป็น พระโสดาบันบ้าง เขาทำยังไงครับ?
หลวงปู่ - พระโสดาบัน..!
หลวงพ่อ - ครับ..อยากจะเป็นบ้างนะครับ เขาลือกันว่าหลวงปู่มียิ้มอรหันต์นี่ครับ นึกอยากจะเป็นพระโสดาบัน เดี๋ยวค่อยๆ ไต่ขึ้นไปครับ จะทำยังไงครับ?
หลวงปู่ - พระโสดาบัน..พระโสดา..?
หลวงพ่อ - ครับ
หลวงปู่ - มันต้องเลิกละกิเลสเหมือนๆ กัน
หลวงพ่อ - ครับ..ให้จิตทรงอยู่ในอารมณ์แบบไหนครับ?
หลวงปู่ - เออ..หา..(หัวเราะ)..โสดา สกิทาคา อนาคา เอาโสดา..นี่เป็น...
หลวงพ่อ - เอาโสดาก่อน
หลวงปู่ - อันนี้ถึงธรรมอย่างต่ำ เอ้อ..โสดา ละ สักกายทิฏฐิ..(ไม่ชัด)..เราต้องละจนถึงกิเลส ละความรักกิเลส ละมันซะแล้วจะได้โสดา พอ ละมาก..(ฟังไม่ชัด)..ได้โสดา สกิทาคา อนาคา ก็ได้ตามไปก็มี เออ..อันนี้เฉพาะแต่โสดา..
หลวงพ่อ - ครับ..ตอนนี้การละ สักกายทิฏฐิ
นี่มันละยังไงครับ..หลวงปู่ครับ นี่ผมไม่ได้ไล่เบี้ยหลวงปู่นะครับ หลวงปู่แจกพระให้มันหมด นี่ครับ อันนี้ต้องแจก “พระโสดา” ครับ “พระเครื่อง” ไม่พอไม่เป็นไร แจก “พระโสดา” ให้ได้ครับ
หลวงปู่ - โสดา..สกิทาคา..อนาคา..มันก็ละเอียดเข้าไป
หลวงพ่อ - ครับ
หลวงปู่ - โสดาก็พอ..คงพอแล้ว
หลวงพ่อ - พอแล้วครับ คือว่าอารมณ์ของพระโสดาบันน่ะครับ มั่นอยู่ในอะไรครับ ควร
มีจิตมั่นอยู่ในอารมณ์แบบไหน จึงเรียกว่าพระโสดาบันครับ?
หลวงปู่ - แบบ..แบบมีสติ
หลวงพ่อ - มีสตินึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นปกติใช่มั๊ยครับ มีศีล ๕เป็น ปกตินะ
หลวงปู่ - เออ...
หลวงพ่อ - รักษา อารมณ์พระนิพพานเป็น อารมณ์พอหรือยังครับ?
หลวงปู่ - เอ้อ..พอแล้ว
หลวงพ่อ - พอแล้วครับ..นะ...(ทุกคนหัวเราะ)
อันนี้ผมต้องขอหลวงปู่ครึ่งหนึ่งนะครับ ผมช่วยหลวงปู่...(หัวเราะชอบใจ)
หลวงปู่ - ครับอันนี้ต้องถ้า..หลวงพ่อพูดดี
หลวงพ่อ - ครับ
หลวงปู่ - บางทีบางคำก็อาจจะไม่เข้าใจ เออ.. หลวงพ่อพูดภาษาก็...
หลวงพ่อ - เข้าใจ..ครับ
หลวงปู่ - ยัง..ก็ยังบ่พอ
หลวงพ่อ - แต่ว่าเขาอยากได้เสียงหลวงปู่ครับ
หลวงปู่ - ขอซ้ำ..?
หลวงพ่อ - ขอซ้ำอีกนะ เอาหมดเลยครับ (หลวงพ่อหัวเราะชอบใจ) อ่า..ตามที่หลวงปู่ ท่านพูดเมื่อกี้นี้ว่า พระโสดาบันกับสกิทาคามี นั่นละกิเลสได้เท่ากัน คือ สักกายทิฏฐิเห็น ว่าร่างกายนี่ มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ใช่มั๊ยครับ?
หลวงปู่ - ถูกแล้ว
หลวงพ่อ - ต้องให้หลวงปู่รับรองก่อนนะครับ
หลวงปู่ - เออ..เออ...
หลวงพ่อ - ที่ว่ามันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ก็เพราะว่าเราห้ามไม่ให้แก่ไม่ได้
หลวงปู่ - เออ...เออ...
หลวงพ่อ - ห้ามไม่ให้ป่วยไม่ได้ ห้ามไม่ให้ตายไม่ได้นะครับ?
หลวงปู่ - เอ้อๆ
หลวงพ่อ - นี่เราไม่เมาในร่างกาย แต่นึกว่า ร่างกายเรามันจะพังอยู่ตลอดเวลา
หลวงปู่ - เอ้อๆ
หลวงพ่อ - แต่เราก็จะไม่ยึดถือมัน มันเป็น แดนของความทุกข์นะครับ เป็นตัวมรรคอย่าง หลวงพ่อแหวน เมื่อวานนี้นะครับ
หลวงปู่ - เอ้อๆ
หลวงพ่อ - แล้วก็ ๒ ไม่สงสัยในคำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้าข้อ ๓ รักษาศีล ๕เป็น สมุจเฉท คือไม่ยอมให้ศีล ๕ ด่างพร้อย หรือขาดตกบกพร่องใช่มั๊ยครับ..หลวงปู่ครับ?
หลวงปู่ - ถูกๆ
หลวงพ่อ - นี่เป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี ก็ละเสมอกัน แต่ว่าราคะ โทสะ โมหะ ละเอียดลงนะ อันนี้เท่านี้นะครับ
หลวงปู่ - ถูก..!
หลวงพ่อ - อันนี้พระอนาคามีครับ ทำยังไง ครับ หลวงปู่ว่าก่อนแล้วผมจะได้แปลทีหลัง ครับ... (หัวเราะ)
หลวงปู่ - แหม..!
หลวงพ่อ - (หัวเราะชอบใจ) ที่นี่วัดหลวงปู่นี่ครับ ผมโตกว่าหลวงปู่ไม่ได้ครับ
หลวงปู่ - อ๋อๆ ที่มันขาดตกบกพร่องหลวง พ่อซ่อม..ซ่อม..ซ่อม... (หัวเราะ)
หลวงพ่อ - แล้วค่อยๆ ซ่อมให้ครับ แล้วต้องการเอาเสียงหลวงปู่ไปด้วยครับ ผมจะช่วยซ่อมให้ครับ
หลวงปู่ - เออ..จำพวกศีลธรรมนะ มีศีลธรรม ศีลธรรมต้องมีคู่ คนเราก็ต้องเราเคารพศีลธรรม แต่มันก็ดีแน่ ขอให้มีศีลมีธรรมประจำใจ



ท่านครูบาศรีวิชัย


หลวงพ่อ - ครับ..อันดับแรกนะครับ มีศีล กับธรรม ๒ ประการนะ..ประจำใจ อันนี้เขา ลือกันครับ..หลวงปู่ครับ ว่าหลวงปู่เป็นผู้มีความกตัญญูกับ ครูบาศรีวิชัยน่ะจริงมั๊ยครับ?
หลวงปู่ - (หัวเราะ) โอ้..!
หลวงพ่อ - นึกถึงคุณของท่านอยู่เสมอใช่ไหม ครับ?
หลวงปู่ - โอ๊ะ..ถึง “ครูบา” ไม่ใช่หลวงพ่อ
คนเดียวน่ะ ทั้งบ้านทั้งเมือง...
หลวงพ่อ - ไม่ใช่ครับ นี่ผมพูดเฉพาะหลวงปู่ครับ จะไปโทษชาวบ้านเขายังไงครับ?
หลวงปู่ - นึกว่า...นึกว่าได้...เคารพ..!
หลวงพ่อ - ครับๆ นี่ผมพูดเฉพาะองค์หลวงปู่ เพราะว่าคนอื่นเขาก็เหมือนกัน แต่ว่าหลวงปู่เองครับ
หลวงปู่ - อย่าง ท่านครูบาศรีวิชัยคนเรานี่ เคารพนับถือก็ทั้งบ้านทั้งเมือง.. (หัวเราะ)
หลวงพ่อ - ครับๆ อันนี้มีคนเขาสงสัยว่า ท่านครูบาศรีวิชัยท่านมีความรู้อะไรครับ ถึงมีความสามารถมากนักครับ ท่านเคยบอกไหมครับ?
หลวงปู่ - อ่า..ท่านปฏิบัติจริงนะ
หลวงพ่อ - ครับ
หลวงปู่ - เออ..ท่านเอาจริงเอาจัง ท่านปฏิบัติจริง คือมีผู้มาถามท่านนะ
หลวงพ่อ - ครับ
หลวงปู่ - ว่า “ครูบา” ไม่ฉันเนื้อนะ เป็นมังสวิรัตินะ เออ..!
หลวงพ่อ - ครับๆ
หลวงปู่ - ท่านก็ว่า..พออาตมามาอยู่ในป่าในดงไม่ค่อยจะมีเนื้อมีปลาอะไร ก็ได้ฉันผัก ฉันหน่อไม้ก็เกิดเคยชินไป ท่านก็เลยฉันผัก ฉันหน่อไม้จนเคย อันนี้แหละครับ
หลวงพ่อ - ครับ
หลวงปู่ - เคยมีผู้มาตักบาตร..เอาเนื้อเอา อะไรมาตักบาตร ท่านก็รับเนื้อ พอตักบาตรก็รับ เต็มบาตรก็เทลงเต็มบาตรนี่ก็เทลง อ่า..
ก็ในที่ท่านก็มี..มีผู้อุปัฏฐาก
หลวงพ่อ - ครับ
หลวงปู่ - ก็ต้มผัก ต้มหน่อ ต้มอะไร...
หลวงพ่อ - ครับๆ
หลวงปู่ - เป็นกล้วยเป็นผลไม้ให้ท่านฉันนะ
หลวงพ่อ - ครับ อ้อ..นี่เป็นอันดับหนึ่งนะครับ
หลวงปู่ - เออ..นั่นละ
หลวงพ่อ - ที่ ครูบาศรีวิชัยไม่ฉันเนื้อก็เพราะ ว่า..ไม่ใช่ว่ารังเกียจเนื้อ
หลวงปู่ - เอ้อๆ ๆ



ความหมายคำว่า “อิติปิโส”


หลวงพ่อ - ท่านก็บอกว่าท่านอยู่ป่าหาเนื้อไม่ค่อยได้ เลยฉันหน่อไม้ฉันผักไปนะครับ อีก
ประการที่ ๒ เขาบอกว่า ครูบาศรีวิชัยมีความรู้อะไรเป็นพิเศษครับ ถึงมีความสามารถมากครับ?
หลวงปู่ - ก็มีผู้มาถามท่าน...
หลวงพ่อ - ครับ
หลวงปู่ - ว่าความรู้ “ท่านครูบา” นี่มีอะไร ท่านก็ว่า..ท่านตอบ ความรู้..อาตมาไม่มีความรู้อะไร อาตมาเรียน “อิติปิโส”ยังไม่จบ
หลวงพ่อ - ครับ อ่า..อันนี้..เอ๊ะ..ฟังรู้เรื่อง ไหมโยม..? บอกว่า ท่านครูบาศรีวิชัยมีคนมาถามว่า ทำไมน่ะมีความรู้มากยังไง มีความสามารถมากนัก ท่านบอกว่า “เรียนอิติปิโสไม่จบ”แต่กระผมสงสัยว่าหลวงปู่น่ะ “อิติปิ โส ห้องท้าย”จบหรือยังครับ?

แหม..พอมาถึงตอนนี้ เป็นตอนที่หลวงปู่ท่านเล่าถึงครูบาอาจารย์ท่าน แต่ก็เสียท่าให้ หลวงพ่อย้อนถามเข้าอีกจนได้

หลวงปู่ - อันนี้ยังไม่จบเหมือนกัน
หลวงพ่อ - หลวงปู่ฮะ..“ห้องท้าย”น่ะครับ ห้อง “สุปฏิปันโน”จบหรือยังครับ?
หลวงปู่ - เออ..เออ..ก็ยังไม่จบ..!

พวกเราทุกคนอยากจะฟังว่าหลวงปู่ ท่านยอมรับโดยดีหรือไม่ แต่ปรากฏว่าหลวงปู่ ยังไม่ยอมรับอีก ทั้งนี้ ด้วยถ้อยคำที่ว่าเศรษฐี ย่อมปกปิดตนเองนั่นแหละ เพราะกลัวคนจะรู้ จึงทำให้พวกเราต้องพากันหัวเราะกันอีกครั้ง คราวนี้หลวงพ่อก็ไม่ยอมต้องไล่ให้จน จึงต้อน ด้วยคำถามต่อไปอีกว่า

หลวงพ่อ - ยังไม่จบ..ยังมีขันธ์ ๕ อยู่ใช่มั๊ย ครับ?
หลวงปู่ - เออๆ ก็ว่า... (หัวเราะ)
หลวงพ่อ - ถ้าหมดขันธ์แล้วเลิกกันใช่มั๊ยครับ
หลวงปู่ - ก็ว่า...
หลวงพ่อ - หากินข้างๆ จนได้นะครับ..(หัว เราะ) เอาละครับ..อันนี้บรรดาญาติโยมทราบ มั๊ย ว่าหลวงปู่พูดนี่มีความหมายว่ายังไง คำว่า “อิติปิโส ไม่จบ” ของท่านครูบาศรีวิชัยน่ะ ความจริง “อิติปิโส ห้องต้น” ห้องพุทธคุณ ถ้าจบนั่นหมายความว่าเป็นพระพุทธเจ้านะ

สำหรับ “ห้องกลาง”นี่ ใครๆ ก็ต้องใช้ เพราะว่าพระพุทธเจ้าบอกว่า “ธัมโม ครุกา ตัพโพ”เราเองก็เคารพในพระธรรม นี่สำหรับ “อิติปิโส ห้องหลัง”ห้อง “สุปฏิปันโน”นี่ ถ้าจบต้องเป็นอรหันต์ ฉะนั้น เวลานี้หลวงปู่ ยังเหลืออีกนิ๊ดหนึ่งมันยังไม่ตายน่ะ ยังไม่จบ นะ..ใช่ไหมครับ?

หลวงปู่ - ถูก... (หัวเราะชอบใจ)
หลวงพ่อ - ถ้าตายแล้วก็จบนะครับ เอาล่ะ ครับ..ผมเอาตรงนี้ล่ะ.. (หัวเราะ) อ้า..เป็นอัน ว่าวันนี้พวกเรานะ ก็ได้พบพระที่เราเรียกกันว่า “สุปฏิปันโน”ที่ชาวบ้านชาวเมืองเขาลือกันว่า เวลานี้พระอริยเจ้าไม่มีแล้วในโลก นั่นมันเรื่องของคนตาดีหูดี แต่คนตาบอดหูหนวกอย่างพวกเรา..เราก็หาพบ เพราะเรามองไม่เห็นทางเดินชนส่งเดชนะหลวงปู่..ใช่ไหมครับ?
หลวงปู่ - ถูก
หลวงพ่อ - ไอ้คนตาดีมันเห็นสีสันวรรณะมาก ใช่ไหมครับ?
หลวงปู่ - ถูก
หลวงพ่อ - คนหูไม่ดี ตาไม่ดี มันไม่เห็นอะไร เดินชนส่ง..ใช่ไหมครับ?
หลวงปู่ - อือม์..ถามว่าพระอรหันต์....
หลวงพ่อ - ครับ
หลวงปู่ - ยังมีอยู่กี่องค์
หลวงพ่อ - ครับ..ผมว่าที่ “วัดสวนดอก” นี่ ก็มีครับ... (หัวเราะ) ..มีหรือเปล่าครับ?



ตำรายาดี


หลวงปู่ - อย่างว่า..อย่างตำรายาดีมีอยู่
หลวงพ่อ - อ้อ..ตำรายาดีครับ อ้อ..เดี๋ยวๆ ขอยาครับ แหม..ยาขนานนี้ต้องการ..!
หลวงปู่ - อ๋อ..ตำรายังมีอยู่
หลวงพ่อ - ครับๆ
หลวงปู่ - ถ้าเราสร้างสมยาให้ดีๆ ยาดีมัน ก็..เอ้อ..มันก็มี...
หลวงพ่อ - ยาขนานนี้สมุนไพรใช้อะไรมั่งครับ
หลวงปู่ - ก็เพราะว่าเราสร้างยาเอามาใส่เรา เราผสมนี่ยังไม่ถูกส่วน เออ..มันยังขาดยานั้น เอ้อ..ต้องเข้า...
หลวงพ่อ - น้ำหนัก..!
หลวงปู่ - เออ..น้ำหนักเท่านั้น น้ำหนักเท่านี้ แต่นี่มันไม่ถูกส่วนอยู่
หลวงพ่อ - ครับๆ อันนี้สำคัญครับ ไอ้นี้สำคัญ แหม..ไอ้ส่วนการผสมนี่สำคัญนัก
หลวงปู่ - เออ..นั่นล่ะ เออ..ถ้าหากว่าผสม มันไม่ถูกส่วน เหมือน...
หลวงพ่อ - หนักมากไป
หลวงปู่ - ก็ไอ้ยานั้นมันก็ไม่ดี
หลวงพ่อ - ครับ
หลวงปู่ - ไม่ศักดิ์สิทธิ์
หลวงพ่อ - เบามากไป
หลวงปู่ - เออ..เบามากไป
หลวงพ่อ - ก็ไม่ศักดิ์สิทธิ์
หลวงปู่ - ไม่ศักดิ์สิทธิ์..หนักเกินไปก็ไม่ ศักดิ์สิทธิ์
หลวงพ่อ - ไอ้หนักมากไปที่เรียกกันว่า อัตตกิลมถานุโยคใช่มั๊ยครับ?
หลวงปู่ - เออ..นั่นถูกล่ะ เออๆ ๆ
หลวงพ่อ - อ๋อหลวงปู่ - .เบามากไปที่เรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยค
หลวงปู่ - เออๆ
หลวงพ่อ - ญาติโยมรู้มั๊ย อัตตกิลมถานุโยคหมายถึงว่าการปฏิบัติแล้วทรมานตนเกินไป เครียดเกินไปใช่ไหมครับ..หลวงปู่ครับ?
หลวงปู่ - ถูกๆ พระพุทธเจ้าแนะนำบอกว่า "มัชฌิมา..."
หลวงพ่อ - ครับ..มัชฌิมาปฏิปทา
หลวงปู่ - เอ่อ..ปฏิปทาคือสายกลางนะ
หลวงพ่อ - ไอ้ที่เบาเกินไปน่ะ เวลาทำอยากได้อย่างนั้น อยากได้อย่างนี้ใช่ไหมครับ?
หลวงปู่ - ถูกๆ
หลวงพ่อ - นี้เวลาเราจะทำก็ต้อง.. จะตัดตรงสองประการ คืออย่าเครียด..อย่าอยาก..ใช่ ไหมครับ?
หลวงปู่ - ถูก ๆ
หลวงพ่อ - เอาค่อยๆ ใจสบายๆ นะครับ ยาขนานนี้หลวงปู่รับ... อ้า..ฉันครบขนานแล้วใช่มั๊ยครับ?
หลวงปู่ - เอ้อ..ยังไม่..ครับ
หลวงพ่อ - (หัวเราะที่หลวงปู่รู้ทัน)
หลวงปู่ - ไม่มี..ยังมีขาดตกบกพร่อง
หลวงพ่อ - ครับๆ มันขาดอยู่แค่มีลมหายใจ นั่นนะครับ..ครับๆ

พอพูดถึงเรื่องยา หลวงพ่อก็เลี้ยวเข้าหาหลวงปู่จนได้ แต่ท่านก็หลบไปหลบมาอย่าง รู้เท่าทันซะแล้ว จึงมีผู้หญิงคนหนึ่งพูดขึ้นว่า “มียาดี” หลวงพ่อจึงกล่าวต่อไปว่า

หลวงพ่อ - มียาดี.. (หัวเราะ) เอ้อ..ยาขนานนี้จำไว้นะญาติโยมพุทธบริษัท นี่เรามาเจียด เนื้อแท้ยาดีจริงๆ แต่เวลาไปผสมระวังให้ดีนะ อย่าให้หนักเกินไป อย่าให้เบาเกินไป น้ำหนักจะต้องให้สม่ำเสมอกันนะครับ
อ้า..หนึ่งเม็ดกินสองเม็ดยาแรงเกินไปแย่ หมอบอกหนึ่งเม็ดกินครึ่งเม็ด โรคไม่หาย อีกนะ หลวงปู่มียาดีว่างๆ ต้องมาขอแบ่งยาหลวงปู่มั่งครับ

หลวงปู่ - ยา..ยาดีมี...
หลวงพ่อ - หมายความว่า พระอรหันต์มี
หลวงปู่ - แต่การปฏิบัติไม่ถึงพระอรหันต์
หลวงพ่อ - ครับ..ใช่ๆ ๆ ยาดีมี ยาดีหมายถึง พระอรหันต์ แต่ว่าคนกินยา หมายถึงว่า คนไม่เข้าถึงพระอรหันต์ ปฏิบัติไม่เท่ากัน ร้อยหนึ่งสามสิบ
หลวงปู่ - เออๆ อย่างว่าสร้างสมยาไม่ถูกส่วน
หลวงพ่อ - ครับ
หลวงปู่ - ยามันก็ไม่..ไม่ดีเท่าไหร่
หลวงพ่อ - อย่างนั้นขอหลวงปู่อธิบายวิธีผสมยาให้ถูกส่วน..ให้ถูกส่วน..ย่อๆ ครับ (ทุกคน หัวเราะชอบใจ)
หลวงปู่ - อ้า..มันก็ค่อย..ต้องมีศีลมีธรรมเนอะ คือเราต้อง.. (ไม่ชัด) ..จนถึงสรณะ ก็ต้องมี ศีลมีธรรมเป็นเบื้องต้น อันนี้ก็จะได้ดี
หลวงพ่อ - ครับ..มีศีลนะ คือต้องละ ปัญจ เวร ๕ ประการนะครับ
หลวงปู่ - เออ..นั่นล่ะ



(หลวงปู่ชัยวงศ์พร้อมชาวกะเหรี่ยง ได้เดินทางมาร่วมงานกับหลวงพ่อถึงวัดท่าซุง)



ยาเมตตา


หลวงพ่อ - ทีนี้อีตอนมีธรรมนี่มียังไงครับ มีธรรมจับอะไรเป็นสำคัญครับ?
หลวงปู่ - เมตตา
หลวงพ่อ - เมตตาอ๋อ..อันนี้เนื้อแท้ครับ... หลวงปู่ หลวงปู่เหวี่ยงแหนี้ผมไม่ปฏิเสธล่ะ ครับ... (หัวเราะ)
หลวงปู่ - (หัวเราะชอบใจ) ควบให้หมด
หลวงพ่อ - ครับๆ ควบหมดเลย ทีนี้รักษาทั้งศีล ทั้งธรรม ทั้งสมาธิหมดเลยครับ ถ้าขาดเมตตาตัวเดียว ไม่มีทางจะได้อะไรเลยนะ นี่เป็นอันว่าเรามีความเห็นเหมือนกัน ผมเดาๆ ไปว่า.. เออ..ชนยาขนานนี้ได้เหมือนกันนะ... ยาเมตตานี่..!
หลวงปู่ - คือผู้มีศีล...
หลวงพ่อ - ครับ
หลวงปู่ - ก็เหมือน..หมายความว่าผู้มีธรรมเหมือนกัน
หลวงพ่อ - ครับๆ มีศีลก็มีธรรม ถ้าไม่มีธรรม..ศีลทรงไม่ได้ครับ
หลวงปู่ - ถูกล่ะ
หลวงพ่อ - ถ้าไม่มีเมตตาตัวเดียว ศีลทรงไม่ได้เลยครับ เพราะมีธรรมมาก่อนนะ
หลวงปู่ - เราไม่เบียดเบียนชีวิต แต่ว่ามีเมตตา
หลวงพ่อ - ครับ
หลวงปู่ - เราไม่ขโมยก็เพราะเรามีเมตตา.. เออ..เราไม่ได้...
หลวงพ่อ - ไม่แย่งความรักเขา
หลวงปู่ - เออ..ไม่แย่งความรักเขา
หลวงพ่อ - เราก็เพราะเมตตา
หลวงปู่ - ก็เพราะความเมตตาเขา เออๆ..
(หัวเราะ) ธรรมทำอยู่...
หลวงพ่อ - เราไม่โกหก เราก็เมตตาสิครับ
หลวงปู่ - เออ..เป็นงั้น
หลวงพ่อ - เราไม่กินเหล้า ก็เพราะอาศัยเมตตาใช่มั๊ยครับ?
หลวงปู่ - เออๆ ถูกต้อง
หลวงพ่อ - ใช่ๆ กินเหล้าแล้ว ไอ้คนมันกลายเป็นราชสีห์ได้
หลวงปู่ - ไม่..ไม่..ไม่เมตตาตัว..เอ้อ...
หลวงพ่อ - ครับ..ไม่เมตตาตัวเองนะครับ
หลวงปู่ - เออ..!
หลวงพ่อ - ตัวเองก็มันเลว
หลวงปู่ - ตัวเองก็เดือดร้อน ไอ้คนอื่นก็ เดือดร้อน.. (หัวเราะ) เออ...
หลวงพ่อ - อันนี้ถ้าจะสรุป.. อ้า.. พระธรรมเทศนาของหลวงปู่แล้วนะ บรรดาท่านพุทธบริษัท หลวงปู่ต้องการให้ท่านทั้งหลายเข้าถึงศีลถึงธรรม แล้วก็อย่าลืมว่าเรามาทีหนึ่งนี่ เราจะมาเอาพระเครื่องจากหลวงปู่ไปนี่ดีเหมือนกันน่ะ แต่ไม่ถึง ๑ เปอร์เซ็นต์ใช่มั๊ยครับ?
หลวงปู่ - ถูก
หลวงพ่อ - ถ้าจะเอาจริงๆ ถ้าเราจะแบก หลวงปู่ไปด้วยก็หนักบ้านเรา ไม่ได้ความใช่ไหม ครับ?
หลวงปู่ - ถูก
หลวงพ่อ - เอาธรรมะของหลวงปู่ไปดีกว่า.. เบาดีใช่มั๊ยครับ?
หลวงปู่ - เออ... (หัวเราะ)
หลวงพ่อ - นะตอนนี้..อีกประการหนึ่งก็จำไว้ว่า หลวงปู่มียาดีนะ ยาขนานเอกก็คือ เมตตาจำให้ดีก็แล้วกัน ถ้าหากว่าใครมียาขนานนี้อยู่ แล้วมันจะได้ทั้งศีลได้ทั้งธรรม ได้ทั้งสมาธิ ทั้งปัญญา ใช่มั๊ยครับ..หลวงปู่ครับ?
หลวงปู่ - เออๆ ถูก
หลวงพ่อ - ใช่นะ แล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลวงปู่ท่อง “อิติปิโส”บทท้ายขาดอยู่ครึ่ง ตัวท้ายยังไม่จบ มันยังไม่ตายใช่ไหมครับ ครึ่ง ตัวนะ “ภะคะวา ติ”นี่ อีตรง “ติ”นี่มันแค่ ต.สระอิ นี่มันยังไม่ถึงนะครับ (หัวเราะ) ขาดลมหายใจเมื่อไร หลวงปู่ก็จบ “ติ”เมื่อนั้นนะ

เป็นอันว่า วันนี้เราก็มาพบพระที่เข้าอยู่ ในขั้นที่เรียกว่า [color=green]สุ